หน้าแรก    ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบคำถาม    เข้าสู่ระบบ      


เครื่องบินจะเหมาะสำหรับกองทัพไทยไหม

โดยคุณ : M16A4 เมื่อวันที่ : 12/12/2008 18:40:21

เนื่องจากปัจจุบันเครื่องบินโจมตีใบพัดกำลังได้รับความนิยมกับกองทัพอากาศประเทศต่างผมได้อ่านหนังสือนิตยสารแทงโกมาหลายเล่มแล้วโดยมีเรื่องเนื้อหาเกี่ยวกับเครื่องบินโจมตีแบบใบพัดของเอที-29 บี ซุเปอร์ ทูคาโน ของประเทศ บราซิล ซึ่งดูประสิทธิภาพแล้วน่าจะเหมาะกับกองทัพอากศของประเทศไทย เพราะสามารถติดอาวุธที่กองทัพอากาศมีประจำการอยู่ได้ และเหมาะกับภาวะเศรษฐกิจของไทยในต้องนี้กองทัพของเราได้มีการจัดหาเครื่องบินที่ผลิตจากประเทศบราซิลมาใช้ในกิจการทางทหารบ้างแล้วเช่นกองทัพเรือ,กองทัพบก ผมว่าเครื่องบิน ซุเปอร์ ทูคาโน น่าจะเหมาะที่จะจัดหามาใช้กับกองทัพของเรา




ความคิดเห็นที่ 1


Tango เป็นหนังสือที่น่าอ่านครับ ผมตามซื้อทุกเล่มมาตลอดในช่วง 3 - 4 ปีที่ผ่านมา และอ่านทุกคอลลัมน์ที่เกี่ยวกับการบิน แต่สิ่งที่อยากจะฝากคนอ่าน Tango อย่างนึงก็คือว่า บทความใน Tango เป็นบทความที่เกิดจากความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียน ดังนั้นเราต้องมานั่งคิดกลับด้วยครับว่าเราเห็นด้วยกับผู้เขียนหรือไม่ (หลายครั้งผู้เขียนก็เขียนผิด ผมอ่านเจออยู่เสมอ ๆ)

ผมยังไม่มีเวลาอ่านฉบับนี้เลยคัรบ แต่สำหรับเครื่องบินใบพัดโจมตีนั้น ต้องถามตัวเองก่อนครับว่าเราจะเอามาทำภารกิจอะไร? .... เราต้องกำหนดภารกิจก่อนจัดหาเครื่อง อย่าจัดหาเครื่องแล้วค่อยจัดภารกิจ .... บราซิลและประเทศลูกค้าของ AT-29 เป็นประเทศที่มีกลุ่มค้ายาเสพติดและกลุ่มก่อนการร้ายมากมาย กลุ่มพวกนี้มักจะใช้เครื่องบินเล็กในการขนยาเสพติด หรือมีค่ายฝึกและค่ายซ่องสุมกำลังขนาดใหญ่ ดังนั้นบราซิลจึงพัฒนา AT-29 ให้เป็นเครื่องบินโจมตีที่มีสมรรถนะสูงแต่ค่าใช้จ่ายต่ำเพราะพัฒนามาจากเครื่องบินฝึก ..... ประเทศผู้ใช้ AT-29 จึงใช้เครื่องบินไปในภารกิจการตรวจตราน่านฟ้าจากเครื่องบินขนยาเสพติดขนาดเล็ก ไปจนถึงการสนับสนุนทางอากาศโดยใกล้ชิดและการดจมตีค่ายฝึกผู้ก่อการร้าย

ประเทศเรามีภารกิจแบบนี้หรือไม่ครับ? .... สำหรับผมผมคิดว่าไม่มี เพราะผู้ก่อการร้ายในภาคใต้เป็นลักษณะของทหารบ้าน ไม่ได้มีลักษณะของกองทัพแบบในอเมริกาใต้ อีกทั้งเรายังไม่มีกลุ่มค้ายาเสพติดหรือสิ่งผิดกฏหมายที่มีประสิทธิภาพสูงขนาดนั้น ทำให้ผมมองว่าความจำเป็นที่จะจัดหามานั้นต่ำมาก .... เพราะภารกิจที่กองทัพอากาศต้องการเป็นการลาดตระเวนตรวจตราทางอากาศมากกว่า ดังนั้นความจำเป็นที่จะต้องการเครื่องบินใบพัดโจมตีติดอาวุธที่ทันสมัยจึงต่ำครับ การจัดหาเครื่องบินใบพัดลาดตระเวนไม่ติดอาวุธน่าจะมีความเหมาะสมมากกว่าในแง่งบประมาณและความเหมาะสมครับ

