ที่เห็นคือยุค แรกๆ ส่วนใหญ่ 5 นัด แล้วก็ 10 ต่อมาก็ 20 และก็ 30 ในปัจจุบัน
เหตุผลเพราะอะไรครับ เกี่ยวกับยุทธวิธีในแต่ละยุคด้วยรึเปล่าครับ
จริงก็สงครามโลกครั้งที่๑นี้ก็มีการประดิษฐ์ปืนเล็กยาวหลายแบบที่ใช้ซองกระสุนบรรจุได้เกิน10นัดก็มีนะครับ ซึ่งบางแบบก็มีการนำเข้ามาทดสอบในไทยช่วง ร.๕ ด้วยครับ
หลังจากมีการผลิตปืนยาวแบบยิงซ้ำและบรรจุกระสุนได้มากกว่า1นัดได้ในช่วงปลายคริสตศตวรรษที่๑๙เป็นต้นมา สงครามตามแบบในยุคนั้นมักจะเป็นการทำสงครามในสนามเพลาะซึ่งทหารราบจะยิงกันไกลๆราว 800-1,000เมตรครับ จะเห็นได้จากกระสุนปืนที่ใช้ในสมัยนั้นจะเป็นขนาด 7.62-7.92มม.(ใหญ่กว่านั้นก็มี) และศูนย์บนตัวปืนบางรุ่นก็ปรับการเล็งได้ถึง 2,000เมตรเลยครับ
แต่หลังจากดสงครามโลกครั้งที่๑ เป็นต้นมานั้นรูปแบบของสนามรบตามแบบก็เริ่มมีการพัฒนาไปโดยมีกำลังรบนั้นสามารถเคลื่อนที่ได้เร็วขึ้นด้วยกำลังยานยนตร์และรถถัง ซึ่งตัวอย่างการทำสงครามหลายสมรภูมิในสงครามโลกครั้งที่๒นั้น ทหารแต่ละฝ่ายจะเคลื่อนกำลังเข้าหากันและยิงกันในระยะที่ใกล้มาก ซึ่งทำให้ทหารราบต้องการอาวุธที่เบา บรรจุกระสุนได้มาก และยิงซ้ำได้เร็ว อย่างปืนกลมือแบบต่างๆก็ถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลาย แต่อำนาจการทำลายของกระสุนปืนพกนั้นก็ไม่เป็นที่น่าพอในในยุคนั้นอยู่ดีครับ
ฉนั้นหลังจากที่มี Stg.44 เป็นต้นมา หลังสงครามโลกครั้งที่๒จบลงประเทศมหาอำนาจเกือบทุกประเทศก็หันมาพัฒนาปืนเล็กยาวจู่โจมซึ่งบรรจุกระสุนได้มากและปรับการยิงได้ซึ่งเหมาะกับการปะทะในสนามรบที่แต่ละฝ่ายมีการเคลื่อนที่เข้าหากันอย่างรวดเร็วในระยะใกล้ๆครับ