กระทู้นี้เป็นการตั้งข้อสังเกตุนะครับผม
ถ้าลองคุ้ยดูแผน 9 ปี เก่าและถูกแก้ไขใหม่เมื่อ ธ.ค. 50 จะพบสิ่งที่น่าสนใจครับ
ดูบันทึกที่ 30 และ 32 ครับ ....... ตามหลักการแล้ว Mi-17V5 จะตกอยู่ในบันทึกที่ 32 ตามโครงการจัดหาเฮลิคอปเตอร์ขนาดกลางของกองทัพบก และเนื่องจากมันเป็น ฮ. ลำเลียง จึงไม่มีการซื้ออาวุธจากรัสเซียมาติดตั้งแบบหลายประเทศตามข่าวจากสำนักข่าว Kommersant อาวุธถ้าจะมีคงเป็นปืนกล NATO ที่ใช้ป้องกันตัวเท่านั้น
ส่วนบันทึกที่ 30 นั้น ....... อ่านแล้วจะพบว่า มันคือโครงการจัดหา ฮ.ใช้งานทั่วไปต่อจาก Black Hawk 7 ลำนั้นเอง ซึ่งตามแผนการเดิมจะจัดซื้อในอีกราว 5 ปีข้างหน้า
ตามบันทึกที่ 30 มีโครงการจัดหา ฮ.ลำเลียงขนาดกลางจำนวน 3 ลำ ........ มื้อนี้กลับกลายเป็นว่า นอกจากโครงการจัดหาตามปกติที่ใช้งบปกติคือ Mi-17V5 จำนวน 3 ลำแล้ว ทบ. ยังยกเลิกการซ่อม UH-1H และไปจัดหา Mi-17V5 มาอีก 3 ลำ และถ้ากองทัพบกยกเลิกการซ่อม UH-1H ทั้งโครงการ 46 ลำ ก็จะสามารถจัดหา Mi-17V5 ได้ 12 ลำ
มันมีการเปลี่ยนแปลงอะไรในแผนการจัดหาหรือเปล่าครับ? เช่นกองทัพบกจะจัดตั้งฝูงเฮลิคอปเตอร์ลำเลียงขนาดกลางเพื่องานทางยุทธการบางอย่างโดยเฉพาะ เช่นจัดกองพันปืนใหญ่ที่เคลื่อนที่ได้เร็วกว่าปืนใหญ่อัตตาจร หรือนำไปสนับสนุนการส่งกำลังพลทางอากาศซึ่ง Mi-17V5 ทั้ง 6 ลำส่งได้เกือบทั้งกองร้อยพร้อม ๆ กันแหนะ ถ้าบวกชีนุคเข้าไปด้วยก็จะทำให้ประสิทธิภาพในการขนส่งยิ่งมากขึ้นเข้าไปอีกมาก
เตรียมรับกองพลอะไรหรือเปล่าครับ?
กลับมาเรื่องบันทึก 30 ผมว่ากองทัพน่าจะถ่วงน้ำหนักแล้วเห็นว่า ตอนนี้ Black Hawk ยังไม่เร่งด่วนเท่าฮ.ขนาดกลางอย่าง Mi-17V5 จึงขอจัดหา Mi-17V5 ก่อน? (เพราะโครงการก็เขียนไว้ชัดว่าอีกนานกว่าจะเริ่มจัดหา Balck Hawk) ....... หรือความจริงกองทัพตั้งใจจะเริ่มโครงการตามบันทึกที่ 30 เลยตั้งแต่ปีนี้ ในรูปแบบการทะยอยจัดหาไปเรื่อย ๆ จนครบ เพราะจำนวนความต้องการมากถึง 9 ลำแบบนี้อาจจะต้องใช้เงินถึง 7 พัน - 9 พันล้านบาทในคราวเดียว กองทัพจึงต้องมานั่งถ่วงน้ำหนักกันระหว่างเริ่มทะยอยจัดหา Black Hawk แบบตอต ๆ ไปทีละปีกับมุ่งไปที่การจัดหา Mi-17V5 ก่อน ซึ่งกองทัพก็เลือกจัดหา Mi-17V5 และอาจจะไปหวังน้ำบ่อหน้าเพื่อจัดหา Black Hawk ในอนาคต?
