�� กระทู้นี้ ต่อเนื่องมาจาก กระทู้ บันทึกช่วยจำ ของท่าน Juldas ครับ
� แต่อันนี้ แยกมาแจกแจง เรื่องเรือ ฟริเกต สมรรถนะสูง ครับผม
�� ที่ม่ตั้งกระทูนี้ ก็เพื่อต้องการรับฟังความคิดเห็นของสมาชิกท่านอื่นๆ ครับ
�ว่าเรือฟริเกต ชนิดใด จะเหมาะสม กับ กองทัพเรือไทยมากที่สุด ทังในเรื่องระบบ อาวุธ หรือจะราคา หรือจะผลตอบแทนอื่นๆ อย่างเช่น เราสามารถ ต่อในประเทศของเราเองได้ ด้วยการถ่ายทอดเทคโนโลยี แบบ�Technology Transfer
� ที่ สิงคโปร์ ซื้อเรือ ฟริเกต ฟอร์มิเดเบิ้ล คลาส จากฝรั่งเศส 6 ลำ� โดย 1 ลำ ต่อที่เมือง ลอริยองต์ ประเทศ ฝรั่งเศส และ อีก 5 ลำที่เหลือ มาต่อที่ ST engineering ประเทศ สิงคโปร์ เองครับ
� มันน่าจะมีประโยชน์ ถ้าเราได้ต่อเรือ สมรรถน่ะ สูงในประเทศเอง อย่าง สิงคโปร์ครับ
�
ประมาณเกือบ10ปีก่อนกองทัพเรือเคยพิจารณาเรือฟริเกตชั้น Oliver Hazard Perry รุ่นลำตัวสั้นที่สหรัฐฯเริ่มปลดประจำการและมีการขายให้มิตรประเทศครับ แต่เนื่องจากเรือชั้นนี้ใช้ ย. Gas Turbine หลัก2เครื่องไม่มี ย.ดีเซล ซึ่งมีอัตราสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงสูง ซึ่งมีคำนวณแล้วเกินความจำเป็นและเปลืองค่าใช้จ่ายไม่คุ้มค่าต่อกองทัพเรือครับจึงไม่ได้มีการจัดหามา เพราะฉนั้นเรือที่ใช้ ย.Gas Turbine อย่างเดียว4เครื่องเป็นระบบ COGOG หรือ COGAG นั้นยากที่กองทัพเรือจะจัดหามาใช้ครับเพราะค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติการสูงเกินกองทัพเรือจะรับได้
ในกรณีเดียวกันหลายๆประเทศที่ต้องการเรือป้องกันภัยทางอากาศนั้นก็ไม่ได้จำเป็นต้องจัดหาเรือที่ใหญ่มากๆและใช้ ย.ที่สิ้นเปลืองสูงนักครับเช่นเรือป้องกันภัยทางอากาศของยุโรปหลายๆลำก็เลือกระบบขับเคลื่อนแบบ CODAG, CODOG หรือ CODLAG ระวางขับน้ำ 5,000-7,000ตันครับ
เรือ ฟริเกต ใน ลิสต์ของท่าน JULDAS มี 6 ตัวเลือกครับ
1.LA FAYETTE Class จาก ฝรั่งเศส
2.Meko-100 ใน วิกิพีเดีย เขียนไว้ว่า มันเป็นเรือ คอร์เว็ต แต่อยู่ในข่ายพิจารณาก็เอามาด้วยแล้วกัน
3.MEKO A-200
4.MEKO D
5.AFCON อันนี้น่าจะมาจาก สเปน ครับ มีดีที่ เรดาร์ AN/SPY
6.KDX-III จาก เกาหลีใต้ เอเชีย เจ้าเดียว ในลิสต์ที่ส่งประกวด
รู้สึกว่าจะมี เรือ เยอรมัน ถึง 3 รุ่นด้วยกัน คือ MEKO
อยากทราบความคิดเห็นของแต่ละท่าน ครับว่า เรือฟริเกต แบบไหนเหมาะสมกับ ทร.ไทย มากที่สุดครับ
ทั้งเรื่อง ราคา และ ระบบอาวุธ และความสามารถต่างๆ ครับ
กรรม......พิมพ์ต้องเยอะ โพส ไม่ขึ้น แทบร้องไห้
เอาเป็นว่า ชอบ LA FAYETTE คลาส ของ ฝรั่งเศส
เราอาจจะขอใช้ Technology Transfer แบบ สิงคโปร์บ้างก็ได้ คือ เรือลำแรก จะต่อโดย DCNs ที่ประเทศ ฝรั่งเศส ส่วนลำที่สอง ก็มาต่อที่อู่ต่อเรือใน ประเทศไทย เราจะได้เรียนรู้การต่อเรือฟริเกต สมรถถน่ะสูง แบบ Stealth ด้วย ต่อยอดเอาไว้ใช้ต่อเรือใช้เองในอนาคต
ส่วนอาวุธ ที่ไม่รู้จะเข้ากันได้หรือเปล่ากับ ทร.ไทย คือ FRENCH 100 mm. NAVAL GUN ( 100 mm. TR Automatic gun )
เพราะส่วนมาก ทร.ไทย จะใช้ Otobreda 76/62 mm. เสียเป็นส่วนใหญ่
แนบรูป เรือ Surcouf ชั้น ลา ฟาแย๊ต
ข้อมูลจำเพาะ LA FAYETTE CLASS FRIGATE
-ระวางขับน้ำ ปกติ 3,200 ตัน
เต็มที่ 3,600 ตัน
-ความยาว 125 เมตร
-ความกว้าง 15.4 เมตร
-กินน้ำลึก 4.1 เมตร
-ปฏิบัติการได้นาน ( Endurance ) 50 Days of Food
-พิสัยปฏิบัติการ 7,000 กิโลเมตร ( 4,000 ไมล์ทะเล ) ที่ความเร็ว 15 น๊อต หรือ 28 กิโลเมตร / ชั่วโมง
9,000 กิโลเมตร ที่ความเร็ว 22 กิฝดลเมตร/ชัวโมง หรือ 12 น๊อต
-ระบบอาวุธ 1 x 100 mm. TR AUTOMATIC GUN
2 x 20 mm. modele F2 Gun
1 x Crotale CN2 ( 8 ลูก อยู่ในท่อพร้อมยิง อีก 18 ลูกอยู่ใน แม็กกาซีน รวม 26 ลูก ) ไม่รู้นี่เป็น SAM หรือ CIWS
ASTER-15 จำนวน 16 ลูก ในท่อยิง VLS แบบ Sylver Launcher อันนี้แหล่ะ SAm ของแท้
8 x EXOCET MM 40 Block II
-อากาศยาน เฮลิคอปเตอร์ ขนาด 10 ตัน จำนวน 1 เครื่อง ( Panther Or NH-90 ) ผมว่า เล็กๆกว่านั้น อย่าง Super Lynx ก็น่าจะใช้ได้
ผมว่าอันนี้ก็น่าจะครบเครื่องแล้วน่ะครับ เดี๋ยวต่อกันที่ MEKO A-200
MEKO A-200 ที่จะเอามานำเสนอ ผมเอาของ ทร.แอฟริกาใต้ มาครับ เป็นเรือ ฟริเกต ชั้น Valour Class
ลักษณะการออกแบบ เป็นแบบ Stealthy ซึ่งเป็นที่นิยม อยู่ในขณะนี้
มาดู ข้อมูลจำเพาะ ของ MEKO A-200SAN Valour Class Frigate
-ประเภทเรือ เรือ ฟริเกต
-ระวางขับน้ำ 3,200 ตัน
-ความยาว 121 เมตร
-ความกว้าง 16.34 เมตร
-กินน้ำลึก 5.95 เมตร
-ความเร็วสางสุด 27 น๊อต หรือ 50 กิโลเมตร/ชั่วโมง
-พิสัยปฏิบัติการ 15,000 กิโลเมตร ( 8,000 ไมล์ทะเล ) ที่ความเร็ว 30 กิโลเมตร / ชั่วโมง หรือ 16 น๊อต
-ปฏิบัติการต่อเนื่อง ( Endurance ) 28 วัน
-ระบบอาวุธ 1 x Otobreda 76 mm. gun
8 x Exocet MM 40 BLOCK 2
16 x Umkhonto SAM Missile
ASW 4 x 324 mm. torpedo Tubes
-อากาศยาน เฮลิคอปเตอร์ Super Lynx 300 จำนวน 2 เครื่อง
*อันนี้ก็ดีไปอีกแบบ
แนบรูปมาให้ด้วย
ท่าน Juldas มาหรือยัง ถ้ามาแล้วก็มาเสริม เรือ ฟริเกตแบบอื่นๆ เพิ่มเติมด้วยน่ะครับ
หาข้อมูลอยู่ครับ............เจ้าเรือ AFCON FRIGATE เนี่ย เดี๋ยว COPY มาเลยดีกว่า
เห็นแล้วอยากได้สัก10ลำจังแต่ในโลกความเป็นจริงของบ้านเรา
คือเรือฟรีเกตสมรรถนะสูงเฉพาะตัวเรือกับเครื่องยนต์ส่วนอาวุธ
กับระบบต่างๆๆมาไม่ครบไม่เต็มบ้างดูเอาง่ายๆๆอย่างเรือหลวง
นเรศวรที่มาแบบลูกครึ่งเมกา+จีน+เยอรมันดูขัดๆๆอย่างงัยไม่รู้
มางวดนี้ก็คงอีกแนะต่อมาแค่ตัวเรือส่วนอาวุธค่อยจัดหาทีหลัง
เพลอๆๆอาจมีแค่ปืน 76.2มม +ปืน0.5นิ้ว+ตอร์ปิโด+ปตอขนาด37มม
และอาจมีอาร์พูนพวงมาด้วยแต่ไม่มีจรวดพื้นสู่อากาศเพราะอ้างว่า
แพง งบหมดอะไรประมาณนี้เหมือนอย่างที่คราวที่แล้วที่จะติด
MK-41ให้กับเรือหลวงนเศวร
New AFCON Corvette Class Ship with Aegis-Based Weapon System
In addition, the AFCON Team looks forward to the opportunity to work with Customers to develop tailored solutions, customized to meet customers mission requirements.
