ท่านที่ลุ้นโครงการพัฒนาเทคโนโลยีต้นน้ำต่าง ๆ อาจจะดีใจครับที่ได้ยินข่าวนี้ สหวิริยาก็ประกาศแล้วว่าจะลงทุนพัฒนาเทคโนโลยีเป็นของตนเองในแผนระยะยาว 10 ปี คงต้องดูกันต่อไปว่าจะสำเร็จหรือไม่กับการตั้งโรงงานเหล็กในไทย - -
เสนอ ครม.ศก. อนุมัติโครงการเหล็กต้นน้ำ ข่าว 12.00 น. Posted on Wednesday, January 21, 2009 |
นายสรยุทธ เพ็ชรตระกูล ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม บอกว่า ภายใน 2 สัปดาห์นี้กระทรวงอุตสาหกรรมจะนำโครงการพัฒนาเหล็กต้นน้ำ เสนอเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรีเศรษฐกิจ เนื่องจากเห็นว่าโครงการเหล็กต้นน้ำเป็นเรื่องสำคัญและเป็นวาระเร่งด่วนที่รัฐบาลจะต้องรีบดำเนินการ แม้ว่าไทยจะไม่มีแหล่งผลิตสินแร่เหล็ก แต่มีอุตสาหกรรมที่จะต้องใช้เหล็กเป็นจำนวนมาก เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน โดยหากโครงการเหล็กต้นน้ำเป็นรูปธรรมโดยเร็ว ก็จะสามารถสร้างฐานการผลิตเหล็กให้กับประเทศไทย เพราะประเทศเพื่อนบ้าน เวียดนามและมาเลเซียเริ่มมีการพัฒนาโครงการเหล่านี้แล้ว ซึ่งอาจจะทำให้ไทยเสียเปรียบและเกิดการย้ายฐานการผลิตไปยังประเทศอื่นได้ นายสรยุทธ บอกอีกว่า ขณะนี้มีนักลงทุน 4 รายแสดงความสนใจที่จะเข้ามาลงทุนในโครงการเหล็กต้นน้ำ โดยเป็นนักลงทุนจากประเทศญี่ปุ่น 2 ราย, ยุโรป 1 ราย, จีน 1 ราย และบมจ. สหวิริยาได้ขอส่งเสริมการลงทุนจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) แล้ว แต่ได้ชะงักไป เพราะความไปพร้อมด้านการตลาด นายสรยุทธ เชื่อว่า ครม.เศรษฐกิจจะเห็นชอบการพัฒนาโครงการเหล็กต้นน้ำและยังจะสอดคล้องกับการที่นายกรัฐมนตรีจะเดินทางไปโรดโชว์ที่ประเทศญี่ปุ่นวันที่ 6 - 7 กุมภาพันธ์นี้อีกด้วย |
http://www.moneychannel.co.th/Menu6/Moneylinenews/tabid/89/newsid491/77332/Default.aspx
เห็นเริ่มต้นก็ประท้วงกันตั้งแต่ยังไม่ตั้งโรงงานเลยครับ จนเกิดความบาดหมางรุนแรง
คุณอักษร เจริญทัศน์ โดนยิงเมื่อหลายปีก่อนจนตอนนี้คดีก็อยู่ในชั้นศาล แต่ด้วยเหตุหลายปัจจัย มือปืนที่ยิงและพยานอื่นๆโดนตัดตอนเรียบร้อยในเรือนจำแล้วครับ
อันนี้คือความสุดยอดของการแก้ปัญหาระหว่างนายทุนและชาวบ้านในพื้นที่ฮะ
ผมก็ยอมรับนะว่าการสร้างงานในพื้นที่มันดีแต่ว่ามีปัญหาตั้งแต่ยังไม่สร้างนี่ไม่ค่อยโสภาสำหรับนักลงทุนเท่าไรเลย
