คือสงสัยมากครับว่าเมื่อเครื่องบินรบของข้าศึกยิงจรวดจากระยะไกลมาที่เครื่องบินรบประเทศเรา
เครื่องบินรบของประเทศเราจะทำยังไงที่จะรอดครับ เราจะยิงจรวดจากเครื่องบินรบเราไปสกัดกั้นใช่ใหมครับ หรือสละเครื่องบินไปเลย�
^
พอเหอะท่าน หลายครั้งแล้วครับ
ประวัติก็มีแล้ว เรื่องนักบินรับใช้ชาติถูกยิงตกเนี่ย เราปฏิบัติกับเขาอย่างวีรบุรุษครับ ไปหามาอ่านก่อนดีกว่าก่อนจะพูดอะไร
ไม่ตลกครับ เหมือนดูถูกคนอื่นยังไงไม่รู้
ป.ล. ตายกับโดนสอบ ท่านเลือกตายหรือ
ขออภัยครับ ในกรณีนี้หมายความว่าเครื่องบินอยู่ห่างกันมากหลายสิบกิโลเมตรหรืออาจถึง 100 กิโลเมตร แล้วเครื่องบินรบของเรากำลังบินไปทางเครื่องบินรบเขา และเครื่องบินเขากำลังบินมาที่เครื่องบินเรา และเครื่องบินรบเขาก็ยิงจรวดที่ยิงได้ไกลมาทำลายเครื่่องบินรบเรานะครับ
ในกรณีนี้ปล่อยแฟร์ก็ล่อจรวดได้เหรอครับ �ก็เครื่องบินหันหน้าเข้าหากัน ผมก็สงสัยว่าเราจะยิงจรวดจากเครื่องบินรบเราไปทำลายจรวดของเครื่องบินรบศัตรูได้หรือเปล่า เท่านั้นแหละครับ
ในการฝึกบินตามปกติซึ่งไม่ได้อยู่ในภาวะสงครามนั้น การเกิดอุบัติเหตุของอากาศยานนั้นเป็นสิ่งที่อาจจะเกินขึ้นได้เสมอ ซึ่งในขั้นตอนการสอบสวนนั้นคณะกรรมการการสอบสวนอาจจะสันนิษฐานว่าอาจจะเกิดจากหลายกรณีเช่น ความผิดพลาดของนักบิน เครื่องยนตร์ขัดข้องเนื่องจากความประมาทของช่างเครื่อง หรืออื่นๆตามข้อมูลพยานและหลักฐานที่นำมาประกอบ
แต่ในกรณีภาวะสงครามนั้นนักบินของกองทัพซึ่งทำภารกิจในพื้นที่รบแล้วถูกยิงด้วยอาวุธของฝ่ายตรงข้ามจนเครื่องได้รับความเสียหาย หรือต้องทำการสละอากาศยาน หรือเสียชีวิตพร้อมเครื่องนั้น โดยหลักปฏิบัติแล้วถือได้ว่านักบินได้ปฏิบัติหน้าที่อย่างกล้าหาญ ซึ่งในหลายกรณีนั้นนักบินที่ผ่านเหตุการณ์มาในลักษณะดั้งกล่าวก็มีความเจริญก้าวหน้าในหน้าที่การงานมาตามลำดับ
ตัวอย่างเช่น เครื่อง OV-10C ที่ทำการบินโดย น.ท.สมนึก เยี่ยมสถาน และ ร.อ.ไพโรจน์ เป้าประยูร(ยศในขณะนั้น) ถูก SA-7 ยิงตกขณะทำการรบที่ร่มเกล้าปี ๒๕๓๑ ซึ่งนักบินทั้งสองได้ดีดตัวสละเครื่องและถูกทหารลาวจับกุมตัวเป็นเชลย 12วันก่อนได้รับการปล่อยตัวหลังการเจรจาสงบศึก ต่อมานักบินทั้งสองนายได้รับพระราชทานเหรียญกล้าหาญและปัจจุบันมียศ พล.อ.อ. และ น.อ.ตามลำดับ
ถ้าเครื่องบินเรามีระบบ ECM ก็ต้องเปิดระบบเดินเครื่องกวนระบบเรด้าร์ของเครื่องบินข้าศึกและเรด้าร์ของอาวุธนำวิถีด้วยครับ ECM บางระบบอาจจะทำการรบกวนระบบนำร่องระหว่างขั้นกลางที่ตัวอาวุธนำวิถีต้องพึ่งพาการนำร่องจากทั้งเครื่องบินที่ยิงและจากสัญญาณดาวเทียม แต่เครื่องบินรบของทอ.เราคงจะไม่มีระบบ ECM หรูๆแบบนั้นหรอกครับ
แต่ถ้าจรวดข้าศึกมีระบบ Home on jam ก็ซวยหน่อยครับ เพราะมันจะยังคงพุ่งมาหาเราที่เปิดระบบ ECM อยู่ดี เมื่ออาวุธนำวิถีมาถึงระยะที่เดินเรด้าร์เองได้ เราก็คงต้องปล่อยทั้งชาร์ฟและแฟลร์กันล่ะครับ
แต่เห็นว่าในอนาคตอันใกล้ ทั้งค่ายตะวันตกและค่ายรัสเซียกำลังพัฒนาให้อาวุธนำวิถีสามารถยิงสกัดอาวุธนำวิถีด้วยกันได้ ก็ในเมื่อมีระบบ Hard Kill ที่ใช้ในเรือรบที่ยิงจรวดสกัดจรวดได้ ในการรบทางอากาศก็น่าจะทำได้ คิดว่าคงอีกไม่นานน่าจะมีจริงๆน่ะครับ
การที่จะถูกตรวจพบก่อนแล้วโดนสอยก่อนก็มีหลายแบบน่ะครับ ถ้ามากันโดยไม่มีเครื่องสนับสนุน ก็แสดงว่าเครื่องของข้าศึกมีระบบเรด้าร์ทรงพลังกว่า แต่ถ้าข้าศึกมีทีมสนับสนุน ก็อาจหมายถึงว่าข้าศึกมีเครื่อง AWAC หรือ AEWหรือ AEW&C อยู่ด้วย และยิ่งถ้าการแจมของเราด้อยประสิทธิภาพ หรือทางเราเองโดนแจมทางอิเลคทรอนิคอย่างหนักและมีประสิทธิภาพ ก็เดาได้เลยว่าเขามีเครื่องสงครามอิเลคทรอนิคมาร่วมทีมด้วย อย่างนี้ถึงเรายิงจรวดที่มีระบบ Home on jam ไปด้วยก็อาจจะหลุดการควบคุมอยู่ดีครับ
ดังนั้นการรบทางอากาศที่จะดีที่สุด คือ เราต้องมีทีมสนับสนุนครับ ทั้งจากภาคพื้นดิน จากเครื่อง AWAC เครื่องสงครามอิเลคทรอนิค และระบบในอวกาศ จึงจะเป็นการรบที่ทรงประสิทธิภาพครับ