หน้าแรก    ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบคำถาม    เข้าสู่ระบบ      


เอาของเก่า มาหากิน อีกรอบ...5 5 5 5

โดยคุณ : juldas เมื่อวันที่ : 25/11/2008 09:29:00

เปรียบเทียบ กองทัพเรือ จีน กับ ไตหวัน...ทำมานานแล้วครับ...ข้อมูล ยังไม่ได้อัพเดต...แต่เมื่อคราวก่อนใช้วิธีสแกน ภาพอาจจะไม่ชัด...คราวนี้ เลยลองวิธีใหม่ครับ...




ความคิดเห็นที่ 1


เรือ Destroyer


โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 20/11/2008 10:26:18


ความคิดเห็นที่ 2


Frigate


โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 20/11/2008 10:27:47


ความคิดเห็นที่ 3


Submarine


โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 20/11/2008 10:29:24


ความคิดเห็นที่ 4


ต๊ายยย...ลืมแก้ ภาษาอังกฤษ ประเทศจีน ครับ...ก็ขอแก้ ในใจ รึกันครับ...5 5 5 5

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 20/11/2008 10:31:19


ความคิดเห็นที่ 5


ปัจจุบันกองทัพเรือจีนมีเรือฟริเกตชั้น Type 054 ถึง 6ลำครับ คือ Type 054 2ลำคือ FFG-525 Maanshan และ FFG-526 Wenzhou และ Type 054A อีก 4ลำ คือ FFG-529 Zhoushan, FFG-530 Xuzhou, FFG-568 Chaohu และ FFG-570 Huangshan ครับ

โดยคุณ AAG_th1 เมื่อวันที่ 20/11/2008 21:12:14


ความคิดเห็นที่ 6


 

     ถ้าดูตามจำนวนเรือที่ทันสมัยพอแล้ว   ผมว่าจีนยังได้เป็นต่อเลยครับ   โดยเฉพาะกองเรือฟรีเกตเป็นรองเอามากๆ     แต่ว่าเมื่อทร.จีนเร่งนำเรือ Type 054A เข้าประจำการได้กว่าครึ่งของกองเรือ   รับรองว่าไต้หวันหมดสิทธิสู้    

    ถ้าเรือชั้น Type 054A ถูกนำเข้าประจำการทดแทนเรือฟรีเกตรุ่นโบราณทั้ง 40 กว่าลำหมดแล้วล่ะก็    เรือชั้นนี้ก็จะถือว่าเป็นเรือฟรีเกตแบบใหม่ที่ต่อเข้าประจำการมากที่สุดในปัจจุบัน     เรามาลองทายกันว่าเรือฟรีเกตทีอเมริกาจะต่อเข้ามาทดแทนเรือชั้นเปอร์รี่นั้น  เมกาจะมีปัญญาต่อออกมาได้สักกี่ลำในสภาพเศรษฐกิจลุ่มๆดอนๆที่จะตามมานับสิบปี     นี่ได้ยินข่าวว่าเมกาต้องไถตังค์ชาติดอเปก 4 ชาติเป็นเงินนับ 10 ล้านล้านบาท  แถมยังขอเบี้ยวหนี้คูเวต 500,000 ล้านบาทอีกด้วย   จนกรอบสุดๆ  

    ไหนๆก็พูดถึงเรือชั้น Type 054A แล้ว   ผมว่าวันข้างหน้าเรือชั้นนี้เป็นเรือชั้นที่ประสบความสำเร็จทางการตลาดของจีนเป็นอย่างมากครับ    เพราะด้วยจำนวนเรือที่ต้องทดแทนลำต่อลำจำนวนมากแล้ว   มันจะต้องมีการปรับปรุงเป็นรุ่น A-1  A-2   A-3 ไปเรื่อยๆ    และมีแนวโน้มว่าอาจจะมีความอ่อนตัวในการติดตั้งระบบอาวุธจากชาติตะวันตกและกลุ่มอื่นๆได้   นอกจากระบบของจีนและรัสเซีย      อำนาจการยิงของเรือชั้นนี้นั้น   ตอนนี้ต้องบอกได้ว่าสูงกว่าเรือชั้นลาฟาแยตแล้ว    และไม่ด้อยไปกว่าเรือฟรีเกตของชาติยุโรปที่ไม่ได้ติดตั้งระบบอำนวยการรบ Aegis เลย     

