จัดทำไว้หลายเดือนแล้ว...เลยขอนำมาเสนอครับ...พอดี พรุ่งนี้ วันเด็ก เผื่อบางท่าน จะได้ไปชม บ.ของ ทร. เอาไว้เป็นข้อมูลครับ...
หมายเลขเครื่อง ไม่สามารถอ้างอิงได้ 100% เป็นการรวบรวมข้อมูลจาก หนังสือ สมรภูมิ ฉบับ อากาศยานนาวี และจากเว๊ป thai-aviation.net ครับ...
กองบิน 1
กองการบินทหารเรือ ปี 2551 เมื่อเทียบกับแผนการจัดหา เพื่อทดแทน ในระยะ 9 ปี ตามแผนเดิม กับ ข่าวการจัดซื้อในปัจจุบัน
บ.ของ ทร. ที่สังเกตุได้ จะมีอายุประจำการ 30 ปี
กองบิน 1
ถ้า ทร. สามารถจัดหา บ. ประจำการได้ครบถ้วนตามแผนเดิม และตามข่าวการจัดซื้อ รวมถึงข่าวที่ไม่มีอะไรยืนยันในเรื่องการจัดหา ฮ.โจมตี ทดแทน AV-8S
ตามจินตนาการของผู้จัดทำ จึงมองภาพ บ. ที่จะประจำการตามฝูงบินต่างๆ ของ กองการบินทหารเรือ ตามนี้
กองบิน 1
แบบ บ.ต่าง ๆ เป็นจินตนาการของ ผู้จัดทำ โดยอาศัยเหตุ-ผล คือ
ข้อมูลจริง คือ ทร. มี A-7 ประจำการกว่า 18 ลำ และ AV-8 จำนวน 9 ลำ
แล้ว F/A-18 C/D มือสอง จำนวน 8 ลำ ก็น่าจะอยู่ในวิสัย ที่ ทร. สามารถจะจัดหามาประจำการได้เช่นกัน โดยนำเอาความเชื่อเป็นขนมจีน แล้วไปผสมน้ำยา ตามข่าวเดิม ที่สหรัฐ เสนอขาย F/A-18 E/F หรือ F-16 ให้ ทอ. โดยอาจจะแถม F/A-18 C/D มือสอง ให้จำนวน 8 ลำ
ส่วน UAV Heron อาศัยเหตุ-ผล ว่า อินเดีย ได้ทำการจัดหาเข้าประจำการ เป็นฝูงบิน UAV รวมถึง ออสเตรเลีย ด้วย...จึงน่าจะเป็นตัวเลือกของ ทร. ได้เหมือนกัน...
แหล่มเลยท่าน
กองบิน 2
จากคุณสมบัติ ที่ ทร. กำหนดว่า บ.ลำเลียงเปิดท้าย ในอนาคต สามารถติดตั้งอุปกรณ์ ตรวจการณ์ทางทะเลได้...CN-295 จึงเป็นตัวเลือก ที่ผู้จัดทำ คิดเอาเองว่า น่าจะเหมาะสมที่สุด เพราะคุณสมบัติของ CN-295 คือเป็น บ.ลำเลียง เปิดท้าย ที่สามารถติดตั้งอุปกรณ์ในภายหลังได้ และ ทร.หลายประเทศ ก็นำเข้าประจำการ สำหรับภาระกิจลำเลียงและตรวจการณ์ทางทะเล
ส่วน Bell-212 ปัจจุบันมีอายุครบ 30 ปีแล้ว...ผู้จัดทำ จึงมีความเชื่อว่า MH-60S ที่สั่งซื้อจำนวน 6 ลำ สุดท้ายก็น่าจะมาประจำการในฝูงบินนี้
และในส่วน ฮ.ลำเลียงขนาดใหญ่ ผู้จัดทำเชื่อว่า น่าจะมาทดแทน Bell-412 ที่ค่อนข้างมีปัญหาในเรื่องความสูญเสีย และตามข้อมูลที่คุยกันในเว๊ป ก็น่าจะมีใช้งานได้เพียง 1-2 ลำ ปัจจุบันไม่แน่ใจว่า ระงับการบินทั้งหมดหรือไม่ หลังจากมีการตกไป 1 ลำ เมื่อประมาณปี - 2 ปีที่แล้ว...ซึ่ง ผู้จัดทำ มองที่ EC-725 มากกว่า EH-101 ในส่วน MI-17 ซึ่งผู้จัดทำค่อนข้างจะเชียร์มากที่สุด...แต่ติดที่ ฮ.ลำเลียงนี้ น่าจะมีภารกิจ VIP ใกล้เคียงกับทางทหาร...ซึ่งมองดูแล้ว EC-725 หรือ EH-101 ดูจะ VIP มากกว่า...ผู้จัดทำ จึงมีข้อสรุปที่ EC-725 มากกว่าแบบอื่น