หรือว่ากองทัพอาจจะมึนแบบนิ่ม ๆ คือเอา ฮ. ANSAT 8 จากรัสเซียจำนวน 8 ลำที่มีข่าวว่าจะได้รับตามโครงการชดใช้หนี้ข้าวมาแทนโครงการจัดหา Balck Hawk ในบันทึกที่ 30 ไปเลย? ......... ซึ่งถ้าเป็นแบบนี้ผมไม่เห็นด้วยครับ เพราะถ้า ANSAT มาจริงก็ควรจะเป็นตัวแถมมากกว่า โดยโยน ANSAT ไปใช้ในภารกิจ VIP เพราะเบาะมันนั่งนิ่มสบายอยู่แล้วเนื่องจากสร้างตามมาตราฐานยุโรป และปล่อย Balck Hawk ให้ทำงานยุทธการเต็มที่ ....... เพราะผมคิดว่า Black Hawk ควรจะเป็น ฮ. ในอนาคตเพียงแบบเดียวที่จะมาแทนเมื่อ UH-1H ที่เหลืออีก 46 ลำนั้นหมดอายุลง
ดังนั้นสรุปข้อเสนอผมครับ
1. Mi-17V5 จัดหามาเพิ่มเติมได้ และเห็นด้วยถ้าจะจัดหามาเพิ่มเติมจนครบ 12 ลำเพื่อเพิ่มความสามารถในการขนส่ง ลำเลียงพล ส่งกลับสายแพทย์ และช่วยเหลือผู้ประสบภัย
2. Black Hawk ก็ยังควรจะจัดหาเพิ่มอีก 9 ลำตามที่มีโครงการอยู่เดิม ซึ่งจะทำให้ ทบ. มี Black Hawk 18 ลำ เป็นการวางรากฐานในการทดแทน UH-1H ในอนาคต
3. ANSAT ซึ่งถ้าข่าวลือเป็นความจริงว่ามาตามโครงการใช้หนี้ข้าว ควรจัดมันเป็น ฮ.ธุรการ+VIP ไปเลยครับ จำนวน 6 - 8 ลำสามารถสนับสนุนได้ทั่วกองทัพบกแน่นอน
4. ไม่ต้องกลัวว่า UH-1H ถ้าถูกปลดไปทั้ง 46 ลำแล้วจะไม่พอใช้ ........ เพราะที่ผ่านมามันก็บินไม่ได้อยู่แล้ว ทุกวันนี้ก็ใช้งานแค่ครึ่งเดียว ดังนั้นแทบไม่ต่างเลยครับ
5. ผมเคยเห็น Mi-17V5 บินที่มาเลเซียทีนึง ใช้ได้ครับ เสียงไม่ดังมากแบบ UH-1H แม้ว่าจะตัวใหญ่กว่า ออกตัวได้ดี แม้ว่าวันนั้นมันจะไม่ได้มาบินโชว์ก็ตามเนื่องจากมันมาบินรับ-ส่ง VIP แต่เท่าที่เห็นแค่นี้ ถ้านำมาใช้ในภารกิจลำเลียงล่ะก็ผมมั่นใจครับ
อ้างอิง
บันทึก 30. โครงการจัดหา ฮ.ใช้งานทั่วไป โครงการปี 55 57 จำนวน 9 เครื่อง
- ใช้เครื่องยนต์แก๊สเทอร์ไบน์ จำนวน 2 เครื่องยนต์ มีแรงม้าไม่น้อยกว่า 1,900 SHP ต่อเครื่องยนต์ บรรทุกกำลังพลพร้อมเครื่องสนามได้ไม่น้อยกว่า 1 หมู่ปืนเล็ก (11 นาย) ไม่รวมนักบินและช่าง
ประจำเครื่อง เมื่อบรรทุกและมีเชื้อเพลิงเต็มถัง(MTOW) จะต้องมีความเร็วเดินทางสูงสุดไม่น้อยกว่า
120 น๊อต และพิสัยบินไม่น้อยกว่า 300 nm สามารถติดตั้งเปลพยาบาลได้ 4 6 เปล น้ำหนักบรรทุกภายนอกไม่น้อยกว่า 4,000 ปอนด์
เงื่อนไขของโครงการ
1. มีการฝึกนักบินและช่าง เพื่อให้สามารถปฏิบัติงานได้โดย จำนวน นักบิน 2 นาย,ต่ออากาศยาน 1 เครื่อง
นักบินลองเครื่อง 2 นาย, ครูการบิน 2 นาย, ช่างขั้นหน่วย ไม่น้อยกว่า 2 นาย,
ช่างขั้นกลางจำนวน 4 นาย,
2. ต้องแจ้งรายการและราคาของเครื่องมือซ่อมบำรุงประจำอากาศยานและบริภัณฑ์ภาคพื้น
3. ต้องแจ้งรายการและราคาของชิ้นส่วนซ่อมควบคู่ จำนวน 400 ชม.บิน และ/หรือ 2 ปี ต่อเครื่อง
