ประเทศไทยภูมิใจกับรถถังสติงเรย์จากสหรัฐ ที่มีชาติเดียวในโลก แม้แต่สหรัฐฯก็ยังไม่มีใช้ โดยที่ไทยซื้อมาทั้งดุ้น ไม่มีวิธีการผลิตประกอบหรือได้สายการผลิตมา แต่ขณะเดียวกันที่รถถังTh-301ของทิสเซ่นเฮนเซลจากเยอรมัน ตกจากการคัดเลือกของไทย ทั้งที่ให้ลิขสิทธิ์ในการผลิต วิธีการประกอบ แต่ตกการทดสอบ ทั้งที่สมรรถภาพก็พอๆกับสติงเรย์แต่ข้อเสนอดีกว่า
ต่อมาอาร์เจนติน่าได้ประจำการรถถังTh-301ในชื่อTAMทั้งลิขสิทธิ์ในการส่งขายและวิธีการประกอบผลิตด้วย ภายหลังได้พัฒนาเป็นรถสายพานลำเลียง IFV รวมไปถึงปืนใหญ่อัตตาจรด้วย ฯลฯ ไทยอิจฉาเขาหรือเสียดายมันบ้างไหม ที่เขาได้ทั้งความรู้ ขายก็ได้เงิน แต่ไทยได้แค่เศษเหล็ก ที่ไม่ได้นำความรู้ไปสร้างได้และก็ไม่ได้ลิขสิทธิ์ รวมถึงวิธีในการผลิตประกอบและลิขสิทธิ์ในการขายด้วย คงเพราะได้รับค่าคอมมิสชั่นมากและการที่มหาอำนาจไม่ได้เห็นค่าของไทยเลย ถ้าเป็นแบบนี้บ่อยๆ ไทยผลิตอะไรไม่เป็นแน่และยืนอยู่บนขาของตัวเองได้แน่
ทำไมคาดิแล็คไม่มอบสายการผลิตและลิขสิทธิ์ รวมถึงการนำไปขายกับไทย ทั้งๆที่อเมริกาไม่ประจำการมัน แต่Th-301ไม่ได้ประจำในเยอรมัน ทิสเซ่นเฮนเซลจึงได้มอบให้แก่อาร์เจนตินาทุกอย่าง หรือเพราะแค่ค่าคอมมิสชั่นบังตาและสหรัฐฯไม่เห็นไทยมีค่า พลอยทำให้โครงการผลิตต่างๆของไทยจึงเป็นแค่กระดาษและเศษเหล็กเท่านั้น???
รถถังสติงเรย์ ที่ได้แต่เศษเหล็กวิ่งได้มา
รถถังTh-301หรือTAM ที่ได้ทั้งความรู้ในการผลิตรถถัง นำไปต่อยอดไปเป็นผลผลิตแบบต่างๆ และอาจนำไปขายได้เงินด้วย
ภูมิใจที่มีใช้ชาติเดียวในโลกด้วยกันทั้งคู่ แต่ใครจะภูมิใจมากกว่ากัน??? รายละเอียดเพิ่มเต็มของทังคู่หาได้ทีhttp://www.military-today.com/tanks.htm
.....ส่วนตัวว่าก็ว่าน่ะครับ ถึงจะให้ลิขสิทธิ์อะไรมากมายขนาดไหน ถ้าพวกไม่สานต่อ ปล่อยไว้แต่ต้นแบบและหายไปกับสายลมก็ไม่มีความหมายเลยครับ บ้านเราเองวิจัยให้เพียบก็เงียบหาย(ขนาดไม่ใช่ลิขสิทธิ์ใครนะนั้น) ) เพราะยังงี้จึงควรส่งเสริมให้มีการลงทุนและวิจัยจนถึงผลิตให้ได้จริงๆน่ะครับ แล้วเราค่อยไปหาซื้อ รถถัง เครื่องบินหรืออะไรก็แล้วแต่จากชาติอื่น แต่มา ผลิตและดัดแปลงเองก็ได้ไม่จำเป็นต้องนาโต้ รัสเซีย เพราะบ้านเราโมเองเลือกได้อยู่ ได้พัฒนากองทัพบ้านเราและการศึกษาของบุคลากรคู่กันไปด้วยน่ะ
