สำหรับโครงการเรือฟริเกตสมรรถนสูงนั้นคงต้องตัดเรือชั้น Karel Doorman ของเนเธอร์แลนด์ออกไปได้แบบหนึ่งครับ เพราะดูเหมือนว่าทางเนเธอร์แลนด์นั้นจะตัดสินใจประจำการเรือชั้นนี้ที่เหลือ2ลำไปอีกนานครับถ้าโจกการปรับปรุงเรือให้ทันสมัยขึ้นและโครงการต่อเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งชั้นHolland และดูเหมือนทางกองทัพเรือไทยนั้นต้องการเรือที่ต่อใหม่ไม่ใช้มือสองครับ
และถ้าดูจากคุณสมบัติระวางขับน้ำเรือตามที่กำหนดไว้จะมีเพียงเรือ2-3แบบที่เข้าคุณสมบัติครับคือ La Fayette, MEKO A200 หรือ MEKO-D และอีกแบบคือ AFCON Corvette ซึ่งระวางขับน้ำน้อยสุดแต่ทันสมัยที่สุด
แต่ก็ต้องตัด Type 23 ออกไปอีกแบบด้วยครับเพราะมีระวางขับน้ำใหญ่เกินไปคือเต็มที่ 4,200ตันซึ่งไม่น่าจะมีเรือมือสองหรือต่อใหม่ด้วยครับ
แผ่นนี้ แก้ไขข้อมูลใหม่...ในเรื่องมูลค่า เรือ LPD ในข่าวที่ท่าน Skyman โพส มูลค่าโครงการ 200 ล้านเหรียญดอลล่าร์สิงค์โปร์ ครับ..ไม่ใช่ ดอลล่าร์สหรัฐ ผมเลยใช้มูลค่าเงินบาทแทน คือ 4,943 ล้านบาท จะเท่ากับประมาณ 141.50 ล้านเหรียญสหรัฐ ครับ..และ เรือ OPV ที่ต่อใหม่ มูลค่า 3,000 ล้านบาท จะประมาณ 86 ล้านเหรียญสหรัฐ ครับ...
ในส่วนของเรือชั้น Karel Doorman อันนี้ ผมมองในลักษณะ เรือต่อใหม่ โดยในแผนแบบเรือเก่า และติดอาวุธ VLS ในวงเงินงบประมาณลำละ 250 - 300 ล้านเหรียญ ครับ...เพราะอายุเขา 10 ปีต้น ๆ....เลยลองเอาใส่ดู เพื่อเป็นตัวเลือกได้ ซึ่งเป็นบริษัทเดียวกันที่ต่อ ร.ล.พฤหัสบดี ให้ ทร.ไทยครับ...จาก เนเธอร์แลนด์...
ในส่วนของ Type-23 ผมเอามาจากข่าวเก่า ที่ ทร. สนใจซื้อเรือเก่าอังกฤษ จำนวน 2 ลำ...ซึ่งผมลองดูแบบอื่นที่กำลังจะปลดประจำการ Type-22 กับ Type-42 ก็เก่าเกินไป...จะมีแต่ Type-23 ที่เข้าสเปคที่สุด โดยลำแรกมีแผนจะปลดในปี 2019 (อีก 10 ปีข้างหน้า) และ อังกฤษ ได้แบ่งขาย ทร.ชิลี ไปแล้ว 3 ลำ....และถ้าตั้งงบประมาณในวงเงินลำละ 200-250 ล้านเหรียญ...มันก็อาจจะมีลุ้นได้เหมือนกันครับ...ผมเลยใส่ไว้เป็นตัวเลือกด้วยครับ...
ในส่วนของ Mako D กับ AFCON เดี๋ยวผมขอใส่ข้อมูลลงไปเป็นตัวเลือกด้วยครับ...
ส่วนเรื่อง ฮ. ATTACK พอดีผมเอาข้อมูลมาจากเว๊ป ในส่วนของข้อมูล กองทัพเรือไทย ครับที่เป็นภาคภาษาอังกฤษ...ผมจึงคิดว่า ไม่น่าจะเป็นข้อมูลของ AF-1F ของ ทบ. ครับ...(ชื่อเว๊ปอะไร จำ บ่ ได้แล้ว...เดี๋ยวต้องไปค้นดูครับ...แต่ก๊อปข้อความเขามาใส่ใน word...) ซึ่งเป็นข้อมูลที่ไม่ยืนยัน 100% ครับ...เพียงแต่แค่ มีมูล เลยเอามาใส่เป็นตัวเลือกครับ...(เพราะผมก็สนับสนุนเหมือนกัน ในแนวคิด ทร. มี ฮ.โจมตี แทน บ.โจมตี ถ้าไม่สามารถหา AV-8B มาทดแทนได้ครับ)
ซึ่ง วงเงินงบประมาณ ลำละ 250 - 300 ล้านเหรียญ ก็เป็นวงเงิน ที่ตั้งเอา มั่ว ๆ และน่าจะเป็นวงเงินงบประมาณที่จัดชั้นว่า แพง สำหรับ ประเทศไทย...(อาศัย จากเรือ LPD ลำละ 140 ล้านเหรียญ ผมเลยตั้งตัวเลข เรือรบที่ 1 เท่า จะได้ตัวเลขประมาณลำละ 280 ล้านเหรียญ และแพงเป็น 2 เท่าของวงเงินต่อเรือ OPV ที่ลำละ 86 ล้านเหรียญ คูณ 2 เท่า จะเท่ากับ 258 ล้านเหรียญ)
ฉบับแก้ไขใหม่...
เอาเฉพาะ เรือฟริเกต แบบใหม่...
Gawron Class (Meko A-100) ของ โปแลนด์
ตามรูป สเปค จะติดตั้ง VLS ด้วย...แต่ในปัจจุบัน ยังไม่ได้มีการติดตั้ง VLS มีแต่ ติดตั้ง RAM อย่างเดียว
คราวนี้...ถึง คราว มานั่ง....เดา....อุ๊บอิ๊บ ผมขอ เดา ก่อน...ขอเริ่มจาก
บันทึกที่ 5 UAV จำนวน 3 ระบบควบคุม 9-12 ลำ
ในเบื้องต้น ผมขอใช้ UAV Heron เป็นตัวหลักก่อน...เพราะเห็น ออสเตรเลีย อินเดีย กับ สเปน สนใจสั่งซื้อไปแล้ว...
แบบที่ 1 จำนวน 3 ระบบ แยกเป็น ประจำเรือ 1 ระบบ เป็น UAV ระยะสั้น กับ 2 ระบบ ระยะปานกลาง ติดตั้งบนเรือ กับ บนฝั่ง
แบบที่ 2 จำนวน 3 ระบบ แยกเป็น
ระบบที่ 1 ติดตั้งประจำเรือ 911 สำหรับต่อระยะ ครอบคุ้มน่านน้ำ เชื่อมทั้งฝั่งอ่าวไทย และ อันดามัน
ระบบที่ 2 กับ 3 ติดตั้งบนฝั่ง ที่ อู่ตะเภา ดูแลฝั่ง อ่าวไทย กับ ฐานทัพเรือพังงา ดูแลฝั่ง อันดามัน
แบบที่ 3
ระบบที่ 1 เป็น UAV ระยะใกล้ ติดตั้งประจำเรือ สำหรับพื้นที่บนน่านน้ำ
ระบบที่ 2 กับ ระบบที่ 3 เป็น UAV ระยะปานกลาง ติดตั้งบนฝั่ง สำหรับ อู่ตะเภา ดูแลฝั่งอ่าวไทย และ ฐานทัพเรือพังงา ดูแลฝั่งอันดามัน
แบบที่ 4
ทั้ง 3 ระบบ เป็นฐานบินบนฝั่ง
ระบบที่ 1 ฐานอู่ตะเภา ดูแล อ่าวไทยตอนบน
ระบบที่ 2 ฐานทัพเรือ สงขลา ดูแล อ่าวไทยตอนล่าง
ระบบที่ 3 ฐานทัพเรือ พังงา ดูแล ฝั่งอันดามัน
ป๋าครับ ถ้าจำไม่ผิดนั้นโครงการ ฮ.ลำเลียงขนาดใหญ่นั้น ถ้าเอา spec ตามแผนเดิม มันจะเป็น ฮ.ขนาด Merlin หรือ S-92 ครับ เอหรือว่าจะจำผิด
ข้อมูลตามแผนกลาโหมเดิมครับ
2. ฮ.ลำเลียง
ประเภท : ฮ.ลำเลียงขนาดใหญ่มาตรฐาน
โครงการ : 4 ลำ, ระยะเวลาโครงการ :2549 - 2551
ขีดความสามารถที่ต้องการ
1.ลำเลียงกำลังทหารพร้อมอาวุธประจำกายและสัมภาระได้อย่างต่ำ 25 คน ไม่รวมนักบินและเจ้าหน้าที่ประจำเครื่อง
2.สนับสนุนการปฏิบัติการของหน่วยกำลังทางบก
3.ค้นหาและกู้ภัยทางทะเล
คุณลักษณะทั่วไปที่สำคัญ
1.ปฏิบัติงานได้ทั้งบนบกและในทะเล
2.เป็น ฮ.ที่ผลิตตามมาตรฐานใช้กันแพร่หลายในหลายประเทศ และอยู่ในสายการผลิตที่ต่อเนื่อง
3.ปฏิบัติการได้ทั้งกลางวันและกลางคืน ทั้งการบินด้วยสายตาและเครื่องวัดประกอบการบิน
4.เครื่องยนต์อย่างน้อย 2 เครื่องยนต์
5.มีระบบบังคับการบินทั้งที่นักบินและนักบินผู้ช่วย
6.สามารถติดตั้งปืนกลอากาศได้ถึงขนาด 30 มม.
