เมื่อวันที่ 20 ที่ผ่านมา กระทรวงกลาโหมนอร์เวย์ได้ประกาศเลือก F-35 ให้เป็นผู้ชนะเหนือ Gripen NG ในโครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่แบบใหม่จำนวน 48 เครื่องเพื่อทดแทน F-16MLU ของกองทัพอากาศนอร์เวย์ในปี 2015 ครับการตัดสินใจนี้ไม่ได้อยู่เหนือความคาดหมายของหลาย ๆ ฝ่ายนักครับ เนื่องจากสหรัฐและนอร์เวย์มีประวัติในการร่วมมือกันทางทหารมานาน และในอดีตกองทัพอากาศนอร์เวย์ใช้เครื่องบินรบของสหรัฐเป็นส่วนมาก
อีกทั้งนอร์เวย์ยังเป็นหนึ่งในผู้ร่วมพัฒนา F-35 ในโครงการ Joint Strike Fighter หรือ JSF ในระดับที่ 3 ซึ่งนอร์เวย์ลงทุนไปจำนวน 125 ล้านเหรีญสหรัฐครับภายใต้ข้อเสนอนี้
กองทัพอากาศนอร์เวย์จะจัดหา F-35 จำนวน 48 ลำในระหว่างปี 2016 - 2020 ด้วยงบประมาณ 18 พันล้านโครนเนอร์หรือราว 2.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ นอกจากนั้นนอร์เวย์ยังอาจได้รับสัญญาการผลิตชิ้นส่วนหลายชื้นใน F-35 ในอนาคตอีกด้วยทั้งนี้ การเลือก F-35 ของนอร์เวย์นี้ทำให้เกิดผลสองอย่างตามมาทันทีครับนั่นคือ
1. สามารถเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับโครงการ F-35 ขึ้นมากอย่างมาก -
เนื่องจากนอร์เวย์เป็นประเทศที่เข้าร่วมการพัฒนา F-35 การที่นอร์เวย์เลือก F-35 เป็นเครื่องบินแบบใหม่นั้นน่าจะทำให้ชาติสมาชิกของโครงการชาติอื่นที่กำลังตัดสินใจอยู่นั้นมีแนวโน้มสูงมากขึ้นไปอีกที่จะเลือก F-35 เป็นเครื่องบินขับไล่แบบใหม่ของตน ซึ่งจะลดโอกาสในการเกิดความล้มเหลวต่อโครงการ F-35 ให้เหลือน้อยลงมาก โดยชาติที่จะตัดสินใจต่อจากนอร์เวย์ก็คือเดนมาร์คและเนเธอแลนด์
2. เพิ่มความไม่แน่นอนให้กับโครงการ Gripen NG - เนื่องจากโครงการ Gripen NG ซึ่งเพิ่งเปิดตัวอย่างเป็นทางการไปในปีนี้ยังอยู่ในระหว่างการพัฒนาและคาดว่าจะสามารถผลิตให้กับชาติลูกค้าได้ในปี 2014 - 2015 แต่กองทัพอากาศสวีเดนอาจจะจัดซื้อ Gripen NG ตั้งแต่ราวปี 2018 เป็นต้นไป ซึ่งยังมีช่วงห่างของเวลาพอสมควร
อีกทั้งตอนนี้ Gripen NG อยู่ในสนามแข่งที่มีการแข่งขันสูง ซึ่งหลายแห่งนั้นยากที่ Gripen จะได้รับเลือก เช่นในอินเดีย, เดนมาร์ค และ เนเธอแลนด์ เป็นต้น ส่วน สนามแข่งขันในบราซิลนั้น แม้มีโอกาสที่ดีแต่ก็ยังเป็นรอง Rafale ของฝรั่งเศสอยู่เพราะบราซิลเลือกฝรั่งเศสเป็นพันธมิตรทางการทหารอยู่แล้ว
ดังนั้น Saab จึงต้องทำงานให้หนักขึ้นในบราซิล รวมถึงเตรียมการเสนอข้อเสนอที่ดีกว่าให้กับชาติลูกค้ารายใหม่ ๆ ที่กำลังจะประกาศโครงการจัดหาเครื่องบินในอนาคตแต่ว่าเรื่องนี้คนที่ดีใจที่สุดอาจจะไม่ใช้ Lockheed Martin ซึ่งเป็นผู้ผลิต F-35
แต่อาจจะเป็น Eurofighter GmbH ผู้ผลิต Typhoon ซึ่งประกาศถอนตัวไปก่อนหน้านี้และกล่าวหาว่าการแข่งขันที่นอร์เวย์นั้นไม่ยุติธรรมและมีการลำเอียงเข้าข้างระบบของสหรัฐ การถอนตัวในครั้งนั้นคงช่วยประหยัดเงินและความพยายามไปได้จำนวนหนึ่งทีเดียว
ส่วนอีกคนที่เสียใจนอกจาก Saab แล้วก็คือ
สหภาพแรงงานและสมาคมวิชาชีพหลายหน่วยงานในนอร์เวย์เช่น สมาคมอุตสาหกรรมการทหารและความั่นคงแห่งนอร์เวย์, สหภาพแรงงานอุตสาหกรรม, และสมาคมวิศวกรและนักเทคโนโลยีแห่งนอร์เวย์ ซึ่งในช่วงหลังได้ออกมาสนับสนุนอย่างเข้มแข็งให้รัฐบาลนอร์เวย์จัดหา Gripen NG แทน F-35 ของสหรัฐ