จะแปลแบบคร่าวๆ แล้วกัน.....เป็นเรือ คอร์เว็ตต์ ที่มี ระบบ Aegis เป็นเรือรบผิวน้ำที่มี สมรรถน่ะสูง
ติด เรดาร์ AN/SPY-1K phased array radar ( เรดาร์ แบบที่ได้ยินพูดใน บอร์ด การปรับปรุงเรือหลวง นเรศวร )
ติดตั้งปืนใหญ่ ขนาด 76 มิลลิเมตร น่าจะเป็น Otobreda
และก็ท่อยิงแบบ VLS Four-Cell MK-41
*เอาเป็นว่า ภาษา อังกฤษ งูๆปลาๆ เอาเป็นว่า ขอให้เข้าใจตามกัน ทุกๆคนน่ะครับ
ภาระกิจ น่าจะครอบคลุม หรือจะเรียกว่า อเนกประสงค์ ก็เป็นได้
-AAW Anti-Air Warfare หรือภารกิจ ป้องกันภัยทางอากาศ
-ASW Anti-Submarine Warfare ภารกิจ ต่อต้าน โจมตี หรือทำลาย เรือดำน้ำ
-ASuW Anti-Surface Warfare ภารกิจ ต่อตี โจมตี หรือทำลาย เรือผิวน้ำด้วยกันเอง หรือ จะโจมตีชายฝั่ง สนับสนุนการยกพลขึ้นบก ก็ย่อมได้
**ผมว่า AFCON Corvette จาก สเปน ดูจะมี ภาษี ดีที่สุด สำหรับกองทัพเรือไทย
โดยเฉพาะ ขนาดที่ไม่ใหญ่เกินไป และ ภารกิจที่ครอบคุมการรบทั้ง 3 มิติ
แถม สเปน เราก็เคยต่อเรือของเขามาแล้วด้วย ก็คือ เรือ จักรี นั่นแล ( อันนี้อาจจะไม่เกี่ยวก็ได้ )
เอาลิงค์ไปดูเต็มๆ เลยดีกว่า
http://www.afconships.com/products.html
.....ส่วนตัวเชียร์ เจ้า เมโค-เอ200 ครับ ด้วยที่ว่าการออกแบบตัวเรือตามใจลูกค้าว่าจะโมเรืออย่างไร ติดอาวุธตรงไหน เพราะตัวเรือเป็นแบบ บล็อคโมดูล จัดวางได้ง่ายรวดเร็วและมีใช้ในทุกรุ่นตระกูลเมโค ซึ่งนะซึ่ง
....ถ้าบ้านเราได้เทคโนโลยี การต่อเรือแบบนี้มาใช้ ไม่ว่าเราจะออกแบบเรือเอง ใหญ่หรือเล็ก ก็มีผลในการจัดวางระบบได้มีรูปแบบ เป็นมาตรฐานมากขึ้น ติดตรงที่ว่า อาวุธต้องเป็นระบบเดียวถึงจะไม่มีปัญหาในการวางนะครับ อย่างน้อยเวลาดัดแปลงตัวเรือก็ได้ไม่มีปัญหามาก ซึ่งที่ใช้กันอยู่ มีของ ชิลี ที่ติดอาวุธน้อยหน่อย แต่รูปทรงจะเหมือนกันซะเกือบหมดกับ 3ประเทศ
เรียน ท่าน ttrc ครับ
ผมว่า เรือจะมายังไง ก็ขอให้เขามาเถอะครับ.........คือ เอามาก่อนครับ ส่วนระบบ อาวุธเอาไว้ติดทีหลังก็ได้
คือจะถือคำว่า........ติดตัวไว้ใช้ อุ่นใจค่ะ มาก่อนเป็นอันดับแรก ครับ
ขอให้มีไว้ก่อน ส่วนระบบ อาวุธ มีเงินเมื่อไหร่ ก็ Upgrade ติดเข้าไปเต็มที่ครับ
ขอให้ เดินระบบ รองรับไว้สำหรับติดตั้ง ก็พอ.........ยามสงครามจะได้มี เรือรบ ไว้ใช้งาน เพียงพอต่อการใช้งาน
ไม่ใช่ ถึงยามสงคราม แล้วค่อยสั่งต่อเรือครับ
ตัวอย่าง.......ผมเห็นเรือ OPV ชั้น ปัตตานี มาถึง เมืองไทย เป็นครั้งแรก ผมก็รู้สึกภูมิใจแล้ว ครับถึงมันจะมาก็แค่ตัวเปล่าก็เถอะ
เพราะใน อนาคต ยามสงคราม เรือ ปัตตานี ก็สามารถ ติด Harpoon ได้ เพราะเดินระบบ มาเรียบร้อยแล้ว
ยืนยันคำพูดเดิมครับ ยังไงๆ ก็ขอให้มาก่อนเถอะครับ
ยิ่งนานวัน.......เหล็ก ยิ่งจะแพง ต่อมาก่อน แล้วติดอาวุธทีหลัง ก็ได้ครับ
อันนี้ต้องเรียน ท่าน e21 cye ครับ
คือว่ามันไม่จำเป็นหรอกครับว่า เรือใหญ่จะต้องใช้ปืนใหญ่เสมอไปครับ เพราะนี่มันปี 2008 แล้วครับ ไม่ใช่ช่วงสงครามโลก ครับ
เพราะเดี๋ยวนี้ เขาใช้ จรวดนำวิถี ในการต่อตี เรือผิวน้ำด้วยกันเอง จนแทบจะเรียกว่า ทั่วโลกแล้วก็เป็นได้ครับ
เดี๋ยวนี้ ฝรั่งเศส ก็ยอมรับว่า ปืน Otobreda 76 mm. มันมีประสทธิภาพ มากกว่า ปืนใหญ่ 100 mm. ที่เขาผลิตใช้เองเสียอีก
จนเรือ ฟริเกต รุ่นหลังๆ ของ ฝรั่งเศส อย่าง Horrizon Class Frigate ที่มี ระวางขับน้ำ 5,600 ตัน ก็ยังเปลี่ยนมาใช้ Otobreda Super rapid ขนาด 76 มิลลิเมตร แล้วครับ
โดย Horrizon Class เวอร์ชั่น ฝรั่งเศส จะติด Super rapid 2 กระบอก ที่หัวเรือ และ เวอร์ชั่น อิตาลี่ จะติด Super Rapid 3 กระบอกที่หัวเรือ ครับ
และในอนาคต ก็เช่นกัน FREMM FRIGATE โครงการร่วม ฝรั่งเศส - อิตาลี่ ก็ยังจะคงใช้ Otobreda Super Rapid ขนาด 76 มิลลิเมตรต่อไปเช่นกัน ลืมบอกไป Fremm Frigate มี ระวางขับน้ำ 5,600 ตัน เช่นกัน
ซึ่งเรือทั้ง 2 แบบ มีระวางขับน้ำมากกว่า เรือ La Fayette Class ที่มี ระวางขับน้ำ เพียง 3,600 ตัน อยู่ถึง 2000 ตัน
*สำหรับ ผู้ที่ไม่ได้อ่านตั้งแต่ต้น La fayette คลาส ติดตั้งปืนใหญ่ TR Autoamatic 100 mm. gun ที่หัวเรือครับ
Otobreda 76/62 mm. เป็นปืนใหญ่ ที่นิยมใช้กันทั่วโลกครับ ซึ่งปัจจุบัน ก็มีรูปแบบใหม่ๆ ออกมาอยู่เสมอครับ อย่างเช่น รุ่น ที่ลด Radar-Cross Section ก็มีครับ
เดี๋ยวมีรูปให้ชมครับ
