หน้าแรก    ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบคำถาม    เข้าสู่ระบบ      


ระบบและอาวุธต่อสู้อากาศยานของไทย

โดยคุณ : atomic เมื่อวันที่ : 02/02/2009 09:05:36

อยากทราบว่าระบบและอาวุธต่อสู้อากาศยานของไทยเรานั้น มีขีดความสามารถระดับไหนในภูมิภาคของเรา

สามารถรับมือกับภัยคุกคามจากยานรบที่ทันสมัยได้ระดับไหนครับ

เรียนท่านผู้รู้ช่วยตอบให้กระจ่างด้วยครับ ขอบคุณล่วงหน้านะครับ





ความคิดเห็นที่ 1


ข่าวนี้ผมได้คัดลอกมาจากกรมข่าวทหารบกครับ

เป็นระบบป้องกันภัยทางอากาศของพม่า

ไม่ทราบว่าของไทยพอไหวมั้ยครับ

ระบบป้องกันภัยทางอากาศ

หน่วยควบคุมและแจ้งเตือน 

 

               พม่าจัดหาเรดาร์แบบ JLP - 40 และ JLG - 43 เมื่อปี ๒๕๓๗  ไม่ทราบจำนวน จากจีน  เพื่อทดแทน เรดาร์ DARS - I และ DARS - III  ที่มีอายุใช้งานนานกว่า ๕๐ ปี  เรดาร์ดังกล่าวมีรัศมีปฏิบัติการใกล้  ไม่มีการส่งข้อมูล  และรวมการควบคุมไว้ที่ศูนย์กลางทำให้ขาดประสิทธิภาพในการควบคุมและสั่งการ มีที่ตั้ง ดังนี้

                                -  สถานีเรดาร์นำซาง (ฝูง ๗๑)  ตั้งอยู่ที่สนามบินนำซาง มีเรดาร์เฝ้าตรวจ JLP - 40 และ เรดาร์วัดสูง JLG - 43

                                -  สถานีเรดาร์ลอยมะเว  (ฝูง ๗๒)  ตั้งอยู่ที่ดอยเหมย  .เชียงตุง รัฐฉาน มีเรดาร์เฝ้าตรวจ JLP - 40 และ เรดาร์วัดสูง JLG - 43

                                -  สถานีเรดาร์กุตไก่  (ฝูง ๗๓)  ตั้งอยู่ที่ ม.กุตไก่  รัฐฉาน มีเรดาร์เฝ้าตรวจ JLP - 40 และ เรดาร์วัดสูง JLG - 43

                                -  สถานีเรดาร์หม่อบิ  (ฝูง ๗๔)  ตั้งอยู่ที่สนามบินหม่อบิ  มีเรดาร์เฝ้าตรวจ JLP - 40 และ เรดาร์วัดสูง JLG - 43

                                -  สถานีเรดาร์เกรทโกโก   ตั้งอยู่ที่เกาะเกรทโกโกในทะเลอันดามัน  มีเรดาร์เฝ้าตรวจ JLP - 40 และ เรดาร์วัดสูง JLG – 43

 

.ขับไล่สกัดกั้น 

 

               ใช้ บ.MiG - 29  วางกำลังอยู่ที่ ฐานบินมิงกลาดอน  ฐานบินชานเต และ บ.F - 7 M วางกำลังที่ ฐานบินมิงกลาดอน  ฐานบินชานเต  ฐานบินมิตจินา  ฐานบินตองอู  อีกทั้งสามารถวางกำลังที่ฐานบินนำซาง  และฐานบินมะริดได้

 

หน่วยอาวุธต่อสู้อากาศยาน 

 