โดยอ้างเหตุผลว่าข้อเสนอด้านการตอบแทนทางอุตสาหกรรมของสวีเดนนั้นคุ้มค่าและให้ประโยชน์ต่อนอร์เวย์มากกว่าข้อเสนอของสหรัฐที่ทางกลุ่มให้ความเห็นว่ายังถ่ายทอดเทคโนโลยีให้ไม่มากพอ โดยกล่าวว่าข้อเสนอของสหรัฐมีมูลค่า 3 หมื่นล้านโครน (158 พันล้านบาท) ในขณะที่ข้อเสนอของสวีเดนมีมูลค่าถึง 5 หมื่นล้านโครน (263 พันล้านบาท) และได้รับเทคโนโลยีเพียงพอที่จะส่งเสริมอุตสาหกรรมทางทหารในประเทศ
ทั้งนี้รัฐบาลนอร์เวย์ได้ให้เหตุผลว่า F-35 มีคุณสมบัติที่ตรงความต้องการทุกอย่างของนอร์เวย์
โดยเฉพาะในด้านคุณสมบัติการตรวจจับได้ยาก ระบบเซ็นเซอร์ และระบบสงครามอิเล็กทรอนิกส์ และยังมีราคาถูกกว่า Gripen NG คือราว 52 ล้านเหรียญต่อลำ ซึ่ง Saab โต้ว่าราคาของ F-35 นั้นเป็นราคาตัวเปล่า
แต่ข้อเสนอของ Saab เป็นราคาที่รวมค่าเครื่องบินและค่าใช้จ่ายในการสนับสนุนและซ่อมบำรุงแบบเหมาจ่ายตลอด 20 ปีซึ่งทำให้นอร์เวย์จ่ายเพียงค่าน้ำมันอย่างเดียวเท่านั้นใน 20 ปีข้างหน้าแต่ไม่ว่าจะอย่างไร รัฐบาลนอร์เวย์ก็ได้ทำการเลือกแบบไปแล้ว แม้ว่ายังมีอีกด่านหนึ่งก็คือการขอการอนุมัติของรัฐสภาซึ่งดูแล้วก็ไม่น่าจะมีปัญหา
การตัดสินใจของนอร์เวย์ในครั้งนี้เป็นการตัดสินใจที่สำคัญที่ช่วยให้ F-35 มีอนาคตที่สดใสรออยู่ข้างหน้าครับ
Norway picks US fighters to replace aging fleetBy DOUG MELLGRENAssociated Press Writer
OSLO, Norway -- The U.S.-developed F-35 fighter jet has been chosen to replace Norways aging F-16 aircraft in a purchase that would cost the NATO member about 18 billion kroner ($2.5 billion) for 48 aircraft, officials said Thursday.Norway chose the aircraft to replace U.S.-made F-16s in preference to JAS Gripen fighters from Sweden. The new fighters would be phased in between 2016 and 2020, the government said in a statement.
Parliament still needs to approve the deal to buy up to 48 of the F-35 Joint Strike Fighters, and one of the three parties in the governing coalition said it needed more time to discuss the deal. Opposition parties also said they want to study the conclusion.The F-35 - a single-seat, single-engine jet - is being developed by Bethesda, Maryland-based Lockheed Martin, with engines made United Technologies Corp.s Pratt and Whitney unit and General Electric Co.
A news release said the total cost of the deal over the aircrafts expected 30- year life span would be about 145 billion kroner ($20.7 billion) for the fighter, weapons, maintenance, infrastructure and operations.
"The Joint Strike Fighter is the best fighter and it is the cheapest," Prime Minister Jens Stoltenberg said at a news conference. He said a majority of the coalition had agreed on the American fighter Thursday, and decided to announce its stand of the market-sensitive nature of the decision."We wanted everyone to have the same information," he said after the coalition began to discuss the decision with its parliamentary groups. The prime minister said Norway does not expect to sign contracts for the F-35 jets until 2014.
