หน้าแรก    ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบคำถาม    เข้าสู่ระบบ      


ธุรกิจบรรษัททหารรับจ้างในอิรัก ... การทำเงินจากคราบเลือด

โดยคุณ : omaha เมื่อวันที่ : 17/11/2008 10:14:45

วิทยากร  บุญเรือง



‘
นักฆ่าเอกชน’ ของบรรดาบรรษัททหารรับจ้างข้ามชาติ กำลังสร้างปัญหาในอิรัก
(ที่มาภาพ: Socialist Worker online)

บรรษัททหารรับจ้าง (Private military company: PMC) อันเป็นกองกำลังที่เสรีนิยมใหม่ (neo-liberalist) ใฝ่ฝันถึง ซึ่งอาจจะเป็นกองกำลังแห่งอนาคตด้วยวิธีการแปรรูปกิจการทหารสู่ภาคธุรกิจอย่างเต็มระบบ (privatization military)

บทบาทในการละเมิดสิทธิมนุษยชนของบรรษัททหารรับจ้าง ได้ปรากฏขึ้นในหลายพื้นที่ในโลก ไม่ว่าจะเป็นที่ตะวันออกกลาง, ทารุณนักโทษที่ค่ายกักกันในอ่าวกวนตานาโม (Guantanamo Bay), หรือการกราดยิงชาวไร่โคคาในโคลัมเบีย เป็นต้น

เช่นเดียวกับ ‘อิรัก’ ดินแดนเมโสโปเตเมียที่ถูกมหาอำนาจกระทำปู้ยี่ปู้ยำซะเละ นอกจากจะมีทหารประจำการของกองทัพสหรัฐอเมริกาและพันธมิตรที่กำลังสร้างปัญหาให้ชาวอิรักแล้ว เหล่าภาคธุรกิจข้ามชาติก็กำลังสร้างความปวดหัวอยู่ไม่น้อยในขณะนี้

‘นักฆ่าเอกชน’ ของกองกำลังจากบรรษัททหารรับจ้างข้ามชาติ อ้างภารกิจว่าเข้าไปทำหน้ารักษาความปลอดภัย ได้หลั่งไหลกันเข้าไปแสวงหาผลประโยชน์จากความเสี่ยงภัยทางด้านชีวิตและทรัพย์สิน หลังจากกองทัพสหรัฐนำพันธมิตรบุกอิรักตั้งแต่ปี ค.. 2003 ซึ่งในขณะนี้กำลังเป็นปัญหาที่ชาวอิรักอยากขจัดออกไปจากประเทศของพวกเขาเหมือนกัน

เรื่องฉาวโฉ่ล่าสุดสำหรับการรังแกคนอิรักโดยบรรษัทข้ามชาติในตอนนี้ คงจะไม่มีเรื่องไหนเด่นไปกว่ากรณีของบรรษัทแบล็ควอเตอร์ (Blackwater)

จากรายงานของรัฐสภาสหรัฐระบุว่า บรรษัทแบล็ควอเตอร์ซึ่งเป็นบรรษัทรักษาความปลอดภัยเอกชนของสหรัฐ มีส่วนเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ยิงกันอย่างน้อย 195 ครั้ง ในอิรักนับตั้งแต่ปี .. 2005

โดยรายงานดังกล่าวถูกเปิดเผยในขณะที่บริษัทแบล็ควอเตอร์กำลังถูกสอบสวนกรณีที่กราดยิงเข้าใส่ฝูงชนในกรุงแบกแดด เมืองหลวงของอิรักในขณะคุ้มกันขบวนรถของนักการทูตสหรัฐเมื่อวันที่ 16 กันยายนที่ผ่านมา ทำให้มีผู้เสียชีวิต 17 คน

ทั้งนี้เรื่องดังกล่าวได้สร้างความไม่พอใจให้แก่รัฐบาลและประชาชนชาวอิรักเป็นอย่างยิ่ง โดยรัฐบาลอิรักได้เรียกร้องให้รัฐบาลสหรัฐอเมริกายกเลิกสัญญาที่ทำไว้กับบรรษัทแบล็ควอเตอร์ทั้งหมดภายในระยะเวลา 6 เดือน พร้อมทั้งระบุให้บรรษัทแบล็ควอเตอร์ ชดใช้เงินจำนวน 8 ล้านดอลลาร์ให้กับครอบครัวของชาวอิรัก 17 รายที่ถูกสังหารอย่างเหี้ยมโหด

