หน้าแรก    ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบคำถาม    เข้าสู่ระบบ      


อาวุธปืนประจำกาย กองทัพไทย ใหม่

โดยคุณ : skidchai เมื่อวันที่ : 17/12/2010 21:51:54

ขอความเห็น ความเหมาะสม อาวุธปืน สั้น และ ยาว

สำหรับกองทัพไทย 4 เหล่า เพราะดูที่ใช้กันมันเก่าแล้ว

มากกว่า 30ปี

อาจถูกที่ว่าเก่า แต่ยิงถูกก็ตายเหมือนกัน

แต่ขอความคิดเห็นว่า ที่เหมาะสมตามการใช้งาน และสภาพการต่างๆ แบบทันสมัยที่สุดนะครับ ไว้เป็นความรู้ครับ





ความคิดเห็นที่ 1


"ยิงถูกก็ตายเหมือนกัน"

จะทำยังไงให้ยิงถูกละครับ ปืนเก่ายิงไม่ออก ยิงไม่ตรง ยิงไม่ได้ จะยิงถูกไหม ปืนแก๊บบ้านผมยิงถูกก็ตายเหมือนกัน แต่จะยิงทันพวกใหม่ ๆ ได้มั้ย

ระยะยิงสู้ได้มั้ยเหอ ๆ

 

โดยคุณ Banyat เมื่อวันที่ 23/08/2008 02:01:40


ความคิดเห็นที่ 2


ไอเดียร์ก็ประมาณว่า ปืนสั้น ก็ ประมาณตระกูล GLOCK

ปืนยาว ก็ HK  หรือ M16 ตัวใหม่  เหมาะกับทัพไหน

น่าสนใจในการเลือกใช้อาวุธของกองทัพ ไทย

โดยคุณ skidchai เมื่อวันที่ 23/08/2008 02:11:43


ความคิดเห็นที่ 3


ผมไม่ใช่ทหาร แต่ในฐานะที่ศึกษาเรื่องอาวุธมานานขอแนะนำให้ครับ

ถ้าไม่เกี่ยงเรื่องราคาผมว่าตัวเลือกที่เหมาะสมมีอยู่หลายแบบครับ สำหรับ ปลย. ทหารบกผมอาจจะจัดหา HK416 เพราะมีความทนมือทนเท้าสูงดูจากในอัฟกานิสถานและอิรัก ทรงเป็นแบบ M4/M16 เปี๊ยบฝึกเปลี่ยนแบบได้ง่าย ใช้กระสุนนาโตเดิมได้ มีรางพิคาทินนี่พร้อมติดเฟอร์นิเจอร์เต็มอัตราศึก

ปืนพกสั้นต้องเล่นลูกโตๆ หน่อยเพราะต้องใช้ในยามฉุกเฉิน 9 มม. มีอำนาจหยุดยั้งน้อยไม่พอยาไส้ (ในอิรักบ่นกันเยอะมาก) เชียร์ M1911A1  .45 แต่งคัสตอมครับ ใส่แม็กลูกดกเข้าไปก็ชดเชยได้แล้ว แต่ต้องขยันฝึกนะครับไม่ใช่เอื่อยเฉื่อยแบบพลทหารอเมริกันยุคนี้ ตอนนี้โดนพวกทหารผ่านศึกยำเละเรื่องความย่อหย่อนแล้ว

ปก. หมู่แนะนำ M240 หรือ MG3 ครับ สำหรับอย่างหลังอาจจะคุ้นเคยหน่อยเพราะติด V-150 มาแล้ว

โดยคุณ Praetorians เมื่อวันที่ 23/08/2008 02:56:04


ความคิดเห็นที่ 4


TAR-21 ไงครับ จัดหามาแล้วคัรบ
โดยคุณ Skyman เมื่อวันที่ 23/08/2008 06:02:41


ความคิดเห็นที่ 5


ก็ดูจากความง่ายในการฝึกเปลี่ยนแบบครับผม TAR-21 ถือว่าเป็นก้าวที่สำคัญทีเดียว เว้นแต่ว่าการฝึกเปลี่ยนแบบจะทำได้ยากกว่า HK416 ที่ทรงเป็นแบบ M4 เดิม แต่ไม่เห็นด้วยในการเอาอาวุธอเมริกันทั้งดุ้นอย่าง M4/M16 มาใช้ เพราะปัญหาเรื่องขัดลำกล้องนั่นละครับ ไม่เช็ดสามเวลาหลังอาหารเป็นติด ก็สงสัยเหมือนกันว่า TAR-21 นี้จะเอามาแทนเลยหรือเปล่าในอนาคต