               การป้องกันทางอากาศโดยรวมเป็นหน้าที่ของ ทบ.  มีหน่วยอาวุธต่อสู้อากาศยาน  ดังนี้

-          พัน ปตอ.ที่ ๗ ภทบ.ย่างกุ้ง  ตั้งอยู่ที่ กรุงย่างกุ้ง

-          พัน ปตอ. ที่ ๘ ภทบ.ภาคกลาง  ตั้งอยู่ที่ ม.เมคติลา

-          พัน ปตอ.ที่ ๑๑ ภทบ.ใต้  ตั้งอยู่ที่ จ.ตองอู

-          พัน ปตอ.ภทบ.พื้นที่ชายฝั่ง  ตั้งอยู่ที่  .มะริด

               อาวุธต่อสู้อากาศยาน   ประกอบด้วย    ปตอ.   ๑๒.  มม.     ปตอ.๓๗  มม.  Type 74   จำนวน ๒๔  กระบอก  ปตอ. ๔๐ มม. M 1  จำนวน ๑๐ กระบอก ปตอ. ๕๗ มม.  Type 59   จำนวน ๑๒  กระบอก  จรวดนำวิถีต่อสู้อากาศยานแบบ HN - 5A   SA -7  และ lgla - 1E

 

ขีดความสามารถกำลังทางอากาศพม่า 

 

               พม่ามีข้อจำกัดในการใช้กำลังทางอากาศเนื่องจากยุทโธปกรณ์ที่มีประจำการค่อนข้างล้าสมัย  เช่น  ระบบอาวุธขาดความแม่นยำ  ยังไม่มีอาวุธอากาศ - พื้นดินแบบนำวิถี  เครื่องช่วยเดินอากาศและระบบนำร่องยังมีข้อจำกัด  ต้องปฏิบัติการร่วมกับหน่วยควบคุมการบิน  ซึ่งมีประสิทธิภาพต่ำ  อีกทั้งนักบินยังขาดประสบการณ์และความต่อเนื่องในการฝึกบินรบในอากาศและการปฏิบัติร่วมกับกำลัง ภาคพื้นเป็นผลให้การใช้กำลังทางอากาศขาดประสิทธิภาพ  โดยมีขีดความสามารถอย่างจำกัดดังนี้

-          สามารถป้องกันทางอากาศ  ด้วย บ.MiG - 29  และ บ.F - 7 M

-          สามารถโจมตีสนับสนุนโดยใกล้ชิดให้แก่หน่วยภาคพื้นในการปราบ

ปรามชนกลุ่มน้อยภายในประเทศ   และบริเวณพื้นที่ใกล้แนวชายแดนไทย ด้วย บ.ขับไล่/โจมตี F - 7M    A - 5C    .ฝึกติดอาวุธ  G  -  4    K - 8    PC - 9   PC - 7  และ ฮ.ติดอาวุธ MI 2

-          สามารถปฏิบัติการโจมตีทางอากาศต่อเป้าหมายต่าง       ในพื้นที่

ภาคเหนือและภาคกลางบางส่วนของไทย  ครอบคลุมถึงสนามบินเชียงราย  เชียงใหม่  พิษณุโลก  ด้วย บ.MiG - 29    F - 7M   A - 5C   G - 4  และเมื่อวางกำลังที่สนามบินมะริด  จะทำให้มีรัศมีปฏิบัติการครอบคลุมพื้นที่ภาคกลางและภาคใต้ตอนบนของไทยถึงสนามบินตาคลี  ดอนเมือง  ประจวบคีรีขันธ์  และสุราษฎร์ธานี

                                                -   สามารถลาดตระเวนทางอากาศในพื้นที่ชายแดนและน่านน้ำเขตติดต่อกับไทยได้

                                                -  สามารถลำเลียงทางอากาศ  เพิ่มเติมกำลังและสิ่งอุปกรณ์  ให้หน่วยในพื้นที่ยุทธบริเวณ  ด้วย บ.ลำเลียง  Y - 8D   Fokker  F.27/Fairchild FH.227  .ลำเลียง MI - 17 Bell  -  205A  -  1    W - 3 Sokol

 

การพัฒนากองทัพอากาศ  

 

               ก่อนที่คณะทหารพม่า (SLORC)  จะยึดอำนาจรัฐในปี ๒๕๓๑  กองทัพพม่ามีกำลังรบหลัก คือ ทหารราบเบา  มีระบบอาวุธล้าสมัย  ถึงแม้จะมีขีดความสามารถในการรบสูง    แต่ขาดความคล่องตัว   การส่งกำลังบำรุงและการสื่อสารไม่มีประสิทธิภาพ  ในส่วนของกองทัพอากาศพม่าก็อยู่ในสภาพเสื่อมโทรม  ขาด บ.รบที่ทันสมัย  ไม่มีขีดความสามารถในการป้องกันทางอากาศเช่นเดียวกัน

