หน้าแรก    ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบคำถาม    เข้าสู่ระบบ      


ความจำเป็นทางด้านยุทธศาสตร์ของเรือเร็วอาวุธนำวิถีในอนาคต

โดยคุณ : เด็กทะเล เมื่อวันที่ : 05/12/2008 18:14:11

จากการที่ประเทศอิสราเอลได้เริ่มต้นนำเรือขนาดเล็กความเร็วสูงไปติดอาวุธนำวิถีโจมตีเรือแบบ เกเบรียล แล่นเข้าไปโจมตีเรือรบขนาดใหญ่เป็นผลสำเร็จอย่างงดงามจนเป็นที่มาของการมีเรือเร็วโจมตีติดอาวุธนำวิถีและมีการจัดหาเข้าประจำการกันอย่างแพร่หลายในเวลาต่อมา ซึ่ง ราชนาวีไทย ก็ได้มีการจัดหาเข้าประจำการด้วยเช่นกัน อันได้แก่ เรือชุด ร.ล.ปราบปรปักษ์ ติดอาวุธนำวิถีโจมตีเรือแบบ เกเบรียล และเรือชุด ร.ล.ราชฤทธิ์ ติดอาวุธนำวิถีโจมตีเรือแบบ เอ็กโซเซต์ MM38 โดยสังกัดกองเรือตรวจอ่าว และปัจจุบัน เรือชุด ร.ล.ปราบปรปักษ์ ก็ได้มีการปลดอาวุธนำวิถีโจมตีเรือแบบ เกเบรียล ออกเนื่องจากหมดอายุการใช้งานและได้ทำการปรับปรุงเป็นเรือเร็วโจมตีปืนแทน ซึ่งก็จะเหลือแต่เรือชุด ร.ล.ราชฤทธิ์เท่านั้นที่ยังติดอาวุธนำวิถี ในขณะที่ปัจจุบัน ราชนาวีไทย ได้เปลี่ยนยุทธศาสตร์จากกองเรือชายฝั่งมาเป็นกองเรือน้ำลึกโดยจัดหาเรือ คอร์เวต ฟริเกตติดอาวุธนำวิถี และเรือโอพีวี มาใช้งานในปัจจุบัน ส่วนเรือเร็วอาวุธนำวิถีชุด ร.ล.ราชฤทธิ์จะทำอย่างไรเมื่ออาวุธนำวิถีแบบ เอ็กโซเซต์ ต้องหมดอายุลงตามหัวข้อ

1. ถอดอาวุธนำวิถีโจมตีเรือออกและปรับปรุงให้เป็นเรือเร็วโจมตีปืนเช่นเดียวกับเรือชุด ร.ล.ปราบปรปักษ์ แล้วทำหน้าที่ตรวจอ่าว โดยการใช้อาวุธนำวิถีโจมตีเรือให้เป็นหน้าที่ของเรือ คอร์เวต และ เรือฟริเกตไป

2. คงให้มีเรือเร็วโจมตีอาวุธนำวิถีโจมตีเรือต่อไปโดยปรับปรุงติดอาวุธนำวิถีรุ่นใหม่ เพื่อใช้เสริมการปฏิบัติงานกับเรือ คอร์เวต ฟริเกต และป้องกันฝั่ง

ขอบคุณที่ร่วมออกความเห็นครับ





ความคิดเห็นที่ 1


ปัจจุบันกำลังของกองเรือตรวจอ่าวของไทยนั้นประกอบด้วย 3หมวดเรือคือ

หมวดเรือที่๑ ประกอบด้วย ร.ล.มกุฎราชกุมาร(เรือธงกองเรือ), ชุด ร.ล.ปัตตานี(เรือ ตกก.), ชุด ร.ล.ปราบปรปักษ์(ปัจจุบันน่าจะปรับเป็น รจป. แล้ว), ชุด ร.ล.ราชฤทธิ์(รจอ.) และ ชุด ร.ล.ชลบุรี(รจป.)

