...เคยคิดเล่นๆนะครับว่า ทำไมจึงไม่มีระบบ Surface-to-Air Missile ที่ครบสูตรในชุดเดียว ! ตัวอย่างเช่น.... ADATS 8 ท่อยิง (สมมตินะ)
2 ลูก เป็นแบบนำวิถีด้วย Active radar
2 ลูก เป็นแบบนำวิถีด้วย Passive radar
2 ลูก เป็นแบบนำวิถีด้วยความร้อน (Infer-red)
และ 2 ลูก เป็นแบบนำวิถีตามเส้นลวด
....นั่นหมายความว่า หากเครื่องบินข้าศึกเข้ามา เราก็จะยิงจรวดแบบActiv 1 + Pasiv 1 (พร้อมกัน) หากเก่งจริง..รอดได้ ก็เจอจรวดแบบInfer. 1 หรือ 2 ลูกตามจี้ก้นอีก.... คาดว่าไม่เหลือครับ ผมว่าจรวดนำวิถี 4 ลูก ราคาถูกกว่าเครื่องบินรบแน่นอน... ส่วนแบบนำวิถีด้วยเส้นลวดนั้น เอาไว้ยิงคอปเตอร์....หึ..หึ
...อาจจะอ่านแล้วรู้สึกตลก แต่นี่คือสิ่งที่สงสัยจริงๆครับ จึงอยากขอคห.จากเพื่อนๆ และผู้รู้ ว่าเป็นไปได้หรือเป็นไปไม่ได้เพราะเหตุใด....ไม่ซีเรียสครับ ขอบคุณครับผม..
ป.ล. หากเป็นไปได้..ผมเชื่อว่าน่าจะมีผลดีในการจัดกำลังพล(เจ้าหน้าที่)นะครับ...
ความคิดเห็นที่ 1
ก็น่าจะใช้ได้ แต่สิ่งที่ตามมาคือ ความยุ่งยากของระบบทั้งการใช้งาน และ การดูแลปนนิบัติบำรุง
โดยคุณ
FW190 เมื่อวันที่
16/12/2008 13:31:12
ความคิดเห็นที่ 2
ใช่ครับ เนื่องจากยุ่งยากในการดูแลรักษา ยิ่งไปกว่านั้นคือยุ่งยากในการออกแบบระบบและการให้การสนับสนุนตัวระบบครับ พูดง่าย ๆ คือถ้ามีแบบนี้มันก็เป็นเป็ดนั่นเอง
ปกติแล้วการวางข่ายการป้องกันภัยทางอากาศจะแบ่งเป็นชั้น ๆ ครับ ถ้ายืนพื้นของรัสเซีย ไกลสุดก็จะให้ S-300 รับหน้าที่ ใกล้เข้ามาหน่อยก็เป็นพวก Buk-M1, Tor-M1 เข้าไปเรื่อย ๆ จนใกล้ที่สุดก็ต้องพึ่ง igla ครับ คือต้องวางเป็นชั้น ๆ ไปครับผม
โดยคุณ
Skyman เมื่อวันที่
16/12/2008 19:50:42
ความคิดเห็นที่ 3
อีกเหตุผลนึึงคือระบบนำวิถีแบบต่างๆ มีวัตถุประสงค์การใช้งานที่ต่างกันไปครับ โดยระบบ Active Radar หรือ Semi-Active เป็นการใช้เรดาร์ในการนำวิถี ซึ่งสามารถใช้กับเป้าระยะไกลมากได้เท่ากับระยะการทำงานของเรดาร์ นอกจากนี้ยังมีระบบนำวิถีแบบผสมที่ทำให้ยิงได้ไกลขึ้นไปอีกด้วยการใช้ Mid-Course Guidance ที่ยิงลูกอาวุธปล่อยออกไปที่จุดที่คำนวณไว้ล่วงหน้าในขณะที่เป้าถูกตรวจจับด้วยเรดาร์ตรวจการณ์ (ระยะไกลแต่ความละเอียดต่ำ) แต่ยังไม่เข้าระยะเรดาร์ควบคุมการยิง (ความละเอียดสูงแต่ระยะใกล้ลงมา) แล้วจึงค่อยเปลี่ยนเป็น Semi-Active เมื่อเป้าเข้ามาในระยะของเรดาร์ควบคุมการยิง
