หน้าแรก    ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบคำถาม    เข้าสู่ระบบ      


หนึ่งในคู่แข่ง ของ จรวดต่อสู้อากาศยาน เอแดทส์ ของ ทอ.ไทย รึเปล่า?

โดยคุณ : juldas เมื่อวันที่ : 23/09/2008 17:56:01

กาลครั้งหนึ่ง นานมาแล้ว ภาค 2





ความคิดเห็นที่ 1


จากหนังสือ สมรภูมิ ฉบับที่ 556 วันจันทร์ที่ 19 สิงหาคม 2534


โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 20/09/2008 12:12:49


ความคิดเห็นที่ 2


ซึ่ง ทอ.ไทย ก็ได้คัดเลือก ระบบจรวดต่อสู้อากาศยาน เอแดทส์ เป็นระบบป้องกันภัยทางอากาศ ป้องกันฐานบิน ภาพนี้ น่าจะหลังจากการยิงสาธิต ในวันตรวจรับ เมื่อ 18 เมษายน 2537 เพราะจรวด หายไป 1 ลูก.....


โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 20/09/2008 12:17:17


ความคิดเห็นที่ 3


จากหนังสือ สมรภูมิ ฉบับที่ 690 วันจันทร์ที่ 16 พฤษภาคม 2537

เป็นภาพการทดสอบการยิงจริง ที่กองบิน 53


โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 20/09/2008 12:19:35


ความคิดเห็นที่ 4


ต่อครับ...


โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 20/09/2008 12:21:18


ความคิดเห็นที่ 5


โดยระบบ เอแดทส์ จะใช้ร่วมกับเรดาร์ควบคุมการยิงแบบสกายการ์ด ของกองทัพอากาศ  ระบบเอแดทส์ เป็นอาวุธที่ใช้ เทคโนโลยีระบบอิเล็กโตรออพติกส์ ทำให้ศัตรูไม่สามารถล่อลวง หรือเอาชนะด้วยมาตรการต่อต้านทางอิเล็กทรอนิกส์ได้...


โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 20/09/2008 12:24:15


ความคิดเห็นที่ 6


เมื่อวันที่ 18 เมษายน 2537 ผลการยิงจรวดนำวิถีต่อสู้อากาศยาน เอแดทส์ ถูกเป้าหมายโดยตรง หรือที่เรียกว่า DIRECT HIT ที่ระยะประมาณ 7 กิโลเมตร


โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 20/09/2008 12:26:44


ความคิดเห็นที่ 7


อย่างน้อย ADAT ทอ. กับ Aspide ของ ทร. ก็ยังได้ยิงเนอะ อิอิอิ ^ ^
โดยคุณ Skyman เมื่อวันที่ 20/09/2008 12:42:22


ความคิดเห็นที่ 8


นั่นซิท่าน Skyman ... เครื่องอันที่ยิงไม่ได้ (คิดว่าน่าจะเครื่องเดียวกันกับท่าน Skyman นะ)...น่าจะเอาตั้งโชว์ ในงานวันเด็กมั่ง...

อย่างน้อยก็ยังมีคุณค่า ทางยุทธการใจ...ให้ชาวโลก ได้เดากันมั่งเน๊าะ...

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 20/09/2008 13:32:41


ความคิดเห็นที่ 9


....เอแดต นั้นแรกๆออกแบบให้ทำงานแบบทวิบาท ประมาณว่าสามารถใช้ยิง อากาศยานและ ยานเกราะได้ ด้วยจรวดชนิดเดียวกัน  ผลทดสอบคือ ยิงจรวด เอแดตใส่เอ็ม-47 ถึง 5ลูก กว่ารถถังจะพัง เลยถูกนำไปใช้ป้องกันอากาศยานซะมากโดยการทำงานคู่กับ ปืนกลหนักและกระเปาะจรวด70ม.ม. ในภารกิจป้องกันอากาศยานและภาคพื้นดิน ติดตั้งบนรถหุ้มเกราะ เพื่อความอ่อนตัวในการทำการรบ