Otobreda เดิม มีชื่อว่า Oto Melara เริ่มผลิตปืนใหญ่ ขนาด 76/62 มิลลิเมตร ตั้งแต่ปี 1964 เรื่อยมาจนถึงปัจจุบันครับ
และเมื่อปี 2001 ก็เปลี่ยนมาใช้ชื่อ Otobreda ครับ
รูปที่เห็น คือ เวอร์ชั่นเก่าครับ
ส่วนบางประเทศ ที่มั่นใจกับของที่เขาผลิตใช้เองในประเทศ ก็มีครับ อย่างประเทศ อังกฤษ
อังกฤษ ก็มี British Naval Gun คือปืนใหญ่ 4.5 inch ( 114 mm. ) Mark 8 Naval gun
ซึ่งล่าสุด เรือพิฆาต TYPE 45 ก็ใช้ตัวนี้อยู่ครับ
ส่วน อเมริกา ปืนใหญ่ เรือที่เห็นใช้อยู่ กับเรือ พิฆาต ชั้น Arleigh Burke Class และ เรือลาดตระเวน ชั้น Ticonderoga
ก็ใช้ปืนใหญ่ 5"/54 Caliber Mark 45 gun ( 127 mm. ) หรือเราจะได้ยินคุ้นๆหู ว่า MK 45 ครับ
*ปืนใหญ่ทุกแบบ ล้วนมี พิสัยยิงที่ใกล้กว่า Otobreda Super Rapid ทั้งสิ้น
1.Super Rapid มีพิสัย ยิงไกล ถึง 30,000 เมตร หรือ 30 กิโลเมตร ที่ มุมยิง 45 องศา
2.British Naval gun 4.5 inch Mark 8 มีพิสัยยิง อยู่ระหว่าง 22 กิโลเมตร - 27.5 กิโลเมตร
3.MK 45 ( 127 mm. Gun ) มีพิสัยยิง 24 กิโลเมตร หรือ 13 ไมล์ทะเล
4.FRENCH 100 mm. Naval Gun มีพิสัยยิงไกลสุด 17,000 เมตร ( 17 กิโลเมตร) ที่ มุมยิง 40 องศา
- 6,000 เมตร ( 6 กิโลเมตร ) กับเป้าหมายที่เป็นอากาศยาน
- 12,000 เมตร ( 12 กิโลเมตร ) กํบเป้าหมายที่เป็นเรือผิวน้ำ หรือเป้าหมายที่อยู่บนฝั่ง
อันนี้สำคัญเหมือนกันครับ.........ถึงจะเล็กที่สุด แต่ก็มี อัตราการยิงที่เร็วที่สุดด้วยครับ
ส่วนบางประเทศ ที่มั่นใจกับของที่เขาผลิตใช้เองในประเทศ ก็มีครับ อย่างประเทศ อังกฤษ
อังกฤษ ก็มี British Naval Gun คือปืนใหญ่ 4.5 inch ( 114 mm. ) Mark 8 Naval gun
ซึ่งล่าสุด เรือพิฆาต TYPE 45 ก็ใช้ตัวนี้อยู่ครับ
ส่วน อเมริกา ปืนใหญ่ เรือที่เห็นใช้อยู่ กับเรือ พิฆาต ชั้น Arleigh Burke Class และ เรือลาดตระเวน ชั้น Ticonderoga
ก็ใช้ปืนใหญ่ 5"/54 Caliber Mark 45 gun ( 127 mm. ) หรือเราจะได้ยินคุ้นๆหู ว่า MK 45 ครับ
*ปืนใหญ่ทุกแบบ ล้วนมี พิสัยยิงที่ใกล้กว่า Otobreda Super Rapid ทั้งสิ้น
1.Super Rapid มีพิสัย ยิงไกล ถึง 30,000 เมตร หรือ 30 กิโลเมตร ที่ มุมยิง 45 องศา
2.British Naval gun 4.5 inch Mark 8 มีพิสัยยิง อยู่ระหว่าง 22 กิโลเมตร - 27.5 กิโลเมตร
3.MK 45 ( 127 mm. Gun ) มีพิสัยยิง 24 กิโลเมตร หรือ 13 ไมล์ทะเล
4.FRENCH 100 mm. Naval Gun มีพิสัยยิงไกลสุด 17,000 เมตร ( 17 กิโลเมตร) ที่ มุมยิง 40 องศา
- 6,000 เมตร ( 6 กิโลเมตร ) กับเป้าหมายที่เป็นอากาศยาน
- 12,000 เมตร ( 12 กิโลเมตร ) กํบเป้าหมายที่เป็นเรือผิวน้ำ หรือเป้าหมายที่อยู่บนฝั่ง
อันนี้สำคัญเหมือนกันครับ.........ถึงจะเล็กที่สุด แต่ก็มี อัตราการยิงที่เร็วที่สุดด้วยครับ
ส่วนบางประเทศ ที่มั่นใจกับของที่เขาผลิตใช้เองในประเทศ ก็มีครับ อย่างประเทศ อังกฤษ
อังกฤษ ก็มี British Naval Gun คือปืนใหญ่ 4.5 inch ( 114 mm. ) Mark 8 Naval gun
ซึ่งล่าสุด เรือพิฆาต TYPE 45 ก็ใช้ตัวนี้อยู่ครับ
ส่วน อเมริกา ปืนใหญ่ เรือที่เห็นใช้อยู่ กับเรือ พิฆาต ชั้น Arleigh Burke Class และ เรือลาดตระเวน ชั้น Ticonderoga
ก็ใช้ปืนใหญ่ 5"/54 Caliber Mark 45 gun ( 127 mm. ) หรือเราจะได้ยินคุ้นๆหู ว่า MK 45 ครับ
*ปืนใหญ่ทุกแบบ ล้วนมี พิสัยยิงที่ใกล้กว่า Otobreda Super Rapid ทั้งสิ้น
1.Super Rapid มีพิสัย ยิงไกล ถึง 30,000 เมตร หรือ 30 กิโลเมตร ที่ มุมยิง 45 องศา
2.British Naval gun 4.5 inch Mark 8 มีพิสัยยิง อยู่ระหว่าง 22 กิโลเมตร - 27.5 กิโลเมตร
3.MK 45 ( 127 mm. Gun ) มีพิสัยยิง 24 กิโลเมตร หรือ 13 ไมล์ทะเล
4.FRENCH 100 mm. Naval Gun มีพิสัยยิงไกลสุด 17,000 เมตร ( 17 กิโลเมตร) ที่ มุมยิง 40 องศา
- 6,000 เมตร ( 6 กิโลเมตร ) กับเป้าหมายที่เป็นอากาศยาน
- 12,000 เมตร ( 12 กิโลเมตร ) กํบเป้าหมายที่เป็นเรือผิวน้ำ หรือเป้าหมายที่อยู่บนฝั่ง
อันนี้สำคัญเหมือนกันครับ.........ถึงจะเล็กที่สุด แต่ก็มี อัตราการยิงที่เร็วที่สุดด้วยครับ
ส่วนตัวอยากเห็นเรือในโครงการ KDX III ของเกาหลีใต้มากกว่า
เพราะในกองเรือไม่มีเรือที่ป้องกันภัยทางอากาศแบบเต็มรูปแบบซักลำ
โดยนำเข้าอุปกรณ์มาต่อในประเทศที่ อรม . ต่อซักไม่มาก ซัก 2 ลำ
ประจำการฝั่งอ่าวไทย 1 ลำ ฝั่ง อันดามัน 1 ลำ เรดาห์มันคงกวาดไปถึง
อินโด ยัน มัลดิฟ นู้แนะ อีกอย่างมันยังเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติการ
ในทะเลลึกอีกด้วย T_Tแต่เห็นทีจะไม่ผ่านคัดเลือกตรงเจ้าวาฬตัวนี้มัน
แรงจนกินจุ ด้วยขุมกำลัง gas turbine 4 เครื่อง โดยไม่มีดีเซลเลย เพื่อให้
พลังแก่เรดาห์ spy 1 ดูจาก ตัวแฝดที่อยู่ กะชั้นนเรศวร เขาก็บอกว่า กินจุเ
หลือเกิน เอาไว้ใช้เมื่อจำเป็นเท่านั้น อีกอย่างผมคนในพื้นที่อย่างเห็น
อะไรที่แปลกหูแปลกตาไปกว่าอะคับ
แต่ท้ายสุดผมอยากให้ประเทศไทยใช้เงินอย่างคุ้มค่าคับ แล้วความคิด
เห็นอื่นๆคิดกันว่าอย่างไรคับ ^ ^
ดูจากข้อมูลที่เพื่อนสมาชิกนำเสนอในกระทู้นี้แล้ว ส่วนตัวผมคิดว่าแบบเรือ MEKO A-200SAN Valour Class Frigate ของแอฟริกาใต้ น่าจะคุ้มค่าที่สุด เพราะระยะปฎิบัติการสูงสุด ระบบอาวุธเข้ากันได้ ล่าสุดไทยก็เพิ่งจะอุดหนุน REVA 4x4 ไป
กรรม ลืมกดรูป นี่ครับ Super Lynx 300 กับ Valour Class Frigate
รอนิดนึงนะ ท่าน TOP SECRET พอดี มันต้อง save ไฟล์ excle เป็น pdf และ copy พีวิวก่อนพิมพ์ ไปใส่ใน .jpd แล้ว save อีกที ภาพถึงจะชัดขึ้น แต่ติดปัญหามันจะขนาดเล็ก ผมกำลังหาวิธี ทำให้ภาพมันใหญ่ขึ้นอยู่...
และที่สำคัญ มันต้องใช้เครื่องที่บ้าน อย่างเดียว...หุ หุ หุ....
RSS Steadfast เป็นเรือลำหนึ่งในช้น Formidable ของกองทัพเรือ สิงคโปร์ ครับ
เรือลำนี้ ก็ถือได้ว่า เป็นเรือช้น LA FAYETTE ในอีกรูปแบบหนึ่งครับ
ที่สำคัญครับ เรือชั้น ฟอร์มิเดเบิ้ล คลาส ของ สิงคโปร์ ติดเรดาร์ THALES Herakles 3-D multi-function radar................นี่มันน้องๆ AEGIS เลยน่ะเนี่ย
เพี๋ยงแต่มันไม่ได้ติดอาวุธ จำพวก SM-2 ของ อเมริกา เท่านั้น แต่ ASTER-15 กับ ASTER-30 ก็สามารถทดแทนได้ครับ
ถ้าท่าน AAG_th ว่ามาอย่างนั้น เรื่องเครื่องยนต์ ผมจะยกตัวอย่างเรือมา 2 รุ่นครับ
เรือชั้น La Fayette ใช้เครื่องยนต์ ดีเซล ทั้งหมด 4 เครื่องเลยครับ
4 diesel SEMT Pielstick 12PA6V280 STC2, 21000 hp (15 400 kW)
ส่วนเรือ MAKO A-200 ชั้น Valour Class
*ถ้า ทร.ไทย ไม่ชอบเครื่องยนต์ GAS TURBINE เพราะมันสิ้นเปลือง.........แล้วอย่างนี้ MEKO A-200 คงไม่ได้เกิด
อย่างนี้จะต้องรีบซื้อหวย........เพราะ เรือที่ใช้เครื่องยนต์ ดีเซล ทั้งหมดเลย 4 เครื่อง ก็มีเพียง La Fayette เท่านั้น
**ถ้ามาจริง อยากได้เหมือนของสิงคโปร์ การซ่อม บำรุง กับอะไหล่ จะได้ไม่ต้องหาไกล และก็จะได้มีเรือฟริเกต ที่มีสมรรถน่ะ ทัดเทียมกับเพื่อนบ้าน ครับ
เรืออีกแบบ.....ที่มีคุณสมบัติ ที่น่าจะตรงใจกับ ทร.ไทยหลายๆอย่าง ครับ
ก็คือ AFCON Class corvette แต่ ระวางขับน้ำ ถึง 2,600 ตัน ทาง สเปน เขาเรียกว่า คอร์เวตต์ ถ้ามาอยู่เมืองไทย มันก็คงถูกเลื่อนชั้น อัตโนมัติ ไปเป็น เรือฟริเกต แน่นอนครับ
ข้อมูลจำเพาะ AFCON CLASS CORVETTE
-ระวางขับน้ำ 2,600 ตัน
-ความยาว 102 เมตร ( 334.6 ฟุต )
-ความกว้าง 13.9 เมตร ( 45.6 ฟุต )
-กินน้ำลึก 3.75 เมตร
-เครื่องยนต์ CODAD 4 Diesels ( เครื่องยนต์ ดีเซล 4 เครื่อง
-เครื่องกำเนิดไฟฟ้า 4 Diesel Generators
-ลานบิน ที่จอด เฮลิคอปเตอร์ 1 เครื่อง พร้อมโรงเก็บ
-ความเร็วสูงสุด 27 น๊อต ( 50 กิโลเมตร / ชั่วโมง )
แถมตัวนี้ บอกแล้วว่ามีดีที่ เรดาร์ ครับ คือ AN/SPY-1K เรดาร์ ระบบ AEGIS ที่มีขนาดเล็ก สำหรับติดตั้งเรือ ฟริเกต ขนาดเล็ก
รู้สึกว่า จะใช้เครื่องยนต์ ดีเซล จำนวน 4 เครื่อง งานนี้คงจะตรงใจกับ ทร.ไทย
งานนี้ ลา ฟาแย๊ต มีคู่แข่งแล้ว
ผมจำได้ว่าตอนที่ทร.มีปัญหาเรื่องสัญญากับบริษัทเกาหลีเรื่องเรือ KDX-2 นั้น เห็นทร.ดูเน้นไปที่เรือฟรีเกตชั้น MEKO A-200 และ MEKO-D โดยเฉพาะ MEKO A-200 นั้นผมเข้าไปเวปของอู่ผู้ผลิตดูแล้วสามารถรองรับระบบอำนวยการรบ Aegis ชุดเล็กได้(ใช้เรด้าร์ SPY-1 F ) ระวางขับน้ำอยู่ประมาณ 3,800 ตัน สามารถรองรับ MK-41 ได้ 2 จุด คือ ดาดฟ้าด้านหน้าสะพานเดินเรือ 1 จุด รองรับได้ 8 เซล และดาดฟ้าหลังสะพานเดินเรืออีก 1 จุด รองรับได้ 16 เซล โดยอยู่ติดกับแท่นยิงของ Harpoon และยังสามารถติดตั้ง RAM รุ่นแท่นยิง 21 นัดได้อีกด้วย หน้า 1 ชุด หลังโรงเก็บฮ. อีก 1 ชุด และมาพร้อมปืน 127 มม. แต่ราคาผมไม่ทราบ แต่เดาได้ว่าน่าจะเกินงบสำหรับสเปกครบเครื่องขนาดนั้น ซึ่งติดตั้งได้ทั้ง SM-2 ESSM ASROC