มองดูโครงการจัดหาืปืนเล็กยาวของอเมริกันแล้วก็ปวดกะโหลกเหมือนกัน ของดีมีไม่เอาอ้างอย่างโน้นอย่างนี้ HK416 ก็ไม่เอา XM8 ก็ไม่เอา จะเอาแต่ M4 (เข้าใจว่าสองอย่างแรกเมดอินเยอรมัน ก็ตั้งโรงงานสิครับ ทำได้แน่นอน)

 

โดยคุณ Praetorians เมื่อวันที่ 23/08/2008 06:54:08


ความคิดเห็นที่ 6


ปืนในตระกูล Tavor รวมถึงปืนกลเบาแบบ Negev ในกองทัพไทยนั้นคงจะมีการใช้งานจำกัดเฉพาะในส่วนของหน่วยรบพิเศษของกองทัพบกและกองทัพอากาศเป็นหลักครับ ซึ่งหน่วยรบหลักตามแบบทั่วไปเช่นทหารราบของกองทัพบกนั้นส่วนตัวคิดว่าโดยรวมยังไม่น่าจะมีการจัดหาอะไรใหม่มาแทนปืนตระกูล M-16/M4 ในขณะนี้ครับ แต่ในส่วนของ ปืนกลอเนกประสงค์นั้นดูเหมือนว่าจะมีโครงการจัดหา ปก.๓๘ หรือ FN MAG เพิ่มครับ ส่วนปืนที่จะมาแทน HK 33 ที่ใช้ในหน่วยทหารม้าหรือทหารช่างที่ไม่ได้ใช้อาวุธประจำกายรบโดยตรงนั้นก็ไม่มีโครงการอะไรออกมาในขณะนี้ครับ

ในส่วนของกองทัพเรือเองนั้นตามที่อ่านจากแผนโครงการปรับปรุงอาวุธประจำกายของนาวิกโยธินที่ออกมานั้นก็มีการระบุว่าปืนเล็กยาวที่จะใช้นั้นจะใช้กับเครื่องยิงลูกระเบิดขนาด 40mm แบบ M203 ได้ ซึ่งตัวเลือกที่เป็นไปได้มากคงหนีไม่พ้นปืนตระกูล M-16/M4 เช่น M-16A4 อยู่ดีครับ(ซึ่งควรจะเป็นอย่างนั้น เพราะปืนตระกูล HK G36 ที่ นสร.ใช้นั้นดูจะแพงเกินกว่าที่จะจัดหามาใช้งานได้ครบตามจำนวนที่ต้องการจริงๆครับ และ HK416 นั้นเห็นมีแต่ปืนของ Jin gong ที่ติด M203ได้)

การจัดหาอาวุธประจำกายสำหรับทหารราบใหม่ของไทยในปัจจุบันนั้นต้องคำนึงถึงเรื่องความเข้ากันได้กับระบบอาวุธหรืออุปกรณ์ที่มีอยู่เดิมด้วยส่วนหนึ่งครับ ถึงแม้ว่าถ้าได้ปืนใหม่แบบใหม่ที่ต้องมีการทำตำราการฝึกและปรนนิบัติซ่อมบำรุงใหม่ก็จริง(ปืนในตระกูลเดียวกันก็ต้องปรับบ้าง) แต่ถ้าจัดหามาแล้วต้องซื้ออาวุธและอุปกรณ์ประกอบใหม่หมดทุกอย่างเลยคงจะดูไม่เหมาะสมเท่าไรครับ

โดยคุณ AAG_th1 เมื่อวันที่ 23/08/2008 08:21:12


ความคิดเห็นที่ 7


m-16a1นั้นสมควรที่ปลดหรือเลิกใช้ได้แล้วเพราะผมเองเคยมีประสบการณ์มาแล้วตอนฝึกทหารเกณฑ์ตอนนั้นผมฝึกยิงปืนm-16A-1นี้แหละพอยิงได้นัดหนึ่งไปแล้วจะยิงอีกนัดปรากฏว่าปลอกกระสุนดันคาไม่ยอมออกส่วนเพื่อนผมถึงกับกระสุนคารังเพลิงเลยทีเดียวครูฝึกเลยต้องเปลี่ยนกระบอกใหม่ให้และอีกอย่างหนึ่งพอไม่ทำความสะอาดนานๆๆหรือแค่วันเดียวสนิมก็จะกิน

โดยคุณ ttrc เมื่อวันที่ 23/08/2008 09:06:45


ความคิดเห็นที่ 8


ถ้าเป็นเช่นนั้น โอกาสสูญเสียของเราก็ต้องมีมากกว่าข้าศึกสินะ

เพราะปืนเรามีปัญหา ในกรณีประจัญบานกัน หรือระยะใกล้ มันควรเป็นของค่ายไหน ดีนะ  เมกา ยุโรบ รัสเซีย จีน ลาติน ออสซี