ใจจริงอยากให้สหวิริยาไปตั้งโรงงานในพื้นที่อาเซียนมากกว่า เพราะอุตสาหกรรมขั้นปฐมภูมิ ส่วนใหญ่จะสร้างปัญหาสิ่งแวดล้อมอย่างมหาศาลให้กับพื้นที่รอบๆเลยครับยิ่งเหล็กนี่ แค่ Start เครื่องหลอมก็ต้องดึงไฟฟ้าทั้งจังหวัดมาแชร์ให้กับโรงงานแล้วครับ ส่วนของเสียจากเหล็กไม่ต้องพูดถึง ก็เหมือนเอาสุสานรถยนต์เหมือนในหนังไปตั้งไว้ในอ.บางสะพานนี่ละครับ
ไม่รู้ว่าตั้งแล้วมันดีหรือไม่ดีกันแน่ อยากสร้างโมเดลงีร้มากกว่า
บริษัทแม่อยู่ ในกรุงเทพส่วนโรงงานทำเหล็กหล่อเหล็กก็อยู่ในต่างประเทศที่ใกล้วัตถุดิบมากที่สุด เพราะยังไงเสียประเทศอื่นก็สนใจจะรับการลงทุนเรื่องอุตสาหกรรมหนักอยู่แล้ว
ผมพะวงปัญหาสิ่งแวดล้อมเท่านั้นละครับเพราะมันหนักหนาสาหัสเหลือเกินไม่อยากให้ อ.บางสะพานเป็นแบบ อ.พระสมุทเจดีย์เลย น้ำเน่า เละซะแทบไม่เหลือแล้ว
ตอนนี้โรงงานเหล็กต้นน้ำ (เตาถลุงเหล็ก) ของบริษัทจากประเทศจีนรู้สึกว่าทำรายงานวิเคราะห์ฯ สวล. ผ่านไปแล้วครับ (อันนี้เป็นเตาถลุงขนาดเล็ก)
ส่วนสหวิริยาบริษัทคนไทยนั้นมีปัญหาเรื่องการประท้วงอยู่ครับเพราะดันไปบุกรุกพื้นที่ป่าสงวนฯ และไปดำเนินการปรับพื้นที่ ถมดิน ตัดต้นไม้ก่อนที่โครงการจะได้รับอนุญาติ (จากรายงานข่าวทางทีวีน่ะครับ) ทั้งๆ ที่รายงานวิเคราะห์ฯ สวล. เกือบจะได้อนุมัติแล้ว ตอนนี้เลยถูกสั่งถอนรายงานฯ แล้วค่อยยื่นพิจารณากันใหม่ครับ
โรงงานเหล็กต้นน้ำเป็นโรงงานที่ก่อมลพิษที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมสูงมากๆ ดังนั้นจึงต้องใช้เวลานานหน่อยกว่าจะขออนุญาติได้ จากหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยงข้องครับ ซึ่งเยอะมากๆ
ที่คุณ siam กล่าวมา หมายถึง คุณเจริญ วัดอักษร กระมังครับ แกนนำกลุ่มอนุรักษ์บ่อนอก
ถ้าใช่ตอนนี้ คดีก็กำลังทำอยู่กับ โดย กรมสอบสวนคดีพิเศษ
---------------------------------------------------------
สำหรับเรื่อง โรงถลุงเหล็ก ผมอยากจะให้ไปอยู่ ในบริเวณที่เหมาะสมกว่าหนะครับ เพราะ บ่อนอก-บ้านกรูด ปะการัง ยังสมบูรณ์อยู่เยอะมาก ถ้าทำเป็นการท่องเที่ยวมันก็จะสามารถทำให้ชุมชนอยู่ได้
ไหน ๆ มาบตาพุด ก็เละไปแล้ว แหลมฉบังก็เละไปแล้ว ก็เอา โรงงานถลุงเหล็ก อีกสักโรงไปอยู่จะเป็นอะไรไปหละครับ มันคงไม่เละไปกว่านี้หรอกกระมังครับ
