เริ่มเลยละกัน
....คำถามมีให้ตอบ12ข้อ เลือกตอบ 12 ข้อค้าบ
1.หากนำจรวด แบบ อิ๊กล่า มาใช้งานกับ อัลฟาเจ็ท ในการใช้ทำการรบทางอากาศจะมีผลดี หรือ ผลเสีย เทียบกับ AIM-9 อย่างไรบ้างครับ เช่น อิ๊กล่า 4นัดต่อ1ลำ แต่ ไซด์ไวน์เดอร์ ได้2นัด
2.หากเมื่อยิงออกไปแล้ว ไม่นับระยะยิง อิ๊กล่า กับ ไซด์ไวน์เดอร์ ในการพุ่งเข้าต่อตีเป้าหมายแบบใด ดีกว่า หรือ เทียบเท่ากัน ?
3.หากคิดเผื่อไปในอนาคต ที่บางคนอาจจะวัยใกล้ฝั่ง เราต้องปลดเรือจักรีฯ คาดว่าท.ร.จะจัดหาเรือมาทดแทนในประเภท คุณลักษณะเดียวกันหรือไม่ครับ
4.ท.ร. ยังมีความสนใจจรวดโจมตีเรือ แบบ Gabriel อยู่ป่ะครับ รู้สึกจะพัฒนาไปถึง รุ่น5
5.ท.ร.มีแผนจะเปลี่ยน บ.ล.ทางทะเลสะเทือนน้ำสะเทือนบก แบบ ซีแอล-215 เป็น 415 หรือ รุ่นอื่นๆมาทดแทนหรือไม่ครับ แล้วมีรุ่นใดน่าสนใจบ้าง
6.ท.บ.มีแผนจัดหาปืนใหญ่อัตราจร แบบ สายพานเพิ่มเติมป่ะครับ เห็นเงียบมานานแล้วมาเป็น อัตราจรแบบล้อยางแทน หรือจะใช้แบบล้อยางแทนทั้งหมด
7.เรือรบหากยิงชาร์ฟลวงจรวดขึ้นไประเบิดนั้น จรวดที่ถูกลวงจะวิ่งไปตามชารฟ์ ใช่ป่ะครับ ซึ่งอันนี้ดูจากการยิงของเรือรบทั่วไป ชาร์ฟจะระเบิดอยู่แถวๆ เหนือเรือบ้าง ข้างๆเรือบ้าง หากจรวดที่ลวงหาเป้าไม่เจอไม่พุ่งชนเรือด้วยแรงเฉื่อยรึครับ มีสิทธิเป็นไปได้หรือไม่
8.ระบบป้องกันแบบ บารัค กับ ซีวูฟ แบบใดมีประสิทธิภาพดีกว่าครับ
9.หากนำ ฮ.แบบ คา-31 เฮลิกซ์ มาทำหน้าที่เป็น เอแวค ประจำเรือจักรีฯ นั้นจะเป็นการช่วยเพิ่มประสิทธิภาพทางการป้องกัน หรือ เพิ่มภาระให้ท.ร.ครับ
10.ท.อ.มีการฝึกใช้ถนน เป็นรันเวย์ให้ บ.ข./บ.จ. บ้างหรือไม่ครับ หรือ ไม่มีความจำเป็น
11.ทหารรับจ้าง อันนี้หมายถึงทหารที่ปลดประจำการไปแล้ว หรือ ทหารกองประจำการครับ เคยอ่านว่า มีการส่งทหารรับจ้างเข้ารบในเวียดนาม และ สงครามอ่าว
12.การที่จะทราบว่า ใครเป็นเสืออากาศ ยิงเครื่องบินข้าศึกตกกี่เครื่องนี่ เขามีอะไรเป็นหลักฐานยืนยันว่า นักบินคนนี้ทำการยิงตกเท่านี้อ่ะครับ
....ขอบพระคุณที่ตอบนะครับ
1. คงเป็นเรื่องของการต้อง integrate ระบบเข้ากับเครื่องครับ และอาจจะต้องปรับส่วนชุดขับดันของจรวดให้เข้ากับการยิงอากาศสู่อากาศเสียก่อน ซึ่งผมว่าไป ๆ มา ๆ อาจจะเป็นภาระมากกว่าการที่เราไปขโมย AIM-9P จากฝูงข้าง ๆ มาติดน่ะครับผม
