หน้าแรก    ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบคำถาม    เข้าสู่ระบบ      


ครม.อนุมัติงบ 6.78 พันลบ.ให้กองทัพจัดซื้อยุทโธปกรณ์,วิธีแบบรัฐต่อรัฐ

โดยคุณ : สถาปนิกสงคราม เมื่อวันที่ : 21/10/2008 11:34:09

/9/2008 3:29:41 PM
GOVT:ครม.อนุมัติงบ 6.78 พันลบ.ให้กองทัพจัดซื้อยุทโธปกรณ์,วิธีแบบรัฐต่อรัฐ

        อุดรธานี--9 ก.ย.--รอยเตอร์ 
 
        คณะรัฐมนตรี(ครม.)อนุมัติงบประมาณราว 6,779 ล้านบาท ให้กระทรวงกลาโหม ไปจัดซื้ดยุทโธปกรณ์โดยใช้วิธีรัฐบาลต่อรัฐบาล 
        "การอนุมัติงบดังกล่าว เป็นไปตามที่กระทรวงกลาโหมเสนอ รัฐบาลไม่ได้อนุมัติงบประมาณเพื่อเอาใจทหารแต่อย่างใด 
    แต่เป็นโครงการที่มีการดำเนินการมาก่อนหน้านี้แล้ว" พล.ต.ท.วิเชียรโชติ สุกโชติรัตน์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวแถลงข่าว 
        เขากล่าวถึงรายละเอียดของงบประมาณดังกล่าว ประกอบด้วย
     กองทัพบก จัดซื้อปืนเล็กกล ขนาด 5.56 มิลลิเมตร จำนวน 531 กระบอก เป็นเงิน 140 ล้านบาท จากรัฐบาลอิสราเอล โดยวิธีรัฐบาลต่อรัฐบาล ,
     จัดซื้อปืนเล็กยาว ขนาด 5.56 มิลลิเมตร จำนวน 15,037 กระบอก เป็นเงิน 1,012 ล้านบาท จากรัฐบาลอิสราเอล  
    และอาวุธนำวิถีต่อสู้อากาศยานระดับต่ำ ชนิดประทับไหล่ยิง แบบนำไปด้วยบุคคล จำนวน 36 หน่วยยิง เป็นเงิน 132 ล้านบาท จากรัฐบาลสหพันธรัฐรัสเซีย 
       เขากล่าวอีกว่า ครม. ยังได้อนุมัติให้กองทัพเรือ ดำเนินการว่าจ้างสร้างเรือยกพลขึ้นบก จำนวน 1 ลำ วงเงิน 4,943 ล้านบาท เพื่อใช้ใน
    เพื่อใช้ในการขนส่งและลำเลียงทางทะเล การค้นหาและการช่วยเหลือประชาชน การบรรเทาสาธารณะภัยและภัยพิบัติต่างๆ 
    และครม.ได้อนุมัติให้กองทัพไทย จัดซื้อระบบการทำแผนที่ด้วยแสงเลเซอร์พร้อมเครื่องบิน 2 รายการ จากรัฐบาลแคนาดา จำนวน 552 ล้านบาท--จบ--
**เรือยกพลขึ้นบกนั้น แอนดูแรนซ์รึป่าวเอ่ย 
      




ความคิดเห็นที่ 1


เนเกฟ กระบอกละ 263,653 บาท

ทราโว กระบอกละ 67,300 บาท

อิ๊กล่า ชุดละ 3.6 ล้านบาท

LPD ลำละ 4,943 บาท (น่าจะเป็น แอนดรูแรนซ์ มือ 1)

ระบบแผนที่พร้อมเครื่องบิน จาก แคนาดา 552 ล้านบาท ไม่ทราบครับ ใครมีข้อมูลช่วยบอกด้วย

โดยคุณ โต้ง เมื่อวันที่ 09/09/2008 05:16:11


ความคิดเห็นที่ 2


สนใจตรงระบบทำแผนที่พร้อมเครื่องบินเหมือนกันครับ

โดยคุณ Tasurahings เมื่อวันที่ 09/09/2008 07:48:10


ความคิดเห็นที่ 3


 LiDAR ของ lasermap

 

http://www.gisdevelopment.net/magazine/malaysia/2006/july-sep/22_2.htm

 

ตามนั้น (เจ้าเดียวที่เป็นของแคนาดาครับ www.lasermap.com)

เขามาเสนอเราสินค้ากับเราป่าวว้า แต่มาเลฯ นั้นซื้อทำแล้วนิ

โดยคุณ qoop เมื่อวันที่ 09/09/2008 08:12:12


ความคิดเห็นที่ 4


ฝันมานาน ในที่สุดก็มา

อิ๊กล่า จ้า....

 


โดยคุณ น่าคิด เมื่อวันที่ 09/09/2008 08:13:22


ความคิดเห็นที่ 5


ลืมรูปกับงานวิจัยของอาจารย์จุฬาฯ

 

http://subweb2.dpt.go.th/orw/udti/data/training_online/Lidar-Technology.pdf


โดยคุณ qoop เมื่อวันที่ 09/09/2008 08:13:31


ความคิดเห็นที่ 6


อีล๊าแม่นบ่ ฮ่าๆๆ  ขำทู้บนอะ  เข้ากันได้ดีกับคนใช้เลย ฮ่วยคือเว้าจังซั่น
โดยคุณ qoop เมื่อวันที่ 09/09/2008 08:17:06


ความคิดเห็นที่ 7


ในส่วนของกองทัพบกการจัดหา ปลย.Tavor และ ปลก.Negev นั้นก็เป็นการจัดหาเพิ่มเติมต่อเนื่องครับ ซึ่งหน่วยรบหลักๆเช่น กรม รพศ., ร.๓๑ รอ. หรือหน่วยอื่นที่เป็นหน่วยเคลื่อนที่เร็วหลักของกองทัพคงจะได้รับมอบอาวุธประจำกายใหม่นี้มากขึ้น

