กระทู้ความฝันครับ
ใครอยากให้ติดอะไรลองแสดงความคิดเห็นดู
สำหรับผม
1. 76/62 Super rapid 1 กระบอก
2. RBS-15 MK3 8 ท่อยิง
3. Sadral 1 ชุด
4. 30 ม.ม. หรือ 40 ม.ม. 2 ชุด
5. โรงเก็บ ฮ.
แค่นี้ก็หรูแล้ว
แต่ความเป็นจริง
76/62 Super rapid 1 กระบอก
12.7 ม.ม. 2 กระบอก
วางเดิมพัน เบียร์สิงห์กระป๋อง 1 แพ็ค
ใครจะรองว่ามา.....
จากข่าว OPV ที่จะต่อเองนั้น จะใช้แบบเรือ ต.911 แต่จะขยายสเกลให้ใหญ่ขึ้น เพราะมีแบบอยู่แล้ว และอาจจะต่อแบบมาตรฐานเรือพานิชย์ขั้นสูง คงประมาณนี้
สนับสนุนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ที่สอนให้เราพึ่งพอตัวเอง สุดยอดมาก
^
^
และคิดว่าคงต่อแบบนี้อีกหลายลำ เพราะกองทัพเรือไม่ต้องการให้มีรูปแบบเรือที่หลากหลายจนเกินไป เพราะยากแก่การซ่อมบำรุง แต่อาจปรับปรุงเป็นหลายๆเวอร์ชั่น ในอนาคต
และกรมอู่ทหารเรือได้ลงทุนซื้อเครื่องไม้เครื่องมือในการต่อ OPV ไปแล้ว คงจะได้เห็นรูปแบบเรือที่คล้ายๆแบบนี้ คือ แบบ ต.911 ที่ขยายสเกล อีกหลายลำ ในราคาที่ถูกลง และมีประสิทธิภาพที่ดีขึ้น
การพึ่งพาตัวเองนี้มันดีจริงๆ
สำหรับเรือ ตกก.ลำใหม่ที่กรมอู่ทหารเรือจะต่อเองในประเทศนั้น เชื่อว่าระบบอาวุธหลักก็ยังจะคงเป็นปืนเรือ OTO Melara 76mm Super Rapid 1กระบอกซึ่งเป็น ปืนใหญ่เรือหลักมาตรฐานของกองทัพเรือครับ
ส่วนอาวุธปืนรองที่เป็นปืนใหญ่กลนั้น น่าจะเป็นขนาด 20-30มม. จำนวน 2กระบอกครับ โดยส่วนตัวคิดว่าอาจจะจะเป็นระบบบังคับ Manual เช่นเดียวกับเรือตรวจการณ์หลายๆครับ เช่น GAM CO-1 20mm แต่ถ้ามีงบประมาณพอก็อาจจะติดระบบควบคุมด้วย Remote เช่น DS-30M 30mm อย่างที่ติดในเรือ ต.๙๙๑ ครับ ส่วน ปก..50 2กระบอกขึ้นไป นั้นเป็นอาวุธมาตรฐานที่จะติดในเรือรบระวางขับน้ำ1,000ไปอยู่แล้วครับ
สำหรับอาวุธปล่อยต่อต้านเรือผิวน้ำนั้นส่วนตัวเชื่อว่าเรือชุดนี้จะไม่มีการติดตั้งครับ เนื่องจากตามภารกิจการออกแบบเรือไม่มีความจำเป็น แต่ถ้าดูจากระบบอำนวยการที่ติดตั้งของ Thales แล้วก็เป็นไปได้ที่จะมีการออกแบบเรือให้รอบรับการติดตั้งในอนาคตเช่นเดียวกับ ชุด ร.ปัตตานีที่ออกแบบระบบให้รองรับ Harpoon ครับ แต่ทั้งนี้ก็ต้องขึ้นกับชุดควบคุมการยิงต่างๆที่จะติดตั้งกับเรือด้วยครับ
....อาวุธหลัก สำหรับ ท.ร.ในปัจจุบันและอนาคต 76/62 ชาดรัล (อันนี้ไม่ต้องกลัวว่าจะตกยุคเพราะเรือรุ่นใหม่ๆในยุโรปก็ใช้นะ) ส่วนระบบ ต่อตีเรือมีหลายแบบ อยู่ที่ว่า ท.ร.จะลดแบบลงไปหรือไม่ ฮาร์พูน เอ็กซ์โซเซท (สองรุ่นนี้บล็อคการเชื่อมต่อไม่ต่างกัน) ถ้าเลือกอาร์บีเอส-15 ก็คงดีไม่น้อยแต่ว่าจะเลือกรึเปล่า แต่ก็ไม่แน่ (บ้านเราพลิกล็อคได้ง่ายช่วงนี้).
