ส่วนตัวแล้วผมชอบเจ้า HQ7 มากกว่า LY-60 ดูขนาดแล้วน่าจะไม่มีปัญหาในการติดตั้ง ยิ่งเห็นเจ้านี้ได้รับความไว้วางใจให้ป้องกันในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก (สนามกีฬารังนก) แล้วทำให้คิดว่าต้องมีคุณภาพคับแก้วแน่นอน จีนถึงได้กล้าเอาเจ้านี่มา
จะมีพื่นที่พอให้ติดหรือเปล่าสำหรับHQ-7 นะผมว่านะคงอาวุธใว้แบบเดิมทั้งหมดเพียงแต่ติดเจ้าซี-802แทนซี-801ก็พอแล้วส่วนHQ-7หรือLY-60นะใว้ติดตั้งเรือหลวงนเรศวรหรือเรือฟรีเกตลำใหม่จะดีกว่าการที่จะติดตั้งอาวุธใหม่ๆๆบนเรือแทนของเดิมแบบว่าติดแล้วเสียบปลักแล้วยิงได้เลยนั้นบอกได้คำเดียวว่ายากมากๆๆทีแรกผมเคยคิดใว้แบบที่จขกทว่านั้นแหละว่าน่าเปลี่ยนปืน37มม.เป็นLY-60หรือปตอแบบใหม่ๆๆแต่ได้รับคำตอบที่ผู้ทั้งหลายมาว่าไม่สมควรอย่างยิ่งที่เปลี่ยนเพราะว่ามันจะส่งผลกระทบด้านโครงสร้างของเรือ
LY-60 นั้นการลอกแบบมาจาก Aspide ของอิตาลี และ HQ-7 หรือ FM-80 และ FM-90 ในรุ่นส่งออกนั้นก็เป็นการลอกแบบมาจาก Crotale ฝรั่งเศสครับ ซึ่งในกรณีของเรือชั้น ร.ล.เจ้าพระยาและกระบุรีนั้นต้องขอกล่าวก่อนว่าเรือชั้นนี้คือเรือชั้นชั้น Jianghu Type053H2 และ Type053HT ซึ่งถ้าจะกล่าวแบบตรงๆแล้วโครงสร้างเรือชั้นนี้ไม่ค่อยต่างอะไรกับเรือพิฆาตสมัยสงครามโลกครั้งที่สองแต่เปลี่ยนมาติดอาวุธปล่อยต่อต้านเรือผิวน้ำกับระบบอำนวยการรบและศูนย์ยุทธการนักหรอกครับ ถึงแม้ว่าเรือในรุ่นType053H2 และ Type053HT นั้นจะเป็นค่อนข้างจะทันสมัยหน่อยเพราะออกแบบสร้างในช่วงต้นปี1990sก็ตามแต่ โครงสร้างตัวเรือยังคงคล้ายกับเรือชั้น Jianghu ก่อนหน้านี้ซึ่งมีพื้นที่ค่อนข้างจำกัดอยู่ครับ การติดอาวุธพื้นสู่อากาศพร้อมระบบควบคุมการยิงเพิ่มเติมคงทำได้ยาก และไม่น่าคุ้มค่าที่จะทำด้วยครับ เปลี่ยนมาติด อวป.C-802A ก็น่าจะพอครับสำหรับเรือชั้นนี้
ในส่วนของเรือชั้น ร.ล.นเรศวรนั้นเป็นเรือที่ใช้ระบบผสมกันระหว่างระบบตะวันตกกับระบบจีนซึ่งตั้งแรกรับมอบเรือมาประจำการกองทัพเรือต้องใช้เวลาหลายปีกว่าจะเชื่อมต่อระบบให้ทำงานได้ครับ ซึ่งก็มีข่าวล่าสุดออกมาว่าทางกองทัพเรือมีแนวตคิดที่จะถอดระบบ Radar Sonar รวมทั้งระบบควบคุมการยิง-ป้อมปืน37มม.แฝด และระบบอำนวยการรบของจีนทั้งหมดออกแล้วเปลี่ยนไปใช้ระบบยุโรปแทนครับ ซึ่งจากแนวคิดดังกล่าวก็ค่อนข้างชัดเจนว่า ไม่มีทางมีเรือชั้นนี้จะหันไปติดอาวุธจากจีนเพิ่มเติมแน่ครับและยิ่งเป็นไปไม่ได้ใหญ่ด้วยสำหรับระบบของรัสเซียที่จะสร้างความยุ่งยากให้อีกครับ แต่ส่วนตัวเชื่อว่ากองทัพเรือคงจะไม่มีโครงการปรับปรุงเรือชั้นนี้ในช่วงนี้ครับ
