หน้าแรก    ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบคำถาม    เข้าสู่ระบบ      


ไปเที่ยวงานเจ้าตากแล้วนึกขึ้นได้

โดยคุณ : อีแอบ เมื่อวันที่ : 31/12/2008 00:47:40

เมื่อวันที่ 27 ผมไปเที่ยวงานพระเจ้าตากสินที่วงเวียนใหญ่มาและได้ไปยืนอ่านแผ่นป้ายจารึกเกี่ยวกับพระประวัติของพระองค์  ทำให้ผมนึกเรื่องที่เคยเรียนในวิชาประวัติศาสตร์และทำให้ผมประทับใจมากได้เรื่องหนึ่ง

อาจารเล่าว่าถ้าตามที่เราเข้าใจและยึดถือก็คือพระเจ้าตากทรงวิปประราช จับพระสงฆ์มาเฆี่ยนตีและให้กราบไหว้พระองค์และฯลฯ นั้น จนราชการที่ 1  ต้องทรง....( ขออภัยไม่อยากกล่าวถึงครับ )  ซึ่งเป็นพระประวัติที่เรารู้กันโดยทั่วไปจากตำราเรียน  แต่มีอีกตำนานหนึ่งที่กล่าวถึงพระองค์คือ  ในครั้งที่พระองค์ทำสงครามเพื่อกู้บ้านกู้เมืองนั้นกำลังทรัพย์เป็นเรื่องสำคัญ  พระองค์ได้กู้ยืมเงินจากพระเจ้ากรุงจีนเพื่อใช้ในการกู้ชาติ  และเมื่อได้ทำการรวบรวมแผ่นดินจนสำเร็จและมั่นคงแล้วพอควร  แต่กำลังทรัพย์ที่จะใช้คืนนั้นเกินกำลังและบ้านเมืองต้องใช้ทรัพย์ในการบูรณะอีกมากพระองค์จึงออกอุบายให้ราชการที่ 1 ทรงเข้ามารับช่วงแผ่นดินแทนตามที่เราได้เรียนกันมา  ส่วนพระองค์ไม่ได้ถูกสำเร็จโทษดังที่เข้าใจกัน  พระองค์ทรงเดินทางไปเป็นเจ้าครองเมืองนครศรีฯ ทางปักษ์ใต้

ประวัติส่วนนี้ไม่ได้รับการยืนยันในทางประวัติศาสตร์  แต่ครั้งแรกที่ผมได้รับรู้มันทำให้รู้สึกทึ่งในความเสียสละ  แม้พระองค์จะทรงลำบากกู้ชาติมาได้แต่ก็ไม่ยึดติดกับลาภยศ  ยอมเสียสละเพื่อบ้านเมืองโดยแท้จริง

สุดท้ายก็เชิญชวนไปเที่ยวงานครับ  ขอแนะนำว่าควรมาถึงงานไม่เกินห้าโมงเย็นเพราะดึกคนเยอะมาก  เดินเล่นจนทั่วงานก็พอดีกับบ้านตอนสองทุ่มไม่ดึกเกิน   ปล.ของกินช่วงปลายๆงานจะแพงกว่าช่วงกลางๆครับประมาณ ห้าบาท





ความคิดเห็นที่ 1


อาจารย์

สติวิปลาส

รัชกาล

ส่วนเรื่องพงศาวดาร ผมเองก็ไม่มีความเห็นครับ อย่างไรก็ขอบคุณที่เล่าสู่กันฟังนะครับ

โดยคุณ ลุงหมี เมื่อวันที่ 28/12/2008 10:30:15


ความคิดเห็นที่ 2


เคยเห็นแวปๆ ผ่านตามาเหมือนกันว่าที่นครศรีธรรมราชมีศาลบูชาสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชอยู่ ใครอยู่นครศรีฯ ช่วย confirm พิกัดด้วยครับ

โดยคุณ monsoon เมื่อวันที่ 28/12/2008 11:00:50


ความคิดเห็นที่ 3


ความจริงบางอย่าง  ไม่รู้จะดีกว่านะ

โดยคุณ zeroman เมื่อวันที่ 28/12/2008 11:13:44


ความคิดเห็นที่ 4


ขอโทษครับมัวแต่ดูบอลไปด้วยเลยเผลอใช้แบบเคยตัว
โดยคุณ อีแอบ เมื่อวันที่ 28/12/2008 11:33:43