    และถ้าวันข้างหน้าจีนทำการลดขนาดของระบบอำนวยการรบของเรือพิฆาตชั้น LUYANG 2  ให้มีขนาดเล็กลงเหมือน Aegis ที่มีชุด กลางและ ชุดเล็ก    เพื่อนำมาติดตั้งในเรือชั้น Type 054A-xx   แล้ว    เรือชั้นนี้จะมีประสิทธิภาพอยู่ในระดับสูงมากแน่ๆครับ      

    ทร.เราน่าจะติดตามชมการพัฒนาเรือชั้นนี้ไว้ด้วย    เผื่อวันข้างหน้าเกิดเปลี่ยนใจเลิกใช้ของมะกันครับ     ผมมั่นใจว่ามันจะเป็นเรือที่ยอดนิยมในวันข้างหน้าแน่ๆ

 

 

โดยคุณ neosiamese เมื่อวันที่ 21/11/2008 09:58:49


ความคิดเห็นที่ 7


"ถ้าดูตามจำนวนเรือที่ทันสมัยพอแล้ว   ผมว่าจีนยังได้เป็นต่อเลยครับ"

ขอโทษครับ   ผมตกคำว่า  "ไม่" ไปหนึ่งคำ   ดังนั้นควรเป็นว่า  

ถ้าดูตามจำนวนเรือที่ทันสมัยพอแล้ว   ผมว่าจีนยัง "ไม่" ได้เป็นต่อเลยครับ  

  ขอโทษด้วยครับ

 

โดยคุณ neosiamese เมื่อวันที่ 21/11/2008 10:04:10


ความคิดเห็นที่ 8


ตอนนี้จีนเองก็มีการต่อเรือชั้น Type 054 ออกมาเรื่อยๆครับ ก็มีข้อมูลและภาพออกมาบางส่วนว่าเรือชั้น Type 054B ซึ่งเป็นเรือแบบใหม่ของเรือในชุดนี้กำลังอยู่ในการสร้างครับ โดยรายละเอียดความแตกต่างระหว่างเรือชุดใหม่กับ 2ชุดก่อนคงจะมีออกมาหลังจากนี้ครับ


โดยคุณ AAG_th1 เมื่อวันที่ 21/11/2008 21:14:43


ความคิดเห็นที่ 9


นอกจาก ไตหวัน แล้ว จีนก็ยังต้อง เหลียวมามอง เกาหลีใต้ ด้วยเหมือนกันครับ...


โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 22/11/2008 01:47:23


ความคิดเห็นที่ 10


สังเกตุ เลข 4 กับ เลข 0  ทร.เกาหลีใต้ จะไม่ใช้นำมาเป็นเลขเรือ...สงสัย น่าจะเป็นเลขที่ไม่ดีสำหรับเขา...
โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 22/11/2008 01:50:37


ความคิดเห็นที่ 11


 

  ทร. เกาหลีใต้จะต่อ FFX มาอีก 24 ลำเพื่อทดแทนเรือเก่าชั้น Ulsan ซึ่งเรือชั้น ulsan มีประมาณ 10 ลำ   เอ๋......หรือเอามาทดแทนทั้งชั้น Ulsan และ pohang 

   เรือ LPD 18000 ตัน  2 ลำ

  เรือ พิฆาต  11  ลำ

 เรือฟรีเกตใหม่  24  ลำ

 เรือบรรทุกบ. กำลังออกแบบและวางแผนต่อ  2  ลำ

เรือดำน้ำธรรมดา  12  ลำ

เรือดำน้ำนิวเคลียร์ที่กำลังออกแบบต่อเอง  6  ลำ

 

    ชาติมหาอำนาจหน้าใหม่ของโลกครับท่าน

 

โดยคุณ neosiamese เมื่อวันที่ 22/11/2008 09:44:15


ความคิดเห็นที่ 12


 

  เมื่อไร่ ทร. ไทยของเราจะมีมีเรือดีๆจำนวนเต็มพรืดให้คุณ Juldas มาทำแผนภาพอวดพวกเราได้แบบ 3 ประเทศนี้จังเลย.....

 

โดยคุณ neosiamese เมื่อวันที่ 22/11/2008 09:45:57


ความคิดเห็นที่ 13


 

แจมรูปกับท่าน AAG_th1 ครับ

  จุดแตกต่างระหว่างรุ่น 054A กับรุ่น 054B  ดเหมือนจะติดตั้ง VLS ชุดหลังเพิ่มอีก 16 เซล  รวมหน้าหลัง 48 เซล   ติดจรวดปราบเรือดำน้ำเพิ่ม  นอกนั้นดูระบบเรด้าร์และสายอากาศอื่นๆแล้วไม่น่าจะหนีกันมากนัก   หรือ 16 เซลที่เพิ่มมาเพื่อการติดตั้งระบบ Asroc เวอร์ชั่นจีนแดงที่มีข่าวว่ากำลังพัฒนา    ถ้าจริงก็แสดงว่าเรือชั้นนี้ถูกแปลงเป็นรุ่นต่อต้านเรือดำน้ำด้วย  นอกจากเป็นเรือฟรีเกตอเนกประสงค์  

