เมื่อเร็วนี้ ได้มีพิธีพระราชทานเพลิงศพ
กำลังพลประจำเรือหลวงธนบุรี ที่อยู่ในยุทธนาวีเกาะช้าง
ท่านสุดท้าย
จึงทำให้ผมคิดไปว่า เป็นไปได้ไหมที่อนาคต
จะมีเรือหลวงธนบุรี ลำใหม่ ในราชนาวีไทยอีก
ปัจจุบันตามเกณฑ์การตั้งชื่อเรือหลวง
เรือที่จะใช้ชื่อเมืองหลวงเป็นชื่อเรือ เป็นประเภท คอร์เวต
ถ้าเป็นตามนี้ก็คงจะยากที่จะมี เรือหลวงธนบุรี
ในราชนาวีไทย อีกครั้ง เพราะกองทัพเรือ(ทร.)
ยังไม่มีโครงการจัดหาเรือคอร์เวต เข้าประจำการเพิ่มเติม
ก็คงจะต้องลุ้น 2 ทางคือ
1. ลุ้นให้อนาคต ทร. จัดหาเรือคอร์เวต เพิ่ม
ผมเชียร์ให้นำเรือชุดรัตนโกสินทร์ มาขยายแบบ
ต่อสัก 2 ลำ (ศรีอยุธยา,ธนบุรี)
2. ลุ้นให้ ทร. ปรับเกณฑ์การตั้งชื่อ
ให้เรือตรวจการณ์ไกลฝั่ง นำชื่อเมืองหลวง มาตั้งฯได้
ซึ่งก็สมศักดิ์ศรีเพราะเรือ OPV มีชั้นเรือไม่ด้อยกว่า
เรือคอร์เวต
แต่ควรที่จะให้เป็นเรือOPVชุดต่อไปที่มีขนาดและหรือ
ประสิทธิภาพมากกว่าเรือชุดปัตตานีและชุดที่กำลัง
ต่ออยู่กรมอู่ทหารเรือ
แล้วเพื่อนๆ คิดเห็นประการใด
เรือหลวง ศรีอยุธยา กับ เรือหลวง ธนบุรี คงจะมีแน่...ถ้า ทร. ยังคงจะมีเรือ คอร์เวต แบบ ร.ล.รัตนโกสินทร์...โดย ร.ล.ศรีอยุธยา กับ ร.ล.ธนบุรี ลำใหม่ คงต้องรอ เรือชั้น รัตนโกสินทร์ ปลดประจำการ....
เรือ คอร์เวต ตั้งชื่อ ตามยุคสมัยปกครอง รึเปล่าครับ ?
ตามนี้เลยครับท่าน juldas
ระเบียบกองทัพเรือ |
ว่าด้วย การแบ่งชั้นเรือ หมู่เรือ และการตั้งชื่อเรือหลวง |
...............
