บทเรียนจากการรบ ตอน พลีชีพ เพื่อชาติ
โดย พลเอก หาญ ลีนานนท์
บท
เรียนจากการรบตอนนี้ ต้องการให้ผู้ตามอ่าน (พลเรือน)
รู้จักหน่วยทหารหน่วยหนึ่งในกองทัพบกที่มีขีดความสามารถสูงและโดดเด่นเป็น
พิเศษ นั่นคือหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ (นสศ.) ซึ่งมี
หน่วยรองที่
สำคัญ คือ ศูนย์สงครามพิเศษ (ศสพ.) กองพลรบพิเศษ หมายเลขต่างๆ
และค่ายฝึกรบพิเศษต่างๆ ที่กระจายกันอยู่ตามกองทัพภาคทั่วประเทศ
หน่วย นสศ.และ ศสพ.อยู่ที่ค่ายสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ส่วนกองพลรบพิเศษนั้นอยู่ที่ค่ายเอราวัณ ทั้งสองค่ายอยู่ที่ อ.เมือง จ.ลพบุรี
คน
ทั่วไปเรียกทหารหน่วยรบพิเศษนี้ว่า ทหารป่าหวาย
คงจะมีป่าต้นหวายมากตอนตั้งค่ายใหม่ๆ เดี๋ยวนี้หวายหมดแล้ว
กำลังพลหน่วยรบพิเศษแต่งกายสมาร์ท สวมหมวกเบเร่ห์แดง ไม่มีใครอ้วนลงพุง
เพราะมีการบังคับให้รักษาหุ่นด้วยการฝึกหนัก
ศสพ.เป็นหน่วยแรกที่
ให้กำเนิดทหารหมวกแดง ริเริ่มโดย พลตรี เทียนชัย ศิริสัมพันธุ์
(ยศขณะนั้น) ต่อมาเมื่อภารกิจของ ศสพ.มากขึ้น
และกว้างขวางครอบคลุมภารกิจนอกประเทศ
กองทัพบกจึงได้ขยายเป็นหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ เทียบเท่ากองทัพภาค
มีนายทหารยศพลโท เป็นผู้บังคับบัญชา ศสพ.เดิมกลายเป็นหน่วยรองของ นสศ.
เพื่อ
สนองความต้องการของหน่วยทหารในเรื่องวิชาการรบพิเศษ
หรือเรื่องอื่นใดที่หน่วยทหารธรรมดามิได้มีการฝึกสอนอบรม
กองทัพบกจึงได้เปิดค่ายฝึกรบพิเศษประจำกองทัพภาคต่างๆ
นอกจากเป็นหน่วยควบคุมชุดปฏิบัติการพิเศษต่างๆ ประมาณ 2 กองพล,
นสศ.เป็นสายวิทยาการควบคุมการฝึกให้เป็นไปในกรอบที่ นสศ.กำหนด
ส่วน
กองทัพเรือนั้นก็มีค่ายฝึกรบพิเศษเช่นเดียวกันอยู่ที่สัตหีบ
เพราะที่ทหารเรือมีหน่วยที่เราเรียกว่าครึ่งน้ำครึ่งบก
(สะเทินน้ำ-สะเทินบก) ชื่อราชการว่า นาวิกโยธิน (นย.) หน่วย
นย.นี้เมื่ออยู่บนบกก็คือทหารราบดีๆ นี่เอง ที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ก็มี
นย.อยู่ 1 กองพัน
ทหารทุกคนมิใช่ว่าจะมีโอกาสเข้าไปรับการฝึกที่
ค่ายฝึกรบพิเศษ แต่จะเข้าไปเพื่อรับการฝึกภารกิจพิเศษ
เช่นเพื่อบรรจุในหน่วยใหม่
ที่ต้องใช้วิทยาการพิเศษหรือภารกิจทางยุทธศาสตร์ (นอกประเทศ)
การ
ฝึกที่ค่ายรบพิเศษนี้เป็นการเตรียมกำลังพลให้พร้อมทั้งร่างกาย,
ความคิดที่ชาญฉลาดแหลมคมในทางยุทธวิธีทั้งทางการเมืองและการทหาร
สามารถแก้ทางศัตรูหรือข้าศึกและเอาชนะศัตรูได้เพื่อหล่อหลอมให้เขาเป็นนัก
รบที่มีความสามารถรอบตัว
นักรบที่เข้ามาสู่ค่ายฝึกรบพิเศษ
จะได้รับการฝึกในเรื่องสำคัญๆ เช่น การต่อต้านการก่อการร้าย, การซุ่มยิง
การใช้และการเก็บกู้วัตถุระเบิด การรบพิเศษ การรบนอกแบบ การเล็ดลอดหลีกหนี
ฯลฯ
ตลอดเวลาที่อยู่ในค่ายฝึก 3 เดือน
ร่างกายต้องตื่นตัวและฟิตเปรี๊ยะในค่ายเมื่อเคลื่อนที่ไม่มีการเดินสำหรับ
ผู้รับการฝึก
แต่ต้องเดินเร่งรีบหรือวิ่งจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งพร้อมกับการแบกเป้
10 กก. (บรรจุทราย) ไปด้วย ทุกคนต้องผ่านการวิ่ง 10 กม.ภายใน 1 ชม.
