หน้าแรก    ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบคำถาม    เข้าสู่ระบบ      


อีกครั้ง กับ เรือดำน้ำ และความคิดเห็นของพวกท่านๆ

โดยคุณ : TOP SECRET เมื่อวันที่ : 02/02/2009 18:06:41

       จากกระทู้ของท่าน atomic เรื่อง เรือดำน้ำ...........และจากข้อความบางส่วน จากหนังสือที่ท่าน Skyman นำมาลง........

  ใจความว่า บริษัท อู่กรุงเทพ กำลังพัฒนา เรือดำน้ำ ขนาดเล็ก 20 ตัน บรรจุ พลประจำเรือได้ 3 นาย

  จึงนับเป็นการพัฒนาและเป็นแนวทางให้อู่ต่อเรือมีความชำนาญ จนสามารถต่อเรือดำน้ำขึ้นใช้ในประเทศได้โดยไม่ต้องซื้อจากต่างประเทศต่อไปในอนาคต

 

*แต่ในความคิดของผมเอง ผมคิดว่า ขั้นแรก เราต้องซื้อ เรือดำน้ำ มาจากต่างประเทศก่อน เพื่อศึกษา เทคโนโลยี.......และการออกแบบภายใน และระบบต่างๆ ที่สำคัญกับตัวเรือ

  คำถาม...........





ความคิดเห็นที่ 1


   คำถาม.............

  1.ท่านคิดว่า เรือดำน้ำ แบบใด จากประเทศใด จะเหมาะสม กับ กองทัพเรือไทย ( ซื้อแบบผสม กันได้ ถ้าท่านต้องการ )

  2.ถ้าจัดหาได้จะจัดหาอย่างน้อย กี่ลำ

  3.ผลประโยชน์ ที่จะได้รับจากการซื้อ เรือจากประเทศนั้นๆ

  4.ควรจะเป็น มือ 1  หรือ  มือ 2

โดยคุณ TOP SECRET เมื่อวันที่ 01/02/2009 04:07:39


ความคิดเห็นที่ 2


ผมสร้างเองเลยดีกว่าครับ ใช้เวลาศึกษานับจากนี้ 7ปี ใช้งบประมาณลงมาเพื่อการศึกษาให้มาก ซื้อมือ2 มา2ลำเพื่อฝึกและศึกษาด้วย เพราะผมว่าถ้าอนาคตเรามีเรือจากการสร้างเองได้จำนวนเยอะ ยุธศาสตร์ตั้งรับ คิดว่าในน่านน้ำไทยคงไม่มีกองเรือไหนมาย่างกรายได้ง่ายๆ

สมมุติว่าถ้าสร้างเองได้ คิดว่าอ่าวไทยจะมีไว้กี่ลำ อันดามันกี่ลำดีครับ..
โดยคุณ charchar เมื่อวันที่ 01/02/2009 04:18:11


ความคิดเห็นที่ 3


ขอตอบแบบอยากมีส่วนร่วมทั้งๆที่ไม่ค่อยรู้เรื่องเรือ  เคยนั่งแต่เรือข้ามฟาก 5555
1.อยากให้เป็นสวีเดนหรือไม่ก็เยอรมันครับ ตัดฝรั่งเศสออกไป
2.ขอเป็น 2 ลำขั้นต่ำ  แต่ถ้าเงินเยอะ ขอ 3 ครับ สำรองไว้กรณีฝึกและซ่อมบำรุง
3.ถ้าเป็นสวีเดน ค่อนข้างชัวร์เรื่องถ่ายทอดเทคโนโลยีครับ
4.ไหนๆก็ไหน  มือ 1 ไปเลยครับ  จะได้ตัดปัญหา  เพราะยังไงทร.ก็ต้องส่งคนไปฝึก ที่ประเทศที่เราซื้ออยู่แล้วครับเรื่องความชำนาญคงไม่น่าเป็นห่วง