โดยคุณ Skyman เมื่อวันที่ 09/12/2008 21:00:58


ความคิดเห็นที่ 2


ในอนาคตอันใกล้นั้น บ.ที่มีภารกิจในการบินลาดตระเวน/ถ่ายภาพทางอากาศ หรือโจมตีเบาที่เป็น บ.ใบพัดเช่น บ.จธ.๒ AU-23A นั้นดูเหมือนว่าทางกองทัพอากาศจะสนใจที่จัดหา บ.UAV มาใช้แทนครับ

ซึ่งถ้ามองจากการรบในอดีตเช่นสงครามร่มเกล้าซึ่ง กองทัพอากาศได้ใช้ บ.โจมตีใบพัดแบบ บ.จ.๕ OV-10C ซึ่งใช้ได้ผลดีในการปราบ ผกค. แต่เมื่อใช้ในสงครามตามแบบกับกำลังประเทศข้าศึกกลับสูญเสียจาก SAM ประทับบ่ายิง จึงเห็นได้ว่ากองทัพอากาศในปัจจุบันนั้นจะใช้ บ.Jet ขนาดเบาอย่าง L-39ZA/ART หรือ Alpha Jet เป็น บ.โจมตีหลักครับ ซึ่งในอนาคตอันใกล้คงไม่น่าจะมีการจัดหา บ.ใบพัดโจมตีครับ

แต่อย่างไรก็ตามในอนาคตกองทัพอากาศน่าจะมีการจัดหา บ.ฝึกใบพัดสมรรถนะสูงเพื่อใช้ฝึกศิษย์การบินแทน CT-4 และ PC-9 เป็นต้นครับ ซึ่งแบบเครื่องน่าจะอาจจะจำมาใช้ในภารกิจลาดตระเวนหรือโจมตีเบาได้ด้วย แต่ส่วนตัวคิดว่ายังไม่มีความจำเป็นในขณะนี้ครับ

โดยคุณ AAG_th1 เมื่อวันที่ 09/12/2008 21:54:28


ความคิดเห็นที่ 3


Super Tucano ถูกออกแบบและพัฒนาขึ้นเพื่อให้สามารถใช้งานในประเทศบราซิล แน่นอนว่าระบบอวิโอนิกส์ดิจิตอลต่างๆ ใน Super Tucano ซึ่งประกอบด้วย จอภาพแสดงตรงหน้านักบิน (HUD), จอภาพสีทำงานหลายหน้าที่, คอมพิวเตอร์ภารกิจ, ระบบใช้อาวุธด้วยคอมพิวเตอร์, ระบบจีพีเอส และระบบสำหรับนักบินให้สามารถใช้แว่นมองกลางคืนเมื่อต้องออกปฏิบัตภารกิจ กลางคืน สำหรับอุปกรณ์ป้องกันตนเองได้รับการติดตั้งเครื่องแจ้งเตือนเมื่อถูกเรดาร์ ตรวจจับได้และเครื่องปล่อยแชฟฟ์เพื่อป้องกันตัวจากอาวุธนำวิถีต่อสู้ อากาศยาน ระบบต่างๆ ต้องสามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพในสภาพอากาศร้อนและชื้น ซึ่งคล้ายกับสภาพอากาศในประเทศไทย ปัญหาเกี่ยวกับสภาพอากาศนี้เคยเกิดขึ้นกับระบบอวิโอนิกส์ของเครื่องบินโจมตี Hawk 100/200 ของมาเลเซียมาแล้ว ภายในเครื่อง Super Tucano ยังติดตั้งอุปกรณ์เพื่อให้สามารถตรวจหาข้อผิดพลาดหรือตรวจเช็คระบบต่างๆ ภายในเครื่อง โดยไม่จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์ตรวจสอบจากภายนอก ปัจจัยนี้เป็นสิ่งที่ไม่อาจจะมองข้ามไปได้สำหรับเครื่องบินลาดตระเวนติด อาวุธ / โจมตีเบา ซึ่งอาจจะต้องไปวางกำลังตามสนามบินส่วนหน้าซึ่งไม่มีอุปกรณ์สนับสนุนภาคพื้น ดินเพียงพอ ซึ่ง Super Tucano เองก็สามารถออกปฏิบัติการจากสนามบินส่วนหน้าได้เป็นอย่างดี แม้ว่าจะเป็นทางวิ่งที่เป็นหญ้าก็ตาม เนื่องจากเครื่องยนต์ เทอร์โบพรอพ ขนาดแรงขับถึง 1,600 แรงม้า โดยใช้ทางวิ่งขึ้นเพียง 350 เมตร และ 550 เมตรในการลงจอด นอกจากนี้ Super Tucano สามารถใช้งานในภารกิจเวลากลางคืนได้เป็นอย่างดี โดยได้รับการติดตั้งอุปกรณ์อินฟราเรดสำหรับใช้ในการตรวจการณ์ในเวลากลางคืน บริเวณใต้ลำตัว จะเห็นได้ว่า Super Tucano ถูกพัฒนาให้มีขีดความสามารถในการรบเป็นอย่างดี ในสนนราคาประมาณ 5 ล้านเหรียญสหรัฐ ต่อเครื่อง นับว่าไม่แพงจนเกินไปสำหรับกองทัพอากาศไทย
เครดิต : คุณ vasin แห่ง wing 21 ครับ
โดยคุณ logon เมื่อวันที่ 09/12/2008 22:17:56