....นี่คือระบบหลักๆนอกจากใช้ ลาดตระเวณ ยังใช้ทำการรบได้อีก
....ส่วนเรือชั้น ต.911 หากขยายแบบอยากให้เป็นเรือเร็วโจมตี ติดอาวุธนำวิถี น่ะครับ ทดแทนเรือเร็วโจมตีเก่าๆครับ
อาวุธที่น่าจะติดตั้งน่าจะมีดังนี้
1. ปืนหลักเป็นปืนเรือ OTO Melara 76mm Super Rapid 1 ระบบ
2. ปืนรองเป็น DS-30M 30mm 2 ระบบ
3. ปืนกล 12.7 มม. 2 ระบบ
4. อนาคต หากมีงบ จะติด Harpoon ( เดินระบบไว้แล้ว ... อีกแล้วครับท่าน ...เหมือนชุดปัตตานี )
( ไม่มีงบมาก ก็ติด C-802A ไปเลย )
คือว่า.......พูดไปจะโดนว่าป่าวหนา
ก็ขอพูดสักหน่อยแล้วกัน........จะด่าจะว่ายังไง ก็ยินดีรับฟัง
ผมว่า ทร. น่าจะต่อเรือให้เหมาะสมกับยุค คศ. 2000 - 2030 ก็คือผมรู้ครับ ว่า อาวุธของ ทร. ที่มีใช้ มันไม่ตกยุค หรอกครับ เพราะก็มีใช้เหมือนๆกับชาวบ้าน ชาวช่องเขา อย่างอาวุธปล่อยนำวิถี หรือปืนใหญ่หัวเรือ อะไรทำนองนี้
ผมจะกล่าวถึงในจุด ที่ทุกคนมักจะมองข้าม คือการออกแบบเรือ ยุคปี 2000+ ก็คือมันน่าจะมี คุณลักษณะ ตรวจจับได้ยาก หรือ STEALTH นั่นเอง...........มันอาจจะเป็นสิ่งเล็กน้อย แต่อาจจะมีประโยชน์ มากกว่าที่ทุกคนคิด
เรือที่ ทร.ไทย มีประจำการอยู่ในปัจจุบัน ที่ ออกแบบ ให้มีคุณลักษณะ ตรวจจับได้ยาก ( นิดหน่อย ) ก็คือ เรือฟริเกต ชั้น นเรศวร และก็เรือ OPV อีก 2 ลำ ก็คือ ปัตตานี และ นราธิวาส
*อันนี้ผมทราบครับ ว่าราคาเหล็กช่วงนี้แพง.........แต่นี่คือความคิดเห็นส่วนตัวครับ
บางทีก็ไม่จำเป็นน่ะครับ ว่าเรือ ที่มีคุณลักษณะ Stealth จะต้องมี ระวางขับน้ำสูง ระดับ 3,000 ตัน หรือ จะมากกว่านั้น อย่าง เรือ ฟอร์มิเดเบิ้ล คลาส ของ สิงคโปร์ หรือ ลาฟาแย๊ต ของ ฝรั่งเศส
เรือ OPV ลำใหม่ของเรา ที่จะมีระวางขับน้ำ ระดับ 1,000 ตัน +- ไม่น่าจะมากไปกว่านี้ สักเท่าไร...........มันเป็นสิ่งที่น่าจะลอง ทำดูครับกับเรือ ลำที่ไม่ใหญ่โตอะไรมากนัก
เราทำแล้ว.........ในอนาคตเรา สามารถที่จะต่อยอด ไปต่อเรือลำที่ใหญ่ขึ้น จาก OPV ไปเป็น เรือ FRIGATE ( ฟริเกต ) ได้