พอดูจากขัอกำหนดของทร. คือ เรือต้องใช้ระบบอำนวยการรบแบบรวมการ 1 ระบบ และมีระวางประมาณ 3,000 ตัน งบตอนนั้นมีให้ประมาณ 15,000-16,000 ล้านบาทต่อ 1 ลำ ดังนั้น MEKO A-200 คงต้องแห้วแน่นอน เพราะระวางขับน้ำก็เกิน ที่สำคัญราคาน่าจะเกิน 20,000 ล้านบาทแน่ๆ เพราะใช้ MK-41 รุ่น tactical
พอมาดูตามสเปก เรือที่เข้าตามากๆก็มีเรือชั้น AFCON และ ฟอร์มินเดเบิ้ล แต่สำหรับฟอร์มินเดเบิ้ลนั้น คงต้องเปลี่ยนระบอำนวยการรบใหม่จากแบบที่สิงคโปร์ใช้ สิงคโปร์ต่อเรือชั้นนี้มาในราคาแค่ลำละไม่เกิน 8,000 ล้านบาทเท่านั้น แต่ใช้ระบบอำนวยการรบของสิงคโปรเองและถ้าใช้ระบบอำนวยการรบของฝรั่งเศสก็อาจจะไม่รองรับ ESSM ที่อาจจะมาติดตั้งในเรือชั้นนเรศวรได้ เพราะมีแนวว่าต้องไปใช้ ASTER แทน
ดูๆแล้วถ้าเอาสเปกที่ได้ประสิทธิภาพสูงสุดในราคานี้ คงไม่หนี AFCON แน่ๆครับ แต่ต้องต่อในแบบฟรีเกต รองรับ Aegis ชุดเล็ก เรด้าร์ SPY-1K ที่เล็กกว่า SPY-1F รองรับ MK-41 ทั้งรุ่น SDL และรุ่น Tactical ได้ 1ชุด 8 เซล และมีระบบ RAM 21 นัด ราคาน่าจะอยู่ในงบประมาณ แต่ก็คงอดเรื่อง ASROC SM-2
ดูจาก งบ สเปกเรือ ประสิทธิภาพเรือ ผมว่า AFCON น่าจะมา แต่ผมว่าทร.อยากได้ MEKO A-200 มากกว่าเพราะประสิทธิภาพสูงกว่าพอควรครับ
ส่วนใจผมชอบเรือ MEKO A-200 มากที่สุดเพราะครบเครื่อง
KDX-3 ตัดไปเลยครับ ระวาง 10,000 ตัน และเป็นเรือพิฆาต ราคาน่าจะเกิน 60,000 ล้านบาทต่อลำแน่นอน
ตามคุณสมบัติของ SPY-1K นั้นอ้างว่าสามารถใช้งานร่วมกับ SM-2 ได้ครับ ซึ่ง SM-2MR Block IIIA นั้นทางสหรัฐฯก็มีการส่งออกไปยังกองทัพเรือมิตรประเทศหลายประเทศครับ โดย Mk41 รุ่น Tactical นั้นสามารถติดตั้งได้ทั้ง ESSM, SM-2MR และ VLASROC
แต่ถ้าเรือที่จะจัดหามาจะเน้นไปที่ระบบป้องกันภัยทางอากาศอาวุธตั้งใน ถ้าสามารถติดตั้ง Mk 41 ได้มากกว่า 2ชุด 16ท่อยิงขึ้นไป ก็คงจะเป็นการผสมกันระหว่าง ESSM กับ SM-2MR ครับ
ซึ่งถ้าดูจากตัวอย่างเรือชั้น Fridtjof Nansen(F-310) ของนอร์เวย์ซึ่งต่อโดย Navantia สเปนที่เป็นเจ้าของแบบเรือ AFCON Corvette เช่นกันนั้น แบบแผนเดิมของเรือชุดนนี้ก็ติด Mk41 ได้2ชุดครับ แต่เรือที่ต่อจริงๆติด Mk41 เพียง1ชุดพร้อม ESSM 32 นัดเท่านั้น แต่ก็มีขีดความสามารถรองรับการติดตั้ง SM-2MR ได้ในอนาคตครับ
งานนี้ถ้า ทร.เลือก ลาฟาแยตต์ล่ะก็ ผมจะรัก ทร.ไทยมากขึ้นไปอีก (จากเดิมที่รักมาก ๆ อยู่แล้ว)
เหตุเพราะชื่นชอบมานานตั้งแต่ฝรั่งเศสเปิดตัวแล้วครับ
ถ้า ทร.สั่งต่อ ผมว่ามันคงไม่ใช่เรื่องยากที่ ทร.จะเปลี่ยนสเปคบางอย่าง เช่น ปืนเรือ 100 มม. ก็เปลี่ยนไปใช้ 76 มม. ของออโตบรีด้าน่าจะได้อยู่แล้ว ส่วน อวป. อย่างเอ็กโซเซต์ ก็ไม่ใช่ปัญหา เพราะ ทร.เราก็มีใช้ ถึงจะเป็นรุ่น MM38 ก็ตาม มันคงไม่หลากแบบเกินไปครับ
ส่วน ร.ล.นเรศวร/ตากสิน ในใจผมตอนนี้หวังไว้แค่ว่า ติด ซาดรัลสักลำละ 2 ระบบ ก็คงพอใจแล้วครับ (เพราะหวังมานาน หวังมาหลายปี จนบัดนี้ก็ไม่สมหวังเสียทีครับ) ปัจจุบัน ผมดองโมเดลเรือชุดนี้ไว้นานแล้ว (เหมือนชั้นเจ้าพระยาที่ดองเหมือนกัน) เพราะหวังว่า ทร.จะอัพเกรดเรือ (ผมจะได้ทำ config ปัจจุบัน)
ไม่รู้เมื่อไรจะได้เอามาต่อเสียที อิอิ
ฟอร์มิเดเบิ้ล ติด เรดาร์ THALES Herakles ครับ
ซึ่งระยะตรวจจับก็ไกลพอสมควรครับ
คือสามารถ ตรวจจับเป้าหมายใน อากาศได้ไกล 250 กิโลเมตร ครับ
และ สามารถตรวจจับเป้าหมาย ที่เป็นเรือผิวนำ ได้ไกล 80 กิโลเมตร
( ผมบอกแล้ว มันก็ น้องๆ AEGIS นั่นแหล่ะ แต่มันยิง SM-2 ไม่ได้ )
เรดาร์ ตรวจจับอากาศยานได้ไกล 250 กิโลเมตร ฟอร์มิเดเบิ้ล ติด ASTER-30 ที่มีพิสัยยิงไกล 120 กิโลเมตร
ผมว่ามันก็เพียงพอที่จะป้องกันภัยทางอากาศ ให้กับกองเรือ น่ะครับ
เปรียบเทียบ ASTER-30 และ SM-2
SM-2 พิสัยยิงไกล ถึง 167 กิโลเมตร
เพดานบิน มากกว่า 24,400 เมตร ( 24.4 กิโลเมตร ) หรือ 80,000 ฟุต
ความเร็วสูงสุด 3.5 มัค
ASTER-30 ระยะยิงตั้งแต่ 3 - 120 กิโลเมตร
เพดานบิน 20 กิโลเมตร
ความเร็วสูงสุด 4.5 มัค หรือ 1,400 เมตร ต่อ 1 วินาที
ความสามารถ ก้ำกึ่ง กันไม่มากเท่าไหร่ครับ
**ข้อมูล รกสมองชวนให้จำ...........ASTER-30 ถูกเลือกใช้ ร่วมกับ เรดาร์ S1850M ซึ่งติดตั้ง อยู่บนเรือ ป้องกันภัยทางอากาศ ของ อังกฤษ , ฝรั่งเศส และ อิตาลี่
-อังกฤษ ติดตั้งอยู่บนเรือ TYPE-45 DESTROYER
-ฝรั่งเศส - อิตาลี่ ติดตั้งอยู่บนเรือ Horrizon Class Frigate
ซึ่ง เรดาร์ S1850M ถูกออกแบบให้เป็น Ballistic Missile Defence system.
