Mon, Dec 8 2008, 08:59 GMT
http://www.afxnews.com
PHNOM PENH, Dec 8 (Reuters) - Cambodias government has slashed its proposed military budget for 2009 after the International Monetary Fund questioned the big increase it had announced, officials said on Monday.
In a parliamentary debate on next years budget, the government proposed military spending of just $160 million for next year, way below the $500 million it had earmarked earlier after a border clash with Thailand in October.
"Before, we planned to divert resources to defence and security, but once we announced the plan, there was some criticism from donors," said Cheam Yeap, head of the National Assemblys finance commission.
"We dont want donors to get nervous about spending in the field so we decided to reduce it," Yeap told Reuters.
The IMF expressed concern about the big increase in military spending at a meeting of international aid donors in Phnom Penh last week.
Cambodias opposition has also worried about the governments plan to spend more on the military at a time when donors such as the World Bank are contributing millions of dollars to help demobilise troops and slim down the countrys bloated army.
The budget for military spending in 2008 is $108 million. Total spending on security, including the police force, is around $250 million.
Officials said the proposed increase in military spending next year would go towards better pay and welfare in the army, not weapons.
Cambodias total budget for next year is now likely to be around $1.4 billion rather than the $1.8 billion proposed earlier.
(Reporting by Ek Madra; Editing by Alan Raybould) Keywords: CAMBODIA BUDGET/
(ek.madra@thomsonreuters.com; +855 23 216977; Reuters Messaging ek.madra.reuters.com@reuters.net)
COPYRIGHT
Copyright Thomson Reuters 2008. All rights reserved.
The copying, republication or redistribution of Reuters News Content, including by framing or similar means, is expressly prohibited without the prior written consent of Thomson Reuters.
http://www.fxstreet.com/news/forex-news/article.aspx?StoryId=fa9dbd5d-9f9c-4fe7-8b52-cf453bcc6268
ขอโทษที่โพสช้า และไม่มีเวลาแปลครับ ทำได้เท่านี้
resort & hotel +casino(tourist) ผ่านไทยล้วนๆ ขณะรี้ยังอยากขอเปิดด่านเข้าออก
ที่....ให้ถึงเที่ยงคืนเพราะรายได้ตกมาก ไม่ต้องทำอาไรเขาหรอก
คนเขมรที่ค้าขายชายแดนเขารู้ดี ว่า เงินไหลมาทางไหน
ยกเว้นรายได้จากสัมปทาน