นางวิจดาน ซาลิม (Wijdan Salim) รัฐมนตรีสิทธิมนุษยชนของอิรักเห็นว่าพนักงานรักษาความปลอดภัยของบรรษัทแบล็ควอเตอร์ควรถูกนำตัวขึ้นพิจารณาคดีในศาลอิรัก

ซาลิมเห็นว่าจากกรณีนี้บรรษัททหารรับจ้างที่อ้างว่ามารักษาความปลอดภัย ทุกบรรษัทที่ปฏิบัติงานอยู่ในอิรักควรอยู่ภายใต้กฎหมายของอิรัก แต่อย่างไรก็ตามศาลอิรักจะได้เป็นผู้ตัดสินว่าจะให้มีการพิจารณาคดีพนักงานของแบล็ควอเตอร์หรือไม่ยังคงเป็นปัญหาอยู่

นายกรัฐมนตรีนูริ มาลิกิ (Nouri Maliki) แห่งอิรักได้แสดงความเห็นว่าต้องการให้พนักงานทุกคนของแบล็ควอเตอร์ออกไปจากอิรัก ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีอิรักยังกล่าวด้วยว่า การฟ้องร้องดำเนินคดีบรรษัทรักษาความปลอดภัยต่างชาติควรทำได้ง่ายขึ้น เมื่อคณะบริหารประเทศชั่วคราวของกองกำลังพันธมิตรหมดอำนาจลง

ซึ่งหมายถึงการที่บรรษัทรักษาความปลอดภัยเหล่านี้ต้องรับผิดชอบต่อการกระทำความผิดในคดีอาญาเพียงลำพัง และหากจะมีบรรษัทใดที่ถูกตัดสินให้ต้องออกจากงานหน้าที่ในอิรัก ทางการอิรักก็จะส่งเจ้าหน้าที่เข้าทำงานแทน

แต่ทั้งนี้แบล็ควอเตอร์เองยืนยันมาตลอดว่า พนักงานของตนเองได้ยิงเพื่อป้องกันตนเอง

สำหรับธุรกิจทหารรับจ้าง เม็ดเงินมหาศาลกว่า 571 ล้านดอลลาร์ คือจำนวนเงินที่บรรษัทแบล็ควอเตอร์และบรรษัทอีกสองรายถูกว่าจ้างให้คุ้มกันนักการทูตและบุคคลสำคัญอื่นๆ ในประเทศอิรัก, อัฟกานิสถาน, อิสราเอล และประเทศอื่นๆ

ส่วนธุรกิจนี้ในประเทศอิรักมีการว่าจ้างเป็นจำนวนเงินประมาณ 520 ล้านดอลลาร์ และมีบรรดาเหล่านักฆ่าเอกชนเดินเพ่นพ่านอยู่ในอิรักกว่าประมาณ 100,000 คน

ทั้งนี้คาดการกันว่ามูลค่าของธุรกิจทหารรับจ้างนี้ในระดับโลกนั้นมีมากกว่า 100 พันล้านดอลลาร์ โดยบรรษัทจากสหรัฐอเมริกาและอังกฤษมีส่วนแบ่งทางการตลาดมากกว่า 70%

หนังสือพิมพ์ Socialist Worker ฉบับที่ 2073 ได้แนะนำบรรษัททหารรับจ้างต่างๆ อย่างคร่าวๆ ที่มีส่วนพัวพันในอิรัก ดังนี้ ..

Blackwater

Blackwater ก่อตั้งขึ้นเมื่อ ปี ค.ศ. 1997 โดยแกรี่ แจ๊คสัน (Gary Jackson) ซึ่งทางบรรษัทได้นิยามตนเองว่าเป็นบรรษัทที่เป็นที่สุดในด้านความเป็นมืออาชีพ ของบรรษัททหารรับจ้าง (“largest, most professional private army in the world”)

ตั้งแต่เดือนมิถุนายน ค.ศ. 2004 รัฐบาลสหรัฐได้ว่าจ้าง Blackwater ด้วยมูลค่าเงินกว่า 157 ล้านปอนด์ ให้ทำการคุ้มกันเหล่าบรรดานักการทูต นอกจากนี้ Blackwater ยังได้สัญญาทำภารกิจในการปราบปรามขบวนการค้าฝิ่นในประเทศอัฟกานิสถาน รวมถึงการปฏิบัติการทางทหารในประเทศอาเซอร์ไบจาน (Azerbaijan)

ล่าสุด Blackwater ได้ทำงามหน้าในอิรัก ในปฏิบัติการ 17 ศพ เมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา

DynCorp International

DynCorp เป็นเจ้าของโดยกลุ่มบรรษัท Veritas Capital อีกที โดยในปี ค.ศ. 2006 พวกเขามีรายได้กว่า 1 พันล้านปอนด์ ธุรกิจของกลุ่มบรรษัทครอบคลุมไปทั้งการให้บริการด้านกองกำลัง ไม่ว่าจะเป็นสร้างแคมป์ทหาร, ลาดตระเวนตามแนวเขตแดนต่างๆ รวมทั้งการให้การอารักขาคนสำคัญ โดยประธานาธิบดี ฮามิด คาร์ไซ (Hamid Karzai) ก็เป็นลูกค้าของกลุ่มบรรษัทด้วย

และทหารรับจ้างจาก DynCorp ก็มีกิตติศัพท์ที่ไม่ค่อยดีสักเท่าไรนัก โดยคนจาก DynCorp ถูกกล่าวหาว่ามีส่วนพัวพันกับการซื้อบริการเด็กหญิงขายบริการอายุ 12 ขวบ ในการปฏิบัติการที่บอสเนีย รวมถึงถูกกล่าวหาว่ามีส่วนพัวพันกับการข่มขื่นผู้หญิงอีกสองคนอีกด้วย

Military Professional Resources Inc

ก่อตั้งเมื่อปี ค.ศ. 1987 โดยนายทหารปลดประจำการของสหรัฐอเมริกา MPRI ได้เข้าไปฝึกฝนให้กองกำลังปลดปล่อยแห่งโคโซโว (Kosovo Liberation Army) ในการต่อสู้กับเซอร์เบีย

Vinnell Corporation

ไม่แน่ คนไทยเราอาจได้เคยสัมผัสกับคนจากบรรษัท Vinnell โดยที่ไม่รู้ตัวเลยก็เป็นได้ โดยคนของ Vinnell ได้ทำงานให้กับกองทัพสหรัฐในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1965 – 1975 ซึ่งปริมาณคนที่ทำงานสูงสุดในช่วงนั้นมากกว่า 5000 คนได้ปฏิบัติภารกิจในสงครามเวียดนาม

สำหรับอิรัก Vinnell ได้สัญญามูลค่า 23.5 ล้านปอนด์ในการฝึกทหารให้กองทัพอิรัก และในปัจจุบัน Vinnell ยังปฏิบัติภารกิจต่อต้านขบวนการยาเสพย์ติดในโคลัมเบียอีกด้วย

Aegis Defence Services (Britain)

ผลประกอบการณ์ของกลุ่มบรรษัท Aegis Defence Services ได้เพิ่มขึ้นอย่างมหาศาลหลังจากการบุกอิรัก จากในปี ค.ศ. 2003 ที่มี 554,000 ปอนด์ เป็น 62 ล้านปอนด์ ในปี ค.ศ. 2005 โดยหลังจากการได้รับงานมูลค่า 144 ล้านปอนด์ในเดือนพฤษภาคม ปี ค.ศ. 2004 ทำให้ Aegis Defence Services กลายเป็นบรรษัททหารรับจ้างใหญ่ที่สุดในโลก

โดยผู้มีส่วนสำคัญของกลุ่มบรรษัทคือ พันโททิม สเปนเซอร์ (Tim Spicer) อดีตผู้บริหารของ Sandline International ซึ่งในปี ค.ศ. 1998 ว่ากันว่าเขาได้จัดส่งอาวุธสู่แอฟริกา สำหรับใช้ในสงครามกลางเมืองของประเทศเซียร์ร่า ลีโอน (Sierra Leone)

ArmorGroup (Britain)

ArmorGroup ได้แตกแขนงมาทำธุรกิจบริการรักษาความปลอดภัย (protective services) จากเดิมที่ทำเพียงธุรกิจยุทโธปกรณ์ตั้งแต่ปี ค.ศ.1981 โดยผลประกอบการของบรรษัทได้เพิ่มขึ้นอย่างฉุดไม่อยู่ จาก 35 ล้านปอนด์ ในปี ค.ศ.2001 เป็น 114.5 ล้านปอนด์ ในปี ค.ศ.2005

สำหรับภารกิจการรักษาความปลอดภัยในเมืองใหญ่ๆ ของตะวันออกกลางก็เช่นกรุงคาบูล (Kabul), แบกแดก (Baghdad) และบาสร่า (Basra)

Northbridge Services Group (Britain)

ครั้งเมื่อสหรัฐได้บุกเข้าไปในประเทศไลบีเรีย (Liberia) ในปี ค.ศ. 2003 กองกำลังของบรรษัท Northbridge กว่า 500 – 2000 คน ได้บุกเข้าไปทำภารกิจล่าตัวประธานาธิบดี ชาร์ลส์ เทย์เลอร์ (Charles Taylor) ผู้ที่มีค่าหัวถึง 2 ล้านปอนด์