.....แต่ต้องยอมรับว่า รถถัง ยานเกราะเครื่องหน้านี่ดัดแปลงได้เยอะมากจริงๆ
ใช่ว่าผมจะเห็นด้วยกับ Stingray นะครับ พอฟังที่ไรก็รู้สึกแย่ทุกทีเพราะข้อเสนอของเยอรมันดีกว่าในทุกด้าน และอีกอย่างเราก็มาพูดทีหลังตั้งหลายปีแล้ว ทำอะไรไม่ได้แล้ว ซึ่งก็สมควรจะเก็บไว้เป็นบทเรียนครับ
แต่คำว่าเศษเหล็ก ขอเถอะครับ ให้เกียรติคนที่กำลังทำงานกับรถถังคันนี้บ้างครับ เขาไม่ได้มีส่วนในการตัดสินใจซื้อรถคันนี้ ไม่จำเป็นที่เขาจะต้องถูกด่าครับ
การพัฒนาทางการทหารไม่พัฒนาเพราะเราถูกสหรัฐฯกดหัวและบังคับขายของให้ โดยที่ไม่มีข้อเสนออะไรเลย รถถังสติงเรย์เป็นตัวอย่างที่เจ็บปวดที่สุด รองมาคือf16ชุดแรกๆที่เราต้องง้อซื้อของไอ่กัน แต่สิงคโปร์และอินโด ไม่ต้องง้อซื้อ มันก็มาขายให้ ราคาถูกกว่าของไทยมากกว่าและข้อเสนอมากว่าไทย โดยที่ไทยไม่มีอะไรเลย บทเรียนนี้ไทยต้องจำให้ดี
ภายหลังเมื่อกริปเปนให้ข้อเสนอที่ดีกว่าของf16 แต่f16ไม่มีข้อเสนออะไรเลย ทำให้เราไม่ต้องง้อของไอ่กันละ (ผมเคยชื่นชอบไอ่กัน ภายหลังเมื่อรู้อะไรมากก็เกลียดมันแทน และชื่นชอบรัสเซียและยุโรปที่มีข้อเสนอดีและเต็มใจช่วย ไอ่กันช่วยพัฒนาอิยิปต์และตุรกี ทั้งเงินและความช่วยเหลือมากกว่าไทยอย่างไม่ติดฝุ่นเลย) เมื่อที่อื่นได้ข้อเสนอดีกว่าและต่อรองกันได้ก็ต้องรับไว้ก่อน ไม่ต้องง้อไอ้กันละ เพราะมีที่อื่นจะขายให้มากมาย เมื่อมันไม่เห็นหัวเรา เราก็ต้องไม่เห็นมันเช่นกัน และอย่าเห็นเงินคอมมิสชั่นบังตามากกว่าผลประโยชน์ของชาติแล้ว เมื่อสละความเห็นแก่ตัวได้ การพัฒนาก็จะตามมา มาเลผลิตสไตเออร์และm4ได้ อินโดผลิตfncได้ สิงคโปร์พัฒนาของมาใช้เองและขายให้ไทยได้ ไทยอายไหมทำมาก่อนเค้า แต่ต้องซื้อของสิงคโปร์มาใช้ นี่แค่อุตสาหกรรมขั้นต้นนะนี่ ไม่ต้องถึงขั้นอุตสาหกรรมขั้นกลางเลย(เราด้อยกว่าเขาทุกเรื่องตั้งแต่ทหารจนถึงเรื่องเหล็กกล้าขั้นสูง) เราควรยืนอยู่บนขาของตัวเองได้ตั้งนานละ และเราจะถูกหลอกอีกครั้งจากรถเกราะยูเครนแล้วละ(เพราะคอมมิสชั่นบังตาอีกละ โดยนายพลทหารนักกลอฟ) ที่พม่ซื้อไปประกอบเอง แต่ไทยซื้อเศษเหล็กมาทั้งดุ้น