และต้องผ่านการทดสอบทุกเดือนทุกคน ใครไม่ผ่านถูกส่งคืนหน่วยต้นสังกัด
กำลัง
พลในหน่วย นสศ.หรือ ศสพ.และค่ายฝึกรบพิเศษต่างๆ
เหล่านี้ต้องมีความแข็งแกร่ง
มีความรู้ความสามารถทางทหารเฉพาะตัวสูงกว่าทหารอื่นๆ
หน่วยทหารหมวกเบเร่ห์แดงนี้ฝรั่งเรียกว่า CRACK UNIT หรือ ELITE UNIT
แต่
ถึงจะเก่งอย่างไรทหารหมวกแดงก็เคยถูกโจรฯใต้อาร์เคเคฆ่าตัดคอมาแล้ว
ทั้งนี้เพราะการสร้างนักรบของเราขึ้นมานั้นอยู่บนสมมติฐานการฝึกของทหาร
อเมริกันในสงครามโลกครั้งที่ 2
และไม่ได้ทบทวนแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ทันสถานการณ์
การสูญเสียของฝ่าย
เราในการต่อสู้กับโจรฯ ที่ 3
จชต.ซึ่งได้รับการฝึกมาในรูปแบบการก่อการร้ายของกลุ่มมุสลิมหัวรุนแรงใน
ขบวนการก่อการร้ายของเจไอ (เจอาร์อิสลามิยาร์) ซึ่งอยู่ในอินโดนีเซีย
รับผิดชอบทางด้านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ บรูไน, ฟิลิปปินส์,
อินโดนีเซีย, มาเลเซียและไทย ฯลฯ นับรบที่ดีเด่นของเราจึงถูกฆ่าตัดคอได้
ประกอบกับการไม่เข้าใจสถานการณ์แวดล้อมของผู้บังคับหน่วยฝ่ายเราจึงมีการตายรายวัน จากการกระทำของฝ่ายโจรฯ เป็นประจำเช่นทุกวันนี้
หน่วย
บังคับบัญชาในสนามไม่เข้าใจคุณลักษณะของหน่วยทหารหมวกแดง
ประการสำคัญไม่เข้าใจสถานการณ์ฝ่ายศัตรู (ไม่รู้เขา)
แม้กระทั่งปัจจุบันนี้ สถิติการตายรายวันของฝ่ายเราโดยฝีมือโจรฯ
นอกจากมีชาวบ้านทั้งพุทธและมุสลิมแล้วก็จะมีการตายของทหารปรากฏอยู่บ่อยๆ
ถึง
เวลาแล้วที่ผู้บังคับบัญชาทหารระดับสูงจะต้องนำมาใคร่ครวญ
ทำไมทหารใหม่ของเราใช้เวลาฝึก 1 ปีเสร็จแล้วจึงส่งลงสนามรบ
แต่ทหารอาร์เคเคของโจรฯ ฝึกอบรมเพียง 1 เดือน
ก็สามารถทำการสู้รบกับฝ่ายเรา
และสร้างความสูญเสียให้ฝ่ายเราอย่างมากมายต่อเนื่อง
