1. เรดาร์อำนวยการรบ , ระบบอำนวยการรบ , เรดาร์ 3D คืออันเดียวกันหรือป่าวครับ
2. 2D กับ 3D เป็นคุณสมบัติอะไรของเรดาร์ครับ
3. เรือที่ต่อตามมาตรฐานพาณิชย์ (เช่น OPV ของเรา) แตกต่างกับเรือที่ต่อตามมาตรฐานทางทหารมากมั๊ยครับ
4. เพราะเหตุใดเรือ OPV จึงใช้มาตรฐานเรือพาณิชย์ในการต่อ
3.และ4. เหตุผลสำคัญคือราคาครับ เรือรบผิวน้ำที่ต่อโดยใช้มาตรฐานทางทหารนั้นจะต้องใช้วัสดุและTechonology ในการต่อขั้นสูงทำให้มีราคาแพงครับ โดยเรือ ตกก. นั้นโดยมากจะเป็นเรือที่ออกแบบมาสำหรับการปฏิบัติการในภัยคุกคามระดับต่ำ เช่นการตรวจตราน่านน้ำในยามปกติ การปราบปรามการกระทำที่ผิดกฏหมายเช่นค้าของเถื่อกลางทะเลหรือปราบโจรสลัด เพราะฉนั้นตัวเรือที่ใช้บางแบบจึงมักจะเป็นการต่อในมาตรฐานเรือพานิชย์ ซึ่งเรือที่ต่างจากเรือที่ต่อในมาตรฐานทางทหารซึ่งจะออกแบบให้ทนต่อการโจมตีตัวเรือในภาวะสงครามโดยตรงมากกว่าเช่น การทนแต่แรง Shock สะเก็ดระเบิด ทุ่นระเบิด หรือจนถึงสงคราม นชค. เป็นต้นครับ ซึ่งภารกิจตามปกติของเรือ ตกก.ไม่จำเป็นต้องใช้เรือในมาตรฐานระดับนั้นครับ
ระบบอำนวยการรบ คือ ระบบที่ทำให้การรบทำได้แม่นยำ ดังนั้น ระบบอำนวยการรบจึงจำเป็นต้องมีข้อมูลป้อนเข้าไปเพื่อประมวลเป็นภาพเหตุการณ์ต่อเนื่อง (เหมือนเราเป็นพี่เลี้ยงนั่งดูนักมวยชก เราจะรู้ว่าสภาวะการอย่างถูกต้องตรงทิศตรงที่ตรงเวลา เราก็สั่งให้นักมวยชกอย่างที่เราต้องการ)................. ข้อมูลที่ป้อนให้ระบบอำนวยการรบจึงได้มาจากระบบเซ็นเซ่อร์ต่างๆ ได้แก่ ระบบพิสูจน์ฝ่าย เรดาร์ โซน่าร์ อีเอสเอ็ม ออปโตรนิคส์ ดาวเทียม และลิ้งค์ต่างๆ ................... เราจะชกกับใครสักคน เราต้องมีระบบอำนวยการรบ ระบบสร้างจินตนาการที่สมองประมวลผลและตัดสินใจที่จะทำอะไร จะชกเวลาไหน จะวิ่งหนีเมื่อไหร่ โดยการประมวลผลจะรับข้อมูลมาจากระบบเซ็นเซ่อร์ได้แก่ ตา หู ตะหมูก (ลิ้นไม่ต้อง) สัมผัสผิวหนัง.....................เช่นนี้เป็นต้น...................