วิจารณ์ซะแรงเลยนะครับพี่ ผมว่าตอนนี้ลิขสิทธิ์มันก็คงไม่เหลือแล้วละครับตั้ง 10 กว่าปีที่ผ่านมา ถ้าเรา copy แบบมาได้หน่อยก็ไม่เสียหายนี่ครับ มีรถถังสติงเรย์
อยู่ก็ copy สิครับ ลอกแบบลงพิมพ์เขียว
ทำการเก็บข้อมูลต้นแบบให้เสร็จพอวันดีคืนดี อยากได้ผลิตต้นแบบก็ทำได้เลยใช่ว่าจะทำไม่ได้ แต่เราขี้เกียจทำเท่านั้นเอง
เห็นด้วยกับ Webmaster ครับ ถึงมันจะเป็นเศษเหล็กยังไง
พี่ที่เขาใช้เจ้ารถถังสติงเรย์นี้เขาก็ภูมิใจนะครับ
อ่า นี่เมืองไทยเราจนถึงขนาดนี้เลยหรอครับ
เหอๆๆๆ มิน่า ผมถึงได้ ดั้นด้นมาหากะตังค์ซะใกลโขเลย
..เข้าใจ กองทัพดีครับ หลายๆอย่างเราอยากได้แต่ต้องทำใจ
ระบบราชการไทย (ละใว้ฐานที่รู้กัน) ยังไงก็หัวใจสีเขียวไม่มีวันเปลี่ยน
สวัสดีปีใหม่ นะครับ.....
ที่ว่า กระเบนธง เป็นเศษเหล็กนะ มันฉะกับ ทีทีเอส ได้นะเออ.......... หมัดหนักเท่ากัน(เพราะปืนและกระสุนรากฐานเดียวกัน) ต่างกันที่เสื้อเกราะ กระเบนธง เสียเปรียบตรงผ้าบาง แต่ก็ได้เปรียบตรงด้วยความที่บาง อัตราน้ำหนักที่กดลงต่อพื้นที่น้อยกว่า คล่องตัวกว่า........ระบบควบคุมการยิงพอๆกัน ทีนี้มันก็อยู่ที่ใครโดนก่อนละครับ ใครโดนหมัดตรงเข้าไปเต็มๆก่อนก็น็อกเอาท์เช่นกัน ทีนี้ละ เศษเหล็กของแท้ละครับ
Commando Stingray ซื้อมาตั้งแต่ปี ๓๒ ไม่เข้าใจว่าต้องการจะทำอะไร มาคิดเสียดมเสียดายของแถม ก่อนซื้อ Stringray ยี่สิบปี และหลังจากซื้อStingray ยี่สิบปี ประเทศไทยหรือกองทัพไม่เคยคิดหรือกำหนดนโยบายที่จะผลิตรถถังเลย ถึงวันนั้นใครเขาแถมลิขสิทธิ์ ใบประกอบใส่กล่องพร้อมกาลันเดอร์ให้ด้วย ก็คิดว่าเราไม่ได้ใช้ประโยชน์
การผลิตรถถัง เป็นอะไรที่เป็นเอง หากชาตินั้นๆมีความสามารถทาง ตสาหกรรม ระดับสร้างรถยนตร์ กะเรือเดินสมุทรเองได้ ขอถามว่าวันนี้ เราถึงจุดนั้นหรือยัง ถ้ายัง ลิขสิทธ์ สิทธิบัตรหากได้มาก็ไม่มีประโยชน์
แต่ถ้าอุตสาหกรรมของเรายังทำเจ้าสองอย่างนั้นไม่ได้ ลงทุนข้ามรุ่นไปสร้างรถถัง ก็มีความเสี่ยงที่งานที่ออกมาจะเทียบกับของฝรั่งไม่ได้ (ขนาดบริษัทที่ชำนาญยังทำพื้นร้าว เขาช่วยซ่อมให้เรา ถ้าเราทำเองก็ต้องทิ้ง) หรือถ้าทำให้คุณภาพเทียบให้เขาได้ ก็จะแพงกว่าซื้อของสำเร็จรูป ผมไม่เห็นประโยชน์ในการข้ามรุ่นไปผลิตรถถังใช้เอง โดยที่ยังทำรถยนตร์กับเรือเดินสมุทรไม่ได้
