สายการผลิดน่าจะหยุดไปนานแล้วครับ มีแค่อังกฤษใช้ชาติเดียว ความจริง GR.9 เป็นรุ่นของ ทอ.นะครับ แต่ตอนนี้ ทร. อังกฤษกำลังใช้อยู่รอ F-35 มาแทนก็น่าจะปลดประจำการหมด
เป็นไปได้น้อยที่ ทร.ไทย จะหามาใช้ครับเงินไม่มี ยังมีโครงการอื่นๆ ที่รอดำเนินการอยู่ หรือถ้าจะมีใช้ก็ไม่ใช้ตัวนี้แน่ๆ ครับ น่าจะเป็นรุ่น FRS มากกว่าหรือไม่ก็เป็นพี่น้องอีกฝั่งของแอตแลนติก (AV-8B หรือไม่ก็ F-35 ถ้าไทยเราขุดเจอบ่อน้ำมัน ทองคำหรือเพษรนะครับ )
บ.Harrier ที่ประจำการในกองทัพอังกฤษเดิมนั้นจะถูกแบ่งเป็นสองรุ่นครับคือ บ.โจมตี Harrier GR ของกองทัพอากาศซึ่งก็มีตั้งแต่รุ่น GR.3, GR.5 GR.7 ซึ่งรุ่น GR.9A ที่ใช้งานในปัจจุบันนั้นเป็นการปรับปรุงจากเครื่องรุ่น GR.7 เดิมครับ
ส่วนสำหรับกองทัพเรือนั้นจะใช้รุ่น Sea Harrier ซึ่งก็มีรุ่น FRS.1 และ FA.2 ซึ่งมีขีดความสามารถในการใช้อาวุธอากาศสู่อากาศพิสัยกลางเพราะติด Radar แบบ Blue Vixen แต่อย่างไรก็ตามอังกฤษได้ปลดประจำการ บ.รุ่นนี้ทั้งหมดแล้วครับเนื่องจากเครื่องที่ประจำการนั้นใช้งานมานานและโครงสร้างต้องเสียค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุงสูง
จากที่เคยมีการเผยแพร่ข้อมูลมาเท่าที่พอจำได้จริงๆแล้วเมื่อเกือบ20ปีก่อนกองทัพเรือต้องการจะต่อเรือบัญชาการสนับสนุนการยกพลขึ้นบกลักษณะเดียวกับเรือ LPD หรือ LHD ครับ โดยได้เลือกแบบต่อจากอู่เรือของเยอรมนีแล้ว แต่ทางรัฐบาลของเยอรมนีในขณะนั้นไม่อนุมัติให้ต่อเรือขายให้ไทยเนื่องจากเยอรมนีมีกฏหมายที่จะไม่ขายอาวุธให้ประเทศที่กำลังอยู่ในภาวะที่อาจจะเกิดสงครามได้(ทุกวันนี้ก็ยังไม่เข้าใจว่ามันแปลว่าอะไร ตอนนั้นเรามีความเสี่ยงที่จะรบกับเวียตนามกระมั๊งครับ)
พอดีในขณะนั้นทางสเปนเองกำลังจะต่อเรือบรรทุกเครื่องบินชั้นPrincipe de Asturias พอดีเลยเสนอแบบเรือให้กับไทยเป็นเรือที่ย่อส่วนลงมาจากเรือชั้นนี้พร้อมกับมอบ AV-8S 9ลำให้เนื่องจากสเปนได้ซื้อ AV-8B Harrier II Plus ใหม่จากสหรัฐฯแล้ว (ในช่วงนั้นเองกองทัพเรือก็ได้รับมอบอากาศยานใหม่ๆหลายแบบครับเช่นการจัดซื้อ ฮ.SH-60B และ บ.โจมตี A-7E มือสอง) ซึ่งจากเหตุดังกล่าวทำให้ไทยกลายเป็นกองทัพเรือประเทศเดียวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ปัจจุบันที่มีเรือบรรทุกเครื่องบินประจำการครับ
