อยากทราบราคาเอฟ/เอ-18รุ่นเอ/บี/ซี/ดี มือ2 จากสหรัฐว่าตกลำละเท่าไหร่ มีความเป็นไปได้มั้ยว่า กองบินราชนาวีไทยจะมีโอกาสได้ใช้ ในใจผม คิดว่าถ้าเอามาปรับปรุงใฟม่คล้ายๆ โครงการ เอฟ-16 เอดีเอฟ อาจจะทำให้ เอฟ/เอ18 มือ2 ได้รับความนิยมไม่แพ้เอฟ16 เลยทีเดียว เช่นการ ติด คตั้งระบบการยิง เอไอเอ็ม-120 เอไอเอม-9เอ็ม การใช้ จรวด ต่อต้านเรือผิวน้าม เอจีเอ็ม-84 จรวดต่อต้านฐานเรด้า เอจีเอ็ม-88 หรือ เอจีเอ็ม-65 แล้ว พวก ระเบิด GBU ต่างๆผมว่า น่าจะดีนะแต่ผมคิดว่า อยากทราบราคามือ2ของเอฟ/เอ-18 ว่ามันเท่าไหร่แล้วถ้าปรับปรุงสเปคเครื่อง แบบนั้น จะใช้งบประมาณเท่าไหร่ ทร.ไทยจะมีโอกาสได้ใช้มันมั้ย?
ขอเสนอว่า JAS-39C 6 เครื่อง + JAS-39D 2 เครื่อง (ถ้าจะใจดีแถม S-100D AEW&C ให้อีก 1 เครื่อง) น่าสนใจนะครับ ใช้ได้ครบภารกิจ โดยเฉพาะหมัดเด็ด RBS-15F แล้วก็ใช้ facility ต่างๆ ร่วมกับ ทอ. ได้สบายๆ data-link กับ ทอ. ก็ได้อีกสบายๆ เหมือนกัน***
เอ......ได้ข่าวอะไรมาเหรอครับอาจารย์ หรือว่าล๊อต 2 จะไม่ใช่ 6 ตัว แต่กลายเป็น 8 ตัวซะแล้วครับ
ส่วนตัวมองว่า บ.โจมตีประจำฐานบินชายฝั่งที่เหมาะกับกองทัพเรือในปัจจุบันนั้นควรจะเป็น บ.ขนาดกลางขึ้นไปที่มีสองเครื่องยนตร์มากกว่าครับ เพราะมีข้อได้เปรียบมากกว่า บ.ขนาดเล็ก ย.เดียว ตรงที่พิสัยการบินและน้ำหนักบรรทุกซึ่งเหมาะสำหรับการปฏิบัติการเหนือน่านน้ำเป็นระยะเวลานานๆและไกลกว่าครับ
ซึ่งโดยส่วนตัวคิดว่า กบร.น่าจะสนใจ F/A-18F ครับสำหรับ บ.ขับไล่/โจมตีสมรรถนะสูงถ้าไม่มองว่าจะต้องเป็น บ.ขึ้นลงทางดิ่งแบบ AV-8 Harrier หรือไม่เช่นนั้นก็อาจจะมองไปยัง บ.โจมตีแท้ๆ ซึ่งในปัจจุบันจะเหลือเพียง บ.ฝึก ย.Jet สมรรถนะสูงในตลาดเป็นส่วนใหญ่ซึ่ง บ.หลายแบบก็ดูไม่ตรงกับความต้องการของกองทัพเรืออยู่ดีครับในด้านน้ำหนักบรรทุกและพิสัยการบิน
อย่างไรก็ตามก็เป็นไปได้มากกว่าว่ากองทัพเรือจะยังคงไม่มีการจัดหา บ.โจมตีไอพ่นในอนาคตอันใกล้นี้ครับเนื่องด้วยหลายๆเหตุผลด้วยกันเช่น การขาดแคลนบุคลากร งบประมาณที่ได้รับ และความเร่งด่วนของโครงการจัดหาอื่นๆที่สำคัญกว่าครับ
แล้ว เอฟ/เอ-18 มือ2จะราคาเท่าไหร่ครับ ถ้ากองบินราชนาวีไทยจะจัดหามาใช้งานเป็นไปได้มั้ยว่าจะเปนของมาจากสหรัฐ เลยแบบไม่ได้มาจากสเปนหรือ ออสเตรเลีย แคนนาดา งบประมาณเท่าไหร่หรอถ้าจะจัดมาซัก16-20ลำ
ถ้าจะซื้อเจ้าต่อมหาภัยมือ 2 เหรอ. ผมว่าเอาของนาวิกโยธินน่าจะดีกว่าครับ โครงสร้างน่าจะมีความล้าน้อยกว่า เพราะว่าเอาลงเรือน้อย ใช้การหยุดเครื่องด้วยขอเกี่ยวน้อยกว่า เพราะถ้าเอาของราชนาวีมา คงต้องปรับปรุงโครงสร้างอีกเยอะนะครับ
F/A-18A/B ของสหรัฐฯ นอกจากรุ่น A+ ที่มีจำนวนเหลือไม่มากแล้ว น่าจะหมดอายุการใช้งานไปแล้ว สำหรับรุ่น C/D นั้น นย. และ ทร.สหรัฐฯ ใช้งานกันแบบคุ้มค่าคุ้มราคา เนื่องจากภารกิจเยอะทั้งในอิรัคและอัฟกานิสถาน จนโครงสร้างเจียนอยู่เจียนไปแล้วครับ โดยเฉพาะเครื่องที่ใช้งานบนเรือบรรทุก บ. (ซึ่ง F/A-18C บางส่วน ที่ผลิตในล็อตแรกๆ ปลดประจำการไปแล้ว โดย ทร.สหรัฐฯ ใช้ F/A-18E/F แทน) อีกทั้งโครงการ F-35B/C ก็ล่าช้า ส่งผลให้เครื่องรุ่นนี้ (ที่ผลิตในล็อตหลังๆ) ต้องอยู่ในประจำการนานขึ้นไปอีก (ปกติอายุการใช้งาน บ.ประจำเรือบรรทุก บ. คือ 20 ปี) จนทางสหรัฐฯ ต้องเปลี่ยนโครงสร้างลำตัวส่วนกลางเพื่อยืดอายุการใช้งานออกไปอีกระยะหนึ่ง ก่อนที่จะได้รับมอบ F-35 เข้าประจำการ สรุปแล้วไม่คุ้มครับ ที่ ทร. จะไปซื้อ F/A-18 มือสองของสหรัฐฯ มาใช้
ทร. เองมีแผนสำหรับ บ.ขับไล่โจมตีเอาไว้แล้ว จำนวน 8 เครื่อง ซึ่งน่าจะเป็นของใหม่เอี่ยม เนื่องจาก ทร. มีประสบการณ์ที่ไม่ดีนักกับ บ.มือสอง ไม่ว่าจะเป็น A-7 หรือ AV-8S