3. ขึ้นอยู่กับว่าตอนนั้นกองทัพเรือมีความต้องการเรือบรรทุก ฮ./เรือบรรทุกเครื่องบินหรือเปล่าครับ
4. ส่วนตัวคิดว่าทร.คงมุ่งที่ไป Harpoon มากกว่าครับเพื่อเป็นมาตราฐานเดียวกันทั้งกองเรือ
6. เมื่อปี 2549 ทบ.จัดหา CAESAR จำนวน 6 ชุด ซึ่งเซ็นสัญญาแล้วครับ แต่ก็มีข่าวว่ายกเลิกไปแล้ว จริงเท็จประการใด ยังไม่มีใครยืนยันได้เลยครับ
9. ผมมองว่าเป็นภาระครับ ผมว่าทร. ควรจะโยนงานพวกนี้ให้ ทอ. ทำดีกว่าครับเนื่องจาก ทอ. ก็กำลังจะมีระบบ AEW&C แล้ว ถ้าต้องให้ ทร. มาเรียนรู้และปฏิบัติการกับ AEW&C อีกผมว่าจะซ้ำซ้อนโดยใช่เหตุครับ ผมเห็นว่าการปฏิบัติการทางอากาศของเรือจักรีไม่ได้ซับซ้อนถึงขั้นต้องการ AEW&C ซึ่งในยุคของ Network Centric Warfare มันควรจะต้องเชื่อมทุก unit เข้าด้วยกัน ดังนั้นระบบที่ซ้ำซ้อนเกินไปจึงไม่จำเป็นครับ อีกอย่าง Erieye ก็สามารถสื่อสารกับเรือรบได้อยู่แล้ว มันขึ้นอยู่กับว่า ทร. จะ upgrade เรือรบให้คุยกันได้ด้วยหรือเปล่าครับ
10. ไม่เคยได้ยินว่ามีการฝึกครับ คงเป็นเพราะ ทอ. อาจจะคิดว่าประเทศไทยมีสนามบินค่อนข้างมากอยู่แล้ว ซึ่งไหน ๆ ถ้า Gripen มาแล้ว ก็ควรจะเริ่มมีการฝึกบ้างได้แล้วครับ
4.ดูเหมือนว่าทางกองทัพเรือจะพยายามลดแบบของอาวุธปล่อยต่อต้านเรือผิวน้ำที่มีใช้งานในกองทัพลงครับ โดยแบบหลักๆในอนาคตหลังจากที่ Exocet MM38 หมดอายุการใช้งานลงก็คงจะมี Harpoon กับ C-802A ครับ ซึ่งก็ไม่แน่ใจว่ากองทัพเรือจะหาระบบอื่นอย่าง RBS-15 หรือ Exocet MM40 หรือไม่ครับ แต่คิดว่ากองทัพเรือไม่ควรจะมี อวป.แบบนี้เกิน3แบบครับ
ส่วน Gabriel นั้นเคยอ่านข้อมูลจากเจ้าหน้าที่ในกองทัพเรือท่านหนึ่งกล่าวว่าไม่ค่อยน่าประทับใจนักครับ โดยเฉพาะบริการหลังการขาย ซึ่งก็เป็นไปได้ที่ไม่น่าจะมีการจัดหามาอีกครับ
8. Barak และ Sea wolf นั้นเป็นระบบอาวุธปล่อยป้องกันตัวเฉพาะจุด(Point Defence)ระยะใกล้ ซึ่งนำวิถีด้วยระบบ Radar CLOS ซึ่งจะต้องทำการเล็งตลอดเวลาที่สั่งยิงจรวดเข้าหาเป้าหมายซึ่งถึงแม้ว่าจะมีความแม่นยำสูงแต่ก็ไม่ค่อยจะอ่อนตัวถ้าเทียบกับระบบที่ยิงแล้วลืมแบบนำวิถีด้วย IR และระยะยิงก็สั้นพอสมควรครับ
ในสงครามFalkland นั้น Sea Wolf รุ่นแรกๆที่ติดตั้งยังมีปัญหาเรื่องความน่าเชื่อถือของระบบครับ เพราะการโจมตีของ A-4 อาเจนตินาต่อกองเรือังกฤษนั้นการยิง Sea Wolf บ้างครั้งก็เกิดความผิดพลาดสกัดไม่ทันจนเรือได้รับความเสียหาย