  อืมมม......จีนกับเกาหลีใต้นี่มีการพัฒนาการทางด้านกำลังทางทะเลน่าตกใจมากๆเลย  

 


โดยคุณ neosiamese เมื่อวันที่ 22/11/2008 10:00:13


ความคิดเห็นที่ 14


ดูเหมือว่าเรือฟริเกตแบบ FFX นั้นนอกจากจะนำมาแทนเรือชั้น Ulsan แล้วยังจะแทนเรือตรวจการณ์คอร์เวตแบบ Pohang และ Donghae ไปด้วยครับ

ในส่วนของเรือตรวจการณ์ที่จะมาประจำการแทนเรือตรวจการณ์ชั้น Chamsuri ที่ประจำการมานานนั้น กองทัพเรือเกาหลีใต้ก็มีโครงการ PKG ชั้น Gumdoksuri ครับ ซึ่งเป็นเรือเร็วตรวจการณ์ติดอาวุธนำวิถีแบบใหม่ยาว63เมตรที่มีระวางขับน้ำ 400-450ตัน ใช้ ย.Water Jet ทำความเร็วได้ 41น็อต ติดปืนใหญ่ 76mm และ 40mm โดยติดตั้งอาวุธปล่อนต่อนต้านเรือผิวน้ำ SSM-700K ซึ่งผลิตเองในประเทศ ซึ่งเรือต้นแบบลำแรกชื่อ Yoon Young–Ha ก็เพิ่งปล่อยลงน้ำไปเมื่อปีที่แล้วและอยู่ในระหว่างการทดสอบโดยน่าจะเข้าประจำการได้ภายในปีนี้ คาดว่าเรือชั้นนี้จะมีการพัฒฯเป็นสองแบบโดยอีกแบบจะมีระวางขับน้ำเพิ่มขึ้นเป็น 570ตัน และมีการต่อรวมถึง 40ลำครับ

เท่าที่ดูจากรูปแบบการต่อเรือตรวจการณ์ติดอาวุธนำวิถี หรือเรือเร็วโจมตีติดอาวุธนำวิถี(รจอ.)นั้น หลายๆประเทศจะต่อเรือที่มีขนาดใหญ่ราวๆ 60-70เมตร และใช้ ย.Water Jet ครับซึ่งทำความเร็วได้สูง และมีพิสัยทำการราวๆ 3,000เมตร ใกล้เคียงกับเรือคอร์เวตตรวจการณ์เบาในอดีตหลายแบบครับ


โดยคุณ AAG_th1 เมื่อวันที่ 22/11/2008 22:10:46


ความคิดเห็นที่ 15


ท่าน neosiamese เมื่อดูจากแผ่นภาพแล้ว...จะเห็นได้ว่า เรือทั้งหมดของ ทร.เกาหลีใต้ ล้วนต่อขึ้นเองภายในประเทศ ทั้งนั้นเลยครับ...

ทร.เกาหลีใต้ จึงมีเรือรบ ที่ตอบสนองตรงความต้องการของกองทัพ...และสามารถที่จะส่งออกขายให้กับ กลุ่มประเทศในเอเชีย ได้...

ไม่แน่ กัมพูชา และ ฟิลิปปินส์ ในอนาคตอาจจะเป็นประเทศกลุ่มเป้าหมายหลัก ของ เกาหลีใต้ ก็ได้นะครับ....ที่แน่ ๆ ได้มูลค่าการซื้อจาก อินโดนีเซีย ไปแล้ว ในส่วนของเรือ LPD..

แต่ผมก็ยังสงสัยในเรื่อง ประสิทธิภาพ ของเรือ เกาหลีใต้....

เช่น บังคลาเทศ (ในกระทู้ที่ผ่านมา) และ อินโดนีเซีย...ก็ไม่เห็นจะมีแนวโน้มว่า มีความสนใจจะสั่งซื้อเรือของ เกาหลีใต้ ในลำดับต่อๆ มา...ซึ่ง บังคลาเทศ ก็มีปัญหาในตอนแรก....ในการทำงานของตัวเรือ...