การจัดหา Igla นั้นก็จะเป็นการนำมาใช้ทดแทนระบบเก่าของจีนเช่น HN-5 (Copy Strela) ซึ่งมีประสิทธิภาพด้อยกว่าและน่าจะหมดอายุการใช้ลงแล้วครับ เคยมีข้อมูลออกมาว่าทางกองทัพอากาศซึ่งปัจจุบันใช้ SAM แบบ QW-2 ของจีนนั้นก็น่าจะมีการจัดหา Igla มาใช้ในอนาคตครับ

งบประมาณที่ตั้งไว้สำหรับการจัดหาเรือยกพลขึ้นบกนั้นมีข้อสังเกตุคือจากแผนเดิมนั้นมีความต้องการในการจัดหา2ลำ แต่ลดเหลือเพียง1ลำครับ และโครงการจัดหาของเรือนั้นคิดเป็นเงินเหรีญญสหรัฐฯได้ราว $145 Million ซึ่งราคาระดับนี้ถือว่าค่อนข้างสูงครับ ส่วนตัวเข้าใจว่าอาจจะเป็นเรือที่มีระวางขับน้ำประมาณ 10,000 ขึ้นไปครับซึ่งใหญ่กว่าเรือชั้น Endurance ของสิงคโปร์

โดยคุณ AAG_th1 เมื่อวันที่ 09/09/2008 08:21:11


ความคิดเห็นที่ 8


^

^

ก่อนหน้านี้ว่า 2  ลำ ทำไมเหลือ 1 ลำ ครับ  ที่มีก็ไม่พอใช้แถมจะปลดอีก 2-3 ลำ เห้อ  แล้วเอาเล็กลงกว่านี้แล้วได้ 2 ลำไม่ดีกว่าหรอครับ หรือว่าหลักการไม่ให้

โดยคุณ qoop เมื่อวันที่ 09/09/2008 08:31:17


ความคิดเห็นที่ 9


ไม่ทราบเหมือนกันว่าทำไมเหลือลำเดียว แต่คิดเหมือนคุณ  AAG_th1 ว่าขนาดระวางเรือ อาจจะมากกว่า 10,000 ตัน แต่ใช้ลักษณะของแอนดรูแรนซ์ของสิงคโปร์เป็นแม่แบบ


โดยคุณ สถาปนิกสงคราม เมื่อวันที่ 09/09/2008 08:38:23


ความคิดเห็นที่ 10


เย้ในที่สุดก็มาสักทีเจ้าlglaนะน่าจะได้ตั้งนานแล้วตกลงเป็นแบบไหนละขอสเป็คเจ้าตัวนี้หน่อยสิอยากรู้แล้วตกลงงวดนี้ได้เรือยกพลขึ้นบกแค่ลำเดียวเองเหรอลำหนึ่งตั้ง145ล้านยูเอสแพงน่าดูเลยแหะสงกะสัยลำคงใหญ่น่าดูน่าจะราวๆๆ10000ตันขึ้นนะ

โดยคุณ ttrc เมื่อวันที่ 09/09/2008 08:39:30


ความคิดเห็นที่ 11


1 ลำนี้หมายความว่าของงบประมาณปีนี้รึเปล่าครับท่าน ส่วนอีกลำมาปีหน้า ???
โดยคุณ tow เมื่อวันที่ 09/09/2008 09:00:08


ความคิดเห็นที่ 12


1 ลำนี้หมายความว่าของงบประมาณปีนี้รึเปล่าครับท่าน ส่วนอีกลำมาปีหน้า ???
โดยคุณ tow เมื่อวันที่ 09/09/2008 09:00:39


ความคิดเห็นที่ 13


ส่วนตัวคิดว่าอนุมัติ 1 ลำก่อนอีกลำอาจจะอนุมัติในอนาคตคล้ายๆ ยาส อนุมัติ 6 ลำ +1 +1 ก่อนแล้วอนาคตค่อยอนุมัติที่เหลือ ว่าเรือยกพลเนียเราจำเป็นมากไหมครับหมายถึงใช้บ่อยไหมอะครับแล้วไช้ทำประโยชน์อะไรได้มั่งครับ
โดยคุณ sherlork เมื่อวันที่ 09/09/2008 09:52:37


ความคิดเห็นที่ 14


ข่าวเรื่อง ครม ไฟเยว แอลพีดีวงเงินสี่พันล้าน เกิดข้อสงสัยหลายประการกะเพื่อนสมาชิก.............................. ขอฝ่ากระแสพูดเรื่องเรือโอพีวีที่กำลังต่อโดยกรมอู่หน่อย............................................. เค้าว่าระวางอยู่ที่พันต้นๆ มีลานจอดฮ.แต่ไม่มีโรงเก็บ  ผมเดาว่าหน้าตาของเธอจะประมาณนี้มั๊ย ????????????????????


โดยคุณ กบ เมื่อวันที่ 09/09/2008 10:28:22


ความคิดเห็นที่ 15


ขนาดกำลังพอเหมาะ แล่นลว.ไกลออกไปจากฝั่ง มี 3นิ้วเป็นเพื่อนคู่กาย ในยามคับขัน จับเธอมาแต่งหน้าทาปาก เติมฮาร์พูน แซดดั้ล


โดยคุณ กบ เมื่อวันที่ 09/09/2008 10:32:43


ความคิดเห็นที่ 16


สัดส่วนยวนเย้า ออกแนวเซ็กซี่กึ่งๆ สเต้ว..........................


โดยคุณ กบ เมื่อวันที่ 09/09/2008 10:33:51


ความคิดเห็นที่ 17


ภาพซ้ำ ........กำ ขออภัย...............


โดยคุณ กบ เมื่อวันที่ 09/09/2008 10:36:00


ความคิดเห็นที่ 18


รึจะออกแนว เอ็กซ์ สุดๆ กระโปรงสั้นเสื้อระเบิดโนม.............. โอพีวีสเต้ว..............ขย่มคอเวตแบบไม่ต้องเกรงใจกันเลย........................