สำหรับต้นตอที่มาของทั้งสองแบบคงเป็นอย่างที่ท่าน AAG_th1 ว่าละครับ ส่วนการใช้งานก็จะเป็นอย่างที่ท่าน Phongrapee ว่านะครับ
LY-60 (HQ-64) มีพื้นฐานมาจาก Aspide ของอิตาลี มีให้เห็นใน PLA ในรุ่นฐานยิงบก (http://www.sinodefence.com/army/surfacetoairmissile/ly60.asp) และอาวุธนำวิถีอากาศ-สู่-อากาศ ในรูปของ PL-11 (http://www.sinodefence.com/airforce/weapon/pl11.asp) ซึ่งทั้งสองแบบมีประจำการเป็นจำนวนจำกัดใน PLA สำหรับในรูปแบบของเรือ-สู่-อากาศ มีให้เห็นเพียงที่ติดตั้งให้กับเรือฟริเกตของทร.ปากีสถานเท่านั้น
ผิดกับ HQ-7/FM-80/FM-90 ที่มีพื้นฐานจากระบบ Crotale / Sea Crotale ของฝรั่งเศส และมีใช้กันทั้งสามเหล่าทัพของ PLA
สำหรับประเทศไทย ระบบจรวด Aspide มีใช้อยู่ในระบบ Albatrous ของชุดรล.รัตนโกสินทร์และเคยมีใช้ในระบบ Apada ของ ทบ. ซึ่งหากทร.เลือกระบบนี้ ในอนาคตอาจต่อยอดไปยังระบบที่เหลือก็ได้ อย่างน้อยเพื่อการฝึกก็ยังดี ระบบเป็นของยุโรป ตัวจรวดเป็นของจีน ซึ่งถ้าเป็นอย่างนั้นระบบ Apada อาจกลับมาก็ได้ เพิ่มความเชื่อมั่นระบบป้องกันภัยทางอากาศอีกระดับหนึ่ง
ในส่วนของการติดตั้งบนชุดรล.เจ้าพระยา ขอเสนอความเห็นว่าติดตั้งเฉพาะรล.เจ้าพระยา และ รล.บางปะกง แทนที่ป้อมปืน 100 มม. ป้อมหลัง ก็จะแก้ปัญหาเรื่องพื้นที่ติดตั้งได้ และทั้งสี่ลำก็ติด Yu-7 (ลอกแบบมาจาก Mk. 46 ของอเมริกา) เพิ่มขีดความสามารถในการปราบเรือดำน้ำด้วย และเป็นการป้องกันการใช้ sensor และระบบอาวุธข้ามค่ายอย่างที่หลาย ๆ ท่านเป็นห่วงกัน
ในส่วนของระบบ Shipboard SAM เป็นท่านละ จะเชียร์ทีมไหน อิตาลี หรือ ฝรั่งเศส
มีความแม่นยำต่อเป้าหมาย ยืนยันด้วย
ทำความเข้าใจก่อนนะครับว่า ลอกแบบ นี้ไม่ได้หมายความว่ามันเป็นระบบเดียวกันนะครับ
เหมือนกับ C-801 ที่มีการออกแบบคล้ายคลึงกับ Exocet ครับ แต่ตัวระบบภายในของจีนนั้นทั้งดินขับ และระบบนำร่องElectronic ต่างๆเป็นคนละระบบกับของฝรั่งเศสครับ ระบบควบคุมการยิงก็เป็นแบบของใครของมัน Torprdo Yu-7 ก็เช่นกัน มันคล้าย Mk46 ก็จริงก็ไม่ใช่ระบบเดียวกันครับเราคงเอา Torpedo ของ Yu-7 ไปใส่แท่นยิง Mk32 ไม่ได้ครับ
เพราะฉนั้นเราไม่สามารถเชื่อมตัวจรวด LY-60 จีนเข้ากับระบบของยุโรป SPADA หรือ Albratoss ที่ใช้จรวด Aspide ได้ครับ