ข้อ ๙ การตั้งชื่อเรือหลวง ให้ถือหลักเกณฑ์ดังนี้ |
๙.๑ เรือพิฆาต ตั้งตามชื่อตัว ชื่อบรรดาศักดิ์ หรือชื่อสกุล ของบุคคล ที่เป็นวีรบุรุษของชาติ |
๙.๒ เรือฟริเกต ตั้งตามชื่อแม่น้ำสายสำคัญ |
๙.๓ เรือคอร์เวต ตั้งตามชื่อเมืองหลวง หรือเมืองสำคัญ ในประวัติศาสตร์ |
๙.๔ เรือเร็วโจมตี |
|
|
๙.๕ เรือดำน้ำ ตั้งตามชื่อผู้มีอิทธิฤทธิ์ ในนิยาย หรือวรรณคดี เกี่ยวกับการดำน้ำ |
๙.๖ เรือทุ่นระเบิด ตั้งตามชื่อสมรภูมิที่สำคัญ |
๙.๗ เรือยกพลขึ้นบก เรือลำเลียง และเรือลากจูง ตั้งตามชื่อเกาะ |
๙.๘ เรือตรวจการณ์ |
|
|
๙.๙ เรือสำรวจ ตั้งตามชื่อดาวที่สำคัญ |
๙.๑๐ เรือหน้าที่พิเศษ ตั้งชื่อด้วยถ้อยคำ ที่มีความหมาย เหมาะสมแก่หน้าที่ ของเรือนั้นๆ .............................. |
เรือหลวงเอกาทศรถ ครับ คู่กับเรือหลวงนเรศวร
แต่ส่วนตัวแล้วไม่คิดว่ากองทัพเรือจะมีการจัดหาเรือคอร์เวตใหม่ในระยะ 5-10ปีนี้ครับ
ถ้าวิเคราะห์จากการดูแผนการพัฒนาและจัดหาอาวุธของกลาโหมในส่วนของกองทัพเรือนั้น โครงการจัดหาเรือผิวน้ำของกองทัพเรือใหม่นอกจากการจัดหาเรือ ตกก.(เรือตรวจการณ์ไกลฝั่ง) เพิ่มอีก4ลำเพื่อทดแทนเรือเก่าที่ปลดไปแล้วหรือจะปลดในอนาคตอันใกล้นั้น มีเพียงโครงการเดียวคือการจัดหา "เรือฟริเกตสมรรถนะสูง" โดยคุณสมบัติหลักของเรือชุดนี้นั้นคือมีระวางขับน้ำ 2,000-3,000ตันครับ ซึ่งเป็นเรือฟริเกตที่เข้าข่ายจะขอพระราชทานชื่อเรือตามชื่อบุคคลสำคัญเช่นเดียวกับเรือพิฆาต (ซึ่งมีให้เลือกหลายชื่อเช่น ร.ล.ปิ่นเกล้า ลำที่๒, ร.ล.พระร่วง หรืออื่นๆ)
เรือ ตกก. นั้น เรือแบบดังกล่าวมีคุณสมบัติด้านยิงเทียบเท่ากับ รจป.(เรือเร็วโจมตีปืน) ครับ ซึ่งการตั้งชื่อเรือชุดแรกคือชุด ร.ล.ปัตตานี นั้นก็ตั้งชื่อตามเกณฑ์ดังกล่าว และนโยบายในการจัดกำลังเรือของกองเรือตรวจอ่าวในอนาคตนั้นส่วนตัวเชื่อว่าจะประกอบไปด้วย เรือ ตกก. เรือ รจอ.(เรือเร็วโจมตีอาวุธปล่อยนำวิถี) และ เรือ รจป. เป็นหลักครับ ส่วนเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่ง และชายฝั่ง นั้นอาจจะถูกโอนไปจัดใน กองเรือป้องกันฝั่ง อย่างเป็นทางการแทนการหมุนเวียนเรือจาก กตอ.ในปัจจุบันครับ
