แต่หน้าตาเป็นยังไง ยังไม่รู้ = =!
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1226392542&grpid=03&catid=01
ว่าจะมาเจิมหน่อย หว่า...ว่าแล้วก็ต้วมเตี้ยมออกไป ^^
ถ้าคิดเป็นเงินDollar สหรัฐฯโครงการเรือนี้ก็จะอยู่ราวๆลำละ $86.13 Miilion ครับ ซึ่งถือว่าค่อยข้างจะถูกเล็กน้อยสำหรับการต่อเรือผิวน้ำในปัจจุบันครับเพราะโครงการต่อเรือรบผิวน้ำในปัจจุบันส่วนมากจะอยู่ที่เกิน $100-150 million ต่อลำขึ้นไปหรือแพงกว่าอีกเท่าตัวทั้งนั้นครับ
ตั้งแต่ช่วงต้นเดือนนี้ก็พยายามค้นข้อมูลความคืบหน้าของโครงการนี้จาก Website หลักในกองทัพเรือเช่น กรมอู่ทหารเรือกับอู่ราชนาวีมหิดลฯอยู่ครับแต่ยังไม่มีข้อมูลใหม่ๆออกมา ซึ่งเดือนนี้ก็ตามที่ทราบกันว่าจะถึงวันกองทัพเรือในวันที่ ๒๐ พ.ย. ก็หวังว่าเราคงจะได้เหตุภาพลายเส้นหรือแบบ Model จำลองของเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งลำใหม่ที่จะต่อเองชุดนี้หน่อยนะครับ
ข้อมูลที่เคยมีการเปิดเผยออกมาบ้างเกี่ยวกับคุณสมบัติเรือ ตกก.ที่ อร.จะต่อเองชุดนี้คราวๆคือ มีระวางขับน้ำประมาณ 1,000ตันขึ้นไป ตัวเรือยาว80กว่าเมตร มีลานจอด ฮ.ท้ายเรือแต่ไม่มีโรงเก็บ ระบบอำนวยการดูเหมือนจะเลือกของ Thales ครับแต่ยังไม่มีข้อมูลว่าจะติดอาวุธอะไรบ้าง(หลักๆน่าจะเป็นปืนเรือ OTO 3" ซึ่งเป็นปืนเรือมาตรฐานของ ทร.)
ส่วนตัวคิดว่ารูปแบบการจัดของกองเรือตรวจอ่าวในอนาคตสำหรับเรือ ตกก.นั้นถ้าโครงการเรือชุดนี้ประสบความสำเร็จเป็นที่น่าพอใจ คงจะคล้ายๆกับ กองเรือฟริเกตที่๒ คือมีเรือที่มีโรงเก็บ ฮ.ในเรือ2ลำ และเรือที่มีลานจอด ฮ.บนเรือแต่ไม่มีโรงเก็บอีก 2-4ลำครับ
ก็นับว่าเป็นอีกก้าวหนึ่งของการต่อเรือรบใช้เองภายในประเทศของไทยครับ หวังว่าเราคงจะสามารถต่อเรือขนาดใหญ่ขึ้นสำหรับใช้งานได้เองภายในกองทัพได้มากขึ้นกว่านี้ในอนาคตตามความจำเป็นครับ
เราต่อจากจีน สามพันล้านได้ 2 ลำ ...................... แต่ตอนนั้นน่าจะเป็นเรือกะเครื่องยนต์เพียวๆครับ..............ระบบตรวจจับและอำนวยการรบและก็อาวุธ น่าจะแยกต่ะหาก และที่สำคัญคือ ตอนนั้นราคาเหล็กน่าจะถูกกว่าปัจจุบัน (ได้ข่าวว่าราคาเหล็กขยับลงแล้ว ไม่ทราบเท็จจริงอย่างไร..........ห่างจากวงการเหล็กหันสู่วงการแดด.....).......................