เหมือนกับซื้อเค้กทานเลี้ยงปีใหม่ คนขายยื่น สูตรทำเค้กให้ด้วย แถมบอกว่าถ้าไม่มีเตา เครื่องครัว เขามีขาย ทั้งสดและผ่อน มีสูตร เตา เครื่องครัว วัตถุดิบครบ ก็อย่าคิดว่าจะเนรมิตรเค้กทำออกมาดีเท่าร้านเค้กอร่อยๆ ความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ ความชำนาญ ในการทำอะไรก็ตามเป็นเรื่องสำคัญ ไม่ว่าจะทำขนมเค้กหรือการจะทำอาวุธอย่างรถถัง
ทำไมไม่เริ่มต้นทำด้วยตัวเอง แทนที่จะไปหวังให้คนอื่นทำ เริ่มจากออกแบบ ทำโมเดล ทำต้นแบบสเกลเล็กๆ
ที่เรียกว่าเศษเหล็กนี่ จะประชดพวกนายพลบางคนที่เห็นเงินค่าคอมมิสชั่นมากกว่าผลประโยชน์ของชาตินะ (ต่อกรณีสติงเรย์ VS TH-301(TAM)และกรณีอื่นๆ)
ปล.แม้ว่ารถถังTH-301Z(TAM)จะไม่ได้ประจำการในเยอรมัน แต่เยอรมันได้นำไปดัดแปลงเป็นรถเกราะลำเลียงสายพานและประจำการในเยอรมันใช้ชื่อว่ามาเดอร์(MARDER) (สารพัดประโยชน์จริงๆเลยเจ้านี่) แล้วไทยไม่ผลิตสร้างสติงเรย์ใหม่ให้เป็นรถเกราะสายพานลำเลียงเลยรึ
รถเกราะสายพานหุ้มเกราะขนาด 15 ตัน
( Infrantry Fighting Vehicle )
ความเป็นมาของโครงการ : เมื่อปี 2523 ทบ. มีนโยบายพึ่งตนเอง ศอว.ศอพท. ในฐานะหน่วยรับผิดชอบในการวิจัย และพัฒนาอาวุธ จึงมีแนวความคิดเห็น ที่จะเสริมสร้างกำลังทางยุทโธปกรณ์ ที่จัดหาได้ยากและมีราคาแพง เพื่อเตรียมเผชิญกับภาระ ที่เราไม่สามารถจะจัดซื้อจากต่างประเทศได้ หรือต่างประเทศไม่ยอมขายให้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งยานรบประเภทสายพาน ศอว.ศอพท. จึงได้เริ่มศึกษาหาข้อมูล ของยานสายพานจากประเทศต่าง ๆ มีความเห็นว่า มีความเป็นไปได้น่าจะทำการทดลองวิจัยและพัฒนาต่อไป จึงได้รายงาน ทบ. ขออนุมัติหลักการวิจัยและพัฒนาต้นแบบรถถังเบา ขนาด 10 15 ตัน ขึ้น 1 คัน และขออนุมัติให้ ศอว.ศอพท. เปิดงานการวิจัยและพัฒนาอาวุธ หรืออุปกรณ์ประกอบอาวุธ อุปกรณ์เพิ่มเติมของอาวุธ ที่จำเป็น ในหลักสากลของโลกได้เอง เช่นเดียวกับประเทศที่ได้อาวุธต่าง ๆ ตามกำลังงบประมาณที่ได้รับการสนับสนุน และขีดความสามารถทางเทคนิคของโรงงาน เพื่อเตรียมไว้เป็นต้นแบบต่อไป ซึ่ง ทบ. ได้อนุมัติหลักการให้ ศอว.ศอพท. ดำเนินการได้ เมื่อ ทบ. อนุมัติแล้ว ศอว.