เรือคอร์เวตอเนกประสงค์ ลำแรกตาม Project 20830 ของ ทร.รัสเซียได้รับการ
ขึ้นระวาง ประจำการเมื่อวันที่ ๑๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๐ หลังเสร็จสิ้นการทดสอบในทะเลอย่าง สมบูรณ์ในทะเลจากคณะกรรมการตรวจรับงานเรือซึ่งมีระวางขับน้ำ ๒ , ๒๐๐ ตัน ได้รับการ ตั้งชื่อว่า Steregushchiy นับเป็นลำแรกของเรือตามโครงการที่จะขึ้นระวางรวมทั้งสิ้นจำนวน ๒๐ ลำ ออกแบบโดย Almaz Central Marine Design Bureau ซึ่งตั้งอยู่ที่ St.Peterburg โดยมีวัตถุประสงค์ใช้สำหรับปฏิบัติภารกิจในบริเวณใกล้ฝั่ง ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่า ทร. รัสเซียใน ปัจจุบันมุ่งเน้นภารกิจไปที่การป้องกันและรักษาความปลอดภัยในทะเลที่ประชิดกับประเทศเป็น สำคัญ เรือตามโครงการนี้เป็นเรือรบผิวน้ำชั้นใหม่ที่ต่อขึ้นเป็นชุดครั้งแรกนับตั้งแต่การล่มสลาย ของสหภาพโซเวียตเป็นต้นมา
Steregushchiy วางกระดูกงูเมื่อเดือนธันวาคม ๒๕๔๔ ที่อู่ต่อเรือ Severnaya Verf เมือง St. Peterburg ปล่อยลงน้ำเดือนพฤษภาคม ๒๕๔๙ และออกทดสอบในทะเล เมื่อ เดือนพฤศจิกายน ๒๕๔๙ นับเป็นเรือลำแรกของชุดที่ต่อขึ้นตามสัญญา
การทดสอบมีผลเป็นที่น่าพอใจตามคำแถลงของ Almaz ว่าเรือมีความทนทะเล และการหันเลี้ยวที่ยอดเยี่ยม ซึ่งการทดสอบครั้งที่สองมีขึ้นในเดือนพฤษภาคม ๒๕๕๐ ตามด้วย การตรวจรับของคณะกรรมการ
ความคิดเห็นที่ 1
อินเดียการเปิดเผยโครงการเรือดำน้ำโจมตีพลังงานปรมาณู
ทร.อินเดียได้เปิดเผยแก่สาธารณชนเป็นครั้งแรกว่า ได้รับมอบเรือดำน้ำโจมตีพลัง งานปรมาณูชั้น Akula I (Bars) จากรัสเซีย ทั้งยังได้ออกแบบและกำลังต่อเรือชนิดดังกล่าว ที่รู้จักกันในชื่อ " เรือเทคโนโลยีก้าวหน้า " (Advanced Technology Vessel ATV) เสนา ธิการทหารเรือ อินเดีย พล.ร.อ. Sureesh Mehta แถลงว่าได้มีการเจรจาขอเช่าเรือดังกล่าว มาจากรัสเซีย ทั้งที่ก่อนหน้า อินเดียได้กล่าวปฏิเสธมาโดยตลอด โดยมีการลงนามในสัญญา เช่าเรือมาตั้งแต่เดือนมกราคม ๒๕๔๗
พล.ร.อ. Sureesh ยังกล่าวอีกว่า องค์การวิจัยและพัฒนากลาโหม ( Defence Research and Development Organization - DRDO) จะต่อเรือ ATV ได้แล้วเสร็จ ภายใน ๒ ปี ในรูปของ เรือสาธิต ( Technology Demonstrator) ซึ่งเป็นเวลากว่าทศวรรษ มาแล้วที่อินเดียปฏิเสธการมีอยู่ของเรือที่ว่านี้
เรือสาธิตข้างต้นมีระวางขับน้ำ ๕ , ๐๐๐ ตัน เป็นการต่อขึ้นด้วยความร่วมมือระหว่าง DRDO ทบวง-พลังงานปรมาณู ( Department of Atomic Energy - DAE)และกอง บัญชาการกองเรือภาคตะวันออก ที่เมือง Visakhapatnamโครงการเริ่มต้นขึ้นในปี ๒๕๑๙ สองปีหลังจากการทดลองระเบิดปรมาณูใต้ดินเป็นครั้งแรก ดำเนินการโดยนายทหารเรือนอก ราชการ เพื่อเป็นการสะดวกต่อ ทร. อินเดีย ในการปฏิเสธการมีอยู่ของโครงการ ATV มีความ ยาว ๑๒๔ เมตร ต่อขึ้นโดยใช้พื้นฐานจากเรือดำน้ำโจมตีโซเวียตแบบ 670 A Skat (Charlie) ซึ่งคาดว่าจะปล่อยลงน้ำได้ในปี ๒๕๕๑ นี้ และแล่นออกทดสอบในทะเลอีกหนึ่งปี ถัดไป โดยจะเข้าประจำการในปี ๒๕๕๓