ขอบคุณเสี่ยครับสำหรับเปิดกระทู้ เคยpost ใว้ครับว่า เขาเป็นประเทศด้อยพัฒนา ปัญหาของเขาคือข้อจำกัดด้านเศรษฐกิจ เพิ่มงบประมาณที่ไหนมากเกินไป ปัญหาก็จะกระจายไปที่ภาคส่วนอื่นๆครับ เราเป็นประเทศกำลังพัฒนาขั้นกลาง ซึ่งกำลังจะเป็นประเทศกำลังพัฒนาขั้นสูง (GDP per capita PPP มากกว่า USD 10,000.-) ในอีกราวๆ 5-10 ปีข้างหน้าครับ ควรมองว่า เราจะวางนโยบายแบบใดเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนมากกว่าและปรับตัวอย่างไรในสังคมโลก สำหรับกองทัพควรจะเน้นเรื่องการรักษาและสนับสนุน เรื่องความมั่นคงของชาติและผลประโยชน์ของประเทศชาติครับ
สำหรับมาเลเซีย เรายังมีช่องว่างที่จะต้องพัฒนาตามพอสมควรในหลายเรื่องด้วยกัน สิงคโปร์เป็นประเทศพัฒนาแล้ว มาตรฐานของเขานั้นแตกต่างจากเราอย่างมากครับ เรื่องเศรษฐกิจและความมั่นคง อย่ากลัวประเทศอื่นในแถบนี้เลยครับ เพราะเกือบทุกประเทศเน้นเรื่องการพัฒนามากกว่าการทหารครับ ภัยคุกคามที่สำคัญของประเทศในแถบนี้คือเรื่องความยากจนและการยกระดับทางเศรษฐกิจ หรือง่ายๆคือปัญหาปากท้องครับ
yaiterday
บันทัดที่ 4 และ 7 โดนใจมากครับ
มองให้ลึกๆเข้าไป ประเทศเราก็ประสบปัญหา 2 บันทัดนี่แหละครับ
กระทู้นี้ดีครับ....มีอะไรให้คิดกันต่ออีกหลายประเด็นเลยครับ ผมเลยนึกถึงนโยบายของท่านอดีตนายกฯ พล.อ.ชาติชาย ที่จะทำสนามรบให้เป็นสนามการค้า จริงๆผู้คนที่อยู่ในย่านนี้ก็เป็นคนถิ่นฐานเดียวกัน เผลอๆก็เป็นพี่น้องกันซะด้วยซ้ำ จู่ๆเกิดมีเส้นแบ่งประเทศมาแบ่งป็นชาติโน้นชาตินี้ ความคิดก็เลยแตกก็แยกกันออกไป....เคยไปแม่สาย จ.เชียงราย เมื่อ 8-9 ปีที่แล้วครับเส้นแบ่งความเป็นไทย-พม่าคือแม่น้ำกกกว้าง 20 กว่าเมตรเท่านั้นเอง ผู้คนตะโกนทักทายกันได้สบาย หน้าตาก็เหมือนๆ กัน แต่เป็นคนละชาติ..........วกกลับมาที่พล.อ.ชาติชายครับ ถ้าทำสำเร็จตามที่ท่านว่าไว้ ผู้คนแถวนี้จะกลมเกลียวกันและไว้วางใจกันมากกว่านี้ จะส่งผลดีต่ออาเซียนโดยรวม....ลองคิดเล่นๆ จะดีแค่ไหนถ้าเราจะมีนิคมอุตสาหกรรมที่อุบลฯ ที่ผลิตสินค้าโดยใช้แรงงานจากไทยบ้าง สปป.ลาวบ้าง จากกัมพูชาบ้าง จากนั้นก็ขนสินค้าที่ว่าขึ้นรถไฟซึ่งวิ่งจากอุบลฯ ข้ามแม่น้ำโขงไปสปป.ลาว ข้ามไปเวียดนามถ่ายลงท่าเรือที่ดานังโดยใช้ระยะทาง 200-300 กม. ใกล้กว่าขนมาลงเรื่อที่แหลมฉบังหรือมาบตาพุดเสียอีก ขนไปไต้หวัน ญี่ปุ่น เกาหลี อีกต่อ จะเกิดการสร้างงานที่โน่นอย่างมหาศาลและไม่เกิดปัญหาแรงงานพลัดถิ่น(อย่างผม) หรือแรงงานต่างด้าวมากเกินไปในกทม.
ส่วนเรื่องของการพัฒนา คงต้องควบกันไปทั้งหมดละครับ แต่จะเน้นด้านใดก่อนก็แล้วแต่ลำดับความสำคัญตามนโยบายหรือแผนการ....ด้านการทหารผมว่าก็เป็นสิ่งจำเป็นที่ไม่ควรละเลย แต่คงไม่เน้นมากเช่นอินเดียกับปากีฯ ที่ยังแข่งกันอยู่หรือแม้กระทั่งสองเกาหลีที่ยังไม่วางใจกัน...ผมเองก็ไม่เห็นด้วยกับกัมพูชานะครับถ้าจะต้องทุ่มงปฯ ส่วนมากมาลงที่การทหารซะหมดเพียงเพื่อจะมาต่อตีกับเรา เพราะสถาณการณ์ยังไม่รุนแรงเท่ามวยสองคู่ที่กล่าวถึง เพราะยังสามารถเจรจากันบนโต๊ะได้
แล้วเพื่อนๆ ท่านอื่นว่ายังไงบ้างครับ