ศอพท. ได้ทำการวิจัยและพัฒนารถถังเบา ขนาด 12 ตัน เพื่อศึกษาความเป็นได้ 1 คัน โดยจัดซื้อเครื่องยนต์ดีเซล ยี่ห้อ ดีทรอย (DETROIT) 6 สูบ ขนาด 300 แรงม้า และระบบเครื่องส่งกำลังจากประเทศ ส่วนประกอบ รวมทั้ง วัสดุอุปกรณ์อื่น ๆ ดำเนินการจัดหาในประเทศ ทั้งสิ้น ในขั้นต้นใช้เหล็กเหนียว (MILD STEEL) สร้างเป็นตัวถังแทนเหล็กเกราะ เนื่องจากการสร้างครั้งแรก ย่อมต้องการมีการปรับปรุงแก้ไขรูปแบบต่าง ๆ ให้ดีขึ้น ศอว.ศอพท. ได้ทำการวิจัยและพัฒนารถดังกล่าวเรื่อยมา จนกระทั่งสำเร็จในอีกระดับหนึ่ง โดยมีเฉพาะตัวรถแต่ยังไม่มีป้อมปืน สามารถนำออกทดลองวิ่งได้เมื่อต้นปี พ.ศ. 2525 โดยทดลองวิ่งทั้งถนนและในภูมิประเทศ รวมระยะทางประมาณ 1,000 กม. ได้พบข้อบกพร่องหลายประการ ได้แก่ ระบบระบายความร้อน และระบบพยุงตัวรถ เป็นต้น ศอว.ศอพท. ได้นำข้อมูลบกพร่องมาแก้ไขให้ดีขึ้นและออกวิ่งทดสอบอีกหลายครั้ง ได้พบข้อบกพร่องเพิ่มขึ้นและต้องนำมาปรับปรุงแก้ไขอีกมาก ถ้าจะวิจัยและพัฒนาให้เป็นรถถังเบาที่สมบูรณ์ จะใช้งบประมาณในการดำเนินการค่อนข้างสูง จึงได้ยุติการวิจัยและพัฒนารถถังไว้ก่อน โดยได้รวบรวมข้อมูลทางเทคโนโลยี่ ไว้เป็นแนวทางในการวิจัยและพัฒนายานสายพานต่อไป และได้เก็บรถถังดังกล่าวไว้เป็นต้นแบบ
จากอนุมัติหลักการของ ทบ. ดังกล่าวแล้ว ศอว.ศอพท. จึงได้ทำการวิจัยและพัฒนายานสายพานหุ้มเกราะ IFV. ขนาด 15 ตัน ขึ้น 1 คัน โดยใช้เงินงบประมาณ จากงบประมาณจากงบเสริมสร้างกำลังกองทัพดำเนินการ โดยนำความรู้เทคโนโลยีและประสบการณ์ที่มีอยู่จากการวิจัยและพัฒนา รถถังมาประกอบการพิจารณา ได้แก่ เครื่องยนต์ เครื่องเปลี่ยนความเร็ว ระบบระบายความร้อน ระบบน้ำมันเชื้อเพลิง ระบบบังคับเลี้ยว ระบบพยุงตัวรถ ระบบไฟฟ้าและอื่น ๆ เพื่อเลือกระบบที่ดีและเหมาะสม จัดหาได้ง่ายและสามารถนำมาใช้ในการวิจัยและพัฒนายานสายพานหุ้มเกราะ IFV. ได้ เมื่อเลือกส่วนประกอบ วัสดุ-อุปกรณ์ต่าง ๆ จนเชื่อมั่นว่าสามารถนำไปใช้งานได้แล้ว จึงได้เขียนรูปแบบยานสายพานหุ้มเกราะ IFV. ขึ้น เพื่อใช้เป็นรูปแบบในการวิจัยและพัฒนาต่อไป โดยดำเนินการวิจัยและพัฒนาตามลำดับ ดังนี้ เมื่อปี 2525 ได้จัดหาเครื่องยนต์ดีเซล ยี่ห้อ CUMMINS รุ่น VT-903C 8 สูบ 4 จังหวะ ขนาด 350 แรงม้า ระบบเครื่องเปลี่ยนความเร็ว ยี่ห้อ ALLISONS CLT.754 พร้อมองค์ประกอบจากต่างประเทศ สำหรับส่วนประกอบอื่นจัดหาภายในประเทศ และจัดสร้างขึ้นตามขีดความสามารถของโรงงานของ ศอว.