http://www.navy.mi.th/frigate2/News/Office/office1.htm กำลังจะทำอะไรกัน ตามที่ท่าน Highskygate กล่าวไว้หรือปล่าว ว่าที่ ทร. จะรื้อระบบจีนออกหมด แล้วอัดระบบตะวันตกเข้าไป.......ว้าว............. |
รูปจากhttp://www.navy.mi.th/frigate2/News/narasuan/nranews03.htm ครับ
Selex Sistemi Integrati Medusa (Italy) Naval Systems Ship weapon Control systems Fire control
Section Naval systems Ship weapon control systems Fire control
Appearing in
Janes Electro Optic Systems
Publication date
Mar 20, 2008
Type Naval fire control system
Development
The Medusa originates from the NA 18 EO fire control system (qv), developed in the mid 1970s by Elettronica San Giorgio (later Alenia Elsag Sistemi Navali then Alenia Marconi Systems, AMS and now Selex Sistemi Integrati). During the 1980s, Alenia repackaged the system as Pegaso and was selected by the Italian Navy for the Minerva class corvettes and entered service when the Urania was commissioned in June 1987 The control console of Pegaso was incorporated within a new range of EO products from around 1985, as Medusa. The original Medusa system was a pedestal director which does not appear to have been sold. Alenia then introduced a new version with a remotely operated director as Medusa Mk 3. It appears to have entered service with the Italian customs service in Bigliani class patrol boats in October 1987. Since 2003 these latter systems are being upgraded to Mk 4 configuration.
Electro Optic Systems Janes Electro Optic Systems provides you with a complete profile of all military electro-optic systems or systems with electro optic elements in production under development or in service with the armies, navies and air forces throughout the world. This authoritative resource focuses on the entire range of thermal imaging, image intensifier and laser systems for surveillance, weapon sights, fire control and reconnaissance ensuring you stay on top of current developments in this key area. Each entry identifies the manufacturer, traces the development history and describes the operational characteristics. Also revealed are the main technical specifications to help you compare the performance of over 1,330 items of electro optic equipment worldwide
Selex Sistemi Integrati
มีประสบการณ์พัฒนา Naval Combat systems and Management, Command and Control Systems, Naval Radar Sensors with Optical Versions
ให้กับเรือรบกว่า 100 ลำ ในกว่า 40 แบบตามความต้องการของลูกค้าทั่วโลก
SELEX Sistemi Integrati is the main supplier of the Italian Navy for combat systems. Among the company main success there are combat systems and sensors for the Orizzonte programme, for the multi-mission frigates FREMM, for the aircraft carrier Cavour belonging to the Itatian Navy, besides many international programmes such as the new Baynunah Corvettes for United Arab Emirates.