เรดาร์อำนวยการรบ คือ เรดาร์ที่ส่งข้อมูลละเอียดไปให้ระบบอำนวยการรบ ดังนั้น เราดาร์อำนวยการรบจึงเป็นแบบดีที่สุดเท่าที่ระบบนั้นๆจะมีได้......................... หลักการทำงานของเรดาร์คือการส่งคลื่นแม่เหล็กออกไปรอจนสะท้อนกลับมา บวกลบหักกลบเวลาก็จะรู้เป็นระยะทาง...................... ทีนี้ถ้าเป็นแบบ 2 มิติ การทำงานจะหมุนกวาดเป็นรอบ ข้อมูลที่ได้รับก็คือ ทิศทางเป็นวงกลมของเป้าโดยมีเราเป็นจุดศูนย์กลาง ประกิตเค้าเรียก อะสิหมูด และอีกอันก็คือระยะเป้า.............................. จะเห็นว่าถ้าเป็นเป้าหมายภาคพื้น แค่นี้ก็เพียงพอแล้ว..................คือรู้ทิศรู้ระยะ เอาไปใช้เป็นข้อมูลอำนวยการรบเท่านี้พอ.........แต่................มีต่อ................
ถ้าเกิดข้าศึกหรือภัยคุกคามมันลอยอยู่เหนือพื้นได้ อีนี้หล่ะปัญหา........................... รู้ว่าข้าศึกเหาะมา รู้ทิศ รู้ระยะ แต่ไม่รู้สูง.................... อันนี้ต่อให้ระบบอำนวยการรบเจ๋งแม่นยำเรียวไทม์แค่ไหน ข้อมูลไม่ซับผอร์ท ก็เสียของ.........................
เราจะเห็นว่า เรือบรรทุกเครื่องบินลำเดียวของเราติดเรดาร์สามมิติ เพราะจะได้ใช้เป็นข้อมูลให้ระบบอำนวยการรบ คือรู้ทิศ รู้ระยะ รู้สูง ระบบจะสั่งให้ใช้อาวุธเพื่อรับต่อภัยคุกคามได้ทันท่วงที จะส่งเครื่องบินอะไรขึ้นไปสกัด จะใช้อะไรยิง จะยิงเมื่อไหร่ ยิงทิศทางไหน อย่างนี้เป็นต้น...............................
ข้อต่อไป ................. มาตรฐานการต่อเรือ ว่าด้วยทางตะหาร กะ ทางพานิชย์ มีหลัการพื้นฐานง่ายๆ ตรงที่พานิชย์ก็คือทั่วๆไป ลอยน้ำได้ วิ่งไปได้ บรรทุกได้ ทนทะเลได้ อันนี้พอ...................... มาตรฐานทางตะหารตั้งอยู่บนเงื่อนไขที่ต้องใช้แรงมากกว่า คือ สามารถใช้งานได้ในสภาวะการสู้รบ..................... คือนอกจากวิ่งปุเลงๆได้ ยังต้องทนมือทนเท้าด้วย....................... มาตรฐานอาจกำหนดให้ใช้เหล็กที่มีความหนา หรือมีความเหนียวมากกว่า (ลูกปืนตก หรือตอปิโดระเบิดใกล้ๆ อาจไม่แตกออกเหมือนโอ่งมังกรถูกมอตะไซด์ล้มทับ) การมีระบบเครื่องช่วยเอาตัวรอดในภาวะคับขัน เช่นระบบดับเพลิง ระบบป้องกันการทะลักของน้ำ อะนี้เป็นต้น.....................................ดังนั้นจะเห็นว่า มาตรฐานพานิชย์ กะของตะหารก็ต่างกันมากอยู่ ราคามันจึงต่างกันโข...........อ่ะนะ
