http://www.youtube.com/watch?v=pyP2mOKb_6o
ลองคิดเล่นๆนะ ถ้า เอฟ/เอ-18 ดอกไฟต์กับมิก29 คิดว่าจะมีโอกาส ได้ลอคเป้า มิก29หรือป่าว ขนาดเอฟ-16
ที่ว่าเด่นเรื่องระยะประชิดยังสูสีมิก-29แล้วเอฟ/เอ-18ซึ่งอุ้ยอ้ายกว่า จะรอดมั้ย????
อีกคำถามดีกว่า ถ้าเอฟ/เอ-18อี ดอกไฟตืกับ เอฟ-16อี
แบบไหนจะ เข้าวินเพราะดูแล้ว เอฟ-16อี ใส่ถังCFT ดูเหมือนจะบึกบึน
อุ้ยอ้ายพอๆกะเอฟ/เอ-18อีเลย น่าจะคล่องตัวพอๆกัน
อาวุธของรัสเซียประสิทธิภาพเหนือของสหรัฐจริงหรือไม่
อย่างจรวด R-73 เหนือกว่า AIM -9 L/M จนทำให้สหรัฐ
ต้องพัฒนา AIM-9X ขึ้นมาให้เท่าเทียม หรือประสิทธิภาพเหนือกว่าแต่ไม่มาก เห็นใน หนังสือ แทงโก้ สมรภูมิ เขียนชม อาวุธของรัสเซีย
เวลาต้องเอามาเปรียบกันแล้ว วิเคราะห์ว่า ตาม การจำลองของรัสเซีย
จะเหนือกว่า แต่ของรัสเวียเคยเอามาใช้งานจริงยัง?????????
ซู-30 ที่บอกว่าเหนือกว่า เอฟ-15 มากขนาดไหน แต่เอฟ-15
มีการผ่านการรบ เป็นใบรับประกัน ประเทศผู้ผลิต ขยันทำสงคราม
เพื่อให้ ประสิทธิภาพ ที่ด้อยกว่าเหนือกว่าในการ ใช้งานบ่อยๆจนเกิดความชำนาญ เกิดเป็นองค์ความรู้?? ประสิทธิภาพที่ดีย่อมเกิดจากผู้ใช้ที่ชำนาญ ????????
นอกจากอาวุธทีทันสมัยแล้ว คุณภาพของบุคลากร เช่น นักบิน
มีส่วนมากมั้ยครับ อย่าง นักบินเอฟ-16 ชั่วโมงบิน2000 ชม ขึ้นไป
มีประสบการ การรบ เป็นครูการบินขับไล่ แบบ เอฟ-16 เคยผ่าน
การรบ กับ ประเทศที่ใช้ เครื่องบินของรัสเซีย แต่ขับ เอฟ-16 รุ่นเก่า
อย่างเอฟ-16 เอดีเอฟ เอฟ-16เอ็มแอลยู เอฟ-16 ซีดี บลอค 25 30/32 40/42 เป็นต้น อาวุธ ดีที่สุด คือ เอไอเอ็ม9-แอล/เอ็ม เอไอเอ็ม-120
ถ้าต้องดอกไฟต์กับนักบินซู-30 เอ็มเค ที่เครื่องบินทันสมัย แต่บุตลากร
คือนักบินมี ชม.บินที่700 ชม. ไม่เคยผ่านการรบจริง แต่ได้เปรียบที่ ความทันทันสมัยกว่าของเครื่อง สมรรถนะดีกว่า ถ้าต้องทำการรบระยะประชิด
โดยอิง ข้อมูลข้างต้น ฝ่ายไหนโอกาสจะเข้าวินมากกว่า
ใช้ตัวแปรทุกอย่าง นักบิน เครื่องบิน ประสบการของนักบิน
มาช่วยกันคิดเล่นๆ
ขออ้างคำพูดของอาจารย์ผมท่านหนึ่งนะครับ บรรยายหลายปีมากแล้ว ยุทโธปกรณ์ทางอากาศยานสมัยใหม่จากรัสเซีย เป็นยุทโธปกรณ์ที่ดีมาก มีคุณค่าทางยุทธศาสตร์ในตัวเองและน่ายำเกรง แต่ไม่ใช่ยุทโธปกรณ์ที่มีความพร้อมและน่าเชื่อถือ และยังด้อยคุณค่าด้านการจัดการทรัพยากรโดยองค์รวม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเชื่อมโยงระหว่างกัน ดังนั้น ยุทโธปกรณ์ทางอากาศยานสมัยใหม่และร่วมสมัยจากอเมริกา จึงเน้นการพัฒนาเรื่องความอยู่รอดในสถานการณ์เริ่มเข้าสู่สงคราม (Potential to Greater Survivability)