ความคิดเห็นที่ 4


....หากนำมาใช้โจมตีข้างต้น ต่อเป้าหมายที่ไม่มีการคุ้มกันหนาแน่น หรือ ทำความเสียหายกับเป้าหมายในราคาที่ถูกล่ะก็  ทูคาโน่ หรือ แม้แต่ โอวี-10 ก็ทำได้เช่นกัน

....แต่หากนำมาใช้ในการรบกับกองกำลัง(ประเทศเพื่อนบ้าน)ที่มีขีดความสามารถในป้องกันทางอากาศด้วยระบบ ปตอ.20ม.ม.ขึ้นไป หรือ แซมใดๆ บ.จ.ใบพัดจะเสี่ยงเป็นอย่างยิ่งต่อการโดนสอย น่ะครับ  ซึ่งตรงนี้ บ.ข/จ ไอพ่นมีความอ่อนตัวกว่า ในการทำลายเป้าหมายที่มีการป้องกันด้วย ปตอ. หรือ แซม 

โดยคุณ MIG31 เมื่อวันที่ 09/12/2008 22:22:14


ความคิดเห็นที่ 5


คือถ้าจะพูดกันจริงๆ เครื่องบินโจมตีของเราฝูงต่อๆไปควรเป็นเครื่องบินเจ็ทครับ....................................และที่เหมาะสมที่สุด จะเป็นประเภทเจ็ทเบาฝึกขั้นสูงด้วย......................

 

ถ้ามองจำนวนและขีดความสามารถของเครื่องที่เรามี จะเห็นว่า เอฟ-16 สามารถทำได้ครอบจักรวาลแล้ว โดยเฉพาะภารกิจโจมตี เธอทำได้เยี่ยมมาก ................ดังนั้นจะมีก็แต่ภารกิจสนับสนุนการรบ .................. ซึ่งถ้าจะว่ากันไป สมรภูมิการรบทางบกของเราที่ไกลที่สุดคงอยู่แถบชายแดน  ด้วยเหตุนี้ พิสัยบินแล นน.บรรทุกไม่จำเป็นต้องมหึมา.................... คือถ้าจะว่ากันไป ได้เอ-10 ก็คงสวยระเบิด แต่ถ้าเอาให้สบายกระเป๋า ขนาดอัลฟ่าเจ็ทแค่นี้ก็หรูแล้ว............................ เรด้าร์ไม่ต้อง  เลเซอร์ก็ไม่จำเป็น.................. โล้นๆเพียวๆ  หรือจะให้ดีไปอีกติดระบบนำร่องด้วยแรงเฉื่อย โฮ๊ะ ...... โก้ปานห่าน.....................