ขอบคุณทุกท่านครับ และเห็นด้วยเช่นกันครับ
ความคิดของผม ถ้าเราอยากรบให้ชนะประเทศเพื่อนบ้านเราได้
เราต้องสนับสนุนเค้าให้อยู่ดีกินดี มีการศึกษาครับ การพัฒนามันต้องไปด้วยกัน ไม่งั้นปัญหาไม่จบครับ
ถ้าช่องว่างมันห่างกันเหมือนทุกวันนี้ ด้วยนิสัยของมนุษย์ทั่วไปหายากที่จะไม่อิจฉาคนที่เค้าอยู่สูงกว่าเราหรอกใช่ไหมครับ ก็เลยต้องหาเรื่องป่วนมันซะอย่างงั้น
ลองคิดดูสิครับ ถ้าเพื่อนๆเราเขา อยู่ดีกินดี มีการงานมั่นคง รายได้เพียงพอใช้ชีวิตอย่างสุขสบาย มีรถติดอิ๊บอ๋ายแบบกรุงเทพ เพราะใครๆก็สามารถออกรถได้ ส่งลูกเรียนมหาวิยาลัย มีอนาคตข้างหน้า
ใครเค้าจะอยากให้เกิดสงครามกันล่ะครับ
แต่ทุกวันนี้เค้าแทบไม่มีอะไรจะเสียครับ มาเป็นขอทานที่บ้านเราตั้งเยอะ
ถ้าจะเกิดสงคราม มันก็ใช่ว่าจะลำบากกว่าที่เป็นอยู่มากกว่าเดิมเท่าไหร่ แถมสะใจด้วยที่เพื่อนๆที่มันเคยอยู่สบายต้องมาลำบากเหมือนเค้า
เราอย่ามองเขาในแง่ร้ายมากครับ เพื่อนกันยังไงมันก็ต้องช่วยกันแหละครับ จะให้เรารวยมีบ้านราคาเป็นล้าน แต่รอบๆบ้านเป็นสลัม เราจะอยู่อย่างสบายใจได้หรือครับ
ตอนสมัยผมเรียนรัฐประศาสนศาสตร์ มีอ.พิเศษมาจากกอ.รมน.มาสอนวิชาการเมืองและการทหาร จำได้ว่าท่านได้บรรยายถึงในหลวงเคยมีพระราชดำรัส ซึ่งเนื้อหาเกี่ยวกับเรื่องที่ท่านๆ พูดคุยกันอยู่นี้
เนื้อความคือ อ.ท่านเล่าว่าในหลวงทรงตรัสว่าถ้าทำบ้านเมืองเราให้น่าอยู่ อยู่ดีกินดีกันทุกคน คนอื่นๆ เขาก็อยากที่จะมาอยู่กับเราทั้งนั้น ถ้าเขาเป็นพวกเรา มีอะไรเขาก็จะคอยบอกคอยระวังให้
ผมจำได้แม่น เนื่องจากมันเป็นสายพระเนตรที่ยาวไกลของพระองค์ท่าน พวกท่านๆ ก็ลองไปพิจารณากันเอาเองว่าคนไทยได้น้อมนำพระราชดำรัสต่างๆ มาประพฤติ ปฏิบัติกันแค่ไหน ทฤษฎีเศรษฐกิจแบบพอเพียงไปกันถึงไหนแล้ว? ใครมีข้อมูลช่วยอัพเดทให้อ่านกันมั่งสิครับ
ใช่ครับ ถูกต้องที่สุด ผมก็ยากให้พม่า ลาว เขมร เจริญเสมอมา เพราะเขาจะอยู่ได้ด้วยตัวเอง และในที่สุดแล้วก็จะเป็นเรานี่แหละที่ได้ประโยชน์
เศรษฐกิจพอเพียง ผมว่าหลงทางกันมาพักใหญ่หลายปีครับ แต่ตอนนี้ดูแล้วเริ่มเข้ารูปเข้ารอยแล้วครับ แต่ผมว่าพวกคณะกรรมการขับเคลื่อนเขายังหาตัวอย่างของเรื่องนี้ให้เข้ากับคนเมืองไม่ได้ คงต้องอาศัยเวลาอีกสักพัก (คือสักหลายปีหน่อย) กว่าทุกคนจะเข้าใจหลักการของมันจริง ๆ ไม่ได้นึกว่าจะต้องไปปลูกผักปลูกข้าวขายจึงจะพอเพียงล่ะครับ ^_^
ช่องว่างระหว่างเรากับเพื่อนบ้านห่างกันดังที่ท่าน eazy ว่าหละครับ หน่วยงานที่ผมทำอยู่ก็อาศัยแรงงานจากเพื่อนบ้านสามชาติเนี่ยแหละครับเป็นหลัก....แรงงานไทยฝีมือพอๆ กันค่าแรงต่างกันตั้ง 2-3 เท่า....ใจนึงก็ภูมิใจว่าบ้านเมืองเราความเป็นอยู่ดีขึ้นเยอะแล้ว เคยขับรถกลับบ้านที่หนองคาย พบว่าถนนหนทางปัจจุบันแตกต่างกับเมื่อสัก 20 ปีอย่างมาก เราไปได้ไกลมากแล้วในขณะที่เพื่อนบ้านยังไปไม่ถึงไหน...เมื่อใดเกิดรบกัน เสียหายเท่าๆ กัน เราจะขาดทุนยับเนื่องจากต้นทุนชีวิตเราสูงกว่าเค้า.......