7.มีเครื่องมือสื่อสารและระบบความปลอดภัยตามมาตรฐาน
8.มีสายการผลิตอะไหล่สนับสนุนการซ่อมบำรุงให้ใช้งานได้ต่อเนื่องอย่างน้อย 20 ปี
จะเห็นได้ว่าคุณสมบัติของ ฮ.ดังกล่าวนั้นจะต้องปฏิบัติการได้ทั้งบนบกและในทะเล สามารถบรรทุกกำลังพลได้25นายขึ้นไป และติดปืนกลอากาศขนาด 30มม.ได้ด้วยครับซึ่ง ฮ.ลำเลียงขนาดใหญ่ในปัจจุบันที่ขนกำลังพลได้25นายขึ้นไปก็มีหลายแบบเช่น EC 725 Cougar กับ AW101 Merlin ซึ่ง ฮ.ทั้ง2แบบนั้นเป็น ฮ.จากยุโรปที่สามารถติดอาวุธได้ครับ แต่ไม่ทราบว่าจะมีกระเปาะปืนขนาด 30มม.ให้เลือกติดหรือไม่(ใหญ่สุดที่มีข้อมูลเป็น GIAT 20mm)
ส่วน S-92 กับ NH90 นั้นดูเหมือนว่าขนาดจะเล็กไปหน่อยครับคือจุได้ 20-22นาย
ซึ่งก็ไม่แน่ใจว่ากองทัพเรือจะสน ฮ.จากยุโรปหรือไม่ครับ เพราะ ฮ.ของสหรัฐฯอย่าง Boeing CH-47F Chinook หรือ Sikorsky CH-53K รุ่นใหม่นั้นมีขนาดใหญ่มากเกินที่จะปฏิบัติการจากเรือที่กองทัพเรือมีอยู่ได้สะดวกครับ และดูเหมือนจะติดอาวุธยิงสนับสนุนอำนาจการยิงสูงอย่างกระเปาะปืนใหญ่อากาศบนตัวเครื่องไม่ได้ด้วยครับ
สำหรับ ฮ.MH-60S Kinighthawk นั้นรองรับการติดตั้งอุปกรณ์สำหรับปฏิบัติการกู้ภัยทางทะเลและสามารถติดตั้งอาวุธได้ตามที่โครงการบันทึกไว้ครับคือมีกระเปาะปืน Mk44 30mm ให้เลือกติด แต่ด้วยขนาดของ ฮ.นั้นสามารถรองรับผู้โดยสารได้ไม่เกิน 11-12นายครับ
ซึ่งเข้าใจว่ากองทัพเรือจะจัดหามาประจำการบน ร.ล.จักรีนฤเบศร หรือฐานบินบนฝั่งเพื่อรองรับปฏิบัติการกู้ภัยทางทะเล และสนับสนุนการปฏิบัติการของ นสร.และ นาวิกโยธิน แทนหรือเสริม S-70B Seahawk ที่มีอยู่เดิมโดยตรงครับ
ขอบคุณครับ ท่าน rinsc seaver และท่าน AAG_th1...แสดงว่า ผมเข้าใจผิด ครับ...เดี๋ยวจะแก้ไข และเพิ่มเติม แบบ ฮ. ที่จะมานั่งเดา ต่อไปครับ...
แล้ว MIL-17 คุณสมบัติมันจะพอไหว..ไหมครับ...
อ้างอิงจาก ความเห็นท่าน ท้าวทองไหล...ที่ว่า ไม่แน่ ทอ. อาจจะเลือก MIL-17 เป็น ฮ. SAR ประจำฐานบิน..
และตามสเปค ทร. ไม่ได้กำหนดว่า สามารถจอดลานบินบนเรือได้...เพียงแต่ใช้ปฏิบัติการในทะเล ได้...
MIL-17 ของ ทร.เม็กซิโก ช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางเรือ
อันนี้ผมมา คอมเมนต์ เรื่อง เรือ ฟริเกต ในอนาคต ของ ทร.ไทย
โดยส่วนตัวผมชอบ เรือ LA FAYETTE ของ ฝรั่งเศส ครับผมว่ามันสวยดี
เทคโนโลยี Stealth อีกต่างหาก
จะบอกว่า ลา ฟาแย๊ต เป็นเรือ ฟริเกต เบบ Stealth แบบเดียวก็ไม่ได้ เพราะเรือ MEKO มันก็ใช้ เทคโนโลยี Stealth เหมือนๆกัน
เดี๋ยวไปตั้งกระทู้เองดีกว่า.......อยากรู้ความคิดเห็นของท่านอื่นๆด้วย กับ อนาคตเรือฟริเกต ของ ทร.ไทย
MIL-17 ของ ทร.เม็กซิโก ดูจะมีบทบาทที่ ทร.เม็กซิโก ชื่นชอบ พอสมควร
ห้องฝึกบินจำลอง MIL-17
ติดอาวุธ
ท่าน TOP SECRET ผมก็ทำแผ่นภาพ ตัวเลือกเรือฟริเกต ไว้เหมือนกันครับ...อาจจะไป แจม ด้วย...
