หน้าแรก    ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบคำถาม    เข้าสู่ระบบ      


มาเรียนเรื่องระเบิดมือที่ผมได้ปาแค่ลูกซ้อมกัน

โดยคุณ : economic เมื่อวันที่ : 13/10/2008 18:01:44

           ลูกระเบิดเป็นอาวุธชนิดหนึ่งที่ทหารชอบใช้ในสงครามมาเป็นเวลานานหลายร้อยปีมาแล้ว  เชื่อกันว่าต้นกำเนิดมาจากประเทศจีน  เพราะเป็นประเทศแรกที่รู้จักใช้ดินปืนซึ่งเป็นส่วนประกอบที่สำคัญยิ่งของลูกระเบิด   ภายหลัง ประมาณคริสตวรรษที่  15  และ  16  คนยุโรปจึงได้นำมาดัดแปลงเป็นลูกระเบิดมีทั้งลูกระเบิดมือ  และลูกระเบิดที่ยิงด้วยปืน

             ลูกระเบิดในยุคต้น   ภาชนะภายนอกทำด้วยโลหะเช่นเหล็กหล่อโดยภายในบรรจุด้วยดินปืน  ผู้ใช้เพียงแต่แกะสลักออกและรีบขว้างออกไปให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้  แต่ถ้าพลาดก็จะระเบิดคามือผู้ขว้าง  ซึ่งในยุคแรกจะพบได้บ่อยครั้ง   อย่างไรก็ตามได้มีการพัฒนาและปรับปรุงแก้ไขตลอด  พอถึงคริสตวรรษที่ 18  ลูกระเบิดเป็นที่นิยมมากสำหรับพวกทหารราบ  โดยเฉพาะในสงครามโลกครั้งที่ 1    ทหารราบจะใช้ลูกระเบิดมือโยน เพื่อหยุดพวกยานยนต์หุ้มเกราะหรือรถถัง    หรือไม่ก็หลบอยู่ในมุมและแอบปาลูกระเบิดไปยังศัตรู  โดยไม่ให้ศัตรูเห็นตัว    พอถึงจุดนี้ต้องขอขอบคุณระบบจุดระเบิดสมัยใหม่  ที่ทำให้ลูกระเบิดเหล่านี้ใช้ได้อย่างค่อนข้างปลอดภัย    และขณะเดียวกัน ต้องขอตำหนิด้วยเช่นกัน ที่พวกผู้ก่อการร้ายหรือพวกจิตวิปริตก็นิยมนำไปใช้   เพราะการใช้ง่ายและสะดวกนั่นเอง

             เราจะนำคุณเข้าไปดูภายในของลูกระเบิดกันว่า  มีกลไกพิเศษพิศดารอย่างไร  ก่อนที่ลูกระเบิดมันจะระเบิดออกมา 

หลักการพื้นฐานของลูกระเบิด

           เราสามารถพูดได้ว่า ลูกระเบิด เป็นระเบิดชนิดหนึ่งในระเบิดหลายๆชนิดที่ใช้ได้ในระยะใกล้  หลักการพื้นฐานของลูกระเบิดนั้นง่ายมาก   โดยภายในจะบรรจุสารระเบิด พวกดินปืน  หรือ ไนโตรกลีเซอรีน  เป็นต้น  สารพวกนี้เมื่อได้รับการจุดระเบิดเล็กๆขึ้นมันจะระเบิดตัวเองอย่างรุนแรงขึ้นมา     มีสารหลายชนิดที่นำมาทำระเบิด ขึ้นอยู่กับว่าผู้ใช้มีจุดประสงค์ต้องการทำลายอะไร  อย่างเช่น สารระเบิดบางชนิดให้ควัน   แต่บางชนิดให้ไฟ  และบางชนิดให้ทั้งควันและไฟ  และมีบางชนิดอันตรายมาก  ให้ควันพิษออกมา

             ระบบการจุดระเบิดมีมากมายหลากหลายประเภท  แต่ที่พบกันทั่วไป  แยกออกเป็น  2   ประเภทใหญ่คือ

             1.  Time  delay  grenade(ไทม์ดีเลย์ กรีเนท)    ลูกระเบิดแบบหน่วงเวลา

             2.  Impact grenade (อิมแพคกรีเนท)   ลูกระเบิดแบบกระแทก

             ระบบการระเบิดทั้งสองแบบถูกออกแบบอย่างดี  เพื่อให้ผู้ใช้ปลอดภัย  โดยระเบิดพวกนี้จะระเบิดก็ต่อเมื่อห่างจากผู้ขว้างหรือผู้ยิงไประยะหนึ่งแล้ว    โดยระบบแบบกระแทก  ลูกระเบิดจะต้องกระแทกกับของแข็งด้วยความเร็วสูงระดับหนึ่งก่อนจึงจะระเบิด    ส่วนระบบการหน่วงเวลา   ภายในมีกลไกพิเศษ  ซึ่งสามารถหน่วงเวลาได้ระยะหนึ่งจึงจะระเบิด   ซึ่งปกติจะใช้เวลา 4 วินาที