ซึ่งใช้ จรวด พื้น-สู่-อากาศ แบบ ASTER-15 และ ASTER-30 เป็นอาวุธประจำเรือ
แน่นอนว่า ASTER-30 จะถูกใช้ในภารกิจ ANTI-BALLISTIC MISSILE ด้วย
เดี๋ยวว่างๆ จะเขียนกระทู้ ระบบ AEGIS แห่ง ยุโรป ที่ไม่เป็นรอง ของ อเมริกา
ท่าน ครูบ้านนอก ถ้าผมสะกดไม่ผิด แหมๆ ชอบ ลา ฟาแย๊ต เหมือนกันด้วย แต่.......ท่านไม่ชอบ เจ้า ฟอร์มิเดเบิ้ล ของ สิงคโปร์ บ้างหรือครับ เพราะมันก็เป็นอีก เวอร์ชั่นหนึ่ง หรือ จะเขียนแบบไทยๆ ก็คือมัน เป็น อีกรูปแบบหนึ่ง ของ ลา ฟาแย๊ต ครับ
ถึงท่าน neosiamese สมมติว่าเราเลือก ฟอร์มิเดเบิ้ล เราเลือกที่จะใช้ เรดาร์ THALES SMART-L ไม่ได้หรือครับ
เพราะ มันก็เป็น เรดาร์ของ บริษัท THALES เหมือนกัน
Thales Smart-L ที่ติดตั้งอยู่บนเรือ De Zeven Provincien class Frigate ของ กองทัพเรือ ฮอลแลนด์ ( เนเธอร์แลนด์ )
ก็สามารถติดตั้ง SM-2IIIA และ MK-41 VLS ได้ครับ
**THALES SMART-L ก็เป็นระบบ AEGIS แห่ง ยุโรป อีกระบบหนึ่ง
ซึ่ง เรดาร์ S1850M ก็พัฒนามาจาก Thales Smart-L นั่นเอง โดย บริษัท BAE และ THALES ฝรั่งเศส
ท่าน ท๊อปซีเคร็ทครับ สำหรับเรือลาฟาแยตต์สิงคโปร์เวอร์ชั่น ส่วนตัวผมแล้วก็ชอบครับ อย่างไรก็ได้ ขอให้มันเป็นคลาสนี้ก็แล้วกัน เนื่องจากโดยส่วนตัวชื่นชอบในประสิทธิภาพ แถมมีบทพิสูจน์ในความเชื่อมั่นจากหลายประเทศ ไม่ว่าจะเป็นสิงคโปร์เอย ไต้หวันเอย เพราะต่อไปใช้กันหลายลำแล้ว (แต่ความรู้สึกส่วนตัว ผมไม่ค่อยชอบประเทศฝรั่งเศสเท่าใดนัก แต่ถ้าสินค้าเขาดีจริง ก็ต้องยอมรับครับ มันคนละส่วนกัน)
ที่อยากให้ ทร.มีเรือสเปคประมาณนี้กับเขาบ้าง ก็เพราะผมคิดว่าโลกปัจจุบันนี้ ไม่ว่าอะไรก็เกิดขึ้นได้ครับ มีกันไว้ก่อนก็ดีเหมือนกัน ประเทศต่าง ๆ ก็พัฒนาก้าวไปข้างหน้าไม่หยุด ขืนเราไม่มีบ้าง ทนใช้แต่ของที่มีเพียงอย่างเดียว มันก็เหมือนกับกำแพงบ้านพังแล้วไม่ซ่อม พอจะคิดซ่อม โจรก็ขึ้นยกเค้าเกลี้ยงแล้ว ประมาณนี้ล่ะครับ ค่อยเป็นค่อยไปก็ยังดี
ส่วนเรื่องทางเทคนิค ผมไม่สันทัดเท่าใดนัก อาศัยอ่านข้อมูลเพื่อนสมาชิกเป็นประจำ (ถนัดแต่ต่อโมเดลเรือครับ อิอิ)
ถ้าหวยออกที่ลาฟาแยตต์จริง งานนี้ ผมจะได้เอาโมเดลลาฟาแยตต์เวอร์ชั่นไต้หวันที่เก็บไว้ออกมาโมดิฟายเป็นตัวไทยก็คราวนี้ อิอิ
เรือป้องกันภัยทางอากาศที่ติดRadar SMART-L และใช้อาวุธปล่อย SM-2 นั้นจะติดร่วมกับRadar แบบ APAR ด้วยครับ
เช่นเรือชั้น Sachsen ของเยอรมนี และ De Zeven Provincien ของเนเธอร์แลนด์เป็นต้นโดย SMART-L นั้นจะเป็น Radar ค้นหาเป้าหมายในระยะไกล ส่วน APAR จะทำหน้าที่เป็นRadar จับเป้าหมายและควบคุมการยิงอาวุธปล่อยครับ
ส่วนเรือที่ติดอาวุธปล่อยเป็น Aster 15/30 โดยติดตั้ง Radar SMART-Lนั้นจะติดตั้งร่วมกับ Radar แบบอื่นเช่น SAMPSON ในเรือชั้น Type 45 Daring ของอังกฤษ หรือ EMPAR บนเรือชั้น Horizon ของฝรั่งเศสและอิตาลีครับ
ส่วนตัวคิดว่ารูปแบบของเรือชั้น La Fayette หรือ Formidable นั้นดูเล็กเกินไปที่จะติด SMART-L ครับ
ระบบ Aegis เป็นชื่อระบบอำนวยการรบครับ เรด้าร์คู่ใจของระบบอำนวยการรบแบบนี้คือเรด้าร์ซีรี่ย์ SPY-1 ( D F Kแล้วแต่รุ่น)
ส่วน SMART-L เป็นชื่อเรด้าร์ 3 มิติระยะไกลระดับหรูของยุโรปเขาน่ะครับ ไม่ใช่ชื่อระบบอำนวยการรบ ซึ่งยุโรปมักจะให้เรด้าร์แบบนี้เป็นเรด้าร์รอง ไม่ใช่เรด้าร์อำนวยการรบหลัก ถ้าเป็นเรด้าร์อำนวยการรบหลักแล้วพวกชาติยุโรปนิยมใช้เรด้าร์ APAR น่ะครับ ซึ่งทางยุโรปจะมีระบบอำนวยการรบเป็นของตนเองในหลายๆชาติ แต่ต้องยอมรับว่าระบบอำนวยการรบอันดับ 1 ของโลกในขณะนี้ก็คงต้องเป็นระบบอำนวยการรบ Aegis ของอเมริกาครับ
SMART-L เป็นเรด้าร์ 3 มิติระยะไกล ที่มีขีดความสามารถตรวจจับได้ไกลกว่า 450 กม. ซึ่งมีระยะตรวจจับไกลพอๆกับเรด้าร์ APAR และ SPY-1D เป็นเรด้าร์ตรวจการที่เหมาะสมกับเรด้าร์อำนวยการรบทั้งสองแบบครับ หรูพอๆกัน