หมวดเรือที่๒ ประกอบด้วย ชุด ร.ล.สัตหีบ, ชุด ร.ล.หัวหิน, ชุดเรือ ต.๑๑(คงจะปลดในอนาคตอันใกล้), ชุดเรือ ต.๘๑, ชุดเรือ ต.๙๑ และอาจจะรวม ชุดเรือ ต.๙๙๑ ด้วยครับ

หมวดเรือที่๓ ประกอบด้วย ชุดเรือ ต.๒๑, ชุดเรือ ต.๒๑๓ และ เรือ ต.๒๓๑

ถึงในอนาคตถ้ากองทัพเรือสามารถจัดตั้ง กองเรือป้องกันฝั่ง ซึ่งตั้งมาตั้งแต่ปี ๒๕๓๕ เป็นหน่วยอิสระที่แยกสายการบังคับบัญชาจากกองเรือภาคต่างๆ(เป็น กองเรือยามฝั่ง) โดยโอนเรือตรวจการณ์ในหมวดเรือที่๒ และ ๓ มาจัดตั้ง คือประกอบด้วย หมวดเรือตรวจการณ์ปืน, หมวดเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่ง และหมวดเรือตรวจการณ์ชายฝั่งที่อยู่ในสังกัด กตอ.เดิมมาขึ้นกับ กปฝ.(หรือ กยฝ.) ได้นี้ กตอ.จะนั้นประกอบด้วยกำลังหลักเป็น เรือ ตรวจการณ์ไกลฝั่งอย่างน้อย2ชุด รจป.2ชุด และ รจอ.อีก1ชุด โดยมี ร.ล.มกุฎราชกุมาร เป็นเรือธงเช่นเดิมครับ ซึ่งน่าจะรองรับสถานการณ์การรักษาความั่นคงทางทะเลในปัจจุบันได้มากขึ้น

อย่างไรก็ตามเนื่องจากเรือโจมตีชุดต่างๆที่ประจำการใน กตอ. นั้นภายในปี ๒๕๕๖ จะมีอายุการใช้งานเกิน 30-25ปีขึ้นไปแล้วครับ เช่น ชุด ร.ล.ปราบปรปักษ์ ต่อมาแต่ปี ๒๕๑๙, ชุด ร.ล.ราชฤทธิ์ ต่อมาตั้งแต่ปี ๒๕๒๒ และ ชุด ร.ล.ชลบุรี ต่อมาแต่ปี ๒๕๒๖ ซึ่งเรือกลุ่มนี้นั้นมีพิสัยทำการราว 1,000-2,500ไมล์ทะเลครับ

ถ้าดูจากผลของสงครามต่างๆในช่วงปี 1980s-1990s เป็นต้นมาจะเห็นได้ว่า เรือเร็วโจมตีแบบเดิมๆนั้นเป็นเรือที่ค่อนข้างจะล้าสมัยเพราะปกป้องตัวเองจากอากาศยานได้น้อย เช่นเรือรบของกองทัพเรืออิรักส่วนใหญ่ถูก Sea Lynx อังกฤษใช้ Sea Skua ยิงจม และกองทัพเรือในปัจจุบันนั้นต้องการเรือที่สามารถออกปฏิบัติการในทะเลได้ในพิสัยทำการไกลเป็นระยะเวลานานครับ ซึ่งถ้าดูจากการออกแบบของเรือตรวจการณ์ที่ต่อในปัจจุบันของประเทศต่างๆในข้างต้นนั้นจะใหญ่ในระดับเดียวกับเรือคอร์เวตเบาและออกทะเลได้ลึกขึ้น เช่น

เรือโครงการ PKG ชั้น Gumdoksuri ของเกาหลีใต้ ซึ่งมีพิสัยทำการราว 3,000ไมล์ทะเล ซึ่งเรือต้นแบบลำแรกชื่อ Yoon Yong-ha นั้นเพิ่งจะมีการทดสอบและจะเข้าประจำการในปลายปี2008ถึงต้น2009นี้ โดยมีแผนจะต่ออย่างน้อย2แบบจำนวนราว17-24กว่าลำครับ