ที่พร้อมรบ ทุกสถานการณ์ safe ทหารหาญของเรา 

โดยคุณ skidchai เมื่อวันที่ 23/08/2008 09:56:05


ความคิดเห็นที่ 9


ตัวนี้น่าใช้จริงๆนะ     http://www.hkpro.com/hk416.htm
โดยคุณ log เมื่อวันที่ 23/08/2008 11:08:40


ความคิดเห็นที่ 10


HK416 นั้นเห็นมีแต่ปืนของ Jin gong ที่ติด M203ได้

ตะลึงมุกแหะๆ

โดยคุณ Tasurahings เมื่อวันที่ 23/08/2008 12:19:03


ความคิดเห็นที่ 11


  ทาเวอร์  และ  เนเกฟ  ไม่ได้จำกัดการใช้ในหน่วยรบพิเศษนะครับ  แต่ตรงข้ามเลยมันจัดหามาเพื่อให้หน่วยรบตามแบบนี่แหละครับ   หน่วยแรกที่ได้ก็คือ ร.31 รอ.(กรมทหารราบส่งทางอากาศ) ใช้หมวกเบเร่ต์สีแดง เช่นเดียวกับหน่วยรบพิเศษ  เพราะเป็นหน่วยใช้ร่มเหมือนกัน แต่ ร31 รอ. ไม่ใช่หน่วยรบพิเศษ เป็นหน่วยรบตามแบบนี่แหละครับ............ ปืนทุกชนิดตราบใดที่มันยังมีส่วนประกอบที่เป็นเหล็กอยู่ตราบนั้นถ้ามันไม่ได้รับการทำความสะอาดสนิมมันกินหมดแหละครับ  สนิมมันไม่เลือกยี่ห้อปืนหรอกครับ
โดยคุณ FW190 เมื่อวันที่ 23/08/2008 23:49:22


ความคิดเห็นที่ 12


โครงการจัดหาปืนเล็กยาวขนาด ๕.๕๖ มม.จำนวน ๑๕,๐๓๗ กระบอก พร้อมซองกระสุน ๓๐ นัด จำนวน ๗๕,๑๘๕ ซอง วงเงิน ๑,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท ของกองทัพบกที่เคยมีการนำเสนอข้อมูลออกมาก่อนหน้านี้นั้นระบุว่ากำลังอยู่ระหว่างรออนุมัติการเลือกแบบอยู่ครับ ในส่วนการจัดหานั้นมีรายงานการจัดหาทั้ง M16A4 จำนวน ๒๐,๒๓๓ กระบอก  กับ TAVOR TAR21 จำนวน ๑๕,๐๓๗ กระบอก วงเงิน ๙๗๑ ล้านบาท เพิ่มเติมด้วย

ตรงนี้ไม่ทราบว่ามีการอนุมัติการจัดหาไปหรือยังครับ แต่ที่อ่านดูคราวๆแล้วดูเหมือนว่าในอนาคตปืนเล็กยาวประจำกายหลักของกองทัพบกนั้นจะมีอยู่สองแบบครับคือ Tavor สำหรับหน่วบรบหลักที่เป็นหน่วยเคลื่อนที่เร็วเช่น กรม รพศ. และ ร.๓๑ รอ.ซึ่งมีขีดความสามารถในการเคลื่อนที่ทางอากาศและส่งทางอากาศอาจจะร่วมถึงหน่วยทหารราบยานยนตร์ของ พล.ร.๒ รอ. และทหารม้าบรรทุกยานเกราะ ใน พล.ม.๑ และ พล.ม.๒ รอ. ในอนาคต ตรงนี้น่าจะรองรับกับการจัดหารถหุ้มเกราะ BTR3E1 ที่ใช้ในการดำเนินกลยุทธ์ด้วย

และอีกแบบคือ M-16A4 ครับ ซึ่งส่วนตัวยังเชื่อว่ากองทัพบกจะจัดหามาใช้ในหน่วยรบหลักๆอื่นโดยเฉพาะหน่วยทหารราบในกองพลทหารราบต่างๆครับ(เนื่องจากมีราคาถูกกว่า Tavor สามารถจัดหาได้จำนวนมากกว่า ที่ค้นๆมา TAR-21 แพงกว่า M-16A4 เกือบ2เท่า) ส่วนหน่วยรองอื่นๆนั้นไม่แน่ใจว่าจะมีปืนแบบใดมาแทน M-16A1 และ HK 33 หรือไม่ครับ

โดยคุณ AAG_th1 เมื่อวันที่ 24/08/2008 02:00:16


ความคิดเห็นที่ 13




ขออกความเห็นนิดหนึ่งนะครับ อันนี้ก็ถามก่อน ว่ากองทัพไทยเรามีกำลังพลรวมทั้งหมดเท่าหรือครับ