......ใช่ครับ โมเดลของเศรษฐกิจพอเพียงสำหรับคนเมืองหาได้ยากจริงๆ เพราะรูปแบบการดำรงชีวิตต่างกัน คนเมืองก็จะเจอค่าครองชีพสูงกว่าคนชนบทเยอะนัก ครั้นจะไปทำไร่ ทำนา ทำสวน แบบคนชนบทก็คงทำไม่ได้...มีเพื่อนท่านใดพอมีตัวอย่างแนะนำบ้าง อยากรู้เช่นกัน
ปล.ต้นทุนชีวิต อาจฟังดูแรง....จริงๆ คือเทียบว่ากว่าจะสร้างมาเป็นตัวเราในปัจจุบันในประเทศเราเทียบกับในประเทศเพื่อนบ้าน ที่บ้านเราพ่อแม่จะจ่ายเงินเยอะกว่า แต่ยังต่ำกว่าที่อเมริกา หรือญี่ปุ่น เป็นต้น
เกี่ยวกับ กัมพูชา สำหรับประเทศไทย ผมมองที่เรามองการพัฒนาเป็นลำดับดีกว่านะครับ เท่าที่ศึกษา จุดประสงค์และรายละเอียดการเจรจายังไม่ชัดเจนเลยครับ กรอบการเจรจา รวมถึงขอบเขตการตัดสินใจ ยังต้องผ่านสภาอีกครับ เรื่องการจัดทำงบประมาณทางการทหารของกัมพูชาเอง ผมมองว่า ไอเอ็มเอฟในฐานะผู้ให้กู้หรือผู้ประเมินสินเชื่อ คงต้องแนะนำอยู่แล้วครับเพราะคงไม่ต้องการให้เงินที่ช่วยเหลือไม่เกิดประโยชน์กับประเทศโดยรวม อีกทั้ง ถ้ามองในแง่ดี คงมองว่าประเทศไทยนั้นไม่ได้มีนโยบายหรือแสดงเจตนารุกราน จนเป็นภัยคุกคามอันใกล้นะครับ แสดงว่าเรามีสถานะในสังคมโลกที่น่าเชื่อถืออยู่ครับ
มองข้ามไปที่การรวมกันเป็นสหภาพระหว่างประเทศ ก็อยากเน้นอีกครั้งว่า มองการพัฒนาเป็นลำดับดีกว่านะครับ เกือบทุกชาติต้องพัฒนาภายในประเทศยกระดับเศรษฐกิจ สังคมและโครงสร้างพื้นฐานทั้งระบบก่อนครับ พูดง่ายๆ กินอิ่ม นอนหลับ สุขภาพดี สาฐารณูปโภคดีพอใช้ แล้วจึงจะเริ่มพัฒนาร่วมกันเป็นสหภาพทางเศรษฐกิจ หรือสังคม หรือเกณฑ์มาตรฐานอะไรก็ได้ที่เหมาะสมและพร้อมที่สุดในขณะนั้น เพื่อทดลองก่อนแล้วศึกษาและติดตามให้ดีครับ
เราจะเป็นแบบ อียูได้ไหม ส่วนตัวพูดได้แค่ว่าอาจจะไม่เห็นในคนอายุรุ่นผม 30 ต้นๆ คงมองได้แค่เป็นแบบเขตการค้าเสรีแบบ NAFTA อเมริกา-เม็กซิโก-แคนาดา เท่านั้น สักอีก 10 ปี เราอาจจะได้เห็นสามชาติ ช้าง-เสือ-สิงห์ (ไทย-มาเลเซีย-สิงคโปร์) ครับ ขอบคุณมากครับ
ป.ล. ออกตัวนะครับ ถึงเป็นสมาชิกเก่าขาจร ผมก็ไม่ใช่นักข่าวครับ หลังไมค์ยินดีให้ติดต่อครับ
เท่าที่อ่าน reply ของคุณ Yaiterday ผมคิดว่าคุณมีความรู้เรื่องความสัมพันธ์ระหว่างประเทศดีมากทีเดียวครับ
แต่ผมสงสัยตรงประโยคที่ว่า เกี่ยวกับ กัมพูชา สำหรับประเทศไทย ผมมองที่เรามองการพัฒนาเป็นลำดับดีกว่านะครับ
ไม่ใช่หมายความว่าคุณพูดผิดนะครับ แต่ผมพยามยามคิดแล้วแต่ไม่เข้าใจครับ
อยากทราบว่าพอจะกรุณาอธิบายไหมครับว่า เรา (ไทยและกัมพูชา) ควรพัฒนาอะไรก่อนครับ
เพราะผมเชื่อว่า สาเหตุของไฟใต้ส่วนนึงเกิดจากการพัฒนาที่ไม่เท่าเทียม ระหว่างส่วนบนของภาคใต้และมาเลย์ ทำให้สามจังหวัดชายแดนใต้ของเราเป็นเหมือนส่วนที่ถูกทอดทิ้ง และจึงไม่แปลกที่เขาจะโน้มเอียงไปทางคนที่มีเชื้อชาติศาสนาใกล้เคียงกันมากกว่า
ปล. ผมเรียนมาทางวิทยาศาตร์สายสุขภาพครับ เลยทำความเข้าใจเรื่องอย่างนี้ยากหน่อย
ขอบคุณ พี่ yaiterday มากๆครับ
กำลังพยายามอ่านแล้วทำความเข้าใจอยู่ครับ