ส่วน Barak นั้น ช่วงสงครามเลบานอนในปี 2006 เรือชั้น Saar 5 ชื่อ INS Hanit ของอิสราเอลซึ่งติด Barak นั้นโดนโจมตีด้วยอาวุธปล่อยต่อต้านเรือผิวน้ำจากฐานยิงบนฝั่งของกลุ่มเฮซบอลเลาะห์ โดยขณะนั้นระบบของเรืออยู่ใน Stand-By Mode ทำ Barak ไม่พร้อมยิงทันทีครับ ซึ่งดูเหมือนจะคล้ายๆกับกรณี USS Stark โดย Exocet จาก บ.อิรักยิงในปี1987ครับ โดยในกรณีเรือ Hanit นั้นมีทหารอิสราเอลเสีียชีวิตราว4นาย
9.เรื่องความเข้ากันได้ของระบบเป็นเรื่องสำคัญครับ ซึ่ง Ka-31 รุ่น AEW นั้นไม่น่าจะเชื่อต่อระบบกับอากาศยานที่ประจำการบน ร.ล.จักรีนฤเบศรได้ครับ
11.ทหารรับจ้างนั้นถ้าในภาษาอังกฤษน่าจะหมายถึง Mercenaries ซึ่งหมายถึงบุุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่เป็นกำลังติดอาวุธทำการรบโดยมีสัญญาว่าจ้างจากนายจ้าง ซึ่งก็มีตั้งแต่รัฐบาลประเทศใดก็ตามที่มีส่งครามแต่ทหารในประเทศตนเองมีไม่พอฝึกไม่ทัน หรือกลุ่มองค์กรก่อการร้ายที่ต้องการว่างจ้างมืออาชีพที่มีประสบการณ์มาฝึกสอนหรือปฏิบัติการใดๆให้เป็นคั้งคราวครับ
โดยทั่วไปทหารรับจ้างก็มักจะเป็นอดีตทหารประจำการที่มีประสบการณ์ครับ ตัวอย่างเช่นสงครามลับในลาวช่วงปี1960s นั้นทางการสหรัฐฯโดย CIA ก็จ้างพลเรือนซึ่งส่วนหนึ่งเคยเป็นนักบินรบของกองทัพมาก่อนไปทำงานใน Air America ซึ่งเป็นบริษัทที่ตั้งไว้บังหน้า และไทยเองก็มีการส่งนายทหารหลายท่านไปรบในลาว ซึ่งต้องลาออกจากราชการก่อน ทั้งนี้เป็นเหตุผลด้านการเมืองระหว่างประเทศเพราะสงครามในลาวขณะนั้นเป็นสงครามที่ไม่ได้มีการประกาศอย่างเป็นทางการครับ ถ้าถูกจับหรือตายรัฐบาลไทยและสหรัฐฯก็ปฏิเสธไม่รู้ไม่เห็นได้ง่ายๆ
12.สมัยสงครามโลกครั้งทีสองก็เห็นๆจากสารคดีว่ามีการติดกล้องถ่ายภาพไว้ที่เครื่องบินซึ่งจะทำการถ่ายภาพไว้ขณะเครื่องทำการยิงปืน ซึ่งยุคต่อๆมากก็มีการเปลี่ยนไปใช้กล้องภาพยนตร์ Video Tape ตามยุคสมัย ซึ่งภาพที่บันทึกได้เหล่านี้จะเป็นการยืนยันการสังหารเป้าหมาย และนำมาใช้ดูเพื่อศึกษาทบทวนการปฏิบัติการเพื่อทำการฝึกซ้อมการรบครั้งต่อๆไปให้ดีขึ้นครับ ซึ่งใน บ.ขับไล่สมัยใหม่ก็ยิ่งมระบบที่อำนวยความสะดวกในการบังทึกยืนยันข้อมูลดังกล่าวมากขึ้นครับ
3. อาจเป็นประเภท LHD/LHA ครับ คล้ายๆ ของอิตาลี