ความคิดเห็นที่ 5


ขอภาพประกอบงาน

 

โดยคุณ JIB เมื่อวันที่ 28/12/2008 21:13:25


ความคิดเห็นที่ 6


เห็นด้วยกับคุณ zeroman ครับ...."ความจริงบางอย่าง  ไม่รู้จะดีกว่านะ" บางทีความจริงก็ทำให้เราเจ็บปวด...ส่วนตัวผมขอจดจำพระองค์ท่านในฐานะนายพลผู้ชาญฉลาด
โดยคุณ terdkiet เมื่อวันที่ 28/12/2008 22:30:47


ความคิดเห็นที่ 7


แต่ผมว่าความจริงทางประวัติศาสตร์นี่สำคัญมากนะครับ ถึงแ้ม้มันจะปวดเพียงใดก็ตาม ยอมรับแล้วก้าวเดินต่อไป�
ผมว่าการศึกษาวิชาทางประวัติศาสตร์ของไทยบางอย่างก็ถูกบิดเบือนไป ถ้าจะกล่าวอ้างอะไ รต้องมีข้อมูลหลักฐานพิสูจน์ไม่ได้พูดขึ้นมาลอยหรือฟังคนอื่นเล่าโดยที่ไม่มีหลักฐานอะไมายืนยันนะครับ
โดยคุณ sam เมื่อวันที่ 28/12/2008 23:08:39


ความคิดเห็นที่ 8


ตามท่าน sam ว่ามันก็ถูก...แต่ประเด็นคือว่าความจริงเป็นอย่างไรเราเอง...ก็ไม่ทราบ....ขอยกตัวอย่างกรณีพงศาวดารไทยและพม่าต่อกรณีศึกยุทธหัตถีของสมเด็จพระนเรศวรกับพระมหาอุปราชา คนไทยเราเชื่อเสมอมาว่าพระมหาอุปราชาโดนสมเด็จพระนเรศวรฟันขาดคอช้างสิ้นพระชนม์...ในขณะที่ทางพม่าบอกว่าพระมหาอุปราชาโดนกระเก็ดของกระสุนปืนใหญ่สิ้นพระชนม์...ทั้งสองฝ่ายต่างก็เชื่อกันคนละแบบ...สมมติว่าฝ่ายพม่าถูก ฝ่ายเจ็บปวดก็น่าจะเป็นเรา  อันนี้สมมตินะครับ....เมื่อสองฝ่ายยืนยันไม่ตรงกัน ก็ต้องหาคนกลาง...จีนคือคำตอบสุดท้าย แต่พงศาวดารจีนระบุแต่เพียงสั้นๆ ว่าพญาไทเอาชนะพญาม่านในการชนช้าง...ทีนี้ฝ่ายเจ็บปวดน่าจะกลายเป็นคนพม่าไป...ไม่ว่าออกมากรณีใดก็ย่อมมีการเจ็บปวดครับ....เราจึงน่าจะเลือกแบบบางเรื่องก็ลืมๆ ไปบ้างก็ดีจดจำแต่เรื่องดีๆ ไปจะดีกว่า

โดยคุณ terdkiet เมื่อวันที่ 28/12/2008 23:34:13


ความคิดเห็นที่ 9


ต่ออีกนิดนึงครับ.....ถ้าเราไม่เลือกลืมเสียบ้างเราจะกลายเป็นเช่นเกรียนเขมรที่ชอบลำเลิกบุญคุณกับคนไทยว่าเคยให้ที่พักพิงตอนหนีทัพมองโกลของกุบไลข่านไปซะโน่น....เอากับเค้าสิครับ
โดยคุณ terdkiet เมื่อวันที่ 28/12/2008 23:38:10