หน่วยบิน ร.ล.จักรีนฤเบศร
ตามที่ ทร. ได้จัดซื้อเรือ LPD แล้ว 1 ลำ ซึ่งเรือลำนี้ น่าจะทำหน้าที่ ช่วยเหลือผู้ประสบภัย ได้ดีกว่า 911
ดังนั้น 911 จึงน่าจะเป็นเรือรบที่สมบูรณ์แบบ ฮ.ที่จะมาประจำการแทน AV-8S ผู้จัดทำ จึงค่อนข้างจะมีความเชื่อว่า ควรจะเป็น ฮ.โจมตี โดยตรง มากกว่า ฮ.ลำเลียง โจมตี...
911 จึงน่าจะมี ฝูงบิน คล้ายกับ เรือชั้น ทาราว่า หรือ เรือ Boxer LHD-4 ของสหรัฐ ที่จะมี ฮ.โจมตี และ ฮ.ลำเลียง รวมถึง บ.ขึ้น-ลง ทางดิ่ง...แต่ 911 คงไม่มีโอกาสที่จะมี บ.ขึ้น-ลง ทางดิ่ง แล้ว...ดังนั้น ฮ.โจมตี ประจำเรือ 911 น่าจะสมภาระกิจความเป็นเรือรบของ 911....
อืมมม...ฝูงบิน 202 ในจินตนาการ ลืมแก้เลขครับ...หมายเลข ก็จะต้องเรียงลำดับเป็น 2213 - 2218 ครับ...
ในจินตนาการผมที่อยากได้นะครับ
ฝูงบิน 1 หน่วยบิน รล จักรีฯ อยากได้ AV-8B Plus แฮะ อิอิอิ
ฝูง 104 ขอเป็น SU-33
ฝูง 101 เป็น TU-95 รุ่นใช้งานทางทะเล
102 เป็น TU-22M3
อาจจะเพิ่มมาอีกฝูงสำหรับ SU-34 ขวัญใจผม ที่มีห้องน้ำ และ เก้าอี้นวด
ในส่วนของ บ.โจมตีปีกตรึงนั้นถ้าจะมาแทน A-7E แล้ว F/A-18C/D มือสองดูไม่ใช่ตัวเลือกที่ดีนักสำหรับ กบร.ครับ ถึงแม้ว่าจะมีปัญหาอะไหล่น้อยกว่าเพราะมีผูใช้งานจำนวนมากก็ตาม แต่ บ.มิสองที่ประจำการในกองทัพเรือและนาวิกโยธินสหรัฐฯนั้นมีความล้าของโครงสร้างสูงมากเนื่องใช้งานอย่างหนักครับโดยเฉพาะการปฏิบัติการจากเรือบรรทุกเครื่องบินซึ่งคงไม่ปลอดภัยเท่าไรที่จะจัดหามาใช้ต่อครับ ถ้าดูจากประสบการณ์ในอดีตแล้วกองทัพเรือคงเลือกจัดหา บ.ใหม่มากว่า แค่ความต้องการหลักเป็น บ.โจมตีดังนั้นจึงอาจจะไม่ใช่ บ.ขับไล่สมรรถนะสูงอย่าง F/A-18F ซึ่งมีราคาแพงครับ
ในส่วนของอากาศยานปีกหมุนนั้นการจัดหาหลักๆในปัจจุบันและอนาคตคงจะเป็นการจัดหา ฮ.Super Lynx สำหรับประจำการบนเรือฟริเกต และ MH-60S สำหรับเรือ LPD และ ร.ล.จักรีนฤเบศร และการสนับสนุนกำลังนาวิกโยธินแบะ นสร.ด้วยครับ โดยข้อกำหนดที่ระบุไว้สำหรับโครงการจัดหา ฮ.ส่วนหนึ่งนั้นมีการระบุว่า ฮ.ที่จัดหามาจะต้องติดอาวุธเช่น ปืนใหญ่กล 30มม. ได้ด้วย ก็เป็นไปได้มากว่า MH-60S ที่จัดหามาจะรองรับการติดตั้งอาวุธโจมตีสนับสนุนเช่น กระเปาะปืนใหญ่กล และ จรวดไม่นำวิถีครับ ซึ่งการจัดหา ฮ.โจมตีนั้นอาจจะไม่จำเป็นนักเนื่องจากจะทำให้ กบร.มีอากาศยานมากแบบเกินไป และต้องเสียค่าใช้จ่ายในการฝึกนักบิน ช่างเครื่อง และจัดหาระบบสนับสนุนและอาวุธเพิ่มครับ