ฝ่ายนายทหารก็เรียนกันมากมายและหลายหลักสูตร ก็ยังไม่สามารถเอาชนะโจรฯ
ตอน
เราเป็นนักเรียนนายร้อย ก่อนนอนหลังจากสวดมนต์เสร็จแล้ว
หัวหน้าตอนจะนำปฏิญาณทุกคนเปล่งเสียงดังๆ ว่า
"ตายในสนามรบเป็นเกียรติของทหาร" ทุกคนรู้สึกฮึกเหิม มีความรู้สึกว่า
"ตายเพื่อชาติเป็นเกียรติสูง"
พลีชีพเพื่อชาติเป็นเกียรติของตนเองและวงศ์ตระกูล
เวลาผ่านไปร่วม
60 ปี (นับจากชีวิตนักเรียนทหารของผู้เขียนซึ่งเดี๋ยวนี้อายุ 84 แล้ว)
ไม่ทราบว่าที่โรงนอนของนักเรียนนายร้อย จปร.เขาชะโงก เขายังเปล่งเสียงดังๆ
"ตายในสนามรบเป็นเกียรติของทหาร" อยู่หรือเปล่า
ที่ทบทวนความหลัง
การปลุกวิญญาณการต่อสู้ให้ซึมลึกเข้าไปในสายเลือดและสมองของนักรบหนุ่ม
ก็เพราะเมื่อเร็วๆ นี้ได้ฟังจากตำรวจยศ
พ.ต.ท.ซึ่งเขามีเพื่อนนายทหารเตรียมทหารรุ่นเดียวกัน เป็น
ผบ.ค่ายฝึกรบพิเศษแห่งหนึ่งที่ภาคกลาง
กำลังผลิตกำลังพลเพื่อส่งไปปฏิบัติภารกิจพิเศษตามหลักสูตรตลอด 3 เดือน
ฝึกหนัก โดยที่กำลังพลรับการฝึกไม่รู้ว่าฝึกเสร็จแล้วภารกิจคืออะไร
เพราะยังไม่มีคำสั่ง
จนกระทั่งเมื่อเหลือเวลาอีก 7 วัน
สุดท้ายก่อนจบ ผบ.ค่ายฝึกก็เอาคำสั่งมาอ่านให้ฟัง
ทุกคนเงียบกริบเพราะคำสั่งนั้นทุกคนต้องไปปฏิบัติหน้าที่ของหน่วยที่อยู่ที่
3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
รุ่งขึ้นตอนเช้าตรวจยอดปรากฏว่ากำลังพลหายไป
ประมาณ 10 นาย ทำให้บรรดาผู้รับผิดชอบการฝึกละครฝึกต่างๆ
วิ่งตามหากันจ้าละหวั่น ได้ตัวกลับมาหมด
สถานการณ์เช่นนี้สะท้อนให้
เห็นว่าขวัญทหารของกองทัพโดยรวมนั้น อยู่ในเกณฑ์ต่ำ
ฟังดูจากคนที่รู้จักทั่วไปไม่จำเพาะทหาร
เขาพูดว่าตอนนี้ลูกหลานทหารไม่อยากไปใต้เพราะมีแต่ตายกับตาย
เมื่อจำเป็นต้องไปก็พยายามรักษาตัวให้กลับมาทั้งที่มีลมหายใจ
ไม่ต้องการนอนในโลงศพมีธงชาติคลุม ไม่ต้องการเงินตอบแทน (500,000 บ.)