Defense Minister Anne-Grete Stroem-Erichsen said, "The Joint Strike Fighter is considered to be the better of the two candidates regarding intelligence and surveillance, counter air, air interdict and anti-surface warfare."
She said, "It would be a good thing to start contract negotiations (with Lockheed Martin) as soon as possible," she said. Stroem-Erichsen also said Norwegian companies would win valuable contracts as part of the deal.Two of the three parties in Norway coalition, Labor and the Center Party said they backed the decision to choose the U.S. fighter.
The third, the anti-NATO Socialist Left party, said it needed more time to discuss the decision since it wanted to spend as little as possible on military equipment.
Socialist Left leader Kristen Halvorsen said the party would make its decision in early December.
Swedish Prime Minister Fredrik Reinfeldt said Norways decision to drop the Gripen was "a setback" for Sweden, "but thats their decision and we have to respect that."
The European EADS consortium, which makes the Eurofighter Typhoon, broke off talks over the contract in December 2007, saying it was uncomfortable with the bidding process. The consortium declined to comment on the reasons, but Norwegian news media reported then that EADS felt the bidding process favored the Americans.http://www.star-telegram.com/190/story/1049585.htmlผลการประเมินเครื่องบินทั้งสองแบบของนอร์เวย์
อ่านเพิ่มเติม
"อิสราเอลสั่งซื้อ F-35 จำนวน 75 ลำ"
http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=skyman&month=01-10-2008&group=3&gblog=112"การเมือง-การทหาร ตอน เรื่องวุ่น ๆ ที่นอร์เวย์"
http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=skyman&month=15-01-2008&group=3&gblog=77"ภาพการบินทดสอบของ F-35 Lightning II "AA-1""
http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=skyman&month=16-03-2008&group=1&gblog=76
http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=skyman&month=21-11-2008&group=3&gblog=117
ความคิดเห็นที่ 1
โดยคุณ marineen เมื่อวันที่
20/11/2008 20:35:23
ความคิดเห็นที่ 2
^
^
^
^
ไปถามคนในบอร์ดต่างประเทศมา รูปผลการประเมินมันแปลได้ดังนี้ครับ
แถวบน จากซ้ายไปขวา
Threat scenario (สถานการณ์ของภัยคุกคาม), Role (บทบาท), Information gathering and surveillance (การตรวจการณ์และการลาดตระเวน), Air to air role (การรบทางอากาศ), air to air and air to ground roles (การรบทางอากาศและการรบภาคพื้นดิน)
ช่องซ้ายจากบนลงล่าง