หรือบางแบบเป็นเรือคอร์เวตเบายาว70กว่าเมตรก็ใช้ Technology STEALTH  เก็บอาวุธในลำตัวเรือมีลาดจอด ฮ.เช่นเรือชั้น Visby ของสวีเดนเป็นต้น
โดยเรือกลุ่มนี้ส่วนใหญ่จะใช้ ย.Water Jet พร้อมกับ ย.ดีเซลหรือ Gas Turbine 3-4เครื่อง ซึ่งทำความเร็วได้ถึง40น็อตครับ

ซึ่งบางประเทศนั้นก็จัดหาเรือคอร์เวตหรือฟริเกตเบายาว80เมตรขึ้นไป ระวางขับน้ำ 1,000-2,000 เช่นเรือคอร์เวตชั้นBraunschweig ของกองทัพเรือเยอรมนีซึ่งจะแทนเรือเร็วโจมตีชั้น Gepard เป็นต้น ซึ่งก็คล้ายคลึงกับ

การที่กองทัพเรือไทยจัดหาเรือตรวการณ์ไกลชั้น ร.ล.ปัตตานี และที่กำลังจะต่อใหม่ซึ่งมีพิสัยทำการเรือ 3,500-4,000ไมล์ทะเลครับ

ในอนาคตถ้าเริ่มจะมีการปลดประจำการเรือเร็วโจมตีชุด ร.ล.ปราบปรปักษ์ไปนี้ นอกจากเรือ ตกก. แล้ว กองทัพเรือคงเริ่มพิจารณาแนวทางเกี่ยวรูปแบบเรือที่จะมาแทนเรือเร็วโจมตีครับว่าควรจะมีคุณสมบัติอย่างไรบ้างครับ

เช่น เป็นเรือขนาดยาวเท่าไร ระวางขับน้ำเท่าไร ใช้เครื่องยนตร์แบบไหน ติดอาวุธประจำเรือแบบใดบ้าง ต้องการมีคุณบัติอื่นๆหรือไม่เช่น ลานจอด หรือ โรงเก็บ ฮ.ประจำเรือ  รูปแบบเรือ STEALTH เป็นต้นครับ

โดยคุณ AAG_th1 เมื่อวันที่ 01/12/2008 21:06:15


ความคิดเห็นที่ 2


ขอตอบแยกเป็นสองส่วนครับ

ในส่วนแรกว่าด้วยการปรับปรุงเรือ รจอ.ที่มีอยู่ในปัจจุบันให้เป็น รจป. (ฟังดูเหมือนการ "ลดชั้น" มากกว่า "ปรับปรุง") ในกรณีที่อาวุธปล่อยนำวิถี exocet MM38 จะหมดอายุการใช้งานนั้น เนื่องจากคุณลักษณะของเรือที่ออกแบบมาเป็นเรือ รจอ.ที่มีขนาดค่อนข้างเล็กแต่เน้นความเร็วและความคล่องตัวสูง  แต่ในปัจจุบันเนื่องจากตัวเรืออายุการใช้งานเรือที่นานมากแล้ว (ประมาณ 30 ปี) ตัวเรือและระบบขับเคลื่อนที่มีอายุมากคงรองรับความเร็วและความคล่องตัวตามคุณลักษณะเดิมไม่ไหว อีกทั้งขนาดเรือที่เล็กและไม่สามารถติดตั้งปืนขนาดใหญ่ได้คงไม่เหมาะกับการปรับเป็น รจป. จึงน่าจะปรับเป็นเรือ ตกป.(ตรวจการณ์ปืน) ไปเลยมากกว่า ซึ่งเทียบระวางขับน้ำแล้วจะเห็นว่าเรือ รจอ.ชุด ร.ล.ราชฤทธิ์ มีขนาดระวางขับน้ำใกล้เคียงกับเรือ ตกป.ชุด ร.ล.สัตหีบ