ขอเสนอว่า JAS-39C 6 เครื่อง + JAS-39D 2 เครื่อง (ถ้าจะใจดีแถม S-100D AEW&C ให้อีก 1 เครื่อง) น่าสนใจนะครับ ใช้ได้ครบภารกิจ โดยเฉพาะหมัดเด็ด RBS-15F แล้วก็ใช้ facility ต่างๆ ร่วมกับ ทอ. ได้สบายๆ data-link กับ ทอ. ก็ได้อีกสบายๆ เหมือนกัน
ปล. เสี่ยช่วยเขียนเชียร์หน่อยสิครับ งานนี้รับอีกหลายตังค์นะครับ
ผมคิดว่า.......ดีกว่า เอ7แน่นอน ครับเพราะ อย่างน้อยๆ กองบินนาวีสหรัฐ
และ นาวิกโยธิน สหรัฐ ยังใช้งานอยู่ แล้วอะไหล่สนับสนุน น่าจะมีนะครับเพราะ ยังอยู่ในสายการผลิต เพราะ ทร.ไทยซื้อเอ7 มาตอนที่เขาปลดประจำการหมดแล้ว แต่ เอฟ/เอ18 ยังต้องใช้งานอีก8-20ปีผมว่า
กว่าเอฟ-35จะทอยเข้าประจำการ ครบ ก้อน่าจะหลายปีนะครับ ยิ่ง สหรัฐเจอ ปัญหา ด้านเศรษฐกิจ เอฟ35 น่าจะยังเข้าประจำการไม่เต็มที่ เอฟ/เอ18น่าจะยังมีความจำเป็นต้องใช้ต่อ เอีผมแปลกใจว่า ทำไม กองทัพอากาศสหรัฐยังมีเอฟ-16เอ/บีประจำการอยู่ แต่ใช่ หน่วยบินป้องกันภัยทางอากาศท้องถิ่น หรือป่าว ? แต่อยากทราบราคา เอฟ/เอ-18 มือ2 หน่อยครับ ว่าราคาประมาณเท่าไหร่ ถ้ามาปรับปรุงใหม่จะแพงกว่า เอฟ-16เอดีเอฟ มากมั้ยครับ
กำลังรบทางอากาศของสหรัฐฯยั้นจะแบ่งเป็นสองส่วนคือ USAF ซึ่งเป็นกำลังหลักเหล่าทัพและ ANG(Air National Guard)ซึ่งเป็นกำลังทางอากาศป้องกันภายในพื้นที่รับผิดชอบของแต่ละมลรัฐ(สหรัฐฯเป็นประเทศที่ใหญ่และแบ่งเป็นหลายมลรัฐ) ซึ่งนักบินของ ANG ส่วนหนึ่งจะเป็นกำลังสำรองครับ เช่นบางคนเป็น ทนาย หมอ วิศวกร นักธุรกิจแต่มีความสามารถในการขับเครื่องบินก็มาเข้ารับฝึกในส่วนANGได้
อย่างไรก็ตามเท่าที่ทราบ F-16A/B ที่เคยประจำการใน ANG นั้นปัจจุบันได้ถูกปลดประจำการไปหมดแล้วครับ
สภาพโครงสร้างเครื่องนั้นมีผลต่อการตัดสินใจซื้อเครื่องมือสองมาใช้งานต่อมากครับ เพราะเครื่องแต่ละแบบจะมีอายุใช้งานของตัวเองอยู่ ซึ่ง บ.ที่ปฏิบัติการจากเรือบรรทุกเครื่องบินเช่น F/A-18C/D ของกองทัพเรือและนาวิกโยธินสหรัฐฯจะมีความล้าของโครงสร้างสูงกว่าปกติ ซึ่งอายุการใช้งานแต่ละเครื่องปัจจุบันก็เกิน 15ปีเป็นส่วนใหญ่ และผ่านการซ่อมใหญ่มาหลายครั้งแล้วด้วย
ถึงแม้ว่า F/A-18C/D นั้นจะมีผู้ใช้หลายประเทศและสายการผลิตอะไหล่ต่างๆจะมีอยู่อีกนานก็ตาม แต่ถ้าเป็นเครื่องมือสองของสหรัฐฯนั้นตอนที่ปลดคงจะมีสภาพไม่ปลอดภัยที่จะทำการบินแล้วครับเพราะโครงสร้างหลักๆหมดสภาพแล้วซ่อมไปก็ไม่คุ้ม ซื้อเครื่องใหม่น่าจะเหมาะกว่าครับ
ถ้าเทียบราคาของ F/A-18F น่าจะตกเฉลี่ยลำละ $60-70million สำหรับ Block II ครับ โครงการที่ออสเตรเลียจะจัดหาSuper Hornet มาแทน F-111 ในอนาคตจำนวน 24ลำนี้ก็จะใช้งบประมาณราว $3 Billion ครับซึ่งรวมทั้งตัวเครื่องระบบอุปกรณ์ อาวุธ ระบบสนับสนุนและการฝึกด้วยแล้ว ซึ่งถ้ากองทัพเรือจะจัดหา F/A-18F มาเป็น บ.โจมตีจำนวน 8ลำใน Option เดียวกับออสเตรเลียนี้ก็ต้องใช้ งป.ราวๆ $1Billion ซึ่ง งป.ขนาดนี้กองทัพเรือต่อเรือใหม่ๆแทนของเก่าได้หลายลำครับ)
โดยทั่วไปการจัดหาอากาศยานในหลายๆโครงการนั้นจะมีการระบุไว้ในการแบบการยืนเสนอครับว่าอากาศยานแบบดังกล่าวจะต้องเป็นอากาศยานที่อยู่ในสายการผลิตแล้ว ไม่ได้มีสถานะเป็นเครื่องต้นแบบ ซึ่ง F-35นั้นมีความล่าช้าในการพัฒนามากครับซึ่งจากที่ตั้งเป้าไว้เดิมเครื่องรุ่นพื้นฐานคือ F-35A จะมีราคาอยู่ที่ $35-45 Million ส่วน F-35Bจะอยู่ที่ราว $50 Million ขึ้นไป แต่เอาเข้าจริงๆราคาอาจจะพุ่งไปมากกว่านี้อีกครับ เพราะฉนั้นการจัดหาหลายๆโครงการจึงจะเลือกเครื่องที่พัฒนาเสร็จมีสายการผลิตแล้วแทนที่จะรอเครื่องที่อยู่ในระหว่างการพัฒนาครับยกเว้นแต่ว่าจะเป็นโครงการระยะยาวครับ