MIL-17 ปฏิบัติการทางเรือ
ตามรูปน่าจะทิ้งเรือยาง มองไม่ชัด
เร็วๆน่ะ ท่าน Juldas โพสแล้วไม่มีคนมา คอมเมนต์ มันเหงาน่ะ รู้สึกวังเวง..........นึกว่ากระทู้ผมมันจะไร้ สาระ ขนาดไม่มีคนตอบเลยหรือนี่
เอาเป็นว่า ขอสักคนเถอะ ท่าน Juldas อย่าลืมไปช่วย เมนต์ ล่ะ ไม่งั้น............ลับสุดยอด งอนจริงๆน่ะ อิอิอิ เอิ๊กๆๆๆๆๆๆๆๆ
โดยทั่วไปการจัดหา ฮ.ของกองทัพเรือนั้น ฮ.ที่จะจัดหามาก็ควรจะสามารถปฏิบัติการร่วมกับเรือผิวน้ำได้ระดับหนึ่งครับ ซึ่งเรือของกองทัพเรือที่มีดาดฟ้าขนาดใหญ่พอสำหรับรองรับ ฮ.ขนาดกลางถึงหนักขึ้นไปได้ก็เช่น ร.ล.จักรีนฤเบศร ส่วน ร.ล.สิมิลันไม่ค่อยแน่ใจครับ และร่วมถึงเรือ LPD ที่จะจัดหามาในอนาคตด้วย ซึ่งสำหรับเรือชั้น Endurace ของสิงคโปร์นั้นก็เห็นมีการฝึกปฏิบัติการร่วมกับ ฮ.CH-47 Chinook ครับ
ในภาพเป็นปฏิบัติการช่วยเหลือหลังเหตุการณ์ Tsunamiปี 2005 ที่อินโดนีเซีย โดยเรือ RSS Persistence
อย่างไรก็ตาม ฮ.ที่จะเป็น ฮ.ปฏิบัติการทางทะเลนั้นก็ควรจะเป็น ฮ.ที่ออกแบบมาโดยตรงครับเพราะการใช้ ฮ.ในลักษณะดังกล่าวนั้นต้องมีการออกแบบอากาศยานในบางจุดที่ต่างไปจากรุ่นใช้งานบนบกทั่วไปเช่นการปรับตำแหน่งศูนย์ถ่วงของล้อขณะลงจอดบนเรือ หรืออุปกรณ์นำร่องสำหรับการบินเข้าหาเรือเป็นต้น ซึ่ง ฮ.Mi-17 นั้นไม่มีรุ่นที่ออกแบบมาสำหรับการใช้งานกับกองทัพเรือโดยตรงครับ แต่มองมุมกลับก็กรณีเดียวกับที่สิงคโปร์ใช้ ฮ.Chinook กับเรือชั้น Endurance นั้นละครับ
อีกประการคือส่วนตัวไม่ค่อยแน่ใจว่ากองทัพเรือนั้นจะเลือกอากาศยานจากรัสเซียหรือไม่ด้วยครับ เพราะความต้องการของแต่ละเหล่านั้นมีความต่างกันครับ
ซึ่งถ้าดูจากปฏิบัติการฝึกร่วมของกองทัพเรือกับมิตรประเทศที่ผ่านๆมา ส่วนตัวเชื่อว่า ฮ.ลำเลียงหนักที่กองทัพเรือต้องการนั้นน่าจะเป็น ฮ.ที่สมรรถนะใกล้เคียงกับ CH-46 SeaKnight หรือ CH-47 Chinook ครับ แต่สามารถติดอาวุธยิงสนับสนุนได้ด้วย
ส่วนตัวอยากเห็นเรือในโครงการ KDX III ของเกาหลีใต้มากกว่า
เพราะในกองเรือไม่มีเรือที่ป้องกันภัยทางอากาศแบบเต็มรูปแบบซักลำ
โดยนำเข้าอุปกรณ์มาต่อในประเทศที่ อรม . ต่อซักไม่มาก ซัก 2 ลำ
ประจำการฝั่งอ่าวไทย 1 ลำ ฝั่ง อันดามัน 1 ลำ เรดาห์มันคงกวาดไปถึง
อินโด ยัน มัลดิฟ นู้แนะ อีกอย่างมันยังเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติการ
ในทะเลลึกอีกด้วย T_Tแต่เห็นทีจะไม่ผ่านคัดเลือกตรงเจ้าวาฬตัวนี้มัน
แรงจนกินจุ ด้วยขุมกำลัง gas turbine 4 เครื่อง โดยไม่มีดีเซลเลย เพื่อให้
พลังแก่เรดาห์ spy 1 ดูจาก ตัวแฝดที่อยู่ กะชั้นนเรศวร เขาก็บอกว่า กินจุเ
หลือเกิน เอาไว้ใช้เมื่อจำเป็นเท่านั้น อีกอย่างผมคนในพื้นที่อย่างเห็น
อะไรที่แปลกหูแปลกตาไปกว่าอะคับ
แต่ท้ายสุดผมอยากให้ประเทศไทยใช้เงินอย่างคุ้มค่าคับ แล้วความคิด
เห็นอื่นๆคิดกันว่าอย่างไรคับ ^ ^
ในความเห็นผมนะครับ..ท่าน AAG_th1 ในส่วนของ MI-17 ไม่น่าจะมีปัญหากับ ทร. ครับ...ผมดูวัตถุประสงค์ของ ฮ.น้ำหนักขนาดนี้ ทร. น่าจะใช้ในการลำเลียง ขนส่ง และเน้นในเรื่องของ นย. กับ กู้ภัย มากกว่า การปฏิบัติการประจำในทะเล แต่ยังคงคุณลักษณะในการปฏิบัติการทางทะเลได้...
ซึ่ง MI-17 ก็มีความสามารถในทางทะเล ตามของ ทร.เม็กซิโก ครับ...และต่อต้านพวกขนยาเสพติดทางทะเล...
ผมลองเอา ฮ. MI-17 มาเชื่อมโยงของทุกเหล่าทัพนะครับ...
กองทัพบก ใช้ในการลำเลียง เช่นเดียวกับ ชินุค
กองทัพอากาศ (ตามความเห็น ท่านท้าวทองไหล ว่า...อาจจะ...) ใช้ในการ ช่วยเหลือผู้ประสบภัย ประจำฐานบิน
กองทัพเรือ (สมมติ ถ้าเลือกแบบ ฮ. นี้) ใช้ในการ ขนส่ง ลำเลียง หรือเคลื่อนย้ายกำลังพล และช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางทะเล...น่าจะภาระกิจ เหมือนกับ BELL-412 ST แต่อาจจะมีประสิทธิภาพ ดีกว่าในเรื่องการช่วยเหลือผู้ประสบภัย โดย BELL-412 ก็เป็น ฮ. วี ไอ พี ล้วนๆ ไปเลย...(ซึ่งผมคิดว่า ปัจจุบัน ก็น่าจะเป็นแบบนั้นอยู่แล้วครับ)
ก็เท่ากับ MI-17 เป็น ฮ.ลำเลียง ขนาดกลาง และช่วยเหลือผู้ประสบภัย ทั้ง 3 เหล่าทัพ เป็น ฮ.แบบเดียวกัน ดังนั้น ความที่มีเรื่องปริมาณเพียงพอ ในเรื่องการซ่อมบำรุง การดัดแปลง การมีเครื่องฝึกบินจำลอง ที่กองทัพจะจัดการด้วยตนเอง น่าจะ พอเป็นตัวเลือก ได้เหมือนกันครับ...
ท่าน Talon ผมมองประเด็นของ ทร. ที่เป็น ประเด็นหลัก คือ เรื่องงบประมาณ การจัดซื้อ ด้วยราคาของ KDX-III ต่อลำ ผมว่า ราคาน่าจะสูงกว่า เรือดำน้ำ...ในใจผมคิดว่า ถ้าจะได้เรือใหม่ และงบประมาณเป็นตัวกำหนด...แนว ๆ มันจะออกไปทาง ลาฟาแยตต์ หรือ ชุด นเรศวร แบบระบบอาวุธเต็ม สเปค หรือมากกว่า หรือถ้าทุ่มสุดตัว อาจจะเป็น MEKO-Delta หรือ A-200 อาจจะมา...หรือ อาจจะเป็นตัวเรือจากรัสเซีย แต่ระบบอาวุธ เป็นยุโรป....