ปล. มีเพื่อนท่านหนึ่งในเวปที่เป็นทหารเรือเคยอธิบายว่า เรด้าร์ประจำเรือนั้น เรด้าร์หลักเขาจะเรียกว่าเรด้าร์อำนวยการรบ ซึ่งไม่ได้เปิดหรือเดินเรด้าร์ตลอดเวลาครับ จะเดินเรด้าร์เมื่อเข้าสู่พื้นที่การรบ หรือ เมื่อเรด้าร์รอง(เรด้าร์ตรวจการณ์)ตรวจพบเป้าที่เป็นภัยคุกคาม แต่เรด้าร์ตรวจการณ์ซึ่งเป็นเรด้าร์รองนั้นจะต้องเปิดเดินเครื่องตลอดเวลาเพื่อใช้ในการเดินเรือ ส่วนมากนิยมเรด้าร์แยกเป็นชุดๆ เช่น ตรวจกาลอากาศก็ใช้เรด้าร์ตัวหนึ่ง เช่น LW-08 ซึ่งเป็นเรด้าร์ 2มิติ และเรด้าร์เดินเรือตรวจการพื้นน้ำอีกชุดหนึ่ง ก็เป็นเรด้าร์ 2 มิติ เช่นกัน และมักจะให้เรด้าร์ 3 มิติเป็นเรด้าร์อำนวยการรบ ยกตัวอย่างเช่น เรือชั้นลิเกียว บาร์ท 2 ของมาเลย์เขาน่ะครับ ใช้ Smart-s mk-2 เป็นเรด้าร์อำนวยการรบ ส่วนเรด้าร์ตรวจการณ์อากาศและเรด้าร์เดินเรือตรวจการผิวน้ำเป็นอีกชุดหนึ่ง
แต่ปัจจุบันชาติรวยๆและเรือหรูๆ มักจะใช้เรด้าร์เฟสอาเรย์เป็นเรด้าร์อำนวยการรบหลัก(ทั้งสแกน แทรกกิ้ง ล็อคออน ในตัวเดียวกัน ดังนั้นไม่จำเป็นต้องมีเรด้าร์ควบคุมการยิงให้ยุ่งยาก) และมีเรด้าร์ 3 มิติเป็นเรด้าร์รองสำหรับการตรวจการณ์ทั้งพื้นน้ำและอากาศ โดยมีเรด้าร์ควบคุมการยิงหน้าหลังอย่างละตัวและก็มักจะเป็นเรด้าร์เฟสอาเรย์แล้วด้วย เรือเสตลธ์ใหม่เลยดูโล่งๆไม่รกรุงรังด้วยเรด้าร์สาระพัดแบบอีกต่อไป
เห็นเขาว่า เผื่อเรด้าร์อำนวยการรบเดี้ยงขึ้นมาจากการรบ เรด้าร์รองพวกนี้ก็จะทำหน้าที่รบต่อไปได้ครับ ดูการ์ตูนไซปังสิครับ พอเรด้าร์ SPY-1 เดี้ยงจากการรบ ก็ยังมีเรด้าร์แบบอื่นที่เป็นเรด้าร์รองทำการรบต่อไปได้
เรด้าร์ Smart-L นั้นเหมาะกับเรือฟรีเกตและเรือพิฆาตขนาดกว่า 6000 ตันขึ้นไปน่ะครับ เรือแค่ 3000 ตันไม่เหมาะสมครับ ทางบริษัทผู้ผลิตเขาก็มีรุ่น SMART-S MK-2 ให้สำหรับเรือขนาดเล็กลงมา ซึ่ง SMART-S MK-2 นั้นมีระยะตรวจการณื ราวๆ 250 กม ครับ และสำหรับเป้าขนาดเล็กอย่างเครื่องบินขับไล่และอาวุธครุยส์ จะสามารถตรวจจับได้ที่ระยะ 120 -150 กม. ซึ่งเรด้าร์ 3 มิติตัวนี้เหมาะจะเป็นเรด้าร์รองของเรด้าร์ SPY-1 F และ K โดยเฉพาะกับรุ่น K เพราะมีระยะตรวจจับใกล้เคียงกัน มีความแม่นยำและละเอียดใกล้เคียงกัน ผมว่าเรือฟรีเกตป้องกันภัยทางอากาศ 2 ลำ ใหม่ที่อยากได้กันนั้น ถ้าเป็นเรือที่ใช้ระบบอำนวยการรบชุดเล็ก และ เรด้าร์ SPY-1 K เป็นเรด้าร์อำนวยการรบหลักแล้วล่ะก็ SMART-S MK-2 นี่ล่ะครับ เหมาะจะเป็นเรด้าร์รองมากๆ ส่วนเรด้าร์ควบคุมการยิงที่จะใช้ร่วมกับ smart-s ก็น่าจะเป็นของบริษัทผู้ผลิตเดียวกัน และควรจะเป็นเรด้าร์แบบเฟสอาเรย์ที่สามารถแทรคกิ้งและล็อคออนเป้าหมายพร้อมๆกันหลายเป้าหมายครับ เรือจะได้โล่ง......ไม่มีอะไรมารกรุงรัง และยังมีประสิทธิภาพสูงกว่าเรือชั้นลิเกียวทั้ง 4 ลำ ของมาเลย์ และก็น่าจะเป็นเรือรบผิวน้ำที่ทันสมัยที่สุดในอาเซี่ยนครับ
ขอโทษสำหรับข้อมูลราคาเรือ KDX-3 ของเกาหลีที่ว่าราคาประมาณ 60,000 ล้านบาท เพราะผมดูราคาอ้างอิงจากเรือของมะกันและสเปนกับออสซี่เขา กลายเป็นว่าเกาหลีใต้สามารถต่อเรือระดับนี้ได้ในราคาแค่ 35,000 ล้านบาทเท่านั้น! ราคาขนาดนี้ ผมว่าเราซื้อมา 1 ลำแทนเรือฟรีเกตป้องกันภัยทางอากาศเลยมิดีกว่าหรือ เพราะสเปกระดับท๊อปเลยนะครับ MEKO A-200 ที่ใช้ระบบ aegis น่าจะปาไปกว่า 20,000 ล้านบาท แถมติดตั้ง VLS ได้แค่ 24 เซล แต่ KDX-3 ติดตั้งได้ กว่า 120 เซล! โอโห้ซูปเปอร์ AEGIS แล้วนี่
สำหรับเรือ MEKO A-200 รุ่นที่ผมบอก เป็นรุ่นสูงสุดในซีรีย์ครับ ตอนเข้าไปดูเวปของ Bohm+voss ดังนั้นเราอาจจะลดสเปกและระวางเรือลงมาให้อยู่ในงบและความต้องการได้ ผมชอบเรือของเยอรมันมากกว่า แม้ว่าราคาจะโคตรแพง ........
