เมื่อเช้าผมดูข่าวเรื่องเล่าเช้านี้ ได้ฟังโอวาสของท่านพลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ท่านบอกว่าก่อนที่ท่านจะตาย ท่านอยากเห็นกองพลทหารม้าที่ 3 เพื่อนๆคิดว่ามีโอกาสจะเกิดขึ้นไหม และควรจะตั้งอยู่ที่ไหน
ผมว่า ไม่มีทางเกิดครับ เพราะ เราก็ไม่มีความสามารถในการสนับสนุนด้านการส่งกำลังที่สมบุณณ์เท่าไรนัก
คง ยากในช่วงนี้ครับ แต่ว่า ก็ควรมีการเตรียมการ หากว่า งบประมาณพร้อม และเศรษฐกิจดีขึ้น
เคยได้ข่าว ทาง wiki ว่า ไทยสนใจ ตัวนี้อยู่
ผมว่าคำถามสำคัญก็คือ จะเกิดมาทำไมมากกว่าครับ????
ความเห็นส่วนตัว ผมว่าเป้นเรื่องไร้สาระที่สุดที่จะตั้งพล.ม.3
ถ้าเชื่อและทำตามท่านเปรมมากๆ ป่านนี้ประเทศไทยมีค่ายทหารมากพอๆกับอบต.แน่
มีอย่างทีไหนกองพลทหารม้าที่หนึ่งแทนที่จะตั้งที่ราบกลับไปตั้งที่ล้อมด้วยป่าและภูเขาอย่างเพชรบูรณ์ เกิดสงครามจริงเคลื่อนย้ายลำบากรถถังแน่
การจัดตั้ง พล ม 3 ในภาคอีสาน คงไม่ใช่เป็นแค่ความอยากของท่านประธานองคมนตรีหรอกครับ แต่น่าจะเป็นเพราะเส้นทางเชื่อมลาว เวียดนาม ล้วนพาดผ่านอีสานทั้งสิ้น และเป็นเส้นทางลาดยางอย่างดี จากเวียดนามใช้เวลาประมาณ 10 ชั่วโมงก็จ่อคอหอยเราแล้ว เราคงไม่ได้ระแวงใคร แต่จะไม่ระวังเลยรู้สึกจะประมาทไปหน่อยนะครับ ส่วนเหตุผลอื่นผมคิดว่าท่านคงมองลึกซึ้งกว่าเพราะคงจะมีข้อมูลมากกว่า
ท่านเป็นนายทหารระดับสูงและทรงอิทธิพลในกองทัพ แม้กระทั่งปัจจุบัน
ความเชื่อของผมคือท่านมีข้อมูลและเหตุผลที่เราไม่ทราบ
ซึ่งเหตุผลของท่านจะผิดหรือถูกเราควรหาข้อมูลมาศึกษาดีกว่า
น่าจะมีอะไรที่ให้ความรู้กับเราเยอะ ไม่ว่าท่านจะผิดหรือถูกก็ตาม
คนระดับเคยเป็น ผบ.ทบ นายก รัฐบุรุษ ประธานองคมนตรีน่าจะมีเหตุผลอะไรสักอย่าง ถึงได้เสนออย่างงี้
ถ้าจะจัดตั้งกองพลทหารม้าที่ ๓ ในเขตพื้นที่ภาคอีสาน ก็คงต้องใช้กรมทหารม้าที่ ๖ เป็นแกนในการจัดตั้งกองพล โดยมี บก.พล. อยู่ที่ค่ายเปรมติณสูลานนท์ อ.น้ำพอง จ.ขอนแก่น ซึ่งปัจจุบันเป็นที่ตั้งของกองพันทหารม้าที่ ๑๔ ปรกติในการจัดหน่วยรบของกองทัพบกนั้น มักจะใช้ระบบแบบ ๓ คือ สามกองร้อยเป็นหนึ่งกองพัน สามกองพันเป็นหนึ่งกรม สามกรมเป็นหนึ่งกองพล แต่ตอนนี้กรมทหารม้าที่ ๖ เองก็ยังมีอัตราการจัดที่ยังไม่สมบูรณ์เพราะมี หน่วยรองหลักของกรมเพียงสองกองพันเท่านั้น คือ กองพันทหารม้าที่ ๖ (รถถัง) และ กองพันทหารม้าที่ ๑๔ (ยานเกราะ) ทำให้แนวความคิดในการจัดตั้งกองพลทหารม้าที่ ๓ ต้องมีการจัดตั้งกองพันทหารม้าเพิ่มเติมขึ้นมาอีก ซึ่งก็เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่ายุทโธปกรณ์ต่างๆ สำหรับหน่วยทหารม้านั้นมีราคาค่อนข้างสูง ในการจัดตั้งทหารม้าขึ้นมาแต่ละกองพันต้องใช้เงินเป็นจำนวนมหาศาล ในสภาวะเศรษฐกิจแบบนี้จะทำได้หรือครับ ถ้าจะดื้อเอากันจริงๆ ก็คงทำได้ แต่จะออกมาแบบไหนก็ยังไม่ทราบ