 

อย่างไรก็ตาม  นับตั้งแต่ปี  ๒๕๓๑  รัฐบาลทหารพม่าได้กำหนดโครงการพัฒนากองทัพครั้งใหญ่  โดยในส่วนของกองทัพอากาศพม่า  ได้จัดหา บ.รบที่ทันสมัยเข้าประจำการเป็นจำนวนมาก    ถึงแม้ว่าจะประสบกับปัญหาการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจ  และห้ามค้าขายอาวุธจากสหรัฐฯ  และยุโรป

 

                การพัฒนา ทอ.พม่า นั้น  ได้รับการช่วยเหลือและสนับสนุนด้านการทหารจากจีน  โดยการขายยุทโธปกรณ์ให้ในราคามิตรภาพ  การให้การฝึกอบรมเจ้าหน้าที่  โดยได้ส่งครูการบินมาฝึกบินให้กับนักบินพม่า  และให้พม่าส่งนักบินไปฝึกบินที่  รร.การบิน  ของจีนด้วย  และได้ช่วยเหลือในการฝึกใช้อาวุธทางอากาศ  รวมถึงการวางระบบสื่อสาร  สถานีเรดาร์  และการใช้ดาวเทียมของจีนสนับสนุนกองทัพพม่า   ทั้งนี้ บ.รบจากจีนที่เข้าประจำการใน ทอ.พม่า ที่สำคัญ   ได้แก่     .F – 7M   A – 5C   K – 8    นอกจากนี้ได้จัดหา บ. MiG – 29   และ  .MI – 17       MI – 2  จากรัสเซีย  รวมทั้งได้พัฒนาสนามบินให้สามารถวาง บ.ที่เข้าประจำการดังกล่าวด้วย   โดยเฉพาะสนามบินมะริด   สนามบินนำซาง  สนามบินตองอู  ซึ่งใกล้ชายแดนไทย   ทั้งนี้  พม่าจะนำ  . MiG  –   29    เข้าประจำการที่ฐานทัพอากาศ   .เมคติลา   ภาคมัณฑะเลย์   และฐานทัพอากาศ   . มะริด รวมทั้งส่งครูฝึกนักบินจากรัสเซียจำนวน ๒ คน เข้าไปฝึกสอนการบิน   ส่วนการซ่อมบำรุง  พม่าได้ทำสัญญากับรัสเซียในการซ่อมบำรุงเครื่องบินดังกล่าวเป็นเวลา ๑ ปี ๖  เดือน  รวมทั้งการตรวจเช็คอีก ๒๐๐ เที่ยวบิน  หลังจากสัญญาการซ่อมบำรุงหมดแล้วพม่าจะหาผู้ทำการซ่อมบำรุงรายอื่นต่อไป   นอกจากนี้พม่าได้จัดหาอาวุธยุทโธปกรณ์จากประเทศอื่น ๆ อีก  ได้แก่  ปากีสถาน  ยูโกสลาเวีย  สิงคโปร์  เกาหลีเหนือ  อิสราเอล  ยูเครน

 

                        อย่างไรก็ตาม แม้พม่ามีการพัฒนาสนามบินในประเทศหลายแห่ง   แต่มีแนวโน้มว่าการพัฒนาฐานบินมะริด  อาจส่งผลกระทบต่อไทย  เนื่องจากพบว่ามีการสร้างลานจอด  และโรงจอด    .เพิ่มเติม   สำหรับ   .เตรียมพร้อม   จำนวน ๒ โรงจอด   มีการสร้างอาคารที่พักอาศัย  และยังมีพื้นที่ก่อสร้างที่ยังอยู่ระหว่างการดำเนินการอีก ๒ จุด  แต่ไม่ตรวจพบ

.  บริเวณสนามบิน

 

 

 

โดยคุณ atomic เมื่อวันที่ 01/02/2009 22:05:38