ถ้าเราจะใช้เรือชั้น ฟอร์มินเดเบิ้ลเป็นเรือป้องกันภัยทางอากาศ ดูแล้วประสิทธิภาพด้านนี้ยังจะกัดอยู่ครับ แต่ถ้านำมาใช้เป็นเรือฟรีเกตอเนกประสงค์แล้ว OK เลยครับ ราคากับประสิทธิภาพลงตัวพอดี ดีพอๆกับเรือชั้นลิเกียวบาร์ท 2 แต่ราคาถูกกว่ากันมาก ราคาต่อลำแค่ 8000 ล้านบาท(ตอนสิงคโปร์จัดหานะครับ ตอนนี้ม่ะรู้เท่าไรแล้ว) ซึ่งราคาพอๆกับ MEKO A-100 ที่มาเลย์จัดหา ถ้าราคาขนาดนี้ เงิน 32000 ล้าน จะสามารถจัดหาได้ 4 ลำทีเดียว เราก็เลือกระบบอาวุธและเรด้าร์ให้เหมาะกับทร.เราไปก็ได้ ใช้ ESSM ไป ลดจำนวนแบบเรือและระบอาวุธของทร.ลงได้มากเลยครับ สามารถนำไปทดแทนเรือที่ปลดประจำการได้แทบครบเลย ผมว่าก็เป็นทางเลือกที่ไม่เลวนะครับ
หรือจะเสี่ยงให้เกาหลีออกแบบและต่อเรือฟรีเกตชุดนี้ให้เราดีล่ะครับ 3,000 กว่าตัน ด้วยต้นทุนการต่อของเรือเกาหลี เราอาจจะได้เรือฟรีเกตป้องกันภัยทางอากาศที่ครบเครื่องแบบ MEKO A-200 รุ่นท๊อป ที่มี ระบบอำนวยการรบ Aegis ชุดเล็ก มี VLS MK-41 tactical จำนวน 1-2 ชุด ขนาด 16 - 24 เซล มี RAM 2 ชุด คือ หน้าและหลัง แถมด้วยปืน Mk-45 127 มม. อีก 1 กระบอก ในราคาลำละ 16,000 ล้านบาท ให้เกาหลีออกแบบโดยใช้ชื่อชั้นของเรือเป็นชื่อที่ทางเราตั้งให้เพื่อเป็นเกียรติก็ได้นะครับ แถมท้ายด้วยการถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อเราจะได้ต่อเรือชุดนี้เองได้ในลำที่ 3 ที่ 4.......ได้ อืมมมม ไม่เลวนะครับ
แบบว่าไม่ได้ BMW ซีรี่ย์ 3 ตัวใหม่ ก็ใช้ CAMRY ตัวใหม่แทนก็ไม่เลว ราคาหารด้วยประสิทธิภาพน่าสนใจ
เอามาช่วยแจม ครับ...ข้อมูลตรงไหน ต้องปรับปรุงบอกได้ครับ..จะได้แก้ไข...
ถามท่าน AAG_th และ neosiamese ต่อครับ
สำหรับ เรดาร์ ขนาดเล็กอย่าง SMART-S MK-2 ที่ มาเลเซีย ใช้อยู่ กับ เรดาร์ Herakles ที่สิงคโปร์ ใช้อยูบนเรือชั้น ฟอร์มิเดเบิ้ล
แบบไหนมันดีกว่ากันครับ สำหรับ เรือฟริเกต ขนาดไม่เกิน 3,000 ตัน
เพราะ ระยะตรวจจับเป้าหมายในอากาศ ได้ไกล 250 กิโลเมตร เท่ากันเลย
**เรดาร์ ที่สิงคโปร์ใช้ แตกต่างจาก LA FAYETTE ของ ฝรั่งเศส ที่ติดตั้ง เรดาร์ DRBV-15C SEA TIGER MK-2
DRBV-15C มี ระยะตรวจจับ เป้าหมายได้ ใกล้กว่า Herakles คือ เจ้าเป้าหมายได้แค่ 100 กิโลเมตร+ แต่คงไม่เกิน 200 ครับ
แถมยังสามารถ ยิง SAM ได้เพียง ASTER-15 เท่านั้น
และถ้าหวยออก La Fayette เรือของ ฝรั่งเศส จะสามารถ บูรณาการณ์ ติดเรดาร์ AN/SPY-1K แทนได้ไหมครับ
แต่เมื่อมองจากภาพรวมแล้ว อนาคตอีก 10 ปีข้างหน้ามันก็อีกนานโข...........อะไรๆมันก็คงจะพัฒนา ไปอีกเยอะ
และราคาเหล็ก ก็แพงขึ้น อีกด้วย
ราคา + กับความสามารถ น่าจะเป็นตัวกำหนด
ผมว่าตัวเลือกหลักๆ จะเหลืออยู่ 2 ตัว คือ AFCON กับ Formidable
ความจริงถ้าเป็น ของ เกาหลีใต้ ผมก็ไม่เกี่ยงน่ะครับ เหมือนเราจะใช้โทรศัพท์มือถือ SAMSUNG หรือ LG เดี๋ยวนี้มันก็มีคุณภาพทัดเทียมกับ NOKIA
ดีกว่าไปใช้ NOKIA ที่มาจาก จีน เป็นไหนๆ เลยครับ
เดี๋ยวนี้ของ เกาหลีใต้ คุณภาพสุดยอดแล้วครับ ทัดเทียมกับพวก ยุโรปได้เลย
แหมพี่......Neosiamese
รุ่นมันก็ คลาส เดียวกันหมดแหล่ะครับ ไม่ว่าจะเป็น BMW Series 3 หรือ Mercedes Benz C-Class และ AUDI A-4 จาก เยอรมัน
TOYOTA CAMRY และ HONDA ACCORD จาก ญี่ปุ่น
PEUGEOT 407 และ CITROEN C-5 จาก ฝรั่งเศส
*เพียงแต่ คนไทย ที่รวยต้องขับรถ เยอรมัน ครับเพื่อจะได้ดูสมกับ สถานะ ของพวกเขาหน่อย
รวยน้อยลงมาหน่อย ก็อาจจะไปดู รถ เกรดเดียวกัน แต่ราคาถูกกว่า อย่าง รถฝรั่งเศส
คนทั่วไป แต่พอมีเงิน อย่างได้รถนั่ง ที่ดูหรูหรา กว่ารถตามถนนทั่วไปอย่าง Corolla Altis ที่เอาไปทำ TAXI ขับกันเกร่อเมือง เลยต้องไปคบกับ CAMRY และ ACCORD
**แต่โดยรวมแล้ว มันก็ใช้ได้เหมือนกันหมดแหล่ะครับ
อยู่ที่จุดประสงค์การใช้
รวมถึง คุณภาพ รถยุโรป จะมีคุณภาพ และมาตรฐาน ความปลอดภัยมากกว่า รถญี่ปุ่นอยู่แล้ว
มันก็คงจะเหมือน เรือ แหล่ะครับ
ระหว่าง เรือรบจาก จีน กับเรือรบ จาก ยุโรป ใช้ได้เหมือนกันครับ แต่คุณภาพ และ ศักยภาพ มันต่างกันครับ
นอกเรื่องไปมากแล้ว..........พอ เดี๋ยวโดนด่า อิอิ
SMART-S MK-2 น่าจะดีกว่า เพราะเห็นทางผู้ผลิตเขาคุยว่าระดับ state of the art ว่าเข้านั่น
ใจผมชอบเรือเยอรมันมากกว่าก็จริง แต่ว่าถ้ามองในแง่ความคุ้มค่าที่สุด ก็น่าจะออกมาแนวๆ เรือ AFCON หรือ เรือเกาหลีที่เขาออกแบบให้ แต่ต้องให้เรามีส่วนร่วมในการพัฒนาและเรียนรู้รวมทั้งถ่ายทอดเทคโนโลยีการต่อเรือชั้นนี้ทั้งหมดแก่เราด้วยครับ ถ้าได้แบบนี้จะคุ้มค่าที่สุด เรือสเปนคุณภาพดีไม่เลวครับ ราคาก็ถูกกว่าด้วย
ลิเกียว เค้าสเปคไหนเหรอครับ และมี4ลำใช่มั้ยครับ
ข้อมูลตามเวปลิ้งนี้เลยครับ batch-1
http://www.naval-technology.com/projects/lekiu/
batch-2
http://www.malaysiandefence.com/?p=351
ข้อมูลที่เคยลงไว้ใน TFC
จะทำการปรับปรุง batch-1 ทั้งสองลำให้เป็น batch-2 ด้วยครับ
ผมเป็นสมาชิกใหม่ครับ
ผมคิดว่า ขยายแบบเรือvisby ให้มีระวางขับน้ำประมาณ3000-5000ตัน แล้วใช่เราดา พวกAEGISหรือใกล้เคียงได้ไหมครับ
ต่อในสวีเดนหนึ่งลำ และขอต่อในไทยอีกหนึ่งลำ น่าจะดีนะครับ