ในส่วนต้ว ตามความคิดผมนะครับ ถ้าต้องการจัดตั้งกองพลทหารม้าที่ ๓ ให้สำเร็จในระยะเวลาอันสั้น ก็ต้องเอากรมทหารม้าที่ ๖ เป็นแกนหลักในการจัดตั้งกองพล และเพื่อความสมบูรณ์ของกรมหลัก ต้องโอนกองพันทหารม้าที่ ๑๕ (ยานเกราะ) จากจังหวัดน่าน มาอยู่กับกรมทหารม้าที่ ๖ ซึ่งจะทำให้กรมทหารม้าที่ ๖ เป็นกรมทหารม้ามาตรฐานที่สมบูรณ์ตามหลักนิยมของกองทัพบก ตามสูตร ๑ กองพันทหารม้ารถถัง + ๒ กองพันทหารม้ายานเกราะ เมื่อแกนหลักของกองพลสมบูรณ์แล้ว ก็หันไปจัดตั้งกรมดำเนินกลยุทธอีกสองกรม โดยต้องใช้กองพันทหารม้ารถถังที่อยู่ในกองพลทหารราบที่ ๓ และ ๖ ซึ่งมีเป็นหน่วยขึ้นตรงของกองทัพภาคที่สองอยู่แล้ว มาเป็นแกนในการจัดตั้งกรมทหารม้าเพื่อเป็นหน่วยรองหลักของกองพลทหารม้าที่ ๓ โดยดึงกองพันทหารม้าที่ ๘ โคราช จากกองพลทหารราบที่ ๓ มาเป็นแกนในการจัดตั้งกรมทหารม้าที่ ๗ ในขั้นแรกก็จัดตั้งกองพันทหารม้ายานเกราะขึ้นมาอีกหนึ่งกองพันเพื่อเป็นหน่วยดำเนินกลยุทธของกรม ในแนวทางเดียวกันก็ดึงกองพันทหารม้าที่ ๒๑ ร้อยเอ็ด จากกองพลทหารราบที่ ๖ มาเป็นแกนในการจัดตั้งกรมทหารม้าที่ ๘ ในขั้นแรกก็จัดตั้งกองพันทหารม้ายานเกราะขึ้นมาอีกหนึ่งกองพันเพื่อเป็นหน่วยดำเนินกลยุทธของกรม และเพื่อความสมบูรณ์ของกองพลทหารม้า ต้องมีกองพันทหารม้าลาดตระเวนของกองพล การจัดตั้งก็แค่ดึงกองร้อยทหารม้าลาดตระเวนจากกองพลทหารราบที่ ๓ และ ๘ มาจัดตั้งเป็นกองพันทหารม้าลาดตระเวน แค่นี้ก็ได้มาสองกองร้อยแล้ว ถ้าจะให้สมบูรณ์ครบสามกองร้อย ก็ดึงหมวดทหารม้าลาดตระเวนจากกองร้อยสนับสนุนการรบ ของกองพันทหารม้าที่ ๑๔ และ ๑๕ มาตั้งเป็นกองร้อยลาดตระเวนที่สาม ให้กับกองพันทหารม้าลาดตระเวน ของกองพล แค่นี้ก็ได้กรมทหารทหารม้า (หย่อนกำลัง) เพิ่มอีก ๒ กรม กับ ๑ กองพันทหารม้าลาดตระเวน เพื่อมารวมกับกรมทหารม้าที่ ๖ ซึ่งมีความสมบูรณ์ที่สุด กองพลทหารม้าที่ ๓ ก็จัดตั้งขึ้นมาได้ ถ้าเพื่อนๆ ถามว่า แล้วกองพลทหารราบทั้งสองในกองทัพภาคที่สอง ที่ถูกดึงกองพันทหารม้ารถถังและกองร้อยทหารม้าลาดตระเวน ซึ่งเป็นหน่วยสนับสนุนหลักของกองพลไป จะทำยังไง ผมว่าก็ไม่เป็นไรนะครับ เพราะว่า กองพลทหารม้าที่ ๓ เป็นกองพลทหารม้าที่เป็นหน่วยขึ้นตรงของกองทัพภาคที่สองอยู่แล้ว เหมือนที่กองพลทหารม้าที่หนึ่ง เป็นหน่วยขึ้นตรงของกองทัพภาคที่สาม ซึ่งสามารถให้การสนับสนุนการปฏิบัติการแก่กองพลทั้งสองได้อยู่แล้ว ดีเสียอีกที่จะทำให้หน่วยยานเกราะในกองทัพภาคที่สองมีความคล่องตัวในการดำเนินกลยุทธสูงขึ้น และเมื่อสภาวะเศรษฐกิจของประเทศเอื้ออำนวย ก็จัดตั้งกองพันทหารม้ายานเกราะ และ ร้อย ค. หนัก ให้กรมทหารม้าที่ ๗ และ ๘ ในลำดับต่อไป
ข้อคิดเห็นทั้งหมดเป็นความคิดส่วนตัวของผม ถ้าเพื่อนสมาชิกท่านอื่นมีความคิดเห็นอื่น ก็ลองมาแลกเปลี่ยนกันดูนะครับ
สุดท้ายนี้ก็ขอลาทีปีเก่า สวัสดีปีใหม่ กับเพื่อนๆ TFC ทุกท่าน โชคดีมีเงินใช้ทุกท่านนะครับบบบบบบบบบบ...............