             ทั้งระเบิดแบบหน่วงเวลาและกระแทก  เราสามารถทำเองได้ง่ายที่สุดในบ้าน  โดยหาขวดแก้วอะไรก็ได้มาขวดหนึ่ง  นำของเหลวที่จุดระเบิดได้ง่าย บรรจุลงไปในขวด  นำฝามาปิด  ให้เจาะรู แล้วแยงผ้าผืนเล็กลงไปในรูจนถึงของเหลวนั้น  เสร็จแล้วถ้าต้องการจะใช้  ให้จุดไฟที่ผ้า  เว้นระยะไว้สักระยะหนึ่งและขว้างออกไป   ขณะที่มันกำลังลอยตัวอยู่ ไฟที่ผ้าจะมีเวลาพอที่จะจุดระเบิดให้กับของเหลว เมื่อขวดกระทบกับพื้นและแตกออก มันจะระเบิดอย่างรุนแรง ทั้งของเหลว และเศษขวดจะกระจายออก  เป็นบริเวณกว้าง  ระเบิดแบบนี้ มีชื่อเรียกว่า ระเบิดขวด     นักศึกษาหัวรุนแรงหลายประเทศชอบใช้กัน  ระบบง่ายๆทั้งสองระบบรวมอยู่ในระเบิดขวดนั่นเอง  แต่ไม่ค่อยปลอดภัย  จึงมักเกิดอุบัติเหตุ  เช่นเกิดการระเบิดขึ้นได้เองก่อนจะขว้างออกไป  จึงได้มีการพัฒนาในวงการทหารอย่างต่อเนื่อง  ซึ่งการระเบิดจะต้องปลอดภัยและมีระบบที่เสถียรภาพมากกว่านี้

ลูกระเบิดแบบหน่วงเวลา

          ลูกระเบิดประเภทนี้ เป็นที่นิยมมากในวงการทหาร  เรารู้จักกันว่า ลูกระเบิดมือ  จุดมุ่งหมายแรกสุดในการใช้ลูกระเบิดมือคือการฆ่า  หรือหยุดยั้งศัตรู  ให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้  และเพื่อให้เกิดอำนาจการทำลายสูงสุด   ภายในของลูกระเบิดมือจะบรรจุชิ้นส่วนโลหะ ซึ่งจะกระจายตัวออกทุกทิศทุกทางเมื่อมันเกิดการระเบิดขึ้น

            

ทหารสาธิตการขว้างระเบิดมือที่ถูกต้อง

            คำว่า  grenade (กรีเนท) หรือลูกระเบิดมือ   ใช้กันในฝรั่งเศสเมื่อคริสตวรรษที่ 16 ซึ่งตอนนั้นไม่ได้ใช้คำว่า grenade  แต่ใช้เป็นคำว่า grenadier  เป็นคำรวมของคำว่า grenade  กับ คำว่า soldier  ซึ่งแปลว่าทหาร    พอถึงคริสตวรรษที่ 20  มีการทำลูกระเบิดมือกันมากเพื่อใช้ในสงคราม  โดยมีลักษณะคล้ายน้อยหน่า  จึงนำคำว่า grenade  มาใช้ใหม่

            ลูกระเบิดมือที่ใช้ในสงครามโลกครั้งที่ 1   และครั้งที่ 2 ถูกออกแบบให้ทนทานต่อสภาวะอากาศต่างๆ  เช่นความร้อน ความเย็น เป็นต้น   และจะต้องง่ายต่อการผลิต    ระบบการหน่วงเวลาซึ่งเป็นที่นิยมกันคือระบบทางเมคคานิกส์ หรือทางกล  ดังรูปข้างล่างนี้  ใช้ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 

คำศัพท์ภายในรูปภาพ

Safety Pin   :   สลักนิรภัย          Striker  :   เข็มกระแทก         Filling  Hole  :   รูบรรจุสารระเบิด     Stiker Spring  :  สปริงดันเข็มกระแทก    Explosive Material  :  สารระเบิด     Chemical   Delay  :  สารเคมีหน่วงเวลา    Serrated  Cast  Iron Shell :  เปลือกทำด้วยเหล็กหล่อ     Detonator  :  ตัวจุดระเบิด   Stiker Lever  :   คานงัดเข็มกระแทก