อยากเห็นภาพครับ ช่วยลงให้หน่อยได้ไหมครับ
ขอเสนอว่า JAS-39C 6 เครื่อง + JAS-39D 2 เครื่อง (ถ้าจะใจดีแถม S-100D AEW&C ให้อีก 1 เครื่อง) น่าสนใจนะครับ ใช้ได้ครบภารกิจ โดยเฉพาะหมัดเด็ด RBS-15F แล้วก็ใช้ facility ต่างๆ ร่วมกับ ทอ. ได้สบายๆ data-link กับ ทอ. ก็ได้อีกสบายๆ เหมือนกัน***
ไม่ทราบว่าใช้ที่ไหนบ้างครับ
โดนส่วนตัวคิดว่า หากกองทัพเรือ จะคิดจัดหาเครื่องบิน F/A-18 C/D(ไม่ขอพูดถึงA/B) มือสองนั้นไม่ค่อยจะเห็นด้วยสักเท่าไหร่ครับ เพราะดูรูปการณ์ในอนาคตไม่เกินสิบปี อะไหล่หายากแน่นอน เนื่องจาก F/A-18E/F ที่เปิดสายการผลิตในปัจจุบันนั้นอะไหล่หลายอย่างใช้กันไม่ได้กับรุ่นเก่า ในขณะที่รุ่นเก่าเขาก็เริ่มทะยอยปลดประจำการและปิดสายการผลิตชิ้นส่วนอะไหล่ เดี๋ยวจะเกิดปัญหาเดิมๆขึ้นมาอีก ส่วนหากต้องการของมือหนึ่ง JAS-39C/D นั้นมีขีดความสามารถในการโจมตีเรือ แต่ไม่ได้ออกแบบให้เหมาะสำหรับการใช้งานทางทะเล เนื่องจากมีพิสัยการบินที่ไม่ไกลมากนักในขณะที่เราต้องบินจากฐานบนบกเข้าไปเหนือท้องทะเลที่มีอาณาเขตกว้างไกล และมีเครื่องยนต์เดียวซึ่งมีความเสี่ยงในการบินเหนือท้องทะเลพอสมควรหากเครื่องยนต์มีปัญหาขึ้นมา แต่อะไรที่น่าสนใจนั้น ผมว่ามีอยู่สองตัวเลือกครับ F/A-18E/F กับ Rafal M แต่ทั้งสองแบบนั้นก็ราคาไม่ใช่ถูกๆที่กองทัพเรือจะสามารถจัดหามาได้ง่ายนักเพราะมีโครงการใหญ่ๆมากพอสมควร ดังนั้นคงต้องลองดูของมือสองเหมือนเดิม แต่ใจอยากให้หาแบบขึ้นลงทางดิ่งมาแทน AV-8S เดิมจะดีกว่าครับที่จะมองแบบฐานบินบนบก
ผมเดาว่าทร.เขียนความต้องการนี้ไว้เพื่อจัดหา บ.ขล. ทดแทน AV-8S ครับ ดังนั้นมันก็น่าจะเป็น บ.ขล.ขึ้นลงทางดิ่งมือสองจากนาวิกโยธินสหรัฐหรืออาจจะมาจากอังกฤษ .......... แต่ถ้าผมเดาผิด แนะนำให้เอา Gripen หรืออย่างน้อย ๆ ก็ F-16C/D ครับ ผมไม่อยากได้ F/A-18 เนื่องจากต้องไปเพิ่มระบบส่งกำลังบำรุงและการซ่อมให้มากขึ้นอื่น เพราะทุกวันนี้ บ. เจ็ตของทร.ก็ฝากทอ.ดูแลอยู่แล้ว ทอ. มีความชำนาญและกำลังจะมีความชำนาญใน F-16 และ Gripen อีกทั้งยัง integrate ระบบเข้ากับทอ.ได้ง่ายมาก ๆ ด้วยครับ อย่าลืมว่าในอนาคตแต่ละเหล่าทัพต้องคุยกันให้ได้หมดนะครับ
บ. ทั้งสองแบบสามารถทำภารกิจโจมตีทางทะเลได้ครับ อย่างสิงคโปร์ก็ใช้ F-16 ในการดูแลน่านน้ำ และสวีเดนก็สร้าง Gripen มาโดยมีภารกิจโจมตีทางทะเลอยู่ในแผนงานตั้งแต่ต้น บ. ทั้งสองแบบใช้อาวุธปล่อยโจมตีเรือที่เรามีใช้งานอย่าง Harpoon และ RBS-15F ได้เลย อีกทั้งพิสัยทำการของบ. ทั้งสองแบบก็ครอบคลุมอ่าวไทยทั้งหมด หรือว่าถ้าอยากปฏิบัติภารกิจที่ลงไปทางใต้มากกว่านี้ก็สามารถไปวางกำลังที่สนามบินของทร.หรือแม้แต่สนามบินของทอ.ที่มีระบบสนับสนุน บ. ทั้งสองแบบในภาคใต้ได้เลย ผมว่าเรื่องนี้ไม่น่ามีปัญหาครับ
แต่ 8 ลำไม่ว่า F-16 หรือ Gripen นี้ราคามันวิ่งไปได้ราว 600 ล้านเหรียญ ..... ถ้าเราจัดหามือหนึ่งไม่ไหว ผมเสนอมือสองครับ อาจจะเป็น F-16A/B หรือ C/D มือสองแล้วนำไปทำ MLU ให้ได้เท่าของกองทัพอากาศ ราคารวมแล้วไม่น่าจะเกิน 30 หรือ 40 ล้านเหรียญต่อลำเทียบกับอายุการใช้งานอีกอย่างน้อย 10 - 15 ปี หรือไปเอา Gripen มือสองในส่วนเกินความต้องการที่สวีเดนเก็บไว้ เพราะมันใช้ไปแค่สองสามร้อยชั่วโมงเองครับ และเมื่อนำมาขายใหม่ก็จะเปลี่ยนชุดปีกและ upgrade เครื่องยนต์อยู่แล้ว ราคาน่าจะลดลงไปได้บ้าง แต่ถ้าลดลงไม่มาก option หลังก็ไม่น่าสนใจนักและน่าจะไปหา Gripen มือ 1 มากกว่า โดยต่อไปกับสายการผลิตของทอ.เลย ....... และอยากได้เป็นแบบสองที่นั่งไม่ว่าจะเป็น F-16B หรือ D หรือ Gripen D ครับ
ปล. เอา JAS เถอะ ...... เสี่ยชอบ ทร. รับรองคิดค่าคอมไม่แพงเท่า ทอ. กรุ๊ กรุ๊ กรุ๊