อัตราการจัดของ พล.ม.๒ รอ. และ พล.ม.๑ นั้นค่อนข้างจะมีความแตกต่างกันมากครับถึงแม้ว่าจะเป็นกองพลทหารม้าเหมือนกัน
คือ พล.ม.๒ รอ.นั้นจะมีลักษณะเป็นกองพลทหารม้ายานเกราะแบบสมบูรณ์ซึ่งประกอบด้วยกำลังหลักเป็น กองพันรถถัง และกองพันทหารม้าบรรทุกยานเกราะ โดยมียุทโธปกรณ์หลักเป็น ถ.หลักเช่น M48A5 M60A1 และ M60A3 เป็นต้น ซึ่งพื้นที่รับผิดชอบหลักนั้นจะเป็น ของ ทภ.๑ พรมแดนด้านภาคตะวันออกติดกับกัมพูชาซึ่งเป็นพื้นที่ราบส่วนใหญ่และในช่วงที่เวียตนามยึดครองกัมพูชาเมื่อ20ปีก่อนนั้นมีความเป็นไปได้สูงที่เวียตนามจะมีการส่งกำลังยานเกราะผสมขนาดใหญ่เข้าทำการรบในบริเวณดังกล่าว ซึ่งก็มีกำลังอีกส่วนคือ พล.ร.๒ รอ.ซึ่งมีหน่วยทหารราบยานยนตร์เสริมปฏิบัติการด้วยเช่นกัน
ส่วน พล.ม.๑ นั้นจะมีลักษณะเป็น กองพันทหารม้าลาดตระเวน เสริมด้วยทหารม้าบรรทุกยานเกราะ ยุทโธปกรณ์หลักจะเป็น ยานเกราะเบาเช่น V-150 รุ่นต่างๆทั้ง ลำเลียง ติด ปถ.90มม. หรือติด ปืน ค., ถ.เบาScorpion และมีบางส่วนได้รับมอบ รสพ.M113(แต่ดูเหมือนไม่ครบ) ซึ่งพื้นที่รับผิดชอบของ ทภ.๓ ในพรมแดนทางภาคเหนือนั้นจะเป็นพื้นที่เขตป่าภูเขาซึ่งกำลังยานเกราะตามแบบขนาดหนักจะมีขีดจำกัดในการเคลื่อนที่แต่ยานเกราะเช่น V-150 หรือ Scorpion นั้นจะทำได้ได้สะดวกกว่า ซึ่งในกรณีพิพาทตามพรมแดนในช่วงหลังๆเช่นกับพม่านั้นจะเห็นมี V-150 รุ่นติด ปถ.90มม.บ่อยๆ โดยมีข้อมูลออกมาว่า พม่าได้จัดหา รถหุ้มเกราะล้อยาง 6ล้อแบบ EE-9 Cacavel ติด ปถ.90มม. ผลิตโดยบราซิล ในลักษณะซื้อต่อแบบของSurplus จากอิสราเอล มาจำนวนหนึ่งเพื่อใช้ในภูมิประเทศแถบนี้ด้วยครับ
ดังนั้นการจัด พล.ม.๓ ขึ้นมานั้นจุดประสงค์หลักคือการจัดตั้งกองพลทหารม้าเพื่อสนับสนุนกำลังของ ทภ.๒ ในพื้นที่พรมแดนด้านตะวันออกเฉียงเหนือครับ ซึ่งกำลังที่จะจัดตามข้อมูลทีออกมาคือ ม.๖ ซึ่งมีกำลังคือ ถ.เบา Stingray ถ้ารวมกับกองพันรถถังประจำกองพลทหารราบ และกองพันทหารม้าลาดตระเวนใน ทภ.๒ แล้ว พล.ม.๓ นั้นน่าจะมีลักษณะเป็น กองพลทหารม้า ถ.เบาผสมกับ ถ.หลัก( Stingray, M48A5 และ M41) โดยมีกำลังทหารม้าลาดตระเวนและทหารม้าบรรทุกยานเกราะเช่น Scorpion และ M113 เสริมครับ
ส่วนความเห็นผม คิดว่าสงครามปัจจุบันเป็นสงครามการก่อการร้าย พลม.3ไม่น่าจะจำเป็นสำหรับสงครามแบบนี้ เพราะรถถังไม่ค่อยมีประโยชน์มากนักดูอย่างใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ แต่เราควรหันมาสนใจสงครามนอกแบบ ซึ่งตอนนี้เราเองก็ไม่ได้มีการปรับเปลี่ยนจากสมัยสงครามเวียตนามมากนัก อเมริกา เขามี โซคอม แล้ว แต่เรากลับไม่มี แล้วมันทำให้การทำงานใน 3 จังหวัดของหน่วยรบพิเศษไม่เป็นไปอย่างที่ถูกฝึกและควรจะเป็น เหมือนสมัยการชิงตัวประกันในอิหร่านของอเมริกาที่ฝ่ายอำนวยการผิดผลาดใช้หน่วยอย่างผิดหน้าที่ ผิดประเภท หน่วยรบพิเศษถูกฝึกมา ให้ซุมโจมตี ตีฉาบฉวย ลาตระเวนหาข่าว ปิดล้อมตรวจค้น และชิงตัวประกัน สรุปถ้าใช้หน่วยในเชิงรุกหน่วยจะได้เปรียบ แต่เรานำไปคุ้มครองครู คุ้มครองโรงเรียน ซึ่งเป็นการปฏิบัติเชิงตั้งรับ สรุปส่งทหารที่ฝึกมาอย่างดีไปเป็นเป้า ก็เพราะฝ่ายอำนวยการในกองทัพที่สั่งการท่านดันเคยทำงานแต่หน่วยรบที่รบในแบบ ถามว่าให้พวกท่านเหล่านั้นนั่งรถแล้วจัดทีมคุ้มกันวีไอพีไปด้วย ท่านก็คงเลือกไป ฮ. เพราะปลอดภัยกว่า ฮ.