4. มีระบบไฟที่สามารถปฏิบัติงานด้วยกล้องมองกลางคืน (NVG)
5. ต้องแจ้งข้อมูลการผลิตและประเทศผู้ใช้งานทั่วโลก
6. ไม่เป็นเครื่องบินต้นแบบ
บันทึก 32. โครงการจัดหา ฮ.ลำเลียงขนาดกลาง โครงการปี 50 51 จำนวน 3 เครื่อง
- เครื่องยนต์แก๊สเทอร์ไบน์ จำนวนไม่น้อยกว่า 2 เครื่องยนต์ มีแรงม้ารวม ไม่น้อยกว่า 3,500 แรงม้า สามารถบรรทุกกำลังพลไม่น้อยกว่า 30 นาย ไม่รวมนักบินและช่างความเร็ว เมื่อบรรทุกและมีเชื้อเพลิงเต็มถัง(MTOW) จะต้องมีความเร็วเดินทางสูงสุดไม่น้อยกว่า 120 น๊อต และพิสัยบินไม่น้อยกว่า 300 nm บรรทุกภายนอกไม่น้อยกว่า 15,000 ปอนด์
เงื่อนไขของโครงการ
1.มีการฝึกนักบินและช่าง เพื่อให้สามารถปฏิบัติงานได้โดย จำนวน นักบิน 2 นาย,ต่ออากาศยาน 1 เครื่อง
นักบินลองเครื่อง 2 นาย, ครูการบิน 2 นาย, ช่างขั้นหน่วย ไม่น้อยกว่า 2 นาย,
ช่างขั้นกลางจำนวน 4 นาย,
2. ต้องแจ้งรายการและราคาของเครื่องมือซ่อมบำรุงประจำอากาศยานและบริภัณฑ์ภาคพื้น
3. ต้องแจ้งรายการและราคาของชิ้นส่วนซ่อมควบคู่ จำนวน 400 ชม.บิน และ/หรือ 2 ปี ต่อเครื่อง
4. มีระบบไฟที่สามารถปฏิบัติงานด้วยกล้องมองกลางคืน (NVG)
5. ต้องแจ้งข้อมูลการผลิตและประเทศผู้ใช้งานทั่วโลก
6. ไม่เป็นเครื่องบินต้นแบบ
ส่วนตัวแล้วผมว่า ทบ. คงไม่ซื้อ แบล็คฮ็อค เพื่มอีกแล้วละครับ คงหันไปหา มิ-17 แทนด้วยเหตุที่ว่ามันสามารถขนอะไรต่อมิอะไรได้มากกว่าเจ้าแบล็คฮ็อค (แน่นอนย่อมมากกว่าเจ้าฮิวอี้ด้วย) ซึ่งราคาค่าตัวของมันเมื่อเทียบกับน้ำหนักบรรทุกที่ขนได้ คิดว่าน่าจะคุ้มค่า-คุ้มราคา กว่ากันเห็นๆครับ สำหรับการขนส่งอุปกรณ์ทางทหารหลังแนวรบ แบบไม่ต้องติดอาวุธ
ส่วนแบล็คฮ็อค และ เจ้าฮิวอี้ที่เหลืออยู่ น่าจะพัฒนาเป็นเครื่องบินติดอาวุธ เพื่อใช้ในแนวหน้าโดยตรงครับ เพราะความน่าเชื่อถือของเครื่องบินย่อมมากกว่าเครืองรัสเซียอยู่แล้ว หรือจะใช้เพื่อบินคุ้มกันเจ้า มิ-17 ก็ไม่เลวนาครับ เพราะ ทั้งพละกำลัง ความเร็วและความว่องไวของเครื่องบินอเมริกันสองตัวนี่ก็ไม่เลวทีเดียวครับ
มิ17ก็ไม่ได้เลวร้ายอะไรนะครับ ผมก็okกับการซื้อครั้งนี้ แต่ยังไงก็อยากให้จัดหา black hawkให้ได้ตามจำนวนที่กำหนดคือ33ลำเพื่อที่จะทดแทนUH1Hที่ยังไงๆมันต้องก็ปลดประจำการ แต่ถ้าจะไม่มีการหา black hawkแล้วจะใช้มิ17เป็นฮ.หลักด้วยเหตที่ว่ามันขนได้เยอะผมว่าฟังไม่ค่อยขึ้นนะครับ ถ้าจะหามาแทนชินุคที่เราคงไม่ซื้อเพิ่มเติมแน่ๆล่ะก็สมเหตุผล
เรื่องความคล่องตัวนี่black hawkน่าจะเหนือกว่า ใช้สนับสนุนทหารราบจะมีประสิทธิภาพมากกว่า แล้วมิ17นั้นก็ใช้ในการขนย้ายต่างๆทั้งทหาร,อาวุธตามหลังblack hawk อีกที(ไม่ทราบว่าmi17v5มีอุปกรณ์การบินกลางคืนหรือเปล่าแล้วใช้กับกล้องngvที่ท.บ.มีได้หรือไม่)
