หน้าแรก    ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบคำถาม    เข้าสู่ระบบ      


ทำไมมาเลเซียถึงมี Su 30 และ F18

โดยคุณ : nontree เมื่อวันที่ : 24/08/2008 20:04:54

นอกจากเหตุผลทางการเมืองแล้ว อะไรเป็นเเหตุผลให้มาเลเซียซื้อทั้ง f18 และ su 30

สมรรถะของ F18 ไม่เพียงพอทีจะครอบคลุมน่านฟ้า
หรือความจำเป็นใดที่ต้องมี su 30




ความคิดเห็นที่ 1


มาเลเซียจัดหา F/A-18D+ จากสหรัฐฯในช่วงกลางปี 1990s จำนวน 8ลำครับ ซึ่งในช่วงแรกๆสหรัฐฯมีการจำกัดการขายอาวุธบางแบบที่จะใช้กับ บ.Hornet ให้มาเลเซียด้วย(เนื่องจากความต้องการในการคงสมดุลทางทหารในภูมิภาคนี้ของสหรัฐฯ)

ทำให้เมื่อมองในแง่จำนวนเครื่องที่มีและนโยบายการขายอาวุธที่ไม่สอดคล้องต่อยุทธศาสตร์การป้องกันภัยทางอากาศในอนาคตแล้ว(มาเลเซียมีสภาพภูมิศาสตร์ที่เป็นแผ่นดินสองส่วนคือแหลมลายูและซาราวัคและซาบาร์บนเกาะบอร์เนียวซึ่งคั่นกลางด้วยทะเล) เป็นเหตุผลหนึ่งที่มาเลเซียตัดสินใจจัดหา Su-30MKM จากรัสเซียจำนวน 18ลำครับ เนื่องจากรัสเซียมีข้อจำกัดในการขายอาวุธให้น้อยกว่าสหรัฐฯ

โดยคุณ AAG_th1 เมื่อวันที่ 22/08/2008 08:04:08


ความคิดเห็นที่ 2


ใช่ครับ มาเลเซียพูดเลยว่า สาเหตุที่ไม่ซื้อ F-18 เพิ่ม ก็เพราะสหรัฐไม่ขายอาวุธที่เขาต้องการให้ ต่างจากรัสเซียที่มาเลเซียอยากได้อะไรก็ขายให้หมด ฉะนั้นโครงการ MRCA2 ก็น่าจะจัดหา Su-30MKM เพิ่มอีก 18 ลำล่ะครับ (รวม 36 ลำ) ซึ่งคงพอดีกับ MiG-29N ที่มาเลเซียจะตัดสินใจอนาคนอีกครั้งในปี 2010 (เป็นไปได้มากว่าอาจจะปลดไปเลย)
โดยคุณ Skyman เมื่อวันที่ 22/08/2008 08:36:01


ความคิดเห็นที่ 3


ขอบคุณครับ
งั้นผมพูดได้ไหมว่า สมรรถนะ F18 กับ su 30 ไม่ต่างกันมาก
เหตุมาจากอเมริกาไม่ยอมขายอาวุธที่มาเลเซียอยากได้

what if
ถ้าตอนนั้นเราไม่โดนต้มยำกุ้ง
เราคงได้ F18 มาจอดที่ภาคใต้
สมดุลย์ทางทหารของภูมิภาคนี้จะเป็นเช่นไร ??


โดยคุณ nontree เมื่อวันที่ 22/08/2008 14:07:15


ความคิดเห็นที่ 4


ปล. พูดถึงสมดุลย์ทางการทหารที่อเมริกาคิด
แล้วทำไมกับสิงคโปร์นี่ มีทุกอย่างตั้งแค่เครื่องบิน awac
ยันเรือดำน้ำ มันสมดุลย์ตรงไหนเนี่ย
โดยคุณ nontree เมื่อวันที่ 22/08/2008 14:13:00