ความคิดเห็นที่ 10


              แต่มีอีกตำนานหนึ่งที่กล่าวถึงพระองค์คือ  ในครั้งที่พระองค์ทำสงครามเพื่อกู้บ้านกู้เมืองนั้นกำลังทรัพย์เป็นเรื่องสำคัญ  พระองค์ได้กู้ยืมเงินจากพระเจ้ากรุงจีนเพื่อใช้ในการกู้ชาติ  และเมื่อได้ทำการรวบรวมแผ่นดินจนสำเร็จและมั่นคงแล้วพอควร  แต่กำลังทรัพย์ที่จะใช้คืนนั้นเกินกำลังและบ้านเมืองต้องใช้ทรัพย์ในการบูรณะอีกมากพระองค์จึงออกอุบายให้ราชการที่ 1 ทรงเข้ามารับช่วงแผ่นดินแทนตามที่เราได้เรียนกันมา  ส่วนพระองค์ไม่ได้ถูกสำเร็จโทษดังที่เข้าใจกัน  พระองค์ทรงเดินทางไปเป็นเจ้าครองเมืองนครศรีฯ ทางปักษ์ใต้

^

^

^

^

แต่ที่ผมรู้มาก็ประมาณนี้ครับ แต่พระองค์ไม่ได้ไปครองเมืองนครศรีธรรมราช  นะครับ ทรงผนวชแล้ว  ร.1 ส่งไปจำพรรษาที่นั่น

 

อ้างอิง  ;  หนังสือ ชื่อ เรื่องจริงอิงนิทาน เล่ม 1,2,พิเศษ

 รวบรวมจากเรื่อง ของ หลวงพ่อฤษีลิงดำ  วัดท่าซุง

ลองไปหาอ่านดูนะครับ แต่ผมไม่แน่ใจว่าอยู่เล่มไหน

โดยคุณ En_Ae เมื่อวันที่ 29/12/2008 02:01:39


ความคิดเห็นที่ 11


เท่าที่อ่านหนังสือมา ผมยกให้ตอนที่มีวิปโยคในช่วง หลังของพระเจ้าตากสินมหาราชครับ เพราะประวัติศาสตร์

ได้บันทึกได้แจ่มแจ้งเหลือเกิน บ้านเมืองสั่นคลอน ผู้ปกครองสติเสีย ทำนองนี้

   ส่วนเรื่องที่ทรงผนวชแล้วจำพรรษายาวเลยก็มิทราบว่าเป็นเช่นไร เพราะไม่เคยอ่านเจอ

        ส่วนเรื่องที่ต้องค้นคว้าประวัติศาสตร์ก็คือ คุณหญิงโม หรือท่านท้าวสุรนารี ซึ่งเคยมีคนวิจัยว่า ในประวัติศาสตร์ช่วง ร.3 ไม่มีบันทึกเลย ผมก็อยากรู้ว่าเป็นอย่างไร

 

โดยคุณ siamman18 เมื่อวันที่ 29/12/2008 22:26:21


ความคิดเห็นที่ 12


terdkiet  

พระมหาอุปราช ไม่ได้โดนแค่สะเก็ดกระสุนอย่างที่คุณบอกมานะครับ

แต่โดน [b]ลูกโดด[/b] เข้าไปเต็ม ๆ ครับ 

 

โดยคุณ lordsri เมื่อวันที่ 29/12/2008 22:33:03


ความคิดเห็นที่ 13


สำหรับ เรื่อง เหตุการณ์ปลายรัชสมัยของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีนั้น

ถ้าเอาตามฉบับนิทาน (ขอเรียกว่า นิทานแล้วกัน เพราะท่านผู้แต่งท่านต้องการให้มันเป็นอย่างนั้น ) ที่คุณ En_Ae   บอกมานั้น

พระเดชพระคุณหลวงพ่อฯ ท่านบอกว่า  พระเจ้าตากฯ ทรงไปยืมเงินของ เจ้าสัวจีน ไม่ใช่ พระเจ้าแผ่นดินจีนนะครับ

คนรุ่นหลัง ที่บอกว่า พระองค์ไปยืมเงิน พระเจ้ากรุงจีน (ต้าชิง) มาเนี่ย เป็นลักษณะของ การเพี้ยนไปของข้อมูลอย่างสูงครับ