อีกอย่างฮ.โจมตีcobraที่จะหามาเพิ่มอีก7ลำนั้น ผมไม่อยากหวังมากในตอนนี้ครับ เพราะเงียบเหลือเกิน เงียบกริบเลย บางทีอาจจะไม่ได้ก็ได้ ตอนี้รอดูฮ.sarของท.อ.อยู่ครับว่าจะเอาs-92หรือจะเอาblack hawk แต่อันหลังนี่น่าจะยาก หรือจะเอาmi17แบบท.บ. น่าติดตามครับ
ผมว่า ห้าปีต่อจากนี้ยังไงเสียก็ไม่ได้ซื้อเพิ่มเติมแน่นอนครับ เพราะงบประมาณหมด ไปกับการเอาตังค์ไปกู้ซากบรรดา บริษัท ไฟแนนซ์ที่ย่อยยับกับระบบทุนนิยมนี่ละครับ
ยังดีว่าประเทศไทยมีถนนหนทางเชื่อมต่อกันได้เกือบทั่วประเทศ
เวลาขนส่งยุทธภํณฑ์ก็ยังใช้รถบรรทุกได้พอสมควร ยกเว้น พื้นที่ภูเขาสูงมากๆ เช่นทางเหนือตอนบน ชายแดน
ส่วนตัวเชื่อว่าทางกองทัพบกคงน่าจะพยายามจัดหา ฮ.Blackhawk เพิ่มเติมครับ เพราะเท่าที่อ่านจากคำให้สัมภาษณ์ของทางโฆษกกองทัพบกนั้นก็ค่อนข้างจะชัดเจนว่า กองทัพบกจะใช้ ฮ.Blackhawk สำหรับภารกิจปฏิบัติการรบโดยตรงและใช้ ฮ.Mi-17 สำหรับการลำเลียงสนับสนุนทั่วไป
ซึ่งถ้ามีงบประมาณเตรียมไว้สำหรับการจัดหา ฮ.Blackhawk ในช่วง3-4ปีนั้นก็คงจัดหามาไม่เกิน 2-3ลำครับ ซึ่งจะทำให้มี ฮ.Blackhawk พร้อมใช้ราว 9ลำ(จากที่มีอยู่ในปัจจุบัน7ลำ) และถ้าร่วมกับการจัดหา Mi-17 ซึ่งจะมีเพิ่มในอนาคตตามโครงการที่ตั้งไว้แล้ว ทบ.ก็จะมี ฮ.Mi-17 เบื้องต้น 6ลำ ซึ่งก็คาดว่าจำนวนเครื่องเบื้องต้นของ Blackhawk และ Mi-17 จะอยู่ที่ 9ต่อ6ลำครับ
ซึ่งภายหลังปี๒๕๕๕๘ไปก็ไม่ทราบว่า ทบ.จะจัดหางบประมาณพอที่จะมีจำเครื่อง Blackhawk ถึง 18ลำหรือไม่ แต่ถ้ามีการประเมินแล้วว่า ฮ.Mi-17 มีประสิทธิภาพเหมาะสมต่อการใช้งานในกองทัพไทยจริง จำนวนเครื่องจากที่เคยคาดๆไว้ว่าน่าจะมีสัก12ลำอาจจะเพิ่มเป็น 16-24ลำก็ได้ครับ (คือ Blackhawk 18ลำ ต่อ Mi-17 24ลำ) ซึ่งถ้ามีงบประมาณสนับสนุนเพียงพอก็ควรจะมีการปรับปรุงเครื่อง Blackhawk ให้ติดตั้งอาวุธประจำเครื่องเพิ่มเติมเพื่อให้สามารถใช้เป็น ฮ.Gunship ได้ด้วยในบางภารกิจแทน ฮ.UH-1H รุ่นเก่าที่จะปลดไปครับ
จากข้อสังเหตุท่าน Skyman ผมเลยมองเป็นดังนี้ครับ...
เรื่องงบจัดซ่อม ฮท.1 จำนวน 46 ลำ เป็น ฮท.1 ที่บินไม่ได้อยู่แล้ว...และปรับปรุงให้บินได้ รึเปล่าครับ ?
ถ้าเป็นตามที่กล่าวข้างบน...การจัดซ่อมดังกล่าว จะไม่ได้กระทบกับเครื่องที่ใช้งานได้ในปัจจุบัน ของ ฮท.1 และ ฮ.212 คือ ทบ. ยังคงมีประจำการเท่าเดิม โดยงบซ่อม น่าจะหมายถึงว่า ทบ. จะมี ฮ.ใช้งานเพิ่มขึ้นจากเดิม 46 เครื่อง...แต่ ทบ. ตัดสินใจยุติ และจัดซื้อ ฮ.ใหม่เพิ่มเติม โดยใช้งบประมาณการจัดซ่อม ฮท.1...จึงทำให้ กองบินปีกหมุนของ ทบ. เป็น
1. ฮท.1 และ ฮ.212 มีจำนวนประจำการ เท่าเดิม ที่มีใช้อยู่ในปัจจุบัน
2. มี MI-17 เป็น ฮ. เพิ่มเติม เพื่อทดแทน ฮท.1 จำนวน 46 ลำ ที่เดิมจะซ่อมมาเพิ่มเติม กับ ข้อ 1.
