หน้าแรก    ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบคำถาม    เข้าสู่ระบบ      


การพัฒนาเกราะกันกระสุนของไทย

โดยคุณ : sam เมื่อวันที่ : 02/02/2009 16:47:02

เอ็มเทค ปตท.และม.มหิดล ร่วมเปิดตัวเสื้อเกราะกันกระสุนคุณภาพสูง ทดสอบแล้วรับมือกระสุนปืนระดับเอ็ม-16 และปืนไรเฟลได้สบายๆ ราคายังถูกสุดๆ

29 มกราคม - อาคารสำนักงานใหญ่ ปตท. ถนนวิภาวดีรังสิต กรุงเทพมหานคร รศ.ศิริลักษณ์ นิวิฐจรรยงค์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ  สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  ร่วมกับ นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)  ศ.ศกรณ์ มงคลสุข คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ดร.ไพลินทร์  ชูโชติถาวร  กรรมการผู้จัดการบริษัท พีทีที โพลิเมอร์ มาร์เก็ตติ้ง จำกัด

 

ร่วมกันแถลงผลสำเร็จในการผลิตเสื้อเกราะกันกระสุนคุณภาพสูงต้นแบบ ซึ่งมีคุณสมบัติสามารถป้องกันกระสุนปืนระดับเอ็ม-16 และปืนไรเฟล มีน้ำหนักเบากว่าเสื้อเกราะที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ขณะที่ต้นทุนการผลิตต่ำกว่าที่ผลิตด้วยวัตถุดิบนำเข้าเกือบเท่าตัวและมีประสิทธิภาพทัดเทียมต่างประเทศ นับเป็นนวัตกรรมใหม่ทั้งในด้านเทคโนโลยีการผลิต การนำวัตถุดิบที่ผลิตได้ในประเทศมาใช้ประโยชน์สูงสุด  รวมถึงการสร้างองค์ความรู้ใหม่ให้กับอุตสาหกรรมพลาสติกและเส้นใยสังเคราะห์ของประเทศ

 

รศ.ศิริลักษณ์ กล่าวว่า เสื้อเกราะกันกระสุนที่ผลิตขึ้นนี้เป็นเสื้อเกราะชนิดแข็ง ใช้แผ่นกันกระสุนที่ทำจากแผ่นเซรามิกและแผ่นโพลิเมอร์ HDPE ที่มีความแข็งแรงสูงมาประกบกัน ในลักษณะเป็นแผ่นโค้งที่ออกแบบให้รับกับสรีระของคนไทย ซึ่งแผ่นเซรามิกที่อยู่ด้านนอกจะทำหน้าที่ทำลายหัวกระสุน ส่วนแผ่นโพลิเมอร์คอมพอสิทที่อยู่ด้านใน ทำหน้าที่กระจายแรงและลดแรงกระแทก

 

ทั้งนี้  เสื้อเกราะกันกระสุนคุณภาพสูงดังกล่าว มีน้ำหนักเพียง 10 ก.ก.  และผ่านการทดสอบคุณภาพจากกรมพลาธิการตำรวจแล้วว่า มีประสิทธิภาพการป้องกันภัยของเกราะบุคคลในระดับ 3 ตามมาตรฐาน NIJ (National Institute of Justice) ของสหรัฐอเมริกา คือสามารถป้องกันกระสุนปืน 7.62 ม.ม. ปืนเอ็ม-16 และปืนไรเฟล 

ขณะที่ต้นทุนการผลิตเสื้อเกราะครั้งนี้ อยู่ที่ประมาณ 30,000 บาทต่อชุด  ซึ่งต่ำกว่าราคาเสื้อเกราะกันกระสุนระดับเดียวกันที่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศเกือบเท่าตัว รวมทั้งยังมีอายุการใช้งานยาวนานกว่า เพราะสามารถทนต่อความชื้นและแสงแดดได้ดีกว่า

 

เนื่องจากวัสดุเซรามิก มีจุดเด่นคือเป็นวัสดุที่เบาและแข็ง สามารถทำลายหัวกระสุนที่มีความเร็วสูงให้แตกออกเป็นชิ้นเล็ก ๆ และความแข็งเกร็งจะสามารถกระจายแรงได้ดี จึงเป็นวัสดุที่นักวิจัยเอ็มเทค โดย ดร.กลุจิรา สุจิโรจน์ หัวหน้าโครงการนำมาวิจัยเพื่อเสริมให้เสื้อเกราะนี้สามารถป้องกันภัยคุกคามได้