.....โดย ลูกจรวดนำวิถีด้วยเลเซอร์ ทำงานแนวเดียวกับ อาร์บีเอส-70  ต้องทำการนำวิถีให้ตัวจรวดจนกว่าจะกระทบเป้าหมาย นั้นเองจึงไม่สามารถยิงแล้วหนี หรือยิงเป้าหมายหลายๆเป้า เหมือนระบบอินฟาเรดได้นั้นเองล่ะครับ

....ข้อดี ของระบบนำวิถีด้วยเลเซอร์คือ ไม่มีอะไรลวงได้เหมือนเรดาห์ หรือ นำวิถีด้วยความร้อน ปัจจุบันมีแค่เพียงระบบการแจ้งเตือนเมื่อถูก เลเซอร์ตรวจจับได้ ติดตั้งที่ฮ.และบ.ข./บ.จ. บางรุ่นเท่านั้นเอง  แต่กว่าจะโต้กลับฐานที่ยิงเลเซอร์ได้ก็ถูกจรวดไล่แหลกน่ะครับ

....หากบ้านเราจัดหาเพิ่มติดตั้งบนรถหุ้มเกราะก็ดีนะ ทำงานคู่กับ ปตอ.


โดยคุณ MIG31 เมื่อวันที่ 21/09/2008 10:58:46


ความคิดเห็นที่ 10


เรียนท่านskymanหรือjuidasครับผมอยากรู้ว่าทำไมทอ.ถึงไม่จัดหาเจ้าadatที่ติดตั้งมาพร้อมกับรถหุ้มเกราะละครับถ้าสมมุติว่าข้าศึกโจมตีขึ้นมาจะหนียังงัยไม่เมื่อมันอยู่กับที่แบบนั้นขนาดอิรักนำเอาสกัดติดตั้งบนรถหุ้มเกราะยังไม่รอดเลยโดนเมกาจัดการซะเหลือแต่ซากเลยและเจ้าระบบadatที่ติดตั้งบนยานเกราะมันแพงมากไหมครับคือว่าอยากรู้
โดยคุณ ttrc เมื่อวันที่ 22/09/2008 07:25:04


ความคิดเห็นที่ 11


ขอ...เดา...เป็นการส่วนตัวนะครับ...

ด้วย ADAT ของ ทอ. เป็นการใช้ระบบร่วมกับ สกาย การ์ด...ซึ่งคงต้องเป็นปฏิบัติการร่วมกับ ระบบปืนต่อสู้อากาศยาน ประจำฐานบินด้วย...น่าจะต้องเชื่อมต่อระบบทั้ง 2 ส่วน เพื่อทำงานร่วมกัน...

จึงไม่น่าจะใช้แบบ รถถัง หรือรถหุ้มเกราะ...ที่เหมือนเป็นหน่วยยิงจรวดต่อสู้อากาศยานเคลื่อนที่...เหมือน RBS-70 ซึ่ง ทอ. ก็ใช้หน่วยยิงนี้...เป็นหน่วยต่อสู้อากาศยามแบบอิสระ เคลื่อนที่ อยู่แล้ว....

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 22/09/2008 22:04:08


ความคิดเห็นที่ 12


ผมก็ไม่มีความรู้เหมือนกัน คงรอท่านอื่นครับ ^ ^
โดยคุณ Skyman เมื่อวันที่ 22/09/2008 22:50:06


ความคิดเห็นที่ 13


 ระยะยิงสั่นแบบนี้ เครื่องบินฝ่ายตรงข้าม ปล่อยอาวุธไกลๆ ก็เสร็จหมด แล้วตกลงที่เข้าลือกันว่า ทอ. มี เอแดทส์  1 ระบบ + อวป แค่ 8 นัด ยิงทดสอบไปแล้วหลายนัด เหลือไม่กี่นัด จริงหรือปล่าวครับ

โดยคุณ Mr. Bean เมื่อวันที่ 23/09/2008 06:56:04