ส่วนระบบนำวิถีด้วย IR จะต้องสามารถมองเห็นเป้าหมายด้วยสายตาได้ก่อน ซึ่งหมายความว่าระยะเป้าจะต้องอยู่ใกล้มากแล้ว ระบบนี้จึงใช้กับการป้องกันตนเองระยะประชิดมากกว่า
ระบบนำวิถีด้วยเส้นลวดก็เช่นเดียวกัน คือเป้าต้องอยู่ในระยะสายตา อีกทั้งความแม่นยำยังขึ้นอยู่กับผู้ใช้ ซึ่งอาจทำให้ความแม่นยำต่ำกว่าระบบ IR
ส่วน Passive Radar นี่เข้าใจว่าเป็นพวก Anti-Radiation Homing ซึ่งมักใช้กับอาวุธประเภทอากาศ-สู่้-พื้นเพื่อต่อต้านฐานเรดาร์ภาคพื้นมากกว่า เนื่องจากเครื่องบินโจมตีส่วนมากมักจะปิดเรดาร์เพื่อไม่เป็นการเปิดเผยตนเองอยู่แล้ว ในขณะที่ฐานอาวุธต่อสู้อากาศยานจะต้องเดินเรดาร์อยู่ตลอดเวลาเพื่อเป็นการเฝ้าระวัง
นอกจากนี้เนื่องจากเป้าหมายทางอากาศมักเคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูง หลักนิยมในการป้องกันภัยทางอากาศจึงมักวางระบบป้องกันเป็นชั้นๆ อย่างที่คุณ Skyman บอก โดยมักวางระบบที่มีระยะไกลไว้ไกลที่สุดเพื่อป้องกันแต่เนิ่นๆ และใช้ระบบพวก IR ในการป้องกันชั้นสุดท้ายจริงๆ สาเหตุอีกอย่างที่ไม่จำเป็นต้องวางทุกระบบไว้ในที่เดียวกันเนื่องจากการป้องกันภาคพื้นดินไม่มีข้อจำกัดด้านพื้นที่ ต่างจากการติดอาวุธบนเครื่องบินรบที่จำเป็นต้องแบกอาวุธทั้งระยะไกลและระยะใกล้ขึ้นไปด้วยทั้งหมด
โดยคุณ
กัปตันนีโม เมื่อวันที่
16/12/2008 21:19:50
ความคิดเห็นที่ 4
ขณะนี้ เรามี SAM แบบ ACTIVE RADAR ไหมครับ
แต่อย่าง MID COUSE GUIDANCE เราคงไม่มีแน่นอน
แต่ จขกท คงอยากให้มี SAM ACTIVE RADAR ไว้ใช้งาน
คืออัด บินตั้งแต่ยังไม่เข้าพื้นที่ ที่เป็นชั้นกลางกับชั้นในสุด
เพื่อลดการ พึ่งเครื่องบินล้วนๆ ผมเคยตั้งกระทู้แบบนี้แต่รายละเอียด
ของ SAM ไม่ได้ขยายครับ เนื่องจากที่คิดคือ ต้นทุนวิจัยไม่สูง มีโปรเจค
เก่าๆอยู่แล้วนำมาปรับปรุง และวิจัยร่วมกับใครก็ได้ที่เขาจะช่วย
เพื่อทำให้ SAM ACTIVE RADAR เกิดขึ้นได้ และทำให้ประหยัดในระยะยาว เช่น มีผลแปรผันกับสัดส่วน กับจำนวนบิน FIGHTER คือมีSAM นี้แล้ว จำนวนบินค่อยๆเพิ่มก็ได้ เพราะทุกวันนี้เท่าที่ทราบ บิน FIGHTER ยังไม่ครบฝูงที่ต้องการคงสภาพ ในการตอบโต้ต่อตีในภาคส่วนที่ขาดแคลน เช่นที่ อุบล หรือ สุราษฎร์