ถามว่าทำไมมาเลย์ถึงเลือกฮอว์ค 200  .................... เพราะกำลังรบหลักของเขาเวลานั้นคือ มิก-29 ใครก็รู้ ฟัลครั่มเป็นเครื่องบินป้องกันภัยทางอากาศ.............ครั้นเอฟ-18 ซึ่งโจมตีได้ก็มีจำนวนเล็กน้อยแถมภารกิจหลักเขาวางไว้คือโจมตีทางทะเล  ...............................

 ด้วยเหตุนี้ เครื่องโจมตีของเขาจะไม่เพียงโจมตีสนับสนุนการรบได้อย่างเดียว  ยังต้องโจมตีขัดขวางได้อีกด้วย...........ฮอว์ค200 คือคำตอบ........................ ฮอว์ค200มีเรดาร์ มีระบบนำร่องที่ไม่ด้อยไปกว่าเอฟ-16    ซึ่งถ้ามองกันจริงๆแล้ว การนำไปใช้ในภารกิจสนับสนุนการรบดูจะไม่คุ้มค่า  คือดูจะเว่อร์ไปสักหน่อย.......................

 ดังนี้ ตราบใดที่เรายังประจำการด้วยเอฟ-16 เราจะมีเครื่องบินโจมตีที่มีลักษณะเหมือนอัลฟ่าเจ็ท หรือแอล-39 หรืออาจเป็น ฮอว์ค100.....................ไม่มีทางที่จะดีโด่อะไรไปกว่านี้แน่นอนครับ.....................................

โดยคุณ กบ เมื่อวันที่ 10/12/2008 07:50:07


ความคิดเห็นที่ 6


ทีนี้เราลองมามอง สิงคโปร์บ้าง  เคยสงสัยใหม  ทำไมเครื่องบินฝูงใหม่ที่มาแทน สกายฮอว์ค จึงไม่ใช่เครื่องบินสนับสนุนการรบ.....................

ผมมองแล้ว ยังไง้ ยังไง สิงคโปร์นี่เลียนแบบกำลังทางอากาศของอิสราเอลมาเด๊ะๆ.........................

เหมือนกันด้วยยุทธศาสตร์ สำหรับประเทศเล็กๆ ประชากรน้อย(กว่าข้าศึก)   การจัดกำลัง จะต้องเน้นไปที่คุณภาพ  ชกในจังหวะหนึ่ง  นั่นคือ ชิงทำก่อน ชกก่อน เผด็จศึกให้ได้ก่อน......................... เรื่องจริงมีอยู่ว่าการรบด้วยเวลาอันยืดเยื้อ ตัวเล็กมันจะเหี่ยวแฟ่บลงไปเอง ภาษามวยเค้าเรียกว่าไม่ทนแรงเบียด  เหมือนญี่ปุ่นรบกับไอ้กัน  คู่นี้จริงๆต้องบอกว่ามวยคนละรุ่น ติดตรงที่ว่า ญี่ปุ่นจัดเป็นมวยชั้นดี ฝีมือชกจัดจ้าน (เหมือนเลียวหนาดชกกะไอ้ยักษ์ผมทอง มิดเดิ้ลเหวต ชกกะเอฟวี่เหวต มันส์โคตรๆ เป็นศึกที่ผมจำได้ตราบจนทุกวันนี้)  ดังนี้นายพลยามาโมโต้จึงเคยบอกไว้ในที่ประชุมกองทัพว่า ต้องเผด็จศึกไอ้กันให้ได้ภายในหกเดือน มิเช่นนั้น กองทัพเรือของจักรพรรดิ์จะต้องปราชัย(ไอ้กันกะญี่ปุ่นมีมหาสมุทรแปซิฝิกเป็นเขตกั้น ดังนั้นยุทธศาสตร์การรบจึงลงไปอยู่ในทะเล)   ว่าแล้วจึงชิงลงมือ ทุบไอ้กัน เสียงดัง บึกซ์ ซ์ ซ์   ใหญ่ ที่เพิล ฮาเบอร์.......................