ผมไม่แน่ใจว่าราวๆ สี่แสนหรือเปล่าครับ(ถ้าผิดต้องขออภัยครับ) ผมมีความเห็นว่า กองทัพไทยต่อไปในอนาคตคงต้องเปลี่ยนหรือต้องปลดประจำการอาวุธประจำกาย ปลย. ทั้งหมดอยู่แล้ว แล้วทำไมเราไม่ศึกษาหา อาวุธประจำกายรุ่นที่ดีและเหมาะสมที่สุด มีอนาตคที่ดีในเรื่องการปรับปรุงรุ่นต่อไป และสามารถยังอยู่ในพื้นฐานของสายพานการผลิตจากรุ่นเดิมได้ อยากจะให้กองทัพไทยซื้อลิขสิทธิ์ปืนชนิดนี้ มาตั้งโรงงานผลิตเอง อันนี้เป็นแนนวทางที่ดีหรือเปล่าครับ เพราะของแบบนี้ผมดูแล้วว่าเราต้องใช้เป็นปริมาณเยอะ และต้องมีอย่างต่อเนื่องในอนาคตข้าง และรวมไปทีเดียวในเรื่องของอะไหล่  ในที่นี้ผมว่าเราก็มองเรื่องอาวุธปืนพกสั้นประจำกายด้วย ทำคบคู่กันไปเลยทีเดียว  กองทัพเราศึกษาให้ละเอียดถึงรุ่นที่เราจะซื้อลิขสิทธิมาผลิตเอง ให้เทียบกับการที่เราจะต้องซื้อมาทั้งดุ้นในจำนวนเยอะ หรือในอะนาคตก็จะต้องปลดประจำการของเก่าอย่างต่อเนื่อง จะคุ้มค่ากว่ากันมากมั๊ยครับ

และผมมองว่าอาวุธประจำกายเป็นปัจจัยพื้นฐานมากๆเลย เราน่าจะมองความมั่นคงทางทหารในระยะยาวว่าสมควรถึงเวลาที่จะมีโรงงานผลิตอาวุธพื้นฐานต่างๆ ไว้ใช้เองในประเทศได้แล้วหรือยังครับ...



..





...
โดยคุณ charchar เมื่อวันที่ 24/08/2008 06:56:08


ความคิดเห็นที่ 14


ในส่วนของการขอสิทธิบัตรในการผลิตอาวุธประจำกายของกองทัพไทยนั้นช่วงยุคหลังสงครามโลกครั้งที่สองก็มีหลักๆคือ HK 33 ของเยอรมันที่ซื้อสิทธิบัตรมาทำการผลิตในประเทศเองเป็นจำนวนมากครับ(ซึ่งตอนนั้นมีแนวคิดที่จะใช้เป็น ปลย.หลักแทน M-16) แต่ ปลย.๑๑ ที่ผลิตออกมานั้นปรากฎว่ามีประสิทธิภาพในการใช้งานไม่ดีเท่าต้นแบบรวมถึงปัญหาอื่นๆครับ ทำให้แนวคิดที่ว่าดังกล่าวต้องหยุดลงไปจนถึงปัจจุบัน

ในส่วนของปืนพกประจำกายนั้นกองทัพบกได้เลือกแบบคือ Sig-Sauer P226 ขนาด 9มม. แทน ปพ.๘๖ M1911A1 นานหลายปีแล้วครับ แต่ปัจจุบันนั้นก็ยังคงมีการใช้งาน 11มม.อยู่ และไม่ค่อยเห็นมีการใช้ P226 นักครับ ส่วนแนวคิดการขอสิทธิบัตรในการผลิตในประเทศนั้นก็มีอยู่ครับ แต่ถ้าดูจากปัญหาเรื่องคุณภาพของปืนที่เคยผลิตในอดีตทำให้แนวคิดดังกล่าวต้องพักไปครับ

อย่างไรก็ตามเท่าที่ทราบไทยมีขีดความสามารถในการประกอบและซ่อมบำรุงชิ้นส่วนปืนและผลิตกระสุนปืนเล็กได้เองครับ(เคยได้ยินว่า M-16 นั้นประกอบชิ้นส่วนในประเทศครับ)

โดยคุณ AAG_th1 เมื่อวันที่ 24/08/2008 07:22:18


ความคิดเห็นที่ 15


ผมก็คิดแบบคุณ charchar เหมือนกัน

การพัฒนาการผลิดอาวุธถึงจะเกิดขึ้น ถ้าใช้แต่ของสำเร็จรูปก็ไม่มีการพัฒนา  และ ผลิตเองได้สักกะที และอาจจะมีนวัตกรรมเกิดขึ้นอีกก็ได้