ผมคงพูดอะไรมากไม่ได้....กลัวโดนด่า
ถ้าไม่ลอง........เราก็จะไม่รู้
ถ้าไม่เริ่มทำ.....ก็ไม่มีวันที่จะสำเร็จ
ถ้าไม่ลองผิดลองถูก.......มีหรือจะได้ของดี
คนจนสร้างตัวให้เป็นคนรวยได้........ไม่มีอะไรเหนือคำว่า พยายาม
มีภาพตัวอย่าง Stealth Corvette มาให้ชม ความคิดเห็นถัดไปครับ
Visby class corvette
เป็นเรือ คอร์เวตต์ ของกองทัพเรือ สวีเดน
ถูกออกแบบ มาให้มีคุณลักษณะ ตรวจจับได้ยาก / ตรวจพบได้ยาก หรือจะมองเห็นได้ยาก จากฝ่ายตรงข้าม *มองเห็นในที่นี้คือ เรดาร์ จากฝ่ายตรงข้าม จะรวมอยู่ในคำว่า "Low Visibility" หรือ Stealth Technology
ถ้าเป็นเครื่องบินขับไล่ที่มี RCS ต่ำๆ ส่วนมากจะใช้คำว่า Low Observer
ข้อมูลจำเพาะ เรือ คอร์เวตต์ ชั้น วิสบี้
-ระวางขับน้ำ 650 ตัน
-ความยาว 72.6 เมตร
-ความกว้าง 10.4 เมตร
-ความเร็ว 40 น๊อต+
-พลประจำเรือ 27 Officers
16 Conscripts
-อาวุธประจำเรือ 1 x 57 MK3
8 x RBS 15 MK2 AShM
Mine & Depth charges
-อากาศยาน มีลานจอด เฮลิคอปเตอร์ แต่ไม่มีโรงเก็บ
ต่อไปชม รูปภาพ ครับ ดูด มาจาก Wikipedia ทั้งข้อมูล และ รูปภาพ ครับ
ระวางขับน้ำ แค่ 650 ตัน แต่เกือบถือได้ว่า มีอาวุธครบมือ ขาดก็แค่ โรงเก็บ เฮลิคอปเตอร์ กับ อุปกรณ์ป้องกันตัว
OPV ของเรา ระวางขับน้ำ 1000 ตัน ก็เพิ่มโรงเก็บ เฮลิคอปเตอร์ลงไป
พร้อมอาวุธป้องกันตัว ระยะประชิด แบบ Ssdral ลงไป + ปืนใหญ่หัวเรือ 76/62 Super Rapid 1 กระบอก
อาวุธปล่อยนำวิถี ในใจมีอยู่ 3 แบบอะไรก็ได้
1.HARPOON
2.EXOCET MM 40 รุ่นนี้ ระยะยิงไกล 180 กิโลเมตร
3.RBS-15 MK 2 รุ่นนี้ ระยะยิง 70 กิโลเมตร+ แต่ไม่น่าจะเกิน 100 กิโลเมตร
RBS-15 MK 3 รุ่นนี้เพิ่งพัฒนาเมื่อปี 2004 ระยะยิงไกลโข 200 กิโลเมตร
*แต่ RBS-15 ทั้ง 2 รุ่น มีความเร็ว ต่ำกว่าเสียง SUBSONIC
2.EXOCET
3.RBS-15 MK 2 , 3
ทุกรุ่นที่ว่ามา มีความเร็ว ต่ำกว่าเสียง SUBSONIC ทุกแบบครับ
เจ้า 76 มม. ออโตเมลาร่าเนี๊ยะ ถึงจะขนาดเพียง 3 นิ้ว ไม่ใช่ 5 นิ้ว (ปืน ร.ล.นเรศวรขนาด 127 มม. ครับ) อานุภาพรุนแรงไม่ใช่เล่นนะครับ อัตราการยิงเร็วแบบเหลือเชื่อ ยี่ห้อเมืองมะกะโรนีอิตาลี ไว้ใจได้ครับ