โดยคุณ กบ เมื่อวันที่ 09/09/2008 10:39:05


ความคิดเห็นที่ 19


เรื่องแบบเรือ LPD ผมว่าน่าจะยังไม่ได้เลือก...แต่ขอจัดงบประมาณไว้ก่อน...แล้วเลือกแบบที่หลัง โดยให้บริษัทฯ เปิดประมูลอยู่ในราคางบประมาณ...เหมือนกับ สมัยเรือ OPV ปัตตานี...

แต่ด้วยงบประมาณ เกือบ 5 พันล้านบาท...ถ้ามาลำเดียวจริง...แอนดูแร็นซ์ จะแพงไปรึเปล่า ?

ความรู้สึกผมว่า งบประมาณขนาดนี้...คงน่าจะได้เรือฝั่งตะวันตก มากกว่าฝั่งเอเซีย...

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 09/09/2008 21:51:40


ความคิดเห็นที่ 20


เรือ lpdเห็นว่าจะต่อจาก สิงค์โปร์ครับ

 

อ่านเจอในมติชนครับ  แต่ว่า หาลิงก์ไม่เจอแล้ว

โดยคุณ ericson เมื่อวันที่ 09/09/2008 23:36:07


ความคิดเห็นที่ 21


รายงานข่าวแจ้งว่า สำหรับการก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณโครงการจัดหาเรือยกพลขึ้นบก โดยเป็นการจ้างให้สร้างจำนวน 1 ลำ ราคา 4,943,854,120 บาท ของกองทัพเรือนั้น เป็นโครงการจัดหาเรือยกพลขึ้นบกขนาดใหญ่สำหรับใช้ในปฏิบัติการสะเทินน้ำสะเทินบก การขนส่งลำเลียงทางทะเล การช่วยเหลือประชาชน บรรเทาสาธารณภัยต่างๆ และสนับสนุนการฝึกภาคปฏิบัติในทะเลของกองทัพเรือ และใช้เป็นฐานปฏิบัติการในทะเล โดยปัจจุบันกองทัพเรือมีเรือยกพลขึ้นบกขนาดใหญ่ จำนวน 4 ลำ และในปี 2551 มีแผนที่จะปลดระวางประจำการจำนวน 2 ลำ เนื่องจากมีสภาพชำรุดไม่คุ้มค่ากับการซ่อมแซม ทำให้เรือยกพลขนาดใหญ่ไม่เพียงพอ จำเป็นต้องหาทดแทน สำหรับการจัดหาเรือยกพลลำใหม่นี้ เป็นการก่อหนี้ผูกพันต่อเนื่อง 4 ปี แบ่งเป็น ปี 2551 จำนวน 1 พันล้านบาท ปี 2552 จำนวน 1.4 พันล้านบาท ปี 2553 จำนวน 1.4 พันล้านบาท และปี 2554 จำนวน 1,143,854,120 บาท พร้อมอุปกรณ์ อะไหล่ เครื่องมือ ส่วนสนับสนุน และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง จากบริษัท Singapore Technologies Marine LTD. จากสาธารณรัฐสิงคโปร์ กำหนดส่งมอบ ณ อู่เรือของผู้รับจ้าง ภายใน 48 เดือน นับถัดจากวันลงนามในสัญญา____

____________________________

ข่าวจากมติชนครับ

โดยคุณ ericson เมื่อวันที่ 09/09/2008 23:39:34


ความคิดเห็นที่ 22


ตามข้อมูลข่าวข้างต้นก็ชัดเจนครับว่าเรือยกพลขึ้นบกที่จะต่อใหม่ของกองทัพเรือนั้นจะเป็นการว่าจ้างบริษัทของสิงคโปร์ ซึ่งจากข้อสังเกตุจากแผน9ปีเดิมนั้นก็จะเห็นว่าคุณสมบัติเรือในแผนใกล้เคียงกับเรือชั้น Endurance ครับ

จากเอกสารของ Singapore Technologies Marine นั้นก็กำหนดให้เรือชั้น Endurance เป็นเรือประเภท LST(Landing Ship Tank) ครับ ไม่ใช่ LPD (ซึ่งคุณสมบัติจะใช้ก็ตาม) ขณะก็ไม่ทราบข้อมูลว่า งป.ที่สิงคโปร์ใช้ต่อเรือชั้น Endurance 4ลำที่ผ่านมานั้นใช้ งป.ไปเท่าไรครับ ซึ่งราคาเรือที่กองทัพเรือจะสั่งต่อ1ลำที่ราว $145million นั้นไม่ทราบเป็นราคาที่มีผลมาจากค่าเงินที่เปลี่ยนไปด้วยหรือไม่ครับ(ตอนที่สั่งต่อ ร.ล.จักรีนฤเบศร นั้นราคาเรืออยู่ที่ $175 Million ครับ)

ก็ไม่แน่ใจครับว่าเรือที่จะสั่งต่อนั้นมีคุณสมบัติเดียวกับชั้น Endurance หรือใหญ่กว่าครับ(ว่าแต่สั่งต่อเรือชั้นนี้ 48เดือน 4ปีเลยหรือครับ)

http://www.stengg.com/upload/572N81fXA1DTA3OViRd.pdf

โดยคุณ AAG_th1 เมื่อวันที่ 10/09/2008 02:15:12


ความคิดเห็นที่ 23


ตามข่าวเป็นเรือยกพลขึ้นบก....

หรือนี่ คือ เรือ L เล็ก ที่ท่าน Flg Ship เคยให้ทาย....

ยังไม่ใช่ L ใหญ่ (LPD)

อินโดนีเซีย จ้างอู่เรือ เกาหลีใต้ เซ็นสัญญา 2004 เริ่มสร้าง 2005 - เสร็จ พร้อมประจำการ 2007  ใช้เวลาประมาณ 3 ปี....

