หน้าแรก    ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบคำถาม    เข้าสู่ระบบ      


โรงไฟฟ้านิวเคลียร์

โดยคุณ : moraruang เมื่อวันที่ : 18/08/2008 09:23:30

ถ้าไทยมีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์คิดว่าต่อไปไทยจะพัฒนาให้มีการนำไปสู่การผลิตอาวุธนิวเคลียร์ไหมครับ




ความคิดเห็นที่ 1


เพื่ออะไรละครับ

เพิ่มเติม งานวิทยาศาสตร์ที่ไบเทคปีนี้มีบูทเกี่ยวกับพลังงานนิวเคลียร์ด้วย แต่สังเกตดูคนสนใจน้อยมาก

รึว่าผมไปตอนคนน้อยๆ ก็ไม่รู้

โดยคุณ Tasurahings เมื่อวันที่ 16/08/2008 00:32:05


ความคิดเห็นที่ 2


ไม่ครับ  นอกจากเราจะยิ่งใหญ่คับฟ้า
โดยคุณ charchar เมื่อวันที่ 16/08/2008 00:40:21


ความคิดเห็นที่ 3


โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในปัจจุบันนั้นมีหลายแบบที่เตาปฏิกรณ์ใช้เชื้องเพลิงนิวเคลียร์ที่ไม่สามารถนำมาแปรรูปหรือพัฒนาเป็นอาวุธได้ครับ ซึ่งสูตรสมการของระเบิดนิวเคลียร์นั้นไม่ใช่เรื่องยากแล้วสำหรับปัจจุบัน(นักศึกษาฟิสิกส์นิวเคลียร์ที่ไหนก็คำนวณได้) แต่เรื่องอุปกรณ์และวัสดุในการสร้างอาวุธนิวเคลียร์ไม่ใช้เรื่องที่จะหาได้ง่ายๆครับเพราะมีการควบคุมอย่างเข้มงวดทั้งแร่ ยูเรเนียม หรือ พลูโตเนียม และอุปกรณ์กำเนิดปฏิกริยาลูกโซ่ Fission เป็นต้น การวิจัยและพัฒนาเรื่องนี้นั้นก็ต้องใช้งบประมาณมหาศาลด้วย

ส่วนตัวเชื่อว่าโรงไฟฟ้านิวเคลียร์สำหรับประเทศไทยนั้นมีความเป็นไปได้น้อยมากครับถ้าดูจากนโยบายของรัฐในที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน เพราะฉนั้นไม่ต้องไปกล่าวถึงการพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ครับ

โดยคุณ AAG_th1 เมื่อวันที่ 16/08/2008 04:25:14


ความคิดเห็นที่ 4


มาทำระเบิดกันดีกว่าเริ่มจากยูเรเนียม

ยูเรเนียมบริสุทธิ์นั้นแยกออกมาจากสินแร่ยูเรเนียม โดยส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปของออกไซด์ของยูเรเนียม ซึ่งในธรรมชาติยูเรเนียมจะประกอบด้วยไอโซโทป 2 ชนิด คือ ยูเรเนียม – 235 และยูเรเนียม – 238 โดยจะมียูเรเนียม – 238 ประมาณ 99% ของปริมาณยูเรเนียมทั้งหมด ในการนำเอายูเรเนียมมาใช้เป็นเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ หรือระเบิดนิวเคลียร์จะต้องใช้ยูเรเนียม – 235 เป็นหลัก ดังนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องแยก หรือเพิ่มปริมาณของยูเรเนียม – 235 ให้มีมากขึ้น กรรมวิธีการเพิ่มปริมาณของยูเรเนียม – 235 เรียกว่าการเสริมสมรรถนะ (enrichment) ซึ่งมีอยู่หลายวิธี และวิธีหมุนเหวี่ยง (centrifuge) ก็เป็นวิธีการหนึ่ง เนื่องจากยูเรเนียม – 235 จะมีน้ำหนักเบากว่ายูเรเนียม – 238 โดยอาศัยความแตกต่างของน้ำหนัก เราสามารถที่แยกยูเรเนียม – 235 ออกมาได้