ความเห็นส่วนตัวทั้้งหมดครับ
โดยคุณ nok เมื่อวันที่ 01/02/2009 04:19:28


ความคิดเห็นที่ 4


ผมสร้างเองเลยดีกว่าครับ แก้ไขหน่อยครับ ผมว่าเราสร้างเองเลยดีกว่าครับ


ไม่ใช่เรื่องเกินความสามรถนะครับ
โดยคุณ charchar เมื่อวันที่ 01/02/2009 04:19:55


ความคิดเห็นที่ 5


  ผมขอแสดง ความคิดเห็น กับคำถามของผม ก่อนเลย

  1. จะจัดหา เรือดำน้ำ ชั้น Scorpene จาก ฝรั่งเศส และ เรือดำน้ำ ชั้น Kilo จาก รัสเซีย

  2.จัดหาอย่างน้อย 2 ลำ อย่างมาก 4 ลำ แบ่งเป็น Scorpene 1 + Kilo 1 หรือ Scorpene 2 + Kilo 2  เอาไว้ประจำการ ทั้ง อันดามัน และ อ่าวไทย

 3.ผลประโยชน์ ที่จะได้รับ การถ่ายทอดเทคโนโลยี เหมือน อินเดีย และ บราซิล

  อินเดีย ได้รับการช่วยเหลือจาก รัสเซีย ในการพัฒนา เรือดำน้ำ พลังงาน นิวเคลียร์

 บราซิล หลังจาก ลงนาม สั่งซื้อ เรือดำน้ำ Scorpene จาก ฝรั่งเศส 4 ลำ แล้ว ยังมี สัญญาว่า ฝรั่งเศส จะช่วย บราซิล ต่อ เรือดำน้ำ พลังงานนิวเคลียร์ อีก 1 ลำ

   *แต่ทั้ง 2 ประเทศ มีความสัมพันธ์ แนบแน่น กับประเทศที่ช่วยเหลือในการสร้าง เรือดำน้ำ กับทั้ง รัสเซีย และ ฝรั่งเศส ตามลำดับ

 4.Scorpene เอาเป็นมือ 1  และ Kilo เอาเป็นมือ 1 หรือ 2 ก็ได้

 

  *เพิ่มเติมข้อ 2

     ท่านหลายคนคงคิดว่า ทำไมต้อง ซื้อเรือดำน้ำ หลายแบบ ( จะติดปัญหา เรื่องอะไหล่ ใช้ร่วมกันไม่ได้ และ ความสิ้นเปลือง )

   แต่ผมคิดว่า ซื้อ มา 2 แบบ เพื่อศึกษา และทำการ จำลองการรบ  ระหว่าง SCORPENE VS. KILO

   เหมือนอย่างที่ อินเดีย ก็มี เรือดำน้ำ จาก รัสเซีย และ ยุโรป เหมือนกัน

 จากผลที่ อินเดีย ทำการทดสอบ KILO ที่ซื้อ จาก รัสเซีย และ TYPE 209 จาก เยอรมัน

 ผลปรากฎว่า เรือชั้น KILO ใช้ SONAR ตรวจจับ เรือ TYPE 209 ได้ก่อน และก็ยิงได้ก่อน

  ทั้งๆที่ เทคโนโลยี ของ เยอรมัน น่าจะทันสมัยกว่า เรือชั้น KILO จากระบบภายใน

  

โดยคุณ TOP SECRET เมื่อวันที่ 01/02/2009 04:48:06


ความคิดเห็นที่ 6


   หรือว่าผมจะต้องเพิ่ม Choice  ให้ท่านๆ เลือก

( เรือดำน้ำ ขนาดเล็ก )

  1.TYPE 212  จาก เยอรมัน  ระวางขับน้ำ 1,450 ตัน บนผิวน้ำ

                                              ระวางขับน้ำ  1,850 ตัน ขณะดำน้ำ

 2.SCORPENE จาก ฝรั่งเศส  ระวางขับน้ำ รุ่น Compact   1,450 ตัน

                                                ระวางขับน้ำ รุ่น Basic         1,700 ตัน

                           ระวางขับน้ำ รุ่นที่ใช้ เชื้อเพลิง MESMA   2,000 ตัน

 3.Gotland จาก สวีเดน       ระวางขับน้ำ  1,494 ตัน เมื่ออยู่บนผิวน้ำ

                                          ระวางขับน้ำ  1,599 ตัน ขณะดำน้ำอยู่

4.KILO จาก รัสเซีย     ระวางขับน้ำ  2,300-2,350 ตัน บนผิวน้ำ

                                    ระวางขับน้ำ  3,000 - 4,000 ตัน เมื่อดำน้ำ

 