ด้วยเครดิต ประเทศไทย ดีมาก ถึง ดีที่สุด...เงินไม่มา เหล็กไม่เชื่อม เฟ้ยยย....ผ่อนจ่าย 4 ปี ก็ต้องใช้เวลาสร้าง 4 ปี ซิจ๊ะ...กิ๊ว กิ๊ว...

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 10/09/2008 10:11:12


ความคิดเห็นที่ 24


กองเรือยกพลขึ้นบก ปี 2550

 


โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 10/09/2008 11:17:33


ความคิดเห็นที่ 25


กองเรือยกพลขึ้นบก ปี 2551 - 2554


โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 10/09/2008 11:19:18


ความคิดเห็นที่ 26


และเรือชั้น มัตโพน อนาคตจะเป็นเรือที่ได้รับการยกย่องว่า ประจำการนานมากที่สุดของ กองทัพเรือไทย  ต่อไป...เพราะประจำการมาตั้งแต่ปี 2490-2491 ปัจจุบัน ก็ร่วม 60 ปี แล้ว....
โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 10/09/2008 11:23:53


ความคิดเห็นที่ 27


ดูเหมือนว่าตอนนี้ กองทัพเรือไทย มีกองเรือยกพลขึ้นบก เล็กว่า ประเทศสิงคโปร์...ล่ะมั๊งครับ...

ประเทศสิงคโปร์ ประจำการเรือ เอ็นดูแรนซ์ 4 ลำ ขนาด 6,000 ตัน รวมทั้งสิ้น 24,000 ตัน สามารถบรรทุกทหารได้ รวม 1,400 นาย รถถัง 72 คัน รถบรรทุก 80 คัน  โดยใช้กำลังพลประจำเรือเพียง 260 นาย

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 10/09/2008 13:24:03


ความคิดเห็นที่ 28


เรือยกพลตัวใหม่ที่จะมานี้ หากสร้างลำเดียว มีระวางขับน้ำหมื่นตันขึ้นไป ผมแค่สงสัยว่า แนวคิดของ ทร.ที่จะใช้เรือลำนี้ เป็นไปเพื่อจุดประสงค์ใดเป็นหลักน่ะครับ (งงไหมพี่) เพราะถ้าเป็นใจผมนะ (ความคิดผมนะครับ) หากซื้อขนาดหกพันตันสักสองลำ มันจะยืดหยุ่นในการใช้งานกว่าหรือไม่น่ะครับตรงที่ มีหลายลำ แบ่งภาคได้ แถมน่าจะประหยัดกว่า

 

อีกคำถามนึง พอทราบไหมครับพี่ว่า AAV 7 ของเรา เหลือประมาณกี่คันครับ แล้วถ้ามันปฏิบัติการกับเรือ LPD ตัวใหม่ของ ทร. (น่าจะใช้ประเภทนี้นะ) มันแล่นออกมาจากท้ายเรือเลยใช่ไหมครับ

 

ปล. คิดจะทำไดโอครับ

โดยคุณ krubannok เมื่อวันที่ 10/09/2008 20:28:27


ความคิดเห็นที่ 29


ท่านครูชนบท ถ้าเป็นเรือชั้น เอ็นดูแรนซ์ ระวางบรรทุกสูงสุดไม่เกิน 10,000 ตัน สูงสุดประมาณ 8,500 ตัน ครับ...

ซึ่งดูจากภาระกิจแล้ว น่าจะใช้งานแทน 911 ได้ดีกว่าครับ...ในเรื่องการช่วยเหลือผู้ประสบภัย

เพราะสามารถบรรทุกเรือ LCM หรือเรือสะเทิ้นน้ำ สะเทิ้นบกได้...และสามารถบรรทุก ฮ. ขนาดใหญ่ได้...ความสิ้นเปลืองต่ำกว่า 911....

ระหว่างเรือขนาดไม่ใหญ่มาก ถ้าเทียบชั้น เอ็นดูแรนซ์ 1 ลำ ออกปฏิบัติการ สามารถบรรทุกทหารได้ 350 นาย รถถังอีก 18 คัน ยานยนต์รบอีก 20 คัน และ ฮ.ลำเลียงทหารได้ 2 ลำ

ในการยกพลที่ขนาดเท่ากับ เอ็นดูแรนซ์ 1 ลำ เราอาจจะต้องใช้ ทั้ง ร.ล.สีชัง และ 911  ซึ่ง ร.ล.สีชัง ใช้กำลังพลประจำเรือ 100 กว่าคน และ 911 ใช้กำลังพลเรือเกือบ 1,000 คน ขณะที่ เอ็นดูแรนซ์ ใช้กำลังพลประจำการเพียง 65 คน...ค่าใช้จ่ายในดำรงสถานะการรบ ทั้งเงินเดือน และเชื้อเพลิง ของเรือขนาดเล็ก ผมว่ามันจะดูมากกว่า เรือขนาดใหญ่ ที่มีภาระกิจเอนกประสงค์ 

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 10/09/2008 20:50:16


ความคิดเห็นที่ 30


หรือในการช่วยเหลือผู้ประสบภัย...ในการอพยพประชาชน อย่างเร่งด่วน จำนวน 100-200 คน...ปฏิบัติการของ 911 จะต้องเคียงคู่ไปกับ ร.ล.สีชัง หรือ ร.ล.สุรินทร์...เพราะ 911 ไม่มีเรือระบายพลขนาดเล็ก สามารถใช้ได้แต่ ฮ. เท่านั้น (ซึ่งต้องใช้กำลังพล และเชื้อเพลิงในการขับเคลื่อนเรือจะมากกว่าจำนวนประชาชนที่ต้องอพยพออกมา) ในขณะที่ เรือยกพลเอนกประสงค์แบบ เอ็นดูแรนซ์ หรือ เอ็นฟอร์เซอร์ (เนเธอร์แลนด์) สามารถปฏิบัติการได้ในลำเดียว และใช้กำลังพลประมาณ 65-80 นาย
โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 10/09/2008 20:55:58