เรือขนาดเล็กไปจนถึงขนาดกลางค่อนข้างใหญ่ ส่วนมากที่ผมเห็นก็เลือกเจ้านี่ล่ะครับ
...การออกแบบตัวให้เรือมีประสิทธิภาพลดการสะท้อนเรดาห์หรือ สเตล์ท นั้น นอกจากตัวเรือที่ราบเรียบ ทาวัสดุซับเรดาห์เข้าไปอีก ยังมีอื่นๆอีก(เอาแบบเทพๆนะ) การลดการแพร่ความร้อนจากตัวเรือ หรือ (อินฟาเรด)ที่เกิดจาก ท่อไอเสียและระบบระบายอากาศ ให้น้อยสุดๆ ป้องกันการตรวจจับด้วย กล้องอินฟาเรดจาก ฮ. เครื่องบิน หรือ อาวุธนำวิถี รุ่นใหม่ๆท่อระบายไอเสียเครื่องยนต์มักจะไม่ปรากฎให้เห็น ไม่ก็ออกด้านข้างตัวเรือ หรือลงน้ำออกร่วมกับน้ำ(เหมือนท่อเรือหางยาว) หากท่อระบายอยู่ด้านบนก็ต้องทำแผงน้ำหล่อเย็นเพื่อให้ความร้อนที่ปล่อยออกมาลดลงน่ะครับ
....ส่วนตำแหน่งการติดอาวุธต้องไม่เผยให้เห็น ต้องอยู่ภายในหรือที่ครอบให้เป็นชิ้นเดียวกับตัวเรือ
....ถ้าต่อได้ขนาดนี้ก็ส่งออก ได้แน่นอนน่ะครับ
....อื่นๆก็ลดการแพร่สัญญาณทางไฟฟ้าออกจากตัวเรือเช่น สนามแม่เหล็ก คลื่นวิทยุเป็นต้นครับ ซึ่งในนี้มีในเรือ เมโค น่ะครับ
เอ็ม 16 เอ 2 5 5 5
เห็นด้วยกับท่าน FatBoy นะครับ คาดว่าน่าจะประมาณนั้นเลย แต่กลัวจะได้ 20 mm GAM-CO แทน DS-30M น่ะสิครับ สำหรับการลด RCS นั้น ทร.น่าจะมีประสบการณ์พอตัวนะครับ เริ่มตั้งแต่เรือชุดนเรศวร เรือชุดปัตตานี เรือชุด ต.81 และเรือชุด ต.991 นั้นออกแบบรูปทรงของ superstructure เหนือดาดฟ้าให้ลด RCS ลงทั้งหมด ถึงแม้จะไม่เข้าขั้นของต่างประเทศก็ตาม ก้าวต่อไปของ ทร. อาจเป็นเสากระโดงแบบปิดซึ่งลด RCS ด้วย รวมทั้งรูปทรงตัวเรือใต้แนวดาดฟ้าด้วย และอาจไปไกลถึงการลดสัญญาณ IR และ acoustic
เป็นอาวุธที่สุดยอดไปเลย Gripen สามารถพัฒนาขีดความสามารถ ไปได้อีกเยอะ และเป็นเครื่องบิน พูดง่ายๆ เป็นเครื่องบินที่ง่ายๆ เพราะใช้กับอาวุธต่างๆ ที่มีอยู่ทุกๆ ประเทศได้........ผมก็ชอบนะ Gripen น่าจะเอา Gripen มาไว้ที่อุบล....เหอะๆ แต่อุบลก็ยังมีของดีๆ อีกเยอะ