แล้วอย่าง การบินต่อสู้ระยะประชิดตัวหรือในระยะสายตา{DogFight}
เอฟ/เอ-18 สู้เอฟ-16ไม่ได้เลยใช่มั้ยครับ เพราะ ในการแข่งขันโครงการJSF ของ โบอิ้งกับลอคฮีดมาติน ทางเพนตาก้อน ได้กำหนดคุณสมบัติของเครื่องบินในโครงการนี้ว่า มีความสามารถในการรบระยะประชิด
มากกว่า เครื่องบินขับไล่เอฟ-16หรือไม่ด้อยไปกว่าเอฟ-16 คุณสมบัติข้อนี้ เพราะคุณสมบัติข้อนี้ไม่เหนกล่าวถึงเอฟ/เอ-18เลย พอจะทำเนาได้ป่าวว่า เอฟ-16มี สมรรถนะ ในการรบระยะประชิดได้ดีกว่า เอฟ/เอ18
ทั้งที่จริง โครงการนี้จะใช้ทดแทนทั้งเอฟ-16และเอฟ/เอ-18
ซึ่งผมว่าคุณสมบัติข้อนี้หรือป่าวทำให้x-35มีชัยเหนือx-32ของโบอิ้ง
ทำให้ลอคฮีดได้รับการตัดสินชระเลิศโครงการมหาศาลเนื่องจากเครื่องต้นแบบของลอคฮีดมีลักษณะคล่องตัวกว่า
เอาแบบ Doom Doom เลยเหรอ ....... สายลับอินเดียจัดมาหน่อยสิ ^ ^
ไม่ได้หรอกท่าน nok ......... เพราะนายหน้าระดับโลกอย่างเสี่ยต้องกวาดทุกดีลในเมืองไทยเพื่อสร้าง profile ครับ งานนี้คิดว่าคงปล่อยตลาด ทร. ให้มิได้
ฮาร์ดพ้อยติดอาวุธของเอฟ/เอ-18เยอะมาก จนผมคิดว่ามันเหมาะแก่การใช้งานทางทะเล........ดูภาพสิครับอิอิ
มาเป็น ดีลเลอร์ แข่งกับท่าน SKYMAN ครับ
ท่าน Skyman ดัน สาว สวีเน เกิดในเมืองไทย มาแล้ว
ผมขอดันสาว ฝรั่งเศส บ้างน่ะครับ
คุณสมบัติต่อไปนี้ ข้อละ 1 คะแนน
ว่าด้วย คุณสมบัติของเครื่องบิน ทะเล ในความคิดผม
- 2 เครื่องยนต์ เพิ่มโอกาสความอยู่รอด และ ลดการสูญเสีย เพราะตกทะเลมาไม่คุ้ม เพราะเครื่องบิน ไม่ใช่ถูกๆ
-พิสัย ระยะปฏิบัติการ ไม่ต่ำกว่า 1,000 กิโลเมตร จากฝั่ง
-หมัดเด็ดในการจมเรือ HARPOON , EXOCET , RBS-15F
-ความเหนือกว่า ในการครองอากาศ AIR SUPERIORITY ในพื้นที่การรบ และ ความเหนือกว่าในการ DOGFIGHT กับเครื่องบินข้าศึก
มาวิเคราะห์กัน
เครื่องบินที่ ผ่าน คุณสมบัติ 2 เครื่องยนต์ คือ F-18 E/F กับ RAFALE M = ได้ไปคนละ 1 คะแนน
พิสัย ปฏิบัติการ ไม่ต่ำกว่า 1000 กิโลเมตร F-18E/F กับ RAFALE M = เก็บเพิ่ม อีกเครื่องละ 1 คะแนน
หมัดเด็ดในการจมเรือ F/A-18 E/F , RAFALE M และ JAS-39 เสมอกัน = ได้เครื่องละ 1 คะแนน
ประสิทธิภาพ ในการรบระยะประชิด และ ครองอากาศ ให้ RAFALE M และ JAS-39 เครื่องละ 1 คะแนน
คะแนนรวม
1.RAFALE M 4 คะแนน
2.F/A-18E/F 3 คะแนน
3.JAS-39 2 คะแนน
เชียร์ RAFALE M ใจขาดเลย
นานๆ ทร. จะของบซื้อเครื่องบินขับไล่ สักที
ซื้อทั้งที ก็น่าจะได้ของดีๆไปเลย อีกอย่างซื้อแค่ 8 เครื่อง และก็คาดว่า น่าจะประจำการนานถึง 30 ปี
เรารู้ดีกับเครื่อง มือ 2 อย่าง A-7 กับ AV-8S ได้มาในสภาพไม่ถึง 50% ใช้ไม่นานก็พัง
เหมือน รถ มือ 2 ถ้าซื้อมาใน สภาพไม่ดี ขับไป ซ่อมไป อะไหล่บางชิ้นก็แพง บางชิ้นก็หายาก มีปัญหา จู้จี้ จุกจิก ซ่อมไม่รู้จักจบ จักสิ้น สุดท้ายเจ้าของเบื่อ จนขี้เกียจซ่อม ก็จอดทิ้ง ขายต่อก็ไม่มีใครเขาเอา
*แล้วเราจะซื้อ มือ 2 ไปทำไม ในเมื่อ เรามีปัญญาซื้อ มือ 1 ซื้อทั้งที ก็น่าจะเอาของดีๆไปเลย
เงินก็ไม่ใช่ของตัวเอง จะเขียมไปทำไม ( เงินก็มาจากพวกเราชาวไทย พี่น้องชาวไทย 60 ล้านคนนี่แล ที่ เสียภาษี ) แล้วจะซื้อของที่ดีๆ มาปกป้องชาวไทย ไม่ได้เชียวหรือ ซื้อ มาม่า 1 ซอง ก็เสียภาษีแล้ว
ราคา เครื่องบินขับไล่ F/A-18E/F กับ RAFALE M เฉลี่ย ก็เครื่องละ 2,600 - 2,800 ล้านบาท
เราไม่ได้ซื้อเยอะ ซื้อแค่ 8 เครื่อง ก็เอามือ 1 ไปเลย แพงหน่อย ก็ช่างมันกับความคุ้มค่า ระยะยาว
ถ้าเป็น F/A-18 E/F BLOCK II เวอร์ชั้น ออสเตรเลีย ก็น่าจะแพงกว่า RAFALE เพราะใส่อุปกรณ์เพิ่มเติมอีกหลายอย่าง
ถ้าเป็น RAFALE M ก็ขอ รุ่น STANDARD F-3 รุ่น เอนกประสงค์ พร้อม เรดาร์ 3-D ALL -TERRAIN สำหรับ บินเกาะภูมิประเทศ