ที่ลงพื้นที่เลยมีหน้าที่รับส่ง วีไอพี แทนการนำมาใช้ทางยุทธการ
แล้วเราควรใช้เหล่านักรับพิเศษอย่างไร เราควรให้เขาเหล่านั้นได้ซุ่มโจมตีลาดตระเวน ปิดล้อมตรวจค้น ตามที่ฝึกมา ซึ่งถ้ามองให้ดีการทำงานอย่างนั้นจะทำให้ฝ่ายตรงข้ามทำงานลำบาก และต้องคอยหนี ถูกกดดัน จนทำให้ก่อเหตุลำบากขึ้น ท่านอาจบอกว่ามันไม่ดูรุนแรงไปหรอ แต่หน่วยรบพิเศษ ถูกสอนให้ปกปิดร่องรอย ยกเว่นกรณีปิดล้อมตรวจค้น ซึ่งก็ดีเพราะฝ่ายตรงข้ามจะหาข่าวลำบาก ส่วนการลาดตระเวนตามเส้นทาง การคุ้มครองครู ก็ให้เป็นหน้าที่ของหน่วยปกติไป ซึ่งก็คงจะปลอดภัยขึ้นเพราะฝ่ายตรงข้ามจะทำงานลำบากขึ้น
ส่วนการจัดตั้งหน่วยที่คล้ายโซคอมของอเมริกา คงต้งมีการส่งเจ้าหน้าที่ไปเรียนรู้ เพราะการอำนวยการที่ถูกไม่ใช้เคยทำงานมาแล้วเจ้าวางแผน จัดการภารกิจได้
ส่วนเงินที่จะไปซื้อรถถังผมว่าซื้อพวก ฮ.มาใช้ทางยุทธวิธีเพิ่ม ยายนต์หุ้มเกราะที่คล่องตัว ที่จะสนับสนุนการเข้าสู่เป้าหมาย และการถอนตัวรวมทั้งสนับสนุนการยิง รวมทั้งการวิจัยพวกเครื่องแบบพรางที่พรางได้เนียนอย่างลายมัลติแคม เกราะที่แบบ ปืนที่มีความคล่องตัวและใช้งานได้ดี และอื่นที่จะทำให้พวกเขาได้เปรียบฝ่ายตรงข้าม จะดีกว่า
สรุปผมว่า ปัจจุบันเราต้องการหน่วย และฝ่ายอำนวยการที่จะต่อสู้กับสงครามก่อการ้ายครับ แต้อนาคตจะเป็นอย่างไรคอยว่าการในอีก 10 ปีข้างหน้าครับ
พิมพ์ผิดเยอะขอโทษนะครับ
ตอนนี้ในกองพลทหารม้าที่ ๒ ไม่มี M-48A5 ประจำการอยู่แล้วนะครับ ตอนนี้ M-48A5 อยู่ในอัตราของ ม.พัน 2 รอ. ซึ่งเป็นกองพันรถถังของกองพลทหารราบที่ ๒ กับ ม.พัน. 21 ซึ่งเป็นกองพันรถถังของกองพลทหารราบที่ ๖
กองพลทหารม้าที่ ๑ มีลักษณะการจัดแบบกองพลทหารม้าผสม ประกอบด้วย กรมทหารม้ามาตรฐาน (ม.๓) และ กรมทหารม้าลาดตระเวน (ม.๒) แต่ก็อย่างที่ทราบกันโดยทั่วไปว่า พื้นที่ส่วนใหญ่ของกองทัพภาคที่สาม เป็นพื้นที่ป่าและภูเขา ซึ่งไม่ค่อยเหมาะกับการใช้กองกำลังยานเกราะ กองทัพบกน่าจะพิจารณาปรับเปลี่ยนเพื่อความเหมาะสม เช่น โอนย้าย รถถังแบบสติงเรย์ จาก ม.พัน. ๒๖ ไปแทน เอ็ม-๔๑ เอ ๓ ที่ ม.พัน. ๘ โคราช แล้วปรับกำลังในกรมทหารม้าที่ ๓ ใหม่ทั้งหมด เป็นทหารม้าเบาทั้งกรม เพื่อให้เหมาะสมกับการปฏิบัติการในพื้นที่ป่าภูเขามากกว่าที่เป็นอยู่
ไม่รู้พูดถึงผมหรือเปล่า ถ้าไม่ใช่ก็ขออภัยนะครับผม ^ ^ ....... ความจริงผมไม่ได้อคติต่อท่านประธานองคมนตรีครับ เพราะที่ผมไม่เห็นด้วยก็คือสิ่งที่ท่านพูดออกมา ไม่ใช่ตัวท่านเองนะครับ