   ไม่รู้น่ะครับ........ว่าเรือดำน้ำ ของประเทศใด เมื่ออยู่ใต้น้ำจะเงียบกว่ากัน  เพราะ Scorpene กับ Type-212 ก็เป็นของใหม่ ไม่เคยลองซ้อมรบ สักที เลยไม่รู้

 

  *แต่เมื่อดู ราคา เปรียบเทียบกับขนาด ของ ตัวเรือ ผมว่าชั้น KILO  น่าจะมีภาษีดีที่สุด

 

  ก็แล้วแต่ครับ อยากฟังข้อคิดเห็นของหลายๆท่านครับ.............

 ผมอยากได้มา แล้วพร้อมใช้เลยครับ.........ถ้าอย่างท่าน Charchar ว่า คงจะลองผิดลองถูกอีกนาน กว่าจะมีเรือดำน้ำ.......

โดยคุณ TOP SECRET เมื่อวันที่ 01/02/2009 05:23:04


ความคิดเห็นที่ 7


ส่วนผมก็ยังเลือก Type 212 และ Gotland อยู่ดีครับ 
เหตุผลอย่างที่บอกไปแล้วครับ อิอิ
โดยคุณ nok เมื่อวันที่ 01/02/2009 05:54:12


ความคิดเห็นที่ 8


ส่วนตัวคาดว่าหลังจากปี ๒๕๕๕ เป็นต้นไปนั้น กองทัพเรือน่าจะเสร็จสิ้นการจัดหาอาวุธยุทโธปกรณ์ต่างๆในส่วนที่ต้องทดแทนของเดิมที่ต้องปลดประจำการลง และที่ต้องจัดหามาใช้เป็นอันดับต้นๆ เช่น
เรือ LPD จากสิงคโปร์1ลำ ที่น่าจะได้รับมอบภายในปี ๒๕๕๔
เรือตรวจการณ์ไกลฝั่งที่ต่อเองในประเทศ ราวปี ๒๕๕๔
ฮ.MH-60S คาดว่าน่าจะได้รับมอบภายในปี ๒๕๕๒ นี้
บ.ลำเลียง ERJ-135LR คาดว่าจะจัดหาเพิ่ม 1-2ลำ
โครงการ UAV ซึ่งมีข้อมูลว่า กองทัพเรือจะวิจัยและพัฒนาเองครับ หรืออาจจะจัดหาจากต่างประเทศก็ได้
เป็นต้น
นอกจากนี้ยังมีโครงการอื่นๆเช่นการปรับปรุงเรือที่มีอยู่เช่น เรือชุด ร.ล.นเรศวร เรือชุด ร.ล.รัตนโกสินทร์, เรือชุด ร.ล.กระบุรี และ จัดหา ฮ.Super Lynx 300 เพิ่มเป็นต้น

โดยโครงการจัดหาอาวุธเพื่อ "การป้องกันประเทศและรักษาสมดุลกำลังทางเรือในภูมิภาค" ตามแผนของกองทัพเรือนั้น จะถูกกำหนดในช่วงปีงบประมาณ ๒๕๕๖-๒๕๖๐ เป็นระยะเวลาต่อเนื่อง4ปีโดยมีโครงการจัดหาหลัก 2โครงการคือ