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 22/11/2008 22:27:20


ความคิดเห็นที่ 16


แล้วญี่ปุ่นละครับ คุณ Jaldas มีข้อมุลหรือเปล่าครับ แบบว่าอยากรู้อ่ะคับ เห็นอยู่แถวๆนั้น เหมือนกัน

โดยคุณ Baros เมื่อวันที่ 23/11/2008 00:49:44


ความคิดเห็นที่ 17


ฟิลิบปินส์และบังคลาเทศเองได้จัดหาเรือตรวจการณ์ชั้น Chamsuri จากเกาหลีใต้ไปตั้งแต่ช่วง10-20กว่าปีแล้วครับ ซึ่งอุตสาหกรรมการต่อเรือรบผิวน้ำของเกาหลีใต้นั้นก็เริ่มมีศักยภาพในการต่อเรือเพื่อส่งออกมาตั้งแต่ช่วงปี1980sแล้ว

อย่างไรก็ตามทั้งสองประเทศนั้นค่อนข้างจะมีงบประมาณสำหรับการจัดหาของกองทัพที่จำกัดครับ ซึ่งในส่วนของฟิลิบปินส์เองนั้นถ้าเรือรบแบบใหม่ๆของเกาหลีใต้มีราคาแพงมากก็คงจะไม่มี งป.พอจะจัดหาครับ อย่างกัมพูชาเองก็เช่นกันครับ เรือจากจีนนั้นดูจะมีราคาที่ถูกกว่าพอที่จัดหาได้ครับ ถ้ากัมพูชามีแผนจะจัดหาเรือรบผิวน้ำที่ติดอาวุธนำวิถีในขนาดที่ใหญ่ขึ้นจากเรือที่มีอยู่

โดยคุณ AAG_th1 เมื่อวันที่ 23/11/2008 04:15:25


ความคิดเห็นที่ 18


 

   ผมอยากให้ ทร. ของเราเดินตามแบบอย่างของกองทัพเรือเกาหลีใต้ครับ  คือ  ออกแบบและต่อเอง  โดยมีแผนงานต่อเรือใช้งานเองเป็นแผนระยะยาวครับ    เรือแต่ละแบบแต่ละชั้นออกแบบโดยเน้นหนักในการใช้งานให้เหมาะสมกับสภาพท้องทะเลที่เป็นพื้นที่รับผิดชอบและเหมาะสมกับสภาพการเงินของทร.เอง  

  เช่น    เรือตรวจการณ์ไกลฝั่ง    น่าจะมีแผนงานต่อสัก 12 - 24 ลำ  ซึ่งดูแล้วเรือ OPV ใหม่ขนาด 80 เมตรนี่ดูจะเหมาะมากครับ    ใช้ระบบเรด้าร์และอาวุธจากต่างประเทศ  แต่เรือทำการต่อและออกแบบเองทั้งหมด   โดยมาทดแทนเรือเร็วโจมตีปืนและเรือเร็วโจมตีอาวุธนำวิถีทุกแบบ   รวมถึงเรือตรวจการณ์ปืนรุ่นเก่าๆที่มีระวาง 250 -600 ตันทั้งหมด   ซึ่งกองเรือตรวจอ่าวก็มีเรือเหล่านี้หลากแบบราวๆ  20 -30 ลำ    ถ้าเราทดแทนมันด้วยเรือ OPV แบบนี้สัก 24 ลำ  ดูจะเหมาะสมครับ    โดยเป็นแผนงานระยะยาวสัก 15 ปี   ต่อออกมาปีละ 1-2 ลำ   ระบบอาวุธก็จะเป็นมาตรฐานเดียวกันทั้งกองเรือตรวจอ่าว    ลดปัญหาด้านต่างๆได้มากครับ   และใช้เงินสนับสนุนปีละ 2500 - 5000 ล้านบาทต่อปี     และด้วยที่มันจะต้องมีการทะยอยต่อเข้าประจำการ 15 ปี   มันจึงต้องมีการพัฒนาการของเรือเป็น mod หรือ batch ต่างๆออกมาและรองรับหลากภาระกิจได้  รวมทั้งทะยอยแก้ปัญหาที่มีในลำถัดๆไปซึ่งจะเป็นการเพิ่มความน่าเชื่อถือของเรือชั้นนี้ด้วย   

       นอกจากนี้ยังสามารถเป็นการสนับสนุนการต่อเรือรบส่งออกด้วยนะครับ     เพราะเรือชั้นนี้จะมีการพัฒนาต่อเนื่องตลอด  รวมทั้งประเทศผู้ผลิตคือประเทศไทยเราได้มีเรือชั้นนี้ประจำการจำนวนมาก    ทำให้ตลาดต่างประเทศรู้สึกไว้ใจได้มากในระดับที่ดีในเรื่องการซ่อมบำรุง  ความน่าเชื่อถือของคุณภาพเรือในชั้นนี้    และความหลากหลายความอ่อนตัวในการนำระบบอาวุธแบบต่างจากหลายค่ายมาให้เลือกติดตั้ง   เหมือนเรือ ต. 991  ที่ส่งออกได้  และสามารถรองรับระบบอาวุธจากจีนได้ด้วย    

