หน้าแรก    ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบคำถาม    เข้าสู่ระบบ      


เกร็ดความรู้เล็กๆ สำหรับรหัส HS ของประเทศไทย

โดยคุณ : monsoon เมื่อวันที่ : 14/01/2009 18:23:24

ทำไมเครื่องบินของไทยจึงใช้ตัวย่อประเทศไทยว่า HS แทนที่จะใช้ TH (Thailand) เรื่องมีความเป็นมาดังนี้

...ประเทศที่ขอ Prefix ได้ในช่วงเวลาใกล้ๆกับ ประเทศไทยก็มักจะเลือกสัญญาณเรียกขานที่บ่งถึงประเทศตัวเอง เช่น ญี่ปุ่น หรือ เจแปน ได้ JA ส่วนเยอรมันซึ่งเรียกตัวเองว่า ดอยช์แลนด์ ก็ได้ DL

แล้วคำว่า HS ที่นำหน้าสถานีของประเทศไทยนั้นหมาย ความว่าอย่างไร ท่านอาจารย์อุดม จะโนภาษ เขียนไว้ว่า... "เรื่องนี้ พระวรวงค์เธอพระองค์เจ้าเปรมบุรฉัตร ไชยา ซึ่งเป็นโอรสของเสด็จในกรม กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน เล่าให้ฟังว่า ในขณะนั้นยังมีอักษรอื่นก่อนตัว HS ที่ทรงเลือกอักษร HS เพราะจะให้มีความหมายว่า " His Majesty The King Of SIAM "

ในสมัยนั้นประเทศไทยยังเรียกว่า SIAM อยู่ เวลาเรียกขานทางวิทยุทีหนึ่ง ก็จะได้เป็นการถวายความเคารพ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ประเทศไทยจึงมีสัญญาณเรียกขาน ว่า HS ตั้งแต่บัดนั้นมา สถานี โทรทัศน์ เช่น สถานีโทรทัศน์กองทัพบก มีสัญญาณเรียกขานทางวิทยุว่าHSATV ฯลฯ" (บทคัดย่อจากจากหนังสือ "คู่มือคนรักวิทยุ" หน้าที่ 148) ...เครดิตท่าน HS3-SAD


ปัจจุบันรหัส HS นี้ ได้เป็นรหัสจดทะเบียนของเครื่องบินพาณิชย์ทุกลำที่จดทะเบียนในประเทศไทย และเมื่อเครื่องบินเหล่านี้บินไปประเทศใด ก็จะมีการเรียกขานวิทยุขึ้นต้นด้วยรหัส HS ทุกครั้งไป ซึ่งก็จะเป็นการระลึกถึงพระองค์ไปในที่ต่าง ทั่วโลก ...(เครดิตท่าน HS5-ENH)

ในขณะนี้นามเรียกขานที่ขึ้นต้นด้วย HS ของนักวิทยุสมัครเล่นประเทศไทยได้หมดไปแล้ว ปัจจุบันจึงได้ใช้รหัส E2 นำหน้า ซึ่งไทยได้ลงทะเบียนไว้นานแล้วต่อ ITU (International Telecommunication Union ก่อตั้งที่กรุงปารีส เมื่อวันที่ 17 พ.ค.1865)





ความคิดเห็นที่ 1


ขอบคุณที่เอามาฝากกันครับ

โดยคุณ wingboy เมื่อวันที่ 11/01/2009 23:37:35


ความคิดเห็นที่ 2


ในขณะนี้นามเรียกขานที่ขึ้นต้นด้วย HS ของนักวิทยุสมัครเล่นประเทศไทยได้หมดไปแล้ว ปัจจุบันจึงได้ใช้รหัส E2 นำหน้า

 

 

