หลังจากที่สยามเสียดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงไปในเหตุการณ์ ร.ศ.๑๑๒ หรือ พ.ศ.๒๔๓๖ ฝรั่งเศสได้ส่งกำลังเข้ายึดครองเมืองจันทบุรีเป็นประกันนาน ๑๐ปี
จนในปี พ.ศ.๒๔๔๗ สยามได้ตัดสินใจยกดินแดนฝั่งขวาแม่น้ำโขง คือ ส่วนที่ติดกับ น่าน ในปัจจุบันคือ ไชยบุรี และ หลวงพระบาง รวมถึง ส่วนที่ติดกับ อุบลราชธานี ในปัจจุบัน คือนครจำปาศักดิ์ ให้ฝรั่งเศส
อย่างไรก็ตามต่อมาฝรั่งเศสได้ถอนกำลังจากจันทบุรีไปยึดตราดแทน เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนเอาตราดคืนและเพื่อคืนอำนาจศาลกงศุล สยามจึงต้องมลฑลบูรพาซึ่งประกอบด้วย พระตะบอง เสียมราฐ และ ศรีโสภณ ให้ฝรั่งเศสในปี พ.ศ.๒๔๕๐ ครับ
เขตแดนไทย-ลาว บริเวณบ้านร่มเกล้า
1. เขตแดนไทย-ลาว บริเวณบ้านร่มเกล้า เป็นผลของการเจรจาระหว่างสยามกับฝรั่งเศสเพื่อแลกเปลี่ยนดินแดนเมืองด่านซ้ายและตราด กับเมืองเสียมราฐ พระตะบอง ศรีโสภณ โดยมีภูมิหลังทางประวัติศาสตร ดังนี้
1.1 อนุสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส ฉบับวันที่13 กุมภาพันธ ป ค.ศ. 1904 กําหนดใหเขตแดนระหว่างสยามกับฝรั่งเศส ด้านเมืองหลวงพระบาง แยกจากแม่น้ำโขงที่สบเหือง (บริเวณที่ลําน้ำาเหืองไหลลงแมน้ำโขง) แล้ว ไปตามลําน้ำเหืองจนถึงจุดที่ลําน้ำตางไหลมาบรรจบกับลําน้ำเหือง เขตแดนก็จะแยกไปตามลําน้ำตางจนถึงภูแดนดิน
เขตแดนดังกล่าวทําใหเมืองแก่นท้าว (ซึ่งฝ่ายฝรั่งเศสถือว่าเป็นหัวเมืองสําคัญของเมืองหลวงพระบาง) ตกอยูในอาณาเขตสยาม ฝายฝรั่งเศสจึงเจรจาขอทําความตกลงแกไขแนวเสนแขตแดนบริเวณนี้
1.2 ความตกลงฉบับวันที่ 29 มิถุนายน ป ค.ศ. 1904 กําหนดใหเขตแดนแยกจากแมน้ำโขงที่สบเหือง แลวไปตามลําน้ำเหืองจนถึงจุดที่ลําน้ำาหมันไหลมาบรรจบกับลําน้ำเหือง (แทนที่จะเป็นจุดที่ลําน้ำตางไหลมาบรรจบกับลําน้ำเหือง) เขตแดนก็จะแยกไปตามลําน้ำหมันจนถึงต้นน้ำของลําน้ำหมัน แล้วจะไปตามสันปันน้ำจนตกแม่น้ำโขงที่แก่งผาได
ความตกลงฉบับนี้มีผลทําใหเมืองแก่นท้าวกับเมืองด่านซ้ายตกเป็นของฝรั่งเศส
1.3 ในการประชุมครั้งที 4 เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ ป ค.ศ. 1906 ที่เมืองเชียงคาน พลตรี หม่อมชาติเดชอุดม ประธานคณะกรรมการปกปนเขตแดนระหวางสยามกับอินโดจีน (ฝ่ายสยาม) ไดแจ้งต่อพันตรี แบร์นาร์ด ประธานคณะกรรมการปํกปันฯ (ฝายฝรั่งเศส) ว่าตามความตกลงฉบับวันที่ 29 มิถุนายน ป ค.ศ. 1904 ฝ่ายสยามตองเสียเมืองด่านซายซึ่งเป็นหัวเมืองที่มีความสําคัญของไทย จึงขอใหฝ่ายฝรั่งเศสคืนเมืองดังกลาวให
แกสยาม แตพันตรี แบรนารด อางวาไมสามารถคืนเมืองดานซายใหแกสยามนอกจากจะไดรับอนุญาตจากรัฐสภาฝรั่งเศส ซึ่งก็เปนที่แนนอนวารัฐสภาฝรั่งเศสจะไมยินยอม เวนแตว่าฝ่ายสยามจะยอมสละดินแดนส่วนอื่น (เช่น ดินแดนที่ติดกัมพูชา) เป็นการแลกเปลียนกับเมืองดานซาย คณะกรรมการปกปนฯ จึงไดยอมรับหลักการของการแลกเปลี่ยนดินแดน แตโดยที่คณะกรรมการปกปนฯ ไมมีอํานาจตกลงแนวเขตแดนใหม ทั้งสองฝายจึงตกลงกันที่จะนําเรื่องนี้เสนอตอรัฐบาลของตนพิจารณา