ส่วนที่สองในเรื่องของความเหมาะสมในการใช้เรือ รจอ.ในยุคปัจจุบัน เดิมทีเรือประเภทนี้ถูกนำมาใช้อย่างได้ผลดีมากเมื่อสมัย 20-30 ปีก่อน แต่ในช่วงที่ผ่านมา (โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสงครมอ่าว) เรือประเภทนี้ตกเป็นเป้าให้กับอากาศยานติดอาวุธปล่อยนำวิถีอย่างง่ายดาย ทำให้บางคนถึงกับกล่าวว่าหมดยุคของเรือ รจอ.แล้ว แต่ในความเห็นส่วนตัวผมว่าแนวความคิดในการใช้เรือ รจอ.ยังไม่ถึงกับล้าสมัย โดยเรือ รจอ.เป็นเรือขนาดเล็ก มีระวางขับน้ำไม่กี่ร้อยตัน มีความคงทนทะเลต่ำ แต่เน้นความคล่องตัวและความเร็วสูง ติดอาวุธนำวิถึที่มีระยะยิงไกล สามารถสร้างความเสียหายหรือจมเรือขนาดใหญ่ที่มีระวางขับน้ำสูงกว่า 3-4 เท่าได้ ซึ่งเรือขนาดใหญ่ก็ยังคงต้องกลัวเรือเล็กประเภทนี้อยู่ เพียงแต่ด้วยความที่มีขนาดเล็กทำให้เรือ รจอ.ไม่สามารถติดตั้งระบบป้องกันภัยทางอากาศได้ ทำให้ไม่เหมาะกับการปะทะกับเรือฟริเกตที่มี ฮ.ประจำเรือ อย่างไรก็ดีภัยคุกคามทางทะเลในภูมิภาคนี้ก็ไม่ได้มีเพียงแค่เรือฟริเกตที่มี ฮ.ประจำเรือเท่านั้น อีกทั้งยุทธวิธีและพื้นที่ปฏิบัติการของเรือ รจอ.จะต่างจากเรือคอร์เวต/ฟริเกต กล่าวคือเรือ รจอ.จะเน้นการปฏิบัติการในพื้นที่ใกล้ฝั่ง โดยเฉพาะในบริเวณที่มีเกาะแก่งหรือมีเรืออื่นๆ ในพื้นที่จำนวนมาก ทำให้ถูกตรวจพบและพิสูจน์ทราบได้ยาก ส่วนเรือ OPV/คอร์เวต/ฟริเกต ที่ปฏิบัติการในพื้นที่ไกลฝั่ง มีความคงทนทะเลสูง และสามารถออกปฏิบัติงานได้งาน ซึ่งพื้นที่ปฏิบัติการและภารกิจของเรือทั้งสองประเภทนั้นไม่ได้ซ้ำซ้่อนกันและคงไม่เหมาะสมที่จะนำเรือขนาดใหญ่มาปฏิบัติการใกล้ฝั่งแทนเรือขนาดเล็ก

ในส่วนของจุดอ่อนด้านการป้องกันภัยทางอากาศ สามารถแก้ไขได้ด้วยการติดตั้ง chaff/flare และการสนับสนุนจากหน่วยบกและเรือใหญ่ในทะเลลึก ซึ่ง ฮ.ติดอาวุธปล่อยที่เป็นภัยคุกคามหลักของเรือ รจอ.มักมีระยะปฏิบัติการสั้น(ไม่เกิน 100 ไมล์) และไม่สามารถอยู่ในอากาศได้นาน(ไม่เกิน 2-3 ชม.) ซึ่งหากมีการจัดกำลังที่สมดุลทั้งเรือที่มีขีดความสามารถในการปฏิบัติการไกลฝั่ง  และหน่วยเรือที่มีคุณลักษณะเหมาะกับการปฏิบัติงานใกล้ฝั่ง ประกอบกับการป้องกันฝั่งจากหน่่วยบกแล้ว จะทำให้การป้องกันภัยคุกคามทางทะเลสมบูรณ์มากกว่าการเน้นเรือขนาดใหญ่ที่ปฏิบัติการไกลฝั่ง
เพียงอย่างเดียว
โดยคุณ กัปตันนีโม เมื่อวันที่ 01/12/2008 22:57:05