1.โครงการจัดหาเรือฟริเกตสมรรถนะสูง

2.โครงการจัดหาเรือดำน้ำ รายละเอีดตามแผนของกลาโหมมีดังนี้

บันทึก 9 รายละเอียดความต้องการเรือดำน้ำของ ทร.
9.1ประเภท  :  เรือดำน้ำขับเคลื่อนพลังธรรมดา
9.2 โครงการ  :  2 ลำ, ระยะเวลาโครงการ : 2555 - 2560
9.3 ขีดความสามารถที่ต้องการ
      9.3.1 โจมตีเรือผิวน้ำ
      9.3.2 ปราบเรือดำน้ำ 
      9.3.3 วางทุ่นระเบิด
      9.3.4 ลำเลียงหน่วยปฏิบัติการพิเศษ
9.4 คุณลักษณะทั่วไปที่สำคัญ
      9.4.1 ระวางขับน้ำใต้น้ำ 1,000 - 2,500 ตัน
      9.4.2 รัศมีปฏิบัติการไม่ต่ำกว่า 2,500 ไมล์
      9.4.3 ปฏิบัติการในทะเลได้ต่อเนื่องไม่ต่ำกว่า 15 วัน
      9.4.4 ระบบขับเคลื่อนเป็นแบบดีเซลไฟฟ้า พร้อมระบบ AIP (Air Independance Propulsion)
     9.4.5 มีเครื่องมือเดินเรือทั้งผิวน้ำและใต้น้ำที่สมบูรณ์
     9.4.6 ระบบสื่อสารเป็นแบบรวมการ ประกอบด้วย ระบบสื่อสารภายใน  สื่อสารภายนอก ทั้งเหนือน้ำและใต้น้ำและระบบ GMDSS
     9.4.7 อุปกรณ์ตรวจจับ ประกอบด้วย ระบบโซนาร์แบบ PASSIVE และ/หรือ ACTIVE SONAR , ระบบ ELECTRONIC WARFARE , กล้อง Periscope 2 กล้อง ได้แก่ Attack และ Search  โดยมีอุปกรณ์กล้อง IR/TV/กล้องถ่ายภาพนิ่ง/เรดาร์ติดตั้งร่วมด้วย 
    9.4.8 ระบบอาวุธ  ประกอบด้วย ตอร์ปิโด จำนวน 6 - 8 ท่อ พร้อมคลังและขีดความสามารถบรรจุ ระบบ countermeasure  และระบบลวงตอร์ปิโด/โซนาร์
    9.4.9 มีสายการผลิตอะไหล่สนับสนุนการซ่อมบำรุงให้ใช้งานได้อย่างน้อย 30 ปี

อย่างไรก็ตามในการจัดหาอาวุธของกองทัพเรือที่ผ่านมานั้นจะเห็นได้ว่ามีงบประมาณพอสำหรับการจัดหาโครงการใหญ่หลักๆเพียงโครงการเดียวครับ ซึ่งในช่วงปี ๒๕๕๖-๒๕๖๐ นั้นกองทัพเรือคงจะต้องเลือกระหว่างการจัดหา "เรือฟริเกตสมรรถนะสูง" หรือ "เรือดำน้ำ" อย่างใดอย่างหนึ่งครับ
ซึ่งส่วนเกรงว่าอ่าจจะคล้ายกับกรณีจัดหาเรือ LPD ครับ คือกำหนดความต้องการ2ลำแต่ได้แค่ลำเดียว

สำหรับในส่วนงบประมาณในการจัดหาที่เป็นไปได้นั้น ถ้าดูจากที่มาเลเซียใช้งบประมาณในการจัดหาเรือดำน้ำแบบ Scorpene จำนวนสองลำจากบริษัท DCNS ฝรั่งเศษราว 900 Million Euro หรือราวๆ $1.15billion กว่าครับ
ซึ่งถ้ากองทัพเรือไทยจะจัดหาเรือดำน้ำใหม่อย่างน้อยสองลำที่มี Technology และคุณสมบัติในระดับเดียวกันก็คงต้องมีงบไม่ต่ำว่า $1-1.2 Billion หรือ 35,000-42,000ล้านบาทครับ ถ้าเทียบกับค่าเงินบาทในปัจจุบันที่ราว 35บาทต่อ $1
ซึ่ง

