ทราบกันหรือไม่ครับ? ว่าเรือจักรีนฤเบศร
สตาร์ทเครื่องทีนึงเสียเงินเป็นแสนบาท Sea Hawk ฝึกยิงตอร์ปิโดว์ 1 ลูก
เหมือนเอารถเบนส์ไปทั้งคันทิ้งทะเล
แล้วแพงอย่างงี้จะทำยังไงครับ?
ฝึกในคอมพิวเตอร์สิครับ?
แล้วจะฝึกยังไงครับ?
เขียนโปรแกรมมาใช้ฝึกสิครับ!!!
นี่แหละครับ คือที่มาของ NWS980
ลึกเข้าไปในสถาบันวิชาการทหารเรือชั้นสูง
..... ไม่เอาดีกว่าครับ ตึกมันตั้งอยู่ริมถนน ^ ^" ..... ณ
ศูนย์ศึกษายุทธศาสตร์ทหารเรือ สถาบันวิชาการทหารเรือชั้นสูง จังหวัดนครปฐม
....
ศูนย์กลางในการวิจัยและพัฒนายุทธศาสตร์การป้องกันประเทศของกองทัพเรือไทย
มีแผนกเล็ก ๆ
แผนกหนึ่งที่ทำหน้าที่วิเคราะห์และทดสอบยุทธวิธีซึ่งได้รับการพัฒนาจากฝ่ายอื่นเพื่อประเมินผลลัพธ์และประสิทธิภาพของมัน
ก่อนนำไปใช้จริงในกองทัพเรือไทย
แผนกนี้คือ กองการจำลองยุทธ์ ครับ
และที่นี่คือต้นกำเนิดของสิ่งที่ผมจะพูดถึงในวันนี้ ..... NWS980
เป็นเวลาเกือบ
30 ปีมาแล้วที่กองทัพเรือใช้โปรแกรมฝึกรุ่นเก่าในการฝึกนายทหาร
ด้วยความเก่าแก่ของมันจึงไม่สามารถตอบสนองต่อภารกิจที่เปลี่ยนไปในโลกที่เปลี่ยนไปได้
กองทัพเรือจึงเริ่มดำเนินโครงการจัดหาเครื่องฝึกจำลองการยุทธ์แบบใหม่
หลังจากกระบวนการสอบราคาผ่านไป
ปรากกฏว่าระบบของต่างประเทศที่กองทัพเรือสนใจมีราคาสูงถึง 200 ล้านบาท!
มากกว่าความสามารถที่กองการจำลองยุทธ์จะจ่ายไหว
เมื่อไม่สามารถจัดหาได้ แนวคิดที่จะพัฒนาโปรแกรมด้วยตัวเองจึงเกิดขึ้น
ในปี
2549
กองทัพเรืออนุมัติให้จัดตั้งทีมวิจัยและพัฒนาเครื่องฝึกจำลองยุทธ์ขึ้น
โดยใช้นายทหารในกองการจำลองยุทธ์จำนวน 11 นายเป็นสมาชิกของทีม
โดยมีหัวหน้าทีมคือ นาวาเอก สุรภักดิ์ ธาราจันทร์ ผู้อำนวยการ
กองการจำลองยุทธ์
หลังจากการกำหนดความต้องการในเบื้องต้น
สมาชิกของทีมคนหนึ่งได้ไปพบกับเกมส์ Global Conflict Blue (GCB) ซึ่งเป็น
Open Source หรือโปรแกรมฟรีที่เปิดให้ทุกคนสามารถนำไปพัฒนาต่อได้
โดยเกมส์นี้เป็นเกมส์ออนไลน์ที่ให้คนทั่วโลกเข้ามาวางแผนการรบทางทะเลกัน
เมื่อทดลองศึกษาโปรแกรมนี้แล้ว
พบว่าสามารถปรับให้เข้ากับความต้องการของกองการจำลองยุทธ์ได้
ผม
(Skyman) กับคุณวิช (Luftwaffe) พบกับพี่สุรภักดิ์เมื่อปลายปีที่แล้วครับ
..... พี่สุรภักดิ์บอกว่า "ตอนแรกมาดูแล้วก็เจอบักตั้งเยอะตามประสา Open
Source ทั่วไป ช่วง 4 - 5 เดือนแรกพี่ก็นั่งแก้บักกันอย่างเดียว"
"มันเขียนด้วยภาษาอะไรครับ?" .... ผมถามตามประสาโปรแกรมเมอร์เหมือนกัน
"Visual
Basic ครับ พอลุยบักเสร็จแล้ว เข้าใจทุกอย่างเกี่ยวกับมันแล้ว
เราถึงใส่โน้นใส่นี่ที่เราต้องการเข้าไป
คราวนี้เราจะใส่อะไรก็ได้ที่เราต้องการ"
"พี่มีเอกชนมาช่วยไหมครับ?" .... คุณวิชถามมั้ง
"555+ ทหารเรือทำกันเองครับ นั่งทำกันที่สถาบันวิชาการทหารเรือชั้นสูงนั้นแหละ"
"แล้วใช้เงินเท่าไหร่กันบ้างครับเนี๊ย?"