ท่าเรือของ บริษัทหนึ่ง ยังสร้างรุกล้ำลงไปในทะเลได้เลย มันก็น่าจะต่อยอดความเละเทะกันต่อไปที่นี่จะดีกว่ากระมังครับ
เห็นด้วยนะ ถ้าจะให้มีโรงงานอุตสาหกรรมหนักในของการผลิตเหล็กกล้า แต่ไม่เห็นด้วยที่จะเอาไปอยู่ในที่ไม่เหมาะสมครับ
โรงงานถลุงเหล็กน่าจะมีตั้งนานแล้ว นอกจากสิ่งแวดล้อมแล้วขาใหญ่ที่คลองตลาดเหล็กของไทยอาจทำให้โคลงการล้าช้าไปอีก ทีจริง สหวิริยาฯควรจะเปิดโรงงานได้แล้ว
เวียตนามเริ่มโครงการขนาด 11 ล้านตันซึ่งคาดว่าไม่เกิน 3 ปีจะสามารถเริ่มต้นได้ รู้สึกว่าญี่ปุ่นจะเป็นเจ้าแรกเลยมั๊งที่ยื่นเสนอว่าสนใจลงทุนในเวียตนาม
โครงการเหล็กของสหวิริยามีกำลังผลิตครบทุกเฟส(4เฟส)จะมีกำลังผลิตสูงถึง 30 ล้านตัน แต่ประเทศไทยใช้ราวๆ 14 - 15 ล้านตันครับ ดังนั้นยอด 30 ล้านตันนั้นได้มาจากปริมาณเหล็กที่ภูมิภาคอาเซียนใช้ทั้งหมด จะเห็นว่าไทยชาติเดียวใช้เหล็กถึงเกือบครึ่งของชาติอาเซียนทั้งหมดแล้ว ใครครองตลาดประเทศเราได้ก่อนคนนั้นได้เปรียบในการดั๊มราคาเพื่อครองตลาดอาเซียนทั้งหมดครับ
ราคาเหล็กที่เราถลุงจะถูกกว่าทางญี่ปุ่นและเกาหลีและน่าจะพอๆกับจีน เนื่องจากแหล่งเหล็กดิบได้มาจากออสเตเรีย และแหล่งถ่านหินในการถลุงมาจากอินโด ดังนั้นต้นทุนค่าขนส่งจึงต่ำกว่ามาก รวมทั้งค่าแรงที่ต่ำกว่าด้วย
ปัจจุบันเรานำเข้าเหล็กดิบเป็นอันดับ 3 ของโลก! และเราคือตลาดใหญ่ที่สำคัญขอ
ญี่ปุ่น ดังนั้นการที่เราเดินโครงการนี้จะกระทบภาคการส่งออกเหล็กดิบของญี่ปุ่นอย่างรุนแรงครับ ดังนั้นในสมัยยุคทักกี้ตอนจะทำ FTA กับญี่ปุ่น เรื่องโครงการถลุงเหล็กจึงถูกญี่ปุ่นกดดันอย่างหนักแบบไม่ยอมง่ายๆ โดยทางญี่ปุ่นเอาอุตสาหกรรมยานยนต์มาต่อรองครับ และในที่สุดก็ต่อรองกันลงตัวโดยให้ญี่ปุ่นมาเป็นหุ้นส่วนกับสหวิริยาด้วย ญี่ปุ่นเลยยอมครับ
แต่โครงการนี้สหวิริยาให้การสนับสนุนทักกี้ในทางการเมืองอย่างมากครับ พอทักกี้ถูกยึดอำนาจโครงการของสหวิริยาจึงโดนดองและกลั่นแกล้งจากภาคการเมือง ในขณะนั้นทาง TATA ก็แอบดอดเข้ามาในยุค คมช. โดยยึดมิลิเนี่ยมสตีลไปแล้วเปลี่ยนเป็นทาทาประเทศไทย และเริ่มโครงการถลุงเหล็กเฟสแรกที่ 3 ล้านตัน ปัจจุบันดำเนินการผลิตอยู่ครับ ก็ถือว่าประเทศเรามีโรงงานถลุงเหล็กต้นน้ำแล้วเป็นเจ้าแรกของอาเซียน แสดงว่าทาทาใช้เส้นการเมืองตัดหน้าสหวิริยา ซึ่งตอนนั้นผมได้กำไรจากหุ้นทาทาประเทศไทยกว่า 50% จากข่าวนี้