Control Risks Group (Britain)

Control Risks เป็นบรรษัทที่ให้การคุ้มกันแหล่งผลิตและสำรวจพลังงาน รวมถึงให้การคุ้มกันบรรษัททางด้านเภสัชกรรม, บรรษัทเดินเรือ และภาคโทรคมนาคม ในถิ่นทุรกันดารทั่วโลก

โดยตั้งแต่การบุกอิรักเมื่อปี ค.ศ. 2003 ผลประกอบการของบรรษัทได้เพิ่มขึ้นจาก 47 ล้านปอนด์ในปี ค.ศ. 2003 เป็น 80 ล้านปอนด์ ในปี ค.ศ.2004

โดย Control Risks ได้ถูกว่าจ้างให้คุ้มกันเจ้าหน้าที่ของอังกฤษในกรุงแบกแดดและบาสร่า

Erinys International

Erinys ก่อตั้งเมื่อปี ค.. 2003 ในครั้งที่กองทัพสหรัฐได้ว่าจ้างให้คุ้มกันท่อลำเลียงน้ำมันในอิรัก โดยสัญญาจ้างมีมูลค่าถึง 50 ล้านปอนด์ นอกจากนี้ Erinys ยังได้ถูกว่าจ้างให้คุ้มกันแหล่งน้ำมันจากการลงทุนของบรรษัทข้ามชาติในไนจีเรีย

ที่มา:
Blackwater likely to be out of Iraq (AP – 18 ตุลาคม 2550)
Private armies free to kill in Iraq (Socialist Worker online – 16 ตุลาคม 2550)
Rise of the private armies (Socialist Worker online – 16 ตุลาคม 2550)
Private military company (Wikipedia – เข้าดูเมื่อ 18 ตุลาคม 2550)
Private Military Corporations (SourceWatch – เข้าดูเมื่อ 18 ตุลาคม 2550)
Minister seeks Blackwater trials (BBC – 15 ตุลาคม 2550)

 

 





โดย : ประชาไท  




ความคิดเห็นที่ 1


นักฆ่าเอกชน มันเกินไปครับคำนี้

คนดีคนเลวบางทีมันก็อยู่ปะปนกัน แต่เรียกอย่างนี้เลยไม่ไหวครับ�

บทความนี้ค่อนข้างจะมองด้านเสียอย่างเดียว ไม่เป็นกลางเอาซะเลย ในหลายๆ กรณีที่มีการยิงกันมันก็มีเหตุผลพอฟังได้อยู่บ้าง เช่น ขับรถด้วยความเร็วสูงรี่เข้ามาหา ทั้งๆที่สติกเกอร์ห้ามท้ายรถก็มี

และไม่เห็นพูดถึงกรณีที่ PMC ถูกกระทำบ้างเลยนะครับ

เบื่อ...

รอท่านต่อไป

โดยคุณ Tasurahings เมื่อวันที่ 14/11/2008 05:40:54


ความคิดเห็นที่ 2


ทารุณนักโทษที่ค่ายกักกันในอ่าวกวนตานาโม (Guantanamo Bay), ผมจำได้ว่า เป็นของ นย สหรัฐนี่ครับ ไม่ใช่พวก PMC

 

ปล PMC = Private Military Contractor

 

คนเขียนน่าจะการบ้านมาให้เยอะๆกว่านี้

โดยคุณ helldiver_V2 เมื่อวันที่ 14/11/2008 05:36:23


ความคิดเห็นที่ 3


ผมว่าบางเหตุการณ์ก็จำเป็นนะ จะให้ส่งทหารของประเทศหนึ่งไปป้องกันผลประโยชน์อีกประเทศหนึ่งโดยไม่มีแรงจูงใจ ความกระตือรือล้นก็ต่างกันสู้หาคนที่เต็มใจที่จะทำเพื่อเงินเป็นแรงจูงใจ ไม่ใช่เพื่อชาติ ก็แฟร์ออก สำหรับคนจ้างและผู้ถูกจ้าง
โดยคุณ mcot1047 เมื่อวันที่ 14/11/2008 07:10:16