แต่ถ้าโครงการ ของ ทร. มีขึ้นในปี 2012-2013 ขณะนั้น RAFALE คงเปลี่ยนไปใช้ RADAR AESA แทน ระบบเดิมซึ่งเป็นแบบ PESA แล้ว คงจะทันสมัยกว่าเดิม
สำหรับผมมีตัวเลือแค่ 2 ตัว จะเป็นตัวไหนก็ได้
แต่ใจจริง อยากเห็น RAFALE ในเมืองไทย อิอิ............จะได้รับ ค่านายหน้าเหมือนเสี่ย โย
...........แนวความคิดหลายๆท่าน ส่วนใหญ่ออกจะคล้ายๆการจัดหา บ.ข.ประจำการที่กองบิน 701 (ใช่ป่ะทดแทน เอฟ-5น่ะ) ซึ่งตอนนั้นเหตุผลคล้ายๆกันแต่ต่างกันที่มีตัวเลือกบังคับ คือ เอฟ-16 ซู-30 แจส-39
....ว่า กองบิน701นี้ต้องรับภาระคือฝั่งอ่าวไทยและอันดามัน บ.ข.อย่าง ซู-30 เหมาะมาก หมัดยิงเรือแน่นปึก บินไกล ความสามารถเฉพาะตัวทางอากาศเยี่ยม แต่ติดเรื่องความเข้ากันได้ของระบบ รายๆหลังๆคือ เอฟ-16 นี่คุ้นมือแต่ไม่แถมอะไรเลย ราคาตรงตัว แต่ติงที่ว่าอาวุธโจมตีเรือจะจัดงบมาได้อย่างไร ฮาร์พูน ราคาไม่ถูกบล็อคใหม่ๆน่ะ รายต่อมา แจส-39 นี่ไม่มีอะไรต้องพูดนอกจาก เล็กไปนิดแต่ก็มีหมัดเด็ดเท่ากัน ดีตรงลูกแถมหลังการขายนี่ล่ะ
.....ซึ่งภาระการโจมตีทางทะเลจากหลายๆท่านที่ให้ความเห็นว่า ค่อนจะไปให้ ท.อ.เป็น หัวหอกในการรุก รับ ให้กับเรือรบของเราที่ไม่มีแซมระยะไกลป้องกันครอบคลุม โดยส่วนตัวเห็นว่า ระยะการบินจริงๆในอ่าวไทยและ อันดามัน หากมองจริงๆแล้ว บ.ข.เครื่องยนต์เดียวยังพอรับได้ โดยหลายๆประเทศก็ยังใช้ บ.ข.เครื่องยนต์เดียวทำการบินทางทะเลก็มีหลายชาติ เช่น บราซิล(ซุปเปอร์ อิเทนดาร์ท เก่าด้วยรุ่นนี้ ) ไต้หวัน แอฟริกาใต้ เป็นต้น
.....ถ้าในอนาคต กบร.เลือก แจส-39ในออฟชั่นแถมหรือราคาในการจัดซื้ออาวุธอื่นๆ น่าจะคุ้มค่ากว่าการซื้อ บ.ข.จากค่ายอื่นๆมากครับ(นอกจากรัสเซีย) ซื้อแบบเดียวกัน เวลาทำการรบ ยังสามารถเชื่อมต่อกับระบบอื่นๆในเรือรบ บ.แจ้งเตือน และ บ..ข.ลำอื่นๆได้ดีกว่าล่ะครับ แล้วถ้างบประมาณ ลุ่มๆดอนๆแบบตอนนี้ล่ะก็ ผมว่า ให้ ท.อ.ใช้แจส-39ติด อาร์บีเอส-15 ในภาระกิจทางทะเลเป็นทางออกที่ดีน่ะครับ และให้ กบร.อัพเกรด ฮ.อื่นๆให้สามารถทำงานครบเครื่องจะดีกว่า หรือ แบบที่ท่านAAG_th1 บอกไว้ ว่า กบร.อาจจะสนใจ บ.จ.ขึ้นลงทางดิ่งมากกว่า ปีกตรึง ซึ่งก็น่าจะเหมาะแล้วให้ ท.อ.รับงานภาคทะเลไป และให้ กบร.รับงานโจมตี สนับสนุน น่ะ ประหยัดงบกว่าเยอะ
ถ้าเป็น เอฟ/เอ-18 อี/เอฟ ซะก12ฃเครื่องจะคุ้มกว่าใช่มั้ย
แต่จะเปนการ ลดงบประมาณด้านการพัฒนาเรือรบหรือป่าว
......ซึ่งในอาเซียนกองทัพเรืออาเซี่ยนนั้น ว่าจะมี กองบินนาวีหรือป่าว
หน่วยบินขับไล่ของชาติอาเซี่ยนจะมีมั้ย ที่เปนของกองบินนาวี
เพราะผมมองว่าอย่างน้อยๆ ราชนาวีไทยน่าจะมีศักยภาพในการป้องกันทางอากาศในระดับหนึ่ง มีหน่วยบินขัยบไล่ที่สารมารถ ทำหน้าที่ ป้องกันเรือรบ และครองอากาศเหนือเขตทะเลได้เพราะว่ากองทัพอากาศจะไม่สามารถป้องกันในทะเลได้เต็มที่เนื่องจากอุปกรณ์ที่เกียวข้องกับการใช้งานทางทะเลมีน้อยกว่า กองบินราชนาวีผมว่าน่าจะมีบทบาทในการรักษาน่านฟ้าและเขตทะเลได้เป็นอย่างดีอันเปนการลดภาระของกองทัพอากาศ
ไม่ลองดู MIG-29K รุ่นปฏิบัติการทางทะเล ละครับ
ผมว่าน่าสนใจนะ
ผมว่าตัวเลือก บข.จากรัสเซีย น่าจะพิจารณามากๆหน่อยนะครับเพราะว่า
มีหลายประเทศใช้ของรัสเซีย มีปัญหาการกราว มากอะไหล่สนับสนุนไม่พอ ถึงมีเงินแต่ประเทศผู้ผลิตไม่สามารถจัดหาให้โดยสะดวก
ดูอย่างจีน น่าจะมีปัญหาบ้างนะถึงแม้ว่าจีนจะได้สิทธิบัตรผลิตเครื่องบิน
ชนิดนั้นๆแต่คุณภาพของจากรัสเซียและของจีนผลิตเองน่าจะมีความต่างกันอยู่ มิก29ของมาเลเซีย มีปัญหามากกว่า เอฟ-16เอดีเอฟของเราเสียอีก ทั้งที่เป็นของใหม่นะแต่เอฟ-16เอดีเอฟของเรามือสองปรับปรุงใหม่