3. แผนการจัดหา UH-60L เป็นไปตามแผนเดิมคือ จัดหาอีกจำนวน 33 เครื่อง โดยจะไปเริ่มในปี 2555 (น่าจะเป็นการทดแทน ฮท.1 ลำที่บินได้ในปัจจุบัน (ตามข้อ 1.) และถึงคราวต้องปลดระวาง) ซึ่งเมื่อรวมกับของเดิม เท่ากับ ทบ. กำหนดความต้องการ UH-60L รวม 40 เครื่อง
ผมขอ...เดา...จำนวน ฮ. ของ ทบ. ในระหว่าง 2552 - 2555
ฮท. 1 = 56 ลำ
ฮ.212 = 24 ลำ
ชินุค = 6 ลำ
UH-60L = 7 ลำ
MI-17 = 12 ลำ
ในระหว่าง 2555 - 2557
ฮท.1 = 38 ลำ
ฮ.212 = 24 ลำ
ชินุค = 6 ลำ
UH-60L = 16 ลำ
MI-17 = 12 ลำ
หลังจาก 2557
ฮ.212 = 24 ลำ
ชินุค = 6 ลำ
UH-60L = 40 ลำ
MI-17 = 30 ลำ
รวม 100 ลำ
"เรื่องงบจัดซ่อม ฮท.1 จำนวน 46 ลำ เป็น ฮท.1 ที่บินไม่ได้อยู่แล้ว...และปรับปรุงให้บินได้ รึเปล่าครับ ?"
น่าจะเป็นเช่นนั้นครับท่าน juldas อ้างอิงจาก.......
บันทึก 58. โครงการซ่อมปรับปรุง ฮ.ท.1
- ทบ.มีเฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไป แบบ ฮ.ท.1 (UH1-H)ประจำการจำนวน 92 เครื่อง แต่อยู่ในสภาพงดบินเป็นจำนวนมาก เนื่องจากขาดแคลนชิ้นส่วนอะไหล่ที่ต้องเปลี่ยนตามระยะเวลามาเป็นเวลานาน โดย ทบ.มีความต้องการในการซ่อมบำรุง ฮ.ท.1 เพิ่มเติมอีกจำนวน 46 เครื่อง โดย ทบ.ใช้วิธีการซ่อมปรับปรุงตามมาตรฐานที่ ทบ.กำหนด โดยจะเป็นลักษณะการยืดอายุการใช้งานให้สามารถใช้งานได้อย่างต่อเนื่องอย่างน้อยอีก 15 ปี โดยมีการตรวจสภาพและซ่อมบำรุงตามความจำเป็นแบบสมบูรณ์ (Completed Inspection and Repair As Necessary :
ขอบคุณทุกท่านที่มาแบ่งปันความเห็นกันนะครับผม ^ ^
เจ้านี่มีค่าใช้ต่อชั่วโมงเท่าไหร่ครับ
^
^
^
รูปนี้ถูกใจจริง ๆ เลยครับ 555+
http://mst.texterity.com/mst/2006-1/?pg=30
เท่าที่ลองค้นมา ค่อนข้างแพงนะครับ เพราะเสียค่าใช้จ่าย 2,850 เหรียญต่อชั่วโมง (เกือบแสนบาท) เทียบกับ Black Hawk ที่ราว ๆ 2,100 เหรียญต่อชั่วโมงครับ ....... แต่ Mi-17V5 มันขนได้มากกว่า Black Hawk เกือบ 3 เท่า ถัวเฉลี่ยไปมามันเลยประหยัดกว่าครับ
Bell UH-1Y Huey Utility Helicopter
http://www.army-technology.com/projects/uh_1y/
หรือว่าเจ้าตัวนี้ไม่น่าสนใจ
เงินน้อย วีไอพี่ เยอะ
ก็อย่างนี้ แล ครับ
ใช้ของเก่า ตาม เค้า เอา ตามเค้าเอา
ใช้ของ ต่างบ้าน ต่างเมืองบ้าง จะเป็นไรไป
ถ้าดูๆ แล้ว ทบ.จัดให้ Mi-17 เป็น ฮล.ขนาดกลาง นั่นหมายถึงว่า CH-47D จะเป็น ฮล.ขนาดใหญ่ ส่วน UH-60L เป็น ฮท. ก็ดูเหมาะสมดี เพราะ ถึงแม้ว่า internal load ของ Mi-17 จะใกล้เคียงกับ CH-47D แต่ external load (sling load) ยังสู้ CH-47D ไม่ได้ แต่มากกว่า UH-60L นิดหน่อย