สำหรับโอพีวีลำที่สาม ................. ถ้าราคาลำละแปดสิบล้านเหรียญ แต่ถ้าครบเครื่องถือว่าไม่แพงครับ................ ราคาเรือฟรีเกตเอนกปรสงค์ยุคก่อนปี 2000 เฉพาะตัวไม่น่าจะถึงร้อยล้าน แต่พอหอบระบบตรวจจับ ระบบอำนวยการรบ จนถึงอาวุแบบครบเรื่อง ราคาโหนไปอยู่ที่เกือบสามร้อย..(ถ้าเป็นพวกเรือไฮเทคสมัยนี้ พวกเฟสอาร์เรย์และระบบยิงแนวตั้งน่าจะโด่งขึ้นไปอีก.....).................. มีข้อน่าสนใจอยู่อย่าง ปี 2530 ขณะที่เรือฟรีเกตเอนกประสงค์ต่อจากยุโรปใหม่ถอดด้ามลำละ สามร้อยล้าน ................ เราต่อเรือฟรีเกตเจียงหูจากจีน 4 ลำ ตัวเรืออาวุธ ระบบตรวจจับและอำนวยการรบหลุดจากบ้องไม้ไผ่ทั้งดุ้น สนนราคาที่ สองร้อยแปดสิบล้าน.................... ใครว่าของจีนโหล แต่ถ้าเห็นตัวเลขอย่างงี้ ประกอบกับเป็นเศรษฐีกำมะลอแบบนี้ เห็นทีไม่ช้อปเป็นไม่ได้.............................. ถูกและดีไม่มีในโลก ............... แต่ถ้าพอใช้ ไม่งอแงมาก (ร้องโยเยขี้มูกโป่ง) ก็คงต้องรับพิจารณา...............................
ราคาในตอนครั้งแรกที่มีข่าวจากเพื่อนๆในบอร์ดเห็นบอกว่าอยู่ประมาณ 2000 - 2500 ล้านบาท และตอนนั้นราคาเหล็กในตลาดโลกแพงโหดมาก (ตอนนี้ราคาเหลือไม่ถึงครึ่ง) แสดงว่าราคาที่ทร.ทำการเสนอและประเมินต้องเป็นราคาช่วงที่เหล็กมีราคาสูงมากๆ(ตอนนั้นผมจำได้ว่าราคาน้ำมันเกิน 100 เหรีญ/บาร์เรลไปแล้ว) ดังนั้นราคาที่ออกมาจึงสูงมากกว่า 3000 ล้าน
แล้วอย่างนี้ถ้าขณะต่อราคาเหล็กอยู่ต่ำสุดแบบในขณะนี้ปีหน้ารับประกันว่าราคาเหล็กในตลาดโลกก็ไม่ไปไหนแน่ๆ ดังนั้นเงินงบประมาณก็ต้องเหลือแน่ๆครับ ถ้าเงินในการต่อเกิดเหลือขึ้นมา ทร. จะนำเอาเงินที่เหลือนี้ไปทำประโยชน์อะไร
บอกตามตรงว่าด้วยราคาน้ำมันและราคาเหล็ก รวมทั้งเศรษฐกิจชาติตะวันตกพังยับเยินแบบนี้ น่าจะเป็นโอกาสทองของเราที่จะต่อเรือ(ในประเทศ)และซื้อระบบอาวุธจากตะวันตกได้นะครับ(โดยกดราคาขอซื้อ)
3พันล้าน ต่อในจีน ได้ 2 ลำ แต่ถ้าต่อในไทยได้ 1 ลำ
แต่ลืมคิอไปว่า หากต่อในจีน เงิน 3 พันล้าน หายไปเลย
แต่หากต่อในไทย 3 พันล้าน จะหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจไทย แต่รัฐจะเก็บภาษีได้ทางอ้อมจากเงินที่ลงไป
ตามหลักเศรษฐศาสตร์ เงินที่ลงไปมักจะมีรายได้หมุนขึ้นมา 3 เท่าของเงินที่ทำให้ระบบหมุน
นั้นหมายความว่า รัฐสามารถเก็บภาษีคืนได้โดยอ้อม จากการต่อเรื่อนี้กลับมาถึง 9 พันล้าน
(ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงนั้น จะเน้นย้ำให้ยืนอยู่บนขาของตัวเอง จึงเป็นปรัชญาที่ สุดยอดมาก)
โห...ดีใจเก้อเลยครับคุณ Skyman......คืองี๊ครับคุณ RMUTK ทร.ของเรามีแผนต่อ OPV อีกสี่ลำเพื่อแทนเรือฟริเกตเก่า......แล้วเราๆ ก็ได้ยินกันว่า OPV ใหม่ลำแรก(ในสี่ลำ)กำลังต่อที่อู่มหิดลฯ ผมเลยสงสัยว่าที่ครม.อนุมัติคราวนี้เป็นลำที่สองหรือเปล่า.............หน้าตาจะหล่อเหลาเหมือนสองลำแรกหรือเปล่าน๊อ......