National threat scenario #1 (สถานการณ์ของภัยคุกคามของประเทศ #1)
National threat scenario #2 (สถานการณ์ของภัยคุกคามของประเทศ #2)
NATOs peace keeping ops (การปฏิบัติการรักษาสันติภาพของนาโต้)
National threat scenario #3 (สถานการณ์ของภัยคุกคามของประเทศ #3)
สีเขียวเข้มคือผ่านฉลุย สีเขียวอ่อนคือผ่าน สีเหลืองคือคาบเส้น สีแดงคือตกครับ ^ ^
โดยคุณ
Skyman เมื่อวันที่
20/11/2008 20:42:37
ความคิดเห็นที่ 3
จากการให้ข่าวของกลุ่ม Eurofighjter ต่อการถอนตัวในโครงการจัดหา บ.ขับไล่ของนอร์เวย์นั้นดูเหมือนว่าทางกองทัพนอร์เวย์จะเลือกแบบ บ.ไว้แต่แรกแล้วครับ แต่เพียงแค่ให้รัฐบาลเปิดการคัดเลือกเพิ่อให้ดูมีความโปร่งใสเท่านั้น
อีกประเทศหนึ่งที่ Gripen NG ของ SAAB จะต้องเข้าไปแข่งขันกับ F-35 ตรงๆก็คือเดนมาร์กนั้น ส่วนตัวคิดว่าโอกาสของ Gripen NG คงจะยากเช่นกันเพราะถ้ามองว่ากองทัพอากาศของแต่ละประเทศต้องการ บ.ขับไล่ยุคที่5ซึ่งมีความทันสมัยสูงกว่า บ.ยุคที่ 4.5อย่าง Gripen ซึ่งมีความคุ้มค่ามากกว่าในอนาคตร่วมถึงความใกล้ชิดทางทหารกับสหรัฐฯแล้ว F-35 นั้นมีโอกาสค่อนข้างดีมากครับ
ประเทศในกลุ่มแสกนดิเนเวียอีกประเทศหนึ่งที่มีข้อมูลว่ากำลังจะเปิดโครงการจัดหา บ.ขับไล่ใหม่คือฟินแลนด์ครับ ซึ่งต้องการจัดหา บ.ขับไล่แทน F/A-18 ซึ่งเปิดโครงการคัดเลือกแบบหลังการเลือกตั้งในปี 2011 อย่างไรก็ตามตามความต้องการเบื้องต้นที่เปิดเผยออกมาบางส่วนนั้นดูเหมือนว่าทางฟินแลนด์ต้องการ บ.ขับไล่ยุคที่5 ที่มีคุณสมบัติตรวจจับได้ยากซึ่งนั้นทำให้ F-35 ดูจะเป็นตัวเลือกที่ฟินแลนด์เล็งไว้แต่แรกเช่นกันครับ
อย่างไรก็ตามข่าวการพัฒนาระบบอาวุธโดยร่วมของนอร์เวย์หลายๆโครงการในปัจจุบันค่อนข้างจะล้าช้าอยู่บ้างครับ ตัวอย่างเช่นโครงการพัฒนาอาวุธปล่อย NSM(Naval Strike Missile) ซึ่งเป็นอาวุธปล่อยต่อต้านเรือผิวน้ำระยะยิง185กิโลเมตรซึ่งมีขีดความสามารถโจมตีเป้าหมายบนบกได้นั้น นอกจากรุ่นที่ติดบนเรือผิวน้ำแล้ว ก็จะมีรุ่นที่ติดตั้งบนอากาศยานเช่นเดียว Penguin ครับ ซึ่งรุ่นนี้นนั้นทางLockheed Martinสหรัฐฯ และ Konsberg นอร์เวย์ได้ลงนามในการพัฒนาระบบ JSM(Joint Strike Missile)สำหรับนำไปติดตั้งกับอากาศยานหลายแบบเช่น F-35, Typhoon,Gripen, ฮ.MH-60 และ บ.P-8 ครับ อย่างก็ตามเนื่องจากการพัฒนาที่ล่าช้าปัจจุบันเรือฟริเกตชั้น Fridtjof Nasen และเรือเร็วตรวจการณ์ชั้น Skjold นั้นก็ยังไม่มีการติดตั้งจรวด NSM เลยครับเนื่องจากยังพัฒนาไม่เสร็จ ซึ่งกว่านอร์เวย์จะได้รับมอบ F-35 จรวดNSM คงจะเปิดสายการผลิตไปแล้วครับ
โดยคุณ
AAG_th1 เมื่อวันที่
20/11/2008 20:59:50
ความคิดเห็นที่ 4
อีกรายที่เสียใจแต่ไม่ได้พูดถึง คือ เสี่ย งานนี้อดค่าคอมฯ
โดยคุณ
เด็กทะเล เมื่อวันที่
21/11/2008 01:04:01
ความคิดเห็นที่ 5
^
^
^
เอาหน่า มีขึ้นก็ต้องมีลง มีแพ้ก็ต้องมีชนะ มีรวยก็ต้องมีรวยยิ่ง ๆ ขึ้นไป 555+