ผมยังไม่เห็นความจำเป็นใด ๆ ที่จะตั้งพล.ม.3 ขึ้นมาเลยไม่ว่าจะมองในมุมไหน พล.ม.3 ควรจะเป็นความเร่งด่วนลำดับสุดท้าย .... ไม่สิ .... ผมว่าไม่ควรจะมีโครงการนี้เกิดขึ้นด้วยซ้ำ ..... เพราะผมหาความจำเป็นในการเพิ่มกำลังรบยานเกราะขึ้นมาอีก 1 กองพลไม่เจอ ยิ่งถ้าที่เขาบอก ๆ กันก็คืออยากจะให้พล.ม.3 เป็นกองพลม้าอากาศนั้นเป็นความจริงยิ่งแย่เข้าไปใหญ่ เพราะเราไม่มีงบจัดหาอากาศยานแน่นอน มันจะกลายเป็นกองพลม้าอากาศ Stealth ไปเสีย
หรือถ้าไม่ใช่ และเป็นในรูปแบบของกองพลยานเกราะ ก็ยังมึนอีกนั่นแหละครับ ..... จะมีไปทำไม? ความจำเป็นอยู่ที่ไหน? ....... อยากมีอาจจะ OK แต่มั่นใจได้แล้วหรือครับว่าถ้ามีมันจะใช้ได้จริง? ..... ลำพังแค่กองพลทหารม้าสองกองพล กองทัพยังไม่สามารถจัดหายุทโธกรณ์ได้เต็มเลย ของเก่าก็ยังไม่สามารถจัดหาของใหม่ทดแทนได้ ..... แล้วถ้าจะตั้งอีก 1 กองพล ก็ต้องเปิ้ลทุกอย่างเข้าไปอีก แล้วเราจะเอาเงินมาจากไหนครับ? ..... ไปดึง suppport จากหน่วยอื่นหรือ? แล้วถ้าอย่างนี้ความพร้อมในภาพรวมของทบ.ก็ลดลง สุดท้ายก็เหมือนเดิมนั่นก็คือไม่มีความพร้อมรบนั่นเอง
ปัจจุบันอัตรากำลังรบของทบ.สามารถรองรับภัยคุกคามในอีก 20 ปีข้างหน้าได้อย่างสบาย ถ้าทำให้ทุกหน่วยมันพร้อมรบได้ 80% ตามเกณฑ์มาตราฐานที่ทบ.ตั้งเอาไว้ แต่ลำพังทุกวันนี้มันยังทำไม่ได้ ถ้าต้องตั้งหน่วยเพิ่มขึ้นอีก จะเอาทรัพยากรที่ไหนมา support
แล้วที่สำคัญ ตั้งพล.ม.3 ทำให้มีกองพลทหารม้า 3 กองพล ก็ต้องมีหน่วยบัญชาการทหารม้า ต้องเปิดอัตรานายพลอีกกี่ตำแหน่ง เปิดอัตรานายพันอีกกี่ตำแหน่ง เปิดอัตรานายร้อยอีกกี่ตำแหน่ง ........ กลายเป็นว่าสุดท้ายทบ.ต้องขยายอัตรากำลังเพิ่มทั้ง ๆ ที่เหล่าทัพอื่นกำลังพยายามปรับลดกำลังพลลงเพื่อลดรายจ่ายประจำและมีงบประมาณในการจัดหาอาวุธและเพิ่มการฝึก?
เพื่ออะไร? .... ผมยังหาเหตุผล ความจำเป็น ความเร่งด่วน มาสนับสนุนแนวความคิดนี้ไม่ได้เลย ..... ผมยังยืนยันคำพูดเดิมว่าแนวความคิดนี้เป็นเรื่องไร้สาระอย่างสิ้นเชิงครับ
ส่วนหนึ่งผมก็ขอเห็นด้วยกับแนวคิดนี้นะครับ เพราะความเสี่ยงจากประเทศเพื่อนบ้านรอบข้างเราเนี่ย ทางฝั่งอีสานเนี่ยยังน่าเป็นห่วงมากกว่าทางด้านตะวันตกนะครับ เนื่องจากเรามีหอกข้างแคร่ตั้งสองด้าม(ทุกท่านน่าจะรู้ดี)ซึ่งมันมีทั้งหอกคมกับหอกทู่ บ้านเราต้องระวังนะครับ
ตัวอย่างก็มีไม่นานนี้ก็เจอหอกทู่ซัดเข้าไป ถึงแทงไม่เข้าทำให้ไม่เสียหายมากแต่บ้านเราก็จุกนะครับ(แสบมาก)
ถ้าเราลองคิดดูว่าหอกอีกด้ามล่ะที่มันคมกว่าจะแทงเราซ้ำล่ะ ?????
....มันไม่คุ้มเลยนะครับที่จะเสี่ยง.....
...ความคิดผมมองว่าตอนนี้บ้านเราน่าจะวางกำลังให้คล่องตัวกว่านี้น่าจะดี ลองคิดเล่นๆๆนะครับ ถ้าเราโดนกดดันทางทิศตะวันออกล่ะ เราต้องเรียกทหารม้ามาช่วยจะร้อยเอ็ดหรือไม่ก็สระบุรีเลยนะครับ ขนาดท่านๆๆขับรถไปอุบลหรือหนองคายจากสระบุรีเนี่ยก็หลายชั่วโมงพอดู ความพร้อมของทบ.เราจะสามารถเข้าไปรับมือทันไหม???
