หน้าแรก    ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบคำถาม    เข้าสู่ระบบ      


กองทัพเรือสหรัฐเข้าประจำการเรือพิฆาตลำล่าสุด

โดยคุณ : monsoon เมื่อวันที่ : 19/08/2008 00:38:46

เมื่อวันที่ 9 ส.ค.2008 กองทัพเรือสหรัฐได้ประจำการเรือพิฆาตลำใหม่ (Guided-Missile Destroyer) ชื่อเรือ USS Sterett (DDG-104) เป็นเรือในชั้น Arleigh Burke class

Displacement: 6,600 tons light,
9,200 tons full,
2,600 tons dead
Length: 509 ft 6 in (155.3 m) overall,
471 ft (143.6 m) waterline
Beam:   66 ft (20.1 m) extreme,
  59 ft (18 m) waterline
Draft:   31 ft (9.4 m) maximum,
  22 ft (6.7 m) limit
Propulsion: 4 × General Electric LM2500-30 gas turbines, 2 shafts, 100,000 shp (75 MW)
Speed: 30+ knots (55+ km/h) designed
Complement: 32 officers, 348 enlisted
Armament: 1 × 32 cell, 1 × 64 cell Mk 41 vertical launch systems, 96 × RIM-66 SM-2, BGM-109 Tomahawk or RUM-139 VL-Asroc, missiles
1 × 5/62 in (127/62 mm), 2 × 25 mm, 4 × 12.7 mm guns
2 × Mk 46 triple torpedo tubes
Aircraft carried: 2 × SH-60 Sea Hawk helicopters





ความคิดเห็นที่ 1


ปืนอมตะสำหรับเรือรบทุกประเภทและทุกขนาด
ปืนกล 0.5 นิ้ว


โดยคุณ monsoon เมื่อวันที่ 15/08/2008 03:01:35


ความคิดเห็นที่ 2


ปืน 5"/62(12.7 cm.) Mark 45 Mod 4


โดยคุณ monsoon เมื่อวันที่ 15/08/2008 03:12:51


ความคิดเห็นที่ 3


ปืน M240 ขนาด 7.62 มม.


โดยคุณ monsoon เมื่อวันที่ 15/08/2008 03:25:15


ความคิดเห็นที่ 4


ดูบั้นท้ายเธอกันหน่อย


โดยคุณ monsoon เมื่อวันที่ 15/08/2008 03:27:31


ความคิดเห็นที่ 5


ระบบอะไรเป็นอะไร งานนี้ดูกันเอาเองนะครับ


โดยคุณ monsoon เมื่อวันที่ 15/08/2008 03:29:55


ความคิดเห็นที่ 6


" ปืนอมตะสำหรับเรือรบทุกประเภทและทุกขนาด
ปืนกล 0.5 นิ้ว "

ผมว่าไม่เฉพาะสำหรับเรือนะครับ ตั้งแต่บนพื้น ลงน้ำ ออกทะเล หรือแม้บนฟ้า ตอนนี้ก็ยังก็ยังใช้มันอยู่ ไม่รู้ว่าออกแบบปีไหน แต่ใกล่ๆ ร้อยปีแน่ๆ เป็นหนึ่งในห้าของปืนอมตะตลอดกาลของสุดยอดนักออกแบบ จอห์น โมเสช บราวนิง น่าดีใจแทนแก่จริงๆ ที่ปืนแก่หลายแบบผ่านร้อน ผ่านหนาวมาได้เกือบร้อยปี และยังขายดีอยู่ในปัจจุบัน

โดยคุณ natty เมื่อวันที่ 15/08/2008 05:29:52


ความคิดเห็นที่ 7


เจ้านี่ออกมาปี 1932 ก็ 70 กว่าปีแล้วครับ และผมไม่คิดว่าจะล้มหายตายจากไปได้ง่ายๆ ก็คงผ่านหลักร้อยปีไปได้สบายๆ อย่างที่คุณ natty ว่าแหละครับ
โดยคุณ Praetorians เมื่อวันที่ 15/08/2008 22:10:59