เปลือกภายนอกของลูกระเบิดมือทำด้วยเหล็กหล่อ    ภายในบรรจุสารระเบิด    มีระบบจุดระเบิดโดยใช้เข็มกระแทก    และเจาะรูใส่สารระเบิดด้านบน    การจุดระเบิดเริ่มต้นจากสปริง  ซึ่งจะคอยดันตัวเข็มกระแทกให้พุ่งเข้าหา  Percussion cap  แต่ที่ยังไม่พุ่งลงมาก็เพราะว่า  คานด้านนอกงัดเข็มกระแทกไว้อยู่  โดยมีห่วงสลักนิรภัย คอยดันไม่ให้คานกระดก    เมื่อผู้ใช้ดึงห่วงนิรภัยออก  ขั้นตอนการระเบิดเริ่มต้นขึ้น  ดังต่อไปนี้

          ลูกระเบิดแบบหน่วงเวลาโดยรวมแล้วมีประสิทธิภาพมาก  แต่มีข้อด้อยอยู่มากเหมือนกัน    ปัญหาใหญ่ข้อหนึ่งก็คือ    เราไม่สามารถกำหนดเวลาการระเบิดให้มีความแน่นอนได้    เพราะการไหม้ของสารเคมี  ยากที่จะควบคุมให้มีความเสถียรภาพ  ดังนั้นเวลาการไหม้ของสารเคมี  ที่คำนวณกันว่าน่าจะเป็น 4 วินาที อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงจาก  2  ถึง  6  วินาที    และยังมีปัญหาใหญ่อีกประการหนึ่งคือ  ขณะที่ผู้ใช้ขว้างลูกระเบิดออกไปที่ศัตรูนั้น   ในช่วงเวลาที่เกิดการหน่วง  และยังไม่มีการระเบิด  ศัตรูมีโอกาสเข้ามาชาร์จถึงตัวได้  หรืออาจจะพอมีเวลาหยิบลูกระเบิดที่ผู้ขว้างไปนั้น ขว้างกลับมาก็เป็นไปได้

           ด้วยเหตุผลนี้นี่เอง  จึงอาจจะต้องเปลี่ยนการใช้ระเบิดแบบหน่วงเวลาไปเป็นแบบกระแทกแทน    เพราะระเบิดแบบกระแทกนี้  ศัตรูไม่มีโอกาสเลยในการขว้างกลับ  เรามาดูหลักการของลูกระเบิดแบบนี้กัน

ลูกระเบิดแบบกระแทก

           ลูกระเบิดแบบนี้  จะระเบิดทันที  เมื่อมันกระทบกับพื้นดิน  โดยปกติทหารไม่จำเป็นจะต้องขว้างลูกระเบิดประเภทนี้แบบเดียวกับระเบิดมือ   แต่ใช้เครื่องยิงลูกระเบิดแทนได้  เพื่อทำให้ลูกระเบิดมีความเร็วที่สูงพอ  และให้มีการควงหรือหมุนด้วย

           ในวงการทหารมักนิยมนำเครื่องยิงลูกระเบิดติดกับปืนไรเฟิล   ภายในจะใช้แก๊สแรงดันสูงอัดให้ลูกระเบิดพุ่งตัวออกมา

ทหารใช้ปืน M-16  เล็งไปยังเป้าหมาย  โดยติดเครื่องยิงลูกระเบิดไว้ด้านล่างของตัวปืน

ประเทศรัสเซีย ได้ออกแบบ ระบบจรวดที่ใช้ในการยิงลูกระเบิดซึ่งมีความแน่นอนและแม่นยำมาก  นักรบชาวอัฟกานิสถาน (อัลคาดา)  และทหารในหลายประเทศเป็นลูกค้าของรัสเซีย

 แผนภาพข้างล่างแสดงถึงกลไกของลูกระเบิดแบบแรงกระแทก

คำศัพท์ภายในรูปภาพ

Impact  Trigger   :   หัวกระแทก          Firing Pin   :   เข็มจุดระเบิด       Weighted Pins  :   น้ำหนัก         Detonator  :  ตัวจุดระเบิด   Flight Fin  :   ปีก       Main Explosive Material  :  สารระเบิด

           ลูกระเบิดถูกออกแบบโดยใช้หลักอากาศพลศาสตร์  เพื่อลดแรงต้านของอากาศ  จึงมีลักษณะเรียว แหลมที่หัว  หัวกระแทกที่อยู่ทางด้านหน้า  จะพุ่งกระทบเข้ากับเป้าหมาย  อัดเข็มจุดระเบิดให้พุ่งเข้าไปข้างใน  แต่ข้อพิเศษของระเบิดลักษณะนี้คือ  ถ้าลูกกระสุนไม่มีการหมุนคือวางไว้เฉย หรือตกลงพื้น  เข็มจุดระเบิดจะไม่สามารถกระแทกไปถึง  Percussion cap  และทำให้เกิดการระเบิดได้    หัวใจการระเบิดแบบนี้อยู่ที่การหมุน  เมื่อมันถูกยิงออกจากเครื่องยิง  ปีกจะกางออก ตำแหน่ง และลักษณะของปีกถูกออกแบบมาเป็นพิเศษ เพื่อจะทำให้ลูกกระสุนหมุนควง  หรืออาจจะเซาะร่องในกระบอกที่ใช้ยิงให้เป็นเกลียว  เมื่อกระสุนถูกยิงออกมามันก็สามารถควงสว่านได้เช่นเดียวกัน