ยังไงผมก็เปนกำลังใจให้กองทัพนะครับ อยากให้เรามีความตื่นตัวตลอดเวลาพร้อมรบทุกเมื่อไม่ว่าสถานการณืใด...ไม่อยากให้คิดว่าเราเหนือกว่าคนอื่นเสมอ..เพื่อความไม่ประมาทครับ กรณีศึกษาก็สงครามเวียดนาม เหมือนต่อชนะเสือครับ
ผมว่าข้อมูลของคุณ Skyman น่าจะไม่ถูกต้องนะครับ ที่ว่าถ้ามีกองพลทหารม้า ๓ กองพล ต้องมีการตั้งหน่วยบัญชาการทหารม้าขึ้น เพราะกองพลทหารม้าแต่ละกองพลมีสายบังคับบัญชาในระดับกองทัพภาคอยู่แล้ว กองพลทหารม้าที่ ๑ ก็ขึ้นตรงกับ ทภ.๓ กองพลทหารม้าที่ ๒ รักษาพระองค์ ขึ้นตรงกับกองทัพบก และถ้ากองพลทหารม้าที่ ๓ มีการจัดตั้งขึ้นมาจริงๆ ก็อาจจะขึ้นตรงกับ ทภ.๒ แล้วทำไมต้องมีการจัดตั้งหน่วยบัญชาการทหารม้าขึ้นละครับ ดังนั้นถ้าการจัดตั้งกองพลทหารม้าที่ ๓ ขึ้นมาจริงๆ ก็มีตำแหน่ง พลตรี ซึ่งเป็นตำแหน่งของผุ้บัญชาการในระดับกองพล เพิ่มอีกแค่ตำแหน่งเดียว ส่วนอัตรานายทหารในระดับนายพัน ก็มีเพิ่มอีกก็คงไม่มาก เพราะถ้าจัดตั้งขึ้นมาจริงๆ เค้าคงไม่ตั้งกองพันทหารม้าขึ้นใหม่ทั้งหมดหรอกครับ
ปัจจุบัน อัตรานายทหารระดับผู้บังคับบัญชานั้นมีเกินความต้องการของกองทัพครับ ซึ่งถ้าจัดตั้ง พล.ม.3 นั้น อัตรากำลังที่จะต้องรับสมัครเพิ่มก็จะมีแต่นายทหารชั้นประทวน
ซึ่งถ้าจะให้เห็นด้วยกับการจัดตั้ง พล.ม.3 ก็ต่อเมื่อ จัดหายุทโธปกรณ์ให้ พล.ม.1 และ พล.ม.2 รอ. ให้ครบตามความต้องการ และดำรงความพร้อมรบให้ได้ 60-70% แค่นี้ก็หรูมากแล้วถ้าเทียบกับปัจจุบัน(ทบ.อยากได้ถึง 80% คิดว่าคงได้แต่หวัง)....หลังจากนั้นค่อยจัดตั้ง พล.ม.3 ผมจะสนับสนุนเต็มที่เลย
ผมเชื่อเหมือนท่านดีบอยครับว่า ในสภาวะการส่งกำลังบำรุงดังเช่นปัจจุบันนั้น พล.ม.3 คงเป็นได้เพียงความฝันต่อไปครับ เป็นไปได้ยากมาก
ม.6 นั้นว่าอันที่จริงแล้ว เป็น นขต.(หน่วยขึ้นตรง) ของ พล.ม.1 แต่ฝากการบังคับบัญชาไว้กับ ทภ.2(กองทัพภาคที่2)...............
ส่วนตัวก็ยังไม่เห็นความสำคัญของ พล.ม.3 ในสภาพกาลปัจจุบัน สู้คิดและปรับปรุงหน่วยที่มีอยู่แล้วให้พร้อมรบจริงๆ น่าจะดีกว่า
ต้องลองทบทวนดูใหม่ครับว่า ปัจจุบัน ตามสภาพภัยคุกคามที่เป็นจริง รวมทั้งแนวโน้มภัยคุกคามที่จะต้องเจอในอนาคตนั้น น่าจะปรับปรุง อัตราการจัดของหน่วยรวมถึงแผนการฝึกอย่างไรถึงจะตรงจุด(ไม่ใช่ แสดงนิยาย หลอกตัวเองไปวันๆเช่นทุกวันนี้)
ปัจจุบันนั้นในรูปกองพลถึงแม้จะมี หน่วยหลายหน่วยหรือพูดง่ายๆหลายเหล่าอยู่ในกองพลเดียวกันก็จริง แต่ในภาพหน่วยดำเนินกลยุทธแล้วยังคงเป็นเหล่าเดียวเป็นหลัก เช่น กรมทหารราบ กรมทหารปืนใหญ่ (ปกติใน 1 กองพัน จะมี 3 เหล่าเสมอคือ เหล่าของกองพันนั้น เหล่าเสนารักษ์ และก็ เหล่าการเงิน) การจัดแบบนี้ข้อดีคือ ง่ายในการส่งกำลังบำรุง(แต่ในความเป็นจริง มันก็ไม่เห็นจะง่ายเลย) แต่ ในการปฏิบัติงานจริง มันก็จะออกมาในรูป หน่วยเฉพาะกิจ เสมอคือ นำเอาทุกหน่วยที่มีในกองพลมาจัดผสมกันให้ครบองค์ประกอบ คือ ทุกส่วนทั้ง ส่วนดำเนินกลยุทธ ส่วนสนับสนุนการรบ ช่วยช่วยรบ ช่วยสนับสนุนการช่วยรบ........