เจ้าสัวจีน ที่ว่า พระเดชพระคุณหลวงพ่อฯ ก็ไม่ได้ระบุว่า เป็นเจ้าสัวที่ไหน

แต่ถ้าเรา จะอนุมานเอาจากประวัติศาสตร์ (เดาเอานั่นเอง) ก็ไม่ยาก

เพราะอะไร ลองตามที่ผมเดา มาตามนี้ครับ

โดยคุณ lordsri เมื่อวันที่ 29/12/2008 22:36:41


ความคิดเห็นที่ 14


1.. พระราชบิดา ของ พระองค์ (จีนไหหอง) ก็เป็นนายอากร ที่ทำมาค้าขายในสมัยอยุธยาตอนปลายมานาน การค้าขายสมัยนั้น ถ้าไม่มี Connection ย่อมยากที่จะทำมาหากิน จนรวยได้จริงไหมหละครับ ?

เอาแค่สมัยใกล้ ๆ อย่าง ต้นตระกูลของหลาย ๆ สกุลในเมืองไทย ที่ค้าขายข้าวสาร(สมัยก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 ) ยังต้องมี Connection ที่เมืองจีนเลยครับ เหตุผลนี้เป็นประการแรก

2.. ชุมชนชาวจีน ที่ พอจะมี ทรัพย์สินมาก ไม่ได้มีแค่เมืองจีนที่เดียวนะครับ ชุมชนชาวจีน ที่ เมืองพุทไธมาศ (เขมรเรียก บันทายมาศ ญวนเรียก ฮาเตียน ) เป็นชุมชนจีนโพ้นทะเล ที่สำคัญอีกชุมชุนหนึ่งในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์นี้

และ ก็จะเห็นได้ว่า ผู้ปกครองเมืองนี้ ก็เป็นคนจีน เหมือนกับ พระเจ้าตากสินฯ  (แต่คนละชาติพันธุ์  พระเจ้าตากฯ ทรงเป็นจีนแต้จิ๋ว ส่วนผู้ปกครองเมืองพุทไธมาศ เป็น จีนฮกเกี้ยน หรือ ไม่ก็กวางตุ้ง นี่หละครับ )

นอกจากนี้ ก็ยังมี ชุมชนจีน อีกชุมชนหนึ่ง ก็คือแถบ จังหวัดตราด และ จันทบุรี

3.. การใช้จ่ายของ ท้องพระคลัง ผมก็ไม่แน่ใจว่า รายรับเข้าท้องพระคลังจะมีอยู่จำนวนเท่าใด

เนื่องจาก การค้าขาย อันเป็น ปัจจัยสำคัญทางด้านรายรับของประเทศได้เสียหายอย่างหนัก นับจากกรุงศรีฯ แตกเป็นต้นมา

ค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ที่เคยทำความร่ำรวยให้อาณาจักร หดหายไปอย่างมาก เนื่องจากไม่มีต่างชาติมาค้าขาย (ยกเว้นจีน )

4.. ต่อจากข้อ 3 การจัดเก็บรายได้ ก็ไม่แน่ใจว่า จะเข้าเป้ามากน้อยแค่ไหน ดังจะเห็นได้จาก ตัวอย่างกรณีของ 

ในพระราชพงศาวดาร ก็ระบุว่า ตัวอย่าง กรณี  นายบุนนาก บ้านแม่ลา ที่คบคิดกับพวก มาจับตัว ผู้รั้งกรุงเก่าฯ ฆ่าเสีย เนื่องจาก มีการฉ้อราษฏร์บังหลวง ผลประโยชน์แผ่นดิน จาก การเก็บอากร ของ ผู้ที่ไปขุดทรัพย์สินเก่า ที่ได้ฝังไว้ ก่อนกรุงจะแตก

(ยังมีต่อ) 

 

โดยคุณ lordsri เมื่อวันที่ 29/12/2008 22:46:20


ความคิดเห็นที่ 15


ถ้าอ่านจากประวัติของ อดีตเจ้าพระยาอรรคมหาเสนา (บุนนาค) ก็จะพบว่า ท่านก็ต้องไปต่อสู้ กับ โจรร้ายที่มาปล้นเอาทรัพย์สิน ที่ท่านฝังไว้ ก่อนกรุงศรีฯ จะแตก จนท่านถึงกับเสียภรรยาคนแรกไป ฯลฯ