ความคิดเห็นที่ 3


๕ พ.ย.๕๑  ร.ล.สายบุรี และ ร.ล.นเรศวร  ร่วมสาธิตการปฎิบัติการทางเรือ ให้กับคณะ นักเรียน
วปอ.รุ่นที่๕๑ และ ปรอ.รุ่นที่ ๒๑

 

 

๑๗ พ.ย.๕๑ พล.ร.อ.สมเดช  ทองเปี่ยม รอง ผบ.ทร.พร้อมคณะเข้ารับฟังบรรยายสรุป

เกี่ยวกับการปรับปรุงเรือฟริเกตชุด ร.ล.เจ้าพระยา ณ ห้องประชุม บก.กฟก.๒

อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี

 

๑๗ - ๒๖ ต.ค.๕๑  ร.ล.เจ้าพระยา ลาดตระเวนร่วมในช่องแคบมะละกา

ขณะทำการตรวจสอบ เรือบรรทุกน้ำมัน

 

๒๓ พ.ย.๕๑ ร.ล.กระบุรี ทำการลาดตระเวนบริเวณอ่าวไทยตอนบนและได้ทำการตรวจค้น

เรือต้องสงสัยในเส้นทาง และได้ทำการตรวจสอบความเรียบร้อยของเรือประมงไทย

ในบริเวณดังกล่าวอีกด้วย

 

 ๒๑ พ.ย.๕๑  ร.ล.สายบุรี  ออกเรือเพื่อดำเนินการสาธิตปฎิบัติการทางเรือได้แก่

 การช่วยเหลือตัวประกัน การส่งกลับทางสายการแพทย์
ให้แก่คณะกรรมาธิการทหารสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร โดยมีหน่วยที่ร่วมทำการฝึกดังนี้
ร.ล.สายบุรี , ฮ.super lynx , ฮ.s-70b , ชุดปฏิบัติการพืเศษ  ทรภ.๑
โดยคุณ FatBoy เมื่อวันที่ 02/12/2008 06:02:19


ความคิดเห็นที่ 4


.......ส่วนตัวคิดว่า

......ข้อเสียอย่างนึงสำหรับเรือเร็วโจมตีคือ ตกเป็นเป้าทางอากาศได้ง่ายจาก ฮ. หรือ บ.จ.แบบต่างๆ  ยิ่งเป็นเรือแบบที่เรามีอยู่ที่รูปทรงมันออกไปทาง20-30ปีที่แล้วอ่ะครับ สังเกตุจาก เรือเร็วรุ่นใหม่ๆ นอกจากมีความคงทนทะเลสูงแล้วยังมีขีดความสามารถเรื่อง สเตล์ท  เพื่อป้องกันเรดาห์เข้าไปโจมตีเรือในระยะใกล้  โดยไม่โดนโต้ตอบ  และสามารถป้องกันตนเองจากภัยทางอากาศได้จากระบบป้องกันตัวเองแบบ ฮาร์ด/ซอฟคิล  เป็นต้น  ซึ่งหากวิ่งตะบึ่งๆไปเขาจับได้ล่ะก็ มีสิทธิ์โดนยิงจมแน่นอนครับ กลายเป็นตีรถเปล่าไปเลย