1.4 หลักการดังกลาวทําใหมีการเจรจาทําสนธิสัญญาฉบับวันที่ 23 มีนาคม ค.ศ. 1907 ซึ่งทําใหไทยไดเมืองดานซายกับเมืองตราดกลับคืนมา แตตองเสียเมืองเสียมราฐ พระตะบอง และศรีโสภณ ใหแกฝรั่งเศส
ขอ 2 ของพิธีสารแนบทายสนธิสัญญาฉบับดังกลาวไดกําหนดเขตแดนไววา เขตรแดนเมืองหลวงพระบางนั้นตั้งแตทิศใตในแมน้ำโขงที่ปากน้ำเหือง แล้วต่อไปตามกลางลําน้ำเหืองนี้จนถึงที่แรกเกิดน้ำนี้ที่เรียกชื่อว่า ภูเขาเมี่ยง ต่อนี้เขตรแดนไปตามเขาปนน้ำตกแมน้ำโขงฝายหนึ่งกับตกแมน้ำเจาพระยาอีกฝายหนึ่ง จนถึงที่ในลําแมน้ำโขงที่เรียกวาแกงผาไดตามเสนพรหมแดนที่กรรมการปกปนเขตรแดนไดตกลงกันไวแตวันที่ 16 มกราคม รัตนโกสินทรศก 124 คฤสตศักราช 1906
ดังนั้น ตามความตกลงป ค.ศ. 1907 เสนเขตแดนสยาม-ฝรั่งเศส ด้านเมืองหลวงพระบางนั้น เมื่อแยกจากแมน้ำโขงที่สบเหืองแลว จะไปตามลําน้ำเหืองจนถึงต้นน้ำที่ภูเขาเมี่ยง ก่อนที่เส้นเขตแดนจะต่อไปตามสันปันน้ำจนถึงแก่งผาได
2. การเปลี่ยนแปลงแนวเส้นเขตแดนบริเวณลําน้ำเหืองหลายครั้งดังกล่าวมาข้างต้น ทําใหเกิดความสับสนวาลําน้ำเหืองสาขาใดกันแนที่เปนเสนเขตแดน จากการศึกษาหนังสือโตตอบระหวางสยามกับฝรั่งเศส
ในชวงวันที่ 12 กันยายน ป ค.ศ. 1907 ถึงวันที่ 28 พฤศจิกายน ป ค.ศ. 1908 ทําใหทราบวาในชวงที่มีการส่งคืน รับมอบเมืองดานซาย เมื่อเดือนมิถุนายน 1907 เจ้หน้าที่และราษฎรในพื้นที่ของทั้งสองฝ่ายมีความสับสนเกี่ยวกับเรื่องนี้ ซึ่งจากการสอบถามภายในส่วนราชการฝรั่งเศสเอง ก็เป็นที่ชัดเจนว่า พันตรีแบร์นาร์ด ประธานคณะกรรมการปกปนฯ (ฝายฝรั่งเศส) และเปนผูเจรจาจัดทําสนธิสัญญา ฉบับปค.ศ. 1907 เป็นผูเดียวที่จะใหคําตอบที่ถูกตองได และในที่สุดความสับสนนี้ก็หมดไปในชวงกลางป ค.ศ. 1908 เมื่อนาย Pierre de Margerie อุปทูตฝรั่งเศสประจําสยามไดรับความอนุเคราะหจากรัฐบาลสยามใหดูแผนที่เขตแดนบริเวณดังกลาวซึ่งพันตรี แบรนารด ประธานคณะกรรมการปกปนฯ (ฝายฝรั่งเศส) ไดลงนามกํากับไว และต่อมาเมื่อป ค.ศ. 1908 ไดมีการนําไปจัดทําเปนแผนที่คณะกรรมการปกปนเขตแดนฯ มาตราสวน 1:200,000 ฝายฝรั่งเศสถือวาปญหาวาสาขาใดของน้ำเหืองเปนเสนเขตแดนระหวางไทย-ลาว ไดจบสิ้นลงแลวจากการตรวจสอบแผนที่ชุดนี้
3. ตามแผนที่คณะกรรมการปกปนเขตแดนฯ มาตราสวน 1:200,000 ดังกลาว ไดแสดงแนวเสนเขตแดนไปตามลําน้ำเหืองตามที่ฝายไทยกล่าวอาง ทั้งนี้ เอกสารประวัติศาสตรที่สนับสนุนขอกลาวอางในเรื่องนี้อยูที่กองเขตแดน กรมสนธิสัญญาและกฎหมาย
-------------------------------------------------
กองเขตแดน
กรมสนธิสัญญาและกฎหมาย
พฤศจิกายน 2545