จึงขอขอบคุณเจ้าของกระทู้นี้เป็นการส่วนตัวครับ
โดยคุณ
tik เมื่อวันที่
17/12/2008 00:06:38
ความคิดเห็นที่ 5
^
^
รบกวนถามเพิ่มอีกคำถามนึงครับทุกท่าน....ถ้าวางข่ายป้องกันอย่างนี้แล้ว บ.ฝ่ายเราจะขึ้น Scramble จังหวะไหน
โดยคุณ
terdkiet เมื่อวันที่
17/12/2008 02:25:22
ความคิดเห็นที่ 6
^
^
^
ความจริงเรื่อง SAM ในลักษณะนี้เป็นเรื่องของทหารบกนะครับเนี๊ย ..... ถ้าเรามีโครงข่าย SAM แบบนี้กองทัพอากาศก็ต้องตกลงหลักนิยมกับกองทัพบกว่าจะให้ฉันมาเมื่อไหร่ยังไง
แต่พอดีเราไม่มี ทุกอย่างเลยง่ายหน่อย ใครมาก็เรียกทอ.โลด ^ ^"
จะว่าไปน่าสงสารหน่วยบัญชาการป้องกันภัยทางอากาศกองทัพบกเหมือนกันนะครับ แทบไม่มี SAM ใช้งานเลย ที่มีก็เป็นระยะใกล้แบบ MANPAD ทั้งสิ้น นอกนั้นก็เป็นปตอ.ไปเลย ..... ยังลุ้นอยู่ว่าจะได้จัดหา SAM ระยะใกล้ตามโครงการหรือเปล่า
โดยคุณ
Skyman เมื่อวันที่
17/12/2008 02:46:25
ความคิดเห็นที่ 7
^
^
ผมคลับคล้ายคลับคลาว่าทบ.มีสปาด้าแฝดผู้พี่ของแอสปิเด้ของทร....ไม่ทราบว่าสถาณภาพปัจจุบันเป็นยังไงบ้างครับ หรือว่าจำหน่ายไปแล้ว
โดยคุณ
terdkiet เมื่อวันที่
17/12/2008 03:40:05
ความคิดเห็นที่ 8
ขอโทษครับ ตกไปอีกอันคือเอแดทส์ของทอ.ด้วย....ยังใช้ได้อยู่หรือเปล่า
โดยคุณ
terdkiet เมื่อวันที่
17/12/2008 03:47:19
ความคิดเห็นที่ 9
ระบบนำวิถีด้วยเส้นลวด คงนำมาใช้กับระบบต่อสู้อากาศยานไม่ได้แน่
เพราะระบบเส้นลวดต้องใช้การเล็งเป้าตลอดเวลา ถ้าเครื่องบินบินพลิกแพลง
การเล็งเป็าหมายถ้าจับไม่ทันก็พลาดเป้า แล้วระบบเส้นลวดก็มีระยะทำการจำกัด ขึ้นอยู่กับเส้นลวด
โดยคุณ e21cye เมื่อวันที่
17/12/2008 07:17:35
ความคิดเห็นที่ 10
เพิ่มเติมอีกนิดครับ อาวุธปล่อยฯ พื้น-สู่-อากาศ ระยะปานกลางขึ้นไป มักนิยมใช้ระบบนำวิถีแบบ semi-active มากกว่า active เนื่องจากระบบ semi-active จะใช้เรดาร์ควบคุมการยิงจากฐานยิง หรือจากที่อื่นซึ่งไม่ใช่บนตัวลูกอาวุธปล่อยฯ ทำให้ลูกอาวุธปล่อยฯ ไม่ต้องมีระบบเครื่องส่งเรดาร์ ช่วยประหยัดพื้นที่และน้ำหนักบรรทุกไปทำอย่างอื่นได้ นอกจากนี้ระบบ active ที่เรดาร์ติดตามเป้าอยู่บนลูกอาวุธปล่อยนั้น เมื่อเป้าบินหลบหลีกที่ระยะใกล้จะทำให้มุมเป้าจากตัวลูกอาวุธปล่อยฯ เปลี่ยนค่อนข้างมาก เมื่อเทียบกับมุมเป้าที่มองจากฐานยิง ทำให้การติดตามเป้าทำได้ยาก ประมาณว่ายิ่งใกล้ถึงจุดที่ลูกอาวุธจะชนเป้ายิ่งติดตามเป้ายากขึ้น ระบบนำวิถีแบบ active จึงใช้กับอาวุธต่อต้านเรือผิวน้ำมากกว่า เนื่องจากเรือเป็นเป้าขนาดใหญ่กว่าและไม่สามารถหันหลบหลีกได้เร็วเท่ากับเครื่องบิน