พอเปลี่ยนรัฐบาลเป็น พปช. สหวิริยาก็ทำท่าจะได้เกิดอีก แต่ก็โดนเล่นด้วยการประท้วงอย่างหนักต่อเนื่อง(แน่นอนว่าได้รับการสนับสนุนจากฝ่ายการเมือง) ทางทาทาก็ประกาศขยายกำลังการผลิตเฟสสองแล้วครับที่ 5 ล้านตัน พร้อมกับเพิ่งเทคโอเวอร์บริษัทผลิตเหล็กรีดร้อนรีดเย็นที่การเงินท่าทางจะเดี้ยงไปเป็นบริษัทที่สอง(ขอโทษที่จำไม่ได้ครับว่าชื่อบริษัทอะไร)
มาถึงตอนนี้ทางเจ้าของสหวิริยายอมโดดกลับมาฝั่งการเมืองอีกขั้วแล้ว ดังนั้นรัฐบาลชุดนี้จึงทำการสนับสนุนต่อ(สมัย คมช. ถูกดอง) แต่ผมว่ากว่าสหวิริยาจะสามารถเดินเฟสแรกได้ก็อีกอย่างน้อย 3 ปี ถึงเวลานั้นเฟส 2 ของทาทาก็เดินกำลังการผลิตกันแล้ว และอาจเปิดเฟส 3 ในกำลังการผลิต 10 ล้านตันได้ ดังนั้นถึงตอนนั้นทาทาจะเป็นผู้ครองตลาดเหล็กดิบภายในประเทศเราได้ก่อนครับ เวลานั้นเวียตนามคงได้กำลังการผลิตสัก 3 - 5 ล้านตันไปแล้ว
ถ้าสหวิริยาเดินเครื่องได้ครบก็กว่า 10 ปี เผลอๆถึงตอนนั้นประเทศเราอาจจะมีกำลังการผลิตรวมกันมากกว่า 40 ล้านตันก็เป็นได้ครับ ซึ่งมาจากสหวิริยา 30 ล้านตัน และอาจจะมาจากทาทาประเทศไทยอีก 10 ล้านตันก็ได้ กำลังการผลิตขนาดนี้ก็ประมาณครึ่งหนึ่งของกำลังการผลิตของญี่ปุ่นครับ เราจะกลายเป็นผู้ส่งออกเหล็กดิบและครองตลาดอาเซียนเป็นแน่แท้
แหมถ้าขุดครองกระในอีก 15 ปีข้างหน้า เรามีเหล็กต้นน้ำในอัตราเต็มกำลังที่พร้อมที่สุดในภูมิภาคเลยครับ จะสามารถขับเคลื่อนโครงการนิคมอุตสาหกรรมต่อเรือครบวงจรได้ทันที
ด้วยการฉวยจังหวะทางการเมืองของทาทากรุ๊ป ทำให้ทาทามอเตอร์จึงคิดว่าถึงเวลาแล้วที่จะเปิดตลาดรถยนต์ในเมืองไทยและมีแผนจะเปิดตัวทาทานาโน ซุ่งเป็นรถอีโคคาร์และจะสามารถถล่มตลาดรถญี่ปุ่นได้อย่างหนักหน่วงด้วยนโยบายราคา เพราะแหล่งเหล็กดิบที่ป้อนให้โรงงานผลิตรถของทาทากรุ๊ปในประเทศไทยก็คือ ทาทาสตีลประเทศไทย ครับ
ส่วนทางญี่ปุ่นจะเป็นหุ้นส่วนกับทางสหวิริยาแน่นอนครับ(หวยล๊อกแน่ๆ) และทางอตสาหกรรมยานยนต์ของญี่ปุ่นจะได้สหวิริยานี่แหล่ะครับที่ป้อนเหล็กดิบต้นทุนต่ำแก่อุตสาหกรรมยานยนต์ทั้งหมดของตนในประเทศไทยและอาเซียน
นอกจากนี้สมัยยุคทักกี้ทางจีนได้เสนอขอลงทุนโรงงานถลุงเหล็กในไทยด้วยแต่โดนเกมส์การเมืองจากทางฝั่งสหวิริยาตีกันจนทางจีนไม่ผ่าน BOI