 

   ทั้งนี้ กลุ่ม ปตท. โดยบริษัท พีทีที โพลิเมอร์ มาร์เก็ตติ้ง จำกัด (พีทีทีพีเอ็ม) ซึ่งเป็นบริษัทที่ดูแลการจำหน่ายเม็ดพลาสติก InnoPlus HDPE ทั้งหมดของกลุ่ม ปตท. ได้ให้การสนับสนุนงบประมาณ 5.5 ล้านบาท พร้อมวัตถุดิบเม็ดพลาสติกให้ทีมวิจัย เพื่อนำมาผลิตเป็นเสื้อเกราะกันกระสุนคุณภาพสูงต้นแบบจำนวน 100 ตัว สำหรับเจ้าหน้าที่ตำรวจและทหารใช้ป้องกันตัวขณะปฏิบัติในพื้นที่เสี่ยงภัย โดยเฉพาะใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้  ซึ่งปัจจุบันประสบปัญหาขาดแคลนเสื้อเกราะกันกระสุนอย่างมาก 

 

เสื้อเกราะกันกระสุนต้นแบบทั้ง 100 ตัวจะผลิตแล้วเสร็จประมาณเดือนสิงหาคมนี้  และจะส่งมอบให้กับหน่วยราชการที่เกี่ยวข้องเพื่อใช้งานต่อไป และยังมีแผนที่จะให้การสนับสนุนงานวิจัยเพื่อพัฒนาเสื้อเกราะกันกระสุนให้มีคุณสมบัติดียิ่งขึ้นอีกในอนาคต

http://www.bangkokbiznews.com/home/news/it/innovation/2009/01/30/news_11859.php

 





ความคิดเห็นที่ 1


อย่างที่มีคนเคยพูดไว้ คนไทยถ้าตั้งใจทำอะไรแล้ว ไม่แพ้ชาติใดในโลก ถ้ามีการต่อยอดองค์ความรู้และพัฒนาต่อไปจะดีมากเลยครับ

โดยคุณ ploydaddy เมื่อวันที่ 30/01/2009 02:55:04


ความคิดเห็นที่ 2


อยากรู้ว่าทำให้ตัวเสื้อเกราะมีน้ำหนักเบากว่า 10 กก.ได้อีกมั๊ย
อย่าลืมกันนะว่าทหารไทยนะ ขาดแคลนทุกอย่าง ถุงมือยังไม่มีให้ใช้เลย
สนับเข่าสนับศอก แว่นตากันสะเก็ด ก็ไม่มี ( ซื้อเอง )
ไม่เคยมีทหารหน่วยไหนใส่เสื้อเกราะฝึกขณะอยู่ในที่ตั้ง
ส่งไปให้ใช้ วันแรกใส่ พอวันที่สองก็ถอดทิ้งซะแล้ว ข้ออ้างก็คือ หนัก ไม่คล่องตัว ไม่ชิน และสุดท้ายคือ เกะกะ
เสื้อเกราะกันกระสุน  M 16 AK 47 ได้แต่ถ้าโดนเข้าคนโดนก็หมดสภาพเหมือนกัน แรงปะทะของกระสุนทั้งสองชนิด ประมาณ 2 ตันโดนเข้าไม่จุกก็อาจจะซี่โครงหักก็ได้
โดยคุณ e21cye เมื่อวันที่ 30/01/2009 04:17:08


ความคิดเห็นที่ 3


แนะนำให้เสนอขายต่างชาติครับ  เอาในอาเซียนด้วยกันนี้แหละ โครงการณ์จะได้มีเงินเข้ามาหมุนเวียนและดำเนินการต่อไปได้ไม่ล้มหายตายจากกันไปก่อน

หรือจะเสนอขายกองทัพเรือก็ได้  เข้าชอบของที่เราทำกันเอง

ใช้การตลาดแบบจีนไปเลย....ของถูก แต่เรามีคุณภาพ
โดยคุณ อีแอบ เมื่อวันที่ 30/01/2009 09:48:02