แหล่งข่าวทางราชการอินเดียกล่าวว่า เรือดำน้ำโจมตีชั้น Akula I (Project 971) ขนาด ๙ , ๑๐๐ ตัน ชื่อ Nerpa ขณะนี้ใกล้ปรับปรุงเสร็จสมบูรณ์ อยู่ที่อู่ Komsomolskon - Amur ประเทศรัสเซีย และให้อินเดียเช่าเป็นเวลา ๑๐ ปี ในราคา ๗๐๐ ล้านเหรียญสหรัฐฯ (๒๔ , ๕๐๐ ล้านบาท) ซึ่งคาดว่าจะเข้าประจำการใน ทร. อินเดีย ราวปลายปี ๒๕๕๒ และ ทำให้อินเดียเป็นประเทศที่ ๖ ในโลกที่ครอบครองเรือดำน้ำพลังงานปรมาณู นับจากประเทศ จีน ฝรั่งเศส รัสเซีย สหราชอาณาจักร และสหรัฐ ฯ
ข้อตกลงลับในการให้เช่ายืมเรือดำน้ำโจมตีพลังงานปรมาณูจากรัสเซียจำนวน ๒ ลำ มีขึ้นเมื่อเดือนมกราคม ๒๕๔๗ ควบคู่ไปกับการซื้อเรือบรรทุกเครื่องบิน มูลค่า ๑ , ๕๐๐๐ ล้านเหรียญสหรัฐ ฯ (๕๒ , ๕๐๐ ล้านบาท) ชั้น Kiev (Admiral Gorshkov) ที่เปลี่ยนชื่อใหม่ เป็น Vkramaditya พร้อมกับเครื่องบินขับไล่ MiG - 29K จำนวน ๑๖ ลำ อย่างไรก็ตามแหล่ง ข่าวใน ทร.อินเดียกล่าวว่า ในขณะนี้อินเดียเลือกที่จะเช่าเรือดำน้ำเพียงแค่ ๑ ลำเท่านั้น
โดยคุณ ito36 เมื่อวันที่
09/09/2008 09:53:49
ความคิดเห็นที่ 2
ญี่ปุ่น
การปล่อยเรือดำน้ำโจมตีรุ่นใหม่
เรือดำน้ำโจมตีชั้น Soryu ลำแรกจากจำนวนทั้งสิ้น ๓ ลำ ที่สั่งต่อให้แก่ ทร.ญี่ปุ่นได้
้รับการปล่อยลงน้ำที่อู่ของบริษัท Mitsubishi Heavy Industriesเมืองโกเบประเทศญี่ปุ่น เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐
เรือลำแรกของชั้นมีชื่อว่า Soryu สำหรับที่เหลืออีกสองลำชื่อจะลงท้ายด้วยอักษร - ryu ด้วยเช่นกัน โดยกำหนดปล่อยลงน้ำในเดือนตุลาคม ๒๕๕๑ และปี ๒๕๕๒ ตามลำดับ
เรือมีระวางขับน้ำขณะดำ ๔ , ๒๐๐ ตัน ยาว ๘๔ เมตร ใหญ่และยาวกว่าเรือชั้น Oyashio ซึ่งจะ เข้าประจำการทดแทน (๓ , ๕๐๐ ตัน ๘๑ เมตร) ทั้งนี้เพื่อให้สามารถติดตั้งระบบขับ เคลื่อน แบบไม่ใช้อากาศจากภายนอก ( Stirling Air Idependent Propulsion - AIP) ของ บริษัท Kockums ได้ ซึ่งช่วยให้เรือมีขีดความสามารถในการซ่อนพลางตัวเพิ่มขึ้น สำหรับ ปฏิบัติการ พิเศษ โดยบริษัทของสวีเดนจะเป็นผู้ดำเนินการติดตั้งให้ในญี่ปุ่น
โฆษก กห. ญี่ปุ่นกล่าวว่าระบบขับเคลื่อน Sterling AIP นับเป็นส่วนที่ดีที่สุดของเรือ ซึ่งถึงแม้ว่า ทร. ญี่ปุ่น จะพึงพอใจกับเรือชั้น Oyashio ในภาพรวมก็ตาม แต่ทว่าเรือนี้ยังต้อง มีการปฏิบัติงานในระดับกล้องตาเรืออยู่ นับเป็นความล่อแหลมอย่างยิ่ง และเรือชั้นนี้ก็ไม่มีพื้น ที่ว่างเพียงพอสำหรับการปรับปรุงให้ทันสมัยขึ้น