อย่างนี้ก็แสดงให้เห็นว่า การเก็บอากร ที่ได้จากการขุดทรัพย์สินที่ฝังไว้ ก็ไม่น่าจะได้เข้าเป้าตามที่หลวง ต้องการเป็นแน่แท้

5.. ถ้าเราลองมองดูรายจ่ายของ ทางพระราชสำนักกรุงธนฯ จะเห็นได้ว่า มีมากมหาศาล

เฉพาะแค่การป้องกันประเทศ ก็ไม่ต่ำกว่า 90 % ของรายจ่ายทั้งหมดแล้ว เนื่องจาก ทำสงครามไม่ได้หยุดหย่อน ทั้งเพื่อรวมรวมประเทศใหม่ และ เพื่อป้องกันประเทศ

นอกจากนี้ ยังต้องทรงฟื้นฟูในทุก ๆ ด้านขึ้นมาใหม่ ที่น่าจะใช้เงินมากรองลงมา ก็คือ ด้านเศรษฐกิจ ดังในพระราชพงศาวดาร ฉบับ ร.ศ.120 ที่ บรรยายไว้ว่า สมเด็จพระเจ้ากรุงธนฯ ต้องทรง ซื้อข้าวสาร แจกจ่ายแก่บรรดา ข้าราชบริพาร และ ทวยราษฏร์

ครั้งนั้น ข้าวสารราคาสูงมากถึง ถังละ 3 บาท 4 บาท หรือ 5 บาท ก็ทรงรับซื้อไว้หมด

ก็ต้องลองคิดกลับมา ณ ปัจจุบันว่า ข้าวสารถังละ 3 บาท ในสมัย พ.ศ.2310 นั้น เมื่อเทียบกับ ข้าวสาร ณ พ.ศ. 2551 แล้ว ราคาจริงจะเป็นเท่าไร

แล้วการซื้อข้าวสารของพระองค์นั้น ไม่ได้ซื้อแค่ ถังเดียว แต่ซื้อเป็นลำเรือนะครับ (เรือสำเภา)

มีฝรั่ง บางคนเดาว่า จำนวนประชากร (รวมทหาร) ที่พระองค์ต้องทรงซื้อข้าวแจกจ่าย มีไม่น้อยกว่า 10,000 คน (เฉพาะในเขต กรุงธนบุรี เพียงอย่างเดียว )

และ การซื้อข้าวนั้น จะต้องซื้อเป็นเดือน ๆ  จึงจะทำให้ ข้าวสาร มีพอแจกจ่าย

ถามว่า แล้วตอนที่ทรงตั้งกรุงธนฯ ใหม่ ๆ พระองค์จะเอาทรัพย์สินมาจากไหน ในการใช้จ่ายซื้อข้าวนี้ ?

มีนักประวัติศาสตร์บางท่านบอกว่า ก็ไปเอาทรัพย์ที่ได้ จากการยึดหัวเมืองต่าง ๆ เช่น ก๊กเจ้าพิมาย ฯลฯ  ซึ่งก็มีสิทธิเป็นไปได้

...แต่ .. มันจะพอกับ จำนวนรายจ่ายที่พระองค์ต้องทรงใช้หรือเปล่า ? ตามเหตุผลที่ผมได้เสนอไปข้างบน

นอกจากนี้ ก็ยังต้องทรงใช้ พระราชทรัพย์ ในการ บูรณะด้านการพระพุทธศาสนาอีกเป็นจำนวนมาก  เฉพาะ วัดที่พระองค์โปรดให้สร้าง ก็ หลายวัดอยู่แล้ว

ก็ยิ่งน่าคิดเข้าไปอีกว่า แล้ว จะเอาพระราชทรัพย์จากไหนมาทรงใช้จ่าย

 

 

โดยคุณ lordsri เมื่อวันที่ 29/12/2008 22:57:01


ความคิดเห็นที่ 16


อีกประเด็นหนึ่ง ก็คือ

มีนักกฏหมายบางท่าน ก็เอาตรรกะ ทางนิติศาสตร์สมัย ปัจจุบัน ไปจับ กับ เหตุการณ์ในอดีต แล้วก็บอกว่า ถ้าเป็นหนี้จริง ร.1 ก็ต้องทรงใช้หนี้ไปด้วย

ทั้งนี้ ก็น่าจะจริงตามที่เขาบอกมา

...แต่...