กองบิน 2 นั้น ที่ตั้งอยู่ที่อู่ตะเภาเหมือนกันนี่ครับป๋าครับ
ปล. ทร. มีหน่วยแยกอยู่ที่สนามบินภูเก็ตด้วยครับ
ไม่ค่อยเห็นด้วยกับการที่จะจัดหา F-18ครับเพราะถ้าจะจัดหาบินมาใช้ในภาระกิจป้องกันภัยทางอากาศของกองเรือควรจะเป็นบินที่ไปกับเรือรบได้ซึ่งเรามีเรือ 911 อยู่แล้วที่สามารถใช้เป็นฐานบินได้ หากใช้F-18ไม่แน่ใจว่าลานบินจะพอให้วิ่งขึ้น-ลงหรือไม่ จึงควรใช้บินขึ้นลงแนวดิ่งจำพวกแฮริเออร์มือสองจากเมกาเอามาใช้สัก 10 ปีก่อนเพื่อรอ F-35 B อีกทั้งการซ่อมแฮริเออร์ เราก็ชำนาญพอควร
หากจะจัดหาF-18มาไว้ที่ฐานบินบนฝั่งภาระกิจจะทับซ้อนกับกองทัพอากาศหรือไม่และถ้าวิเคราะในยุทธศาสตร์ทางรุกแล้ว F-18 ที่อยู่บนฝั่งแทบจะไม่มีประโยชน์อะไรเลยในการปกป้องกองเรือ เช่น หากเราเอาเรือไปปิดปากอ่าวประเทศ ก. และเขาส่งบินมาทิ้งระเบิดกองเรือเรา กว่าบินรบเราจะไปช่วยทันกองเรือเราคงโดนบอมไปแล้ว
การจัดหาบินรบที่มีความทันสมัยพอสมควรและนำติดเรือ 911 ของเราไปได้ย่อมเป็นการเสริมกำลังในทางรุกให้กับกองทัพเรือของเรา
ผมยังหวังว่าทัพเรือจะจัดหา F-35B มาใช้งานกับ 911 เพราะดูกำลังทางอากาศรอบบ้านแล้วเห็นมีแต่F-35B เท่านั้นที่จะพอปกป้องกองเรือเราจากกำลังทางอากาศของเพื่อนบ้านได้
อย่างไรก็ตามการจัดหา บ.AV-8B Harrier II มือสองจากสหรัฐฯนั้นยังเป็นไปได้น้อยในช่วงนี้ครับ เนื่องจากความล่าช้าในการพัฒนา F-35B ซึ่งปัจจุบันเพิ่งจะแก้ปัญหาใบพัดเครื่องยนตร์ร้าวไปได้ไม่นานและเครื่องต้นแบบก็ยังไม่ทำการบินขึ้นครับ ทำให้การปลดประจำการ AV-8B นั้นต้องล่าช้าออกไปอีก
ซึ่งเครื่อง AV-8B ที่สหรัฐฯมีสำรองใช้อยู่ในปัจจุบันนั้นอาจจะไม่มีจำนวนพอหรือพร้อมที่จะขายให้ไทยก็ได้ครับเพราะสหรัฐฯก็ยังใช้งานเป็นหลักและที่มีอยู่บ้างทีก็ไม่พอใช้ ถ้าจะรอ F-35B ก็ต้องอีก5-10ปีโดยประมาณกว่าเครื่องจะพัฒนาเสร็จพร้อมขายครับ
พอดี วันนี้ไปงานวันเด็กมาครับ...ก็มาเริ่มที่ ร.ร.นายเรือ ก่อนนะครับ
สำหรับปีนี้ในส่วนของ ยานเกราะของ นย. ก็คงเหมือนเดิม ๆ ครับ แต่จะเพิ่ม ปืนใหญ่ 105 ม.ม. กับ ปืน ครก มาด้วย แต่ผมไม่ได้ถ่ายมา
เริ่มด้วย M-151 ติด ปรส.