เหตุผลที่โอพีวีใช้มาตรฐานพานิชย์คือ "ต้องการความประหยัด" จริงๆแล้วต้องไปเริ่มที่คอนเส็ปก่อน......................... แนวคิดมีอยู่ว่า เกิดความต้องการเรือชนิดหนึ่งซึ่งสามารถลาดตระเวณน่านน้ำที่ห่างฝั่งในภาวะปกติ(ไม่ใช่ภาวะสงคราม) โดยสามารถรับมือกับภัยคุกคามระดับที่ไม่สูงมาก ประเภทเรือสลัด หรือเรือติดอาวุธขนาดเบาได้ .................การใช้เรือรบแท้ๆประเภทผูกไท้ใส่สูทลำใหญ่ๆ ออกลอยลำไปยิงเรืออีแปะอีโปงนั้น เหมือนขี่ช้างจับตั๊กแตน.......................ก็เลยแผนแบบเรือใหญ่ทนทะเลสูง แต่มีราคาถูก ติดอาวุธที่มีความรุนแรงพอจะเอาชนะเป้าหมายที่ได้กล่าวไว้ได้...........................ก๊อด้วยราคาถูกนี่แหล่ะ เลยต้องต่อด้วยมาตรฐานพานิชย์.......................... ดังนั้น เพื่อนๆที่เชียร์กันจัง ให้โอพีวี ของเราติดนั่นติดโน่นติดนี่ อันนี้ต้องมาทบทวนกันหน่อยแล้ว.........................ระบบอาวุธนั้นเป็นที่ทราบดีว่าราคาไม่ถูก บางอันแพงหูดับตับแตก................................ อาวุธดี ยังต้องการระบบซับผอร์ทที่ดี รวมๆแล้วมูลค่ามหาศาล............แต่ทีนี้มาตั้งอยู่บนเรือที่มีมาตรฐานความอยู่รอดต่ำ.....................อันนี้บางทีมันจะไม่คุ้ม เหมืนฝากสินค้ามูลค่าเป็นร้อยล้านไปกับสิบล้อฮีโน่หัวยาวกระบะไม้ ของ ส.สินชัยขนส่ง ไม่รู้โชเฟ่อร์ม้าถีบ ทั้งรถทั้งสินค้าจะลงข้างทางเมื่อไหร่..................................
ขออภัยครับพี่น้อง...........ที่บอกว่า เรือบรรทุกบ.ลำเดียวที่ติดเรดาร์สามมิติ ..........อีนี้สั้นไปหน่อยเดี๋ยวเข้าใจผิด......................
จริงๆต้องบอกว่า เป็นเรือลำเดียวที่มีเรดาร์ตรวจการณ์พิสัยไกลสามมิติ....................
ถ้าท่านสังเกตุ รล.นเรศวร ท่านจะเห็นเรดาร์ตรวจการณ์พิสัยไกล สองมิติแบบ แอลดับบลิว-08 มีจานใหญ่ๆสานๆ อยู่กระโดงหลัง อันนั้นใช้ตรวจการณ์พิสัยไกล คือรู้ทิศ รู้ระยะเป้า ไม่ว่าบินได้หรือบินไม่ได้ คือเป็นข้อมูลดิบว่ามีเป้าหมายเข้ามาแล้วนะเฟ้ย ทิศนี้ระยะเท่านี้ สูงเท่าไหร่ตูไม่รู้ เตรียมตัวให้ดีละกัน............................. เอาหล่ะ ทีนี้ต่อไปก็เป็นหน้าที่ของเรดาร์อำนวยการรบ ในเรือชั้นนี้เรดาร์เป็นของจีน ใช้ควบคู่กับระบบอำนวยการรบจีน เรดาร์ตั้งอยู่บนกระโดงหน้า ตอนบนเก๋งสะพานเดินเรือ ตัวนี้แหละคือทีเด็ดที่สุดเท่าที่เธอมี ............... แต่ถ้าเป็นชุดเจ้าพระยา จานเรดาร์ตัวใหญ่ตัวเดียวนั้นเป็นเรดาร์อำนวยการรบ(ระบบอำนวยการก็เป็นของจีนเหมือนกัน) แต่ชุดนี้เธอไม่มีเรดาร์ตรวจการณ์พิสัยไกล ตาสั้น(ตาถั่ว)...................................
ในอนาคตถ้าหากข่าวการเปลี่ยนระบบอำนวยการรบของเรือหลวงนเรศารเป็นจริง เราจะเห็นการเปลี่ยนแปลงของจานสายอากาศเรดาร์ตัวหน้า..................................