เพราะเรามีนวัตกรรมทุกวันนี้ก็เพราะการพัตนาทางอาวุธสงคราม เป็นบางอย่างนะไม่ได้ทั้งหมด

โดยคุณ skidchai เมื่อวันที่ 24/08/2008 07:22:25


ความคิดเห็นที่ 16


ขอโทษท่านทั้งหลาย

ผมเห็นด้วยกับการซื้อลิขสิทธิ์ ถ้ามีการปลด อย่างต่เนื่องและต่อเนื่อง
เราคิดถึงความยากของการประกอบปืนหรือครับ

เมื่อเทียบ กับ การประกอบอุปกรณ์ ชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์
การประกอบอุปกรณ์ ชิ้นส่วน รถยนตร์ในประเทศ
การประกอบอุปกรณ์ ชิ้นส่วน มอตอร์ไซด์ ทุกรุ่น

พี่ลองหลับตาดู ปริมาณชิ้นส่วนปืน ต่างๆ
แล้วมันเทียบกันไม่ได้เลยนะครับ
ส่วนการเทียบวัดมาตรฐาน ความคงทน ความหลากหลายในการเปลี่ยนแบบ ผมว่าคนไทยความรู้เกินครับ
และถ้าเริ่มซื้อสิทธิ์มาผลิตแล้ว ไม่แน่จะสั่งปืนภายในประเทศทั้ง 3 เหล่าเลยก็ว่าได้
ออกพันธบัตร มาทำโครงการเลยดีไหมครับ
แหมคนมีตังบ้านเรา ชอบซื้อพันธบัตรของรัฐอยู่แล้ว พวกแกล้งจนมีเยอะครับบ้านเรา....
ลองดูดิ ถ้าหน่วยละ 50 บาท ผมจะซื้อสัก3....หน่วยลย
โดยคุณ tik เมื่อวันที่ 24/08/2008 07:54:24


ความคิดเห็นที่ 17


ยิงถูกก็ตายเหมือนกัน คงไม่ง่ายอย่างนั้นครับ อย่างน้อยก็ไม่ใช่ M16 หรือลูกปืนขนาด 5.56อานุภาพของปืนกับกระสุนเ M16 เป็นเรื่องที่ยังแบ่งฝ่ายเถียงกันไม่เลิกในหนังสือปืนหรือทหารฝรั่งตั้งแต่สมัยสงครามเวียตนามจนถึงวันนี้บ้างชอบก็ว่าดี เล็กดีรสโต บ้างไม่ชอบบอกว่า ปืนขัดข้องบ่อยมาก กระสุนก็ไม่มีอำนาจหยุดยั้ง
แล้วบ้านเรา เรื่องทำนองM16 ยิงถูกแต่ไม่ตายมีบ้างไหม ก็มีและเคยเล่าแล้ว พี่ตำรวจท่านหนึ่งไปเยี่ยมหน่วย ตชด. น้องๆเล่าว่า โจรแถวนี้ชุมและเล่นของด้วย ขนาดใช้M16ยิงจะๆ กองไปพักนึง ยังลุกขึ้นมาสู้ต่ออีกได้ พี่ตำรวจเลยให้เอาปืน M16 กระบอกที่ยิง มาลองยิงกับต้นไม้ ให้ดู
ผล กระสุนขวางปะติดต้นไม้ พอตรวจปืน ลำกล้องปืนแทบไม่มีเกลียวเหลืออยู่เลย พิสูจน์ได้ว่า ไม่ใช่ไสยศาสตร์ แต่เป็นปัญหาของปืนที่หมดสภาพ เอามายิงใครก็อาจไม่ตาย

การยิงปืน สภาพของปืนมีส่วนสำคัญ หากลำกล้องปืนใช้งานมานาน ยิงมามากจนเกลียวลำกล้องสึก ก็จะมีผลต่อความเร็วของลูกกระสุนด้วย
ถ้าลำกล้องสึกมาก ความเร็วของกระสุนต่ำกว่าความเร็วที่ควร ความรุนแรงอาจสูงกว่าการยิงด้วยหนังสะติก นิดหน่อย คนโดนยิงจะๆ แต่ไม่ตายมีมาแล้ว  ถ้าวันนี้อยากลอง อย่าลองกับคนหรือสัตว์