    ส่วนเรือในระดับอื่นๆ   เช่น  เรือฟรีเกต   เรือพิฆาต  เรือดำน้ำ  เรือ LPD  เรือบรรทุกบ.   เราก็ใช้รูปแบบเช่นเดียวกันกับเรือ OPV ได้     ในไม่ช้าไม่นาน ทร. ไทยเราก็จะสามารถก้าวไปเทียบเคียงได้กับทร.เกาหลีแน่ครับ  

   นอกจากนี้สังเกตไหมครับว่า   ราคาเรือที่ทร.เกาหลีใต้ต่อออกมาแต่ละลำนั้นมีราคาต่ำกว่าราคาเรือจากชาติตะวันตกราวๆ 40%-50%   เช่น เรือพิฆาต AEGIS ชุดใหญ่    ราคาแค่ 35,000 ล้านบาท    ในขณะที่เรือจากชาติตะวันตก ราคาอยู่ระหว่าง 50,000 - 60,000 ล้านบาท     

   เรือ KDX-2  ราคา ราวๆ 15,000 ล้านบาท   ซึ่งเป็นเรือพิฆาต  ระวางขับน้ำ 5,000 ตัน     ซึ่งถ้าต่อจากชาติตะวันตกแล้ว  ผมว่าราคาคงไม่น้อยกว่า 20,000 ล้านบาทแน่ๆ    

   ดังนั้นถ้าทร.เกาหลีใต้เอาแต่จัดหาเรือแต่ละแบบจากชาติตะวันตกทั้งหมด    ป่านนี้คงได้เรือพิฆาตแค่ 5- 6 ลำ    เรือฟรีเกต แต่ 10 - 12 ลำ    ซึ่งทำให้ทร.เกาหลีมีขนาดเล็กกว่านี้มาก     ความยิ่งใหญ่เทียบกันไม่ได้ครับ

     เกาหลีใต้โมเดลเป็นรูปแบบที่ทร.ไทยควรเอาแบบอย่างที่สุดครับ

  

โดยคุณ neosiamese เมื่อวันที่ 23/11/2008 09:03:48


ความคิดเห็นที่ 19


 

น่านดิครับ   เหมือนท่าน Baros ว่า  ลืมทร.ญี่ปุ่นไปได้ไงครับท่าน Juldas ในเมื่อกล่าวถึงทร.ทั้ง 3 ชาติที่มักเขม็งเกลียวกันบ่อยๆ......อิอิอิ 

    ไงผมและเพื่อนๆขอขอบคุณท่าน Juldas สำหรับแผนภาพที่ดีๆเช่นนี้นะครับ   เนื้อหาสาระระดับสุดยอดแบบท่าน Juldas และเพื่อนเก๋าๆจากบอร์ดวิง 21 เดิมนี่เองที่ทำให้ TFC ในปัจจุบันก้าวสู่ระดับอินเตอร์ไปเรียบร้อยแล้ว   แถมด้วยสห.มานั่งเฝ้าบอร์ดเป็นประจำด้วย......อิอิอิ      เลยทำให้ข้อมูลลึ๊กลึกต้องโบ้ยบินไปด้วยง๊าบ...........ผิดกับสมัยยังมีสมาชิกแค่ 50 - 150 คนที่มักจะมีข้อมูลลึ๊กลึกมาให้ฮือฮากันบ่อยไป 

 

โดยคุณ neosiamese เมื่อวันที่ 23/11/2008 09:15:39


ความคิดเห็นที่ 20


อุตสาหกรรมหนักต่างๆของเกาหลีใต้นั้นถือได้ว่ามีการพัฒนาก้าวหน้ากว่าไทยเราหลายสิบปีครับ ซึ่งในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการต่อเรือเช่นอุตสาหกรรมโลหะ และอู่ต่อต่างๆอย่าง Hyundai หรือ Daewoo นั้นก็ถือว่าอยู่ในชั้นแนวหน้าของเอเซียครับ เพราะฉนั้นการพัฒนาการต่อเรือรบผิวน้ำภายในไทยเองนั้นคงจะทำแบบเกาหลีใต้ที่ต่อละที่เยอะๆเป็นสิบๆลำไม่ได้ครับ มันต้องค่อยๆพัฒนาอุตสากรรมต้นน้ำและส่วนที่เกี่ยวข้องไปเรื่อยๆตามความเหมาะสมไปครับ