ความคิดเห็นที่ 5


สมรรถนะของ Su-30MK และ F/A-18D+ ต่างกันมากครับ เนื่องจาก บ.Flanker นั้นเป็น บ.ขับไล่ขนาดหนักที่ใช้เครื่องยนตร์กำลังสูงกว่าและการออกแบบพลศาสตร์ของเครื่องนั้นทำให้ บ.Su-30MKM มีความคล่องตัว พิสัยการบิน และน้ำหนักบรรทุกสูงกว่า F/A-18D+ อยู่ครับ ซึ่งมาเลเซียเองก็เคยประกาศว่าสนใจใน F/A-18F Super Hornet ซึ่งมีขนาดใหญ่กว่า ใช้ ย.กำลังสูงกว่า และติดตั้งระบบและอาวุธทะนสมัยกว่าครับ แต่โดยรวมในปัจจุบันแล้วมาเลเซียน่าจะจัดหา Su-30MKM เพิ่มครับ

ไม่แน่ใจว่าการจัดหา F/A-18 ของกองทัพอากาศไทยในช่วงปี ๒๕๓๙-๒๕๔๐ ก่อนจะถูกยกเลิกนั้นจะประจำการที่กองบิน๑ โคราชหรือไม่นะครับ (คิดว่าน่าจะมาประจำการที่ ฝูง.๑๐๒ ซึ่งปัจจุบันใช้ F-16 ADF) แต่ไม่ใช่ประจำการที่ภาคใต้แน่ๆครับ

โดยคุณ AAG_th1 เมื่อวันที่ 22/08/2008 22:03:20


ความคิดเห็นที่ 6


ตามท่าน AAG_th1 ว่าครับ บ.F 18 กับ SU30 ต่างกันมากครับ นอกจากประสิทธิภาพของบ.ที่กล่าวมาแล้ว ยังมีเรด้าที่มีประสิทธิภาพสูงกว่า และ
อาวุธที่มีประสิทธิภาพมากกว่าครับ รวมทั้งสามารถจัดหาได้อย่างไม่จำกัดถ้ามีเงินพอ และถึงแม้
F/A-18F Super Hornet จะมีประสิทธิภาพสูงกว่า
 แต่ก็ยังเทียบไม่ได้ในเรื่องความคล่องตัว และยังคงติดขัดเรื่องอาวุธ ที่อเมริกาไม่ยอมขายอาวุธที่ทันสมัยให้ครับ




โดยคุณ sherlork เมื่อวันที่ 22/08/2008 22:23:58


ความคิดเห็นที่ 7


ใช่ครับ ....... F-18 กับ Su-30 นี่ ลองไปงาน LIMA ดูครับ จะเห็นกับตาเลยว่าใครเทพกว่ากัน ^ ^

หนึ่งในอาวุธสำคัญที่มาเลเซียต้องการก็คือจรวดน้ำวิถีต่อต้านคลื่นเรด้าร์ซึ่งสหรัฐไม่ยอมขายให้ใครในอาเซียนครับ แต่รัสเซียยินดีขายให้ (Kh-31P) ถ้าจำไม่ผิดรู้สึกจะขายให้ 12 นัดหรือไงนี่แหละครับ

ความจริงที่สิงคโปร์เขามีโน้นมีนี่ ก็เพราะเขามีเงินซื้อครับ คงไม่เกี่ยวกับว่าถ้าเราไม่มีแล้วเขาต้องไม่มีตามครับผม

โดยคุณ Skyman เมื่อวันที่ 23/08/2008 01:02:14


ความคิดเห็นที่ 8


จรวดน้ำวิถีต่อต้านคลื่นเรด้าร์ มันทำงานยังไงเหรอครับ

คือว่าเจอคลื่อนเรด้าร์ที่แพร่ออกมา ก็จะวิ่งเข้าใส่แล้วระเบิดฐาน คือต่อต้านแบบทำลายด้วยหัวระเบิดใช่มั๊ยครับ   หรือถ้าต่อต้านอีกแบบก็คือการต่อต้านโดยแพร่สัญญาณรบกวนอันนี้ระบบคงอยู่ในตัวเครื่องบิน


มาเลย์เซียมีแล้วคงมาพร้อม ซู-30  แล้วสิงคโปมียังครับ  และเรายังไม่มีใช่มั๊ยครับ..