ผมว่าเครื่องบินขับไล่จาก ยุโรปและอเมริกาน่าจะให้บริการหลังการขายได้ดีกว่าของรัสเซียนะครับ
ถ้าเป็น MIG-29K อ่ะหรือ ก็ขอให้ดูเรื่องความพร้อมรบ และ อะไหล่
ดูอย่าง มาเลเซีย สิ นอกจากนักบินไม่พอ จนทำให้ต้อง กราวด์ เครื่องแล้ว ผมว่าเหตุผลอีกอยากก็คือ คุณภาพของเครื่องบิน
คุณภาพ กับ ประสทธิภาพ อย่าเข้าใจสับสน
MIG-29 อาจเป็นเครื่องบินขับไล่ ที่มีประสิทธิภาพดีในระดับหนึ่ง แต่ผมจัดให้มันเป็นเครื่องบินขับไล่ ที่ ห่วย ที่สุดในคลาส
ถ้าจะเอา MIG-29 ผมว่ามาเอาเครื่องบิน ใน คลาสเดียวกันกับมัน แต่เราคุ้นเคยจะดีกว่าอย่าง F-16C/D Block 50/52+ อย่างนี้
ถึง MIG-29 จะมี 2 เครื่องยนต์ ก็จริงแต่ตกบ่อยหรือเกิน F-16 มีเครื่องยนต์เดียว แต่มีความเชื่อถือได้มากกว่า มี คุณภาพ มากกว่า
ไม่ว่า จะเป็น GE ( General Electric ) หรือ PW ( PRATT & WHITNEY )
เครื่องยนต์ทางฝั่ง อเมริกา มีความน่าเชื่อถือมากกว่าอยู่แล้ว แม้จะมีเพียงเครื่องยนต์เดียวก็ตาม
ดูอย่าง F-16 A/B Block 15 ของเราดิ ใช้มา 20 ปี มาเจอช่าง ไทย ที่ดูแลรักษาดีๆ ก็ยังบินปร๋อ อยู่ทุกวันนี้
*ผม ยอมรับ ว่าคนไทย มีความ ละเอียด รอบคอบจริงๆ อะไรที่เราดูแลรักษามันดีๆ มันก็อยู่กับเราไปนานๆ
ช่างไทย Maintainance ดีอยู่แล้ว F-16 ไม่ตกเลยสักลำ
........มิก-29 นั้นรุ่นใหม่ๆ ประสิทธิภาพก็พัฒนา แก้ไข ข้อบกพร่องจาก ฟัลครัม รุ่นแรกๆ ทำให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นเป็นลำดับแทบจะเทียบเท่าบ.ข.ยุคใหม่อย่าง แจส-39 เอฟ-16/50/52 ซึ่งยังมีหลายชาติสั่งมาใช้อยู่เนื่องๆ ครับ
...แต่ มิก-29 เค จัดเป็นใช้งานบนเรือซะมากกว่า หากจัดหาจริงๆ ควรจะเป็น ซู-30 ซึ่งเป็นที่นิยมในหลายชาติ และโดดเด่นกว่า มิก-29 เค เช่นบินไกล อาวุธหนัก ความสามารถเฉพาะตัวซะอีก
^^............^^
ใช่ครับ.......ถูกของพี่ SKYMAN มันต้องคิดไว้ล่วงหน้าครับ และมันก็ถูกอีกแหล่ะครับ เพราะเราไม่ได้บังคับให้ไปซื้อซ่ะตอนนี้
รอมีงบเมื่อไหร่ คอยซื้อก็ได้
แต่ประเด็นที่ถกกันคือ เครื่องบินขับไล่ ที่น่าจะเอามาคุ้มครอง และ ป้องปราม ผลประโยชน์ทางทะเล
ผมเข้าใจ อะไรๆ มันก็จำเป็น
เรือดำน้ำ มันก็จำเป็น ( จากมหันตภัยเงียบใต้น้ำด้วยกันเอง )
เครื่องบินขับไล่ ที่จะเอามาคุ้มครอง เรือรบของเรา หรือเอาไว้โจมตีเรือข้าศึก และเอาไว้บินสกัดกั้นบินข้าศึก ที่จะมาทำอันตรายต่อกองเรือของเรา............มันก็จำเป็น
คือ ประเด็นนี้ มองไว้สำหรับ อนาคต 5-10ปีข้างหน้า ผมว่า...เทคโนโลยีปราบเรือดำน้ำ ของไทยก้อก้าวหน้าระดับหนึ่งแล้วนะครับ ผมว่า พัฒนาระบบต่อสู้เรือดำน้ำให้ก้าวหน้าในระยะอันใกล้นี้แล้ว กองบินราชนาวีไว้ถัดไปก้อดีนะครับ เพราะ เรือดำน้ำ1ลำ ราคาซื้อเครื่องบินขับไล่ได้หลายลำนะครับ ลองสังเกตุธรรมชาติของปลานะ ว่าจะถุก พวก เหยี่ยวทะเล ล่าเสมอ เครื่องบินมีความคล่องตัวในการ หลบ จรวดจากเรือ มากกว่า
อันตรายของกองเรือ น่าจะเป็น อากาศยานมาอันดับหนึ่งนะ แล้วเป็นเรือดำน้ำ ต่อมา ลองๆคิดดูละกันว่า เรือดำน้ำ1ลำ จะเข้าไปยิงเรือพิฆาตที่เกาะขบวนในภารกิจปราบเรือดำน้าม คิดว่ามานยากป่าว เรือลำละหมื่นกว่าล้าน ถ้าถุกเรือพิฆาตรุมกินโต๊ะ จบครับ แต่ถ้าเครืองบินที่มี อาวุธจมเรือระยะไกลละ....? ความยืดหยุ่น อีกอย่าง อย่างที่หลายท่านแสดงความคิดเห็นว่า พัฒยาเรือรบให้ดีก่อนค่อยคิดผม ก้อเห็นด้วยนะ แต่ กองบินราชนาวีผมว่าถ้ามีความเป็นไปได้ ก้อ น่าคิดนะ นักบินขับไล่ราชนาวีน่าจะมีความเข้าใจเกี่ยวกะทะเลมากกว่า ของกองทัพอากาศและลักษณะ
ของเรือน่าจะคุ้นเคยมากกว่า นะครับ อีกอย่างพูดภาษานาวีเหมือนกัน อาจจะเข้าขากันก้อได้
ตอนนี้ ผมว่า ทร. จัดหา ฮ.โจมตี 14 ลำ ตามความต้องการให้ได้ก่อน....