ปัจจุบันกำลังของกองเรือตรวจอ่าวของไทยนั้นประกอบด้วย 3หมวดเรือคือ

หมวดเรือที่๑ ประกอบด้วย ร.ล.มกุฎราชกุมาร(เรือธงกองเรือ), ชุด ร.ล.ปัตตานี(เรือ ตกก.), ชุด ร.ล.ปราบปรปักษ์(ปัจจุบันน่าจะปรับเป็น รจป. แล้ว), ชุด ร.ล.ราชฤทธิ์(รจอ.) และ ชุด ร.ล.ชลบุรี(รจป.)

หมวดเรือที่๒ ประกอบด้วย ชุด ร.ล.สัตหีบ, ชุด ร.ล.หัวหิน, ชุดเรือ ต.๑๑(คงจะปลดในอนาคตอันใกล้), ชุดเรือ ต.๘๑, ชุดเรือ ต.๙๑ และอาจจะรวม ชุดเรือ ต.๙๙๑ ด้วยครับ

หมวดเรือที่๓ ประกอบด้วย ชุดเรือ ต.๒๑, ชุดเรือ ต.๒๑๓ และ เรือ ต.๒๓๑

ถึงในอนาคตถ้ากองทัพเรือสามารถจัดตั้ง กองเรือป้องกันฝั่ง ซึ่งตั้งมาตั้งแต่ปี ๒๕๓๕ เป็นหน่วยอิสระที่แยกสายการบังคับบัญชาจากกองเรือภาคต่างๆ(เป็น กองเรือยามฝั่ง) โดยโอนเรือตรวจการณ์ในหมวดเรือที่๒ และ ๓ มาจัดตั้ง คือประกอบด้วย หมวดเรือตรวจการณ์ปืน, หมวดเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่ง และหมวดเรือตรวจการณ์ชายฝั่งที่อยู่ในสังกัด กตอ.เดิมมาขึ้นกับ กปฝ.(หรือ กยฝ.) ได้นี้ กตอ.จะนั้นประกอบด้วยกำลังหลักเป็น เรือ ตรวจการณ์ไกลฝั่งอย่างน้อย2ชุด รจป.2ชุด และ รจอ.อีก1ชุด โดยมี ร.ล.มกุฎราชกุมาร เป็นเรือธงเช่นเดิมครับ ซึ่งน่าจะรองรับสถานการณ์การรักษาความั่นคงทางทะเลในปัจจุบันได้มากขึ้น

อย่างไรก็ตามเนื่องจากเรือโจมตีชุดต่างๆที่ประจำการใน กตอ. นั้นภายในปี ๒๕๕๖ จะมีอายุการใช้งานเกิน 30-25ปีขึ้นไปแล้วครับ เช่น ชุด ร.ล.ปราบปรปักษ์ ต่อมาแต่ปี ๒๕๑๙, ชุด ร.ล.ราชฤทธิ์ ต่อมาตั้งแต่ปี ๒๕๒๒ และ ชุด ร.ล.ชลบุรี ต่ิอมาแต่ปี ๒๕๒๖ ซึ่งเรือกลุ่มนี้นั้นมีพิสัยทำการราว 1,000-2,500ไมล์ทะเลครับ

ถ้าดูจากผลของสงครามต่างๆในช่วงปี 1980s-1990s เป็นต้นมาจะเห็นได้ว่า เรือเร็วโจมตีแบบเดิมๆนั้นเป็นเรือที่ค่อนข้างจะล้าสมัยเพราะปกป้องตัวเองจากอากาศยานได้น้อย(เช่นกองเรืออิรักส่วนใหญ่ถูก Sea Lynx อังกฤษใช้ Sea Skua ยิงจม) และกองทัพเรือในปัจจุบันนั้นต้องการเรือที่สามารถออกปฏิบัติการในทะเลได้ในพิสัยทำการไกลเป็นระยะเวลานานครับ ซึ่งถ้าดูจากการออกแบบของเรือตรวจการณ์ที่ต่อในปัจจุบันของประเทศต่างๆในข้างต้นนั้นจะใหญ่ในระดับเดียวกับเรือคอร์เวตเบาและออกทะเลได้ลึกขึ้น เช่นเรือโครงการ PKG ชั้น Gumdoksuri ของเกาหลีใต้ในข้างต้น ซึ่งมีพิสัยทำการราว 3,000ไมล์ทะเล หรือบางแบบเป็นเรือคอร์เวตเบายาว70กว่าเมตรก็ใช้ Technology STEALTH  เก็บอาวุธในลำตัวเรือมีลาดจอด ฮ.เช่นเรือชั้น Visby ของสวีเดนเป็นต้น แต่เรือส่วนใหญ่จะใช้ ย.Water Jet 3-4เครื่องทำความเร็วได้ถึง40น็อตครับ