...
โดยคุณ charchar เมื่อวันที่ 23/08/2008 01:16:25


ความคิดเห็นที่ 9


ต่ออีกนิดนะครับ ว่าKh-31P นี่มันโจมตีฐานเรด้าร์เคลื่อนที่ได้หรือเปล่าครับ ผมก็หมายถึงอีรี่อายนะแหละครับ แต่คิดว่าคงไม่ได้

แล้วอย่างระบบของจรวดแบบนี้ทั้งของ เมกา รัสเซีย ถ้าสมมุติว่าฐานเราด้าร์บนพื้นดินรู้ว่ากำลังโดนโจมตีด้วยจรวดชนิดนนี้ ระหว่างจรวจเดินทางแล้วฐานทำการปิดระบบ จรวดชนิดนี้ยังคงเข้าโจมตีหรือทำลายฐานเรด้าร์ได้อยู่หรือเปล่าครับ

แล้วประเทศเราถ้ายังไม่มีจรวดชนิดนี้ เรามีโครงการจัดหาบ้างมั๊ยครับ หรือถ้าเรามีงบแล้วเราจัดหาได้เลยหรือเปล่า มีรุ่นอะไรบ้างครับที่มีควมเป็นไปได้สูง

F-16, Jas-39 ติดตั้งได้มั๊ยครับ 



..
โดยคุณ charchar เมื่อวันที่ 23/08/2008 01:26:16


ความคิดเห็นที่ 10


การทำงานของอาวุธปล่อยต่อต้านการแพร่คลื่น Radar นั้นจะมีหลักการคือใช้ระบบภายในจาก บ.โจมตีค้นหาสัญญาณการแพร่คลื่น Radar และป้อนข้อมูลให้จรวด วิ่งเข้าหาเป้าหมายครับ ซึ่งจรวดรุ่นแรกๆอย่าง AGM-45 Shrike นั้นจะถูกหลอกได้ถ้าฝ่ายตรงข้ามปิดสัญญาณRadar แล้วเคลื่อนย้านหนี แต่จรวดรุ่นใหม่ๆอย่าง AGM-88 HARM นั้นจะมีการติดตั้งระบบ INS ในการนำร่องเข้าหาเป้าหมายถึงแม้ว่าจะมีการปิด Radar เพื่อการแสดงตัวไปแล้วครับและถ้าเปิดสัญญาณRadarใหม่ก็จะมีการUpdateตำแหน่งด้วย ซึ่ง อวป.เช่น HARM นั้นมีความเร็วสูงถึง 2Mach และ Kh-31P มีความเร็วถึง 3Mach ซึ่งโอกาสที่ฐานRadar จะหนีได้ทันมีน้อยมากๆครับถ้าถูกยิง

ยังไม่เคยมีการรายงานว่ามีการใช้จรวดประเภทนี้ยิง บ.AWACS, AEW&C ครับ แต่รัสเซียเองก็มีการพัฒนา อวป.ต่อต้าน บ.ประเภทนี้อยู่ครับ

โดยคุณ AAG_th1 เมื่อวันที่ 23/08/2008 03:01:04


ความคิดเห็นที่ 11


....จริงๆแล้วสำหรับบ้านเรานั้น ไม่มีงบในการจัดหาระบบต่อต้านการแพร่เรดาห์ ด้วยจรวดยิงจาก บ.ข. ก็ยังมีระบบอื่นๆเช่น ดาร์บี้ จากอิสราเอล ซึ่งแม้ว่าเป้าหมายจะทำการปิดคลื่นเรดาห์ไปแล้ว แต่ยังบินอยู่เหนือเป้าหมายได้นาน2ช.ม.ก่อนจะโจมตี โดยใช้ฐานยิงรถบรรทุกเป็นตัวปล่อยยาน  โดยมีพิสัยทำการยิงไกลพอสมควรเลยทีเดียว
โดยคุณ MIG31 เมื่อวันที่ 23/08/2008 04:33:48


ความคิดเห็นที่ 12


Kh-31P มีระยะยิงกี่กิโลหรือครับท่านและสามารถไช้ยิงเรือรบได้ไหมครับ
โดยคุณ sherlork เมื่อวันที่ 23/08/2008 05:49:21