ขั้นตอนแรก นำเอายูเรเนียมออกไซด์ มาทำปฎิกิริยากับกรดไฮโดรฟูลริก (hydrofluoric acid) ก็จะได้ยูเรเนียมเฮกซะฟลูออไรด์ โดยยูเรเนียมเฮกซะฟลูออไรด์ จะสามารถอยู่ได้ทั้งสามสถานะ คือ ของแข็ง (ดังแสดงในรูปที่ 2 ) ของเหลว และแก๊ส ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิและความดัน

รูปที่ 2 ลักษณะของยูเรเนียมเฮกซะฟลูออไรด์ ที่เป็นของแข็ง มีลักษณะเป็นผลึกสีขาว
สำหรับการเสริมสมรรถนะของยูเรเนียมโดยวิธีหมุนเหวี่ยง มักจะใช้ในสถานะเป็นแก๊ส เมื่อนำแก๊สนี้เข้าไปในเครื่องหมุนเหวี่ยง โดยการหมุนที่มีความเร็วรอบสูงมาก ก็จะเกิดแรงเหวี่ยง รุนแรงกว่าแรงโน้มถ่วงหลายพันเท่า เป็นผลทำให้ยูเรเนียม – 238 ซึ่งหนักกว่า จะถูกแยกไปอยู่บริเวณผนังของเครื่องหมุนเหวี่ยง ส่วนยูเรเนียม – 235 ซึ่งเบากว่า จะอยู่บริเวณส่วนกลางของเครื่อง ดังแสดงในรูปที่ 3
รูปที่ 3 ลักษณะของเครื่องหมุนเหวี่ยง
รูปที่ 4 ลักษณะของเครื่องหมุนเหวี่ยงที่เรียงต่อกัน เพื่อเพิ่มความเข้มข้นของ ยูเรเนียม – 235 ให้สูงขึ้น

เนื่องจากทั้งสองไอโซโทปของยูเรเนียม มีความแตกต่างของมวลไม่มากนัก ในการหมุนเหวี่ยงหนึ่งครั้ง จะสามารถแยกยูเรเนียม – 235 ออกจากยูเรเนียม – 238 ได้ไม่มากนัก ดังนั้น ถ้าต้องการที่จะให้มีปริมาณของอะตอมของยูเรเนียม – 235 มากขึ้น จำเป็นต้องนำเอาแก๊สที่ผ่านการหมุนเหวี่ยงครั้งแรก มาหมุนเหวี่ยงซ้ำอีกหลาย ๆ ครั้ง ในทางปฏิบัติ ก็จะมีเครื่องหมุนเหวี่ยงวางต่อกัน เป็นจำนวนหลายพันเครื่อง ดังแสดงในรูปที่ 4 ผลผลิตสุดท้ายจะได้ยูเรเนียมเฮกซะฟลูออไรด์ ที่มีอะตอมของยูเรเนียม -235 ที่มีปริมาณสูงกว่าที่มีอยู่ในธรรมชาติ มากน้อยขึ้นอยู่กับจำนวนเครื่องหมุนเหวี่ยง

เทคโนโลยีการเสริมสมรรถนะของยูเรเนียมโดยวิธีหมุนเหวี่ยง ได้มีการพัฒนาและใช้ในหลายประเทศ สำหรับตัวเครื่องหมุนเหวี่ยง จะต้องมีความสามารถในการหมุนได้เร็วไม่น้อยกว่า 100,000 รอบต่อนาที ทำจากวัสดุที่นำหนักเบา ทนต่อการกัดกร่อน ต้องมีความสมดุลย์ขณะหมุน

สุดท้าย เป็นการเปลี่ยนยูเรเนียมเฮกซะฟลูออไรด์ให้เป็นโลหะยูเรเนียม โดยการทำปฏิกิริยากับแคลเซียม จะได้เกลือแคลเซียมฟลูออไรด์และโลหะยูเรเนียม

ได้แล้วยูเรเนียม

การใช้ยูเรเนียม 235  เป็นเชื้อเพลิง  ต้องผ่านกระบวนการทำให้มีความเข้มข้น  และบริสุทธิ์ถึง  90  เปอร์เซนต์     เริ่มต้นเชื้อเพลิงจะถูกเก็บไว้ให้อยู่ในสถานะ มวลใต้วิกฤติ   ซึ่งยังไม่เกิดปฏิกิริยาฟิชชั่น  ส่วนสถานะ มวลวิกฤติ   คือมวลที่ถูกกระตุ้น พร้อมแตกตัวเป็นระเบิด