V-150
ฮัมวี่ติด โทว์ ถ่ายได้แต่ตูด...เพราะด้านหน้ามีป้ายบังหน้ารถ
และ ฮ.ซุปเปอร์ ลิงค์ เจ้าประจำ (น่าจะเปลี่ยนเป็น ซีฮอร์ค บ้างเน๊าะ)
เสร็จจาก ร.ร.นายเรือ ก็นั่งรถเมล์ไปลงท่าเรือปากน้ำ ข้ามเรือข้ามฟาก ไปพระสมุทรเจดีย์ นั่งรถเมล์พิเศษของ ขสมก.ปีนึงมี หนเดียว วิ่งไปจอดที่หน้า กรมอู่ป้อมพระจุล...ปีนี้ คนเยอะ กว่าปีที่แล้ว อีกเช่นกัน...ก็เดินไปที่ ท่าจอดรถ...และปีนี้ มีเรือที่จอดในงานวันเด็ก ได้เหมาะสมกับสถานที่มาก คือ สภาพเรือกำลังรอซ่อม แน่นอน...
เริ่มต้นที่ ร.ล.คีรีรัฐ
ตอนนี้ ร.ล.คีรีรัฐ น่าจะคงถูก ทดแทน ด้วยเรือ OPV ลำใหม่ ที่กำลังต่อโดย กรมอู่ทหารเรือ...เพราะวันนี้ ผมดูสภาพเรือ รวมทั้งสังเกตุได้ว่าลำเรือเอียง มาตั้งแต่ปีที่แล้ว ก็ยังคงสภาพเดิม และทรุดโทรมกว่าปีที่แล้วมาก ประกอบกับภาวะเศรษฐกิจในขณะนี้...ยังไม่ค่อยเห็นอนาคต ร.ล.คีรีรัฐ ว่าจะปรับปรุงสภาพใหม่อ่อง ได้อย่างไร...
ปีนี้ ปืนหายหมด เหลือ ท่อยิง ตอร์ปิโดอย่างเดียว
ต่อด้วยเรือใน บริเวณข้างเคียง....
ว่าที่ เรือกวาดทุ่นระเบิด ที่ประจำการ นาน ที่สุดในโลก
ที่กรงอู่ทหารเรือ ป้อมพระจุลฯ ก็ยังมี ร.ล.สุรินทร์ ซึ่งคนยืนต่อคิว ย๊าววววว...ยาว มาก เลยไม่ได้ขึ้นไป ซึ่งปีที่แล้วก็เป็น ร.ล.สุรินทร์ กับ ร.ล.หนองสาหร่าย ที่คนเยอะมาก โดยตัวเรือก็คับแคบ จึงไม่ได้เก็บภาพเท่าไหร่....
แต่ปีนี้ ก็ได้ของที่ระลึกมากจาก ร.ล.ปิ่นเกล้า กับ ร.ล.หนองสาหร่าย...ก็คิดว่า คุ้มค่ากับเวลาในวันนี้ โดยใช้เวลาไม่มากนัก ถึง ร.ร.นายเรือ 8.30 น. เสร็จจาก กรมอู่ฯ เวลา 12.00 น. ก็นั่งรถกลับบ้าน ระหว่างทาง ก็มาโซ้ย เกาเหลาปลา ข้าวเปล่า ตรงท่าดินแดง ฝั่งธนบุรี สุดยอดดดดด...นั่งหลับบนรถประจำทาง สบาย....