พี่สุรภักดิ์บอกว่า
"กองทัพเรือให้เงินมา 4 ล้านครับ
เงินพวกนี้เราเอาไปซื้อพวกคอมพ์พิวเตอร์กับจอภาพหมดเลย
เพราะพวกเราก็มีเงินเดือนกันอยู่แล้ว โปรแกรมก็โหลดมาจากโปรแกรมแจกฟรี
เรามีหน้าที่นั่งเขียนมันเท่านั้น"
พี่สุรภักดิ์อธิบายคุณสมบัติของโปรแกรมให้ฟังว่า ..... "โปรแกรมนี้มันก็คล้าย ๆ เกมส์คอมพิวเตอร์นั้นแหละครับ"
"Fleet Command ใช่ไหมครับพี่ ผมเล่นประจำ" ... ผมแทรกขึ้นเพราะเล่นบ่อย
"555+
ใช่ครับ คล้าย ๆ Fleet Command นั้นแหละ เราจะมีจอ Tactical Screen
ที่เห็นยุทธบริเวณทั้งหมด และเราก็สามารถซูมเข้าไปเห็นแต่ละ Unit
ในการรบได้ ตัวโปรแกรมในตอนนี้ยังมีแค่รบเรือและเครื่องบินอยู่
ดังนั้นกองทัพอากาศก็ใช้ฝึกได้ แต่ในอนาคตเราก็สามารถเพิ่มพวก Unit
ภาคพื้นดินลงไปได้ถ้าต้องการ"
"ผู้ควบคุมการฝึกก็มีหน้าที่กำหนดสถานการณ์
ไม่ว่าจะเป็นการรบในขนาดเล็ก ๆ แค่เรือกับเรือสองลำ
หรือเป็นการประกอบกำลังขนาดใหญ่จากหลายประเทศเข้าทำการรบกัน
บางทีก็อาจจะเป็นการจำลองการปฏิบัติการในกรอบของสหประชาชาติ"
"ข้อมูลระบบอาวุธของแต่ละประเทศมันมีอยู่ในอินเตอร์เน็ตอยู่แล้ว
เราก็เอามาใส่เข้าไปเป็นกองทัพของแต่ละชาติ จะให้ใครไปบุกใคร
เราก็สามารถกำหนดภารกิจได้ เรือแต่ละลำในโปรแกรมเราก็สามารถกำหนด Way
Point ได้ว่าจะให้มันไปทางไหน กำหนดละติจูด ลองติจูดได้ ภาพจาก Tactical
Screen มันเป็นสองมิติ
แต่เราสามารถซูมเข้าไปดูเรือแต่ละลำที่เป็นสามมิติได้ หรือเปิดดูเป็นภาพ 3
มิติได้ โดยรวมแล้วเราสามารถมองเห็นยุทธบริเวณได้ทั้งหมด
และสามารถไปทำการรบได้ทั่วโลก"
พี่สุรภักดิ์เลยลองเล่นให้ดู โดยกำหนดให้เรือ USS Enterprise เข้าโจมตีเวเนซุเอล่า และเวนเซุเอล่าก็ส่ง Su-30MKV ขึ้นมาสกัดกั้น
"โอ้ว
มันเด็ดจริง ๆ พี่ อย่างงี้น่าเอาไปทำเกมส์ออนไลน์คงขายได้หลายตังค์!!!"