ในอนาคตถ้าเริ่มจะมีการปลดประจำการเรือเร็วโจมตีชุด ร.ล.ปราบปรปักษ์ไปนี้ นอกจากเรือ ตกก. แล้ว กองทัพเรือคงเริ่มพิจารณาแนวทางเกี่ยวรูปแบบเรือที่จะมาแทนเรือเร็วโจมตีครับว่าควรจะมีคุณสมบัติอย่างไรบ้าง

โดยคุณ AAG_th1 เมื่อวันที่ 23/11/2008 10:24:12


ความคิดเห็นที่ 21


ท่าน baros และ ท่าน neosiamese ของ ญี่ปุ่น ผมเคยทำไปแล้วครับ...อยู่ในกระทู้เก่า ๆ  แต่เดี๋ยวจะลองไปค้นดู แล้วมาแปะให้ครับ...

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 23/11/2008 20:57:58


ความคิดเห็นที่ 22


อนาคต อุตสาหกรรมทางการทหารของ เกาหลีใต้

By Jung Sung-ki
Staff Reporter

Talks on the third phase arms-for-debt swap deal between South Korea and Russia have stalled over differences on a list of trade items and technology transfer issues, a military source said Monday.

Under the envisaged deal, Russia wants to make about half of its overdue loan payments worth $1.3 billion in weapon systems.

The two countries signed a memorandum of understanding (MOU) last December on the introduction of Russian equipment and the transfer of arms technology. Under the MOU, Russia will transfer five technologies related to submarine fuel cells and others to South Korea.

Moscow also pledged it would consider transferring technologies regarding long-range radar and a defense system against an electromagnetic pulse (EMP) attack.

Little progress has been made so far regarding the arms-for-debt exchange, however, as the two sides favor different items for the swap, said the source.
The two held two rounds of working-level negotiations over the issue in April but failed to yield tangible results, he said.

Unlike the previous two sets of arms-for-debt deals codenamed ``Brown Bear," Seoul now wants to receive more state-of-the-art arms technology from Moscow than end products, he said. It offered to introduce a few kinds of weapons systems, such as Kamov Ka-32 utility helicopters, IL-103 training aircraft and advanced sighting devices.

On the other hand, Moscow wants to send weapons such as T-80U Tanks, METIS-M anti-tank missiles, BMP infantry fighting vehicles and Murena-E hovercraft as it did under previous deals in 1995 and 2003, the source said.

Russians argue Seouls demand for the Ka-32 and IL-103 originally developed to meet civilian needs does not satisfy a bilateral agreement on military technology cooperation, he said.

The Russian government sent a letter to South Korean Defense Minister Lee Sang-hee last month, calling on Seoul to include more weapons systems in its list of items for the swap, according to the source.

But Seoul officials insist the Russian claims are irrational since the Korean military has operated Ka-32 helicopters for military use and the IL-103 will also be used in training flights.

The Air Force operates seven Ka-32s; while the Maritime Police and the Korea Forest Service fly 34 more on search-and-rescue or firefighting missions.

The IL-103 is a small aircraft featuring a spacious cabin with excellent peripheral vision. It is designed for primary training, aerobatics and air patrols among others.

``Weapons systems from Russia have been proven in quality but there have also been frequent problems regarding logistics support, an official at the Ministry of National Defense said on condition of anonymity. ``Were also facing budget constraints. In fact, we have no room for purchasing weapons systems not necessarily required.

Most of the aircraft and weapons systems used by the South Korean military are supplied by U.S. manufacturers, and Russian weaponry traditionally comprises a fairly small proportion.

``The talks with Russia are still under way and the two sides are trying to narrow their differences on the arms-for-debt swap. So its early and wrong to say the talks are over, an officer of the Defense Acquisition Program Administration said.

Summit Slated for September

He said the arms-for-debt swap would be a main item on the agenda for a scheduled summit between President Lee Myung-bak and his Russian counterpart Dmitry Medvedev in September.
Seouls Foreign Ministry officials are worried the deadlock with the swap could affect Seoul-Moscow cooperation in the field of energy resources.

