เรือ LPD ที่กองทัพเรือสั่งต่อจากสิงค์โปร์ ( เข้าใจว่ามีขนาดใกล้เคียงกับ Endurance-class *** คงไม่แตกต่างกันมาก )
ไม่ทราบว่า เรือระบายพล เช่นชุด รล.มันนอก หรือ ชุด รล.วังนอก จะเข้าอู่ในตัวเรือ LPD ได้หรือไม่ครับ
ถ้าได้ คงเป็นการเปลี่ยนแปลงยุทธวิธียกพลขึ้นบก ที่ดีขึ้นมาก V-150 หรือรถถัง T-69 บรรทุกลงบนเรือระบายพล ที่จอดอยู่ในอู่ในเรือ LPD แล่นจากสัตหีบ ยกพลขึ้นบกที่ปัตตานี เรือ LST ชุดรล.สีชัง .ใช้บรรทุก AAV-7 อย่างเดียว ไม่ต้องบรรทุกV-150 หรือภาหนะต่างๆ ไปเกยหาด เป้าใหญ่แบบ LST จะได้ไม่เสี่ยงต่อการถูกโจมตี
และหากกองทัพเรือมี LPD ซัก 4 ลำ + LST ชุดสีชัง อีก 2 ลำ .........พร้อม MH-60S 6 ลำ กับ UH-60L อีก 2 ลำ ( เห็นสั่งไปก่อน MH-60 ไม่ทราบว่าตกลงยกเลิก หรือไม่หลังสั่ง MH-60 ) พร้อม Bell-212 เวลายกพลขึ้นบกคงน่าชมไม่น้อย
ในปัจจุบัน ผมว่า คงยังไม่ได้เปลี่ยนแปลงอะไรครับ...รถรบ ของ นย. ที่ใช้ยกพล น่าจะยังคงเป็น AAV-7 กับ ฮัมวี่ ติด โทว์ เหมือนเดิมครับ...ส่วน ชุดร.ล.มันนอก ชุดร.ล.วังนอก อันนี้ผมไม่ทราบ แต่คิดว่าไม่น่าจะเข้าได้นะครับ...และด้วยคุณสมบัติของ เรือทั้ง 2 ชั้น สามารถปฏิบัติการได้ด้วยตัวเองอยู่แล้ว...
แต่ผมกำลังลุ้นอยู่ว่า LST ที่ต่อจาก สิงคโปร์ จะขยายระวางจากเดิมหรือไม่ครับ...เพื่อสามารถบรรทุก LCAC ได้ด้วย....ซึ่งทาง ทร. ขยายแบบเรือ LST และจัดหา LCAC มาประจำการด้วย...LST จำนวน 2 ลำ + LCAC จำนวน 2 ลำ ก็น่าจะเพิ่มศักยภาพในการยกพล จากปัจจุบันได้พอสมควรและน่าจะเพียงพอครับ...AAV-7 ก็แล่นขึ้นฝั่ง LCAC ก็ขนทั้งกำลังพล และ ฮัมวี่ ติดโทว์ ขึ้นฝั่ง...โดย ชุด ร.ล.มันนอก และชุด ร.ล.วังนอก ก็สนับสนุนในการลำเลียงพล...
ซึ่งในปัจจุบัน ถ้าผมเข้าใจไม่ผิด AAV-7 จะแล่นออกจาก ชุด ร.ล.สีชัง ส่วน ฮัมวี่ติดโทว์ จะบรรทุกโดยชุด ร.ล.วังนอก หรือ ร.ล.มันนอก เพื่อขึ้นฝั่ง...ซึ่งหมายถึงว่า ฮัมวี่ติดโทว์ ต้องบรรทุกตั้งแต่อยู่ที่ฐานทัพ....ซึ่งผมก็ไม่ทราบว่า กรณี ฮัมวี่ติดโทว์ มีจำนวนปฏิบัติการไม่เพียงพอในการขึ้นฝั่ง ชุด ร.ล.วังนอก หรือ ร.ล.มันนอก ต้องกลับมาบรรทุกจากที่ฐาน หรือ สามารถบรรทุกจาก ชุด ร.ล.สีชัง ที่ลอยลำอยู่นอกฝั่งได้เลย
แต่ถ้า LST ใหม่ สามารถบรรทุก LCAC ได้ด้วยและ ทร. จัดหามาประจำการด้วย...ฮัมวี่ติดโทว์ ก็บรรทุกไปพร้อมกับ LPD และสามารถสนับสนุน การยกพลได้ตลอดเวลา และมีจำนวนที่มากขึ้น...กรณีที่ ฮัมวี่ติดโทว์ มีจำนวนไม่เพียงพอในการปฏิบัติการขึ้นฝั่ง LCAC ก็สามารถบรรทุกนำมาจาก LPD ที่ลอยลำอยู่นอกฝั่ง...มาเสริมกำลังได้ทันที....หรือถ้า ทร.ไม่ได้จัดหา LCAC มาประจำการ...และ ชุด ร.ล.วังนอก หรือ ร.ล.มันนอก สามารถเข้าเทียบในอู่เรือได้...ก็สามารถบรรทุกรถรบ สนับสนุนการรบ ได้เหมือนกัน....