ข้อดีของ Mi-17 คือ เทียบกับ UH-60L แล้ว ในแง่ลำเลียงกำลังพล 1 กองร้อยจะใช้ UH-60L จำนวน 12-15 เครื่อง ส่วน Mi-17 จะใช้เพียง 6 เครื่องเท่านั้น และยัง load รยบ.ขนาดเล็กในลำตัวได้อีกด้วย แต่ข้อเสีย คือ ถ้าใช้ Mi-17 หิ้วปืนใหญ่ 105 มม. จะไม่ต่างจาก UH-60L แต่อย่างใด อีกทั้งความคล่องตัว ความเร็ว อำนาจการยิงเพื่อป้องกันตัวเอง ยังด้อยกว่า UH-60L อยู่
ดังนั้น ทบ. ยังคงต้องการ UH-60L ต่อไป ซึ่งก็น่าจะมาทดแทน UH-1H ในอนาคต ในขณะที่ Mi-17 ก็ยังคงน่าใช้งานแต่ในภารกิจลำเลียง ส่งกำลังบำรุง ในแง่ที่ว่าน่าจะคุ้มค่ากว่า CH-47D ครับ
หน่วยที่ตั้งใหม่ที่โยหมายถึงนี้ คือ พล.ม.3 ใช่ป่ะครับ
แผ่นภาพนี้ เป็นการ เดา ล้วน ๆ โดยใช้เค้าโครงจากเรื่องจริง 5 5 5 5
ตามข่าว ทบ. มี ฮท.1 จำนวน 92 ลำ ตามแผนซ่อมปรับปรุง 46 ลำ ก็เท่ากับ 50% ของ 92 ลำ โดยข้อมูล ฮท.1 ทบ.เพิ่งจะได้รับ EDA เมื่อปี 2547 จำนวน 30 ลำ ดังนั้น จึงเหลือ ฮท.1 เก่า จำนวน 16 ลำ ที่น่าจะเป็นของ ทบ. จัดหามาเมื่อปี 2522 และ 2524 โดยการจัดซื้อจากงบประมาณ ไม่ได้เป็น ฮ.ที่ได้รับฟรี จากความช่วยเหลือทางการทหารจากสหรัฐ...และจากข้อมูลในหนังสือสมรภูมิ ทบ.จัดซื้อ Bell-212 มาจำนวน 25 ลำ ในปี 2532 และจากข้อมูลของ Sipri ทบ. จัดหามาอีก 20 ลำ ในปี 2536 ผมเลย...มั่ว...ใช้ยอดหักกลบ จาก ฮ.212 ที่อาจจะมีการเสียหายจากการตก ที่ไม่ทราบจำนวนที่แน่นอน เลยสมมติเป็นที่ 40 ลำ...
แผ่นภาพ จึงออกมาเป็นดังนี้...
และจากข้อมูลเก่า ที่ ทบ. เคยต้องการจัดหา ฮจ.1 เพิ่มอีกจำนวน 7 ลำ (เมื่อรวมของเดิมจะเป็น 10 ลำ) กับตามแผนในปี 2555 - 2557 ต้องการจัดหา แบล็คฮอร์ด เพิ่มเติมอีก 9 ลำ...แผ่นภาพผม จึงออกมาเป็นดังนี้...
เดา ล้วน ๆ
ขาด ansat 8 ตัว
ท่าน SPECI ในส่วนของ ฮ.ANSAT ผมขออนุญาตไม่รวมไปด้วย...เนื่องจากดูแล้ว น่าจะเป็น ฮ.ธุรการ หรือน่าจะมาทดแทน Bell-206 ซึ่งจะไม่ใช่ ฮ.ลำเลียง หรือ ฮ.โจมตี...
แผ่นภาพนี้ ผมออกมาเวอร์ชั่นใหม่ ด้วยเงื่อนไข ดังนี้
1. จัดหา ฮจ.1 เพิ่มเติมอีก 7 ลำ ตามแผนเดิม
2. จัดหา ฮท.60 เพิ่มเติมอีก 33 ลำ ตามแผนเดิม
3. จัดหา ฮล.17 จำนวน 6 ลำ ตามข่าว กับ ตามการคาดการณ์ว่าจะยุติ การซ่อม ฮท.1 ในเฟสที่เหลือ รวมการการจัดหา ฮ.ลำเลียงขนาดกลาง จำนวน 3 ลำ ตามแผนเดิม
4. ตามข่าวเก่า ๆ ที่ ทบ. อนุมัติ ตั้งกองร้อยทหารม้าอากาศ จำนวน 4 กองบิน แต่ปัจจุบันมีอยู่เพียง 1 กองบิน (ไม่รู้ผมเข้าใจถูก รึเปล่า ?)
จึงแสดงแผ่นภาพออกมาเป็น ดังนี้ครับ...
หุ หุ อันนี้ไม่ทราบครับ...ท่าน SPECI แต่เท่าที่ลองค้นหาดู ยังอยู่ขั้นทดลอง ทดสอบ อยู่...รัสเซีย ก็ยังไม่ได้เข้าประจำการ....