ฟลุ๊ค ๆ เผื่อได้ Combat Suite ใหม่ แล้วอาจจะได้ MK-56 VLS กับ ESSM แถมมาด้วยก็ได้เน๊าะ...อาจจะตรงใจท่าน AAG_th1 ในระบบป้องกันภัยทางอากาศ
SELEX Sistemi Integrati: Naval mission systems
http://www.selex-si.com/SelexSI/EN/Business/defence_systems/sistemi_difesa_navale/index.sdo
ถ้าดูจากโครงการเรือรบในปัจจุบันที่บริษัทนี้เข้าไปร่วมพัฒนาระบบเช่นเรือฟริเกตอเนกประสงค์ FREMM ซึ่งเป็นโครงการร่วมของฝรั่งเศส(ชั้นเAquitaine D622) อิตาลี(ชั้นCarlo Bergamini) และยังมี โมร็อกโคกับบราซิลที่สนใจจะจัดหา จนถึงเรือบรรทุกเครื่องบินชั้น Cavour หรือเรือคอร์เวตชั้น Baynunah ของสหรัฐอาหรับเอมิเรนต์(UAE) นั้น ระบบอาวุธปล่อยต่อสู้อากาศยานที่ติดตั้งบนเรือจะเป็นระบบของยุโรป เช่น Aster 15 ที่ติดตั้งในแท่นยิง VLS แบบ Slyver เป็นส่วนใหญ่ครับ แต่เรือคอร์เวตชั้น Baynunah ของ UAE นั้นจะติด Mk56 VLS 8ท่อยิง4ชุดซึ่งจุ ESSM แบบDual-Packได้ และจะติดอาวุธป้องกันระยะประชิดแบบ RAM บนแท่นยิง Mk49 ได้21นัดด้วย
ซึ่งสำหรับชั้น ร.ล.นเรศวรนั้นถ้าช่องว่างในเรือเดิมที่มีแผนจะติดแท่นยิง Mk41 VLS นั้นอาจจะเปลี่ยนมาติดได้ทั้งแท่นยิง Mk56 ซึ่งน่าจะเล็กกว่า(ติดสัก2ชุดยิงขึ้นไป) สำหรับESSM หรือ แท่นยิง Slyver 8ท่อยิง(ขนาดใกล้เคียงกับMk41)สำหรับ Aster 15 8นัด พร้อมระบบป้องกันระยะประชิดแบบใหม่ซึ่งอาจจะถอดปืน 37มม.แฝด ระบบควบคุมการยิงออกแล้วติด RAM หรือ Sadral อย่างใดอย่างหนึ่งครับ รวมถึงเปลี่ยนระบบ Sonar และ Radar จีนเดิมออกด้วย
อย่างไรก็ตามตามข้อมูลข่าวที่ออกมาเป็นเพียงการรับฟังการบรรยายผลการสำรวจเท่านั้น ไม่ได้บอกข้อมูลว่าเรือชั้น ร.ล.นเรศวรนี้จะสามารถทำการปรับปรุงระบบอำนวยการ อาวุธ และระบบตรวจจับได้ใหม่หรือไม่ ซึ่งถ้ามีข่าวออกมาภายหลังว่าเรือชุดนี้ไม่ได้มีการปรับปรุงอะไรต่อก็คงไม่เป็ฯที่น่าแปลกใจนักครับ
....บราซิล ต้องการเรือฟรีเกตชั้น FREMM จำนวน6ลำและเรือดำน้ำแบบ สกอร์เปียน อีก4ลำ โดยโครงการจัดหาเรือฟรีเกตชั้นนี้มีราคาสูงถึง 3 milliards $ (2,1 milliards ). หากรวมกับเรือดำน้ำก็จะสูงถึง4 milliards $ เลยล่ะครับ ซึ่งไม่แน่ว่าจะถูกสร้าง ที่บริษัท AMRJ ของบราซิลหรือไม่(ยังไม่แน่ใจ)โดยมีระบบอาวุธคือ เอ็กซ์โซเซ็ทเอ็มเอ็ม-40 แอสเตอร์15 ระบบ วีแอล ไมค่า ฮ. ซุปเปอร์คูก้าและ โดยเรือชั้น FREMM นั้นมีจำนวนการสั่งต่อราวๆ 37ลำจาก5ประเทศ เป็นหนึ่งในระบบอาวุธใหม่ๆของยุโรป ต่อจาก เรือดำน้ำชั้น บารัคคูด้า และ เรือชั้น ฮอริซอน (เรียกแบบไทยนะเนี้ย)
......หากบ้านเราได้ แอสเตอร์-15มาทำการป้องกันทางอากาศระบบอาวุธแทนปืน 37ม.ม. นั้นอยากให้เป็น ชาดัล ในแง่ของราคาที่ถูกกว่าน่ะครับ (แต่ได้ระบบ แรม มาก็ดีนะ) มาช่วยในการป้องกันขั้นสุดท้ายต่อจากระบบ แอสเตอร์
ผมคิดว่า ร.ล.ชั้น นเรศวร คงต้องมีการปรับปรุง เพราะใกล้มาถึงช่วงครึ่งอายุใช้งานแล้ว....เช่นเดียวกับ เรือชั้น เจ้าพระยา...แต่จะเป็นอย่างไร รูปแบบไหน คงต้องลุ้นกันต่อ และการสำรวจก็ต้องมีค่าใช้จ่าย ร่วมถึงการเปิดเผยถึงความต้องการของ ทร. และการให้ข้อมูลกับ SELEX ในสภาพปัจจุบันของ เรือชั้นนเรศวร...
ในแง่นักธุรกิจปรับปรุงระบบการรบมาจำนวนมากพอสมควร คงต้องมีข้อแนะนำ ที่ชักชวน ให้ ทร. ต้องใช้งบประมาณแน่ ๆ ไม่งั้นเสียฟอร์มหมด....
เพียงแต่ ทร. ยังกังวลปัญหาเรื่องงบประมาณ หรือเปล่า ?
