เห็นบอร์ดเงียบๆผมเลยไปขุดวีดีโอเก่าๆของรถถังเบา M-8 ซึ่งสำหรับผมแล้วเป็นรถถังในใจครับ ซึ่งโดยมากความเบามักจะตามมาด้วยเกราะที่ด้อยประสิทธิภาพแบบ Stingray ของเราที่ใช้เกราะแคดลอยด์ หนาเพียงประมาณ 15 มม. แม้ในรุ่น Stingray 2 ก็ใช้เกราะแคดลอยด์หนาแค่ 23 มม. แม้ว่ารถถังรุ่นนี้ของไทยเราจะมีประสิทธิภาพในการควบคุมการยิงที่แม่นยำ อำนาจการยิงที่ดี คล่องแคล่วมาก แต่ความทนทานของเกราะนั้น บอกได้ว่าต่ำมาก แค่ RPG ก็สามารถอัดรถถังเบารุ่นนี้ร่วงได้
M-8 เป็นอะไรที่ผมประทับใจมากๆ เพราะอำนาจการยิงจากปืน 105 มม. จากไรเมตัลนั้นน่าประทับใจ ความคล่องแคล่วที่ยอดเยี่ยม แถมเกราะที่จัดว่าสุดยอด นั่นคือ เกราะไททาเนี่ยม ดูจาก VDO แล้วอึ้ง เกราะระดับ 1 สามารถทนทานต่อกระสุนขนาด 12.7 มม. ได้
เกราะระดับ 2 ที่สามารถทนทานต่อ RPG และจรวดต่อสู้รถถังที่ไม่ใหญ่ได้ และ
เกราะระดับ 3 ที่ทนทานรองรับการยิงของกระสุน 105 มม. ที่ยิงเข้ามาตรงส่วนป้องกันที่หนาที่สุดได้ ดูใน VCD แล้วประทับใจครับ ถูกอัดตรงๆแล้วยังเฉย แค่แผ่นเกราะได้รับความเสียหาย แต่ตัวรถไม่รู้สึกอะไรทั้งสิน
ความหนาของเกราะไททาเนียมระดับสอง เมื่อดูจาก VCD แล้วกะได้ว่าหนาประมาณ 50 - 60 มม. เท่านั้น ด้วยเกราะระดับ 3 ตัวรถก็มีนน.ไม่เกิน 25 ตัน
เสียเรื่องเดียวครับ "แพงมากๆ" แค่ค่าเกราะอย่างเดียวผมว่าคงแพงจนร้องจ๊ากแล้วล่ะครับ ใครที่พอจะทราบราคาโลหะไททาเนี่ยมบ้างล่ะครับช่วยบอกที ตันละกี่ล้าน นี่ต้องใช้เกือบ 20 ตันต่อคัน
บ้านเราเหมาะกับรถถังแบบนี้ที่สุดครับ วันข้างหน้าปืนประจำรถถังอาจจะลดความสำคัญลงได้ถ้าระบบอาวุธนำวิถีพิสุจน์ตัวเองในการใช้งานร่วมกับยานเกราะแบบ IFV ได้ว่าสามารถอัดรถถังหนักร่วงเอาง่ายๆในระยะยิงที่ไกลกว่า
http://www.youtube.com/watch?v=8Yqxr3tqtog
ตรงที่ทิ้งปลอกแปลกดีครับ คล้าย ๆ กับ CV ของสวีเดนแต่ของสวีเดนมันดีดขึ้นบนหัวเลย ทหารราบแถวนั้นได้ซวย อิ อิ 40 มม ร้อน ๆ มาแล้วจ้า
ในช่วงสงครามอ่าวเปอร์เซียครั้งแรกนั้น IFV แบบ M2 Bradley ของสหรัฐฯก็สามารถยิงทำลายรถหุ้มเกราะของฝ่ายอิรักได้เป็นจำนวนมากครับ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นการใช้ TOW
แต่อย่างไรก็ตามปืนใหญ่หลักประจำรถถังหรือรถหุ้มเกราะนั้นคงมีความจำเป็นทางยุทธวิธีของการใช้กำลังยานเกราะในปัจจุบันและอนาคตอยู่ดีครับ เช่นเป้าหมายบางแบบนั้นไม่มีความจำเป็นต้องใช้อาวุธนำวิถีปล่อยราคาแพงๆเพื่อทำลาย ตัวอย่างเช่น ทหารราบที่อยู่เป็นกลุ่มก้อน ที่กำบังดัดแปลงแข็งแรง รังปืนกลหรืออาวุธอื่นๆ ซึ่งการใช้ปืนใหญ่หลักนั้นจะเตรียมการยิงได้รวดเร็วและสะดวกกว่าอาวุธปล่อยนำวิถีครับ ที่สำคัญคือกระสุนปืนใหญ่หลักสามารถนำไปกับรถได้ในจำนวนมากกว่า Missile ครับ
ดังนั้นรูปแบบของรถรบหุ้มเกราะในอนาคตก็น่าจะยังเป็นการติดตั้งปืนใหญ่หลักผสมกับอาวุธปล่อยนำวิถีเสริมอยู่ครับ
แต่สำหรับกองทัพบกไทยนั้นดูเหมือนว่าหลักนิยมในการจัดกำลังกองพันรถถังประจำกองพลทหารราบนั้นจะยังคงเป็น ถ.เบาอยู่ครับ ซึ่งการจัดหารถรบมาแทนในอนาคตก็น่าจะเป็นรถหุ้มเกราะสายพานติดปืนใหญ่รถถังมากกว่า รถรบทหารราบ(IFV)ติดปืนใหญ่กลกับอาวุธปล่อยต่อสู้รถถังครับ เพราะการจัดกำลังจะได้ไม่ซ้ำซ้อนกับ กองพันทหารราบยานยนตร์ หรือ กองพันทหารม้าบรรทุกยานเกราะ ครับ
...ความสามารถของอาวุธนำวิถี เองก็เหมือนปืนใหญ่คือจัดการรถถังได้แน่นอน ในนัดเดียว(ยกเว้นถูกเขายิงก่อน เราช้า) แต่กระสุนปืนใหญ่รถถังมีหลายชนิด สามารถสร้างความเสียหายต่อเป้าหมายต่างๆได้ดี เช่นยานเกราะบางๆ ตึกหรืออาคาร บังเกอร์ เพราะจรวดต่อสู้รถถังหากยิง2นัดไป เสียเวลารีโหลดยิงเป้าหมายต่อไปรวมถึงการเตรียมยิง ซึ่งตรงจุดนี้ ปืนใหญ่สามารถยิงในเวลารบติดพันได้ดีกว่า แล้วยิ่งปืนรุ่นใหม่ๆลำกล้องเล็กลงแต่มีกระสุนที่สร้างความเสียหายให้กับรถถังหลักได้ จึงยิงได้เร็วและต่อเนื่อง น่ะครับ
....ฉะนั้น รถหุ้มเกราะติดปืนต่อส้รถถัง เหมาะสมกับบ้านเรา ไม่ต้องแยกงบไปซื้อจรวดนำวิถีมาติดรถด้วย แต่อันนี้ก็แล้วแต่หลักนิยมด้วยว่าบ้านเราชอบแบบใด ไอเอฟวี ปืนกลหนัก+จรวดนำวิถี รบเคียงบ่ากับ รถถังหลัก รึไม่อ่ะครับ