ส่วน ANSAT ที่ ทบ. น่าจะได้แลกเปลี่ยนกับหนี้ข้าว...ก็น่าจะเป็นรุ่นธรรมดา ที่ รัสเซีย มีประจำการอยู่ โดย รัสเซีย เอง ก็ใช้ ฮ.ANSAT เป็น ฮ.ฝึกของรัสเซีย ด้วย...และโดยส่วนใหญ่ รัสเซีย ขายอาวุธโดยการแลกเปลี่ยนกับประเทศคู่ค้า ก็จะเป็น อาวุธ ที่ประจำการอยู่ในปัจจุบันของรัสเซีย (น่าจะตัดสต๊อคส่วนเกินมา)
ANSAT รุ่นลำเลียงพลเรือนที่ข่าวว่าจะจัดหามา 8ลำ กับรุ่นลาดตระเวนติดอาวุธเบา ANSAT-2RC นั้นเป็น ฮ.คนละรุ่นกันครับ ซึ่งดูได้จากการออกดแบบรูปร่างของเครื่องที่แตกต่างกันอย่างชัดเจน ทำให้ระบบภายในเช่น ระบบ Avionic เครื่องยนตร์ และชิ้นส่วนอื่นๆ ซึ่งแตกต่างใช้ร่วมกันไม่ได้หลายจุดครับ
และในบันทึกการจัดหานั้นก็มีการกำหนดไว้ชัดเจนครับว่า ฮ.ฝึกใหม่ และ ฮ.ลาดตระเวนโจมตีเบา ที่กองทัพบกจะจัดหานั้นต้องไม่เป็นเครื่องต้นแบบและจากแบบการกำหนดคุณสมบัตินั้น ค่อนข้างจะเหมือน ฮ.ลำเลียงขนาดเบาอย่าง Bell 407 ที่พัฒนาเป็น ARH-70A หรือ Eurocopter AS 550 Fennec รุ่นที่ตัดแปลงติดอาวุธมากกว่าครับ ซึ่ง ANSAT-2RC ก็ไม่เข้าคุณสมบัติดังกล่าวครับ
บันทึก 55. โครงการจัดหา ฮ.ฝึก โครงการปี 51 52 จำนวน 32 เครื่อง
- ใช้เครื่องยนต์แก๊สเทอร์ไบน์ แรงม้าไม่น้อยกว่า 400 SHP บรรทุกกำลังพลได้ไม่น้อยกว่า 4 นาย รวมนักบินเมื่อบรรทุกและมีเชื้อเพลิงเต็มถัง(MTOW) จะต้องมีความเร็วเดินทางสูงสุดไม่น้อยกว่า 120 น๊อต และพิสัยบินไม่น้อยกว่า 300 nm
เงื่อนไขของโครงการ
1. มีการฝึกนักบินและช่าง เพื่อให้สามารถปฏิบัติงานได้โดย จำนวน นักบิน 2 นาย,ต่ออากาศยาน 1 เครื่อง
นักบินลองเครื่อง 2 นาย, ครูการบิน 2 นาย, ช่างขั้นหน่วย ไม่น้อยกว่า 2 นาย,
ช่างขั้นกลางจำนวน 4 นาย,
2. ต้องแจ้งรายการและราคาของเครื่องมือซ่อมบำรุงประจำอากาศยานและบริภัณฑ์ภาคพื้น
3. ต้องแจ้งรายการและราคาของชิ้นส่วนซ่อมควบคู่ จำนวน 400 ชม.บิน และ/หรือ 2 ปี ต่อเครื่อง
4. มีระบบไฟที่สามารถปฏิบัติงานด้วยกล้องมองกลางคืน (NVG)
5. ต้องแจ้งข้อมูลการผลิตและประเทศผู้ใช้งานทั่วโลก
6. ไม่เป็นเครื่องบินต้นแบบ
_________________________________________________________
บันทึก 31. โครงการจัดหา ฮ.ลาดตระเวนติดอาวุธขนาดเบา โครงการปี 52 53 จำนวน 8 เครื่อง
- ใช้เครื่องยนต์แก๊สเทอร์ไบน์ 1 2 เครื่องยนต์ แรงม้าไม่น้อยกว่า 400 SHP ต่อเครื่องยนต์ บรรทุกกำลังพลได้ไม่น้อยกว่า 4 นาย รวมนักบิน เมื่อบรรทุกและมีเชื้อเพลิงเต็มถัง(MTOW) จะต้องมีความเร็วเดินทางสูงสุดไม่น้อยกว่า 120 น๊อต และพิสัยบินไม่น้อยกว่า 300 nm มีจุดติดตั้ง ปก.อากาศ และ จรวด/จรวดต่อสู้รถถังขนาดเบาได้ ไม่น้อยกว่า 2 ลูก
เงื่อนไขของโครงการ
1. มีการฝึกนักบินและช่าง เพื่อให้สามารถปฏิบัติงานได้โดย จำนวน นักบิน 2 นาย,ต่ออากาศยาน 1 เครื่อง