ความคิดเห็นที่ 4


ใช่บทความนี้ค่อนข้าง เอียงไปในทางร้ายมาก

บางอย่างไม่สมเหตุสมผล น่าที่หลักของเขาคือ

รักษาความปลอดภัย ไม่ใช่หรือ

โดยคุณ ss_aong เมื่อวันที่ 14/11/2008 08:37:20


ความคิดเห็นที่ 5


บทความออกจะแรงไปสักนิดหนึ่ง แต่บรรษัททหารรับจ้างสำหรับบางคนว่ามันก็คือทหารรับจ้างเราดีๆ นี่แหละครับเพียงแต่ว่าแทนที่จะเป็นข้ามาคนเดียวก็ตั้งบริษัทขึ้นมา

แต่ผมว่าปฏิบัติการส่วนใหญ่ของแบลควอเตอร์เกี่ยวข้องกับงานด้านรักษาความปลอดภัยเป็นหลัก มันจะต่างอะไรกับบริษัท รปภ. ที่เปิดกันในบ้านเรา หรือพวกบอดี้การ์ด ผมว่าบทความมองข้ามจุดนี้ไปเสียสนิท เหมาเรียกว่านักฆ่าเอกชนไม่ได้ครับ น่าจะเรียกว่าเป็น รปภ. ติดอาวุธหนักมากกว่า เว้นแต่จะถูกจ้างไปลุึยก็แล้้วแต่นโยบายบริษัท

ปล. กวนตานาโมเป็นของ ทร. (แต่ไหง CIA อื้อ) ตามสัญญาปี 1898 นู่นครับ
โดยคุณ Praetorians เมื่อวันที่ 14/11/2008 08:57:40


ความคิดเห็นที่ 6


เวลาเจ้าหน้าที่พวกนี้โดนฆ่าทั้งที่ไม่มีอาวุธ โดนทารุณศพด้วย
ทำไมไม่เห็นเอามาพูดด้วยละ  แล้วอยากรู้ว่าคนที่โดนพวกบอร์ดี้การ์ดยิงนะ
ไม่มีอาวุธจริงเหรอ หรือว่าแค่ไม่เห็นอาวุธ ก็อ้างว่าไม่มีอาวุธ
บุคคลที่มาทำงานพวกนี้ทุกคนเคยเป็นทหาร และส่วนมากก็เป็นทหารหน่วยรบพิเศษ ไม่ใช่ว่าคนขี้คุกเดนตาย จะได้เห็นชีวิตคนเป็นผักปลา
บุคคลเหล่านี้ถูกฝึกมาให้ยิง เพื่อรักษาชีวิตของตนเองและนายจ้างเท่าที่จำเป็น แล้วอยากจะถามว่าไอ้พวกที่เที่ยวเอาระเบิด ไปว่างแล้วกดให้ระเบิดทำงาน สังหารประชาชนทั้งเด็กสตรีที่ไม่รู้อะไรด้วย จะเรียกว่าอะไรดีละ
โดยคุณ e21cye เมื่อวันที่ 14/11/2008 22:01:29


ความคิดเห็นที่ 7


ก็ แล้วแต่มุมมอง ครับ ถ้ามองในมุม เสรนินิยม จ๋า และกลุ่มคนที่มีอคติ ในเรือง การมือยู่ของอาวุธ และเชื่อว่า สงคราม สามารถ หายไปจากโลกได้ ก็คงจะมอง แบบนี้

...เรื่องของ ความเลวร้าย ของการหาผลประโยชน์ของสหรัฐ ก็เป็นที่ทราบกันอยู่ตามทัศนคติของแต่ละคน ...ผมว่าน่าจะแยกให้ออก นะ

แต่ ต้อง ดูในอีกมุมหนึ่ง ที่ แน่นอนว่า คนเหล่านี้ ไม่ใช่ นักบวช หรือ คนดีมีคุณธรรมอะไรมากมาย แต่ก็ไม่ใช่ จะไปบ้า ยิงไปทั่ว ยกเว้นพวก ฟิวส์ขากสติแตก ก็พอมีครับ

และที่สำคัญ การคุ้มครองชีวิต คน จากการทำร้าย คงไม่ใช่เรื่อง เลวร้ายครับ..

เรื่อง แรงจูงใจ ผมว่ามีอาชีพอื่นที่ทำเงินมาก พอๆกัน เงินเป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้นครับ เพียงแต่ คนกลุ่มนี้อาจจะมีความชอบในงานเหล่านี้ ติดพันมาจาก การทำงานกองทัพ เพราะอยู่ในกองทัพมีกฏการทำงานที่เข้มงวดมากกว่า มาก แต่งานนนี้ เป็นงานที่ ไม่ต้องคิดอะไรมาก นอกจาก คุ้มครองป้องกัน เป้าหมายที่ต้องคุ้มครองครับ

และอยู่ในกองทัพ

โดยคุณ dboy เมื่อวันที่ 16/11/2008 23:14:47