ส่วนตัวมองว่าถ้ากองทัพเรือกำหนดแบบ ฮ.ลำเลียงขนาดใหญ่ที่สามารถติดอาวุธยิงสนับสนุนได้ตามโครงการเดิมที่ลงข้อมูลไว้ข้างต้นก็น่าจะเป็น ฮ.ที่ใช้ระบบอาวุธมาตรฐานเดียวกับที่กองทัพเรือมีใช้อยู่ในปัจจุบันคือ มารตรฐาน NATO ครับ เพราะอย่างน้อยจะลดความสิ้นเปลืองในการจัดหาอาวุธร่วมกันลงได้บ้าง ซึ่ง ฮ.Mi-17 รุ่นที่ติดอาวุธได้นั้นดูจะไม่ตรงความต้องการในส่วนนี้นักครับเพราะแค่เฉพาะกระเปาะปืนใหญ่อากาศและกระสุนก็ต้องจัดหาจากรัสเซียใหม่หมด
ก็ตามที่กล่าวในข้างต้นครับว่าแต่ละเหล่าทัพมีความต้องการแตกต่างกัน อย่างของกองทัพบกนั้นจะจัดหา Mi-17 ในภารกิจลำเลียงทั่วไป ซึ่งเป็นรุ่นไม่ติดอาวุธครับ แต่ของกองทัพเรือต้องการ ฮ.ที่ติดอาวุธได้เพื่อสนับสนุนกำลังหน่วยปฏิบัติการพิเศษหรือนาวิกโยธินเป็ต้น
ประมาณเกือบ10ปีก่อนกองทัพเรือเคยพิจารณาเรือฟริเกตชั้น Oliver Hazard Perry รุ่นลำตัวสั้นที่สหรัฐฯเริ่มปลดประจำการและมีการขายให้มิตรประเทศครับ แต่เนื่องจากเรือชั้นนี้ใช้ ย. Gas Turbine หลัก2เครื่องไม่มี ย.ดีเซล ซึ่งมีอัตราสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงสูง ซึ่งมีคำนวณแล้วเกินความจำเป็นและเปลืองค่าใช้จ่ายไม่คุ้มค่าต่อกองทัพเรือครับจึงไม่ได้มีการจัดหามา เพราะฉนั้นเรือที่ใช้ ย.Gas Turbine อย่างเดียว4เครื่องเป็นระบบ COGOG หรือ COGAG นั้นยากที่กองทัพเรือจะจัดหามาใช้ครับเพราะค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติการสูงเกินกองทัพเรือจะรับได้
ในกรณีเดียวกันหลายๆประเทศที่ต้องการเรือป้องกันภัยทางอากาศนั้นก็ไม่ได้จำเป็นต้องจัดหาเรือที่ใหญ่มากๆและใช้ ย.ที่สิ้นเปลืองสูงนักครับเช่นเรือป้องกันภัยทางอากาศของยุโรปหลายๆลำก็เลือกระบบขับเคลื่อนแบบ CODAG, CODOG หรือ CODLAG ระวางขับน้ำ 5,000-7,000ตันครับ
1. ผมเชียร์ S-92 ครับ .... ในเมื่อทอ. จัดเป็นเครื่องราชภาหนะแล้ว 3 ลำ ฮ.ที่ทอ. จะซื้อใหม่เพื่อเป็นฮ. SAR น่าจะเป็น S-92 ด้วย
2. ฮ. ขนาดกลางของทร. น่าจะลดSpec. ลงมาเป็นขนาดเดียวกับ Seahawk น่ะครับ ในเมื่อมี S-70B , และสั่ง MH-60S ไปแล้ว หรือหากต้องการฮ. ขนาดกลางจริงๆ ก็ควรมองไปที่ S-92 ( หากเข้าใจไม่ผิด S-92 เป็นฮ.ที่ขยายแบบจาก ฮ. ตระกูล Blackhawk เครื่องยนต์น่าจะใช้อะไหล่ด้วยกันได้ )
3. เรื่องนี้งงนิดหน่อย เกี่ยวกับการจัดหาฮ. ของกองทัพเรือ เคยมีข่าวเซ็น UH-60L ไป 2 ลำ กับ MH-60S อีก 2 ลำ สรุปว่า UH-60L ยกเลิกหรือไม่ ในเมื่อมีโครงการจะจัดหา MH-60S อีก 4 ลำ (โครงการฯ US$ 246 m.)
สำหรับเรือฟรีเกตสมรรถนะสูง .................. เชื่อคุณสมบัติ สเต๊ว น่าจะเป็นสิ่งชื่นชมในใจลึกๆอยู่ด้วย ............ ขีดความสามารถในการตรวจจับและติดตามเป้าหมายทางอากาศ อันนี้คือหัวใจสำคัญยิ่งสำหรับเรือรบสมรรถนะสูงยุคใหม่.............................สำหรับอาวุธยิงพื้น - อากาศ นั้น คงเป็นแซมระยะยิงไม่ต่ำกว่า 30 กม. ซึ่งจะครอบครุมการป้องกันภัยทางอากาศเป็นพื้นที่ ..................
ถ้าการคาดหมายของพวกเราเป็นจริง ในอนาคตอันใกล้เรือฟรีเกตในครอบครองชุด รล.นเรศวร น่าจะได้รับการติดตั้งอาวุธยิงพิสัยกลาง.......................... แต่ทว่า หอกง้าวอันแหลมคม ย่อมจะต้องถูกเป็นอาวุธของผู้มีสายตาดี....................... เรดาร์ แอลดับบลิว-08 ที่มีอยู่กับนางเอก แม้จะเป็นเรดาร์ตรวจจับพิสัยไกล ทว่าการรบยุคใหม่ที่ต้องการเรดาร์ที่มีกำลังแรงและแม่นยำกว่า ย่อมทำให้การป้องกันภัยคุกคามทำได้ดีกว่า ................. ถึงตรงนี้ไม่แน่ว่า ไฉไลยาใจคนใหม่ของเรา อาจมี เฟสอาร์เรย์ หรือ มินิเฟสอาร์เรย์เป็นหูเป็นตาก็เป็นได้.........................
ส่วนตัวคิดว่า เคดีเอ็กซ์-3 ใหญ่เกินไป (เกือบ 8000 ตัน ซึ่งเฉียดชั้น ลาดตะเวณไปแล้ว) แผนแบบไม่ลดการสะท้อนเรดาร์ .....................มีต่อ
ซึ่ง เรื่องของ สเต๊ว นั้น จะส่งผลถึงความอยู่รอดในภาวะสงครามได้ระดับหนึ่ง (ถ้าพี่จะสะบึมหนู พี่ต้องคลานเข้ามาใกล้ๆ ซึ่งถึงเวลานั้นข้อเท้าของน้องคงเหวี่ยงไปถูกง่ามขาพี่ หน้าเขียวหน้าเหลืองไปแล้ว).............................. แผนแบบเรือ ขนาดไม่เกิน 3000 ตัน น่าจะเหมาะสมและอยู่ในความต้องการของ ทร. ( เรือใหญ่ป้านน้ำมาก ป้านน้ำมากก็ไปได้ช้า ไปได้ช้าก็ต้องใช้เครื่องยนต์ที่มีกำลังแรงขึ้น เครื่องใหญ่ขึ้นก็เปลืองกาซ่วนไปอีกอักโข(มอตะไซด์ใช้แอ๊ดซั่ง))................................. ถึงตรงนี้เรือที่อยู่ในโผ น่าจะเป็น ลาฟาแย้ต,เม้กโก้สองร้อย หรือ ดี .......................
แต่หยั่งว่าพี่น้อง............ภายใต้งบประมาณอันกระท่อนกระแท่น ............... พี่ไทยเราหัวดัดแปลงอยู่แล้ว.....................ปรัชญา ถูกดีไม่มีในโลก อันนี้จริง..................... แต่ถ้าจะทำให้กลมกลืนก้ำกึ่ง คือไม่แพงมาก ดีในแนวหน้าแต่ไม่ถึงโดเด่น...................แนวความคิดเช่นเรือชุด รล.นเรศวร อาจนำมาใช้อีก.......................
ไอเดีย.................. ย่อส่วน เดสทรอยเอ่อร์ ไทป์-052 ซี ลงมาครึ่งหนึ่ง (จาก ห้าพันให้เหลือสามพัน) ............... ได้ตัวเรือ สเต๊ว ราคาย่อมเยาว์ ส่วนอาวุธยิงแนวตั้ง เฟสอาร์เรย์ มินิเฟสอารเรย์ ค่อยจัดหาแยก.............................. แนวคิดนี้คงประหยัดเรื่องตัวเรือไปได้บ้าง แต่ที่สำคัญที่สุด.............(อันนี้ว่าไปแล้วเพื่อนจะหาว่ากวนทีนหรือป่าว).................ต่อเรือสเต้วมา ปีแรก ติดฮาร์พูน กะ 37 มมใท่นคู่ไปก่อน วิ่งปุเลงๆเอาไว้อวดโฉมเป็นหลัก สิบปีผ่านไปมีตังค่อนติดฐานยิงแนวตั้ง และอีกสิบปี พอเมืองไทยเจริญ ทีนี้ค่อยติดเฟสอาร์เรย์.................................ไอเดียบรรเจิดมั๊ยพี่น้อง........