อธิบายความง่ายๆ ตามความเข้าใจของผม (ถ้าไม่ถูกต้องประการใด กรุณาแก้ไขครับ) เช่น ซู-30 ตัวเครื่องเปล่าๆ ไม่รวมอุปกรณ์เสริมและสนับสนุน นักบินมีความพร้อมสูงสุด เครื่องเดียว ประกอบเสร็จและพร้อมใช้งานครั้งแรกในวันแรกที่เกิดสงคราม สมการหยาบๆแบบนี้ สมรรถนะและประสิทธิภาพย่อมดีกว่า ตระกูลเอฟ ยกเว้น พวกรุ่นที่5 ตัวเปล่าๆ อย่างไม่ต้องสงสัย ส่วนประสิทธิผลขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์การรบและความสัมฤิทธิ์ผลที่ตั้งใว้ แต่ถ้าตระกูลเอฟรอดมาถึงวันต่อมาพร้อมกับ full options หรือวันแรกมา full options เอ่อ เดาไม่ออกครับ
การเตรียมตัวให้พร้อม ให้ชำนาญ รู้จักตัวเองและข้าศึก ย่อมมีชัยไป
เท่าตัวแล้ว สมรรถนะของอาวุธ .....รัสเซีย มีประสิทธิภาพสูงสุด
แต่หากไม่พร้อมรบจะเกิดไรขึ้น???? ถ้าเทียบสมรรถนะของ
อาวุธของอเมริกาที่ด้อยกว่า1ขั้น แต่มีการพร้อมรบกว่า
มีบุคคลากรที่รู้เทคนิคนี้เพราะเคยผ่านการใช้งานจริง มี expสูง
ความได้เปรียบจะตกอยู่กับใคร????
ถ้าคุณอ่านสามก๊กตอนที่ จูล่ง แก่ชรา ออกรบในบั้นปลายชีวิต
เพื่อปราบวุยก๊ก แม่ทัพวุย นาม ฮันเต๊ก ซึ่งชำญการใช้ขวาน
อายุน้อยกว่าจูล่งมากนัก พร้อมบุตรชายอีก4คนซึ่งชำนาญการใช้อาวุธ
แต่ละอย่าง และอยู่ในวัยฉกรรจ์ เข้ารบกับจูล่ง ที่แก่ชราแต่เจนศึก
ถุกสังหารทีละคน บุตรชาย4คนของฮันเต๊ก ถุกสังหารจนหมดถึง
และก้อถึงคราวของฮันเต๊กบ้างที่ถุกจูล่งสังหาร เกร็ดเล้กๆน้อยๆ
หลังจากเล่าปี่ตาย จูล่งก้อเงียบๆไป เปนราชองรักษ์วังหลวงแก่ฮ่องเต้
เล่าเสี้ยน จูล่งยังคงหมั่นฝึกซ้อมฝีมือ ตลอดมา ทั้งตแนนั้น5ทหารเสือที่เกรียงไกรเหลือเพียงเขาและม้าเฉียวโดยที่ ปณิธานของเล่าปี่ที่จะบุกตงง้วน ยังไม่บรรลุ เขาจึงพร้อมเสมอที่จะออกศึก จึงไม่แปลกเลยที่ จูล่ง
จะน้อยใจเมื่อขงเบ้งไม่ยอมเรียกใช้งาน แต่พอจูล่งถุกใช้ใปเป็นทัพหน้า
ประสพการและความพร้อมรบ ของจูล่งทำให้ มีชัยเหนือ ฮันเต๊กและบุตรชายทั้ง4 จน แฮหัวหลิมต้องใช้ กลอุบาลที่จะสังหารจูล่ง แต่บุญยังดีที่ จูล่งจะตายบนที่นอนใน จวน ดลใจให้กวนหินกะเตียวเปามาช่วยทันและยัง
ไล่ตีทัพวุยแตกกระเจิง ที่ผมกล่าว มาจะอ้างถึง ความพร้อม+ประสพการ สิ่งที่จูล่งมีคือ ความพร้อมรบ ประสพการ กำลัง(พอมี) แต่สิ่งที่เปนจุดด้อย คือ ความชรา
ฮันเตีกและบุตรทั้ง4คนมีคือ พละกำลังความสด ฝีมือ แต่สิ่งที่ขาดคือ ประสพการในการรบ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ข้าศึกที่เป็นระดับแม่ทัพแถวหน้า ที่โชกโชนการศึก