ผมอ่านจากกระทู้ "นอร์เวย์ เลือก F35 เข้าประจำการ"
ผมก็เลยสงสัยว่าในอนาคตอัไกลลลลลเรา(ประเทศไทย)จะมีแนวโน้มในการเลือกเครื่องบินแบบไหนมาใช้บ้างอะคับเพราะตอนนี้เราสั่ง GRIPEN ไปแล้ว อนาคตจะมี NG หรือเปล่า
แล้วเจ้าNGต่างจากที่เรากำลังจะได้แค่ไหน
แล้วต่างจากF35ยังไง
ขอความกรุณาด้วยคับสงสัยจิง |
โดยคุณ : nongwor ( อ่าน : 469 / ตอบ : ) วันที่ : 2008-11-21 15:00:23 |
ถ้าในกรณีของ F-35 ดูจาก timeline ของโครงการแล้ว ซื้อเครื่องบินขับไล่รอบหน้าเพื่อทดแทน F-5T ฝูง 211 ก็ได้เห็น F-35 มาแข่งแล้วล่ะครับ
ส่วน NG จะมีอนาคตหรือไม่ก็ต้องรอดูต่อไปครับ อย่างที่เขียนไปคือ NG อยู่ในการแข่งขันที่โหด ๆ และมีความหวังค่อนข้างน้อยทั้งนั้น ที่มีหวังมากหน่อยก็คือในบราซิล แต่ก็น่าจะแพ้ Rafale อย่างที่ว่าไป ส่วนการแข่งขันที่อื่นที่เป็นตัวเต็งจ๋าจริง ๆ ก็คือสวิสเซอร์แลนด์ แต่ว่าอันนั้นเป็นรุ่น C/D เพระสวิสไม่ต้องการเครื่องทันสมัยนัก อีกที่ก็คือโรมาเนียและโครเอเชียซึ่งเป็นรุ่น C/D เช่นกัน
ต้องรอดูก่อนครับว่าใครจะเปิดการแข่งขันขึ้นมา แล้วเราจะพอบอกถึงโอกาสของ NG ได้ หมดจากล็อตนี้เกือบสอบชาติก็ยังมีอีกหลายชาติรอจ่อคิวซื้อเครื่องบินขับไล่อยู่ครับ ยังไม่หมดหวังหรอกครับผม
โดยคุณ
Skyman เมื่อวันที่
21/11/2008 05:20:38
ความคิดเห็นที่ 6
Slice ของ Saab กับลูกค้าที่คาดหวังครับ อย่าไปสนใจทั้งหมดครับเพราะมันเป็นการคาดการณ์ที่เหวี่ยงแกมาก ในแผนภาพนี้มีที่เป็นไปได้ (หมายถึงแข่งขันได้อย่างสมน้ำสมเนื้อ) ก็เช่น สวิสเซอร์แลนด์, โรมาเนีย, โครเอเชีย, บราซิล <<<< พวกนี้คือยื่นข้อเสนอไปแล้ว ....... บัลแกเรียยังจด ๆ จ้อง ๆ อยู่ครับ ........... นอกนั้นในบรรดาธงชาติข้างล่างที่พอเข้าเค้าคือ สโลวาเกีย, สโลเวเนีย, อาร์เจนตินา, ฟิลิปปินส์, แม็กซิโก, ลิทัวเนีย, ลัตเวีย <<<< แต่และประเทศจัดหาจำนวนไม่มาก บางประเทศจะจับมือกันจัดหา ........ ส่วนฮังการี, เช็ค, และแอริฟาใต้นี้คือคาดหวังการสั่งซื้อเพิ่มครับ ........ นอกนั้นอย่าไปสนใจ ไม่มีหวัง
โดยคุณ
Skyman เมื่อวันที่
21/11/2008 05:51:32
ความคิดเห็นที่ 7
อันนี้สำหรับ F-35 ครับ ..... สีขาวคือน่าจะซื้อแน่เพราะเป็นประเทศที่อยู่ในโครงการ นอกนั้นที่พอมีโอกาสก็คือสเปน, เบลเยี่ยม, โปรตุเกส, ฟินแลนด์, เกาหลีใต้, ญีป่น, จอร์แดน, คูเวต, บาร์เรน, กรีซ, ไทย ...... นอกนั้นยากครับ
โดยคุณ
Skyman เมื่อวันที่
21/11/2008 05:53:54
ความคิดเห็นที่ 8
ตอนนี้ที่กำลังแข่งกันอยู่ก็คือเดนมาร์ค (48 ลำ), เนเธอแลนด์ (40 ลำ), อินเดีย (128 ลำ), บราซิล (36 ลำ), ญี่ปุ่น (50 ลำ), โรมาเนีย (40 ลำ), โครเอเชีย (12 ลำ), สวิสเซอร์แลนด์ (36 ลำ) ...... ในจำนวนนี้ F-35 ไม่ได้ลงแข่งที่อินเดีย, บราซิล, โรมาเนีย, โครเอเชีย, และสวิสเซอร์แลนด์ ..... ส่วน Gripen อยู่ในการแข่งขันทั้งหมดยกเว้นที่ญี่ปุ่น แต่ที่มีหวังจริง ๆ คือสวิส (Gripen, Rafale, Typhoon) ที่เป็นเต็ง 1 ส่วนที่ โรมาเนีย (Gripen, Typhoo, F-16) กับโครเอเชีย (Gripen, F-16) นั้นขึ้นอยู่กับว่าทั้งสองประเทศจะกล้าซื้ออาวุธนอกสหรัฐหรือเปล่า ซึ่งในกรณีโรมาเนียนั้นลำบากพอสมควรเพราะรายนั้นอยากจะใกล้ชิดสหรัฐอยู่แล้ว (เขาพูดด้วยซ้ำว่าอยากได้ F-35 แต่ยังซื้อไม่ทันเลยมอง F-16 ก่อน)