ความคิดเห็นที่ 8


ช่วยต่อยอดเรื่องปืนกลหนักบราวนิ่ง 0.5 นิ้ว

 

ปืนนี้ถือกำเนิดจากความต้องการของนายพลเพอชิ้ง( Gen. Pershing) ผบ.กองกำลังสหรัฐในยุโรปสมัยสงครามโลกครั้งที่ 1 เมื่อปี ค.ศ.1918 ท่านต้องการปืนกลหนักที่สามารถยิงทำลายเครื่องบินทหารและเป้าหมายบนพื้นดิน เช่น รถถัง และยานหุ้มเกราะ หน่วยงานพัฒนาอาวุธยุทโธปกรณ์ได้ส่งเรื่องตัวปืนให้กับ นาย จอห์น โมเซส บราวนิ่ง (หรือ John M. Browning หรือ John Browning) ซึ่งขณะนั้นทำงานให้กับบ. Colt) และส่งเรื่องกระสุนให้กับบ. วินเชสเตอร์ อาร์ม

นาย John Browing ได้พัฒนาปืนตามความต้องการของกองทัพ โดยขยายแบบจากปืนขนาด 0.3 นิ้วที่เขาออกแบบไว้ในปื 1917  ซึ่งปืนที่พัฒนาเสร็จแล้วได้เข้าประจำการในปี 1921 ในนาม ปืนกลขนาด 0.5 นิ้ว M1921 (แต่จากเวปปืนของรัสเซียให้ข้อมูลว่าแบบพื้นฐานของปืนกลหนักได้รับการอนุมัติในปี ค.ศ.1921 และรับปืนอย่างเป็นทางการในปี ค.ศ. 1923)


John Browning ทดสอบปืนขนาด 0.5 นิ้วต้นแบบ ในปี ค.ศ.1919

ปืนในรุ่นแรกใช้ระบบระบายความร้อนด้วยน้ำ ต่อไปปี ค.ศ.1932 ปืนได้ถูกออกแบบใหม่โดย ดร. แซมมวล จี กรีน (Dr. Samuel G. Green) ทำให้ปืนสามารถระบายความร้อนได้ทั้งด้วยระบบน้ำ หรือระบบอากาศ และสามารถเปลี่ยนการป้อนกระสุนได้ทั้งซ้ายและขวา

กองทัพบกสหรัฐได้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็นปืนกล M2 และให้ปืนรุ่นต่อต้านอากาศยานใช้ระบบน้ำระบายความร้อน

 

และรุ่นระบายความร้อนด้วยอากาศจะติดตั้งฐานตั้งปืน

แต่เนื่องจากลำกล้องปืนของรุ่นระบายความร้อนด้วยอากาศมีขนาดบางเกินไปต่อมาจึงได้เปลี่ยนเป็นลำกล้องหนาขึ้น(heavier barrels) ปืนแบบระบายความร้อนด้วยอากาศจึงได้ชื่อว่า M2 Heavy Barrel หรือ M2HB

คุณลักษณ์และคุณสมบัติ

ขนาด                     : 0.5.BMG (12.7x99mm)

น้ำหนักปืน               : 38 ก.ก. (58 ก.ก.พร้อมขาตั้ง 3 ขา แบบ M3)

ความยาวลำกล้อง      : 1140 มม.
ระบบป้อนกระสุน      
: เข็มขัด

อัตราการยิง              : 450-600 นัดต่อนาที

 

 


โดยคุณ monsoon เมื่อวันที่ 18/08/2008 13:32:05


ความคิดเห็นที่ 9


แก้ไขข้อความนิดหนึ่งครับ

"...กองทัพบกสหรัฐได้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็นปืนกล M2 ให้ทั้งปืนรุ่นต่อต้านอากาศยานที่ใช้ระบบน้ำระบายความร้อนและรุ่นระบายความร้อนด้วยอากาศที่ติดตั้งฐานตั้งปืน..."

ขออภัยในความผิดพลาด

โดยคุณ monsoon เมื่อวันที่ 18/08/2008 13:38:48