      ระเบิดแบบฟิชชั่น  มีปัญหาสำคัญที่ต้องแก้ให้ได้ดังนี้

  • ต้องให้มวลใต้วิกฤติ  อัน  เข้าใกล้กันให้มากที่สุด   เพื่อให้เกิดสถานะวิกฤติยิ่งยวด   
  • ยิงนิวตรอนอิสระเข้าไปในมวลที่อยู่ในสถานะวิกฤติยิ่งยวด  กระตุ้นให้เกิดฟิชชั่นเพิ่มขึ้น
  • ปฏิกิริยาฟิชชั่นทั้งหมดต้องเกิดได้อย่างเพียงพอ จึงจะสามารถจุดระเบิดได้

       เพื่อให้มวลใต้วิกฤติ  อันรวมตัวกันเป็นมวลวิกฤติยิ่งยวด  เราใช้เทคนิค  2  วิธีดังนี้

  • ใช้ปืนกระตุ้น
  • ใช้ระเบิดกระตุ้น

       เครื่องกำเนิดนิวตรอนหรือนิวตรอนเจนเนเรเตอร์ทำจาก โพโลเนียม  และเบอริลเลียม โดยทำให้เป็นเม็ดขนาดเล็ก  และแยกออกด้วยแผ่นฟอยด์   บรรจุอยู่ที่แกนกลางของเชื้อเพลิงฟิชชั่น 

       เหตุการก่อนระเบิดมีดังนี้

  1. แผ่นฟอยด์แตกออก  เมื่อมวลใต้วิกฤติ  เข้ามาใกล้กัน  ธาตุโพโลเนียม จะให้อนุภาคแอลฟาออกมาทันทีทันใด
  2. อนุภาคแอลฟ่า ชนเข้ากับ เบอริลเลียม    ได้ เบอริลเลี่ยม และนิวตรอนอิสระ
  3. นิวตรอนกระตุ้นให้เกิดปฏิกิริยาฟิชชั่น

      ปฏิริยาฟิชชั่น  เกิดขึ้นภายในวัสดุเรียกว่า เทมเปอร์  (Temper)   เมื่อเกิดปฏิกิริยาฟิชชั่น ความร้อนของเทมเปอร์จะสูงขึ้น   ขยายตัวอัดเข้ากับแกนกลางของเชื้อเพลิง     และสะท้อนนิวตรอนกลับเข้าไปในแกนกลางเพิ่มประสิทธิภาพของการเกิดฟิชชั่น

ใช้ปืนกระตุ้น(Little boy)

       เป็นวิธีที่ง่ายที่สุด  เพื่อทำให้มวลที่อยู่ใต้สถานะวิกฤติ  เปลี่ยนไปอยู่ในสถานะวิกฤติ โดยใช้ปืนยิงกระสุนยูเรเนียม(มวลใต้วิกฤติ)เข้าในเม็ดเชื้อเพลิงยูเรเนียม -235(มวลใต้วิกฤติ)   ซึ่งล้อมรอบด้วยนิวตรอนเจนเนอร์เรเตอร์ (ตัวให้นิวตรอน)  ลูกกระสุนจะบรรจุอยู่ทางด้านบน  และถูกแรงระเบิดของเชื้อประทุ  ทำให้กระสุนพุ่งลงมาทางด้านล่าง ขั้นตอนเป็นไปตามลำดับดังนี้

  • แรงระเบิดจะอัดกระสุนให้พุ่งลงมาทางด้านล่าง
  • ลูกกระสุนพุ่งเข้าหาเชื้อเพลิง(สถานะวิกฤติยิ่งยวด)  เวลาเดียวกับนิวตรอนเจนเนอร์เรเตอร์ สร้างนิวตรอน ยิงเข้าไปในนิวเคลียสของยูเรเนียม  เชื้อเพลิงเข้าสู่สภาวะวิกฤติ
  • ปฏิกิริยาฟิชชั่นเริ่มขึ้น
  • ระเบิดตูม

ใช้ระเบิดกระตุ้น(Fat man)