ต่อครับ........ท่าน กบ
ผมว่า เรดาร์ ของทางฝั่ง ยุโรป รุ่นใหม่ที่มีพิสัยตรวจจับไกลๆ ก็มี Thales herakles ที่ สิงคโปร์ ใช้อยู่ ในเรือ ชั้น ฟอร์มิเดเบิ้ล คลาสครับ
มันก็มี ระยะตรวจจับ เป้าหมายในอากาศได้ไกล 250 กิโลเมตร และตรวจจับเรือผิวน้ำด้วยกัน ที่ 80 กิโลเมตรครับ
แถมยังใช้ ร่วมกับ ASTER-30 ที่มีพิสัยยิง 120 กิโลเมตร ได้อีกครับ
ถ้าจะเอาแบบเรือต่อจากจีนจริงแบบเรือฟริเกต Type054A นั้นจะดูเหมาะสมกว่าครับในแง่ขนาดและความเหมาะสมในการติดตั้งระบบ และภารกิจของกองทัพเรือ ซึ่งระวางขับน้ำเรือที่ 4,500ตันของ Type054A นั้น่าจะปรับลดมาที่ 3,000กว่าตันได้ครับ
อย่างไรก็ตามอาวุธปืนรองของของเรือจีนที่ต่อใหม่ในปัจจุบันนั้นไม่เห็นติดป้อมปืน 37มม.แฝด Type73แล้วครับ(น่ากลัวจะปิดสายการผลิตแล้ว) จะเห็นติดเป็นระบบ CIWS อย่าง AK-630 ของรัสเซียหรือ Type 730 ของจีนเองแทนซึ่งราคาค่อนข้างแพงครับ อันนี้ไม่รวมถึงระบบอื่นๆ เช่น VLS ด้วยครับ
แต่ถ้าดูจากปัญหาที่พบจากเรือชุด ร.ล.นเรศวร และแนวทางการปรับปรุงระบบเรือโดยจะถอดระบบอำนวยการของจีน Sensor และอาวุธจีนออก และรูปแบบการต่อเรือชุด ร.ล.ปัตตานีนี้ใช้ระบบตะวันตกล้วนนั้น เห็นได้ว่าทางกองทัพเรือคงจะไม่นาจัดหาเรือที่ใช้ระบบผสมระหว่างจีนกับตะวันตกแล้วละครับ
ส่วนตัวคิดว่าถ้าต่อเฉพาะตัวเรือจากจีนจริงแล้วค่อยมาติดระบบอำนวยการ Sensor แบบต่างๆและอาวุธที่ไทยทีหลังนี้คงต้องติดหลายหลายการครับ เนื่องจากระบบยุโรป-สหรัฐฯที่ทันสมัยมากๆนั้คงจะเอาไปติดที่จีนไม่ได้เนื่องจากคงจะเกรงว่า Techology จะรั่วไหลครับ
ผมก็มองคล้าย ๆ ท่านกบ ล่ะครับ...ว่า ถ้าเงื่อนไข ประเด็นหลัก ยังเป็นงบประมาณ...ชุด นเรศวร แบบดัดแปลง ก็น่าจะเป็นทางเลือกอีกทางเลือกหนึ่ง ซึ่งผมว่า ก็น่าสนใจดีครับ...เพราะแต่เดิม ทร. เอง ก็กำหนดความต้องการ เรือชุดนเรศวร ประมาณ 8 ลำ...แต่อาจจะหันเห มาทาง ถ้า เรือ OPV ลำใหม่ อู่ ทร. ประสบความสำเร็จ...เรื่องตัวเรือ จะไม่ใช่ปัญหา งบประมาณ เรือ นเรศวร ลำใหม่ ลำละ 10,000 ล้านบาท ผมว่าก็ไม่มีปัญหา เพราะใช้เงินบาท น่าจะไม่ต่ำกว่า 30% - 40% ไม่ต้องอิง ดอลล่าร์ สามารถพิมพ์แบงค์เองได้ หมุนเวียน เหมือน OTOP มันก็จะสร้างเสถียรภาพเงินบาท...ในส่วนอีก 70% - 60% ไปเป็นเรื่องระบบอาวุธ ค่อยไปกระทบ ดอลล่าร์...น่าจะพอลุ้นเหมือนกันครับ...ต่อภายในประเทศ ดูเหมือนแพง แต่จะได้สร้างแนวคิดใหม่ กันสักที....เพราะถึงต่อภายในประเทศจะมีราคาแพง แต่ประเด็นหลัก คือ ใช้วัตถุดิบ หรือเงินบาท สักประมาณ 30% - 40% ผมว่ามันยังมีเหตุผล ทางเศรษฐกิจ ที่น่าจะสนับสนุนและกระตุ้นเศรษฐกิจภายในได้ เหมือนกันครับ...
อันนี้ ข้อมูลเปรียบเทียบ เรือแบบใหม่ล่าสุด ในส่วนตรงไหน ที่ข้อมูล ควรปรับปรุง ก็แนะนำได้ครับ...จะได้ปรับให้ได้ข้อมูลมากที่สุด...
และอันดับต่อไป จะลองมาให้คะแนน กัน ครับ...ว่า แบบไหน ที่...น่าจะ....และมีความเห็นว่า....น่าจะ...สนับสนุนมากที่สุดครับ...ขอนอนคิด หาวิธีแนวการให้คะแนน ก่อนครับ..
เห็นด้วยกับคุณ AAG_th1ครับใหนๆๆถ้าจะต่อที่จีนก็ควรเอาระบบอาวุธ
ของเขามาทั้งหมดเลยเว้นเครื่องยนต์อย่างเดียวพอนอกนั้นเอามาให้
หมดเลยทั้งปืนเรือขนาด100มม จรวดต่อต้านเรือรบซี802 จรวดต่อสู้
อากาศยานแบบCY-60หรือระบบVLSของจีน ปตอขนาด30มมแบบ
AS-360ของรัสเซียและตอร์ปิโดของจีนหรือรัสเซียถึงแม้ราคาจะสูงกว่า
เมื่อต่อเรือหลวงชุดนเรศวรอยู่สักหน่อยแต่เชื่อขนมกินได้เลยทางจีนเอง
เขาคงยินดีขายให้เราถูกกว่าทางยุโรบหรือเมกาเป็นแน่ด้วยเหตุผลที่ว่า
ไทย-จีนเป็นมหามิตรกันและเป็นการเชื่อมสันพันธไมตรีไปในตัวด้วย
เหมือนที่ทางจีนขายเรือชุดเจ้าพระยา4ลำ+อาวุธในราคา7000ล้านบาท
ถือว่าถูกมากถ้าเทียบเรือชั้นเดียวกันในแทบยุโรบราคาแค่7000ล้านบาท
คงต่อได้ลำกว่าๆๆเท่านั้นและอาวุธคงไม่ครบเหมือนของจีน
เรือฟรีเกตที่จะต่อใหม่ควรเป็นของเจ้าใดเจ้าหนึ่งไปเลยทั้งเรือและระบบ
อาวุธถ้าจะเอาเรือที่ต่อมาจากยุโรบอาวุธที่ติดตั้งก็ควรเป็นของทางยุโรบ
ไปซะทั้งหมดเลยมันง่ายต่อการใช้งานและการบำรุงรักษาถ้าจะเป็นของ
จีนก็เอามาทั้งหมดด้วยเหตุผลเดียวกัน
ผมขอให้ทร.สามารถต่อเรือ OPV ขนาด 80 เมตรนี้ออกมาได้ประทับใจสุดๆครับ และให้มีจำนวนการต่อออกมา 4-6 ลำ(เห็นว่าจะเป็นเรือเฉลิมพระเกียรติแบบเรือชั้น ต.991 นี่ครับ) ถ้าออกมาดีน่าประทับใจแบบ ต.991 จริงๆ(ก็ถึงขั้นส่งออกได้แล้วนี่ครับ) ทร.น่าจะมีกำลังใจและความมั่นใจในการออกแบบเรือฟรีเกตอเนกประสงค์เองได้นะ ก็แค่ขยายแบบให้ได้ราวๆ 3,000 ตัน และต่อตามมาตรฐานทางทหาร ถึงเวลานั้นน่าจะเป็นเรือที่จะมาทดแทนเรือชั้นเจ้าพระยาและเรือชั้นนเรศวรทั้งหมดได้ แม้แต่เรือชั้นน็อคด้วย อยากเห็นเรือฟรีเกตที่คนไทยออกแบบเองสร้างเอง ถูกต่อออกมาใช้งานสัก 12 - 16 ลำ เพื่อให้กองเรือฟรีเกตทั้งสองมีจำนวนเรือครบตามที่ตั้งใจไว้ว่จะมีกองละ 10 ลำ (ที่เหลือเป็นเรือฟรีเกตป้องกันภัยทางอากาศที่ใช้ระบบอำนวยการรบแบบหรูสัก 4 ลำ)
ขอให้แผนการที่ทร.จะต่อเรือฟรีเกตเองจงประสบความสำเร็จแบบท่วมท้นด้วยนะครับ
ปล. ขอคุคุณ Juldas เรื่องข้อมูลที่ว่า ทร. มีแผนจะต่อเรือชั้นนเรศวรถึง 8 ลำ เพิ่งรู้นะครับนี่ เสียดายนะครับมันน่าจะเป็นเรือกระดูกสันหลังหลักของเรา ถ้าไม่เจอวิกฤติปี 40 ซะก่อน
ปีหน้ามาแน่ครับ รูปนี้ถ่ายที่บราซิลครับท่าน
ดูแล้ว รหัส ก็น่าจะเป็น บ.ธก.3 หรืออาจจะเป็น บ.ลล.2
เอ...หรือว่า จะเป็น บ.ตล.1 น๊า...5 5 5 5
บ.ERJ 135LR ของกองทัพเรือนั้นถูกจัดหามาพร้อมกับอีกลำของกองทัพบกครับ โดยภารกิจของเครื่องคือการลำเลียงทางธุรการไปยังสนามบินที่มีทางวิ่งสั้นเช่นที่ภาคใต้อย่าง สนามบินบ่อทอง จ.ปัตตานี หรือ สนามบินบ้านทอน จ.นราธิวาส ครับ(แต่ที่ลองค้นๆใน Airliners.net ตอนนี้ยังไม่เจอเครื่องของกองทัพบกนะครับ)
แผ่นภาพนี้ เป็นข้อมูล ตลาดเรือ มือสอง...ซึ่งคาดว่า ประเทศมหาอำนาจ อาจจะได้มีการ เปิดท้ายขายของ กันอีกสักรอบ...เป็นข้อมูลที่มีการจัดหา ช่วงปี 2004 เป็นต้นมา...(ก่อนหน้านั้น ไม่นำมาเป็นข้อมูลครับ) ราคาต่อลำ ไม่ยืนยัน เป็นข้อมูลจาก SIPRI และจากการหาใน กูเกิ้ล...โดยใช้มูลค่าสัญญาทั้งหมด แล้ว หาร ด้วยจำนวนเรือ...เลยออกมาเป็นมูลค่าต่อลำ นะครับ...เผื่อจะได้เป็นข้อมูล ในเรื่องราคาของเรือ มือสอง ที่น่าจะมีราคาอยู่ระหว่าง 120 - 130 ล้านเหรียญขึ้นไป....เป็นอย่างต่ำ ถ้าในอนาคต เกิดมีใครอยากจะขาย....