โดยคุณ AAG_th1 เมื่อวันที่ 01/02/2009 07:47:42


ความคิดเห็นที่ 9


   แล้วท่าน AAG_th คิดว่า  เรือชนิดใด ตรงกับความต้องการของ ทร.ไทย มากที่สุดครับ

   ระบบ AIP  นี่ใช่ ระบบ เผาไหม้เชื้อเพลิง โดยไม่จำเป็นต้องใช้ อากาศ ใช่ไหมครับ

   เท่าที่ทราบ ระบบ AIP มีใช้ในเรือดำน้ำ Scorpene รุ่น BASIC-AIP ขนาด 2000 ตัน เป็น ระบบ MESMA

  TYPE-212 ใช้ AIP แบบ Fuel-Cell

 Gotland ใช้ Stirling-AIP

 

    งั้นตัวเลือก ก็เหลือแค่ 3 แบบ เท่านั้น

โดยคุณ TOP SECRET เมื่อวันที่ 01/02/2009 09:09:37


ความคิดเห็นที่ 10


แบบว่าลองไปที่เรือดำน้ำของญี่ปุ้นบ้างก็ได้นะครับหรือของเกาหลีก็ดีนะครับน่าจะถูกกว่าทางยุโรบ..

โดยคุณ u209 เมื่อวันที่ 01/02/2009 10:06:06


ความคิดเห็นที่ 11


ด้วยความรู้อันน้อยนิดน่ะครับ

ชอบ Amur 950 น่ะครับ

ด้วยขนาดที่มีขนาดเล็ก แต่อาวุธครบ

มีท่อยิง Torpedo 4 ท่อ  บรรจุได้ทั้งหมด 16 ลูก

แถวยังมี VLS 10 ท่อ ณ วันนี้อาจเห็นว่าไม่จำเป็นสำหรับเรือดำน้ำ

แต่ในอนาคตอาจไม่แน่...

และด้วยขนาดเล็ก เลยใช้บุคลากรเพียง 18 คน

ส่วนจำนวนคิดว่าขั้นต่ำควร 2 ลำ อ่าวไทยลำ อันดามันลำ

แต่ถ้างบถึง 3 ก็ย่อมดีกว่า

และเรื่องถ่ายถอดเทคโนโลยี รัสเซียกับไทยเรา อาจเป็นไปได้

 

ข้อมูลอ้างอิง

http://www.ckb-rubin.ru/eng/project/submarine/noatompl/index.htm

[img]http://www.ckb-rubin.ru/eng/project/submarine/noatompl/img/16.jpg[/img]

โดยคุณ Ben_BEnz เมื่อวันที่ 01/02/2009 13:00:08


ความคิดเห็นที่ 12


รูป Amur 950


โดยคุณ Ben_BEnz เมื่อวันที่ 01/02/2009 13:01:25


ความคิดเห็นที่ 13


ลงรูปผิดครับ

อันนี้ถึงใช่ Amur 950


โดยคุณ Ben_BEnz เมื่อวันที่ 01/02/2009 13:04:20


ความคิดเห็นที่ 14


ญี่ปุ่นไม่สามารถต่อเรือดำน้ำเพื่อส่งออกได้ครับ เนื่องจากข้อห้ามของรัฐธรรมนูญที่ห้ามญี่ปุ่นผลิตอาวุธเพื่อส่งออก

เกาหลีใต้เองนั้นมีขีดความสามารถในการต่อเรือดำน้ำได้เองในประเทศครับ ซึ่งเป็นการต่อโดยซื้อสิทธิบัติในการผลิตคือ Type 214 ของเยอรมัน อย่างไรก็ตาม เกาหลีใต้ไม่มีน่าจะมีแผนต่อเรือดำน้ำเพื่อส่งออกในขณะนี้ครับ