http://www.youtube.com/watch?v=kgSh5MWf54Y
คลิปจากภาพยนต์สามก๊ก ตอน จูล่งรบ 5นายพล
ประเด็นอยู่ที่เรื่อง
ของการที่หนูระบุว่าYF-17
ถูกออกแบบมาให้เป็นเครื่องโจมตีทางทะเลครับเท่านั้นเพราะตอนแรกนั้นออกแบบ
มาเพื่อ กองทัพอากาศครับ ไม่เถียงเรื่องความคล่องตัวและพิสัยการบินครับ เรื่องนี้ใครๆก็ทราบ
เพียงแต่ F/A18 E-F รุ่นที่ออกมาล่าสุดนี้การบินค่อนข้างจะอุ้ยอ้ายเพราะน้ำหนักเยอะ
ออกแบบมาให้บรรทุกอาวุธเพิ่มขึ้นครับ
ประวัติของทั้ง
2เครื่องมันที่มาอย่างนี้ครับ ปี 2515 ทางทอ.สหรัฐมีโครงการวิจัยพัฒนาเครื่องบินขับไล่น้ำหนักเบา
( Lightweight Fighter /LWF) และมีบริษัท 5
บริษัทเสนอแผนเข้าร่วมด้วยแต่ในที่สุด ทาง ทอ.สหรัฐฯ ได้เลือก บริษัทเยนเนอรัลไดนามิกส์
และบริษัทนอร์ธรอฟ โดยให้สร้างเครื่องต้นแบบขึ้น
บริษัทละ 2เครื่อง ครับ โดยYF-16เป็นของ บริษัทเยนเนอรัลไดนามิกส์ ส่วน YF-17เป็นของบริษัทนอร์ธรอฟ
ครับ
และการประเมิน ของ YF-16 และ YF-17 ได้ทำการบินประเมินในปี 2517 ซึ่งใช้ระยะ 12 เดือนในการประเมิน ผลออกมาก็คือ ทอ.สหรัฐเลือก YF-16
เมื่อ 13 มกราคม 2518 ครับ
เพราะสเป็คในตอนนั้นต้องการเพียงแค่จัดหาเครื่องบินบินขับไล่ครองอากาศ (
Air Superiorty Fighter) เท่านั้น
แต่พอได้ทดสอบเครื่องต้นแบบทั้ง 2เครื่องแล้ว
ก็เปลี่ยนวัตถุประสงค์ใหม่ไปเป็นเครื่องบินขับไล่ทำการรบทางอากาศ ( Air
Combat Fighter / ACF) และหลังจากนั้นเครื่องบินขับไล่ในโครงการนี้ก็ไก้รับการพัฒนาจนเลยวัตถุประสงค์และชื่อโครงการ
จนมันมีขีดความสามารถในการปฏิบัติการสนับสนุนหน่วยภาคพื้นดินและเป็นเครื่องขับไล่ทุกกาลอากาศครับ
ดังที่ทราบกันครับว่า
YF-17 แพ้ในการคัดเลือก แต่ต่อมาก็ได้รับการคัดเลือกและพัฒนาเป็นเครื่องบินขับไล่ประจำเรือบรรทุกเครื่องบินของทร.สหรัฐ
โดยใช้ชื่อว่า F-18ครับ
และยังได้รับคัดเลือกให้เป็น
บ.ขับไล่ของกองทัพอากาศแคนาดาและกองทัพอากาศออสเตรเลียครับ
เห็นหรือยังครับหนูประวัติของเครื่องทั้ง 2แบบนี้ มีที่มาที่ไปอย่างไรครับ ผมจึงบอกว่าให้ไปหาข้อมูลมาดีๆก่อน เพราะ YF-17
ไม่ได้ออกมาให้มาเป็นเครื่องบินโจมตีทางทะเล ตามที่หนูบอกมาแต่แรกครับ ถ้ายังไม่เข้าใจกลับไปอ่านซ้ำอีกรอบได้ตามสะดวกเลยครับ
แล้ว เอฟ/เอ-18 ทำการคุ้มครองกองเรือได้ดีจริงหรือ ? โดยเฉพาะ
เอฟ/เอ-18อี/เอฟที่จะมาทำหน้าที่แทนเอฟ-14ที่ชราภาพ เป็นที่รู้ๆอยู่ว่า