และเกียรติที่ได้เลื่อนยศสูงขึ้น
พอจบการฝึกที่ค่ายฝึกรบพิเศษนักรบ
"แคร็ก ยูนิท"
เหล่านี้นั่งรถผ่านซุ้มประตูใหญ่สูงสง่าของค่ายฝึกของนักรบใหม่
มีคำขวัญตัวใหญ่ๆ เขียนว่า "พลีชีพ เพื่อชาติ" ทุกคนช็อค ก็ว่าได้
"กูตายแน่?" ใจของทุกคนที่กังวลอยู่แล้วตั้งแต่ได้รับคำสั่งไป 3
จชต.หล่นวูบลงไปอยู่ที่ตาตุ่ม เพราะข่าวตายของพลเรือนตำรวจ ทหาร
มีทุกวันในหน้าหนังสือพิมพ์
คำขวัญเช่นนี้ในสถานการณ์ที่ 3
จชต.เป็นลบแทนที่จะปลุกใจแต่ทำให้หมดใจหรือถอดใจเสียมากกว่า
ก็คงจะต้องมอบให้ กรมกำลังพล และกรมกิจการพลเรือนของเหล่าทัพ
นำไปเป็นข้อคิดและหาทางแก้ไข "ทหารขวัญตก"
ถึงเวลาที่กองทัพบกจะ
ต้องคิดว่าทำไมทหารอาร์เคเคของโจรฯ
ฝึกเพียงเดือนเดียวแต่สามารถสู้กับทหารของเราซึ่งฝึกมาอย่างน้อย 1 ปี
ก่อนส่งลงมาประจำการที่ 3 จชต. คำตอบก็คือการฝึกสอนอบรมของโจรฯนั้น
สอนให้คิดเป็น ทำเป็น โดยไม่มีคนสั่ง เพราะเป็นการรบ (การก่อการร้าย)
ที่ไร้ผู้นำ แต่เรานั้นสอนให้รายงานและรอฟังคำสั่ง
ประการสำคัญ
อาร์เคเคมีประสบการณ์ผ่านการรบมากคร่ำหวอดในการต่อสู้เพื่อแลกกับชีวิต
ทหารเราผลัดเปลี่ยนทุกปี การยิงปืนด้วยกระสุนจริง ก็ยิงเป้ากระดาษ
แต่อาร์เคเคยิงเป้ามีชีวิตยิงแม่นขึ้นโดยไม่ต้องเล็ง
เป็นภารกิจต่อสู้ยิงตามสัญชาตญาณ ปืนจี้เป้า แล้วสับไก
การใช้ระเบิดแสวงเครื่องด้วยการกดรีโมตมักไม่พลาด
ทหารใหม่ได้รับ
การฝึกยิงแบบประณีต โอกาสที่จะได้ฝึกยิงต่อสู้ไม่มี เมื่อปะทะกับโจรฯ
ยิงกันเป็นชุด 5-10 นาที โจรฯไม่ตาย ครูฝึก
มิได้สอนว่าการยิงในสนามรบนั้นยิงอย่างไร
ยิงไปที่ไหนเมื่อเกิดเหตุการณ์ปะทะเกิดขึ้น
ตัวอย่างสถานการณ์จริง
0600 ของ 4 ต.ค.51 พ.ต.อ.นฤชา สุวรรณลาภา ผกก.สภ.ปะนาเระ จ.ปัตตานี
ได้รับรายงานว่าทหาร 2 นาย ถูกยิงตาย บนถนนสายปาลัส อ.ปะนาเระ ที่หมู่ 2
บ้านปากคลอง ต.คอน ทหารที่เสียชีวิต ชื่อ พลฯสมหมาย พลแสน อายุ 22 ปี และ
พลฯกิติพงษ์ บุญเพ็ง อายุ 22 ปี ทั้งสองสังกัด ร้อย ร.133
ถูกยิงด้วยอาวุธปืนสงครามร่างพรุน เสียชีวิตทันทีในที่เกิดเหตุ
หลังจากเสร็จภารกิจส่งครูที่ ร.ร.บ้านปากคลองแล้ว พลทหารทั้งสองก็ขี่
จยย.กลับฐาน โดยมีเพื่อนทหารอีก 2 นาย ขับ
จยย.นำหน้าขณะที่ชะลอความเร็วก่อนถึงทาง 3 แยกข้างหน้า โจรฯบนรถกระบะ 5 คน
ขับรถเทียบแล้วลั่นไกพร้อมกันทั้ง 5 กระบอก พลฯสมหมาย และ พลฯกิติพงษ์
กระเด็นตกรถล้มกลิ้ง โจรฯหยุดรถ 2 คน ลงมายิงจ่อหัวแล้วโจรฯก็ริบปืนไป 2
กระบอก เป็น M 16 และ M 203 ส่วนเพื่อนทหารอีก 2
ที่อยู่ข้างหน้าหยุดรถลงยิงต่อสู้ปะทะกันประมาณ 5 นาที โจรฯขึ้นรถล่าถอยไป