ความคิดเห็นที่ 13


Kh-31P มีระยะยิงประมาณ 110กิโลเมตรครับ ซึ่งไกลกว่า AGM-88 HARM ที่มีระยะยิงเพียง 50กิโลเมตร (แต่กำลังมีการพัฒนารุ่นใหม่คือ AGM-88E ที่มีระยะยิงไกลกว่าราว 90กิโลเมตรอยู่) และ Kh-31P ยังมีความเร็วสูงกว่า HARM ด้วยครับ(3 Mach)

ในการโจมตีเรือรบผิวน้ำยุคปัจจุบันนั้น อวป.ต่อต้านคลื่น Radar สามารถนำมาใช้โจมตีเรือได้ครับโดยใช้ในการยิงทำลาย Radar ตรวจการณ์หลักของเรือซึ่งจำทำให้ระบบตรวจจับของเรือเสียหายสามารถใช้ อวป.ต่อต้านเรือผิวน้ำโจมตีได้ง่ายขึ้นครับ

บ.ขับไล่หลักของกองทัพอากาศไทยในปัจจุบันคือ F-16A/B OCU นั้นไม่มีขีดความสามารถในการใช้ อวป.HARM ครับเนื่องจากไม่ได้มีการติดตั้งอุปกรณ์ HARM Tageting System(HTS)และSoftware ภายในเครื่องครับ

และ บ.ขับไล่ Gripen C/D ที่จะจัดหามาในอนาคตนั้นก็ไม่มีขีดความสามารถในการติดตั้ง อวป.ต่อต้านการแพร่คลื่นRadarครับ(ดูเหมือนหลักนิยมในการออกแบบของสวีเดนจะเน้นไปทางระบบป้องกันตัวเชิงรับมากว่าซึ่งเข้ากับยุทธศาสตร์เป็นกลางของประเทศ) แต่ Gripen ก็สามารถติดตั้งอาวุธปล่อยร่อนพิสัยไกลที่สามารถเจาะทำลายระบบป้องกันภัยทางอากาศภาคพื้นดินได้หลายแบบครับเช่น TAURUS KPED 350 หรือ DWS-39  อย่างไรก็ตามคาดว่ากองทัพอากาศไทยไม่น่าจะจัดหาอาวุธดังกล่าวมาใช้งานในขณะนี้ครับ

โดยคุณ AAG_th1 เมื่อวันที่ 23/08/2008 07:49:53


ความคิดเห็นที่ 14


ถ้าเรามีเงินมากพอ
เรามีความจำเป็นหรือป่าวครับ ที่ต้องประจำการ Super Hornet?
และอากาศยานปีกหมุนสนับสนุนภาคพื้นดินล่ะครับ จำพวก cobra หรือ apache?
โดยคุณ PaLmMee เมื่อวันที่ 24/08/2008 04:36:11


ความคิดเห็นที่ 15





ปล. พูดถึงสมดุลย์ทางการทหารที่อเมริกาคิด
แล้วทำไมกับสิงคโปร์นี่ มีทุกอย่างตั้งแค่เครื่องบิน awac
ยันเรือดำน้ำ มันสมดุลย์ตรงไหนเนี่ย



.......................................................................................................
.......................................................................................................

อันนี้ผมมองว่า อเมริกา คงเห็นว่าสิงคโปร์ เป็นประเทศเล็กมีกำลังพลน้อย ถึงยอมให้ของดีก้เพื่อสมดุลย์ทางทหารนั้นแหละครับ


ถ้าเรามีเงินซื้อแล้วไม่ยอมขายของดีให้เรา ยังไงก็เคืองครับ.....



.....



โดยคุณ charchar เมื่อวันที่ 24/08/2008 07:09:45


ความคิดเห็นที่ 16


เห็นด้วยกับความคิดเห็นข้างบนครับ
เพราะโพสต์เสร็จ ก็นึกขึ้นได้ว่า
ต่อใ้ห้สิงคโปร์มาอาวุธดีเพียงใด
แต่ประชากรเค้ามีแค่นั้น
ถ้าคิดไปลุยใครก่อน
เวลาโดนเค้าสวนกลับ
ถึงจุกแน่นอน

โดยคุณ nontree เมื่อวันที่ 24/08/2008 09:04:54