คุณลักษณะสำคัญของเรือรุ่นใหม่คือ หางเสือรูปอักษร X ที่มีระบบควบคุมแยกกัน อย่างอิสระสำหรับครีบทั้งสี่ เพื่อการควบคุมการหันเลี้ยวที่ดีที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน บริเวณ น้ำตื้น อย่างไรก็ดี ระบบนี้ค่อนข้าง ซับซ้อนเมื่อเทียบกับแบบดั้งเดิม แม้เรือชั้น Soryu จะมี ขนาด ใหญ่ขึ้น แต่ทว่าพลประจำเรือกลับน้อยลง คือ ๖๕ นาย เปรียบเทียบกับ ๗๐ นายของเรือ รุ่นเก่า ส่วนโซนาร์ยังคงเหมือนเดิม
คำว่า Soryu หมายถึง "ฎ มังกรสีน้ำเงิน " ในภาษาญี่ปุ่น และเคยนำไปตั้งเป็นชื่อ เรือบรรทุกเครื่องบิน ขนาด ๑๙ , ๕๐๐ ตันของ ทร. ญี่ปุ่น สมัยสงครามโลกครั้งที่ ๒ ซึ่งเรือ นี้ได้จมลงที่สมรภูมิ Midway เมื่อปี ๒๔๘๕
โดยคุณ ito36 เมื่อวันที่
09/09/2008 09:54:33
ความคิดเห็นที่ 3
สหรัฐอเมริกา
การทดสอบเรือตรวจการณ์ลำใหม่ของหน่วยยามฝั่ง
เรือชั้น Legend ลำแรกที่ต่อขึ้นให้แก่หน่วยยามฝั่งสหรัฐฯ ตามโครงการ Deep Water ได้ออกทดสอบในทะเลเป็นครั้งแรก
เรือซึ่งมีขนาด ๔ , ๑๑๒ ตัน ชื่อ Bertholf แล่นออกจากอู่ Pascagoula รัฐมิสซีส ซิปปี เมื่อวันที่ ๔ ธันวาคม ๒๕๕๐ เพื่อรับการทดสอบอย่างเข้มงวดในอ่าวเม็กซิโก ซึ่งการทด สอบเครื่องจักรต่าง ๆ ได้แล้วเสร็จในเดือนเดียวกัน และกำหนดส่งมอบเรือในกลางปี ๒๕๕๑
หลังเสร็จสิ้นสมบูรณ์การตรวจรับในทะเลเรือได้รับการออกแบบให้ใช้ระบบขับ
เคลื่อน ผสมแบบ ดีเซล - กังหันก๊าซ ซึ่งให้ความเร็วสูงสุด ๒๘ นอต และระยะทำการ ๑๒ , ๐๐๐ ไมล์ ทะเล ที่ความเร็ว ๙ นอต
อาวุธประจำเรือประกอบด้วยระบบป้องกันตัวระยะประชิดแบบ Phalanx Mk 15 ปืนใหญ่ Bofors ขนาด ๕๗ มิลลิเมตร และปืนกลหนักขนาด ๑๒.๗ มิลลิเมตร จำนวน ๔ กระบอก
เรือชั้นนี้ทางตอนท้ายมีพื้นที่สำหรับปล่อยและเก็บเรือยางลำตัวแข็ง ( Rigid - Hall Inflatable Boat - RHIB ) ความยาวสูงสุด ๑๑ เมตร จำนวน ๒ ลำ มีดาดฟ้าบินและโรงเก็บ ท้ายเรือสำหรับ ฮ. อเนกประสงค์ จำนวน ๒ ลำ และอากาศยานไร้คนขับขึ้นลงทางดิ่งแบบ Eagle Eye จำนวน ๒ ลำ
เรือชั้น Legend จำนวน ๘ ลำ ได้รับการจัดหาภายใต้โครงการ Deep Water ซึ่ง เรือ ๔ ลำแรกกำหนดส่งมอบในปี ๒๕๕๓ โดยจะนำเข้าประจำการทดแทนเรือที่มีความทน ทะเลสูงชั้น Hamilton และ Hero ที่ประจำการมาตั้งแต่ปี ๒๕๐๓ และ ๒๕๑๓ ตามลำดับ
เป็นที่คาดหมายว่าเรือ Bertholf จะต้องปฏิบัติภารกิจในทะเลเป็นเวลา ๒๓๐ วัน ต่อปี
โดยคุณ ito36 เมื่อวันที่
09/09/2008 09:55:11
ความคิดเห็นที่ 4
ขอบคุณมากครับสำหรับข้อมูลที่มีประโยชน์แบบนี้ครับ อินเดียเนี้ยพัฒนากองทัพขึ้นมากเลยนะครับ
โดยคุณ sherlork เมื่อวันที่
09/09/2008 21:30:22