ความคิดเห็นที่ 31


การจัดหาเรือใหม่ที่จะเข้าประจำการในกองเรือยกพลขึ้นบกแทนเรือเก่าที่ใช้งานมานานนั้นจะมีอยู่สองแบบครับ

คือเรือยกพลขึ้นบก LST ที่สั่งต่อจากสิงคโปร์ตามข่าวในข้างต้น

และเรือระบายพลขนาดใหญ่ LCU เช่นเดียวกับ ชุด ร.ล.มันนอก มีขนาดยาวไม่น้อยกว่า 50 เมตร ซึ่งไทยสามารถต่อได้เองโดยอู่ภายในประเทศครับ

โดยคุณ AAG_th1 เมื่อวันที่ 10/09/2008 22:43:26


ความคิดเห็นที่ 32


ขออนุญาตตอบนะครับ พอดีพึ่ไงปฝึกที่เรือสุรินทร์มา เรือที่จะต่อใหม่นั้น เปนเรือจากสิงคโปร์แน่นอนและมีแบบแน่นอนแล้ว โดยจะต่อลำเดียวก่อน เนื่องจากตอนนี้เรือยกพลของเรานั้นล้าสมัยแล้ว และมีขนาดไม่พอตอภารกิจ จะเห็นว่าเรือที่ใหญ่ที่สุดตอนนี้ ในกองเรือยกพลขึ้นบก คือ 721 และ 722 หรือเรือสุรินทร์และสีชัง ซึ่งตอนนี้สีชังก้อซ่อมอยู่ สุรินทร์ก้อมีเพียงเครื่งอยนตร์เดียวบ้าง ใบางครั้ง เพราะเรือทั้งสองลำ ปฏิบัติภารกิจมาอย่างตรากตรำตลอดการใช้งาน ไม่ว่าจะเป็นภารกิจการฝึก นักเรียนนายเรือ และนักเรียนเตรียมทหาร นักเรียนจ่าทหารเรือ เรือสุรินทร์และสีชังจะอยู่ในหมู่เรือฝึกแทบทุกครั้ง นับว่าเรือครูของกองทัพเรือไืทยลำหนึ่งและเป็ฯเรือนักรบอีกด้วย เคยที่จะลำเลียงกำลังพลไปยังติมอร์ตะวันออก�
เรือนั้นสามารถลำเลียงกำลังได้ประมาณ 100กว่าเกือบ 200 ไม่รวม ประจำเรือ และ ยานรบได้อีก 16 คัน ด้านหลังมีลานจอด ฮ. ซึ่งปัจจุบันเ รือทั้งสองลำ อยู่ในช่วงครึ่งชีวิต คือ 20 ปี และเรือก้อไม่สามารถที่จะใช้ได้อย่างเต็มที่ แลมป์ด้านหน้าก้อเปิดไม่ได้เพราะเชื่อมประตูติดไว้แล้วหลังจากเจอพายุ ขณะปฏิบัติภารกิจใน มฝ. นนร. 2ปีที่แล้ว ขณะไปเซี่ยงไฮ้ นับว่าเรืออยู๋ในสภาพไม่พร้อมเท่าที่ควร จึงมีความจำเป็ฯที่จะจัดหาเรือ ยกพลลำใหม่ ซึ่งน่าจะเป็น LST Landing Ship Tank ครับ
โดยคุณ PANZER2001 เมื่อวันที่ 11/09/2008 04:50:53


ความคิดเห็นที่ 33


แล้วทัพเรือไม่ซ่อมแซมเรือหลวงสุรินทร์กับเรือหลวงสีชังให้มีสภาพดีดังเดิมไม่ต้องปรับปรุงอะไรมากนอกจากโครงสร้างของเรือกับเครื่องยนต์เรือหลวงทั้ง2ลำนี้จะได้มีสภาพพร้อมรบเต็ม100%ไม่ใช่มีแค่ครึ่งกลางแบบนี้
โดยคุณ ttrc เมื่อวันที่ 12/09/2008 07:49:54


ความคิดเห็นที่ 34


ขอลงอีกกระทู้นะครับ

 

****โดยกองทัพเรือ ขอก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณโครงการจัดหาเรือยกพลขึ้นบก โดยเป็นการจ้างให้สร้างจำนวน 1 ลำ ราคา 4,943,854,120 บาท ในราคายกเว้นศุลกากร เพื่อใช้สำหรับปฏิบัติการทางทะเล การบรรเทาสาธารณภัย และช่วยเหลือผู้ประสบภัย รวมทั้งเพื่อการฝึกให้กับทหารเรือ โดยปัจจุบันกองทัพเรือมีเรือยกพลขึ้นบกขนาดใหญ่ จำนวน 4 ลำ และในปี 2551 มีแผนที่จะปลดระวางประจำการจำนวน 2 ลำ เนื่องจากมีสภาพชำรุดไม่คุ้มค่ากับการซ่อมแซม สำหรับการจัดหาเรือยกพลลำใหม่นี้ เป็นการก่อหนี้ผูกพัน ต่อเนื่อง 4 ปี แบ่งเป็น ปี 2551 จำนวน 1 พันล้านบาท ปี 2552 จำนวน 1.4 พันล้านบาท ปี 2553 จำนวน 1.4 พันล้านบาท และปี 2554 จำนวน 1,143,854,120 บาท พร้อมอุปกรณ์ อะไหล่ เครื่องมือ ส่วนสนับสนุน และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง จากบริษัท Singapore Technologies Marine LTD. จากสาธารณรัฐสิงคโปร์ กำหนดส่งมอบ ณ อู่เรือของผู้รับจ้าง ภายใน 48 เดือน นับถัดจากวันลงนามในสัญญา***

 

 แพงไปหรือเปล่าครับในราคา 1 ลำ ราคาเกือบ 150 ล้าน$ ในขณะที่ ทร.อินโดสั่งต่อได้ 2 ลำ พร้อมถ่ายทอกเทคโนฯ ต่อในประเทศอีก 2 ลำ ข้อมูลนี้จากคุณ Juldas .ในhttp://www.thaifighterclub.org/webboard.php?action=detailQuestion&questionid=7483&topic=KRI%20Makassar%20class%20%20%20LPD%20ของ%20ทร.อินโดนีเซีย  อยากให้เราเอาอย่างเขามั่งจัง

โดยคุณ SPECI เมื่อวันที่ 12/09/2008 22:25:41


ความคิดเห็นที่ 35


ท่าน SPECI  ในความรู้สึกผมก็ มีความรู้สึกว่า ราคามันสูงอยู่เหมือนกัน...