มาถึงวันนี้ทราบแล้วครับว่าจีนทำไมต้องลงทุนโรงงานถลุงเหล็กในไทย เพราะตอนนี้จีนกำลังตั้งโรงงานผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ในลาวโดยใช้สิทธิพิเศษของอาเซียนในการเจาะตลาดอาเซียนทั้งหมด โดยเน้นที่รถอีโคคาร์ก่อน รถยอดนิยมในลาวที่มาจากจีนจะชื่อ เชอร์รี่ ราคาไม่ถึง 200,000 บาทและมีความประหยัดน้ำมันสูงมากคือ 45 - 50 กิโลต่อลิตรเท่านั้น ตลาดที่จีนมองจริงๆคือ ไทยและเวียตนาม
จะเห็นว่าการครองตลาดยานยนต์ของญี่ปุ่นในไทยไม่ได้มั่นคงอีกต่อไปแล้วครับ คู่แข่งคือ อินเดียและจีนกำลังจะมาเจาะตลาดนี้ โดยมีอุตสาหกรรมถลุงเหล็กเป็นพื้นฐาน ดังนั้นญี่ปุ่นจึงบีบเราเรื่องรถอีโคคาร์ไงครับ เพราะช้าต่อไปไม่ได้แล้ว ตลาดรถยนต์ในภูมิภาคนี้คงจะดุเดือดสุดๆแน่ในอีก 10 ปี ข้างหน้า หุหุหุ ผู้บริโภคได้ประโยชน์สักทีให้ญี่ปุ่นและรถยุโรปมาขุดรีดนับสิบๆปีแล้ว
แล้วบริษัทโปรตอนของมาเลย์จะรอดหรือครับ เพราะตอนนี้โปรตอนพยายามเจาะรถอีโคคาร์ในภูมิภาคนี้อยู่
ได้ข่าวว่าจีนพยายามจะลงโรงงานถลุงเหล็กในเวียตนามอยู่ครับ เพื่อบริษัทยานยนต์ของตนเองจะได้รับการสนับสนุนเหล็กราคาถูกจากทางเวียตนามในการต่อสู้กับอินเดียและญี่ปุ่น
ญี่ปุ่นเองมองข้ามช๊อตไปถึงอุตสาหกรรมผลิตเครื่องบินเรียบร้อยแล้วครับ
ทราบหรือไม่ครับว่าโรงงานผลิตชิ้นส่วนยานยนต์สามารถปรับกระบวนการผลิตไปผลิตชื้นส่วนอากาศยานได้ไม่ยากนัก และบริษัทผลิตชิ้นส่วยยานยนต์ทั้งหมดในประเทศเรานั้น ญี่ปุ่นยึดครองหรือไม่ก็ถือครองหุ้นเพื่อเป็นหุ้นส่วนอยู่(จริงๆคือบีบไม่ให้นอกใจ)
วัตถุดิบสำคัญของเครื่องบิน คือ อลูมิเนี่ยมและไททาเนี่ยม
ปัจจุบันเรามีโรงงานถลุงอลูมิเนี่ยมแล้วมาหลายปี โดยบริษัทญี่ปุ่นอีกน่ะแหล่ะที่ลงทุน ใช้แก๊สในการถลุง มีราคาถูกกว่าซื้อจากต่างประเทศมากครับ จะขาดก็แต่โรงงานถลุงไททาเนี่ยมนี่แหล่ะครับ ถ้ามีครบก็พร้อมแล้วที่เราจะเป็นแหล่งผลิตอากาศยานใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของเอเซียเลยครับ แต่บริษัทที่ทำทุกขั้นตอนนั้นไม่ใช่ของคนไทย! (น่าเศร้าชมัด) คาดว่าญี่ปุ่นจะสามารถครองตลาดการผลิตเครื่องบินในภูมิภาคนี้แน่ๆครับ โดยใช้เราเป็นฐานการผลิต
Honda jet แสดงเจตจำนงค์ที่จะมาลงทุนในไทยแล้วครับ ได้ยินว่าทางโตโยต้าเองก็กำลังจะเดินเข้าสู่อุตสาหกรรมนี้ตาม Honda แน่นอนครับว่าถ้าโตโยต้าลุยด้วยก็คงจะลงฐานการผลิตที่ไทยนี่แหล่ะครับ
แล้ว TAI เอาไปไว้ไหนหวา....................