เรือชั้นเรือหลวงเจ้าพระยาและกระบุรีนั้นติดจรวดปราบเรือดำน้ำแบบ Type 81 250mm 5ท่อยิงสองแท่นที่หน้าป้อมปืนครับ ซึ่งในอนาคตนั้นอาจจะมีการเปลี่ยนไปติด Yu-7 ก็ได้ แต่โดยส่วนตัวแล้วเชื่อว่ากองทัพเรือไม่มีแผนที่จะปรับปรุงขีดความสามารถในการปราบเรือดำน้ำของเรือชั้นนี้เพิ่มเติมในขณะนี้ครับ
และก็ LY-60 กับ Spada นั้นเป็นคนละระบบครับ ยังไงก็ไม่มีทางสามารถเชื่อม ตัวจรวด แท่นยิง กับ Sensor และ ระบบควบคุมการยิงได้ครับ ถ้าจะจัดหาก็ต้องจัดหาใหม่หมดทั้งระบบครับ
ระบบ Kashtan นั้นราคาน่าจะแพงกว่า Sadral หรือ Phalanx พอสมควรครับแต่คงจะถูกว่า Goalkeeper เล็กน้อยครับ
อย่างไรก็ตามระบบ Kashtan นั้นไม่เหมาะครับถ้าจะจัดหามาติดตั้งกับเรือที่มีใช้งานอยู่ในปัจจุบัน เนื่องจากตัวกระสุน30mmที่ใช้กับปืนและอาวุธปล่อยที่ต้องจัดหามาใหม่หมด พื้นที่ของระบบที่ใช้ในการติดตั้งใต้โครงสร้างหลัก และความเข้ากันได้กับการเชื่อมต่อกับระบบควบคุมการยิงและศูนย์ยุทธการที่เรือของกองทัพเรือใช้เป็นระบบตะวันตกหรือจีนนั้นค่อนข้างแน่ใจว่าไม่สามารถทำได้ครับ
พอดีผมได้ข้อมูลของระบบต่อสู้อากาศยานของรัสเซีย เห็นว่าน่าสนใจดี
SA-N-11 Grisom / Kortik (Kashtan)
Engagement zone:
missiles 1.5 ... 8 km.
guns 0.5 ...1.5 km.
altitude, m from 5 to 4,000
Maximum target speed, m/s 600
Kill probability 0.96 ... 0.98
Number of targets engaged simultaneously up to 6
Rate of gun fire, rds/min 10,000 ... 12,000
Cartridge types 30 mm with HE-Frag and Frag-T projectiles
เป็นระบบผสมระหว่างจรวดนำวิถีและปืน 30 มม. ป้องกันระยะประชิด ผมว่าระบบนี้น่าจะครบเเครื่องกว่า Sadral ที่เราใช้อยู่นะครับ น่าจะเป็นทางเลือกอีกทางนึงได้นะครับ ถ้าการติดตั้งไม่ยุ่งยากมากนักและราคาไม่แพง เพราะของยุโรป & อเมริกาแพงมาก ขอเขิญท่านผู้รู้ช่วยวิจารณ์เจ้าตัวนี้หน่อยครับ
ข้อมูลอ้างอิงจาก http://warfare.ru/?lang=&catid=312&linkid=1731
sa-n-11อันนี้น่าสนแหะอำนาจการยิงรุ่นแรงมากๆๆผมเคยดูการยิงของเจ้ามาแล้วผ่านทางyoutubeวันนั้นเข้าไปด้วยความบังเอิญแบบว่างัยดีละกดมั่วๆๆๆก็เลยไปเจ้านี้พอดีก็เลยแปลกใจว่าของค่ายไหนเพราะมีทั้งปืน30มม.และจรวดด้วยถ้าสมมุติว่าเครื่องบินหรืออะไรก็ตามที่มาในรัศมีของมันไม่มีทางรอดแน่ๆๆๆรอดจากจรวดแล้วยังไม่พอเจอปืนดักอีก