ส่วนในภาพนี้เป็นจานสายอากาศเรดาร์ตรวจการณ์สามมิติบนเรือจักกรีนฤเบศร มีคำถามว่าตัวใหนเป็นเรดาร์อำนวยการรบ ตัวกลมๆด้านข้างหรือเปล่า หรือว่าไม่มี ใช้ของสามมิติตัวใหญ่ตัวเดียว.................. แต่จะว่าไปเรือชั้นนี้ก็ไม่ได้มีอาวุธอะไรไว้ต่อกรมาก ระบบน่าจะใช้เพื่ออำนวยการให้อากาศยานมากกว่า
ไหนๆก็ไหนๆ ..................... ขออนุญาต ท่าน จขก. โซโล่ ว่าด้วยเรื่อง เรดาร์ตรวจการณื เรดาร์อำนวยการรบเลย.................
อีนี้มาต่อกันที่ อดีตสุดยอดเรือป้องกันภัยทางอากาศของ ทร. ภาพนี้ แสดงให้เห็นเรดาร์ตรวจการณ์พิสัยไกลสองมิติ ดีเอ-05 อยู่ด้านหลัง ส่วนเรดาร์อำนวยการรบจานสายอากาศอยู่ใต้โดมเรดาร์ควบคุมการยิงแบบ เอ็มดับบลิว-25 .....................
^
ขอแทรกนิดหนึ่งครับท่านกบ ตัวข้างบนนั้นใช้ stir รึเปล่าครับท่าน
ขอบคุณลุงกบ และ ท่าน AAG_th1 มากเลยครับ
ยังสงสัยอีกว่า อย่างกรณีของเรดาร์ตรวจการณ์ทางอากาศระยะไกล กับ เรดาร์ตรวจการณ์อากาศ/พื้นน้ำ จะมีการทำงานที่ซ้ำซ้อนกันหรือป่าวครับ หรือว่ารับส่งกันเป็นทอดๆ
Radar ค้นหาเป้าหมายพื้นน้ำ/อากาศของเรือชุด ร.ล.นเรศวร นั้นคือ Type 360 ของจีนครับ ซึ่งจะทำทำงานร่วมกับระบบอำนวยการรบ ZKJ-3T ของจีนเช่นกัน โดย Radar แบบ Type 360 นี้เป็น Radar ที่ถูกติดตั้งใช้งานกับเรือรบผิวน้ำหลักหลายแบบที่จีนต่อในช่วงปี 1990sครับ เช่น เรือพิฆาตชั้น Type 052 Luhu, เรือพิฆาตชั้น Type 051B Luhai, เรือฟริเกตชั้น Type 053H3 Jiangwei เป็นต้น ซึ่ง Radar นี้มีนักวิเคราะห์ว่าจีนลอกแบบมาจาก RAN-10S ของอิตาลีครับ
Radar ควบคุมการยิงของเรือชั้น Long Beach มีการติดตั้งหลายระบบครับเช่น AN/SPG-49 สำหรับควบคุมอาวุธปล่อยพื้นสู่อากาศ Talos 2ระบบ และ AN/SPG-55 สำหรับควบคุมอาวุธปล่อยพื้นสู่อากาศ Terrier 4ระบบ รวมถึงยังมี AN/SPS-33 สำหรับใช้ติดตามเป้าหมายครับ
คุณกบมีบล็อกส่วนตัวหรือเปล่าครับ ...
แหม่.....เสียดายนะครับกับการตอบกระทู้หรือบทความที่คุณกบนำเสนอมีแต่โดนใจทั้งนั้น ถ้านำมารวบรวมเก็บไว้ก็จะดีไม่น้อย......ยังไงๆ ถ้าเปลี่ยนใจคิดจะทำก็อย่าลืมแจ้งให้ทราบด้วยนะครับ....จะขอมาเป็นผู้ติดตามซะหน่อย