.... ผมพูดตามประสาคนเคยบ้าเกมส์ (ตอนนี้ก็ยังบ้าอยู่ ^ ^")
"แล้วมีประเทศไหนสนใจอยากซื้อไปใช้บ้างไหมครับ?" .... คุณวิชถาม
"ความจริงก็มีคนสนใจเหมือนกันนะ
หลายประเทศเหมือนกัน อย่างฟิลิปปินส์เขาสนใจมาก เห็นเขาถาม ๆ
อยู่ว่าราคาเท่าไหร่ แต่พี่ก็เป็นโปรแกรมเมอร์ ตีราคาไม่ถูก
เลยบอกว่าลองไปติดต่อทางผู้บังคับบัญชาดูดีกว่า"
"แล้วมันทำอะไรได้มากกว่านี้ไหมครับ?" .... ผมถามอีก เรื่องมากจริง ๆ กรู ^ ^
"เหอ
ๆ ความจริงโปรแกรมมันสามารถพัฒนาต่อไปได้ ถ้าทำไปเรื่อย ๆ
ก็สามารถใช้ในการฝึกร่วมของทั้งสามเหล่าทัพได้
หรือถ้าพัฒนาเพิ่มขึ้นไปได้อีกก็สามารถเชื่อมต่อกับระบบเรด้าร์และระบบตรวจการณ์ของประเทศเพื่อเป็นระบบตรวจการณ์ของจริงได้"
"งั้นพี่ครับ ถามอะไรตรง ๆ อย่างนึงนะ ...... ถ้าพี่ย้ายไปแล้ว โครงการจะถูกพับป่าวครับ" ....... ผมยิงคำถามเด็ด
พี่สุรภักดิ์กลับตอบว่า
..... "พี่อยากให้งานวิจัยของประเทศของเราเป็นเหมือนต้นไม้ยืนต้น
เป็นต้นไม้ใหญ่เหมือนเพลงต้นไม้ของพ่อ .... รู้ไหมว่า NWS980 มาจากไหน ...
NWS มาจากคำว่า Naval Warfare Simulator ส่วนเลข 9 หมายถึงรัชกาลที่ 9
และเลข 80 คือการที่ทรงเจริญพระชนมานุครบ 80 พรรษา ....
ถ้าเราทำให้มันหยั่งรากลึกเหมือนต้นไม้ยืนต้น
ไม่ใช่เป็นรากฝอยเหมือนต้นไม้ล้มลุก
ต่อไปภายภาคหน้าเราก็สามารถเก็บเกี่ยวดอกผลจากมันได้เรื่อย ๆ "
"ทีมของพี่ทำกันโดยทหารเรือล้วน ๆ ไม่ได้จ้างเอกชนหรือจ้างฝรั่งทำ ยังไงถ้าพี่ไปที่อื่น ลูกทีมก็พร้อมสานต่ออยู่แล้ว ....."
คุณสมบัติของโปรแกรม NWS980
- สามารถจำลองการรบได้ในเวลาจริง (Real Time)
- สามารถสร้างพื้นที่การรบและจำลองการรบทางเรือและอากาศ 3 มิติได้ในทุกพื้นที่ทั่วโลก
-
สามารถจำลองระบบตรวจจับ ระบบอาวุธ ระบบส่งกำลังบำรุง
และกำหนดเงื่อนไขในการฝึกได้สมจริงในการแสดงผลแบบ 3 มิติ
และสามารถประเมินการฝึกได้จากข้อมูลของเรือรบและอากาศยานมากกว่า 1 พัน
Unit ในโปรแกรม
- สามารถจำลองฝ่ายที่เข้าทำการรบได้ 64 ฝ่าย
- เร่งความเร็วของโปรแกรมจากเวลาปกติให้เร็วขึ้นได้ 128 เท่า
- ผู้เข้ารับการฝึกสามารถทำการฝึกได้จากทุกที่ทั่วโลกผ่านอินเตอร์เน็ต
- สามารถสื่อสารกันได้โดยใช้เสี่ยงผ่าน VoIP (Voice Over IP)
NWS980
ได้รับรางวัลสิ่งประดิษฐ์ดีเด่นจากผู้บัญชาการทหารเรือปรจำปี 2550
บทความที่เกี่ยวกับโปรแกรม NWS980 ของ น.อ.คำรณ พิสณฑ์ยุทธการ
ได้รับรางวัลชนะเลิศการประกวดบทความทางวิชาการครั้งที่ 4
โดยลงตีพิมพ์ในนิตยสารนาวิกศาสตร์เมื่อไม่กี่เดือนที่ผ่านมา
ปัจจุบัน
NWS980 ถูกใช้ในการฝึกนายทหารของกองทัพเรือ ณ
สถาบันวิชาการทหารเรือชั้นสูง ต.ศาลายา อ.พุทธมนฑล จ. นครปฐม
ท่านที่สนใจเพิ่มเติมเกี่ยวกับโปรแกรมนี้ ลองตามไปที่นี่นะครับ
โฮมเพจของ NWS980
http://www.navy.mi.th/ians/nws980/index.html"เครื่องฝึกจำลองยุทธ์ ( Wargame Simulators)"
บทความในนิตยสารนาวิกศาสตร์ ปีที่ 90 เล่มที่ 10 ตุลาคม 2550
http://www.navy.mi.th/navic/document/901004a.htmlสถาบันวิชาการทหารเรือชั้นสูง
http://www.navy.mi.th/ians/
สำหรับวันนี้ จบเพียงเท่านี้ ขอบคุณทุกท่าน สวัสดีครับ
http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=skyman&month=23-08-2008&group=2&gblog=91