ความคิดเห็นที่ 4


ขายยกเซ็ตให้ กลุ่มพลเรือนและทหารที่สังกัดใน ปปส. เลยครับ
และ ปปง. ด้วย เพราะทั้งสองกลุ่มนี้งบประมาณเหลือเฟือและมีสิทธิ์โดนส่องด้วยปืน สั้นจากกลุ่มผู้ทำลายความมั่นคงละกัน ส่วนทหารค่อยว่ากันไป
  กลุ่ม ปปส.มีทั้งคนทำงานตำรวจ ทหาร และพลเรือนปนกันไป ถ้าใช้แล้ว
จะได้การยอมรับจากเหล่านี้เยอะมาก word of mount ก็จะกระจายกันไปครับ
 หลังจากนั้นก็จะขายได้กับกลุ่ม รปภ.ของท่านผู้นำทั้งหลายอิอิอิ
โดยคุณ siamman18 เมื่อวันที่ 30/01/2009 21:06:03


ความคิดเห็นที่ 5


เหมือนกับคงยังต้องพัฒนาอีก น้ำหนักขนาดนั้นถ้าเครื่องสนามครบชุดคนใส่จะทำอะไรได้บ้าง เหมือนกับคนทำก็ทำไปไม่คิดถึงคนใช้ และอยากให้ปรับปรุงการนำเสนอ เกราะทนปืนไรเฟิลได้สบาย เป็นคำถามว่า ทีมรู้จักคำว่า ปืนไรเฟิล ปืนยาว แค่ไหน รู้จักอานุภาพของกระสุนชนิดต่างๆหรือไม่ การทำเกราะให้ทนต่อกระสุน 5.56 NATO 7.62NATOนี่ก็เก่ง แต่ถ้าใครลาก ไรเฟิล .300 Winchester Magnum, .338 Lapua Magnum หรือ.375 H&H Mangnum� มาลอง
โดยคุณ Oldtimer เมื่อวันที่ 31/01/2009 19:35:54


ความคิดเห็นที่ 6


ถ้ามันดีจริงๆ ก็ทำขายต่างชาติไปเลยครับ

ปล.ถ้าดีก็มีคนำซื้อแน่
โดยคุณ sat121 เมื่อวันที่ 01/02/2009 13:31:59


ความคิดเห็นที่ 7


น้ำหนัก เสื้อเกราะ PASGT ขนาด Medium 4 กก. ถ้าใส่เกราะเสริมแบบที่ใช้ปฎิบัติการในโซมาเลีย น้ำหนักรวม 11 กก.

น้ำหนักเสื้อเกราะ Interceptor body armor รวม 7.4 กก. ( Vest 3.8 กก. + SAPI 2 แผ่น  3.6 กก. )

น้ำหนักเสื้อเกราะ Tactical NIJ Level IIIA ของ VestGuard UK ( บ.อ้างอิงว่า มีใช้ในกองทัพสหรัฐ กองทัพอังกฤษ และหน่วยรักษาสันติภาพ UN ) Vest Level IIIA หนัก 2 กก. ราคาคิดเป็นเงินไทย 25,000 บาท

เกราะ Dyneema ( Level III ) 2 แผ่น หนัก 2.76 กก. ราคารวม 21,000 บาท น้ำหนัก Vest + เกราะ 2 แผ่น 4.76 กก. ราคารวม 46,000 บาท

เกราะ Dyneema&Ceramic (ชนิดของเกราะเทียบกับของข่าวข้างต้น คือเป็น Ceramic + HDPE ) ( Level III + SS109 Steel core round ) 2 แผ่นหนัก 3.6 กก. ราคารวม 21,000 บาท น้ำหนัก Vest+เกราะ 2 แผ่น 5.6 กก. ราคารวม 46,000 บาท

เกราะ Ceramic dual purpose HAPs ( Level III/IV ) 2 แผ่น หนัก 5.6 กก. ราคารวม 15,000 บาท น้ำหนัก Vest + เกราะ  2 แผ่น 7.6 กก. ราคารวม 40,000 บาท

โดยคุณ ลุงหมี เมื่อวันที่ 02/02/2009 05:47:03