ส่วน บ.ปีกแข็ง ไว้รอหลังปี 2012 ค่อยมาพิจารณา จัดหา เพราะตอนนั้น F-35 B น่าจะเริ่มเปิดรับ ออร์เดอร์ ชาวโลก...ปัจจุบัน (2008) สหรัฐ สั่งสร้างในราคาประมาณ ลำละ 95 ล้านเหรียญ...ซึ่งตอนนั้น ทร.สหรัฐ น่าจะนำเข้า F-35 B บางส่วนเข้าประจำการ...ประกอบกับ เศรษฐกิจของสหรัฐในปัจจุบัน...เป็นเหตุอันควรเชื่อได้ว่า....น่าจะมีการเปิดท้ายขายของกันอีกสักรอบหนึ่ง....AV-8B จำนวน 7 ลำ กับ TAV-8B จำนวน 2 ลำ พร้อม บ.อะไหล่อีกสัก 4 ลำ...ในราคาสัก 120 ล้านเหรียญ...(ราคาน่าจะเท่ากับ F-35 B 1 ลำ หลังปี 2012) นำมาเข้าประจำการสัก 10 ปี หารออกมา ต้นทุนในการป้องกันประกันประเทศ ปีละ 12 ล้านเหรียญ ถัวเดือนละ 1 ล้านเหรียญ หรือประมาณ 38 ล้านบาท ต่อเดือน...ก็เท่ากับ ทร. รองบประมาณสำหรับ บ.F-35 B ใหม่ ไปเลยในปี 2020 - 2022 ก็ยังมีเวลาอีกประมาณ 12 - 14 ปี จัดเตรียมงบประมาณ สำหรับ กบร. บ.ปีกแข็ง รุ่นใหม่...
เห็นด้วยว่าทาง กบร.ควรจะให้ความสำคัญกับอากาศยานปีกหมุนเพื่อเสริมการปฏิบัติการของเรือและกำลังนาวิกโยธินเป็นอันดับต้นครับ ซึ่งนอกจาก ฮ.ประจำเรือผิวน้ำเช่น Super Lynx แล้ว ก็ต้องมี ฮ.ลำเลียงขนาดกลางและขนาดใหญ่รวมอยู่ด้วยครับเช่น MH-60S และ ฮ.ขนาดใหญ่เช่น Chinook, Stallion สำหรับปฏิบัติการยกพลขึ้นบกเป็นต้น
แต่ในส่วนของ ฮ.โจมตีนั้น คิดว่า กบร.ไม่น่าจะจำเป็นต้องจัดหา ฮ.โจมตีแท้ๆครับ(เพราะส่วนใหญ่มีราคาแพงและมักจะไม่ใช่รุ่นที่เหมาะกับการปฏิบัติการทางเรือ) น่าจะเป็น ฮ.อเนกประสงค์ที่สามารถใช้การลำเลียงและยิงคุ้มกัน โจมตีสนับสนุนได้มากกว่า เช่น UH-1Y Venom หรือ Future Lynx เป็นต้นครับ
เรื่อง ฮ.โจมตี อันนี้ ผมขอคิดเห็นต่างจากท่าน AAG_th1 ครับ...
ว่าในปัจจุบัน ทร. ควรจะต้องมี...เมื่อมองในปัจจุบัน ที่ ทร. ไม่สามารถมี บ.ปีกแข็ง เป็น บ.คุ้มกันกองเรือ และ คุ้มกัน โจมตี สนับสนุน นย. ได้....
ฮ.โจมตี ในแง่ของ ทร. น่าจะเป็น ฮ.ที่ทวิบทบาท ทั้งคุ้มกันกองเรือ (ในแง่ติดตั้ง จรวดต่อต้านเรือ เช่น เฮลไฟล์ มาเวอริค) และทั้งคุ้มกัน โจมตี สนับสนุน นย. ในการยกพลขึ้นบก
เฉพาะ ฮ.แบบ Bell-212 หรือ UH-1 Y จะตอบสนองในการสนับสนุน นย. ในกรณี ขึ้นหาดสำเร็จเท่านั้น....
อันนี้เป็นแผ่นภาพจากหนังสือ ญี่ปุ่น ในยุทธิวิธีการยกพล ในปัจจุบัน...
ซึ่งจะมี บ. AV-8 B เป็น บ.โจมตี เปิดหาด และครองอากาศ ในการสนับสนุน นย. ในส่วนของ AH-1W จะเป็น ฮ.คุ้มกัน บ. และ ฮ. ลำเลียง
อันนี้ ผมลองทำเปรียบเทียบกับแผ่นภาพ ความเห็นข้างบนนะครับ...
ในกรณีของ ทร.ไทย....การสนับสนุนการโจมตี เพื่อเปิดหาด ทร. ยังต้องอาศัย ทอ. สำหรับ F-5E ในการโจมตี ทิ้งระเบิด (ตามการฝึกยกพลขึ้นบก ที่นราธิวาส) ซึ่งต้องบินมาจากฐานบนฝั่ง....
โดยมองดู ฮ.Bell-212 ดูจะไม่สามารถ คุ้มครอง นย. ที่ขึ้นฝั่งเรียบร้อยแล้ว...และถ้าถูกต่อต้านจากกองกำลังอาวุธหนัก บนชายฝั่ง เช่น ปืนใหญ่ หรือ รถถัง... ทร. ยังคงต้องร้องขอ ทอ. ในการช่วยทำลายภัยคุกคามดังกล่าว....แต่ถ้า ทร. มี ฮ.โจมตี ที่สามารถนำไปพร้อมกับ 911 หรือ ร.ล.สุรินทร์ และ ร.ล.สีชัง ได้....ในเบื้องต้น ฮ.โจมตี เหล่านี้ ผมว่ามันจะยืดหยุ่น และเป็นไปตามสถานการณ์ ได้ทันท่วงที กว่า...การร้องขอ การสนับสนุนจาก ทอ. ครับ...