เอฟ-14 มีสมรรถนะที่ สุดยอดมากในการรบ อากาศ สู่อากาศ ตั้งแต่
ระยะนอกสายตา ที่มี จรวด เอไอเอ็ม-154 ที่ยิงไกลที่สุด และยังมี
เอไอเอ็ม-7 ระยะปานกลาง ถ้ายังเข้ามาในระยะในสายตายังมี เอไอเอ็ม-9 ไว้จัดการ แต่ผมสงสัยว่า เอฟ-14 มีปืนใหญ่อากาศ????? เพราะเอฟ-14
กำเนิดมาในยุคสงครามเวียดนาม ที่ทฤษฏีเครื่องบินขับไล่ไม่จำเปนต้องติดปืน เป็นข้อผิดพลาดอย่างใหญ่หลวง ที่สหรัฐได้รู้ซึ้งถึงการรบระยะสายตา ต่ำกว่า1 ไมลค์ เพราะผม ไม่แน่ใจว่า เอฟ-14เอ ที่ออกมาแรก จะมีปืนใหญ่อากาศหรือป่าว ขนาดเอฟ4อียังเป็นรุ่นแรกจากโรงงานที่มีปืนแกะกล่องติดมาด้วย แต่ผมมองว่า ถ้าเอฟ/เอ-18อี/เอฟจะทำหน้าที่
แทนเอฟ-14ด้วยประการหนึ่ง คือ ความสามารถในการรบระยะประชิด
ขนาดโครงการ เอฟ-35ของ ทอ.หรัฐ ที่จะมาประจำหารแทนเอฟ-16
สเปคที่ระบุไว้คือ ความสามารถ ในการรบระยะประชิดต้องไม่น้อยกว่า
เอฟ-16หรือมากกว่าขึ้นไป ถ้าต้องรบระยะประชิดกับซู-30 เอฟ/เอ-18อี
มิตายหรอกหรือ..............ไปให้น้องซูซี่ยิงเล่น
เป็นงั้นไป สุดท้าย เจเนรัล ไดนามิคส์ ก้อโดนลอคฮีดมาติน เทกโอเวอร์? แล้ว บริษัท แมคโดนัล ดักลาสไปไหนครับ สมัยก่อนผลิต
เครื่องบินรบชื่อดังๆ เล่น เอฟ4 เอฟ-15 หรือเข้ารวมกับโบอิ้งละครับ
นอร์ธทรอปกรัมแมน ก้อเข้ารวมกับโบอิ้ง??????? ทำไมแผนงาน
เครื่องบินเก่ามาทำใหม่ของ เอฟ-15 เอฟ/เอ-18 ถึงไม่มีเหมือน เอฟ-16
ครับ เช่น เอฟ-16มีแผนงาน MLU ACE ADF อัพเกรดระบบอาวุธ
แล้วมาขายให้ลูกค้า ในราคา ถุกๆ เช่น เอฟ-15เอ/บี ซี/ดี ที่ถุกเกบ
ใน ฐานทัพอากาสเดวิส มอนธาน หรือเอฟ/เอ-18 ก้อได้ ผมคิดว่า
สหรัฐใช้เครื่องบิน สภาพน่าจะดีกว่าประเทศไทยใช้นะครับ สหรัฐ
10-15ปีก้อเลิกละ ประเทศไทยใช้จนคุ้ม30กว่าปีเกิน มาตรฐาน ที่เขาออกแบบ ไว้ เอฟ-16 เอดีเอฟที่ไทยเราซื้อมา สภาพก่อนปรับปรุงผมว่าน่าจะดีกว่า เอฟ-16 ฝูง103 403 ก่อนจะทำ โครงการ falcon up อัพเกรดโครงสร้าง ผมว่า หากเรา ต้องการ เครื่องบิน โจมตีทางลึก
เอฟ-15เอ/บี/ซี/ดี/อี มือสองปรับปรุงใหม่ จะดีกว่ามั้ย??????
|
PALMDALE: Lockheed Martin and the U.S. Air Force Test Pilot School at Edwards Air Force Base, Calif., have successfully demonstrated an autonomous landing of the F-16 Fighting Falcon, marking the first time an F-16 has landed entirely under computer control.
