ร.ล.ลาดหญ้า(ลำที่3 หมายเลข 633) และ ร.ล.ท่าดินแดง(ลำที่3 หมาเลข 634) เป็นเรือกวาดทุ่นระเบิดใหม่ที่เพิ่มต่อจากอิตาลีขึ้นระวางประจำการเมื่อราวปี ๒๕๔๓ครับ
ซึ่งปืนใหญ่กลแบบ MSI DS-30B ขนาด 30มม. นี้ก็มีการติดตั้งมาพร้อมกับเรือแต่แรกแล้วครับ ซึ่งในภาพเข้าใจว่าน่าจะปืนแบบเดียวกันในรุ่นที่ทันสมัยกว่าคือ DS-30M ที่มีการติดตั้งบนเรือชุดเรือ ต.๙๙๑ และอาจจะรวมถึงเรือสำรวจ ร.ล.พฤหัสบดีในอนาคตครับ
ปัจจุบันระบบปืนใหญ่รองเรือแบบอัตโนมัติที่เรือของกองทัพเรือมีใช้งานอยู่ก็เช่น ปืนใหญ่ 30มม. บน ชุด ร.ล.คำรณสินธุ, OTO Breda 40/70 แท่นเดียวและแท่นคู่ ซึ่งติดในเรือหลายๆชั้นครับ ซึ่งกระสุน Bofors 40/70 เท่าที่ทราบกองทัพเรือสามารถผลิตเองได้
ไม่ทราบว่าปืนDS-30M ที่เปลี่ยนให้ ชุด ร.ล.ลาดหญ้าใหม่นี้ใช้กระสุนขนาดเดิมหรือไม่ครับ ซึ่งในอนาคตหวังว่ากองทัพเรือก็น่าจะผลิตกระสุนขนาดดังกล่าวได้เองเช่นกันครับ
ครับ...ผมว่าตอนทร.ต่อเรือหลวงชุดปัตตานี เราก็น่าจะติดตั้งปืน 30 มม. DS-30 น่ะครับ .... เรือชุดปัตตานี ดูแล้วมีประสิทธิภาพประมาณ เรือตรวจการณ์ปืนชุดสัตหีบ ที่ดีกว่าคงเป็นระยะปฎิบัติการ กับความคงทนในทะเล แต่อำนาจการยิงน้อยกว่า ชุดสัตหีบมี ปืน76/62 , 40L/70 แล้วก็ ปืนกล 20 มม. 2 แท่น..........
น่าลุ้นให้ทร. เปลี่ยนปืน 30 มม. แทน 20มม.ให้รล.ชุดปัตตานีจัง
*** ตอนนี้อยากเห็นรล.ชุดเจ้าพระยาติด c-802 แล้ว วันเด็กปีนี้จะได้เห็นไหม?
ส่วนตัวคิดว่าสำหรับ เรือชุด ร.ล.ปัตตานีนั้นคงจะไม่การติดตั้งอาวุธปืนอัตโนมัติหรืออาวุธแบบอื่นๆเพิ่มเติมในช่วงนี้ครับ เพราะอย่างป้อมปืน DS-30M นั้นก็ต้องการตัวระบบควบคุมการยิงเพิ่มเติม พื้นที่ติดตั้งใต้ดาดฟ้าและการเชื่อมต่อระบบส่วนหนึ่งซึ่งดูเหมือนว่าพื้นที่ข้างโรงเก็บ ฮ.นั้นจะไม่พอรองรับครับ ถ้าเทียบกับการติดตั้งปืนใหญ่ 20มม.ที่ใช้อยู่ซึ่งระบบManualไม่ได้มีความยุ่งยากในการติดตั้งมากนักครับ
อีกประการคือคิดว่าตัวระบบปืน MSI 30mm นี้คงมีราคาพอสมควรครับ กองทัพเรือคงไม่สามารถจัดหามาติดกับเรือทุกลำได้
ผมมีความคิดที่ว่า
กองทัพเรือมีอาวุธปืน (เฉพาะที่ติดตั้งบนเรือ) มากมายหลายแบบเหลือเกิน
1.127 ม.ม. ของอเมริกา (เรือชุด นเรศวร)
2.112 ม.ม. ของอังกฤษ (เรือหลวงมกุฎฯ)
3. 100 ม.ม. ของจีน (เรือชุดเจ้าพระยา)
4. 76/62 super rapid (เรือชุดนราธิวาส)
5. 76/62 compact (เรือชุดสัตหีบ,ชลบุรี,วิทยาคม,ตาปี)
6.76 ม.ม. ของอเมริกา (เรือชุดสัตหีบลำหลังๆ)
7. 40/70 ม.ม. ของสวีเดน
8. 40/70 ม.ม. แท่นคู่
9. 40/60 ม.ม. ของสวีเดน
10. 40 แท่นคู่ของอเมริกา (คิดว่าน่าจะสำรองราชการ)
11. 37 ม.ม. แท่นคู่ของจีน
12. 30 ม.ม. ของอิตาลี (เรือชุดทยานชล)
13. 30 ม.ม. ของอังกฤษ (เรือต.991)
14. 20 ม.ม. รุ่นใหม่ (เรือต.ต่างๆ)
15. 20 ม.ม. รุ่นเก่าที่มีดรัมบรรจุกระสุน (คิดว่าน่าจะสำรองราชการ)
16. 20 ม.ม. วัลแคน (ฟาลังซ์)
และยังมีที่ไม่ทราบอีกหลายแบบ
ลองมาคิดดูเล่นๆนะครับ ว่าค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษา จะยุ่งยาก และบานปลายแค่ไหน
ในใจผมยังชอบ 40/70 ม.ม.ของสวีเดนครับ อัตรายิง 300 นัด/นาที
บวกกับระยะที่ไกลกว่า และอานุภาพในการทำลายของกระสุนที่สูงกว่า กระสุนขนาด 30 ม.ม.
จะด้อยกว่าก็แค่อัตราการยิงเท่านั้น แล้วจะให้ผมไปรักเจ้า 30 ม.ม. ได้ไงน้อ...
ตอบคุณ wanwa ครับ
ต้องไปที่ โรงเรียนนายเรือ ครับ