คิดว่า วงเงินนี้ คงรวมค่าเครื่องไม้ เครื่องมือ ของกรมอู่ที่ซื้อด้วยครับ
ตอน opv กรมอู่เคยบอกว่าต้องลงทุนในด้านเครื่องมือ เพิ่มอีก พอสมควร แต่ว่าหากลงทุนไปแล้ว จะต่อ เรื่อopvได้เรื่อยๆครับ
ใจจริงไม่อยากให้มีเรือ มากแบบ และมากระบบ ควบคุมการเดินเรือ
เป็นไปได้ หาก แบบเรือจะใหม่ แต่ระบบ ภายในรวมถึงเครื่องจักร์เรือ ควรจะเป็นแบบเดิม อย่างน้องก็ช่วยบริหารด้านอะไหล่ และระบบซ่อมบำรุงได้
ว่า แต่ การมีเรือ มีดาดฟ้า ฮ กับ เรือ ที่ มีที่เก็บ ฮ ภารกิจจะแตกต่างกันขนาดไหนครับ
เข้าใจว่าเรือที่มีเฉพาะลาดจอด ฮ.อย่างเดียวแต่ไม่มีโรงเก็บ จะปฏิบัติการกับ ฮ.ได้เฉพาะการจอดรับส่งหรือปฏิบัติการอื่นๆร่วมกับ ฮ.ได้ในระยะไม่นานนักครับ เพราะ ฮ.นั้นไม่ควรจะจอดตากแดดและไอเกลือจากน้ำทะเลเป็นเวลานานๆครับ
ซึ่งเรือที่มีโรงเก็บ ฮ.ในตัวจะสามารถเก็บ ฮ.ไว้ในตัวเรือเพื่อใช้ปฏิบัติการได้ในระยะเวลานานกว่าและส่วนใหญ่ก็จะมีระบบสนับสนุนรองรับด้วย เช่น ส่วนเก็บน้ำมันเชื้อเพลิง อุปกรณ์และอาวุธประจำ ฮ. รวมถึงที่พักสำหรับนักบินและเจ้าหน้าที่ประจำเครื่องด้วยครับ
เสี่ยโย พอมีรูปอนุเคราะห์ไห้ดูหน่อยไหม
คราวนี้ต่อในประเทศ งดพ่อค้าคนกลางเสี่ยอดเลยสิครับ55555555555
ว่าแต่อาวุธจะติดอะรมั้งน่ะ
จากข่าว OPV ที่จะต่อเองนั้น จะใช้แบบเรือ ต.911 แต่จะขยายสเกลให้ใหญ่ขึ้น เพราะมีแบบอยู่แล้ว และอาจจะต่อแบบมาตรฐานเรือพานิชย์ขั้นสูง คงประมาณนี้
^ ^ และคิดว่าคงต่อแบบนี้อีกหลายลำ เพราะกองทัพเรือไม่ต้องการให้มีรูปแบบเรือที่หลากหลายจนเกินไป เพราะยากแก่การซ่อมบำรุง แต่อาจปรับปรุงเป็นหลายๆเวอร์ชั่น ในอนาคต
และกรมอู่ทหารเรือได้ลงทุนซื้อเครื่องไม้เครื่องมือในการต่อ OPV ไปแล้ว คงจะได้เห็นรูปแบบเรือที่คล้ายๆแบบนี้ คือ แบบ ต.911 ที่ขยายสเกล อีกหลายลำ ในราคาที่ถูกลง และมีประสิทธิภาพที่ดีขึ้น
การพึ่งพาตัวเองนี้มันดีจริงๆ |
^
^
^
เห็นด้วยอย่างยิ่งครับ
อยากเห็นรูปจัง แอบภูมิใจอยู่ในฝีมือของกองทัพเรือไทย แต่หวังว่าลำจริงคงจะสวยกว่ารูป sketch ข้างบน ของคุณ mikion นะครับ 55......
ความสวยก็สำคัญนะ ถึงจะไม่ใช่ที่สุด
ถ้าดูโครงการของกรมอู่ที่เปิดประมูลในช่วงที่ผ่านมา ส่วนใหญ่เป็นอุปกรณ์สนับสนุนการต่อเรือครับ ลองค้นดูได้เลยครับ