เครื่องบินทิ้งระเบิดขนาดใหญ่ของกองทัพสาธารณรัฐประชาชนจีน มีครับเป็นแบบ Xian H-6 ซึ่งรูปร่างเหมือน Tu-16 Badger ของรัสเซีย เพราะก่อนที่รัสเซียกับจีนจะแตกคอกัน ในปี พ.ศ. 2502 รัสเซียได้ให้พิมพ์เขียวของ Tu-16 กับจีน และมอบอุปกรณ์ในการผลิต รวมทั้งเจ้าหน้าที่เทคนิคเพื่อช่วยจีนผลิตเครื่องบินแบบนี้ Tu-16 ที่ผลิตขึ้นในจีนขึ้นบินครั้งแรกในปีเดียวกันนั้นเอง แต่ด้วยปัญหาความขัดแย้งทางด้านการเมืองและปัญหาชายแดนกับรัสเซีย ในปี พ.ศ. 2503 จีนได้ประกาศงดขอความช่วยเหลือทางทหารจากรัสเซีย ทำให้โครงการผลิตอาวุธต่างๆ ตามแบบรัสเซียได้หยุดชงักลง รวมทั้งโครงการเครื่องบินทิ้งระเบิดแบบ H-6 ด้วย เพราะรัสเซียถอนผู้เชี่ยวชาญ ที่ปรึกษา ต่างๆ กลับไปหมด จีนเองจึงต้องเดินหน้าทำโครงการต่างๆ ต่อด้วยตนเอง ด้วยความรู้ครึ่งๆ กลางๆ ตามแนวทางที่คิดขึ้นเองโดยไม่มีผู้เชียวชาญแนะนำ
แม้จะขาดความรู้ความชำนาญจีนก็ยังเดินหน้าผลิตและพัฒนาอากาศยานต่างๆ ตามแบบที่รัสเซียเคยวางแนวทางไว้ให้ ทั้งเครื่องบินขับไล่แบบ มิก-19 ซึ่งจีนผลิตขึ้นใช้งานเป็นเครื่องบินขับไล่หลักของกองทัพจีนในช่วงนั้น ใช้ชื่อว่า J-6 หรือ F-6 และได้พัฒนาต่อไปเป็นเครื่องบินโจมตี Q-5 หรือ เอ-5 ส่วนเครื่องบินทิ้งระเบิดแบบ H-6 จีนก็ได้ดำเนินการต่ออย่างช้าๆ จนกระทั่วปี พ.ศ. 2511 H-6 หรือ Tu-16 ที่ผลิตขึ้นโดยจีนเองทั้งหมด ได้ขึ้นทำการบินครั้งแรก และเริ่มนำเข้าประจำการในปีต่อมา รุ่นแรกคือ H-6 A
รูปนี้เป็นรูปของเครื่องบิน H-6 ของกองทัพอากาศจีน
จีนยังได้พัฒนา H-6 ขึ้นมาอีกหลายรุ่นเพื่อใช้ในภารกิจต่างๆ อาทิเช่น
H-6 M ซึ่งเป็นรุ่นโจมตีทางทะเล สำหรับกองทัพเรือจีน สามารถติดตั้งจรวดต่อต้านเรือรบ แบบ JY-81 ที่ใต้ปีกข้างละ 2 ลูก แต่ก็สามารถติดตั้งจรวดร่อนโจมตี แบบ KD-88 ได้อีกด้วยในภารกิจโจมตีทางยุทธวิธี ปัจจุบันเข้าประจำการแทน H-6 D
พัฒนาการล่าสุดและน่าจะเป็นรุ่นสุดท้ายของ H-6 คือ H-6 K ที่เพิ่งขึ้นบินครั้งแรกเมื่อวันที่ 5 มกราคม 2550 ใช้เครื่องยนต์แบบ Aviadvigatel D-30KP ของรัสเซียเป็นเครื่องยนต์ขับเคลื่อน เครื่องยนต์แบบนี้เป็นเครื่องยนต์แบบเดียวกับที่ใช้กับเครื่องบินลำเลียงแบบ IL-76 MD
รูปทรงภายนอกของ H-6K จะแตกต่างจาก H-6 รุ่นก่อนหน้านี้อย่างชัดเจน อาทิเช่น ท่อรับอากาศเข้าเครื่องยนต์ที่ใหญ่ขึ้น ส่วนหัวของเครื่องจะเป็นเรโดมขนาดใหญ่ที่ภายในติดตั้งเรดาร์โจมตีแบบใหม่แทนที่จะเป็นกระจกเหมือน H-6 รุ่นอื่น
มีไพลอนติดอาวุธที่ใต้ปีกข้างละ 3 ตำบล เป็นฐานยิงของจรวดร่อนแบบ YJ-62 หรือ โทมาฮอว์คจีน ได้ครั้งละ 6 ลูก
นอกจากนี้ยังมีรุ่นอื่นอีก เช่น รุ่นฐานปล่อยเป้าอากาศความเร็วเหนือเสียง รุ่นสำหรับสงครามอิเล็คทรอนิก
และรุ่นที่สำคัญอีกแบบคือ รุ่นเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศ หรือ Tanker โดยมีอยู่ 2 รุ่น คือ H-6 U ของกองทัพอากาศจีน และ H-6 DU สำหรับกองบินนาวีจีน จุดสังเกตุของเครื่องบินสองรุ่นคือ ถ้าเห็น H-6 ที่มีกระเปาะสำหรับเติมเชื้อเพลิงที่ปลายปีก ให้ดูที่ใต้ลำตัวส่วนหัว ถ้าไม่มีเรโดมที่ใต้ส่วนหัวจะเป็นรุ่น H-6 U ของกองทัพอากาศ แต่ถ้ามีเรโดมขนาดใหญ่ที่ใต้ส่วนหัวจะเป็นรุ่น H-6 DU ของกองบินนาวี
ขอบคุณมากครับได้ความรู้มาอีกเพียบ