สำหรับประเทศที่ประกาศว่าจะจัดหาเพิ่มเติมนอกเหนือจากข้างบนนี้ก็คือแคนนาดาซึ่งซื้อ F-35 น่าจะแน่นอนอยู่แล้วราว 70 ลำ, กรีซที่โครงการยังลูกผีลูกคน, ที่ใหม่จริง ๆ จะเป็นยูเครนกับฟินแลนด์ครับ ส่วนฟิลิปปินส์จะซื้อในราวปี 2011 ....... และยังมีอีกหลายประเทศรออยู่ครับ
โดยคุณ
Skyman เมื่อวันที่
21/11/2008 06:02:41
ความคิดเห็นที่ 9
สำหรับอินเดียนั้นส่วนตัวคิดว่าโอกาสของ Gripen นั้นค่อนข้างน้อยครับ เพราะจากชื่อโครงการคือ MMRCA นั้นก็แสดงว่าอินเดียต้องการ บ.ระดับกลางขึ้นไปซึ่ง บ.อย่าง Typhoon, Rafale และ MiG-35 นั้นดูจาะมีโอกาสมากกว่าโดยเฉพาะทาง MiG นั้นค่อนข้างจะมั่นใจมากว่าตนจะเป็นผู้ชนะครับ
สำหรับญี่ปุ่นนั้นโครงการจัดหา บ.ขับไล่เพื่แทน F-4EJ ที่ประจำการมานานและอาจจะรวมถึง F-15J ในอนาคตนั้นทาง JASDF สนใจ F-22 มากกว่าครับแต่ถ้าติดในกรณีที่สหรัฐฯไม่พร้อมที่จะขายให้ บ.แบบอื่นเช่น F/A-18F ของBoeing หรือ บ.จากยุโรปก็เป็นตัวเลือกที่เป็นไปได้ครับ แต่คงจะไม่ใช่สำหรับ Gripen เนื่องจากญี่ปุ่นต้องการ บ.สองเครื่องยนตร์ขนาดกลาง-ใหญ่มากว่าครับ
ส่วน เดนมาร์ก เนเธอร์แลนด์ บราซิล สวิสเซอร์แลนด์ โครเอเชีย และโรมาเนีย นั้นก็ตามข้อมูลที่คุณ Skyman นำเสนอมาข้างต้นครับ
โดยคุณ
AAG_th1 เมื่อวันที่
21/11/2008 07:20:46
ความคิดเห็นที่ 10
เห็นที่ท่าน skyman ลงว่าเรายังเป็นกลุ่มเป้าหมายของ F35 ก็รู้สึกดีนะครับ อย่างน้อยเค้ายังเห็นเราอยู่ในสายตา
ปล. อยากให้ ทร.ซื้อมาจังเลย.......
โดยคุณ tantongs เมื่อวันที่
21/11/2008 23:52:38
ความคิดเห็นที่ 11
F-22 นี่ยังไม่ได้ขายให้ญี่ปุ่นอีกเหรอครับ
โดยคุณ mcot1047 เมื่อวันที่
22/11/2008 01:41:49
ความคิดเห็นที่ 12
ผมว่ายังมีอีกสองประเทศนะท่าน
Israel
Singapore
อุสาห์ เข้า Security Cooperative Participants (SCP) ไปแล้ว จ่ายเงินไปก็แยะ
ส่วนของไทย แค่เจอราคาเครื่องเข้าไป ลำละ 80 ล้านเหรียญ up คงต้องถามกับ คนขายว่า มี ผ่อน 0% สิบงวด หรือป่าวครับ...
โดยคุณ แมว เมื่อวันที่
22/11/2008 08:35:37
ความคิดเห็นที่ 13
ใช่ครับสไลด์นั้นเขาพิมพ์ตกสองประเทศนั้นไป อีกอย่างอิสราเอลสั่งไปแล้วครับ 25 ลำบวก option อีก 50 ลำ ส่วนสิงคโปร์คาดว่าจะสั่ง 100 ลำครับ
โดยคุณ
Skyman เมื่อวันที่
22/11/2008 15:05:30
ความคิดเห็นที่ 14
อยากรู้จริงๆว่าประเทศไทย จำเป็นจริงๆหรือ
ที่ต้องมีเครื่องบิน F 35 เข้าประจำการ ?
เครื่องราคาแพงขนาดนั้น หาเครื่องบินแบบอื่นที่ ราคาถูกกว่านั้นหน่อยเข้าประจำการไม่ดีกว่าเหรอ ?