ศอพท. โดยเฉพาะตัวถังใช้เหล็กเหนียว (MILD STEEL) สร้างเป็นตัวถังในขั้นต้นเพื่อลดค่าใช้จ่าย ศอว.ศอพท. ได้ทำการวิจัยและพัฒนาเสร็จเมื่อปี 2528 และได้ทำการทดสอบขั้นโรงงาน เพื่อให้ ทราบถึงการทำงานของส่วนประกอบต่าง ๆ พร้อมทำการทดสอบทางวิศวกรรมในสนามหลายครั้งหลายหน เพื่อหาข้อบกพร่อง และได้นำข้อบกพร่องมาปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้น จากผลการทดสอบปรากฎว่าระบบการทำงานของส่วนต่าง ๆ เป็นปกติ นับว่าการวิจัยและพัฒนาได้ผลเป็นที่น่าพอใจในระดับหนึ่ง แต่ก็ยังมีข้อบกพร่องที่เครื่องยนต์และเครื่องส่งกำลังเป็นแบบแยกส่วน มีขนาดใหญ่เกินไป ทำให้พื้นที่ภายในตัวรถคับแคบ ไม่สะดวกต่อการลำเลียงพล และกำลังของเครื่องยนต์ยังไม่สัมพันธ์กับน้ำหนักตัวรถ ซึ่งจำเป็นต้องปรับปรุง แก้ไขให้ดีขึ้นต่อไป
ต่อมาเมื่อปี 2529 ศอว.ศอพท. ได้รับงบประมาณ โครงการขยายขีดความสามารถของ รง.ตวพ.ศอว.ศอพท. ในส่วนของงานการวิจัยและพัฒนนายานสายพานหุ้มเกราะ IFV. เพิ่มเติม ศอว.ศอพท. จึงได้จัดหาชุดเครื่องยนต์และเครื่องส่งกำลังเป็นชุด POWER PACK จำนวน 1 ชุด ประกอบด้วยเครื่องยนต์ดีเซล ยี่ห้อ CUMMINS 8 สูบ วี รุ่น VIT 903 T ขนาด 500 แรงม้า และเครื่องเปลี่ยนความเร็ว ยี่ห้อ GE รุ่น HMPT.500 นอกจากนี้ยังจัดหาอุปกรณ์ประกอบต่าง ๆ อาทิเช่น ชุดแผงหน้าปัทม์ ระบบไฟฟ้า และเครื่องให้แสงสว่างและระบบระบายอากาศภายในตัวรถ เป็นต้น เมื่อได้ชุด POWER PACK และส่วนประกอบต่าง ๆ แล้ว ได้ประกอบเข้ากับยานสายพานหุ้มเกราะ IFV. แทนของเดิมที่ใช้อยู่ โดยคงสภาพตัวถังและส่วนประกอบอื่น ๆ ที่ไม่ต้องดัดแปลงแก้ไขไว้ตามเดิม
เมื่อดำเนินการเสร็จ ศอว.ศอพท. ได้นำออกทดสอบโดยการวิ่งบนถนนและในภูมิประเทศหลายครั้ง ผลปรากฎว่าการทำงานของเครื่องยนต์ปกติและมีส่วนสัมพันธ์กับน้ำหนักตัวรถมากขึ้น สามารถที่จะรองรับการติดตั้งป้อมปืนในโอกาสต่อไปได้ แต่ระบบพยุงตัวรถยังไม่แข็งแรงพอ ที่จะรับน้ำหนักของชุด POWER PACK ที่เพิ่มขึ้น ศอว.ศอพท. จึงมีแนวความคิดที่จะวิจัยและพัฒนาระบบพยุงตัวรถ ให้สัมพันธ์กับน้ำหนักของชุด POWER PACK ต่อไป