และจาก บันทึกที่ 10 ที่ต้องการจัดหา ระบบปล่อยอาวุธนำวิถี พื้น สู่ อากาศ แบบเคลื่อนที่....
เท่าที่ดูตลาดตอนนี้ ที่มีการโฆษณา และมีผู้จัดหาซื้อไปประจำการแล้ว จะเด่น ๆ ก็คือ SPYDER System ของอิสราเอล SL-AMRAAM ของ สหรัฐ และ PANTSYR-S1 ของ รัสเซีย
เมื่อดูจากตัวเลือกทั้ง 3 กรณีของ SL-AMRAAM ก็ติดที่ปัญหาใช้ จรวด AIM-120 ว่า สหรัฐ ยังจะมีปัญหากับไทย หรือไม่...จึงตัดตัวเลือกนี้ ออกไปก่อน...(แต่เป็นตัวเลือกที่น่าสนใจที่สุด) ส่วนของ PANTSYR-S1 ของรัสเซีย ตัวจรวดนำวิถี จะต้องใช้รัสเซีย...และระบบ ดาต้าลิงค์ ก็ไม่แน่ใจว่าจะรองรับกันได้ หรือไม่...
ผมจึงให้คะแนน น้ำหนักไปที่ SPYDER ของ อิสราเอล ที่ก็มีข่าว และมีรูป ว่าไปปรากฎอยู่ใน สงครามระหว่าง จอร์เจีย กับ รัสเซีย ด้วย...แต่ไม่ได้สำแดงเดช ให้เห็น...ด้วยข่าว เดา ว่า รถที่ทำหน้าที่ ตรวจจับ คงถูกทำลายโดยรัสเซีย ทำให้ไม่สามารถสำแดงได้ กลายเป็น เท่ แต่ ยิง ไม่ได้...หรือไม่ รูปดังกล่าว ก็ โกหก...
SPYDER จะใช้ จรวด ไพธ่อน 5 หรือ ดาบี้...ซึ่งดูแล้ว ด้วยตัวจรวด น่าจะใช้งานร่วมได้กับ บข.20 ของ ทอ. ได้...จึงน่าจะเป็นตัวเลือก มากกว่า ของรัสเซีย...
โดย สมมติ ว่า เมื่อ ผสมผสาน กับ UAV ในกรณีที่เลือก Heron และ สมมติ...ถ้ามีความสามารถ ตรวจจับ ทางอากาศ ได้ด้วย....ด้วย ระบบดาต้าลิงค์ ของ SPYDER สามารถส่งข้อมูลระหว่างกันได้ในระยะ 100 ก.ม. (โม้ รึเปล่า ไม่ทราบได้)...
เลยออกมาเป็น แผ่นภาพ ดังนี้ (เดา ล้วนๆ) เชิญ ติ ติง เพื่อทำการแก้ไขได้ครับ...
บันทึกช่วยจำ...ฉบับแก้ไข
ในส่วนของ ฮ. ขนาดใหญ่มาตรฐาน เท่าที่ สเปค ของ ทร. โดยกำหนด ลำเลียง ทหารได้ ไม่ต่ำกว่า 25 นาย (ไม่รวมนักบิน ช่างเครื่อง) และสามารถติดอาวุธได้ ไปจนถึง ปืนขนาด 30 ม.ม. ซึ่งน่าจะเป็นพวก Gun Pod จึงต้องเป็น ฮ. ที่สามารถติดไพล่อนอาวุธได้ และสามารถบินกลางคืน ได้ด้วย....
ดูแล้ว ก็เป็น ฮ.ขนาดใหญ่ จริงๆ โดย NH-90 กับ S-92 ยังไม่ได้ สเปคในส่วนของการลำเลียงพล อยู่ระหว่างไม่เกิน 20 นาย คือ บรรทุกสูงสุด ในขณะที่ สเปค ทร. กำหนด สเปค ต่ำสุด 25 นาย...และเมื่อมองไปที่ ชินุค CH-46 E,F หรือ G ซึ่งเป็นรุ่นใหม่ล่าสุด ก็ยังไม่ได้ สเปค ในเรื่องการสามารถติดอาวุธ และช่วยเหลือผู้ประสบภัย ดูแล้ว จะเน้นภาระกิจลำเลียง มากกว่า....
ในขณะนี้ เท่าที่ลองหาข้อมูล ผมเลยได้มา 3 แบบ...ถ้าท่านใด มีข้อมูลเพิ่มเติม แจ้งได้ครับ...