ต่างกันนิด ตรงที่อิสราเอลอยู่ในทะเลทราย  กำลังยานเกราะดูจะสำคัญไม่น้อย  แต่พี่สิงไม่ต้อง   มีดมันจ่อที่คอหอยแล้วไม่มีอะไรมากั้น  ทางเดียวคือ การใช้กำลังทางอากาศที่มีขีดความสามารถรุนแรงที่สุด บินรบในอากาศได้นานที่สุด ครองอากาศให้ว่อนด้วยความถี่มากที่สุด เป็นหัวหอกในการรบ ......................... ง่ายๆ คือว่า กำลังทางอากาศเป็นพระเอกตัวจริง ไม่ใช่ตัวประกอบ ประเภทบินไปทอยระเบิดให้พวกทหารราบ เหมือนของเรา.........................

ดังนี้พี่สิงค์ จึงมี เอฟ-16 เอฟ-15 เอาไว้ทุบข้าศึก  ส่วน อาปาเช่ อันนั้น ขอให้นึกถึงรถถังบินได้  ภารกิจเหมือนรถถัง ดีตรงที่บินได้...................จบ

โดยคุณ กบ เมื่อวันที่ 10/12/2008 08:48:20


ความคิดเห็นที่ 7


สำหรับ CAS นั้น ความแม่นยำ ถือว่าสำคัญครับ  และที่สำคัญที่สุดก็คือ  การยืนยันเป้าหมายและนำเครื่องเข้าได้ถูกต้อง......ต้องเป็นเกมส์ทั้ง2ฝ่าย  ทั้งตัวนักบินและก็ทหารเดินดินที่อยู่ในยุทธบริเวณ...........ตัวนักรบเดินดิน ต้องกำหนดเป้าหมาย  ให้ข้อมูล เพื่อนำเครื่องเข้าหาเป้าหมายได้แม่นยำถูกต้องและปลอดภัย(ที่สุด)  ดังนั้นตัวนักรบเดินดินก็น่าจะต้องเข้าใจพื้นฐานของยุทธวิธีการรบของเครื่องบิน.....เมื่อผู้นำทางดีแล้ว สิ่งที่ตามมาก็คือ ตัวสไตรเกอร์ ก็ต้องแม่นยำด้วยเช่น  และก็จำเป็นต้องเข้าใจพื้นฐานของยุทธวิธีการรบของนักรบเดินดิน....

โดยคุณ FW190 เมื่อวันที่ 10/12/2008 12:42:38


ความคิดเห็นที่ 8


ปัจจุบัน  ทอ. จะมี ชุดผู้ควบคุมอากาศยานหน้า สำหรับส่งไปประจำอยู่กับ กองพันดำเนินกลยุทธ เพื่อช่วยในการประสานงานในการใช้งานกำลังทางอากาศรวมถึงการทำหน้าที่เป็น GFAC ด้วย.....แต่ในทางปฏิบัติแล้ว เมื่อต้องเจอกับภูมิประเทศป่าภูเขา(เป็นส่วนใหญ่เสียด้วยสิ)  ชผคน. ซึ่งมีเครื่องมือพร้อมรถฮัมวี่ 1 คันนั้น จะติดตามหน่วยดำเนินกลยุทธที่ต้องปีนเขาฝ่าดง ไปได้ขนาดไหน   บทเรียนในร่มเกล้า   ผตน.ของป. ไม่สามารถเข้าที่ตรวจการณ์ที่เหมาะสมกว่าเมื่อต้องเจอกับป่าภูเขาได้เพราะอะไร..........ในทางปฏิบัติที่น่าจะเหมาะสมและน่าจะเป็นในภาวะการปัจจุบันแล้ว  ก็คือ  หน่วยในแนวหน้าส่งข้อมูลพร้อมคำขอมาให้ ชผคน. (GFAC)   ชผคน. จะโอนถ่ายข้อมูลกับ AFAC อีกที แล้ว ทั้ง AFAC และ GFAC ก็จะช่วยกันนำทางและควบคุมให้ สไตรเกอร์เข้าโจมตีที่หมาย  แต่ปัญหาจะเกิดทันทีถ้า GFAC ไม่สามารถพาตัวเข้าตำบลที่สามารถตรวจการณ์ได้ทั้งเป้าหมายและตัวอากาศยานที่เป็นสไตรเกอร์เอง  เพราะท้ายที่สุดผู้ที่จะสั่งให้ สไตรเกอร์ ปลดอาวุธ(Clear Hot)หรือยกเลิกได้(Abort)ก็คือ GFAC หรือ ชผคน. นั่นเอง   ถ้าGFAC ไม่เห็นเป้าและเครื่อง และยังสั่งปลดอาวุธแล้วละก็  ความเสี่ยงที่จะระเบิดจะหล่นใส่กระบาลพวกเดียวกันก็มีสูง........ดังนั้น ถ้าการโจมตีใช้ LGB และให้กำลังภาคพื้นชี้เป้าให้ด้วยเครื่องอาบเลเซอร์แล้วละก็จะดีไม่น้อย  เพราะกำลังภาคพื้นจะฉายเลเซอร์ได้ก็หมายความว่า เขายืนยันเป้าแล้ว และLGB ก็มีความแม่นยำสูงพอใช้ได้............แต่สุดท้ายแล้วถึงมีเครื่องมือ  แต่สิ่งที่ต้องมีด้วยคือการฝึกร่วมกันอย่างจริงจัง....ฝูงบินที่ทำหน้าที่ CAS ก็คงฝึกได้แค่เป็น AFAC และสไตรเกอร์   แต่ที่เลวร้ายกว่าคือ  นักรบเดินดินเองไม่เคยฝึกเลยด้วยซ้ำ(ยกภาระให้ ชผคน. ทั้งหมด).....แล้วจะรบร่วมกันรูปแบบไหนเนี่ย..............เออ เกือบลืม  เครื่องโจมตีในภารกิจ CAS ความทันสมัยเพื่อเพิ่มความแม่นยำ ยังเป็นสิ่งจำเป็น และถ้าก้าวขั้นไป Urban CAS ด้วยแล้ว ความแม่นยำยิ่งเป็นสิ่งที่จำเป็นมากๆ  และที่สำคัญ มันเป็นการรบแบบเป็นทีมของทั้งสองเหล่าทัพ การฝึกร่วมกันจึงจำเป็น    บทเรียนจากการรบก็มี  แต่.....................................