จริงอยู่ว่า การที่แต่ละเหล่าอยู่แยกของใครของมัน ง่ายในการฝึกตาม ชกท. ของเหล่านั้นๆ แต่ละคนมีการฝึกตามหน้าที่ของตัวเอง แต่สิ่งที่เป็นคือ พอนำจับมารวมกันในการจัดเฉพาะกิจแล้ว การประสาน การทำงานร่วมกัน มันจะออกไปอีกแนวทางหนึ่ง เพราะแต่ละส่วนมีเวลาฝึกร่วมกันน้อยจนถึงไม่เคยเลย( ไอ้ที่ฝึกโชว์นะอย่าเอามาอ้างละกันว่าใช้ได้ในความเป็นจริง).......
กองทัพต้องถามตัวเองก่อนว่าต้องการหน่วยระดับไหนเป็นหน่วยที่เล็กที่สุดที่สามารถรบได้ด้วยตัวเอง(คือ ไม่ต้องเอาหน่วยอื่นมาสมทบ เมื่อต้องการใช้จริง)ตามสภาพภัยคุกคามในปัจจุบันและแนวโน้มในอนาคต เช่น หน่วยระดับ กรมผสม หรือ กองพลน้อย
ยกตัวอย่างนะครับ ถ้าเป็นกองพลน้อย ก็ต้องมามองว่าต้องการหน่วยไหนบ้างที่จำเป็นตามสภาวะกาล เช่น ประกอบไปด้วย กองพันทหารราบ กองพันทหารม้า กองพันทหารปืนใหญ่ กองร้อยทหารช่างสนาม กองร้อยทหารสื่อสาร กองร้อยส่งกำลังส่วนหน้า กองร้อยประชาสัมพันธ์(ปจว.ปชส.) กองร้อยเสนารักษ์ กองร้อยข่าวกรองทหาร มว.ปตอ. มว.สห. มว.พธ. ฯลฯ ก็ว่ากันไปตามความเหมาะสม ............... ซึ่งกองพลน้อยนั้น สามารถยืนได้ด้วยลำแข็ง ตัวเอง สายการบังคับบัญชาและส่งกำลังสั้นลง สามารถฝึกร่วมกันตามวงรอบได้ตลอด ความเข้าใจกันและเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันง่ายขึ้น การฝึกและความชำนาญเฉพาะเหล่าก็สามารถฝึกได้ โดยใช้ เจ้า ศูนย์การทหาร ต่างๆนั้นแหละ(เอามาใช้จริงๆซะที) .......การแปรสภาพก็ไม่ยาก แทบไม่ต้องตั้งหน่วยใหม่เลยก็ยังได้ ก็เอาฐานหน่วยต่างๆที่มีในกองพลนั่นแหละมากระจายซะ(แต่อัตรา ผบ.พัน ผบ.กรม บางเหล่าจะลดลง หุหุ ยอมรับได้ไหมละ แต่ก็ไม่ยากนะ ก็เพิ่มอัตรา ผบ.พัน แบบใหม่สิ เช่น ผบ.พัน.สนับสนุน ผบ.พันพิเศษ เพื่อรวมกองร้อยย่อยๆนั้นแหละมาเข้าด้วยกัน และขึ้นตรงกับ กองพลน้อย) พูดไปพูดมา มันก็ทำนอง กองพลน้อยชุดรบ ของอเมริกัน นั่นเอง เดี๋ยวจะหาว่าผมบ้าเอเมริกาจ๋าอีก เราไม่เห็นต้องเอาเลิศหรูดูไฮ ตามเขาหรอก ก็อย่างที่บอก ต้องศึกษาและเอาหน่วยกองร้อยกองพันที่มี มากระจายตามความเหมาะสม พูดง่ายๆก็คือ เอามาจัดเรียงสายการบังคับบัญชาเสียใหม่ เพื่อให้เหมาะสมกับสภาวะความเป็นจริง เพราะ จัดปกติ จัดอย่างหนึ่ง พอจะรบก็จัดอีกอย่างหนึ่ง มันดูแปลกๆ ไอ้ครั้น พอจะรบแล้วจัดใหม่นะไม่เท่าไหร่ถ้า ปรับเปลี่ยนหรือเพิ่มเติมเล็กน้อย แต่นี่ เห็นทีไรก็ ผสมปนเป มั่วอีตั้ว ทุกทีสิ คนที่แทบไม่เคยฝึกร่วมกัน(อย่างจริงๆจังๆ) แต่อยู่ๆจะจับยัดมาให้รบร่วมกันให้ได้มันดูแปลกๆนะ(จะพูดหยาบๆก็คือ มั่ว)
การจะทำอะไรในด้านยุทธการต่างๆ นั้นสิ่งแรกที่จะต้องมาก่อนคือ ข่าวกรอง เพราะถ้าไม่มีข่าวกรอง ฝ่ายยุทธการก็วางแผนไม่ได้หรอก(จะวางได้ยังไงในเมื่อ ยังไม่รู้สถานการณ์ฝ่ายข้าศึกเลย) และสิ่งที่จะได้มาของข่าวกรองก็คือ ข่าวสาร แหล่งที่มาของข่าวสารก็มากมายหลายอย่าง อินเตอร์เน็ตก็ใช่ ............. การซุ่มโจมตี ตีโฉบฉวย ปิดล้อมตรวจค้น หรือ รวมๆคือ ไดเร็กมิชชั่น นั้นไม่ยาก เพราะทหารส่วนมากก็ฝึกมาสำหรับสิ่งนี้ แต่สิ่งที่ยากคือ จะทำยังไงให้ได้มาซึ่งข้อมูลข่าวสารเพื่อให้ได้ข่าวกรองที่เชื่อถือได้ เพื่อจะได้ ไดเร็กมิชชั่น ได้ตรงจุด และทันเวลา ตรงนี้แหละสำคัญ.........