ในส่วนของเรื่อง F/A-18 C/D ในการขายมือสองนั้น ผมมองว่า คงไม่ต่างจากการจัดหา A-7 ที่ สหรัฐ ก็จะคัดเลือก บ. ที่ยังคงมีชั่วโมงบิน ไม่มากนัก หรือยังคงมี ชั่วโมงบิน ได้อีกประมาณ 2,000 ช.ม.บิน...
ซึ่ง สวิสฯ เอง ก็เพิ่งอนุมัติ ทำ MLU F/A-18 A/B จำนวน 25 ลำ ให้เป็น C/D อีกกว่า 500 ล้านดอลล่าร์ จึงน่าจะมองได้ว่า F/A-18 ยังคงมีอะไหล่สนับสนุน ไม่ต่ำกว่า 20 ปี...โดยถ้า ทร. มีการจัดหามาได้จริง ผมว่า เมื่อถึง ช.ม. บินที่ 1,000...ทร. ก็น่าจะสามารถ ปรับปรุงโครงสร้างลำตัว บ. ได้..ถ้า ทร. ไม่มีความมั่นใจ ในเรื่องความล้าของ ตัวเครื่อง..
ผมมองข้อกังวล ของ ทร. ในเรื่องของ งบประมาณ ในการบิน การฝึก มากกว่า เช่น งบประมาณค่าเชื้อเพลิง และการขาดแคลน นักบิน...
และตามแผนการจัดหาเดิม 9 ปี ในส่วนของ บ. และ ฮ. ของ ทร. นั้น...ผมมองว่า ในอนาคต ทร. คงต้องมี โรงเรียนการบินทหารเรือ เป็นของตนเอง เช่นเดียวกับ ทบ.
สำหรับ เครื่องบินโจมตีปีกแข็ง ของทร. นั้น...ถ้า ทร. จัดหา เครื่องไอพ่น เช่น สมมติ F/A-18 C/D จำนวน 8 ลำ ผมว่า ภาระกิจ มันจะไม่ซับซ้อนกับของ ทอ. และเหมือนเป็นการ สนับสนุน เสริมประสิทธิภาพ ทอ. ในอีกทางหนึ่ง...
ปัจจุบัน ทอ. กลับมีภาระกิจ ซับซ้อน คือ ต้องคุ้มครองน่านฟ้า ในทะเล ให้กับ ทร. ด้วย...ซึ่งผมจำไม่ได้ว่า สมาชิกท่านใด เคยเขียนว่า...การบินรบในทะเล มันไม่เหมือนกับการรบทางอากาศ กับ อากาศ...ผมก็เลยมานั่งคิดว่า มันก็ใช่...
ถ้ามอง เครื่องบินรบ ทร. ให้เป็น เรือรบ...
F/A-18 ก็เป็น เรือรบ ที่สามารถจะยิง จรวดนำวิถี พื้น สู่ พื้น คือ ฮาร์พูน และก็เป็น เรือรบ ที่มีระบบป้องกันภัยทางอากาศ คือ สามารถจะยิง จรวดนำวิธี อากาศ สู่ อากาศ ได้ทั้งระยะใกล้ และ ไกล คือ ไซด์ไวน์เดอร์ และ อัมราม และก็เป็น เรือรบ ในการสนับสนุนปืนฝั่ง คือ การบิน ทิ้งระเบิด เปิดหาด ให้กับ นย. ได้เช่นกัน...
ในขณะที่ ทอ. ปัจจุบัน กำลังจะมี บ.ใหม่ จำนวน 6 เครื่อง เพื่อทดแทน ของเดิม และอนาคตจะมีอีก 6 ลำ เพื่อทดแทนของเดิมอีกเช่นกัน...แต่ยังต้องเพิ่มภาระกิจ ในการคุ้มครองผลประโยชน์ทางทะเลด้วย...กลับกลายเป็นว่า ทอ. รับผิดชอบ น่านฟ้า ทั้งประเทศไทย ร่วมน่านน้ำ...
ในขณะที่ น่านฟ้าในท้องทะเล ทอ. ต้องต่อสู้กับ บ.ที่ล้ำน่านฟ้า กับ เรือที่ล้ำน่านน้ำ...