ขออนุญาตเล่าเรื่อง การคัดเลือกปืน ปลย.๑๑ เป็นเรื่องสมัย ๒๕๐๐ กว่าๆครับตอนนั้นสหรัฐผลิตM16แล้ว และนำออกใช้ในเวียตนาม
ทบ.เราอยากปลดปืน ปลย.๘๘(Garand M1) กับ จำชื่อไม่ได้ ๘๗ (M1/M2 Carbine) ออก แล้วหาปืนเล็กยาว ที่ใช้กระสุนแบบเดียวกับทางสหรัฐมาใช้ในราชการ ครั้งนั้น M16 ของสหรัฐเป็นตัวเต็งจ๋า มีHK33 ของเยอรมันตามมาร่วมแห่ ทั้งคู่ใช้กระสุน .223 Remington เหมือนกัน
ผล ทบ.เลือก HK33 เป็น ปลย.๑๑ แต่ไม่มีการแถลงให้เหตุผล หรือรายละเอียด ตอนนั้นผมอยู่ชั้นมัธยมอยากรู้เรื่องนี้ จึงพยายามถาม ผู้ใหญ่ โดยเฉพาะพวกสรรพาวุธ ได้ข้อมูลมาดังนี้ครับ ประเด็นหลักที่ใช้ตัดสินคือ ลำกล้องปืน
ปืน M16 ลำกล้องเป็นโลหะผสม ส่วนลำกล้องของ HK 33 เป็นเหล็กกล้า
โลหะผสม เด่นที่เบา แต่ด้อยตรงไม่ทนทานต่อการใช้งานเท่าเหล็ก
เอามาทำลำกล้องปืน อายุการใช้งานจะค่อนข้างต่ำ แถมฝรั่งยังจะให้มีระบบเอาลำกล้องเก่ามายุบแล้วทำใหม่ ที่สมัยนี้เรียกว่า รีไซคลิ้ง
นอกจากนั้นเรายังไปชอบ ระบบ close bolt ของ HK ที่ไม่เปิดค้างเมื่อกระสุนหมด จึงเลือก HK33 ที่ใช้ลำกล้องทนกว่า เป็นภาระในการซ่อมบำรุงหรือ จัดหาลำกล้องอะไหล่สำรอง ทดแทนน้อยกว่า
อย่างไรก็ตาม ปืนHK33 ก็ไม่ใช้ปืนที่ทหารตำรวจซึ่งมีหน้าที่ใช้อาวุธส่วนใหญ่ชอบ หรือถนัด
สำหรับ M16 ของเรา ได้มาสมัยทหารอาสาสมัครจงอางศึก ไปเวียตนาม และก็นำกลับมาใช้ควบคู่กับ ปลย.๑๑/HK33 คงในราวๆปี ๒๕๑๔


ส่วนนี้ขอเป็นข้อมูลให้ท่านที่อยากให้ มีการผลิตในประเทศ
โครงการจัดหา ปลย.เมื่อ ๒๕๑๐ มุ่งให้ผลิตในประเทศ จัดทำเป็น ๓ ขั้นตอนดังนี้
๑ ผลิต ประกอบต่างประเทศ นำเข้าทั้งกระบอก (ปั้มตัวหนังสือ Obendof)
๒ ผลิตชิ้นส่วนในต่างประเทศ นำเข้าเป็นชิ้นส่วน ประกอบในประเทศ
๓ ผลิตชิ้นส่วนและประกอบ ในประเทศทั้งหมด
ก็ล้มเหลวไป
บางส่วนเป็นเพราะฝีมือช่าง กับความสามารถของโรงงาน
บางส่วนเพราะตัวปืนเอง
บางส่วนเพราะ ความต้องการของเราเอง คิด เพิ่มอะไรเข้าไปจนเป็นปัญหาต่อการใช้งาน
และที่สำคัญ เพราะความไม่ถนัดของตัวปืน เหมือนกับหลายอย่างอยู่ผิดที่ผิดทาง เลือกเอาของที่คนใช้ไม่ถนัด ฝึกให้ชินยาก แถมมี M16 เป็นตัวเปรียบเทียบ ปัญหาทุกอย่างก็ตามมา
จัดหาแต่ปืน แต่เราลืมเรื่องการผลิตกระสุน เลยโดนสิงค์โปรซื้อลิขสิทธิ์ในการผลิตและจำหน่ายรายเดียวในย่านนี้ เลยต้องซื้อกระสุนสิงค์โปรมาใช้