สำหรับแบบเรือดำน้ำนั้นเนื่องจากช่วงเวลาการจัดหาตามแผนกลาโฆมจะอยู่ในช่วงปี ๒๕๕๕-๒๕๖๐ หรือ 2012-2017 ซึ่งเป็นช่วงที่หลายประเทศในยุโรปมีโครงการจัดหาเรือดำนั้นใหม่เช่น S-80 ของสเปน หรือ A26 ของสวีเดนเป็นต้น ดังนั้นแบบแผนของเรือจึงเป็นเรื่องในระยะยาวครับ

อย่างไรก็ตามส่วนตัวคิดว่าถ้ามีงบประมาณในการจัดหาจำนวนมากในช่วงนั้นกองทัพเรืออาจจะคงต้องการจัดหาเรือฟริเกตสมรรถนะสูง 2ลำให้ได้ก่อนการจัดหาเรือดำน้ำครับ

โดยคุณ AAG_th1 เมื่อวันที่ 01/02/2009 21:01:20


ความคิดเห็นที่ 15


ขอบคุณนะครับ ที่กระทู้ของผมได้รับการต่อยอด

 

หวังว่าคงจะมีซักวันที่ ทร.ไทยมีเรือดำน้ำเป็นของตัวเอง

 

จะได้เป็นหน้าเป็นตา และรักษาอธิปไตยได้อย่างภาคภูมิ

โดยคุณ atomic เมื่อวันที่ 01/02/2009 23:28:31


ความคิดเห็นที่ 16


การจะทำอะไรสักอย่างที่เราไม่เคยทำหรือประสปการณ์ยังไม่มาก ควรจะมีแบบของให้ก๊อปปี้บ้าง ดังนั้นกรณีเรือดำน้ำถ้าจะทำเอง ต้องมีของจริงมาสร้างประสปการณ์และก็อปปี้ไว้บ้าง แต่ไม่จำเป็นต้องเป็นของใหม่เอี่ยม เพราะจุดประสงค์เรา คือเราต้องการเรียนรู้เพื่อจะสร้างเองต่างหาก และเมื่อเราสร้างลำแรกออกมาได้ สิ่งที่ได้รับมันมากมายจนสามารถที่จะต่อยอดเทคโนโลยีในการสร้างลำต่อๆไปที่ดีกว่าเดิม ส่วนที่จะเป็นของประเทศไหน ในส่วนตัวผมคิดว่า เยอรมัน มาเป็นอันดับแรก ตามมาคือ สวีเดน และ รัชเซีย ตามลำดับครับ

แต่หากจะคิดต่อเรือดำน้ำเอง ผมว่าลองคิดต่อเรือฟริเกตเองให้ได้ก่อนครับ อย่าเพิ่งก้าวกระโดดข้ามมากไป เดี๋ยวไม่พ้น

และหากคิดจะจัดหาเรือดำน้ำใหม่ ผมสนับสนุนการจัดหาอากาศยานสมรรถนะสูงที่มีขีดความสามารถโจมตีเรือมาใช้ก่อนดีกว่าครับ ผมว่าคุ้มค่าและครอบคลุมกว่าในการเอามาลาดตระเวณคุ้มครองน่านน้ำ รู้ว่ามีเรือดำน้ำมันยังไม่สะท้านเท่ารู้ว่ามีเครื่องบินติดอาวุธนำวิถีกำลังบินตรงมาหานะครับ

โดยคุณ เด็กทะเล เมื่อวันที่ 02/02/2009 00:49:02


ความคิดเห็นที่ 17


ผมว่าเป็นไปไม่ได้ร้อย%ครับที่เราจะต่อเรือดำน้ำได้ ....... เทคโนโลยีเรายังห่างไกลอีกหลายสิบปีครับ ..... ผมว่าที่ทร.กับอู่กรุงเทพตั้งใจไว้ น่าจะเป็นการต่อเรือดำน้ำขนาดเล็กสำหรับปฏิบัติการพิเศษ, เพื่อติดคู่ไปกับเรือดำน้ำที่เราจะซื้อ, ใช้ในงานด้านอื่นที่ไม่ใช่การต่อสู้กับเรือดำน้ำ, หรือใช้ในงานพลเรือนมากกว่าครับ