       นักวิทยาศาสตร์ค้นพบว่า   เราสามารถอัดมวลใต้วิกฤติ  โดยใช้ระเบิด  ซึ่งเป็นหนทางดีที่สุดที่ทำให้มวลเปลี่ยนสถานะไปเป็นมวลวิกฤติได้  อย่างไรก็ตามมีปัญหามากมายเกี่ยวกับความคิดนี้   ว่าจะควบคุมทิศทางของคลื่นกระแทกที่ได้จากระเบิดให้สม่ำเสมออย่างไร   ในโครงการแมนฮัตตัน    ทางทีมงานสามารถแก้ปัญหานี้ได้    โดยทำยูเรเนี่ยม 235 (Temper)  เป็นรูปทรงกลมกลวง    และแกนกลางเป็นพลูโตเนียม 239    ล้อมรอบ ด้วยดินระเบิด   ขั้นตอนของระเบิดเป็นดังนี้

  • ทำให้เชื้อระเบิดเกิดการระเบิดขึ้นเพื่อสร้างคลื่นกระแทก(ตกกระทบกับพื้น)

  • คลื่นกระแทกจะอัดเชื้อเพลิงพลูโตเนียมด้วยแรงมหาศาล  เข้าไปในแกนกลางที่ทำด้วย  เบอริลเลียมและโพโลเนียม 

  • ปฏิกิริยาฟิชชั่นเริ่มต้น

  • ระเบิดตูม

เสร็จแล้วระเบิดนิวเคลียส์  ๕๕๕๕

แถม

ปัจจุบันการใช้ประโยชน์จากยูเรเนียมของกองทัพสหรัฐใช้เป็นอาวุธในการทะลุทะลวง (high-density penetrators) กระสุนที่ใช้จะบรรจุด้วยอัลลอยด์ที่มี U-328 ผสมด้วยธาตุอื่น1-2% กระสุนที่ใช้มีตั้งแต่ขนาด 20mm ในปืน Phalanx ของกองทัพเรือ สำหรับใช้ยิงเพื่อทำลายจรวด ไปจนถึงปืนขนาด 30mm ของเครื่องบิน A-10 และปืนขนาด 105mm ของรถถัง เมื่อยิงออกไปด้วยความเร็วสูง กระสุนที่มีความหนาแน่นสูง และมีความแข็ง จะเจาะทำลายเข้าไปในเป้าหมายขนาดใหญ่ได้ รถถังและยานเกราะบางแบบก็มีการเสริมความแข็งแรงด้วยแผ่น U-328 (DU) การใช้อาวุธ DU ทำให้เกิดการโต้แย้งกันทางด้านการเมืองและสิ่งแวดล้อม หลังจากที่สหรัฐ อังกฤษและประเทศอื่นๆ นำกระสุน DU มาใช้ในสงครามอ่าวเปอร์เซีย (Persian Gulf ) และสงครามบาลข่าน (Balkans)


 

 

 

 

 

 

 

 

โดยคุณ economic เมื่อวันที่ 16/08/2008 09:00:46


ความคิดเห็นที่ 5


อ้างอิงจาก http://www.electron.rmutphysics.com/science-news/index.php?option=com_content&task=view&id=128&Itemid=1

http://www.tint.or.th/nkc/nkc5001/nkc5001n.html

http://www.rmutphysics.com/CHARUD/howstuffwork/nuclear/nuclearthai.htm

โดยคุณ economic เมื่อวันที่ 16/08/2008 09:10:37


ความคิดเห็นที่ 6


โครงการโรงไฟฟ้าเห็นว่ามีแผนมานานมากแล้วคับ

 

นานจนนักวิทยาศาสตร์ที่ได้ทุนไปศึกษาต่างประเทศเกี่ยวกับนิวเคลียร์ กำลังจะเกษียณไปหมดแล้วคับ

โดยคุณ fflluukk เมื่อวันที่ 17/08/2008 05:52:26


ความคิดเห็นที่ 7


ในอนาคตน่าจะมีใช่แน่นอนแต่ตอนนี้คงยาก
เพราะประชาชนกับNGOค้านหัวชนฝาแน่เพราะกลัวระเบิดเหมือนเชอร์โนบิล
ขนาดโรงไฟฟ้าถ่านหิน ท่อก๊าซ เขื่อน ยังค้านขนาดนี้แล้วดรงไฟฟ้านิวเคลียร์จะไปเหลือเหรอ
โดยคุณ Akula เมื่อวันที่ 17/08/2008 22:23:32