ยังไม่หมดหรอกครับ ลองหาดูตามภาคอื่นอื่นครับ HS3 HS4 ...ผมก็ว่ายังมีนะ

โดยคุณ เมื่อวันที่ 12/01/2009 13:01:33


ความคิดเห็นที่ 3


พ่อผมเป็นนักวิทยุสมัครเล่นก็ยังใช้ HS กันอยู่เลย

ผมเห็นใช้มาตั้งนานแล้ว ก็เกือบ20 ปีแล้วนะ

โดยคุณ strike_fighter เมื่อวันที่ 12/01/2009 09:51:31


ความคิดเห็นที่ 4


ต้องขออภัยข้อความไม่สมบูรณ์ กล่าวคือ นามเรียกขานสำหรับนักวิทยุสมัครเล่นในเขตพื้นที่กรุงเทพและปริมณฑล เดิมจะมี HS1, HS2 และล็อตสุดท้ายคือ HS0 ครับที่หมดไปแล้ว ดังนั้นนักวิทยุสมัครเล่นในเขตกทม.และปริมณฑลนั้นปัจจุบันจะได้นามเรียกขานที่ขึ้นต้นด้วย E20 E21 หรือ E22 นำหน้า

สำหรับในเขตอื่นคือ HS3 - HS9 ยังคงมีนามเรียกขานเหลืออยู่ซึ่งหากหมดล็อตเหมือนใด ก็จะใช้ E2 ต่อไปเหมือนกัน เช่น นานเรียกขานตัวสุดท้ายของทุกเขตคือ HS(?)ZZZ คนต่อมาก็จะได้ E2(?)AAA
แล้วก็เรียงกันต่อๆ ไป เป็น E2(?)AAB E2(?)AAC จนหมดล็อต

สำหรับของผมสมัยตอนได้ข่าวว่า callsign HS กำลังจะหมดก็รีบสอบเลยได้ HS0 มาเป็นศิริมงคลครับ

ขอขอบคุณ ท่าน ธ ที่ทักท้วงไว้


โดยคุณ monsoon เมื่อวันที่ 12/01/2009 13:46:17


ความคิดเห็นที่ 5


เช่นตัวอย่างแบบนี้ไงละครับ

ในภาพจะเป็นรหัส HS-TDB ลำนี้เป็น Boeing 737-400 ที่นกแอร์รับช่วงต่อจากการบินไทย นามพระราชทาน ภูเก็ตครับ

 

ส่วนรหัส TDB ที่เป็นรหัสประจำเครื่องจะอยู่ตรงบริเวณฝาที่เก็บล้อครับ  ซึ่ง เครื่องบินทุกลำจะทำแบบนี้ครับ 

จริงๆแล้วจะมีตัวอักษรคำว่าภูเก็ตตรงใต้กระจกห้องนักบิน แต่นี่คาดว่ายังทำสีไม่เสร็จครับ  เพราะนกยังปากขาวอยู่ครับ ยังไม่ปากเหลืองสมบูรณ์แบบครับ

โดยคุณ nok เมื่อวันที่ 12/01/2009 21:57:11


ความคิดเห็นที่ 6


คุณ Monsoon ครับ

ขออนุญาตแก้ไขข้อมูลเล็กน้อยนะครับ คือ นามเรียกขานสำหรับนักวิทยุสมัครเล่นในเขตพื้นที่กรุงเทพและปริมณฑล HS1 และ HS0 ครับ

สำหรับ HS2 นั้นเป็นของเขตภาคตะวันออกครับ

 

โดยคุณ โต้ง เมื่อวันที่ 13/01/2009 02:05:46


ความคิดเห็นที่ 7


ขอบคุณครับท่านโต้งที่ช่วยแก้ไขให้ถูกต้อง

โดยคุณ monsoon เมื่อวันที่ 13/01/2009 15:22:53


ความคิดเห็นที่ 8


HS เป็นตัวอักษรที่เป้นทะเบียนสำหรับอากาศยานพลเรือนที่จดทะเบียนในประเทศไทย

HS - XXX

X ตัวที่หนึ่งแทน รหัส Company เช่น การบินไทยใช้ G, การบินกรุงเทพใช้ P เป็นต้น

X ตัวที่สอง คือแบบของบ.

X ตัวที่สาม คือ ลำดับของบ.

 

เช่น HS-TGA : การบินไทย เครื่องแบบ boeing 747 ลำแรกของฝูง

โดยคุณ บุปผาชน เมื่อวันที่ 14/01/2009 07:23:24