โดยคุณ FW190 เมื่อวันที่ 10/12/2008 13:04:23


ความคิดเห็นที่ 9


ลำปาง หนาวมากกกกกกกกกกกกกกกก

แรกๆๆ เหมื่อนจะคุยเรื่องเดี่ยวกันนะครับ

หลังๆๆ อะไรก็ไม่รุ้

โดยคุณ viper เมื่อวันที่ 12/12/2008 05:43:11


ความคิดเห็นที่ 10


ผมคงอธิบายอ้อมค้อมไป......เอาตรงๆก็ได้.....เครื่องบินอะไรก็ได้ที่รองรับระบบอาวุธที่มีความแม่นยำ  เพราะเครื่องโจมตีเบาภารกิจหลักมันคือ CAS ....และที่สำคัญ มันต้องฝึกด้วย  และต้องฝึกร่วมกัน เพราะ CAS มันไม่ได้รบแค่ ทอ. เหล่าด้วย(รวมถึงทบ.ก็ไม่ได้รบเหล่าเดียวด้วยเช่นกัน)  มันต้องรองรับทั้ง สองฝ่าย  เครื่องทันสมัยจริงใช้ระเบิดนำวิถีแม่นยำจริง แต่ถามว่า เป้าที่ HIT นั่นนะใช่เป้าจริงๆที่ต้องการหรือไม่ ตรงนี้มีเพียงนักรบเดินดินเท่านั้นที่จะยืนยันเป้าหมายได้ เพราะเห็นเป้าชัดเจน.....โจมตีโดนเป้าที่เล็งแต่ผิดเป้าหมายที่ต้องการ มันก็ไร้ค่า......ซุปเปอร์ทูคาโน่ ถ้ารองรับระบบอาวุธและอุปกรณ์ช่วยสำหรับ CAS มันก็โอเคละครับ................แต่ยังไงถ้าใช้  LGB ในภารกิจ CAS นั้นให้ภาคพื้นเป็นคนชี้เป้า(ด้วยเลเซอร์)ให้จะชัวร์กว่า  ซึ่งปัจจุบัน ทบ. ไม่มีของ และที่แย่กว่าคือไม่มีการฝึก.......ลองอ่านดีๆจะรู้ว่ามันเกี่ยวกันแบบลึกๆ 5555555

โดยคุณ FW190 เมื่อวันที่ 12/12/2008 07:40:24