แต่ทั้งนี้ เมื่อดูถึงเรือของ ทร.อินโดฯ จะไม่มีระบบอาวุธมาด้วย...และเรื่องระบบเรดาห์ต่าง ๆ เท่าที่เห็นในรูป ก็ดูเหมือนของ ทร.อินโดฯ จะมาแต่ตัวเรือ เท่านั้น....และเรื่องสภาพเหล็กประกอบเรือ ของ ทร.อินโดฯ ถ้าท่านสังเกตุดี ๆ ผมว่ามันดูบาง ๆ ยังไงพิกล...

แต่ของ ทร.ไทย ถ้าเป็นเรือชั้น เอ็นดูแรนซ์ ที่มีระบบอาวุธ และระบบเรดาร์ต่าง ๆ ครบครัน เหมือนของ ทร.สิงคโปร์...ซึ่งน่าจะมีระบบออโตเมติกหลายอย่าง...จึงใช้พลประจำเรือเพียง 65 นาย...ในราคาดังกล่าว ประมาณ 145 ล้านเหรียญ ตามทีท่าน AAG_th1 คำนวณไว้...ราคามันก็อาจจะเหมาะสมก็ได้ครับ...

เรื่องราคา คงต้องลองหาข้อมูลประกอบ ของการจัดหาเรือใหม่ที่มีเทคโนโลยี่ เช่น เอ็นฟอร์เซอร์ (เนเธอร์แลนด์) มาเปรียบเทียบครับ....

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 12/09/2008 22:55:49


ความคิดเห็นที่ 36


ท่าน JULDAS  ในความรู้สึกผม ยังงัยราคามันสูงอยู่ดีครับ แม้จะมีระบบอาวุธ และระบบเรดาร์ต่าง ๆ ครบครัน เหมือนของ ทร.สิงคโปร์ ก็ตาม แต่ยังงัยผมก็ดีใจกับทร. ที่เราจะได้เรือดีๆมาสักลำครับ ในใจผมยังงัยก็อยากให้ทร.ส่งเสริมอุสาหกรรมการต่อเรือในประเทศครับ ด้วยการสั่งต่อจากอู่ต่อของเราเอง โดยให้อู่ของเราทำสัญญาร่วมกับบริษัทต่างประเทศก็ได้ครับ จะได้มีการถ่ายทอดเทคโนฯควบคู่กันไปด้วย อย่างสิงคโปร์เขาต่อในประเทศเขาเป็นหลัก เรือลำต่อไปต่อที่ในประเทศเถอะ สาธุ สาธุ สาธุ
โดยคุณ SPECI เมื่อวันที่ 13/09/2008 01:07:33


ความคิดเห็นที่ 37


ราคาเรือรบสมัยใหม่ 8000ตัน /5000ล้านบาท น่าจะไม่แพงหรอกครับ จัดว่าถูกเสียด้วยซ้ำ โดยปกติ ราคาต่อตันคร่าวๆหลายปีก่อนยังคิดว่าตันละล้าน ทั้งนี้แล้วแต่ประเภทเรือ ถ้าเรือพิฆาต เรือฟริเกตก็แพงหน่อย เรือลำเลียง เรือยกพลก็ถูกหน่อย ปัจจุบันหาไม่ได้แล้ว ยิ่งเป็นเรือรบที่มีเรดาร์ มีเครื่องควบคุมการยิง และเป็นเรือชนิดพิเศษที่จมท้ายได้อย่างเรือ LPD ไม่เหมือนเรือ LST เก่าที่เป็นเรือเปล่าๆ ถ้าเป็นเรือ ฟริเกตทันสมัย สัก3000ตัน+ ราคาประมาณ 15000 ล้านแล้วครับ ทำอย่างไรได้ครับถึงจะต่อเรือเองก็ประหยัดเพียงค่าแรงและค่าดำเนินการเท่านั้น วัสดุ อุปกรณ์อิเลคทรอนิส์ และยุทโธปกรณ์ที่เราทำเองไม่ได้เป็นราคาส่วนใหญ่ของเรือ ชนิดที่ว่าครึ่งต่อครึ่งหรือกว่านั้น ลองดูราคา LPP - 17 ของสหรัฐฯ

http://informationdissemination.blogspot.com/2007/07/house-armed-services-committee-and-navy.html

On a per-ton basis, the lead LPD-17 was the most expensive amphibious ship ever built, at more than $130 million per thousand tons (see Figure 4). Using the historical cost-weight relationship of either the LSD-41 or LHD-1 amphibious ship as an analogy would have substantially understated the actual costs of the LPD-17. Subsequent ships in the LPD-17 class cost between $1.4 billion and a little less than $1.7 billion, or an average of about $90 million per thousand tons. To meet the $1.5 billion cost target in the current shipbuilding plan, the Navy would have to build all future amphibious ships for about $70 million per thousand tons. However, the Navy estimates that the lead LHA-6 will cost about $90 million per thousand tons.