ถ้าลองมองดูบริบท ใน สังคมยุคนั้น พม่าที่เปิดศึกกับจีน สมัยราชวงศ์ชิงนั่น ก็มาจากเหตุผลด้านการค้า

เพราะ พ่อค้าจีนไปฟ้องทางการ (ข้าหลวงมณฑลยูนนาน ) ว่า พม่ารังแก ทางจีน ก็เลยส่งกองทัพมาเพื่อจะสั่งสอน กลายเป็นว่า แพ้พม่ากลับไป ก็เลยมีการส่งรายงานเป็นทอด ๆ ไปยัง ราชสำนักชิงที่ปักกิ่ง

คราวนี้ก็เลยเกิดเป็นสงครามใหญ่ รบกันอยู่หลายปี ผลัดกันแพ้ ผลัดกันชนะ สุดท้ายก็หย่าศึกกันไป

ประกอบกับ หลักฐาน ทางการฑูต ก็ทำให้เห็นแล้วว่า ตลอดรัชสมัยของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนฯ นั้น

ทางราชสำนักจีนไม่ยอมรับพระองค์ และ พระราชวงศ์ใหม่ของพระองค์ว่าเป็นราชวงศ์ที่ถูกต้อง

เพราะทางผู้ปกครองเมือง พุทไธมาศ ทำหนังสือสนเท่ห์ไปฟ้อง ราชสำนักจีนว่า สมเด็จพระเจ้ากรุงธนฯ ไปแย่งแผ่นดินมาจาก ราชวงศ์เดิม (ราชวงศ์บ้านพลูหลวง) และ นอกจากนั้น เชื้อพระวงศ์เดิมของราชวงศ์บ้านพลูหลวง ที่ยังมีสิทธิในเศวตฉัตร ก็ยังมีอยู่หลายพระองค์

อย่างเช่น กรมหมื่นเทพพิพิธ (ก๊กเจ้าพิมาย) หรือแม้แต่ เจ้าฟ้าบางพระองค์ที่หนีไปอาศัยอยู่ กับ เจ้าเมืองพุทไธมาศ ฯลฯ เป็นต้น

นั่นก็เป็นเหตุผลที่สอดคล้องกันว่า เป็นไปไม่ได้ ที่ทางราชสำนักชิงจะให้ สมเด็จพระเจ้ากรุงธนฯ ทรงกู้เงิน โดยตรง

เพราะฉะนั้น เมื่อกู้เงินโดยตรงไม่ได้  ก็ต้องทรงไปกู้เงินจาก เจ้าสัว Connection เดิมสมัย พระราชบิดา นั่นเอง ครับ (ผมว่า น่าจะมีเหตุผลพอนะ )

โดยคุณ lordsri เมื่อวันที่ 29/12/2008 23:06:16


ความคิดเห็นที่ 17


เมื่อประมวลเหตุผล ทั้งทางด้านการเมือง และ ทางเศรษฐกิจ เข้าด้วยกัน

ก็จะเห็นว่า สมเด็จพระเจ้ากรุงธนฯ ต้องทรงเจอกับเหตุการณ์อันหนักหนามาก

ภายนอก ก็ทรงต้องสู้กับ เจ้าเมืองพุทไธมาศเดิม ที่คอยจะอ้างสิทธิอันชอบธรรม ในการพิทักษ์รักษาเชื้อพระวงศ์ของราชวงศ์บ้านพลูหลวงเดิมเอาไว้

ซึ่ง ถ้าสมมติทางราชสำนักจีน เกิดยอมรับ เจ้าเมืองพุทไธมาศขึ้นมาอะไรจะเกิดขึ้นครับ ?