นักบินลองเครื่อง 2 นาย, ครูการบิน 2 นาย, ช่างขั้นหน่วย ไม่น้อยกว่า 2 นาย,
ช่างขั้นกลางจำนวน 4 นาย,
2. ต้องแจ้งรายการและราคาของเครื่องมือซ่อมบำรุงประจำอากาศยานและบริภัณฑ์ภาคพื้น
3. ต้องแจ้งรายการและราคาของชิ้นส่วนซ่อมควบคู่ จำนวน 400 ชม.บิน และ/หรือ 2 ปี ต่อเครื่อง
4. มีระบบไฟที่สามารถปฏิบัติงานด้วยกล้องมองกลางคืน (NVG)
5. ต้องแจ้งข้อมูลการผลิตและประเทศผู้ใช้งานทั่วโลก
6. ไม่เป็นเครื่องบินต้นแบบ
ท่าน SPECI เรื่อง ดัดแปลง ผมว่า ทบ. ไม่น่าจะสันทัดเท่ากับ ทอ. ผมเลยตั้งข้อสังเกตุ เกี่ยวกับ อากาศยานของ ทบ. และ ทร. จะจัดหาตาม สเปค ของผู้ขาย และจะไม่ยืดอายุใช้งาน...อะไหล่ หมด จบกัน...(หรือ อาจจะจบก่อนกำหนด)
ในส่วนของ ANSAT ในรุ่นลาดตระเวณเบา ผมคิดว่าไม่น่าเกิด...แต่จะน่าลุ้นในส่วนของ OH-58D วอร์ริเออร์ ของสหรัฐ...ที่ขณะนี้ เกิดปัญหาทางเศรษฐกิจ และน่าจะลดจำนวนการพัฒนาตามข่าว...ก็อยู่ที่ รัฐบาลไทย จะให้ความหวังกับงบประมาณกองทัพไทย ได้หรือไม่...
แต่ในส่วนของ ฮ.ฝึก...อันนี้ ก็น่าจะมีลุ้น เพราะรัสเซีย ก็ใช้อยู่เหมือนกัน...
ซึ่ง เดี๋ยวนี้ อะไร ๆ ก็ หมีขาว...หนุ่มชาวตะวันตก เลยชักงอน....ก็ใช่สิ...ทั้งใหญ่ หนา นุ่ม ขาวจั๊ว ซะขนาดน๊านนนนนน....
พี่น้องเอ๊ย...อย่าหวังจะเอา ANSAT มาเป็นกันชีพเลย แค่บินได้ รับส่งคนเจ็บ ก็ดีถมไปแล้วครับ ผมเชื่อว่าถ้าจะติดปืนจริงก็น่าจะเอา เอ็ม 249 หรือ เอ็ม 60 ยิงออกทางข้างประตู ไว้เคลียร์พื้นที่ก่อนแลนด์ดิ้งน่าจะพอเพียง นา เอาน่าขอให้มีของใช้เถอะ เดี๋ยวจะเป็นแบบ รีว่า เอาไว้จอดโก้ๆ หน้า บก. ตามกองกำลังยังใช้ วีโก้ ฮัมวี่ ยูนิม๊อก วีไอพีเคลื่อนทัพที รีว่าถึงออก ผมถึงเห็นด้วยกับโครงการ วีโก้ ติดเกราะ 300 คันไง ครับ มันใช้ได้ทั่วถึง หน่วยใช้ บำรุงรักษาง่าย
รัฐบาลไม่นิ่ง พูดยาก ว่าเธอจะมาเมื่อไหร่
^
ข้อมูลเท่าทีผมมีจะมีการส่งมอบในปี 52 ครับ ไม่ทราบว่าการเปลี่ยนแปลงรึป่าว
จากข่าวเก่าของ นสพ.แนวหน้า เมื่อปี 2006
มูลค่าโครงการ ฮจ.1 ประมาณ 1,050 ล้านบาท โดยตอนแรก ทบ. ของซื้อเป็นจำนวน 6 ลำ ต่อมาได้ขอเพิ่มเป็น 8 ลำ จึงต้องรอการทำการแก้ไข LOA โดย สหรัฐ จะส่งมอบล็อตแรกให้ 6 ลำ และอีก 2 ลำจะตามมา โดยใน 2 ลำหลัง มีจำนวน 1 ลำเป็นอะไหล่....จึงถัวเฉลี่ยออกมา ลำละประมาณ 150 ล้านบาท (หารด้วย 7) น่าจะประมาณลำละ 4 - 4.5 ล้านเหรียญ ถ้าคำนวณอัตราแลกเปลี่ยนช่วงนั้น
แผ่นภาพอีกสักหนครับ...(น่าจะครั้งสุดท้าย)
ตามเงื่อนไข
1. ทบ. ปรับปรุง ฮท.1 ตามแผน 3 เฟส จำนวน 46 ลำ ตามแผนเดิม
2. จัดหา UH-60L จำนวน 9 ลำ ตามแผนเดิม
3. จัดหา ฮจ.1 จำนวน 7 ลำ ตามแผนเดิม
4. จัดหา ฮ.ขนาดกลาง จำนวน 3 ลำ ตามแผนเดิม
เลยลองจัดเล่น ๆ อีกครั้งสุดท้าย (น่าจะ...)