ถ้ามองว่ากองทัพเรือต้องการจัดหา ฮ.โจมตีแท้ๆสำหรับสนับสนุนกำลังนาวิกโยธินจริงๆ ตัวเลือที่น่าสนใจก็จะมีอยู่ในตลาดปัจจุบันหลายแบบครับ แต่ถ้าเฉพาะที่เป็น ฮ.ตะวันตก ที่มีข่าวว่าสามารถนำมาปฏิบัติการบนเรือได้จริงก็จะมี AH-1Z ของนาวิกโยธินสหรัฐฯ ซึ่ง ฮ.รุ่นนี้คล้ายกับ AH-1F Cobra ที่กองทัพบกมีใช้ก็จริง แต่ ฮ.รุ่นนี้เป็น ฮ.สองเครื่องยนตร์ที่ออกแบบมาสำหรับการปฏิบัติการทางเรือแบะมีระบบAvionicและอาวุธแตกต่างไปจาก AH-1F ซึ่งเป็นรุ่นเก่า ย.เดียวมา จัดหามาก็ต้องฝึกนักบินกับช่างเครื่องใหม่อยู่ดีครับ แต่ระบบอาวุธหลักๆเช่น จรวด 2.75" ที่ติดกับ ฮ. Bell 212 ที่กบร.มีอยู่สามารถนำมาใช้ได้
อีกแบบหนึ่งคือ ฮ.Tiger ของ Eurocopter ซึ่ง Tiger ARH รุ่นของออสเตรเลียนั้นก็มีการนำมาทดลองปฏิบัติการจากเรือผิวน้ำครับ โดย ฮ.รุ่นนี้สามารถติดตั้งระบบอุปกรณ์และอาวุธได้หลายแบบตามความต้องการของลูกค้าซึ่งก็สามารถใช้ระบบมาตรฐาน NATO ซึ่ง กบร.มีอยู่ได้ แต่กระสุนปืนใหญ่หรือ อาวุธนำวิถีต่อสู้รถถังก็ต้องจัดหามาใหม่ครับ
อย่างไรก็ตาม ฮ.โจมตีเหล่านี้มีราคาแพงครับอย่าง ฮ.Tiger นี้น่าจะราวๆลำละ $40-45 Milion ซึ่งตอนที่กองทัพเรือจัดหา Super Lynx 300 มา2ลำ ถ้าจำผิดยังลำละราวๆ $24-26 Miilonเลยครับ(งป.จัดหาตอนนั้น 1698ล้านบาท) ซึ่ง ฮ.อเนกประสงค์ประจำเรือนี้มีความจำเป็นมากว่า ฮ.โจมตีในขณะนี้ครับ
http://www.deagel.com/Combat-Helicopters/AH-1Z-King-Cobra_a000240001.aspx
มูลค่าตามโปรแกรม H-1 จำนวน 4,500 ล้านเหรียญ เป็นการ Rebuilt AH-1W จะได้จำนวน 180 ลำ (ตกลำละ 25 ล้านเหรียญ)...ถ้าเป็นการผลิตใหม่ ทั้งหมด ราคาก็น่าจะประมาณ 40-45 ล้านเหรียญ....ตามที่ท่าน AAG_th1 ว่าไว้....
อยู่ที่ว่า ปัญหาทางเศรษฐกิจของสหรัฐในขณะนี้ จะส่งผลกระทบต่อการจัดหาด้วยรึเปล่า....การปฏิบัติการสงคราม ทั้ง อิรัก และ อัฟกานิสถาน สหรัฐ จะปรับบทบาทลดงบประมาณลง ด้วยหรือเปล่า...และจะส่งผลกระทบต่อจำนวนการจัดหาเข้าประจำการ ของกองทัพสหรัฐ ด้วยหรือไม่...
ผมว่า ก็น่าจะลองเล็ง ๆ ไว้บ้างก็ดีครับ...แต่การจัดหา ฮ.โจมตี นี้ ผมเทียบกับการจัดหา บ.ปีกแข็ง โจมตี แบบใหม่ ครับ...ในส่วนของ ฮ.เอนกประสงค์ และ ฮ.ประจำเรือ อันนั้น ยังไง ทร. คงต้องจัดหาก่อนเป็นอันดับแรกตามแผนอยู่แล้วครับ...ซึ่งข่าว ฮ.โจมตี ของ ทร. ก็เป็นข่าวออกมาที่หลัง หลังจากมีการจัดหา ฮ.เอนกประสงค์ และ ฮ.ประจำเรือ แล้ว...
แต่เมื่อมองถึงความจำเป็น ที่ ทร. ต้องมีฝูงบินโจมตี ผมว่า มันก็ดูมีความจำเป็นเท่า ๆ กับ ฝูงบินเอนกประสงค์ และ ฝูงบินประจำเรือ...ถ้าตราบใด ทร. ยังมี กองกำลังนาวิกโยธิน ที่เปรียบเป็นทหารราบในการยกพลขึ้นบก...ซึ่งก็เป็นหน่วยรบหนึ่งทางยุทธิวิธี...เช่นเดียวกับ ทหารบก ก็ต้องมี ฮ. เอนกประสงค์ และ ฮ.โจมตี เพื่อสนับสนุนการรบ...
เรือรบ ปัจจุบัน ยังต้องมี ฮ. ประจำเรือ เพื่อคุ้มกันเรือ และเป็นส่วนหนึ่งในการยุทธวิธีการรบ ด้วย...หน่วยนาวิกโยธิน ก็หน่วยรบ ก็ควรจะต้องมี หน่วยบิน ที่คุ้มกันในการดำเนินทางยุทธวิธีด้วย ครับ...
......ส่วนตัวคิดว่า ฮ.โจมตี สนับสนุนการโจมตีโดยใกล้ชิดนั้น ฮ.ไทเกอร์ยังจัดว่าแพงครับ โดย ฮ.อย่าง ซุปเปอร์คอบร้า ด้วยเช่นกัน ยิ่งถ้าใช้โจมตีต่อเนื่องยิงกดดันการตีโต้กลับนั้น ฮ.โจมตีแท้ๆ มีความอยู่รอดมากกว่า ฮ.อเนกประสงค์ครับ แต่ผมกลัวว่า งบประมาณในการจัดซื้อจัดหาจะไม่เพียงพอ
.....ซึ่งถ้ามองตอนนี้และอีก5-10ปี ฮ.ซุปเปอร์ลิงซ์ ติดอาวุธ นั้นน่าจะเหมาะสมที่สุด อย่างน้อยๆก็มีขีดความสามารถในการยิงที่สูงเพียงพอ(กระเปาะจรวด กระเปาะปืนกล จรวดนำวิถี ) นอกจากความอยู่รอดที่ต่ำลงมาหน่อย แต่หากใช้เป็นฮ.อเนกประสงค์น่าจะคุ้มค่าครับ นอกจากโจมตียังใช้ลาดตระเวณได้ด้วย และ 911 ของเราไม่รู้ว่าจะรองรับ ฮ.โจมตีชนิดอื่นๆได้หรือไม่
....ส่วนตัวเลือกอื่นๆคงเหลือแต่ ฮ.จากรัสเซียเช่น คา-30/32 เป็นต้น แต่หากใช้ ฮ.ร่วมกับ บ.จ. น่าจะเพิ่มอำนาจการยิงได้มากครับ
....ถ้าเกิดสมมุติๆว่า เราจัดหาฮ.ลิงซ์พร้อมอาวุธเพิ่มเติมน่าจะคุ้มค่ากว่าการใช้ ฮ.โจมตีโดยตรงน่ะครับ เพราะว่าอย่างน้อยๆก็นำ ฮ.ลิงซ์ไปทำภารกิจอื่นได้โดยไม่เสียของอ่ะ