           การหมุนควงสว่านของลูกระเบิดทำให้เกิดแรงสู่ศูนย์กลาง  ซึ่งจะผลักหรือดันน้ำหนักให้ออกจากแนวรัศมี    เมื่อน้ำหนักถูกดันออกไป  ตัวจุดระเบิดที่ถูกน้ำหนักกดและงัดไว้ จะถูกสปริงดันออกมาข้างหน้า  แต่ยังไม่ระเบิด เพราะเข็มจุดระเบิดยังไม่กระแทกถูก  รอจนกระทั่ง หัวไปกระแทกกับของแข็ง และยุบตัวลงมา กดเข็มจุดระเบิดกระแทกเข้ากับ  Percussion cap  ทำให้เกิดการระเบิดเล็กๆขึ้น  ไปกระตุ้นสารระเบิดทั้งลูกให้ระเบิดขึ้นตาม  

มีแนวคิดการจุดระเบิดมากมาย หลากหลายโหล  แต่ว่าจะออกแบบพิศดารแค่ไหนก็ตาม ล้วนมีหลักการพื้นฐานเหมือนกัน  ในอนาคต ระบบกลไกการจุดระเบิดจะถูกแทนที่ด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์เกือบทั้งหมด    ยกตัวอย่าง  ระบบหน่วงเวลา  จะใช้นาฬิกาดิจิตอล   และระบบไฟฟ้าเช่น รีเลย์ ควบคุมเข็มจุดระเบิดแทน   เมื่อผู้ใช้ถอดสลักนิรภัยออก   ระบบอิเล็กทรอนิกส์จะเริ่มทำให้นาฬิกาดิจิตอลนับเวลา   เมื่อถึงเวลาที่ตั้งไว้  ระบบไฟฟ้าจะส่งสัญญาณให้รีเลย์ปล่อยเข็มจุดระเบิดพุ่งเข้าไปชนกับ  Percussion cap  ด้วยการใช้ระบบอิเล็กทรอนิกส์  จะช่วยให้การหน่วงเวลามีความแม่นยำและแน่นอนมาก

           การใช้ระบบไฟฟ้าเข้ามาช่วยในระบบจุดระเบิด  เป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญยิ่งสำหรับลูกระเบิดสมัยใหม่    และเมื่อมีการใช้เซนเซอร์ไฟฟ้า และคอมพิวเตอร์เข้ามาด้วยแล้ว  ทำให้ผู้ใช้สามารถโปรแกรม  ให้มันไประเบิดที่ตรงไหน หรือเวลาใดก็ได้  ความถูกต้องแม่นยำนั้นเหนือคาดคิด

           ถ้าคุณต้องการเรียนรู้การทำลูกระเบิดให้ละเอียดมากกว่าที่คุณเห็นในบทความนี้   คุณสามารถกดเข้าไปในลิงค์เกี่ยวข้องข้างล่างได้ อย่างไรก็ตามโฮมเพจหน้านี้ไม่ได้สนับสนุนให้สร้างระเบิดแต่อย่างใด เพียงแต่บอกหลักการพื้นฐานให้ทราบไว้แต่เพียงเท่านั้น  ซึ่งอนาคตไม่แน่คุณอาจจะได้พบกับมันในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งก็ได้

รูปร่างของลูกระเบิดมือแบบต่างๆ

เครื่องยิงลูกระเบิดสามารถยิงต่อเนื่องเป็นชุดได้

ก็อบมาจาก

http://www.rmutphysics.com/CHARUD/naturemystery/sci2/grenade/grenade.htm
ที่เว็บเค้ามีแฟชให้ดูด้วยนะ




ความคิดเห็นที่ 1


ส่วนของผมนะเหรอตอนเป็นทหารเกณฑ์อยู่ครูฝึกเขาให้ขว้างก้อนหินแทนเขาบอกว่าตอนนี้กองทัพงบไม่มีแค่ลำพังลูกซ้อมก็น่าจะหลายตังค์อยู่ลูกซ้อมนะมีแต่ไม่ครบทุกคนรุ่นผมมีตั้ง70คนจะให้มีทุกคนเป็นไปไม่ได้ยังดีตอนเรียนเขาแบ่งหมู่กันเรียนหมู่หนึ่งประมาณ11คนแต่ลูกซ้อมยังไม่ครบมีแค่3-4ลูกคนที่เหลือไปหาก้อนหินมา
โดยคุณ ttrc เมื่อวันที่ 13/10/2008 07:01:45