นอกจากนี้ ก็ยังมี เรื่องของ เงินกู้ ที่พระองค์จะต้องทรงกู้เขามาอีก (ก็ตรรกะเดียวกับ พ่อค้าจีนโดนพม่ารังแก )

------------------------------------------------------------------

การเดา โดยส่วนตัวของผมต่อไปก็คือ  ถ้าสมเด็จพระเจ้ากรุงธนฯ ไม่ทรงอยู่ในราชสมบัติแล้ว

ทุกอย่างก็น่าจะยุติ เพราะ อะไร ?

1.. เรื่องเชื้อสายบรรพบุรุษของ อดีต สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก นั้น ก็สามารถอ้างความชอบธรรมได้ว่า ย้อนได้ไปถึง รัชสมัย สมเด็จพระนารายณ์มหาราช

มีความเกี่ยวพันกันมานาน เพราะฉะนั้น มีความชอบธรรมที่ทางจีนจะยอมรับ

2.. ท่านอดีตสมเด็จเจ้าพระยาฯ ไม่ได้ไปทรงกู้เงินมา ก็ไม่สามารถจะมาอ้างได้ว่า จะต้องใช้หนี้

ต่อให้ราชสำนักชิง อยากจะทวงให้เท่าใดก็ตามที แต่ไม่น่าจะทำได้ เพราะก็จะเท่ากับ ทำให้ พระเกียรติยศของ องค์จักรพรรดิมัวหมอง เพราะไปทวงกับ คนที่ไม่รู้เรื่อง  ซึ่ง ประเทศที่ใหญ่อย่างจีน ไม่ทำแน่นอน

 

ถ้าการเดาของผมเป็นไปตามนี้  การเสียสละพระองค์เอง โดยยอมให้ถูกกล่าวหาในเรื่องต่าง ๆ  รวมไปถึง อีกพระองค์ ที่ยอมเสียสละตัวเองให้คนอื่นเขาประณามว่า ....  ก็น่าจะเป็นอะไรที่เหมาะสมแล้วนี่ครับ

 

อย่าลืมสิครับว่าแผนที่ดี ต้องทำแล้วแนบเนียน ไม่ให้ทำได้จึงจะเรียกว่าเป็นแผนที่ดี

เหตุการณ์วุ่นวายปลายสมัยของพระองค์นั้น ก็ยังมีอะไรที่มันขัด ๆ กันอยู่หลายอย่าง ต้องลองไปศึกษาดูครับ

โดยคุณ lordsri เมื่อวันที่ 29/12/2008 23:15:24


ความคิดเห็นที่ 18


ขอบคุณคุณ loadsri มากครับที่ช่วยแก้ไข.....เบื้องต้นผมเพียงแค่ยกตัวอย่างการไม่ควรจดจำเรื่องในอดีต(บางเรื่อง)เท่านั้นเองจึงละเลยในตัวรายละเอียดไป....มาพินิจพิเคราะห์ดูแล้วกรณีสงครามยุทธหัตถีนั้นเป็นเรื่องละเอียดอ่อนที่ไม่ควรนำมากล่าวอย่างเลื่อนลอยดังนั้นจึงขอยกข้อความบางตอนจากหนังสือ”พม่ารบไทย โดย ดร.สุเนตร ชุตินธรานนท์, ศิลปวัฒนธรรมฉบับพิเศษ, หน้า 74-75 ที่กล่าวถึงพงศวาดารพม่าฉบับอูกาลาโดยละเอียดดังนี้

 