สนามบินหนองงูเห่าเมื่อครบ 4 เฟสจะมีผู้โดยสารกว่า 100 ล้านคน มีเครื่องบินลงจอดเกือบ 2 ล้านเครื่อง แค่ต้องตรวจเครื่องตามวงรอบแต่ละขั้นตอน ผมว่าน่าจะมีเครื่องบินนับพันเครื่องแน่ที่จะต้องมาซ่อมทำที่นี่ เพราะได้ข่าวว่าทางการบินไทยเตรียมจะลงทุนทำให้ดอนเมืองการเป็นแหล่งซ่อมเครื่องบินพานิชย์ที่ใหญ่และทันสมัยที่สุดแห่งหนึ่งในเอเซียเลยครับ แบบว่าสามารถซ่อมเครื่องระดับ A380 ได้ถึงระดับ overhull และมีโรงซ่อมขนาดยักษ์ 7 โรงทีเดียว
ในยุคทักกี้ผมได้ยินว่ามีการติดต่อกับบริษัทผลิตเครื่องยนต์เครื่องบินของอเมริกา คือ GE เพื่อป้อนตลาดเครื่องบินพานิชย์ ถ้าโครงการนี้ได้รับการสนับสนุนต่อเนื่องต่อไปนะครับ ประเทศเราจะมีการผลิตชิ้นส่วนเครื่องบินครบวงจรเลยทีเดียว
รับประกันครับว่าอุตสาหกรรมการผลิตเครื่องบินของเกาหลีใต้ชิดซ้ายแน่ๆครับถ้าเดินได้ครบเครื่องจริงๆ แต่น่าเศร้าที่ว่า กว่าครึ่งมันไม่ใช่ของคนไทย!
ขอโทษครับที่มีการพาดพิงเรื่องการเมืองนิดนึง เพราะมันเข้ามาเกี่ยวในระบบธุรกิจอย่างไม่อาจที่ผมจะไม่เล่าย้อนหลังได้ครับ
ถ้าวัดศักยภาพในอนาคตเรื่องอุตสาหกรรมผลิตเครื่องบินแล้ว วันข้างหน้าศักยภาพของเรา (จริงมันเป็นของญี่ปุ่นเกือบ 100%) จะอยู่ในระดับแนวหน้าของโลกชาติหนึ่งได้เลยครับ แต่เอ๋......มันน่าภูมใจไหมหว่า.........
แล้ว TAI จะไปอยู่ตรงไหนของตลาดนี้เอ่ย หรือต้องรับซ่อมเครื่องบินไปตลอดชาติ แบบว่าทำได้แค่เป็นอู่ซ่อม แบบอุตสาหกรรมยานยนต์ที่แสนภาคภูมิใจว่าเราอยู่ในอันดับที่ 19 - 20 ของโลก แต่จริงๆเจ้าของเป็นญี่ปุ่น เงินญี่ปุ่น โดยญี่ปุ่น และเพื่อญี่ปุ่น ส่วนคนไทยทำได้แค่ซ่อมรถญี่ปุ่น!
สุดท้ายนี้ เดาได้เลยว่าโรงงานถลุงผลิตไททาเนี่ยมแห่งแรกของไทยก็สร้างโดยบริษัทญี่ปุ่น!
นั่นสิครับคุณ neo ผมยังไม่เห็นเลยว่า จะมีบริษัทคนไทยสักราย คนไทยมีแต่ได้เศษเงินที่เขาโยนมาให้อะ
หรือถ้ามีบริษัทคนไทย ก็เป็น Monopoly ไม่กี่ราย เท่านั้นเอง
ที่คุณ Ecrison บอกมาเรื่องที่ดินนี่ก็น่าสนใจครับ ประเด็นมีอยู่ว่า รัฐชอบละเลย หรือ แอบหลับตาเสียหนึ่งข้างประจำ
ยังคิดไม่ออกเลยว่า อนาคตปัญหาที่ดิน และ ปัญหาป่าไม้จะเป็นอย่างไร เพราะ คนไทยส่วนใหญ่ยังไม่มีจิตสำนึกรักชาติกันอย่างจริงจัง มีเท่าไรก็ขายหมด
แต่จะว่าไปก็น่าเห็นใจอยู่เหมือนกัน เมื่อยังต้องกินต้องใช้ ก็คงจะต้องสนใจแต่เรื่องปัจจุบัน เรื่องอนาคตไว้ไปว่ากันรุ่นต่อไป
แล้วประเทศเรา จะเหมือนกับ เซี่ยงไฮ้ ยุค สงครามโลกครั้งที่ 2 ไหมหนอ