พูดไปพูดมาออกนอกเรื่องอีกแล้ว 555 ......... ว่าแต่ อย่าพึงถึง พล.ม.3 เลย ปัจจุบันรู้หรือเปล่าว่า เรามีกองพลทหารราบกี่กองพล และ มีกองพลทหารราบเกิดใหม่หรือเปล่า หุหุหุ ยังจัดไม่เต็มเลยนะนั้น ใช้เงินน้อยกว่า ยานเกราะด้วย
สุดท้าย ถ้าจัดตั้งกองพลทหารม้าเพิ่ม ผมว่า เอาเวลาและเงินไปปรับปรุง เรื่อง การฝึก การส่งกำลัง ของหน่วยที่มีอยู่แล้วให้ดี น่าจะดีกว่าครับ เบื่อกับคำว่า ไม่จำเป็น เมื่อก่อนเขายังรบกันได้เลย นักรบโบราณไดโนเสาร์เต่าล้านปียึดติดกับสภาพสนามรบในอดีต สนามรบกับเทคโนโลยีมันเปลี่ยนไปถึงไหนแล้วลุง
โม้จนมัน อีกแล้ว ว่าแล้วก็อยาก นอกรอบ ซะจริงๆเลยเชียว ไม่ได้เจอท่านพี่ท่านป๋าทั้งหลายนานแล้ว หุหุ
ผมว่าได้เจอกับผู้นำการเปลี่ยนแปลงแล้วขอท่าน Fw190 ก้าวหน้าเมื้อโอกาศมาถึงขอให้ลงมือทำตามความคิดนั้นๆ
ผมกลัวเหลือเกิน นายทหารหนุ่มไฟแรงมีความคิด แต่พอไปถึงจุด นั้น จะคิดอยู่แบบนี้หรือปล่าว ปัจจัยในการคิดมันคงเปลี่ยนไป เปลี่ยวใจ นะ
ผมกลัวเหลือเกิน นายทหารหนุ่มไฟแรงมีความคิด แต่พอไปถึงจุด นั้น จะคิดอยู่แบบนี้หรือปล่าว ปัจจัยในการคิดมันคงเปลี่ยนไป เปลี่ยวใจ นะ
^
^
ไม่ต้องกลัวหรอกครับพี่ต้อม ผมไม่เปลี่ยนใจง่ายๆ หรอกครับ ตราบใดที่ยังไม่ลาออก ยังคงคิดเหมือนเดิมเสมอ แต่ที่สำคัญจะมีโอกาส หรือเปล่า นี่สิที่น่าคิด เหอะๆๆ เพราะดูปากตัวเองแล้ว คงจะชนตอแล้วก็ดองเค็มยันลูกบวชนะสิครับ หุหุ
ไม่ต้องกลัวหรอกครับ ยังมีนายทหารทั้งหนุ่มและไม่หนุ่มที่มีความคิดดีๆอีกหลายท่านครับ ก็คงต้องหวังให้ท่านเหล่านั้นมีโอกาสทำนะครับ แต่บางครั้งมันไม่ได้อยู่ที่ผู้บริหารใหญ่สุดอย่างเดียวนะครับ สำคัญที่ทีมงานนี่ด้วยสิ หุหุ
วันนี้เกือบได้มีโอกาส ยิง ทาเว่อ แล้ว กองพลผมได้ทาเว่อนะครับ ว่าจะไปบีบคอเพื่อนให้เอาออกมายิง รู้สึก กล้องเล็งที่ได้จะเป็นกล้อง รีเฟร็กซ์ และก็กล้องช่วยขยาย สามเท่า อีกตัวนะครับ ว่างๆจะถ่ายมาให้ชมนะครับ
ทำให้รถถัง รถหุ้มเกราะทั้ล้อยางและสายพาน รถบรรทุกที่มีในกองทัพวิ่งได้ 90% ก่อนแล้วค่อยคิดจะไปตั้งกองพลใหม่เถอะครับ ซื้อมาใหม่ก็ไร้ค่า ซื้อมาแล้วไม่รักษา ไม่ดูแล
พอซื้อมาใหม่ ถ่ายรูป ให้เป็นข่าว ก้าวเท้าเป็นนายพล แล้วเปลี่ยนไปเป็นนักการเมือง ก็ไม่เคยหันกับมาดูแลลูกน้องทหารหาญ ทหารชายแดนเสื้อเกราะยังแจกไม่ครบเลย สวัสดิ์การเป็นเช่นไร อาหารการกินลูกน้องที่ไปรบมีกินพอไหม ถ้าเลิกปฎิวัติและเลิกแทรกแซงระบอบประชาธิปไตย ดูแลทหารชั้นผู้น้อยให้ดีกว่าปัจจุบัน ผมจะดีใจมากที่เงินภาษีที่ผมเสีย เสียแบบไม่ไร้ค่า .....พวกกระเช้าดอกไม้ที่นายพลทั้งหลายทีเอาไปมอบให้ ไม่รู้ว่าซื้อโดยเงินส่วนตัวหรือว่าเงินภาษีประชาชนครับ