สรุปว่าขนาดเรือยกพลที่สหรัฐจะต่อในอนาคตยังมีราคาประมาณตันละ 2.3 ล้านบาท เรือ LPD -17 ที่ต่อไปแล้ว ตันละ 4.3ล้านบาท ของไทยตันละไม่ถึงล้านบาทนะครับ

 

โดยคุณ โย่ง เมื่อวันที่ 13/09/2008 22:00:06


ความคิดเห็นที่ 38


ตอนนี้ราคาเหล็กเขาขึ้นมาตั้งเยอะแล้วครับ

เอาไปเปรียบกับเรือหลวงจักรกรีฯไม่ได้แล้วครับ

ผมว่าทำตามแนวพระราชดำรัส...ของพ่อหลวงของเราดีกว่า

ปรับปรุงและพัฒนาแบบเรือ ต.99ทั้งหลายเอาส่วนดีๆมารวมกัน

และปรับแบบให้เป็นเรือแบบต่างๆ  จะระบายพล  ตรวจการก็ว่ากันไป

งบ4พันล้านน่าจะพัฒนาได้สักแบบ  ถึงตอนนั้นจะต่อกี่ลำก็บ่ยั้นครับ

ต่อเองมีการจ้างงานกระจายรายได้รัฐบาลน่าจะชอบ

ใช้เวลานานก็ไม่เป็นไรเพราะทุกวันนี้กว่าจะได้อาวุธก็นาน...น่าน...นาน อยู่แล้ว  (แต่เวลามีเรื่องอะไรเรียกหาทหารทุกที!!!)

ก้าวแรกบนดวงจันทร์เริ่มจากก้าวเล็กๆบนโลกครับ...สู้ต่อไป  ทหารพระราชา

ป.ล. เป็นความเห็นส่วนตัวนะครับ


โดยคุณ อีแอบ เมื่อวันที่ 17/09/2008 13:14:12


ความคิดเห็นที่ 39


เห็นด้วยกับคุณ อีแอบ เลยครับ เห็นด้วยมากๆ บางครั้งผมว่าทำไมเราไม่คิดกันบ้าง จ้างแต่คนอื่น คนเราเลยทำไม่เป็น ผมคิดว่านะครับ(ความเห็นส่วนตัว) การที่เราต่อที่อู่ของเรามีข้อดีมากมายเลย คิดง่ายๆเลยนะครับถ้าต่ออู่ในประเทศเงิน 4พันล้านก็อยู่ในประเทศครับ ไม่ลอยไปสิงคโปร์หรือไปประเทศอื่น 4พันล้านจ้างงานกระจายรายได้คนไทย มีงานย่อมมีการพัฒนาฝีมือ คนงานมีรายได้ รัฐเก็บภาษีได้ถูกมั้ยครับ คนมีรายได้ย่อมมีรายจ่ายครับกับการจับจ่ายซื้อของครับของที่ซื้อเกือบทุกอย่างมีภาษีครับ 4พันล้านที่รัฐจ่ายไปนอกจากได้เรือที่ต่อแล้วรัฐยังได้เงินคืนมาในรูปแบบของภาษี ไม่ใช่ได้มาแต่เรือ  บางท่านบอกว่าอู่ในประเทศเราไม่มีความสามารถต่อเกิน2000ตันได้ ใช่ครับถูกต้อง แต่เราต้องมองในแง่ของธุรกิจบ้างครับ ถ้าเขาไม่เคยได้รับงานให้ต่อมากกว่านั้น เขาจะขยายเป็น ระดับ 10000 ตัน ไปทำไมให้เสียตังค์และเสี่ยงให้ล้มละลาย ในเมื่อรัฐไม่ส่งเสริม ต่อทีก็เรือเล็กๆมันไม่ค้ม ถ้ารัฐส่งเสริมและสั่งต่อในประเทศเป็นหลัก แสนตันคนไทยก็ทำได้ และทำได้ดีกว่าเวียดนามที่ต่อแสนตันได้แล้วเสียอีกผมคิดนะ

**อีกเรื่องนะครับ เรื่องปืนhk33 แต่เอาไว้วันหลัง**

โดยคุณ SPECI เมื่อวันที่ 17/09/2008 23:17:40


ความคิดเห็นที่ 40


ก่อนอื่นต้องบอกว่าผมเห็นด้วยอย่างยิ่งที่ว่าควรต่อเรือรบขนาดใหญ่ขึ้นในประเทศบ้าง  แต่ก็ต้องบอกก่อนว่าถ้าต่อเรือราคา 5000ล้านบาทในประเทศไทย เงินจำนวนนั้นจะอยู่ในประเทศไทยถึง 500 ล้านได้ก็นับว่าเก่งมากครับ เพราะเงินที่อยู่กับเรานั้นเป็นแค่ค่าแรงงาน อุปกรณ์ประเภทเฟอร์นิเจอร์ สายไฟประเภทเกรดไม่สูงนัก หมอนที่นอน จานชาม สีที่ทำในไทย ฯลฯของที่ทำในเมืองไทยได้มีเล็กน้อยมากในเรือรบ แม้แต่ค่าออกแบบยังไปเมืองนอกเกือบหมด ของหลักๆล้วนแต่นำเข้าทั้งสิ้น ตั้งแต่ปืนหลัก ปืนรอง เรดาร์ เครื่องควบคุมการยิง โซนาร์ เครื่องมือเดินเรือ วิทยุสื่อสาร อาวุธปล่อย เครื่องนำ ฮ.ลง เครื่องยนต์ทุกขนาด ฯลฯ

เรือรบสมัยใหม่ ราคาอาวุธและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิคส์ มากกว่าครึ่งของราคาเรือนะครับ นอกจากนั้นส่วนประกอบตัวเรือและเครื่องจักร เครื่องยนต์ยังต้องนำเข้าทั้งสิ้น ลองถามอู่ต่อเรือในประเทศได้ทุกอู่