ถ้าเลือกตัวเลือกระหว่าง Eurocopter EC 725 Cougar กับ AgustaWestland AW101 (EH101) Merlin นั้นจะสูสีมากครับ เพราะ ฮ.ทั้งสองแบบเป็น ฮ.จากยุโรปซึ่งมีมาตรฐานความน่าเชื่อถือระบบสูง
โดย ฮ.Cougar นั้นจะมีขนาดเล็กกว่าแต่มีระบบอาวุธสนับสนุนติดตั้งพร้อมทั้งกระเปาะปืนกล 20มม.และจรวดพร้อม
ในส่วนของ ฮ.Merlin นั้นถือแม้ว่าจะมีขนาดใหญ่กว่าและไม่มีรุ่นที่ติดอาวุธกระเปาะปืนใหญ่กลก็จริง แต่ถ้ามองว่า ฮ.Merlin นั้นมาจาก AgustaWestland เช่นเดียวกับ Super Lynx 300 แล้ว การปรับระบบอาวุธเช่นกระเปาะปืนนั้นไม่น่าจะใช้เรื่องยากนักครับ โดยส่วนตัวเชื่อว่ากองทัพเรือต้องการ ฮ.ลำเลียงขนาดใหญ่ในระดับเดียวกับ CH-46 Sea Knight, CH-47 Chinook หรือ CH-53 Super Stallion ของสหรัฐฯซึ่งมีการฝึกซ้อมร่วมกับกองทัพเรือบ่อยๆครับ ซึ่งนั้นทำให้ Merlin ค่อนข้างจะได้เปรียบอยู่หน่อย
แต่สำหรับ Mi-17 คงต้องตัดไปถ้ามองว่าระบบมาตรฐานต่างๆโดยเฉพาะความต้องการในส่วนการติดอาวุธนั้นไม่เข้ากับมาตรฐาน NATO ซึ่งกองทัพเรือมีใช้อยู่ในปัจจุบันครับ อย่างกระเปาะจรวดหรือปืนกลนั้นก็ต้องจัดหาใหม่หมดใช้ของเดิมไม่ได้ ซึ่งออกจะสิ้นเปลืองครับ และกด็ตามที่เคยกล่าวในข้างต้นว่า Mi-17 นี้ไม่มีรุ่นสำหรับใช้งานในกองทัพเรือโดยตรงด้วยครับ
ท.ร.ไม่มีแผนจะจัดหาLCAC เลยเหรอครับคือผมไม่ทราบว่ามันแพงมั๊ย หรืว่ายังไม่มีความจำเป็นพอ ส่วนฮ.นี่หลังจากที่หลังจากที่จัดหา MH-60Sมาแล้ว ฮ.อเมริกันอย่างsea knight กับsuper stallion มีโอกาศบ้างหรือเปล่า แล้วน.ย.ยังไม่มีการหารถถังมาเพิ่มบ้างเหรอครับ ถ้าจำไม่ผิดน.ยมีT69II อยู่4หรือ5คันเอง
ผมสงสัยอยู่อย่างว่าบันทึกที่9ว่าด้วยเรื่องเรือดำน้ำนั้นทำไมถึงจัดอยู่ใน
ลำดับเกือบจะท้ายสุดรองจากอาวุธปล่อยจากพื้นสู่อากาศซึ่ง
เรือดำน้ำกองทัพเรือก็อยากได้มานานเต็มทีแล้วจากที่เคยจะจัดหา
เมื่อ10กว่าปีก่อนนูนแต่มีอันต้องพับโครงการไปเนื่องจากเจอพิษ
เศรษฐกิจเล่นงานตอนปี39-40ซึ่งในครั้งบริษัทที่ได้รับเลือกมาจาก
ประเทศสวีเดนซึ่งเสนอเรือดำน้ำรุ่นเอ-19ทีมาในหนนี้ก็คง
จะมาแข่งขันนอกจากประเทศสวีเดนยังมีของรัสเซียซึ่งมีอยู่2รุ่น
คืออาเมอร์950กับอาเมอร์1650ส่วนเจ้าU-214กับU-212ของ
เยอรมันคงจะตัดออกเป็นอันดับแรกเพราะว่ามีราคาแพงมาก
ซึ่งงบประมาณที่ตั้ง600-1000ล้านยูเอสคงจะไม่พอแน่ๆๆแต่
ในเมื่ออยู่ลำดับท้ายๆๆอย่างนี้มันจะมาประมาณปีไหนครับท่าน
AAG_thผมว่าอย่างช้าสุดน่าจะไม่เกิน10-15ปีนับจากนี้
แต่นอกจากข่าวที่ว่านาวิกโยธินสหรัฐฯจะจัดหาไปใช้จำนวน200กว่าลำภายในปี 2015 นั้นก็ยังไม่มีประเทศอื่นสนใจจะจัดหาไปครับ ถึงแม้ว่า CH-53E รุ่นก่อนนั้นจะมีหลายประเทศจัดหาไปใช้งานครับ แต่ CH-53E นั้นจะมีการปลดในเร็วๆนี้เนื่องจากใช้งานมานานแล้วครับ ดังนั้น AW101 นั้นจึงค่อนข้างได้เปรียบกว่าในแง่ที่เครื่องอยู่ในสายการผลิตเรียบร้อยแล้วครับ
ในเรื่อง MI-17 นี้ ผมเห็นต่างจากท่าน AAG_th1 ครับ...
ถ้า ทร. เน้นภาระกิจของ ฮ.ขนาดใหญ่ ในการสนับสนุนลำเลียง นย. และช่วยเหลือผู้ประสบภัย (ในความหมายของผม น่าจะหมายถึง การลำเลียงทหาร และพลเรือน หรือ ลำเลียงสิ่งของ มากกว่า การปฏิบัติการทางทะเล...น่าจะกรณีเดียวกับที่ ทร. เคยขอสั่งซื้อ UH-60L เพิ่มเติม แทนการสั่งซื้อ S-70 รุ่นธรรมดา (ใช้งานทางทะเล)...) ดังนั้น ในเรื่องระบบการเข้ากันได้ ไม่น่าจะมีปัญหาอะไรครับ...เหมือน ฮ.ลำเลียง ของ ทบ. แต่เปลี่ยนชื่อเป็น ทร. ครับ...และในราคาของ MI-17 ซึ่ง มาเลเซีย เอง ก็จัดหามาในราคาประมาณลำละ 12 ล้านเหรียญ (น่าจะเป็นรุ่น กลาสค๊อทพิท) ใช้สำหรับกิจการ SAR (ทบ.จัดหามาในราคา 9 ล้านกว่าเหรียญ) ราคาต่ำมากครับ...เมื่อเทียบกับ ฮ.จากยุโรป ราคาลำละ ไม่ต่ำกว่า 25 - 30 ล้านเหรียญ...ที่ยังไม่รวมราคาบำรุงรักษา และไม่รวมระบบอาวุธต่างๆ...แม้ ทร. จะจัดหาระบบอาวุธใหม่จากรัสเซีย เพื่อใช้ติดตั้งสำหรับภาระกิจทางการทหารให้กับ MI-17 และเปลี่ยนระบบการสื่อสารเพื่อเชื่อมต่อกับระบบของ ทร.เอง...ผมว่าราคาก็ยังถูกกว่า เครื่องเปล่าของ ฮ. จากฝั่งยุโรป ครับ...
ผมเลยมองว่า MI-17 ยังน่าจะติดโผ อยู่ครับ...
ในส่วนของเรือดำน้ำ ของ ทร.
เมื่อมองในประเด็นหลัก คือ งบประมาณการจัดซื้อ...ซึ่งเศรษฐกิจโลกปัจจุบัน ก็ยังไม่เห็นว่า ทร. จะได้งบประมาณในระดับ 400 - 500 ล้านเหรียญ ในการจัดซื้อ เรือดำน้ำ จำนวน 1 ลำ...ในขณะที่ ความจำเป็นในทางการทหาร อาจจะต้องมีการจัดหามาประจำการนั้น...
ตอนนี้ ผมก็คิดว่า ดีไม่ดี...AGOSTA 90B อาจจะม้ามืด มาก็ได้ครับ...ซึ่งเป็นเรือดำน้ำ จากฝรั่งเศส...ราคาไม่สูง และปัจจุบันมีการติดตั้งระบบ AIP ได้แล้ว โดย ปากีสถาน ได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยี่จาก ฝรั่งเศส ในการสร้างเรือดำน้ำ ชั้น AGOSTA 90B พร้อมติดตั้งระบบ AIP ด้วยตนเอง เพิ่งประจำการไปเมื่อ ประมาณเดือน ก.ย. หรือ ต.ค. เนี่ยละครับ...ราคาก็น่าจะอยู่ระดับ 250 ล้านเหรียญ...
ขอบคุณท่านJuldasมากครับแต่เรือดำน้ำทัพเรือจะจัดหาเมื่อไหร่หรือครับ
เห็นได้ข่าวแว่วๆๆมาว่าจะจัดหาเมื่อปี2560หรือ2565อะไรประมาณนี้แหละ
(จากwebนี้แหละในกระทู้เก่าๆๆๆ)ตอนนี้ปี2551ถ้าจัดหามาปี2560-2565
จริงก็อีกประมาณ10-15ปีนับจากวันนี้เมื่อถึงตอนนั้นเรือดำน้ำที่ทัพเรือ
เล็งใว้อย่างเอ-19ทีของสวีเดนหรือแม้แต่เรือดำน้ำของฝรั่งเศสที่ท่านว่า
อายุอานามคงไปประมาณ20ปีกว่าๆๆหรืออาจมากกว่านั้นผมไม่แน่ใจว่า
อายุการใช้งานของเรือดำน้ำจะยืนยาวเหมือนเรือผิวน้ำใหมเห็นได้ชัด
จากเรือดำน้ำที่สิงค์โปร์จัดหามาคราวก่อนเรือดำน้ำที่ท่านว่าทางฝรั่งเศส
แถมมาให้เพื่อใช้ในการฝึกโดยเฉพาะผมเลยคิดเอาว่าเรือชุดนี้คงจะอายุ
การใช้งานเยอะมากแล้วฝรั่งเศสถึงได้แถมมาให้พร้อมเรือดำน้ำชั้น
ชเจอร์แมนที่สิงคโปร์สั่งซื้อจำนวน4ลำ
เก่า ใหม่ สำคัญไฉน...ของใหม่แบบ อคูล่า ของรัสเซีย ก็ทำเอา ลูกเรือ เกือบตายยกลำ เหมือนกันครับ...ของเก่า แบบ AGOSTA กลับกลาย เป็นเรือฝึกให้ลูกเรือชำนาญ ความเสี่ยงต่ำ...