การแก้ปัญหาในเรื่องงบประมาณ ทุกกองทัพล้วนมีปัญหาการของบประมาณมาตลอด ตั้งแต่ปี 2535 จึงควรจะคิดจัดการแก้ปัญหาให้เป็นระบบ ในการเสนอข้อมูล และจัดการความเข้าใจ ในความสามารถการป้องกันประเทศในปัจจุบัน และระบบการรักษาความลับ ให้กับผู้มีอำนาจตัดสินใจ คือ นายกรัฐมนตรี...
ให้เป็นที่เชื่อใจ และมั่นใจ กับผู้มีอำนาจตัดสินใจว่า มันมีความจำเป็นต้องจัดหา...ไม่ควรให้การของบประมาณ เป็นเหมือนเดิม ๆ ที่ผ่านมา...(อินโดนีเซีย ก็ไม่ได้มีฐานะทางเศรษฐกิจดี เหมือนไทย กับ มาเลเซีย ก็ไม่ได้มีฐานะทางเศรษฐกิจที่เหนือกว่าไทย มากเท่าไหร่ แต่กองทัพทั้ง 2 ก็สามารถจัดหา ระบบอาวุธ ที่มีราคาแพง ตามความจำเป็นของกองทัพ ได้อย่างต่อเนื่อง...ส่วนเรื่องมีการคอร์รับชั่นอย่างไร จะเป็นการพิสูจน์ในภายหลัง ที่มีการจัดหาแล้ว...และข้อกล่าวหาเหล่านี้ มีเหมือนกันทุกประเทศ แต่ก็ไม่ทำให้ขัดขวางการจัดหาได้ เพราะความผิดจะสำเร็จ ก็ต่อเมื่อมีการกระทำเกิดขึ้น...ข้อกล่าวหา ก็คือ ข้อกล่าวหา...ถ้าคิดว่ามีการทำผิด ก็ให้มีการดำเนินการให้สำเร็จ แล้วทำการพิสูจน์เอาผิด)
ผมว่าเรามองสิ่งที่แพงไปเกินความสามารถของกองทัพเรือจะหาเข้าประจำการได้
ผมว่าเราลองเล็งกันเล่นๆดีกว่า ปืนอะไรจะมาแทนปืนจีน 37 ม.ม. แท่นคู่
แล้วปืนแท่นคู่พร้อมระบบควมคุมการยิง จะไปติดตั้งบนเรือชุดไหน อย่าลืมนะครับ สี่ระบบเชียว...
ขอนำเสนอในคำถามของคุณน่าคิดครับ
สำหรับปืนแท่นคู่ ผมมีสองแนวทางครับ
1. ติดตั้งบนรล. สิมิลัน โดยแต่ละระบบควบคุมการยิง (Type 347) จะควบคุม ปตอ. 37มม. สองแท่น อันนี้ตาม spec. ของเรือพิฆาตของ สปจ. เลยนะครับ
2. ติดตั้งทดแทนระบบเดิมบน รล. สายบุรี / รล. กระบุรี (Type 347 ทดแทน Type 341 สำหรับระบบควบคุมการยิง และ Type 76A ทดแทน Type 76 สำหรับ ปตอ.)
คำคม (หรือเปล่า) : ให้ระบบของจีนอยู่บนเรือจีนแล้วจะดีที่สุด, Put the Chinese System on the Chinese Ship. อิ อิ คิดเองนะ เชยสุด ๆ
อ้างอิง เครดิต นิดนึง รู้สึก idea แรก ผมลอกมาจากผู้รู้ท่านหนึ่ง ไม่แน่ใจว่า เป็นท่าน AAG_th1 หรือเปล่านะครับ ผิดพลาดอย่างไรก็ขออภัยด้วยนะครับ
ผมจำได้ว่าคุณ AAG_th1 เคยแนะนำระบบ SIGMA ( DS-30M + Mistral )
ผมว่าน่าจะเหมาะนะครับ ครบทั้งปืน + ขีปนาวุธต่อสู้อากาศยาน
เครดิตคุณAAG_th1 ครับ
ขอสนับสนุนคุณ Ploydaddy อีกหนึ่งเสียงครับ
1. ใช้ตัวจรวดแบบเดียวกับที่ใช้อยู่
2. ใช้ระบบปืน Series เดียวกับที่ใช้อยู่
3. เป็นระบบผสม จรวด ยิงหมดแล้ว ยังมีปืนยิงได้ต่ออีก
ผิด ถูก ประการใด ช่วยแนะนำด้วยครับ