สวีเดนกำลังวิจัยเรือดำน้ำลำใหม่ สิงคโปร์อาจจะเข้าร่วมด้วย ถ้าเรามีเงินเราลองไปร่วมกับเขาสิครับ ^ ^

โดยคุณ Skyman เมื่อวันที่ 02/02/2009 01:15:51


ความคิดเห็นที่ 18


    ถ้าเป็นอย่างท่าน SKYMAN  ว่า ผมว่าเราไปลงขัน กับ สวีเดน พัฒนา เรือดำน้ำ รุ่นไหมก็ดีน่ะครับ

   พอพัฒนา เสร็จ เราก็เอาแผนแบบ พิมพ์เขียว มาต่อเองในประเทศ ครับ

   ควบคู่กันกับ ซื้อเรือดำน้ำ สวีเดน มือ 2   มาอีก 1 ลำ เพื่อฝึกหัด...............เหมือนดังเช่น มาเลเซีย ซื้อ Scorpene 2 ลำ  และก็ซื้อ Agosta 90B  มาใช้ฝึกหัด  รวมเขาจะมี เรือดำน้ำ ถึง 3 ลำ

 

   เป็นอีกแนวคิดนึง ที่ดี ว่าแต่ว่า ค่าลงขัน มันจะแพง ไหมครับ..........เหมือน โครงการ F-35  ลงขันกันแพงเหลือเกิน

โดยคุณ TOP SECRET เมื่อวันที่ 02/02/2009 05:13:34


ความคิดเห็นที่ 19


แล้วความลึกที่พูดถึงกันฝั่งอ่าวไทย 60-80 เมตร

อยากถามว่า  Amur -950 เหมาะสมไหมครับ

ส่วนอันดามันเป็นของสวีเดนก็ได้ เนื่องจากเริ่มมีความร่วมมือด้านเครื่องบินกับ ท.อ อยู่ก่อนแล้ว

คงจะได้ผลเรื่อง การศึกษาค้นหาเหมือนที่อินเดียทำครับ

ส่วนทำเองลำเล็ก 20 ตัน ไม่เห็นว่าจะทำไม่ได้ตรงไหน เนื่องจากภาระกิจ ไม่ได้ใช้เชิงทำสงครามใต้น้ำอยู่แล้ว

สุดท้าย ทำดีกว่า ไม่ทำครับ

อยากให้ ทร.เป็นกองทัพไทยตัวอย่าง ที่น่าเอาเยี่ยงอย่างครับ

 

โดยคุณ tik เมื่อวันที่ 02/02/2009 06:50:52


ความคิดเห็นที่ 20


ปัจจุบันสวีเดนมีเรือดำน้ำชั้น Sodermanland ซึ่งปรับปรุงจากชั้น Vastergotland ที่ประจำการมาตั้งแต่ราวปลายปี 1980s 2ลำ(เรือชั้น Vastergotland อีกสองลำนั้นถูกส่งมอบให้สิงคโปร์ไปแล้ว) ส่วนตัวคาดว่าสวีเดนยังน่าคงประจำการเรือสองลำนี้ไปอีกสักระยะเนื่องจากเพิ่งปรับปรุงไปเมื่อปี 2004 นี้เองครับ นอดจากนั้นสวีเดนยังมีเรือดำน้ำชั้น Gotland ที่ต่อในช่วงกลางปี 1990s อีก3ลำ

ซึ่งในอนาคตเมื่อมีการสร้างเรือดำน้ำแบบ A26 ราวปี 2015-2017 ครับเรือชั้น Sodermanland ถึงจะปลด

โดนส่วนตัวคิดว่าเรื่องเรือดำน้ำมือสองสำหรับไทยนั้นที่เป็นไปได้มากที่สุดคือข่าวลือที่จีนจะให้เช่าซื้อเรือชั้น Type 039 Song ให้ไทยครับ(แต่ต้องเป็นกรณีที่จีนยังไม่มีแน้วโน้มจะเกิดสงครามเช่นกัยไต้หวันในอนาคต)

โดยคุณ AAG_th1 เมื่อวันที่ 02/02/2009 07:06:42