สงสัย คงต้องรอเซ็นสัญญาก่อนว่า รูปร่างเรือ LST ลำใหม่จะสเปค อย่างไรครับ..
ตาม รหัสการฝึก ทร.51 เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2551
ตามข้อมูลข่าว ของ คม ชัด ลึก
การบรรทุกกำลัง นย. สำหรับการยกพลขึ้นบก จะประกอบจาก
AAV-7 จำนวน 8 คัน และ เรือระบายพลขนาดเล็ก จำนวน 4 ลำ จาก ร.ล.สุรินทร์
ฮ.ปด 1 จำนวน 4 ลำ เที่ยวบิน จำนวน 2 เที่ยว จาก ร.ล.จักรีนฤเบศร์
รวมกำลังพลรบในการยึดหัวหาด และเป้าหมาย รวมประมาณ 279 นาย
ลองขยายขึ้นอีกนิดครับ...อ่านไม่ค่อยออก...
เรื่องการยกพล จำนวนมาก ในระลอก 1 อันนี้ ผมไม่ทราบในเรื่องการยุทธวิธีนะครับ...แต่ผมมีความรู้สึกว่า การสูญเสียจะเยอะ รึเปล่า ? เพราะ ยิงไปตรงไหน ก็โดน...แต่ถ้า ยกพลในจำนวนที่เหมาะสม และรวดเร็ว สามารถแตะหาด และวางกองกำลังต่อต้านได้เร็ว....
ตอนนี้ ผมกำลังมองการยกพลของ ทร.51 ท่าน FatBoy ลองมานับจำนวน กำลังพลประจำเรือแบบคร่าว ๆ นะครับ...
ร.ล.สิมิลัน กำลังพล (สมมติ) 100
911 กำลังพล (สมมติ) 400
ร.ล.สุโขทัย กำลังพล (สมมติ) 80
ร.ล.ปัตตานี กำลังพล (สมมติ) 60
ร.ล.ปิ่นเกล้า กำลังพล (สมมติ) 100
ร.ล.มกุฎฯ กำลังพล (สมมติ) 100
ร.ล.มันนอก กำลังพล (สมมติ) 40
ร.ล.มันใน กำลังพล (สมมติ) 40
ร.ล.สุรินทร์ กำลังพล (สมมติ) 100
รวม กำลังพลประจำเรือ (สมมติ) 1,200 นาย (ซึ่งผมคิดว่า น่าจะมากกว่านั้น น่ะครับ)
โดยขนกำลังพลขึ้นบกได้ 276 นาย
ซึ่งสมมติ ถ้าเปรียบเทียบกับ LST ลำใหม่ กำลังพลประจำเรือไม่น่าเกิน 70 นาย โดยใช้เงื่อนไข เรือปฏิบัติการเท่าเดิม แต่เปลี่ยนจาก ร.ล.สุรินทร์ เป็น LST ลำใหม่ จะใช้กำลังพลประจำเรือ (สมมิต) 1,170 นาย
โดยขนกำลังพลขึ้นบกได้ ประมาณ 400 - 500 นาย (ตามสเปค ของ ทร.)
จึงลองเปรียบเทียบนะครับ...
กำลังพลประจำเรือ 1,200 นาย ยกพล 276 นาย
กำลังพลประจำเรือ 1,170 นาย ยกพล 400 - 500 นาย