“ทัพมหาอุปราชานั้นเคลื่อนมาถึงกรุงศรีอยุธยา ในวันขึ้น ๘ ค่ำ เดือน ๓ (กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๑๓๖) (ทัพเคลื่อนจากกรุงหงสาวดีในวันพุธ เดือนธันวาคม พ.ศ.๒๑๓๕) มหาอุปราชานั้นทรงพระคชาธาร นาม งะเยโซง (ฉบับหอแก้วระบุนามพระคชาธารว่าเยโปงโซง ซึ่งน่าหมายความว่าเปี่ยมด้วยอานุภาพกล้าหาญ ส่วนหลักฐานไทยระบุนามช้างทรงนี้ว่า พัทธะกอ) เบื้องขวาพระองค์ยืนด้วยพระคชาธารและกำลังไพร่พลของพนะอนุชาตะโดธรรมราชา(เจ้าเมืองแปร) ส่วนเบื้องซ้ายยืนด้วยพระคชาธารและไพร่พลของนัตชินนอง(โอรสพระเจ้าตองอู) และตัดออกไปเบื้องขวาไม่ใกล้ไม่ไกลจากพระคชาธารแห่งมหาอุปราชานั้นยืนด้วยช้างของเจ้าเมืองซามะโร (ไทยว่าเป็นพระพี่เลี้ยงชื่อจาปะโร) ซึ่งกำลังตกน้ำมันหนักถึงกับต้องใช้ผ้าคลุมหน้าช้างไว้ ข้างพระนเรศวรกษัตริย์อยุธยาทรงพระคชาธารชื่อพระลโบง (ฝ่ายไทยว่า พระยาไชยานุภาพ) จึงนำไพร่พลทแกล้วทหารจำนวนมากออกมาจากพระนคร(หมายเผด็จดัสกร)

โดยคุณ terdkiet เมื่อวันที่ 30/12/2008 13:46:34


ความคิดเห็นที่ 19


ต่อ..........

 

          ครั้นทอดพระเนตรเห็นพระมหาอุปราชา ก็ไสพระคชาธารเข้ายังตำแหน่งที่จอมทัพพม่านั้นประทับอยู่โดยแรงเร็ว  ฝ่ายเจ้าเมืองซามะโรครั้นเห็นพระนเรศวรขับพระคชาธารตรงรี่หมายเข้าชิงชนช้างประทับ ก้เปิดผ้าคลุมหน้าช้างพาหนะแห่งตนออกหมายมุ่งพุ่งสกัดช้างทรงองค์พระนเรศวร  แต่ช้างตกน้ำมันเชือกนั้นกลับหันรีหันขวางแลกลับตัวเข้าแทงโถมเอาช้างทรงองค์อุปราชาดดยกำลังแรง พระมหาอุปราชาจึงจำต้องขับพระคชาธารเข้ารับไว้ จึ่งช้างทรงองค์จอมทัพพม่าถึงจามสนั่น(ด้วยบาดเจ็บสาหัส) แลขณะนั้นข้างอยุธยาระดมยิงปืนสวนทางมากระสุนถูกเอาองค์อุปราชาโดยถนัดจนสิ้นพระชนม์ซบกับคอคชาธาร คุเยงพละกลางช้างพระที่นั่งเห็นมหาอุปราชาต้องปืนใหญ่ (ปืนที่ยิงมหาอุปราชานั้นอูกาลาระบุว่าคือ ......(ภาษาพม่า).....คือปืนชนิดเดียวกับที่เรียกว่า jingal ในภาษาอังกฤษ) ก้เข้าพยุงพระศพไว้ และบังคับช้างเข้ากำบังในพุ่มไม้ ข้างพระนเรศวรยังไม่ทรงทราบว่ามหาอุปราชาหาพระชนม์ชีพไม่ จึงไม่ทรงขับพระคชาธารตามติดปะทะเพียงยังรออยู่………”

 

.........จริงครับที่ว่าพระมหาอุปราชาโดนกระสุนปืนเต็มๆ อย่างว่า (จะปืนเล็กหรือปืนใหญ่ก็ไม่ทราบชัดเจน) เป็นอันว่าโดนกระสุนปืนก็แล้วกัน.............ซึ่งก็ต่างจากพงศาวดารไทยฉบับหลวงประเสริฐว่าสิ้นพระชนม์จากการชนช้าง  เอาเป็นว่าที่ตรงกันแน่ๆ คือพระมหาอุปราชาสิ้นพระชนม์จากการศึกครั้งนั้นครับ  รายละเอียดต่อจากนี้ถ้าเพื่อนๆ สนใจก็หาอ่านได้จากชื่อหนังสือที่ให้ไว้ด้านบนครับ

โดยคุณ terdkiet เมื่อวันที่ 30/12/2008 13:47:40