แต่อย่างที่ว่าถ้าต่อในประเทศได้ เงินอยู่ในประเทศ 10%ก็ย่อมดีกว่าออกไป100%  จริงๆก็อยากให้อยู่มากกว่านั้น แต่เป็นเรื่องยากเพราะระเบียบของรัฐไม่ได้เอื้ออำนวยให้อู่ไทยมีแต้มต่อเลย ถ้าต่อในประเทศราคาอาจต้องสูงกว่า ระยะเวลาต่อนานกว่า คุณภาพอาจด้อยกว่าบ้าง เพราะอะไรครับ  เพราะถ้าต่อเรือที่ใหญ่และซับซ้อนอู่ไทยอาจต้องซื้อเทคโนโลยี่บางอย่างเข้ามา ต้องลงทุนขยายพื้นที่ ต้องลงทุนซื้อเครื่องจักร เครน ฯลฯเพิ่มเติม ทำให้มีต้นทุนสูง อู่ ตปท.ซื้ออาจซื้อของได้ถูกกว่าเราซื้อเพราะเขาซื้อเป็นประจำ และจำนวนมากกว่า ขนส่งมาที่เรือใกล้กว่า(เช่นต่อในยุโรปและใช้ของจากประเทศในยุโรป) มีเหตุผลอีกร้อยแปดที่ไม่ได้พูดถึง

โดยสรุป เรือที่ซับซ้อน และมีขนาดใหญ่ ต่อต่างประเทศถูกกว่าในประเทศ ดังนั้นถ้าจับมาแข่งขันกันตามระเบียบการจัดซื้อ/จ้างของไทยอู่เราสู้ไม่ได้ และมีความเสี่ยงที่งานไม่เสร็จตามแผน หรือล้มไปเพราะมีอุปสรรคสูงมาก

ทางแก้ไข ต้องค่อยๆโต ดูอย่างมาร์ซัน ต่อเรือมากขึ้น สั่งสมประสบการณ์ชั่วเวลาไม่นานนัก ได้งานจาก ทร.มากมาย บางแบบเริ่มออกแบบโดยmodมาจากแบบของต่างชาติแล้ว  นอกนั้นยังต่อให้หน่วยราชการอื่นๆและเอกชนในไทยและต่างประเทศเพิ่มขึ้นเรื่อย แต่บางอู่อย่างยูนิไทยไม่อยากต่อเรือใหม่แล้วเพราะความเสี่ยงสูง ซ่อมเรือได้เงินง่ายกว่า นอกจากนั้นยังไปสร้างแท่นขุดเจาะในทะเลอีกทางหนึ่ง เอเชี่ยนมารีน อิตัลไทย ก็เห็นยังต่อเรือของเอกชนอยู่ แต่งานส่วนใหญ่เป็นงานซ่อม

คงต้องพยายามให้อู่ไทยสร้างผลงานไปให้มากกว่านี้อีกหน่อย รวมทั้งให้มีโรงงานผลิตอุปกรณ์ประกอบมากขึ้นด้วย แต่อาวุธนั้น ผมเชื่อว่าอีก 50ปี ปทท.ก็ยังทำปืนใหญ่เรือขนาด3นิ้ว (76 มม.)ที่ยิงเร็วขนาดวินาทีละ 2นัดอย่างที่เราใช้อยู่ในเรือของ ทร.ขณะนี้ไม่ได้  เพราะอุตสาหกรรมด้านนี้ของไทยไม่มีเลยครับ  เรื่องพวกนี้ต้องกระทุ้งรัฐบาลให้ช่วยอู่ไทยให้มากขึ้น  ขณะนี้กลัวว่า ตปท.จะว่าว่าไม่ยุติธรรม ไม่โปร่งใส  ผู้ใช้เองก็ถูกจำกัดด้วยระเบียบของทางราชการด้วย ถ้างป.ให้มาเท่านี้ต้องจบใน4ปี ต่อในไทยอาจเป็น4ปีครึ่งหรือ5 ปีจะยอมรับได้หรือไม่ คนทำอาจติดคุกได้ง่ายๆ

โดยคุณ โย่ง เมื่อวันที่ 19/09/2008 12:18:49


ความคิดเห็นที่ 41


CSAR capability ? ไม่มี อีกแล้ว

 

โดยคุณ dboy เมื่อวันที่ 06/10/2008 02:50:21


ความคิดเห็นที่ 42


เรื่องอยากให้เงินหมุนไปในประเทศผมก็เห็นด้วย
แต่...แต่...แต่... งานไหนไม่ถนัดยุคโลกหมุนไปก็ต้องแบ่งงานให้
คนที่ถนัดทำดีกว่า ที่พร้อมกว่า มีประสบการณ์มากกว่ามาทำงาน
  ต่อให้ทู่ซี้ทำในประเทศติดปัญหาสารพัด ทำไปมายกเลิกสัญญาอีก
งานนี้คณะกรรมการประมูลจะโดนทั้งอาญาและแพ่งด้วย
ยิ่งข้าราชการสมัยนี้ แค่เข้าไปเป็นคณะกรรมการสักอย่างก็
ขาเข้าตารางข้างนึงละ
    ดังนั้น วิีธีการประมูลของทหารเรือไทยคงต้องดูเรื่องกระบวนการผลิต
ไปจนถึงความถนัดในด้านชิ้นงานต่างๆ
ไม่อยากให้เกิดเหตุการณ์ รถดับเพลิงที่ต้องไปค้างอยู่ท่าเรือ เพราะคนหัวหมอ
ทั้งหลาย อีนุงตุงนัง 
      เมืองไทยนิ่งๆอย่างงี้เพราะคนเรียนสูงมีเยอะ แต่จะพัฒนาทีติดกฏหมาย
หลายฉบับเลย ไปไหนไม่ได้อะครับ
ดังนั้น สรุป ก็งานไหนที่อู่ต่อเรือไหนมีศักยภาพ ก็ให้เขาต่อไปเถอะครับ
ดีกว่ามานั่งปวดหัวเรื่องต่างๆที่จะโดนสอยกันระหว่างการจ่ายตังค์และหลายอย่าง
      จ่ายแพงกว่าหน่อยแต่ได้งานคุณภาพ ดีกว่าจ่ายถูกราคา แต่งานล่าช้า
และเสียเวลาเรื่องหยุมหยิมไม่เป็นเรื่องครับจริงๆ
โดยคุณ siamman18 เมื่อวันที่ 06/10/2008 23:15:21