โดยคุณ Oldtimer เมื่อวันที่ 27/08/2008 11:05:14


ความคิดเห็นที่ 18


ปืน M16 รุ่นใหม่ๆ รวมทั้งรุ่นสั้น M4  ตอนนี้บริษัท dump ราคาลงมาก ในแง่ของเทคโนโลยี M16 ผลิตออกมานาน มีปัญหามาก คนเห็นจุดบกพร่องหมดแล้วและคู่แข่งอย่าง HK, Bushmaster, DMP-R คงราวๆสิบเจ้ารวมทั้งนาย Eugine Stoner ต้นคิด แก้ปัญหาการขัดลำของปืนM16ได้หมดแล้วโดย ถ้าเรียกว่าเป็นมาตรฐาน เพราะทุกรายมาไม้เดียวกัน จะมีการ
๑ เปลี่ยนลำกล้องเดิมที่เป็นโลหะผสมออกแล้วใช้ลำกล้องเหล็กแทน
เพราะลำกล้องเหล็กทนกว่าลำกล้องโลหะผสม
๒ เปลี่ยนระบบการยิงจากการใช้แก๊สวิ่งจากแถวศูนย์หน้ามาดันลูกเลื่อน
เป็นใส่แกนเหล็กในท่อแก๊ส ให้แก๊สดันที่แกนเหล็กให้ไปดันลูกเลื่อนแทน
ซึ่งจะลดทางเดินและปริมาณของแก๊ส แก้ปัญหาการขัดลำไปได้มาก
๓ ตัดหูหิ้ว Handle ที่มีศูนย์หลังประกอบด้วยออก แล้วแทนที่ด้วยรางสำหรับติดอุปกรณ์ต่างๆแทน
ผมเชื่อว่าเมื่อ ๒๕๑๑ HK ถึงแม้ว่าจะชนะ Colt ได้ แต่คณะกรรมการของ ทบ. ได้ทำให้บทเรียน กับ HK ที่จำใส่ใจและนำลำกล้องเหล็กมาใช้กับ HK416 แต่ Colt ไม่เรียนรู้อะไรเลย คงยังดื้อผลิตปืนในรูปแบบเดิมๆ ทั้งๆที่มีเสียงด่าว่า

Tavor-21 เป็นปืนที่น่าจะดี แต่ก็เห็นมีข่าว การทดสอบในอินเดียที่ Tavor โดน unsatisfied เป็นห่วงว่าในบ้านเราเป็นอย่างไรกันบ้าง ไม่ต้องเล่ามานะครับ เดี๋ยวมีปัญหา
M16A4 ราคาถูกกว่า Tavor21สองเท่า น่าจะจริง แต่ขอให้นำข้อมูลของกองทัพสหรัฐ เท่าที่เผยแพร่ในเน็ตที่เป็นแหล่งข่าวเปิดมาดูด้วย มีทั้งชมและด่า มีหลายเรื่อง หลายประเด็นที่น่าสนใจ 
หากดูผลการทดสอบต่างๆ ทั้งโดยเซียนปืนหรือหน่วยงานในกองทัพ อเมริกัน ตอนนี้M16/M4 ทั้งหลายเทียบกับปืนใหม่ๆไม่ได้เลย

ถ้าวันนี้ จะให้เลือก อาวุธประจำกายทหารตำรวจ ผมจะเลือก Magpul Mazada หรือ Bushmaster ACR (ปืนตัวเดียวกัน) เพราะออกแบบเป็นโมดูล ทำมาให้เลือกปรับสั้น ยาว ใช้ตามสถานการณ์ได้ และสามารถปรับให้ใช้กระสุนได้หลากหลาย ทั้ง 5.56 NATO, 7.62x39 ของ AK  และกระสุนใหม่ๆ พวก 6.5 ได้ (ถ้าJing Cong ออกตัวนี้มา ผมเอาแน่) และผมเชื่อว่า หลังการเลือกตั้งของสหรัฐในไม่กี่วันนี้ อีกราวๆสองปีจะมีการพิจารณาเปลี่ยนอาวุธปืนประจำตัวของทหารสหรัฐ และจะมีการเปลี่ยนกระสุนปืน พร้อมกับปืนด้วย

โดยคุณ Oldtimer เมื่อวันที่ 27/08/2008 11:09:32


ความคิดเห็นที่ 19


Oh  สุดยอดครับท่าน Oldtimer

ได้ความรู้เยอะเลย ผม เกิดมา คุ้นกับปืน  M16  HK  AK  

เดี๋ยวจะไปหาดู Body  ของ Magpul mazada or Bushmaster ACRดู

หน้าตาเป็นยังไงแต่ฟังดูก็น่าสนใจ  แล้ว ปืนพกสั้นละครับควรเป็นแบบไหน

โดยคุณ skidchai เมื่อวันที่ 27/08/2008 21:34:24


ความคิดเห็นที่ 20


ปืนเล็กประจำการของทหาร-ตำรวจไทยที่มีใช้งานหลังสงครามโลกครั้งที่๒ก่อนที่จะใช้ M-16 นั้นเท่าที่พอๆจะจำได้ก็มีเช่น