ข้อสังเกต สำหรับผู้บังคับบัญชาหน่วยทหารทุกระดับ
1.พลทหารของกองทัพ ยังต้องมีผู้บังคับบัญชา ไม่สามารถทำงานเป็นอิสระ เช่นในสถานการณ์นี้ เท่ากับส่งทหารไปให้โจรฯฆ่า
2.สถานการณ์
ทางทหารที่ 3 จชต.ในพื้นที่แดงนั้น ไม่ควรส่งกำลังออกไปปฏิบัติการน้อยกว่า
1 หมู่ ทุกภารกิจ เพราะชุดลาดตระเวนที่มีกำลังเพียง 4-6 นายนั้น
ไม่สามารถดำเนินกลยุทธ์ได้จะตกเป็นเหยื่อของโจรฯด้วยยุทธวิธี
รวมตัวเร็ว-ตีเร็ว-หนีเร็ว ณ จุดปะทะ โจรฯจะมีกำลังเหนือกว่าฝ่ายเราเสมอ
(15-20 คน)
3.พลทหารทั้ง 4 คงเป็นทหารปีที่ 1 ฝึกเสร็จลงสนามประสบการณ์น้อยมาก ยากที่จะสู้กับโจรฯ แม้แต่การใช้อาวุธประจำกาย
ใน
สถานการณ์นี้ พลทหาร 2
นายที่ลงมายิงช่วยควรจะได้รับการฝึกสอนว่าควรวางเป้าหมายการยิงไว้ที่ไหน
สถานการณ์นี้มี 2 เป้าหมาย คือ ตัวโจรฯ และรถกระบะ ซึ่งมีความสำคัญเท่าๆ
กับตัวโจรฯ เพราะเป้าใหญ่
ถ้าสามารถยิงทำลายยางได้ก็จะทำให้รถเคลื่อนย้ายไม่ได้
จากนั้นก็เลือกยิงโจรฯ
หรือถ้ากระบะรถถูกยิงพรุนไปซ่อมที่ไหนก็ตามจับได้ง่าย
แต่การยิงคน
(โจรฯ) นั้น ถ้าไม่ฝึกมาในสถานการณ์คับขัน ตื่นเต้นเช่นนี้
คงหวังผลจากการยิงของทหารใหม่ได้ยาก เพราะเป้าเคลื่อนที่ตลอดเวลา
นอก
จากบทเรียนนี้ จะให้ข้อคิดเรื่อง
ขวัญกำลังพลของทหารในกองทัพที่กองทัพบกจะต้องนำไปพิจารณาเป็นการด่วนแล้ว
จากสถานการณ์ที่ทหาร 4 นาย เสียชีวิต 2 นาย เมื่อ 4 ตุลาคม 2551
หลังจากจบภารกิจคุ้มครองครูแล้วเดินทางกลับหน่วย ถูกโจรฯ
บนรถกระบะฆ่าตายบนถนน เพื่อป้องกันมิให้การสูญเสียทำนองนี้เกิดขึ้นซ้ำ
ขอแนะนำดังนี้
1.ผู้บังคับบัญชาต้องไม่ปล่อยให้พลทหารไปปฏิบัติ
หน้าที่ตามลำพัง ในสถานการณ์ที่ 3 จชต.ทหารต้องมีผู้บังคับบัญชา
(ประทวนหรือสัญญาบัตร)
การประกอบกำลังเฉพาะกิจต้องสามารถแยกส่วนเพื่อดำเนินกลยุทธ์ได้
2.ต้องอบรมทบทวนการยิงปืนทางยุทธวิธี, การใช้ที่กำบัง, การวางเป้าหมายในการยิง (ลำดับความสำคัญของเป้าหมาย)
บท
เรียนจากการรบตอน "พลีชีพ เพื่อชาติ" ของพลฯสมหมาย และ พลฯกิติพงษ์
ถ้าพลทหาร 2 นาย ที่กระโดดลงมายิงช่วยได้รับการฝึก
การใช้อาวุธในการต่อสู้จากหน่วยฝึกจากครูฝึกที่มีทักษะกรำศึกมานาน
แม้มีเพียง 2 นาย ก็คงได้ทุนคืน พลฯสมหมาย และ พลฯกิติพงษ์
มิได้ตายฟรีแน่นอน
http://www.matichon.co.th/matichon/view_news.php?newsid=01act04201051§ionid=0130&day=2008-10-20
ขอคุณพระศรีรัตนตรัยและสิ่งศักดิ์สิทธิในสากลโลก อวยพรให้ทุกทหาร ทุกท่านมีความสุข สมหวัง สุขภาพแข็งแรง ปลอดภัย ครับ