January 6, 2009: The Norwegian firm Kongsberg has sold its Naval Strike Missile (NSM) to Poland for use in a coastal defense system. The 900 pound NSM has a 275 pound warhead and a range of 185 kilometers. NSM uses GPS and inertial guidance systems, as well as heat imaging system (and a database of likely targets) for picking out and hitting the intended target. Kongsberg is providing a radar and control system, so that several batteries of the missiles may coordinate their attacks.
Meanwhile, Kongsberg teamed with an American firm to jointly developed a "Joint Strike Missile" (JSM) designed to be launched from the internal bomb bay of the F-35 fighter. The half ton weapon, with a 250 kilometer range, is based on the NSM. Adapting this weapon for air launch attracted the attention of U.S. firm Lockheed Martin, and the U.S. Department of Defense. The JSM uses the NSM guidance system to hit moving targets, like ships. The JSM thus becomes a very useful weapon for nations adopting the F-35. The JSM is also superior to the heavier Harpoon, which has become a standard anti-ship missile in many navies. The JSM has other competition, like the Harpoon variant, SLAM-ER, but at the moment no one weapon has a lock on future anti-ship missiles.
บ.
Kongsberg ประเทศนอร์เวย์ขายจรวด Naval Strike Missile (NSM) พร้อมระบบควบคุมและเรด้าห์ให้กับโปแลนด์ เพื่อใช้ป้องกันชายฝั่งจรวด
NSM นี้มีระยะยิงถึง 185 กม.หัวรบหนัก 275 ปอนด์ ประกอบจากวัสดุ composite จึงทำให้มีคุณสมบัติเป็นจรวดล่องหน (Stealth) โดยกองทัพเรือของนอร์เวย์ได้เลือกติดตั้งบนเรือฟริเกทแบบใหม่ชั้น Fridtjof Nansen และเรือตรวจการณ์ชั้น Skjoldนอกจากนี้ บ.
Kongsberg ยังเป็นทีมร่วมกับบ.ของอเมริกาในการพัฒนาจรวด Joint Strike Missile (JSM) ซึ่งเป็นจรวดสำหรับใช้ในเครื่อง F-35 ด้วย โดยต่อยอดการพัฒนาจากจรวด NSMNaval Strike Missile หรือ NSM เป็นโครงการพัฒนาอาวุธปล่อยต่อต้านเรือผิวน้ำของนอร์เวย์ซึ่งจะนำเข้ามาประจำการแทนจรวดรุ่นเก่าอย่าง Penguin ซึ่งมีใช้งานแพร่หลายทั้งรุ่นที่ติดตั้งบนเรือผิวน้ำ และอากาศยานเช่น บ.F-16 และ ฮ.แบบต่างๆ โดย NSM รุ่นที่ติดกับอากาศยานนั้นมีแผนจะสามารถติดกับอากาศยานได้หลายแบบเช่น F-35 อาจจะรวมถึง Typhoon, Gripen, MH-60 และ P-8 ในอนาคตด้วย
ซึ่งนอกจากขีดความสามารถในการโจมตีเป้าหมายเรือผิวน้ำแล้ว NSM ยังถูกออกแบบให้สามารถโจมตีเป้าหมายบนบกได้เช่นเดียวกับ อวป.ต่อต้านเรือผิวน้ำรุ่นใหม่ๆครับ
อย่างก็ตามที่ผ่านมาการพัฒนา NSM นั้นค่อนข้างจะล่าช้าอยู่มากครับ เรือชั้น Fridtjof Nansen ปัจจุบันก็ยังไม่ได้ติดตั้งจรวดครับ
อืมๆ ทั้งๆที่โปแลนด์มีพื้นที่ติดทะเลแต่ตอนบนของประเทศ แต่เค้าก็หาเขี้ยวเล็บมาประดับกองทัพเรือแหะ(หรือเตรียมไว้รับทัพเรือใครเอ่ย?)