ต่อมาเมื่อปี 2531 ศอว.ศอพท. ได้รายงานขอรับการสนับสนุนงบประมาณเพื่อปรับปรุง ยานสายพานหุ้มเกราะ IFV. ไปที่ ทบ. และ ทบ. ได้อนุมัติให้ ศอว.ศอพท. ดำเนินการปรับปรุงได้ เมื่อ ทบ. อนุมัติแล้ว ศอว.ศอพท. ได้พัฒนาปรับปรุงขนาดล้อขับ ปรับปรุงขนาดล้อปรับ ปรับปรุงล้อขับขั้นสุดท้าย และปรับปรุงสายพานใหม่หมดทั้งชุด เสร็จเรียบร้อยเมื่อ เม.ย.2532 ทำให้ยาน สายพานหุ้มเกราะ IFV. มีโครงสร้างและระบบต่าง ๆ ที่ค่อนข้างสมบูรณ์ตามเป้าหมายอีกระดับหนึ่ง
ความมุ่งหมายของการวิจัยและพัฒนา : เพื่อวิจัยและพัฒนายานสายพานหุ้มเกราะ IFV. ขนาด 15 ตัน ให้ได้ต้นแบบเพื่อนำไปสู่สายการผลิตขั้นใช้ภายในกองทัพ และเพื่อเตรียมเผชิญกับภาวะที่เราไม่สามารถจะจัดซื้อจากต่างประเทศได้ หรือต่างประเทศไม่ยอมขายให้ โดยกำหนดคุณลักษณะเบื้องต้นไว้ดังนี้
ขอบเขตการวิจัยและพัฒนา :
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :
บทสรุป : ผลการวิจัย สำเร็จในระดับหนึ่งสามารถใช้งานได้ แต่ผลการวัดยังมีความผิดพลาดอยู่ และวัสดุยังไม่ได้มาตรฐานทางทหาร ทบ.ได้อนุมัติให้ปิดโครงการ ตามหนังสือ สวพ.ทบ. ที่ กห 0428/447 ลง 30 มี.ค.36 เรื่อง ขออนุมัติปิดโครงการวิจัยและพัฒนายุทโธปกรณ์ของ ศอว.ศอพท. ไม่ได้รับรองมาตรฐานให้ผลิตสนับสนุน ทบ.
คุณลักษณะเฉพาะ
พลประจำรถ | 3 | นาย |
น้ำหนักพร้อมรบ | 15 | ตัน |
ความกว้าง | 2,890 | มม. |
ความยาว | 5,900 | มม. |
ความสูงตัวรถ | 1,210 | มม. |
ความหนาเกราะ | 16 | มม. |
อาวุธ | ||
|
1 | กระบอก |
|
1 | กระบอก |
สมรรถนะ | ||
|
65 | กม./ชม. |
|
1 | เมตร |
|
1 | เมตร |
|
300 | ลิตร/150 กม. |
เครื่องยนต์ | ||
| ||
| ||
|
เรื่องความโปร่งใสของกองทัพ ไม่ต้องคิดอะไรมาก ปากบอกว่าสุจริต ยุติธรรม โปร่งใส แต่เอาจริงก็ทำไม่ได้ แค่เรื่องสอบทหารกองหนุนก็วิ่งกันกระจายแล้ว(เคยได้ยินคนภายในว่าลูกมันวิ่งรอบเดียว แต่พ่อมันวิ่งหลายสิบรอบ) คนที่ไปสอบแค่รอบเดียวก้รู้แล้ว ไม่เชื่อก็ไปดูกระทู้ที่เว็บบอร์ดถามตอบเรื่องทหารได้ เช่น www.taharn.net ฯลฯได้ ระบบมันทำให้คนโกงตั้งแต่ยังไม่เริ่ม คนไม่ผิดหรอกแต่ระบบทำให้คนต้องทำผิดเอง