แนวคิดการพัฒนากองเรือผิวน้ำของไทยที่ผ่านมานั้นส่วนตัวคิดว่ากองทัพเรือมองไปยังเรือผิวน้ำที่มีระวางขับน้ำสูงพอที่จะปฏิบัติการในเขตพื้นที่ไกลฝั่งได้นานๆครับ ซึ่งเรือคอร์เวตในขนาดเดียวกับเรือชุด ร.ล.รัตนโกสินทร์ ซึ่งมีระวางขับน้ำ960ตันยาว 77เมตรนั้น ส่วนตัวเชื่อว่า ภารกิจของเรือคอร์เวตขนาดนี้ส่วนหนึ่งจะถูกแทนที่โดย เรือ ตกก. ซึ่งมีระบบที่ซับซ้อนและมีค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติการยามปกติน้อยกว่า เรือคอร์เวตอย่างเรือชุด ร.ล.รัตนโกสินทร์ ที่ติดอาวุธสมรรถนะสูงครับ ซึ่งเรือที่ติดอุปกรณ์และอาวุธสมรรถนะสูงนั้นเชื่อว่ากองทัพเรือจะเลือกต่อเป็นเรือฟริเกตขนาด 2,000-3,000ตัน ไปเลยจะคุ้มกว่า
อย่างไรก็ตามก็เป็นไปได้ว่าในอนาคตกองทัพเรืออาจจะมีการปรับปรุงระเบียบเรื่องการกำหนดประเภทเรือตามระวางขับน้ำครับ ซึ่งปัจจุบันเรือคอร์เวตของกองทัพเรือจะมีระวางขับน้ำที่ไม่เกิน 1,000ตัน ส่วนเรือฟริเกตที่ระวางขับน้ำ 1,000-2,000ตัน และเรือพิฆาตที่ 2,000-3,000ตันครับ ถ้ามีการปรับขนาดเรือที่จะกำหนดเป็นเรือคอร์เวตมาเป็น 1,000-1,500ตัน ก็เป็นไปได้ที่จะมีการตั้งชื่อเรือเป็น ร.ล.ศรีอยุธยา และ ร.ล.ธนบุรี ครับ
แต่ก็ตามที่กล่าวไปในข้างต้นครับว่าเรือขนาด 1,000-1,500ตัน ที่กองทัพเรือจะต่อในอนาคตนั้นคงจะเป็น เรือ ตกก. ที่ไม่ได้ติดอาวุธสมรรถนะสูงมากกว่าครับ
ร.ล.นเรศวร และ ร.ล.ตากสิน ที่ประจำการในปัจจุบันนั้น ถ้าว่าไปแล้วเป็นเรือลำที่สองที่ได้รับการตั้งชื่องดังกล่าวนี้ครับ
โดย ร.ล.นเรศวร ลำที่หนึ่ง และ ร.ล.ตากสิน ลำที่หนึ่ง นั้นเป็นเรือลาดตระเวนเบาที่ไทยสั่งต่อจากอิตาลีในช่วงปี ๒๔๘๒-๒๔๘๓ แต่เมื่องสงครามขึ้นในยุโรปเรือที่กำลังต่ออยู่ก็ถูกอิตาลียึดไปเพื่อดัดแปลงเป็นเรือลาดตระเวนต่อสู้อากาศยานชื่อ Etna กับ Vesuvio อย่างไรก็ตามเรือทั้งสองลำถูกทิ้งระเบิดและอู่เรือที่ก่อสร้างก็ถูกเยอรมนียึดครองในช่วงที่ฝ่านสัมพันธมิตรบุกอิตาลี และซากเรือที่ต่อไม่เสร็จก็ถูกทิ้งไว้ที่อู่ตลอด ภายหลังสงครามอิตาลีจึงชดใช้ค่ายเสียหายให้ไทยทั้งหมด
ดังนั้นเรือพิฆาตที่ตั้งชื่อเรือตามนามบุคคลสำคัญของไทยส่วนใหญ่ในปัจจุบันก็มักจะตั้งชื่อตามเรือที่เคยมีการตั้งมาแล้วครับ ซึ่งก็ต้องพิจารณาไปตามความเหมาะสมแล้วแต่กรณีไปด้วยครับ อย่าง ร.ล.พุทธยอดฟ้าจุฬาโลก และ ร.ล.พุทธเลิศหล้านภาลัย หรือ ร.ล.ปิ่นเกล้า ก็ตั้งตามพระนามกษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์เป็นต้น
ที่เรือฟริเกตชุดนเรศวร,ชุดพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก
ได้รับการตั้งชื่อตาม บุคคลสำคัญของชาติ ซึ่งเป็นเกณฑ์การตั้งชื่อของ
เรือพิฆาต เพราะทางกองทัพเรือ ถือว่าเรือชุดดังกล่าว
มีสมรรถนะ เทียบเคียงได้กับเรือพิฆาต
จึงสามารถนำชื่อบุคคลสำคัญของชาติ มาตั้งชื่อฯได้
อันนี้เป็นคำชี้แจง/บอกกล่าว จากนายทหาร สังกัดกรมยุทธทหารเรือ
ยืนยันครับ
ถ้ามีการ จัดหา เรือพิฆาต ชุดใหม่ ผมว่า
อยากให้กองทัพเรือ พิจารณาพระนามของสมเด็จพระเอกาทศรถ มาตั้งเป็น ชื่อเรือ ด้วย เพราะ พิจารณาจาก
พระราชประวัติของพระองค์ ประวัติในการรบ
ก้อมีมากพอใกล้เคียงกับพระเชษฐา โดยเฉพาะ
ตอนที่พระองค์ นำเรือเข้าบังกระสุนให้พระเชษฐา
ในขณะไล่ล่าพระยาจีนจันตุ นับเป็นวีรกรรมที่น่าจดจำ
แถมยังเป็นการรบทางเรือด้วย
จึงเห็นว่า ถ้ามีการจัดหาเรือพิฆาตชุดใหม่
อยากให้ พิจารณา ชื่อ เรือหลวง เอกาทศรถ
เพื่อให้ลุกหลานไทย ได้ รู้จักว่า พระมหากษัตริย์พระองค์นี้ ก้อเคย รบเคียงบ่าเคียงใหล่ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ผู้เป็นเชษฐา ด้วยความกล้าหาญ
เรือหลวง ปราบปรปักษ์ เรือหลวง หาญหักศัตรุ เรือหลวง สุ้ไพรินทร์
เรือเร็วโจมตี (อาวุธนำวิถี) ป่าวครับ
พวกเรือเร็วโจมตี ชื่อแนวนี้ได้ป่าว ครับ
ร.ล.เผด็จดัสกร ร.ล.ไพรีพินาศ ร.ล.พิฆาตไพรี ร.ล.เสือทยานชล
เรือเสือทยานชล เคยเป็นชื่อเรือพิฆาตตอร์ปิโดที่ประจำการในสมัยรัชกาลที่๕ เช่นเดียวกับ ร.ล.เสือคำรณสินธุ์ ซึ่งประจำการในสมันรัชการที่ ๖ โดยเรือพิฆาตตอร์ปิโดทั้งสองลำต่อที่ญี่ปุ่นครับ
ปัจจุบันกองทัพเรือไทยมีเรือที่ชื่อลักษณะเดียวกัยคือเรือตรวจการณ์ปราบเรือดำน้ำ ร.ล.คำรณสินธุ 531 และ ร.ล.ทยานชล 532 ครับ
มีสะเก็ดข่าวเล็กๆ ที่ไม่อนุญาตให้นำไปเป็นสาระหรือข้อมูลอ้างอิง ฮิๆๆ
เนื้อหามีอยู่ว่า บ่ายไม่แก่ของฤดูหนาว(เป็นช่วงๆ)ปึ 2552
มีวงสนทนาหนึ่ง แถวถนนพุทธมนฑล สาย 3
กล่าวถึงชื่อของเรือฟริเกตชุดใหม่ ที่จะมีโครงการจัดหาฯในอนาคตอัน
ไม่ไกลนี้ว่า
ถ้าเรือฯที่เข้าวิน เป็นเรือฯประเภทไฮเทคโนโลยี
เรือชุดนี้อาจจะมีชื่อว่า เรือหลวงจุลจอมเกล้า,เรือหลวงมงกุฎเกล้า
หรือ เรือหลวงรามคำแหง,เรือหลวงอู่ทอง
ถ้าเรือฯที่เข้าวิน พลิกล็อคเป็นเรือฯที่เกรดรองลงมาหรืออาจเป็นประเภท
มือสอง
เรือชุดนี้อาจจะมีชื่อว่า เรือหลวงแม่กลอง,ท่าจีน,ประแส
เล่าให้ฟัง แบบชิวชิว นะครับ ไม่ต้องคิดมาก