ขอถามทุกท่านครับ ว่าในกระทู้บนสุดมีการกล่าวถึงเอฟ35 ด้วยไม่ทราบว่าเกี่ยวข้องอย่างไรกับอาวุธต่อต้านเรือตัวนี้บ้างครับ?
.....การพัฒนาระบบ เอ็นเอสเอ็ม แทบจะล่าช้า เหมือนระบบ โพลีเฟม ของเยอรมันเลยล่ะครับ แต่เยอรมันช้ากว่า พื้นฐานคือใช้ระบบ อินฟาเรด ตรวจหาเป้าหมาย นำทางโดย ไอเอ็นเอสและจีพีเอส เพื่อบินเข้าหาเปาหมายบนฝั่งหรือบินผ่านเกาะ ซึ่งค่อนข้างคล้ายกับ ฮาร์พูน รุ่น สแลมอีอาร์ น่ะครับ เล็งเข้าชนเป้าหมายผ่านกล้องอินฟาเรด ซึ่งพัฒนาให้ติดตั้งกับ ฮ.อย่าง เอ็นเอช-90 อีเอช-101 ได้จำนวน2ลูก รวมถึง กรีเพ้น เอ็นจี ด้วยเช่นกัน ส่วนว่าล่องหนหรือไม่นั้น ก็เทคโนโลยีเดียวกับ ที่มีใช้กับจรวดรุ่นใหม่ๆอย่าง ออตโตแมต เตเชโอ หรือ อาร์บีเอส-15 เนื่องจากใช้เทคโนโยเดียวกันคือมีมุมสะท้อนเรดาห์ต่ำน่ะครับ
....ซึ่งก็นับเป็น 1 ในระบบต่อต้านเรือรบแบบหนึ่งที่น่าสนใจครับ ซึ่งจะสามารถทำตลาดได้เท่าระบบเพนกวิ้น ได้อีกหรือไม่ต้องรอดูต่อไป
จรวดเรดาร์ตรวจจับได้ยากก็จริงครับ แต่ใช่ว่าจะโดนเป้าหมาย 100% เพราะในเรือย่อมมีระบบต่อต้านต่างๆ ระบบต่อต้านแบบฮาร์ดคิลอาจจะพลาด แต่ ซอร์ฟคิล(พวกเป้าลวง) หรือระบบแจมมิ่ง น่าจะยังใช้ได้ผล แต่ก็ย่อมเพิ่มโชคในการถูกเป้ามากขึ้นอีกเป็นอันมากเพราะสามารถตรวจจับได้ยาก ส่วนกรณีที่พัฒนาสำหรับติดตั้งกับ F-35 นั้นคาดว่าจะพัฒนาติดตั้งใต้ปีกมากกว่าภายในลำตัวเนื่องจากขนาดของตัวจรวด อีกทั้งจรวดมีคุณลักษณะของตัวจรวดที่เป็นแบบ สเตลท์ ที่อาจจะมีผลกระทบตัวเครื่องบินน้อยในการลดการตรวจจับของเรดาร์(คาดว่าการล่องหนเรดาร์ของจรวดน่าจะเพื่อจุดประสงค์นี้เป็นหลัก) แต่ ฮาร์ดพ้อยท์ สำหรับติดดตัวจรวดก็คงต้องพัฒนาให้มีคุนสมบัติล่องหนด้วยเช่นกัน
ทั้งหมดเป็นความเห็นและวิเคราะห์ส่วนตัว หากข้อมูลผิดพลาดอันใดก็ขออภัยไว้นะที่นี้ครับ
เรียนท่าน tan02
จากย่อหน้า 2 ประโยคที่ 2
The half ton weapon, with a 250 kilometer range, is based on the NSM.
จรวด JSM พัฒนามาจากจรวด NSM
เรียนท่านเด็กทะเล
จากย่อหน้า 2 ประโยคแรก
a "Joint Strike Missile" (JSM) designed to be launched from the internal bomb bay of the F-35 fighter.
JSM พัฒนาเพื่อติดตั้งภายในตัวเครื่อง F-35