......เลยคิดว่าควรจะทำการต่อเรือใหม่ ด้วยตนเองเข้าประจำการ ของเก่าก็ลดชั้นเป็นเรือปืนไป   โดยเรือรุ่นใหม่อย่างน้อยก็ๆก็สเตล์ทและมีชาฟ/แฟร์ ป้องกันตนเองอีกทางนึง ใช้เป็นฉากแรกในการโจมตี แทนกองเรือขนาดใหญ่ หรือ รบกวนเป็นต้น 

โดยคุณ MIG31 เมื่อวันที่ 02/12/2008 06:54:35


ความคิดเห็นที่ 5


แล้วถ้าแบบนี้พอไหวไหมครับ ไม่ต้องกลัวภัยทางอากาศครับ


โดยคุณ rinsc seaver เมื่อวันที่ 03/12/2008 06:07:27


ความคิดเห็นที่ 6


ลืมอธิบายครับ ในภาพเป็น รจอ. Roussen Class ของ ทร.กรีซ

อาวุธ : 1 x 76/62 mm Oto Breda Super Rapid, 2 x 30 mm Oto Breda, 2 x .50 inch, 2x4 MM40 Exocet block II และ 1x21 Mk31 RAM

อิเล็กทรอนิกส์ : TACTICOS combat suite, SMART-S 3D surveillance radar, STING fire control radar, SCOUT LPI surviellance/navigation radar, MIRADOR E/O tracker, Argo AR900 ESM, Sippican SRBOC decoy


โดยคุณ rinsc seaver เมื่อวันที่ 03/12/2008 06:29:33


ความคิดเห็นที่ 7


.....ในภาพเรือของท่าน rinsc seaver    รู้สึกว่า ท.ร.เยอรมันเองก็มีใช้ ไม่รู้ว่าสเป็คเรือเดียวกันหรือไม่ แต่จำได้มี แท่นยิง แรม ท้ายลำ และ ฮาร์พูนกับ ปืนเรือ 76 ม.ม. หัวเรือ น่ะครับ

...บ้านเราเองสเป็คขนาดนี้ก็กำลังดีน่ะครับ แท่นยิง แรม ใช้ ชาดรัล แทน ส่วน ปืนก็ใช้ 40 ม.ม. ทวินเบรด้า  ก็กำลังดีน่ะครับ

โดยคุณ MIG31 เมื่อวันที่ 03/12/2008 06:53:50


ความคิดเห็นที่ 8


เรือเร็วโจมตีชั้น Gepard ของกองทัพเรือเยอรมนีหลายลำได้รับการปรับปรุงให้ติดตั้งแท่นยิง RAM แบบในภาพเพื่อป้องกันตัวจากอาวุธปล่อยและอากาศยานในพิสัยใกล้ดังภาพครับ

แต่ตามที่กล่าวมาข้างต้นครับว่าเรือชั้นนี้นั้นกำลังจะถูกแทนด้วยเรือคอร์เวตชั้นBraunschweig ครับ

โดยคุณ AAG_th1 เมื่อวันที่ 03/12/2008 10:30:27


ความคิดเห็นที่ 9


เรือประเภทนี้ น่าจะต่อเองในประเทศได้
ถึงจะเป็นเรือขนาดเล็กไม่สามารถติดตั้ง ระบบต่อสู้อากาศยานได้
แต่ก็ติดเอาระบบต่อสู้อากาศยานแบบประทับบ่าไปได้
หรือ ไม่เราก็ขยายแบบให้ใหญ่ขึ้นอีก แต่ก็ยังคงคอนเซ็ปต์ เร็ว + หมัดหนัก
ใจผมยังชอบจรวดแบบ เอ็กโซเซ่ต์ อยู่รุ่น MM 38 เก่าก็จัดหา รุ่น MM 40
มาใช้งานทดแทนกันก็ได้
ถ้ายังมีเรือประเภทนี้อยู่ ใครจะรุกล้ำน่านน้ำเราก็ยังต้องคิดหนัก ละกัน
โดยคุณ e21cye เมื่อวันที่ 05/12/2008 07:14:13