ในความเห็นผม...ด้วยน่านน้ำแบบ ชายฝั่งในอ่าวไทย ขอเรือแบบเก่าไม่มาก ไม่ทันสมัยสวยหรู...แต่ด้วยปัจจัย ในการจัดหา...เอาเท่าที่สามารถหาได้...และสามารถทำให้ลูกเรือมีความชำนาญ...ในระดับ ใช้ทำสงคราม สร้างความเสียหายให้กับฝ่ายตรงข้ามได้...ก็น่าจะอยู่ในระดับที่น่าพอใจครับ...
ลองสังเกตุสงครามอ่าวทั้ง 2 ครั้งที่ผ่านมา...อาวุธที่ใช้ในการยุทธเผด็จศึก โดยส่วนใหญ่ ก็เป็นอาวุธรุ่นปี 80 - 90 ครับ...ส่วนรุ่นใหม่ ๆ ก็เป็นการทดสอบประสิทธิภาพ หลังจากชนะศึกแล้วครับ...
จุดสำคัญที่สุด ก็คือ ผู้ควบคุมอาวุธรบครับ...ว่ามีความชำนาญในการใช้ อาวุธที่ตนเอง ควบคุมดีพอหรือไม่ครับ...
เรือชั้น Akula-II ที่ชื่อ Nerpa ของรัสเซียที่เพิ่งจะเกิดอุบัติเหตุไปไม่นานนั้นก็ใช้ว่าจะเป็นเรือใหม่เสียที่เดียวครับ เพราะโครงสร้างตัวเรือนั้นต่อมาตั้งแต่ช่วงต้นปี 1990s แล้วครับแต่ถูกทิ้งไว้เนื่องจากปัญหาขาดแคลนงบประมาณทางทหารของรัสเซียในช่วงนั้น ต่อมาจึงมีการนำมาต่อใหม่ให้สมบูรณเมื่อไม่กี่ปีนี้ครับ
เก่าหรือใหม่สำศัญไหมนะหรือคำตอบน่าจะเห็นอยู่แล้วจากบข.AV-8S(A)
ที่ทัพเรือซื้อมาพร้อมกับเรือหลวงจักรีฯที่ซื้อมาไม่ทันไรก็บินได้บ้างไม่ได้
บ้างจากที่ซื้อมาตั้ง9ลำบินได้จริงแค่2-3ลำเมื่อปี40นะปัจจุบันนี้ไม่รู้ว่ายัง
บินได้อยู่ไหมหรือโดนสั่งกราวด์ไปแล้วผมนะไม่อยากให้ประวัติศาสตร์
มันซ้ำรอยงบประมาณก็ใช้ว่าน้อยซะเมื่อไหร่ตั้ง600-1000ล้านUSเงิน
จำนวนนี้สามารถซื้อJAS-39ได้ตั้ง12-24ลำถ้าจะซื้อเรือดำน้ำทั้งทีไหนก็
รอมานานแสนนานขอแบบกลางเก่ากลางใหม่(มือ2)หน่อยเถอะไม่ใช่ซื้อ
มาไม่ทันไรก็ปิดสายการผลิตเสียแล้วอย่างAGOSTA70Bผลิตมาเมื่อปี
80-90(2523-2533)ถ้าทัพเรือจะซื้อตอนปี2560-2565ละก็อายุมันไม่ปา
เกือบ30ปีแล้วหรือเว้นเสียแต่ว่าผลิตขึ้นมาใหม่แล้วเท่านั้นผมเชื่อว่าเมื่อ
ถึงตอนนั้นจริงๆๆตัวเลือกอาจจะไม่ได้มีอยู่เท่านี้อาจจะมีมากกว่านี้และ
อีกอย่างหนึ่งถึงยังงัยแล้วเจ้าเอ-19ทีของสวีเดนก็ยังน่าสนใจอยู่ดีขนาด
คราวที่แล้วยังชนะเลยดีนะไม่ติดว่าเราเจอพิษฟ่องสบู่แตกปี40เสียก่อน
ไม่งั้นป่านนี้เราได้เจ้านี้มาแล้วมาก่อนใครด้วยเพราะหลังจากที่เรายกเลิก
พับโครงการเรือดำน้ำเข้าลิ้นชักได้ไม่ไม่นานสิงค์โปร์และมาเลย์ก็จัดหา
มาทันที
AGOSTA 90B ครับ ท่าน ttrc...ทร.ปากีสถาน เพิ่งจะต่อเสร็จลำที่ 3 และทำการปล่อยลงน้ำ เมื่อเดือน กันยายน นี่เองครับ...ใหม่ว่า สกอร์ปิเน่ อีก...ฮิ ฮิ..
ผมเลยมีความคิดที่ว่า...ดีไม่ดี...อาจจะเป็น AGOSTA 90B เพราะ ปากีสถานสามารถต่อได้เอง และติดตั้งระบบ AIP ด้วยครับ...ราคาก็ไม่น่าจะสูงขนาดลำละ 400 - 500 ล้านเหรียญครับ...น่าจะประมาณ 250-300 ล้านเหรียญ....และไม่แน่ ปากีสถาน อาจจะต่อขายนอกประเทศ ก็ได้ครับ...เพราะถ้าผมเข้าใจไม่ผิด ปากีสถาน มีเรือดำน้ำ ครบตามจำนวนต้องการ ในปัจจุบันแล้วครับ...
ส่วน AV-8S ของ ทร. ตามที่เคยอ่านในกระทู้เก่า ๆ ก็เคยได้รับอนุม้ติงบประมาณเพื่อปรับปรุงแล้วครับ...แต่ติดปัญหาทางการเมือง เลยยกเลิกไป...จึงต้องมาจอดไว้เฉย ๆ
โดยทั่วไปประเทศใดที่ได้สิทธิบัตรในการผลิตอาวุธจากประเทศหนึ่งนั้น สิทธิบัตรนั้นจะไม่ร่วมถึงการผลิตเพื่อการส่งออกให้ประเทศที่3ครับ หรือในสัญญาอาจจะมีการห้ามอย่างชัดเจนครับ ตั้งแต่อาวุธประจำกาย รถถัง หรือแม้แต่เครื่องบิน
ซึ่งในกรณีอย่างจีนซึ่ง Copy อาวุธจากรัสเซียมานานซึ่งบางแบบก็ผิดกฏหมายเช่น F-7 เป็นต้นนี้ ในปัจจุบันรัสเซียก็แสดงความไม่ค่อยพอใจกับข่าวที่ว่าจีนอาจจะส่งออก J-11B ซึ่ง บ.ขับไล่ที่จีนใช้แบบ Su-27SK ซึ่งได้สิทธิบัติจากรัสเซียตั้งแต่ช่วงกลางปี1990s มาพัฒนาเพิ่งเติมเองโดยใช้ ย. อุปกรณ์และอาวุธจากจีนครับ
เพราะฉนั้นในกรณีของ Agosta 90B นั้นปากีสถานน่าจะยังไม่สามารถจะต่อเพื่อการส่งออกได้ครับเพราะคงต่อติดข้อห้ามจากด้านสิทธิบัตรทางฝรั่งเศส แต่เนื่องจากเรือชั้นนี้เองนั้นฝรั่งเศสก็ได้ปลดประจำการหลายปีแล้วและพัฒนาเรือแบบใหม่อย่างชั้น Scorpene ก็อาจจะเป็นไปได้ที่ปากีสถานจะซื้อสิทธิบัติต่อจากฝรั่งเศสเพื่อนำมาผลิตเพื่อส่งออกในอนาคตครับ
อย่างไรก็ตามเรือดำน้ำที่ต่อโดยปากีสถานยังไม่ใช่ตัวเลือกที่น่าสนใจของกองทัพเรือครับ ข่าวลือที่เคยออกมาว่าจีนจะให้กองทัพเรือไทยเช่าซื้อเรือดำน้ำดีเซล-ไฟฟ้าชั้น Type 039 Song ในกรณีที่จีนจะยังไม่ทำสงครามกับไต้หวันในอนาคตนั้นก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งครับ ซึ่งถ้าดูจากหลายๆปัจจัยเช่น ราคาและความสัมพันธ์แล้ว เรือดำน้ำจากจีนโดยเฉพาะชั้นใหม่ๆอย่าง Type 039A Yuan ดูจะเป็นตัวเลือกอีกตัวหนึ่งสำหรับกองทัพเรือครับ
เพิ่งจะรู้ว่า ไทยมีเรือดำน้ำ นึกว่ามีแต่เรือดำน้ำที่สำรวจทางทะเลอย่างเดียว