The successful Autoland demonstration lays the foundation for consistent, repeatable and controlled automatic landings of the F-16 in various wind conditions and airfield situations. This Lockheed Martin-developed technology has broad applications for both manned and unmanned aircraft.
"The demonstration of an autonomous landing of an F-16 is evidence that Lockheed Martin is prepared to successfully implement autonomous control of Unmanned Combat Air Vehicle (UCAV)-type aircraft," said Frank Cappuccio, Lockheed Martins executive vice president and general manager of Advanced Development Programs and Strategic Planning. "Such technology, in concert with the skill and experience of todays warfighter, presents a formidable force against existing foes and provides a basis for further developing manned and unmanned vehicles that can meet the challenges facing the warfighters of tomorrow," he said.
The Autoland sequence is initiated during flight by an on-board safety pilot. Once the pilot moves to "hands-off" the aircraft controls, the F-16 is controlled by an onboard computer and guided through several phases of the landing sequence, culminating in a final approach to the runway touchdown point. The computer uses Lockheed Martin-developed algorithms to control the F-16s attitude, glide slope, airspeed, and descent rate via throttle and flight control inputs until the aircraft comes to a stop on the runway.
The USAF Test Pilot School provided full flight test resources for the demonstration, including the VISTA/F-16 (Variable Stability In-flight Simulator Test Aircraft), Calspan Corporation flight test safety pilots (under contract to the Test Pilot School), and testbed support and facilities. Lockheed Martin Aeronautics and the USAF Test Pilot School performed all activities in full partnership, from initial planning through implementation and test execution.
The USAF Test Pilot
School is the worlds premiere educational and training center of
excellence for theoretical and applied flight test engineering. Its
mission is to produce highly adaptive, critical thinking flight test
professionals to lead and conduct full-spectrum test and evaluation of
aerospace weapon systems.
แปลว่าไงอ่า