http://www.pantip.com/cafe/library/topic/K7281030/K7281030.html
จากเว็ปพันทิป ห้องสมุด เห็นว่าน่าสนใจค้า ประวัติศาสตร์เกี่ยวกับปืนใหญ่
จัดเป็นหนังสือหายาก (มากถึงมากที่สุดเล่มหนึ่งครับ) ขนาดคนในกองทัพเอง เท่าที่ทราบมา ตอนแรก ๆ ยังได้ไม่ครบก็มีครับ หายากมาก ๆ ครับ
อะไรผู้กองยังอยู่อีก
555
Master and Commander: The Far Side of the World (2003) <--- เรื่องนี้ก็มีครับ และจะเห็นผลจากปืนใหญ่โบราณเหมือนกันครับ (เด็กเรือโดนตัดขา)
ขอเสริมคุณ Champ ครับ
เหรา ๒ | [เห-รา] น. สัตว์ในนิยายมีรูปครึ่งนาคครึ่งมังกร ครับ |
สำหรับกระสุนลูกแตกนั้น ถึงแม้ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เราก็ยังไม่ได้บรรจุเข้ามาใช้เสียทีเดียวนะครับ ฝรั่งเศสคิดได้ และ นำมา(อาจจะมีนัยทางการเมืองแฝงหรือเปล่า ?)
สุดท้ายก็ไม่ได้ใช้ครับ แต่ทางสยามได้สืบทราบ จึงมีการขอร้อง (แกมบังคับ) จนในที่สุดฝรั่งเศสต้องทดลองยิงให้ดูครับ
ปืนลูกแตกที่มีบันทึกไว้ อย่างเป็นหลักฐาน ก็น่าจะเป็นยุค ร.4 แล้วครับ คราวสงครามที่ไปตีเชียงตุง โดยกองหลังที่ได้รับการฝึกแบบทหารสมัยใหม่ ถ้าจำไม่ผิดจะคุมไปโดย ร้อยเอก ยอร์ช น๊อก(ต่อมาได้เป็น กงศุลอังกฤษประจำสยาม ) ได้ใช้กระสุนปืนลูกแตก เข้ารบกับ ทัพพม่าในคราวนี้ครับ แต่เนื่องจากการจัดกำลังหน่วยยังน้อยอยู่ จึงทำหน้าที่รบถ่วงเวลา เพื่อให้ กองทัพหลักได้ถอยไปก่อนครับ
ปืนใหญ่ที่มีรูป เหรา ที่คุณ champ บอกมา ปัจจุบันอยู่ที่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติพระนคร ครับ ค้นพบจากทะเล บริเวณเกาะสีชัง ครับ
จะมีลักษณะต่างจากปืนจากยุโรปที่เราเห็นกัน โดยจะมี รังเพลิงด้านหลังนะครับ (งงไหมเนี่ย...อิ ๆ )
เวลาบรรจุกระสุน ก็จะใส่ไปในรังเพลิงแล้วยิงออกไปครับ ซึ่งต่างจากการบรรจุทางปากกระบอกแบบที่เราท่านคุ้นเคยกันทางภาพยนต์ครับ
ปืนที่บรรจุด้านหลังปากกระบอกแบบนี้ ข้อดีคือยิงได้เร็วกว่า ปืนที่บรรจุทางปากกระบอกครับ
แต่ข้อเสียสำคัญของปืนที่บรรจุทางท้ายกระบอกในยุคนั้นคือช่วงนั้นวิทยาการการหล่อโลหะยังไม่ก้าวหน้าครับ ทำให้การยิงแต่ละครั้งจะมีก๊าซที่เกิดจากการลั่นของดินขับรั่วออกมาจากท้ายปืนซึ่งทำให้ระยะยิงลดลง และบ้างครั้งการยิงอาจจะผิดพลาดจนระเบิดคาลำกล้องก็ได้ครับ ปืนแบบนี้จึงไม่ค่อยจะมีการใช้แพร่หลายนัก ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะพบว่าติดในเรือซึ่งต้องการการยิงอย่างรวดเร็วครับ