การต่อต้าน เรือรบ ที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันภัยทางอากาศ ก็เป็นภาระของ ทอ. ที่ต้องมีการฝึกว่า จะยิง เรือรบ อย่างไร จะพิสูจน์ทราบว่า เป็น เรือรบ ฝ่ายใด อย่างไร...และ ทอ. สามารถพิสูจน์ด้วยสายตา ได้หรือไม่ว่า เป็นเรือชนิดใด เป็นเรือฝ่ายเราเอง หรือเปล่า ที่อาจจะเกิดความเสียหายจากการโจมตี และไม่สามารถสื่อสาร ระหว่างกันได้...
ผมจึงมองว่า ถ้าสมมติ ทร. สามารถมีศักยภาพในการ คุ้มครอง น่านฟ้าบนน่านน้ำ ได้ ด้วยตนเอง...น่าจะลดภาระกิจของ ทอ. ไปได้...และ ทอ. เอง ก็สามารถที่จะพัฒนาการรบในส่วนรับผิดชอบ ได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น....
ผมมองในแง่เชิงรุกอะครับ ที่ว่าหากใช้ F-18 ในการปกป้องกองเรือหากเราจำเป็นต้องเป็นฝ่ายรุกบ้าง กว่าจะบินไปถึงกองเรือเราในแดนข้าศึกใช้เชื้อเพลิงไปเท่าไหร่ จะเหลือเวลาครองอากาศเท่าไหร่ แล้วถ้าเชื้อเพลิงหมดต้องเสียเวลาบินกลับฐานอีก แต่ถ้าเราไม่คิดจะรุกใครใช้เพียงป้องกันน่านฟ้าเหนือน่านน้ำก็Okอยู่ครับ ส่วนตัวก็สนับสนุนให้ใช้บินสองเครื่องยนต์ในการใช้งานทางทะเลครับแบบมาเลที่ใช้ ซูหรือเอฟ 18
แฮริเออร์ก็ไม่ได้ขี้เหร่อะไรนะครับ ในสงครามอิรักก็ใช้ในการทิ้งระเบิด และสามารถใช้ จรวด อากาศ สู่ อากาศได้เช่นกัน แต่หากเป็นเหตุผลที่ว่าเขาไม่ขายก็รับฟังได้ครับ
ตามจินตนาการของท่าน helldiver เรื่อง SU-33 หรือ 34...มันก็ไม่แน่...เกิด รัสเซีย มีความต้องการ เครื่องยิงลูกไข่ไก่ แช่แข็ง...ของไทย ขึ้นมา...ยอมแลกเปลี่ยน...ฝันอาจจะเป็นจริง....
ถ้าอย่างงั้น...ผมขอเป็นนายหน้า มั่ง...
ในส่วนของ อวป. ต่อต้านเรือรบ อากาศ สู่ พื้น...ถ้า ทร. เลือกแบบ บ.โจมตี ใหม่...ทร. ก็คงต้องจัดหามาใหม่หมดครับ...
เช่น F-27 MK-200 ที่มีการทดลองยิง ฮาร์พูน นั้น...ผมเข้าใจว่า ฮาร์พูน ที่ยิง ก็น่าจะเป็น ฮาร์พูน รุ่นติดตั้งยิงจาก บ. ครับ...
ในข้อมูลของ SIPRI ตอนที่ ทอ. สั่งซื้อ F/A-18 C/D นั้น...ทอ. ได้จัดหา อวป. ฮาร์พูน รุ่นติดตั้งกับ F/A-18 C/D จำนวน 2 ลูก...มาก่อนที่ บ. จะมา...ซึ่ง ผมก็เข้าใจว่า ฮาร์พูน ที่ ทร. ทดลองยิง นั้น น่าจะเป็น 1 ใน 2 ลูก ที่ ทอ. คงมอบให้ ทร. ได้ ทดลองใช้งานครับ...