Brown Bear Project

The Brown Bear project began as part of Seouls efforts to retrieve loans extended to the former Soviet Union in 1991 to assist Russias transformation into a market economy.

Following the landmark establishment of diplomatic ties between the two nations in 1990, one year before the Soviet Union collapsed, the Roh Tae-woo government extended the Kremlin $1 billion in bank loans and a $470 million commodities loan.

South Korea remains technically at war with communist North Korea after the 1950-53 Korean War, having never signed a peace treaty. The former Soviet Union backed North Korea during the Cold War era.

Moscow was required to repay the loans in five years with a three-year grace period. But as the Russian economy fell apart, Moscow fell behind on its payments.

In 1995, Moscow began providing weapons in lieu of cash under the first phase Brown Bear program. In the first three years of the program, Russia provided South Korea $210 million worth of modern arms such as T-80U tanks, METIS-M anti-tank missiles, Ka-32 transport helicopters, lgla portable anti-aircraft missiles and spare parts.

By 2003, interest had pushed Russias debt to $2.24 billion. The Roh Moo-hyun government decided to write off $660 million of that in exchange for more arms and a pledge to pay the remaining $1.3 billion in cash over 22 years.

From 2003 to 2006, Seoul received arms worth $534 million, including three Murena-E hovercraft and seven Ka-32s.

Russias cash flow has been doing better in recent years, thanks largely to oil revenues. Last year, Moscow repaid about $70 million.

Kamov for Marine Missions?

Reports said South Koreas Navy wants to introduce more than 30 Ka-32 helicopters to form an air wing for its 14,000-ton large-deck landing ship.

The utility helicopters would be mainly used supporting Marine Corps amphibious assault operations, according to reports.

The Hankyeoreh newspaper said the military recently allocated some $900 million for the purchase of 32 Ka helicopters under a mid-term force improvement program for 2009 to 2013.

The Navy dismissed the report, saying there was no plan yet to operate the Russian helicopters.

The Ka-32 is an autonomous high power-to-weight compact air transporter, which can operate independently of ground support. The main roles of the Ka-32 civil helicopter are as passenger and cargo transport; a flying crane for building construction; transport for bulky cargo up to 5t carried on an external sling; search and rescue; medical and emergency evacuation; loading and unloading ships at sea; and offshore operations.
 

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 23/11/2008 23:30:52


ความคิดเห็นที่ 23


มาแว๊วววววว...กองกำลังป้องกันตนเองทางทะเล ของประเทศญี่ปุ่น...

เป็นแผ่นภาพ ของข้อมูลสำหรับปี 2007 นะครับ...ตอนนี้ เรือธง ได้เปลี่ยนไปแล้วครับ...

กองเรือญี่ปุ่น ได้แบ่งออกเป็น 4 กองเรือด้วยกันครับ...ดูแลในแต่ละน่านน้ำ


โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 24/11/2008 11:22:41


ความคิดเห็นที่ 24


กองเรือที่ 1 อยู่ที่ โยโกสุกะ เป็นกองบัญชาการกองทัพเรือ

สำหรับรายละเอียดที่กรอบข้าง ๆ อันนั้น เป็นรายละเอียด ยี่ห้อโมเดล และเว๊ปที่จะหาซื้อได้ ราคาเป็นเงินเยน และเงินบาท...

ซึ่ง ผมสะสมมีครบทั้งจำนวน และแบบเรือแล้ว สำหรับกองเรือที่ 1


โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 24/11/2008 11:25:58


ความคิดเห็นที่ 25


กองเรือที่ 2


โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 24/11/2008 11:28:13


ความคิดเห็นที่ 26


กองเรือที่ 3


โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 24/11/2008 11:30:10


ความคิดเห็นที่ 27


กองเรือที่ 4 และกองเรือฝึก


โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 24/11/2008 11:32:38


ความคิดเห็นที่ 28


เออออ....ผมว่าผมลืมอะไร...ขาด หมวดเรือดำน้ำ ไปนี่เอง...5 5 5 5 ไว้คราวหลังครับ...ยังไม่ได้ทำเลย...
โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 24/11/2008 11:34:37


ความคิดเห็นที่ 29


เอาของเก่ามาหากินอีกรอบจริงๆครับงานนี้

ขอบคุณ คุณ juldas มากนะครับ ขยันจริงๆ

โดยคุณ SpruenceT เมื่อวันที่ 24/11/2008 15:38:43


ความคิดเห็นที่ 30


ขอบคุณมากครับ เปรมเลยผม เต็มท้องเลยอ่ะ
โดยคุณ ลมหมุนวน เมื่อวันที่ 24/11/2008 22:29:02