เซอร์ไพร์ส! "ธีออส" ทะยานฟ้าแล้ว
โดย ผู้จัดการออนไลน์ |
1 ตุลาคม 2551 15:56 น. |
|
เจ้าหน้าที่ สทอภ. รอรับสัญญาณถ่ายทอดการส่งดาวเทียมธีออส ณ สถานีควบคุมและรับสัญญาณธีออส อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี (ภาพจาก สทอภ.) |
|
|
สุดเซอร์ไพร์ส!
"ธีออส" ดาวเทียมดวงแรกของไทยทะยานฟ้าขึ้นแล้ว เมื่อบ่ายวันที่ 1 ต.ค. โดย
สทอภ.ไม่ประกาศล่วงหน้า ด้วยเกรงหน้าแตกอีกครั้ง
ผู้บริหารเตรียมแถลงข่าวใหญ่ 2 ต.ค.นี้
หลังเลื่อนส่งมาหลายครั้งสำหรับ "ธีออส" (Theos)
ดาวเทียมสำรวจทรัพยากรธรรมชาติดวงแรกของไทย และต้องเลื่อนส่งดาวเทียม
อย่างกระทันหันเมื่อวันที่ 6 ส.ค.51 ที่ผ่านมา แม้ว่า
สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (สทอภ.) หน่วย
งานผู้รับผิดชอบดำเนินโครงการดาวเทียมธีออส
ได้แจ้งล่วงหน้าว่าพร้อมส่งดาวเทียมแล้ว
โดยให้เหตุผลว่ารัฐบาลคาซัคสถานไม่ยินยอมให้ชิ้นส่วนจรวดที่นำส่งดาวเทียม
ตกในพื้นที่
ล่าสุดผู้จัดการวิทยาศาสตร์ได้รับแจ้งจากทีมประชาสัมพันธ์กระทรวง
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ต้นสังกัดสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (สทอภ.)
หน่วยงานผู้รับผิดชอบดำเนินโครงการดาวเทียมธีออสว่า
ดาว
เทียมธีออสได้ทะยานขึ้นฟ้าไปเมื่อเวลา 13 นาฬิกา 37 นาที 16 วินาที
(13.37.16) ตามเวลาประเทศไทย
แต่ไม่ได้แจ้งให้ทราบล่วงหน้าเนื่องจากกลัวไม่สำเร็จดังที่ผ่านมา
ข้อมูลจากข่าวแจกของ สทอภ.ซึ่งส่งมายังกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ระบุว่า
จรวด "เนปเปอร์" (Dnepr) ได้นำส่งดาวเทียมธีออสจากฐานส่งจรวดเมืองยาสนี
ประเทศรัสเซีย ซึ่ง ดร.ดาราศรี ดาวเรือง
รองผูั้อำนวยการสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ
ได้เดินทางไปพร้อมผู้บริหาร สทอภ.เพื่อร่วมกิจกรรมส่งดาวเทียม
ขณะที่ผู้บริหารบางส่วนรอรับการรายงานสดทางโทรศัพท์จากเมืองยาสนี ณ
สถานีควบคุมและรับสัญญาณดาวเทียมธีออส อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี
และระบุว่าไม่สามารถถ่ายทอดสดการส่งดาวเทียมได้เนื่องจากอยู่ในเขตทหาร
ทั้งนี้ สถานีควบคุมและรับสัญญาณดาวเทียมที่เมืองคิรูนา
ประเทศสวีเดน จะเป็นสถานีแรกที่ติดต่อกับดาวเทียมธีออสได้ในเวลา 15.09 น.
จากนั้นดาวเทียมธีออสจะโคจรผ่านประเทศไทยครั้งแรก เวลา 21.16 น.
ซึ่งข้อมูลข่าวแจก สทอภ.ที่ผู้จัดการวิทยาศาสตร์ได้รับ ระบุว่า
ในเวลาที่ธีออสผ่านประเทศนั้น สถานีควบคุมและรับสัญญาณดาวเทียมธีออส
อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี
จะเริ่มปฏิบัติการควบคุมการโคจรดาวเทียมและตรวจสอบการทำงานต่างๆ
นอกจากนี้ ทาง สทอภ.เตรียมแถลงข่าวการปล่อยดาวเทียมธีออส ในวันที่ 2 ต.ค. เวลา 10.00 น. ณ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ก่อนหน้านี้ สทอภ.ประกาศส่งดาวเทียมธีออสมาแล้วหลายครั้ง
โดยก่อนสร้างดาวเทียมเสร็จกำหนดส่งในเดือน ก.ค.50
แต่หลังจากสร้างดาวเทียมเสร็จเมื่อต้นปี 2550 ได้กำหนดส่งดาวเทียมในเดือน
ต.ค.50 ขณะที่ดาวเทียมถูกส่งไปที่ฐานปล่อยจรวดในปลาย พ.ย.50
จากนั้นก็มีการเลื่อนออกมาเรื่อยๆ
จนกระทั่งเมื่อวันที่ 6 ส.ค.51 ที่ผ่านมา
สทอภ.ให้ความมั่นใจในการส่งดาวเทียมธีออสอีกครั้ง
โดยระบุว่าได้เติมเชื้อเพลิงให้กับดาวเทียมซึ่งเตรียมพร้อมอยู่ที่ฐานปล่อย
จรวดแล้ว และเชิญสื่อมวลชนร่วมเป็นสักขีพยานในการส่งดาวเทียม ณ
ศูนย์ควบคุมและสัญญาณดาวเทียมธีออส อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี
แต่ก็ต้องเลื่อนอย่างกะทันหัน
ธีออสเป็นดาวเทียมขนาดเล็กมีน้ำหนัก 750 กิโลกรัม
และมีระยะห่างจากโลกเมื่อส่งขึ้นไปโคจรที่ระดับ 822 กิโลเมตร
โคจรรอบโลกทั้งสิ้น 369 วงโคจร ซึ่งระยะทางระหว่างวงโคจรแต่ละวงเท่ากับ
105 กม. โดยจะโคจรมาที่จุดเดิมทุกๆ 26 วัน
และสามารถถ่ายภาพได้ครอบคลุมทั่วโลก บันทึกภาพด้วยระบบเดียวกับกล้อง
(Optical System) ความละเอียดของภาพขาวดำ 2 เมตร และมีอายุการใช้งานประมาณ
5 ปี