พอจะมีงบซื้อเครื่องบินมาป้องกันภัยทางอากาศจากประเทศอื่นหรือเปล่าครับ
สงสาร 911 มากครับ
รัสเซียเคยประจำการ บ.ขับไล่ Yak-38 (NATO กำหนดชื่อเป็น Forger ) ประจำการบนเรือชั้น Kiev ครับ แต่ประจำการเพียงช่วงสั้นๆเท่านั้นเนื่องจาก บ.มีน้ำหนักบรรทุกน้อยและสมรรถนะทางการบินไม่ดีนัก ซึ่งการทดลองนำไปใช้ในอัฟกานิสถานช่วงต้นทศวรรษปี 1980s ผลที่ออกมาก็เป็นที่ไม่น่าพอใจครับ มีประเทศเดียวในโลกที่มี บ.Forger ใช้งานคือรัสเซียครับและปัจจุบัน บ.รุ่นนี้ถือได้ว่าล้าสมัยแล้ว
รัสเซียได้มีการพัฒนา บ.ขับไล่ขึ้นลงทางดิ่งแบบ Yak-141 ซึ่งเป็น บ.ขับไล่ขึ้นลงทางดิ่งแบบแรกที่สามารถทำความเร็วเหนือเสียงได้ อย่างไรก็ตามเนื่องจากปัญหาด้านเศรษฐกิจงบประมาณทหารที่ถูดตัดลงหลังการล่มสลายของสหภาพโซเวียตทำให้ Yak-141 ถูกยกเลิกการพัฒนาไปเป็นเพียงแค่ บ.ต้นแบบครับ โดย Yakolev ได้ขาย Technology LIFT-FAN ให้กับ BAE ซึ่งได้ถูกนำไปใช้กับ F-35B ครับ
ในกรณี บ.Harrier มือสองที่ปลดประจำการนั้นมีเพียงรุ่น Sea Harrier FA.2 ของกองทัพเรืออังกฤษรุ่นเดียวครับที่ปลดไปตั้งแต่ปี 2005-2006 แล้ว แต่ปัญหาก็คล้ายคลึงกับ AV-8S ที่ไทยใช้อยู่ครับคือ มีอังกฤษใช้เพียงประเทศเดียวและโครงสร้างก็เป็นแบบรุ่นเก่าทำให้ถ้าจัดหาจะมีปัญหาอะไหล่หายากต่อการซ่อมบำรุง และตอนที่อินเดียให้ความสนใจจะจัดหา บ.รุ่นนี้จากอังกฤษนั้น อังกฤษจะทำการถอด Radar และ Software ควบคุมการใช้ AMRAAM ออกครับ ทำให้อินเดียต้องหา Radar Elta และ Derby ของอิสราเอลมาติดแทนซึ่งต่อมาอินเดียก็เลิกการจัดหาไปครับ
สำหรับ AV-8B Harrier II ของสหรัฐฯนั้นมีแนวโน้มว่าสหรัฐฯจะยังคงใช้งานไปอีกนานครับเนื่องจากความล่าช้าในการพัฒนา F-35B ในโครงการ JSF อย่างไรก็ตามสหรัฐฯน่าจะมีเครื่องที่เก็บสำรองไม่ใช้ใช้งานส่วนหนึ่งอยู่ครับ เพียงแต่สะสามารถอนุญาตขายให้ไทยได้หรือไม่ ซึ่งน่าจะเป็น บ.รุ่น Night Attack ซึ่งไม่ได้ Radarครับ(แต่ บ.Harrier II Plus รุ่นที่ติด Radar AN/APG-65 ที่ประจำการในสหรัฐฯนั้นก็ไม่สามารถใช้ AMRAAM ได้ครับเพราะไม่ไดเรบการติดตั้ง Software เช่นของ สเปน และ อิตาลี)