คงต้องมาดูระบบอาวุธ จีนใน เรือ ก่อนหากคิดว่าจะเอาระบบจีนออกหมด
ไปดู เวป กองเรือ ก็จะเห็นว่าระบบจีน มี ประมาณ 4 อย่าง คือ
ระบบสงครามอิเล็กทรอนิกส์แบบ MIRAGE ,
ระบบโซนาร์ติดตั้งหัวเรือ แบบ SJD-7 ,
ระบบปืน 37 มม. รุ่นใหม่ และ
เรดาร์ตรวจการณ์อากาศพื้นน้ำ แบบ 360
ซี่ง น่าจะเอาไปใส่ในชุด เจ้าพระยาได้ แต่จะ ลำไหน ก็ คงว่ากันอีกที
ส่วนชั้น นเรศวร หากว่า ได้อัพเกรด ใหม่ ก็คงจะทันสมัย มากขึ้น
ดูแล้ว เจ้าปืน 30มม + mistral นี่น่าจะแทนที่ตรง ปืน 37มม ได้นะครับ
เรือในชุด ร.ล.เจ้าพระยาคือเรือชั้น ร.ล.เจ้าพระยา และ ร.ล.กระบุรี นั้นเป็นเรือชั้นJianghu Type053H2 และ Type053HT ซึ่งก็เคยกล่าวมาก่อนหน้านี้แล้วครับว่าเรือชุดนั้นค่อนข้างจะมีพื้นที่จำกัดเนื่องจากโครงสร้างตัวเรือยังคงคล้ายกับเรือชั้น Jianghu ก่อนหน้านี้ซึ่งเป็นเรือรุ่นเก่า(ถึงแม้ว่าออกแบบสร้างในช่วงต้นปี1990sก็ตาม) เพราะฉนั้นการติดตั้งระบบที่ถอดจากเรือชุด ร.ล.นเรศวร ที่มีขนาดค่อนข้างใหญ่อย่าง Radar ตรวจการณ์อากาศ, ระบบสงครามElectronic และ Sonar เป็นต้น ส่วนตัวไม่แน่ใจว่าจะทำได้หรือไม่ครับ คิดว่านอกจากหการเปลี่ยนไปติด อวป.C-802A แทน C-801ที่หมดอายุการใช้ กองทัพเรือคงไม่น่าจะทำอะไรกับเรือชุดนี้เพิ่มครับ
ระบบ SIGMA ในข้างต้นนั้นถ้าจะให้วิเคราะห์นั้นจุดอ่อนจุดหนึ่งคือในแง่การใช้เป็นระบบป้องกันระยะประชิดนั้น อวป.ต่อสู้อากาศยานที่ติดกับแท่นยิงอาวุธจะดูน้อยไปหน่อยครับคือ Mistral 3นัด ซึ่งถ้าติด2กราบเรือแทนตำแหน่งปืน 37mm แฝดเดิมก็จะมีเพียง 6นัดเท่านั้นดูน้อยไปหน่อย ถ้าเทียบกับระบบ Sadral ซึ่งแท่นยิงหนึ่งมี6นัด ถ้าติดที่สองกราบก็จะมี อวป. 12นัด โดยส่วนตัวคิดว่ากองทัพเรือน่าจะเลือกอย่างใดอย่างหนึ่งครับว่าจะเป็น ปืนใหญ่กล หรือ Missile แต่ถ้าจะเป็นระบบผสมอย่าง SIGMA นี้ก็ต้องติด Missile ได้มากกว่านี้ครับซึ่งจะพอในการป้องกันตัวสำหรับเรือระดับเรือฟริเกต
ดีครับสมาชิกใหม่ครับขอเข้ามาหาความรู้ด้วยนะครับ
ได้อ่านโพสที่ผ่าน ๆมาแล้วก้อมีความรู้มากขึ้นครับดีครับเป็นการเผยแพร่ให้รู้กันมาก ๆ ขอสอบถามหน่อยนะครับ
๑.แล้วระบบควบคุมการยิง ระบบอำนวยการรบเป็นแบบไหนครับ
๒.เปลี่ยนของเก่าออกเลยหรือ upgrade คับ
ดีครับสมาชิกใหม่ครับขอเข้ามาหาความรู้ด้วยนะครับ
ได้อ่านโพสที่ผ่าน ๆมาแล้วก้อมีความรู้มากขึ้นครับดีครับเป็นการเผยแพร่ให้รู้กันมาก ๆ ขอสอบถามหน่อยนะครับ
๑.แล้วระบบควบคุมการยิง ระบบอำนวยการรบเป็นแบบไหนครับ
๒.เปลี่ยนของเก่าออกเลยหรือ upgrade คับ