5. ถ้ามีเงินน่าจะทำครับ โดยอาจเป็น CL-415 ไม่งั้นก็ของรัสเซียครับ แต่ดูแล้ว ทร.น่าจะไม่นิยมรัสเซียครับ
7. เรือไม่ได้อยู่นิ่งนี่ครับ เมื่อปล่อย chaff เสร็จแล้ว เรือก็ทำการเลี้ยวหลบด้วยครับ
9. เอาเป็น Merlin-AEW ดีกว่าไหมครับ แบบของอิตาลีน่ะครับ แต่จริงๆ น่าจะพึ่งพา ทอ. มากกว่า แต่ต้องมี data-link นะครับ หรือไม่งั้น ทร. ก็ซื้อ Erieye มาใช้เองซะเลย
3.หากคิดเผื่อไปในอนาคต ที่บางคนอาจจะวัยใกล้ฝั่ง เราต้องปลดเรือจักรีฯ
คาดว่าท.ร.จะจัดหาเรือมาทดแทนในประเภท คุณลักษณะเดียวกันหรือไม่ครับ
คงอีกสี่สิบปีข้างหน้าครับ นึกไม่ออก อยู่ที่เทคโนโลยี หลักนิยม งบประมาณ และ หมายรวมถึง ผู้มีอำนาจสั่งซื้อ
4.ท.ร. ยังมีความสนใจจรวดโจมตีเรือ แบบ Gabriel อยู่ป่ะครับ รู้สึกจะพัฒนาไปถึง รุ่น5
ท.ร. เทใจไปให้ Harpoon หมดแล้วครับ ซึ่งผมสนับสนุนแนวคิดนี้ เพราะ ท.ร. ควรลดแบบของอาวุธประจำเรือครับ
5.ท.ร.มีแผนจะเปลี่ยน บ.ล.ทางทะเลสะเทือนน้ำสะเทือนบก แบบ ซีแอล-215 เป็น
415 หรือ รุ่นอื่นๆมาทดแทนหรือไม่ครับ แล้วมีรุ่นใดน่าสนใจบ้าง
ได้ข่าวว่าสนใจครับ แต่จัดลำดับความเร่งด่วนเป็นลำดับท้ายๆ
6.ท.บ.มีแผนจัดหาปืนใหญ่อัตราจร แบบ สายพานเพิ่มเติมป่ะครับ
เห็นเงียบมานานแล้วมาเป็น อัตราจรแบบล้อยางแทน
หรือจะใช้แบบล้อยางแทนทั้งหมด
ดูตามอัตราการจัดยุทธโธปกรณ์ครับ กองพลทหารราบบรรทุกยานเกราะ และ กองพลทหารม้า ตามอัตราต้องมีปืนใหญ่อัตราจรแบบสายพาน เพื่อที่จะวิ่งสนับสนุนหน่วยดำเนินกลยุทธได้ทันครับ แต่ตอนนี้ ปืนใหญ่พาลาดินไปอยู่ที่ ทหารปืนใหญ่ ซะเฉยๆ
7.เรือรบหากยิงชาร์ฟลวงจรวดขึ้นไประเบิดนั้น
จรวดที่ถูกลวงจะวิ่งไปตามชารฟ์ ใช่ป่ะครับ
ซึ่งอันนี้ดูจากการยิงของเรือรบทั่วไป ชาร์ฟจะระเบิดอยู่แถวๆ
เหนือเรือบ้าง ข้างๆเรือบ้าง
หากจรวดที่ลวงหาเป้าไม่เจอไม่พุ่งชนเรือด้วยแรงเฉื่อยรึครับ
มีสิทธิเป็นไปได้หรือไม่
มันต้องหักหลบด้วยครับ เช่นปล่อยเป้าลวงกราบขวาเสร็จ แล้ว ก็หางเสือซ้ายหมด เอาลูกพี่ซ้ายยาว ซ้ายยาววว
11.ทหารรับจ้าง อันนี้หมายถึงทหารที่ปลดประจำการไปแล้ว หรือ
ทหารกองประจำการครับ เคยอ่านว่า มีการส่งทหารรับจ้างเข้ารบในเวียดนาม และ
สงครามอ่าว
มองได้หลายแบบครับ อย่งาทหารพรานของไทยก็ถือเป็นทหารรับจ้าง หรือ เสือพรานของไทยที่ไปรบในลาวก็เป็นทหารรับจ้าง