โดยคุณ e21cye เมื่อวันที่
22/11/2008 23:49:27
ความคิดเห็นที่ 15
โผไม่พลิกจริงๆ ด้วยแฮะ เหมือนเลือก ปธน. เลย (แต่มีหวยล็อก) ผมว่า NG เจอศึกหนักเรื่องหาลูกค้าแน่ เว้นแต่ข้อเสนอต้องเร้าใจมากจริงๆ และโอกาสอำนวยด้วย เช่น US หวงเทค ขายเครื่องสุดแพงแต่ตัวเปล่าเป็นต้น
สำหรับกรีซมีเครื่องบินขับไล่ระดับเบาอย่าง F-16 50/52 อยู่แล้วเป็นจำนวนมาก น้องยาสอาจจะเกิดยากครับ ถ้าจะเอาเครื่องบินแบบใหม่จริงคงเป็นรุ่นเฮฟวี่เวทอย่างยูโรหรือราฟาลมากกว่า คาดว่าหวยน่าจะออกยูโรครับ ถ้าไม่ออกไปทาง Su-35/37 ก่อนนะ
คุณ e21cye ถึงขั้นนั้น F-35 ก็คงจะมีราคาถูกลงมามากกว่าที่เห็นนี้แล้วละครับ แต่จะให้เท่าน้องหยาดนั้นยากส์์ แล้วต้องดูความจำเป็นอื่นๆ ด้วยครับ
โดยคุณ
Praetorians เมื่อวันที่
23/11/2008 00:10:44
ความคิดเห็นที่ 16
ก่อนหน้านี้กรีซเคยเลือก Typhoon เพื่อเข้าประจำการเป็น บ.ขับไล่แบบใหม่มาแล้วครับแต่ภายหลังมีการยกเลิกและเลือก F-16C/D Block 52 Plus แทนครับ ซึ่งถ้ากรีซมีโครงการจัดหา บ.ขับไล่ขนาดกลาง-ใหญ่ในอนาคต Typhoon ก็น่าจะมีโอกาสมากขึ้นครับ เพราะปัจจุบันการพัฒนาระบบต่างๆถือได้ว่าพร้อมแล้วและกำลังจะมี Block ปรับปรุงใหม่ๆออกมาด้วย แต่ Rafale เองก็มีโอกาสเช่นเดียวกันครับ
ในส่วนยุทธศาสตร์ของกองทัพอากาศไทยนั้นฝูงบินขับไล่หลักของไทยในอนาคตนั้นคงจะยังมีความคล้ายคลึงกับการจัดในปัจจุบันอยู่ครับ คือปัจจุบันมี F-5T(E/F) เป็น บ.ขับไล่ขนาดเบาซึ่งเป็น บ.ยุคที่3 และ F-16A/B เป็น บ.ขับไล่อเนกประสงค์ ซึ่งเป็น บ.ยุคที่4 เป็นกำลังหลัก โดยในอนาคตกำลัง บ.ขับไล่หลักของไทยก็จะเปลี่ยนเป็น Gripen C/D ซึ่งเป็น บ.ยุคที่ 4.5 และ F-35A ซึ่งเป็น บ.ยุคที่5 ในช่วง15-20ปีข้างหน้าครับ ซึ่งจากที่ข้อมูลออกมาในอดีตนั้นกองทัพอากาศไทยก็ให้ความสนใจที่จะจัดหา F-35 มาแทน F-16 ในอนาคตแต่แรกแล้วครับ ซึ่งช่วงระยะเวลาดังกล่าว บ.F-35 น่าจะเปิดสายการผลิตในระดับเดียวกับ F-16 ที่ประเทศนอกโครงการเริ่มสามารถจัดหาได้แล้วครับ
โดยคุณ
AAG_th1 เมื่อวันที่
23/11/2008 04:24:13
ความคิดเห็นที่ 17
สงสัยคงต้องขายข้าวอีกหลายปี เพื่อเอาเงินมาซื้อเครื่องบินมาประดับบารมี
แล้วคงต้องโดนรีดภาษีอีก เพื่อเอามาให้นักบินซื้อน้ำมันฝึกบิน และพวกช่าง
สั่งซื้ออะไหล่มาเปลี่ยน
ถึงอีก 15 ปีเครื่องF 35 จะเข้าโครงการขายให้ต่างชาติ ราคาก็คงไม่ได้ต่างจากที่ประเมินไว้ในวันนี้ อย่าลืมโครงการณ์ F22 สิครับราคาเครื่อง ณ ปัจจุบันราคาถีบตัวสูงขึ้นกว่าเมื่อเริ่มตั้งโครงการณ์กว่า 2 เท่า
แล้วจะแน่ใจได้ยังไงว่าเมื่อโครงการณ์ F 35 ถึงเวลาที่จะขายให้ต่างประเทศ
ราคามันไม่โดดขึ้นไปเกินกว่า 150 ล้าน US ราคานี้อาจจะยังไม่รวมระบบอาวุธ
โดยคุณ e21cye เมื่อวันที่
24/11/2008 11:28:28
ความคิดเห็นที่ 18
