เมื่อคืนดูข้าวเราประท้วงกรณีเขมรส่งกำลัง 7 นายพร้อมอาวุธ ครบมือมาที่ช่องโอบกในเขตไทย ผมเคยดูข่าวถ้าเป็นชนกลุ่มน้อยทางชายแดนตะวันตกเราจะขับไล่ออกไปทันที แต่ทำไมตอนนี้ประเทศเราถึงเป็นไปได้ขนาดนี้
ความคิดเห็นที่ 1
ชนกลุ่มน้อยคือชนกลุ่มน้อยครับ ชนกลุ่มน้อยไม่มีรัฐบาล ไม่มีการฑูต ไม่ได้รับการรับรู้จากนานาชาติว่ามีอธิปไตย ดังนั้นชนกลุ่มน้อยก็ไม่ต่างกับโจรที่ปล้นบ้าน เราขับไล่ได้โดยไม่ต้องสนใจ ...... แต่ถ้าเป็นทหารต่างชาติ เขามีรัฐบาล มีอธิปไตยของเขา เราทำอะไรทะเล่อทะล่า ก็จะส่งผลเสียในหลาย ๆ ด้าน ถ้าเอะอ่ะจะยิงเขาอย่างเดียว อาจจะได้รบกันตลอดแนวชายแดน ..... ปัญหาระหว่างรัฐบาลต่อรัฐบาล มีช่วงทางทางการฑูตที่พูดคุยกันได้ก่อนแล้ว และมีกฏหมายระหว่างประเทศที่มีขั้นตอนที่ชัดเจน ก็ต้องใช้ช่องทางนี้ก่อนครับ ไม่ใช่เขามาเราก็รบเลย เพระเรื่องนี้ไทยก็เสีย ลาวเสีย เพราะสามชาติเขาก็อ้างสิทธิเหมือนกัน ลาวเขาก็ไม่ได้ส่งทหารไปโจมตีทหารกัมพูชากลุ่มนี้เหมือนกัน ..... มันก็ต้องใช้ช่องทางทางการฑูตไปก่อน แบบไทย-พม่าปี 42 นี่ หลายท่านอาจจะจำได้แต่ตอนที่เราเปิดการรบกับเขา แต่อาจจะลืมไปว่าก่อนการรบมีการดำเนินการทางการฑูตมากมาย และการรบก็ยุติลงด้วยการฑูต หรือตอนมาเลเซียมีทหารหลงหรือล้ำแดนมาบ่อย ๆ ในช่วงสองสามปีที่ผ่านมา เราก็ไม่ได้ส่งกำลังผลักดันกลับไป แต่ก็เชิญตัวมาสอบ และให้ฑูตคุยกัน ทุกอย่างก็จบ ..... การเมืองระหว่างประเทศ ใช้ความสะใจนำหน้าไม่ได้ครับ!
โดยคุณ
Skyman เมื่อวันที่
21/10/2008 22:58:29
ความคิดเห็นที่ 2
เห็นด้วยกับท่าน skyman นะครับ น่าจะเป็นการยั่วยุจากฝ่ายเขมร ก็ต้องการให้ฝ่ายเรากระทำก่อน ใช่ เราก็กระทำก่อนจริง โดยวิธีทางการฑูต ถูกต้องที่สุดแล้วครับ ถ้าเค้าหลงเข้ามาไม่ได้ทำการยิงใส่ฝ่ายเรา เราก็ไม่จำเป็นต้องทำอะไรเค้า แค่สอบถามดูเหตุผล ก็น่าจะเพียงพอแล้ว นะครับ
โดยคุณ tantongs เมื่อวันที่
21/10/2008 23:02:32
ความคิดเห็นที่ 3
เห็นด้วยกับท่าน skyman อีกคนนะครับ เขาไม่ยิง อย่าไปยิงเขาครับ เดี๋ยวเขาจะหาว่าเรารังแกครับ
ข่าวจาก ไทยรัฐ ครับ
ด้านสำนักข่าวเอเอฟพี รายงานอ้างคำกล่าวนายราอิส ยาติม
รมว.ต่างประเทศมาเลเซีย
ที่กล่าวในกรุงกัวลาลัมเปอร์ก่อนเดินทางมาไทยเพื่อเข้าหารือกับนายกฯสมชาย
วงศ์สวัสดิ์ ในวันพุธว่า ความรุนแรงตามพรมแดนไทย-กัมพูชาจะไม่เกิดอีก
หลังเหล่าผู้นำอาเซียนเรียกร้องเพื่อสันติ
และว่าไทยจะหลีกเลี่ยงความขัดแย้งในอนาคต เพราะเป็นประธานหมุนเวียนอาเซียน
ข่าวแจ้งด้วยว่า
มาเลเซียจะส่งนายยาติมไปเยือนกัมพูชาด้วยเพื่อหารือนายกฯฮุน เซน
พร้อมข้อความพิเศษจากนายกฯอับดุลเลาะห์ อาหมัดบาดาวี
ปรารถนาให้ทั้งสองชาติ หลีกเลี่ยงการเผชิญหน้าทางทหารและหันมาเจรจากัน
นายยาติมระบุอีกว่า มาเลเซียหวังว่าไทยกับกัมพูชาจะเริ่มเจรจากันโดยเร็ว
และเตือนเมื่อวันจันทร์ว่า
ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นจะบั่นทอนภาพลักษณ์อาเซียนที่นิยามตัวเองว่าเป็น
กลุ่มสมานฉันท์
http://www.thairath.co.th/offline.php?section=hotnews&content=108511
โดยคุณ
topza เมื่อวันที่
21/10/2008 23:42:50