ข้อมูลของ SIPRI เป็น ดังนี้ ครับ
Thailand/USA RGM-84 Harpoon/Anti-ship missile (2)/1996 (ปีสั่งซื้อ) (2)/1998 (ปีที่ได้รับมอบ) AGM-84D Version for F/A-18 combat aircraft, more ordered but only 2 delivered before order cancelled after cancellaton of F/A-18 order
F-27 MK 200 นั้นถูกดัดแปลงให้ติดตั้ง Harpoon ได้ตั้งแต่ปี ๒๕๓๓(จัดหามาในปี ๒๕๒๘) แล้วครับและเรือผิวน้ำหลักอื่นในยุคเดียวกันของกองทัพเรือก็ติด อวป.Harpoon เป็นหลัก เช่นเรือชุด ร.ล.รัตนโกสินทร์ ชุด ร.ล.นเรศวร และ ร.ล.พุทธยอดฟ้าจุฬาโลก เป็นต้น ซึ่ง AGM-84 นั้นก็น่าจะมีการจัดหามาตั้งแต่ช่วงนั้นแล้วครับ(ราว20ปีแล้ว)
แต่เหตุผลที่ไม่ค่อยได้ทำการยิงทดสอบก็เนื่องจาก Harpoon เป็น อวป.ที่มีพิสัยการยิงไกล พื้นที่ฝึกในประเทศไม่ใหญ่พอที่จะทำการยิงได้อย่างปลอดภัยครับ ต้องไปฝึกยิงที่ต่างประเทศ ซึ่งก็เคยไปใช้พิ้นที่ฝึกของสหรัฐฯที่ทะเลจีนใต้ในการยิงครับ
ท่าน AAG_th1 ตอนแรก ผมเข้าใจว่า ทร.ติดตั้ง ไพล่อน ข้างลำตัว เพื่อติดตั้ง ตอร์ปิโด สติงเรย์ ครับ...เพราะในขณะนั้น ทร. ยังไม่มี บ. และ ฮ. ที่สามารถติดตั้ง ต.สติงเรย์ สำหรับปราบเรือดำน้ำ ได้...หรือ ในขณะนั้น ทร. แทบจะไม่มี บ.และ ฮ. ที่สามารถทิ้ง ตอร์ปิโด ได้เลย...จึงได้ F-27 MK-200 มา พร้อมกับมีเรดาร์ตรวจการณ์พื้นน้ำใต้ท้อง...
ซึ่งในการยิง ฮาร์พูน ที่มีระยะไกล ต้องอาศัย ฮ.ตรวจการณ์หน้า เป็น ฮ.ชี้เป้า...โดยในการทดสอบการยิง ฮาร์พูน ก็ใช้ ฮ.ซีฮอร์ค เป็น ฮ.ชี้เป้า และแจ้งตำแหน่งพื้นน้ำ...และในขณะนั้น ทร. เอง ก็ยังไม่มี ฮ. ที่สามารถค้นหา และชี้เป้า ตรวจการณ์พื้นน้ำ ได้...มีเพียง Bell-212 ซึ่งก็ไม่มีเรดาร์ตรวจการณ์พื้นน้ำ...ผมจึงคิดว่า ทร. น่าจะยังไม่ได้จัดหา ฮาร์พูน มาในขณะนั้น...น่าจะเหมือนกับ การจัดหา ซุปเปอร์ ลิงค์ ในปัจจุบัน...ที่สามารถปล่อย สติงเรย์ ได้...แต่ยังไม่แน่ใจว่า สามารถยิง ซี สกัว ได้เลยหรือไม่...ถ้าเกิด ได้ตัวลูกจรวดมา ครับ..
สรุป ความเห็นข้างบนของผม ไม่ถูกต้องเท่าไหร่ครับ...เป็นตามที่ท่าน AAG_th1 ว่าไว้ครับ...ว่า ทร. จัดหา ฮาร์พูน สำหรับยิงจาก F-27 มาด้วยเมื่อปี 1987-1989...ลองตรวจสอบ ข้อมูลดูแล้วครับ...ก็น่าจะพอเชื่อถือได้...รวมถึง ได้จัดหา ฮาร์พูน ให้กับ P-3 ของ ทร. ด้วย....
ดูแล้ว ฮาร์พูน น่าจะมีอายุไข ประมาณ 15 ปี เพราะ ทร. ได้ทดสอบการยิง เมื่อปี 2004....
และเมื่อดูข้อมูลในการจัดหา ฮาร์พูน ของ ทร.แล้ว...จะบุ ว่าเป็น Version ของ F-27 และ Version ของ P-3B...เหมือนกับว่า ฮาร์พูน เอง ก็ต้องมีการปรับเปลี่ยนซอฟท์แวร์ ไปตามรุ่นของ บ. แต่ละแบบ ด้วย...