สงสัยคงต้องขายข้าวอีกหลายปี เพื่อเอาเงินมาซื้อเครื่องบินมาประดับบารมี >>>> ทอ.คงไม่ได้ซื้อมาเพื่อประดับบารมีหรอกครับ ในเมื่อตอนนั้นของที่มีอยู่มันถึงเวลาต้องปลดประจำการก็คงต้องปลดและหาเครื่องแบบใหม่มาประจำการทดแทน
แล้วคงต้องโดนรีดภาษีอีก เพื่อเอามาให้นักบินซื้อน้ำมันฝึกบิน และพวกช่าง
สั่งซื้ออะไหล่มาเปลี่ยน >>>> ทุกวันนี้เราก็ต้องซื้อน้ำมันมาให้เครื่องบินบินและก็ซื้ออะไหล่มาเปลี่ยนอยู่แล้วนี่ครับ ส่วนผมเองก็เต็มใจที่จะจ่ายภาษีนะถ้าเป็นเรื่องเพื่อความมั่นคงของชาติ
ถึงอีก 15 ปีเครื่องF 35 จะเข้าโครงการขายให้ต่างชาติ ราคาก็คงไม่ได้ต่างจากที่ประเมินไว้ในวันนี้ อย่าลืมโครงการณ์ F22 สิครับราคาเครื่อง ณ ปัจจุบันราคาถีบตัวสูงขึ้นกว่าเมื่อเริ่มตั้งโครงการณ์กว่า 2 เท่า
แล้วจะแน่ใจได้ยังไงว่าเมื่อโครงการณ์ F 35 ถึงเวลาที่จะขายให้ต่างประเทศ
ราคามันไม่โดดขึ้นไปเกินกว่า 150 ล้าน US ราคานี้อาจจะยังไม่รวมระบบอาวุธ >>>> JSF F35เป็นโครงการเครื่องบินขับไล่โจมตีร่วมซึ่งจุดประสงค์เดิมเพื่อนำมาทดแทนเครื่องบินขับไล่โจมตีแบบต่างๆที่ใช้งานอยู่ในปัจจุบันและผลิตในราคาไม่แพงเกินใช้เทคโนโลยีที่ไม่สูงมากนัก(แต่ก็ทันสมัยพอดู)เพื่อสำหรับขายให้ประเทศพันธมิตรดังนั้นการที่จะนำมาทดแทนเครื่องบินแบบเก่าจำนวนมากจึงต้องดำเนินการจัดหามาในจำนวนมากเหมือนกันซึ่งอาจจะไม่มากเท่ากับจำนวนเครื่องบินที่ถูกปลดประจำการออกไป ถ้าการต้องจัดหาทดแทนในจำนวนมากแล้วราคาต่อลำสูงมากเกินไปอาจจะทำให้มีผลกระทบต่อประเทศและบริษัทผู้ผลิตเอง ซึ่งผู้ผลิตเองก็ต้องหาทางออกในเรื่องนี้อยู่แล้ว แตกต่างจากกรณีF/A-22ซึ่งวัตถุประสงค์ตั้งแต่แรกคือเป็นเครื่องบินขับไล่ครองอากาศของUSAFแต่เพียงกองทัพเดียวไม่มีนโยบายส่งออกให้กับประเทศอื่นดังนั้นจึงมีการจัดหาน้อยกว่าF 35 ที่มีการกำหนดความต้องการเครื่องในจำนวนที่มากและแน่นอนกว่า เมื่อการจัดหาที่น้อย+เทคโนโลยีที่สูงมาก ราคาต่อลำจึงสูงมากกว่าที่ประเมินไว้ตอนแรก (ลืมบอกไปว่าUSAFได้กำหนดความต้องการไว้แน่นอนแล้วแต่ตอนหลังได้ตัดลดจำนวนเครื่องเหลือน้อยลง) ปัจจุบันด้วยราคาต่อลำของF/A-22ที่สูงทำให้อเมริกาเองหาทางที่จะลดราคาต่อลำลงโดยอาจจะเปลี่ยนนโยบายหันมาพิจารณาขายให้กับประเทศพันธมิตรครับ .... OSPREY
โดยคุณ OSPERY เมื่อวันที่
24/11/2008 13:50:20
ความคิดเห็นที่ 19
F-22 ที่แพงก็เพราะสหรัฐเองลดความต้องการลงไปมากครับ
จากช่วงสงครามเย็น พี่แกตั้ง requirement ไว้ราว 7-800 เครื่อง
พอวิจ้ัย ทดสอบ ทำเครื่องออกมาเสร็จ สถานการณ์เปลี่ยนไป
เหลือความต้องการแค่ไม่ถึงสองร้อยเครื่อง(ถ้าจำไม่ผิดนะ)
ราคาเฉลี่ยต่อเครื่องก็เลยออกมาแพงลิบลิ่วอย่างนี้ครับ
และยิ่งถ้าหาลูกค้า ตปท.ไม่ได้(หรือได้ แต่คองเกรสไม่ยอมขาย)
ก็จะเป็น บ.ที่สายการผลิตสั้นที่สุดในโลก(อันนี้ผมเว่อร์ -_-")
โดยคุณ Zepia เมื่อวันที่
25/11/2008 06:49:51