ถาม ท่าน AAG_th1 หน่อยครับ ว่าถ้า ท.ร.มีโครงการที่จะติดตั้ง ในส่วนของระบบ Shipboard SAM ให้กับเรือชั้น ร.ล.เจ้าพระยา LY-60 ที่มีข่าว กับ HQ7 อันไหนดีกว่า และเหมาะกว่ากันครับ
และ
ข่าวที่ว่าทางกองทัพเรือมีแนวคิดที่จะถอดระบบ Radar Sonar รวมทั้งระบบควบคุมการยิง-ป้อมปืน37มม. และระบบอำนวยการรบของจีนทั้งหมดออกนั้น ระบบที่ถอดออกสามารถนำมา upgrad ให้กับเรือชั้นเจ้าพระยาได้หรือไม่ เป็นต้นว่า ระบบควบคุมการยิง-ป้อมปืน37มม. แบบเสียดายถ้าจะถอดทิ้งไปเฉยๆ ถ้าทำได้คงประหยัดงบไปเยอะเลยนะครับ
ขอถามคุณ AAG_th1 ไม่ทราบว่าทาง ทร. ยังคงมีโครงการที่จะติด Sea Sparrow / ESSM บนเรือชั้นนเรศวรอยู่หรือเปล่าครับ และถ้ามันแพงไปหรืออเมริกาไม่ขายให้ คุณ AAG_th1 คิดว่าระบบใดน่าจะเหมาะครับ ผมคิดว่าเราน่าจะต้องมีระบบที่ป้องกันภัยทางอากาศระยะไกลให้กองเรือ ซัก 50 - 100 กม. Sadral ที่เรามีระยะยิงก็แค่ไม่ถึง 10 กม. ส่วน Aspide ระยะยิงก็แค่ 10 กว่า กม. รัศมีการป้องกันเราใกล้มาก แต่อาวุธปล่อยนำวิถีจากเครื่องบินสมัยนี้มีระยิงไกลกว่ามาก + 80 กม. ส่วนเรือชั้นเจ้าพระยาเนื่องจากจำกัดด้วยขนาดของเรือ ก็คงต้องติดระบบที่มีขนาดเล็กเท่านั้น คุณ AAG_th1 คิดว่าระบบใดน่าจะ OK และมีความเป็นไปได้ที่ทาง ทร. จะซื้อมาติดตั้งได้ครับ ( ความจริงผมชอบ SAM ของ Russia ครับ แต่น่าเสียดายที่ระบบอางุธไม่เข้ากับของเรา )
การปรับปรุงเรือชั้น ร.ล.เจ้าพระยา ค่อนข้างชัดเจนว่าจะทำการติดตั้งเฉพาะ อวป.C-802A และ ระบบควบคุมการยิงที่เกี่ยวข้องเท่านั้นครับไม่มี SAM
ส่วนการติดตั้ง SAM เช่น Sea Sparrow กับแท่นยิงแนวดิ่ง Mk41 ของเรือชั้น ร.ล.นเรศวร นั้นมีข้อมูลออกมาว่าตั้งแต่การออกแบบและต่อเรือแต่นั้นมีการเตรียมพื้นที่ว่างสำหรับการติดตั้งแท่นยิง Mk41 ไว้แลบ้วครับ แต่มีข้อมูลเช่นกันว่าในความเป็นจริงนั้นไม่สามารถติดตั้งได้เนื่องจากข้อจำกัดด้านโครงสร้างและการเชื่มต่อกับระบบอำนวยการ(ตามที่กล่าวไปข้างต้นครับว่าเรือชุดนึ้ต้องใช้เวลานานกว่าจะมีความพร้อมในการเชื่อต่อระบบต่างๆ)
ส่วน ปตอ.37มม. แฝดนั้นถ้าถอดออกก็คงจะเหมือนกับที่กองทัพเรือทำกับเรือลำอื่นๆที่ปลดอาวุธที่ไม่ได้ใช้ออกครับคือโอนไปติดกับเรือลำอื่น ซึ่ง ปตอ.37มม. แฝด สี่ป้อมนั้นก็เหมาะกับ ร.ล.สิมิลันครับ เพราะเรือชั้นเดียวกันของจีนเองนั้นก็ติด ปตอ.37มม.แฝด 4ป้อมไว้ป้องกันตัวครับ
ขอบคุณครับ คุณ AAG_th1