ส่วนคิวของ ทอ.นั้นจะอยู่ไกลออกไปนอกเครือข่ายป้องกันภาคพื้นครับ เนื่องจากเครื่องบินมีระยะทำการไกลกว่ามาก จึงเป็นหน่วยแรกที่ถูกส่งขึ้้นไปสกัดกั้นก่อน ตามการป้องกันเป็นชั้นๆ ที่วางอาวุธระยะไกลสุดไว้ชั้นนอกสุด
โดยคุณ
กัปตันนีโม เมื่อวันที่
17/12/2008 20:24:49
ความคิดเห็นที่ 11
...ระบบนำทางด้วยเลเซอร์มีข้อดีตรงที่ไม่มีอะไรมาลวงได้และเล็งจุดไหนโดนจุดนั้น แต่ข้อเสียคือพิสัยทำการยิงใกล้และไม่สามารถต่อตีเป้าหมายหลายๆเป้าในคราวเดียว ซึ่งระบบนำทางอินฟาเรด สามารถทำได้ดีกว่า แต่มีสิทธิโดนลวงได้เช่นกัน
...ส่วนพวก เซมิ-แอคทีฟนั้น หากเจอระบบ อีซีเอ็มเล่นงานหรือระบบจรวดต่อต้านการแพร่เรดาห์นั้น การนำทางให้จรวดทำลายเป้าหมายด้วยเรดาห์ หยุดการทำงานและอาจจะโดนโจมตีทางอากาศก็เป็นได้ ซึ่งตรงนี้ขึ้นอยู่กับการวางระบบป้องกัน แต่บ.ข.บางชนิดมีอาวุธที่ครบเครื่องคือ ระบบอากาศ สู่ พื้นพิสัยไกล จำพวกระเบิดร่อน ขีปนาวุธและสมาร์ทบอม ซึ่งสามารถลอยทะลุแนวป้องกันจากแซมพิสัย10-20ก.ม. ได้เข้าโจมตีฐานยิงอาวุธ เรดาห์ ได้เช่นกันโดยที่เครื่องบินปลอดภัย
โดยคุณ
MIG31 เมื่อวันที่
18/12/2008 06:27:20
ความคิดเห็นที่ 12
โอ....ขอบคุณสำหรับความคิดเห็นและความรู้อีกมากมาย..
...ขออนุญาตถามต่ออีกนิดนะครับ.. ระบบนำวิถีแบบ "เส้นใย-นำแสง" ถ้าจำไม่ผิดภาษาอังกฤษประมาณว่า Fibre-obtic guide wire ( เดาๆน่ะครับ ) นี่การทำงานเหมือนการนำวิถีเหมือนแบบเส้นลวดหรือไม่? อย่างไรครับ? และมีการนำมาประยุกต์ใช้ในจรวดนำวิถีแบบใดบ้างครับ.... ขอบคุณอีกครั้งครับ
โดยคุณ
nui-714 เมื่อวันที่
18/12/2008 06:56:56
ความคิดเห็นที่ 13
ระบบนำวิถีด้วยเส้นลวด ถือว่าเป็นระบบที่เชืื่อถือได้ดีมาก
แต่ในปัจจุบันถ้าเป็นระบบนำวิถีด้วย เส้นลวดยุคใหม่จะใช้
เส้นไฟเบอร์-ออฟติกหมดแล้ว เพราะน้ำหนักเบากว่า และเล็กกว่า
ด้วยน้ำหนักที่ทเ่ากัน เส้นไฟเบอร์-ออฟติก จะมีขนาดยาวกว่าเกือบเท่าตัว
โดยคุณ e21cye เมื่อวันที่
20/12/2008 08:08:32