ปลยบ.๘๘ M1 Garand .30-06

ปสบ.๘๗ M1/M2 Carbine .30

ปลย.๐๓ NATO M-14 .308

ปลย.๐๕ NATO FN FAL .308

เป็นต้นครับ ซึ่งปืนกลุ่มนี้จะเป็นปืนเล็กยาวที่ใช้กระสุนขนานกลางคือ 7.62mm ที่มีน้ำหนักค่อนข้างมากส่วนใหญ่ครับ(ยกเว้น M1/M2 Carbine)

โดยคุณ AAG_th1 เมื่อวันที่ 27/08/2008 22:42:28


ความคิดเห็นที่ 21


M203 ต้องใช้กับ M16 เพราะผลิตโดยบริษัท Colt เหมือนกัน ส่วนHK G36 ก็ต้องไปใช้เครื่องยิงลูกระเบิดของHK ทั้งคู่ใช้กระสุนระเบิด 40มม.เหมือนกัน แต่lock spec ให้ใช้ได้แต่คู่ของตัวเองเท่านั้น แต่ผมอยากให้ลองดู เจ้าเครื่องยิงลูกระเบิดรีวอลเวอร์ M32 / Mikon 140 ที่นาวิกสหรัฐและ กองทัพมาเลเซียเอาเข้าประจำการมากกว่า นัดเดียวกะหกนัด

เรามี M14 ใช้ด้วยหรือครับ พึ่งรู้ ก็คงเป็นกองพัน ที่กลับจากเกาหลีแล้วมาตั้งเป็น ร.๒๑ ได้ปืนที่ใช้อยู่ที่เกาหลีกลับมาด้วย M16 ก็จะคล้ายๆกัน หน่วยจงอางศึก ทหารอาสาไทยในเวียนตาม ก็ได้M16 กลับมาใช้งาน (น่าจะมาตั้งเป็น ร.๓๑) ทั้งๆที่ทบ. เริ่มใช้ ปลย.๑๑ พอหน่วยเสือดำกลับมาจากเวียตนาม แล้วมาตั้งเป็น ร.๙ M16 จึงมีใช้อย่างแพร่หลาย  เราจึงมีทั้ง ปลย.๑๑/HK33 ใช้ควบคู่กับ M16 ที่ตอนหลังมาเรียกว่า ปลย. เอ็ม๑๖

สำหรับปืนสั้นสมัยใหม่ พอรู้บ้างเท่านั้นครับ ให้เลือกคงเป็น Browning Hi Power P35 ตัวเองใช้ Single Action ครับ

โดยคุณ Oldtimer เมื่อวันที่ 28/08/2008 10:16:57


ความคิดเห็นที่ 22


ความต้องการจัดหาเครื่องยิงลูกระเบิดพื้นฐานสำหรับทหารราบในปัจจุบันทั้งสหรัฐฯ เยอรมนี และประเทศอื่นๆรวมถึงไทยด้วยนั้น ยังคงเป็นเครื่องยิงลูกระเบิดแบบยิงที่ละนัดซึ่งติดกับปืนเล็กยาวอยู่ครับ ซึ่งเครื่องยิงระเบิดแบบกึ่งอัตโนมัติที่ยิงได้หลายนัดนั้นเป็นอาวุธสนับสนุนพิเศษมากกว่าครับ

เหตุผลที่หน่วยทหารราบโดยทั่วไปไม่หันมาใช้ ค.40mmกึ่งอัตโนมัติทั้งหมด ส่วนก็เนื่องจากน้ำหนักของระบบที่ยังหนักกว่า ค.40mm แบบยิงที่ละนัดอยู่ครับ(ค.กึ่งอัตโนมัติจะมีน้ำหนัก4-5กก.ในขณะที่ ค.ยิงที่ละนัดที่ติดกับ ปลย.จะหนักไม่เกิน 2กก.เมื่อบรรจุกระสุน) รวมถึงราคาที่สูงกว่าด้วย

อย่างไรก็ตาม ค.กึ่งอัตโนมัติลักษณะนี้ก็น่าจะมีการจัดหามาจำนวนหนึ่งเพื่อเสริมอำนาจการยิงให้กับทหารราบได้ครับ

เคยเห็นว่า M320 ซึ่งเป็น HK AG36 รุ่นที่ผลิตขึ้นมาใช้งานในกองทัพสหรัฐฯติดกับปืนตระกูล M4/M16 ได้นะครับ

ตามที่กล่าวไปข้างต้นว่า กองทัพบกเคยเลือก Sig-Sauer P226 เป็นปืนพกประจำกายแบบใหม่นานแล้วครับ

โดยคุณ AAG_th1 เมื่อวันที่ 28/08/2008 22:16:59


ความคิดเห็นที่ 23


อีกกระบอกครับที่ผลิดตามแบบปืน M4  คือปืน M6 ของบริษัท LWRC
http://www.lwrifles.com/tech.php
โดยคุณ 147 เมื่อวันที่ 29/08/2008 10:26:55